Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2013-12-24 21:06:24.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ตับอักเสบ

 

โรคไวรัสตับอักเสบ

ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ปกติจะมีน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม โดยอยู่หลังกระบังลม

หน้าที่ของตับ

  • เป็นคลังสะสมอาหาร เช่น แป้ง ไขมัน โปรตีน เอาไว้ใช้ และปล่อยเมื่อร่างกายต้องการ
  • สังเคราะห์สารต่างๆ เช่น น้ำดี สารควบคุมการแข็งตัวของเลือด ฮอร์โมน
  • กำจัดสารพิษ และสิ่งแปลกปลอม เช่นเชื้อโรค หรือยา 

โรคตับชนิดต่างๆ

ตับมีโอกาสเป็นโรคต่างๆได้แก่ โรคตับอักเสบ hepatitis โรคตับแข็ง [cirrhosisมะเร็งตับ [liver cancer] โรคไขมันในตับ [fatty liver] โรคฝีในตับ [liver abscess]

โรคตับอักเสบมี 2 ชนิด

  1. โรคตับอักเสบเฉียบพลัน [acute hepatitis] หมายถึงโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจะมีบางส่วนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิต
  2. โรคตับอักเสบเรื้อรัง [chronic hepatitis] หมายถึงตับอักเสบที่เป็นนานกว่า 6 เดือนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด
  • chronic persistent เป็นการอักเสบของตับแบบค่อยๆเป็นและไม่รุนแรงแต่อย่างไรก็ตามโรคสามารถที่จะทำให้ตับมีการอักเสบมาก
  • chronic active hepatitis.มีการอักเสบของตับ และตับถูกทำลายมากและเกิดตับแข็ง

สาเหตุของโรคตับอักเสบ

  1. เชื้อไวรัส มีหลายชนิดได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ ,บ,ซี,ดี,อี
  2. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  3. ยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid, methyldopa, phenytoin, valproic acid, sulfonamide drugs. ผู้ป่วยหากได้ acetaminophen (พาราเซ็ตตามอล)ในขนาดสูงมากก็สามารถทำให้ตับถูกทำลายได้
  4. เชื้อโรคบางชนิด เช่น ไทฟอยด์,มาลาเรีย

การอักเสบของตับจะทำให้ตับบวม มีการทำลายเซลล์ตับ ทำให้มีอาการอ่อนเพลียจากการทำงานผิดปกติของตับ หากการอักเสบเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะทำให้ตับถูกทำลายมาก และถูกแทนที่ด้วยพังผืด ทำให้ตับมีแผลเป็น และมีลักษณะแข็งเป็นตุ่มๆ แม้ว่าสาเหตุของตับอักเสบจะมีมากมายแต่สาเหตุที่สำคัญคือไวรัสตับอักเสบ ปัญหาโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลก การดำเนินของโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบ ซีสามารถดำเนินเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เป็นตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับ เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก ดังนั้นการเข้าใจถึงโรคตับอักเสบ ซึ่งรวมถึงการติดต่อ การดำเนินของโรค การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการติดต่อซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลและช่วยลดจำนวนผู้ป่วยลง

ไวรัสตับอักเสบมีกี่ชนิด

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ

ผู้ป่วยดีซ่านตาขาวและผิวจะมีสีเหลือง

  • ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการที่พบได้บ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาจจะพบผื่นตามตัว หรืออาการท้องเสีย บางรายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไป 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนาน 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ โรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่าร้อยละ 5-10 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 85 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  • ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่จะมีการทำลายเซลล์ตับไปเรื่อยๆจนเกิดตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับในที่สุด

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับอักเสบ

หากสงสัยว่าจะเป็นโรคตับอักเสบท่านควรไปรับการตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อหรือไม่โดย

  1. ตรวจการทำงานของตับ โดยการหาระดับ SGOT[AST],SGPT [ALT]ค่าปกติน้อยกว่า 40 IU/L ถ้าค่ามากกว่า 1.5-2 เท่าให้สงสัยว่าตับอักเสบ หากพบว่าผิดปกติแพทย์จะขอตรวจเดือนละครั้งติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน 
  2. การตรวจหาตัวเชื้อ
  • ไวรัสตับอักเสบ เอ ตรวจหา Ig M Anti HAV
  • ไวรัสตับอักเสบ บี ตรวจหา HBsAg ถ้าบวกแสดงว่ามีเชื้ออยู่   Anti HBs ถ้าบวกแสดงว่ามีภูมิต่อเชื้อ  HBeAg ถ้าบวกแสดงว่าเชื้อมีการแบ่งตัว HBV-DNA เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณเชื้อ
  • ไวรัสตับอักเสบ ซี Anti-HCV เป็นการบอกว่ามีภูมิต่อเชื้อ  HCV-RNA ดูปริมาณของเชื้อ
  1. การตรวจดูโครงสร้างของตับ เช่นการตรวจคลื่นเสียงเพื่อดูว่ามีตับแข็งหรือมะเร็งตับหรือไม่
  2. การตรวจชิ้นเนื้อตับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนำชิ้นเนื้อตับเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรค

การรักษา

การเลือกใช้ยาจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเนื่องจากยามีผลข้างเคียงที่พึงระวังหลายอย่าง ยาที่ใช้อยู่มี interfeon และ lamuvudin

การปฏิบัติตัว

  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมในช่วงที่มีการอักเสบของตับ แต่การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอในตับอักเสบเรื้อรังสามารถทำได้
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนอย่างพอเพียง ไม่ต้องดื่มน้ำหวานมากๆ เพราะทำให้ไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขึ้น

ถ้าเคยเป็นแล้วจะมีโอกาสติดเชื้ออีกหรือไม่

ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบเอ และ อี จะหายขาดไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 90หายขาด ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซีและ ดี ยังไม่มีข้อมูล

พาหะของโรคจะทำอย่างไร

ผู้ป่วยที่เป็นพาหะคือผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกายแต่ไมแสดงอาการของตับอักเสบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นและต้องมั่นติดตามการดูแลจากแพทย์เป็นระยะๆผู้ป่วยที่เป็นพาหะมักเป็นกับเชื้อบี และ ซี เท่านั้น

ถ้ามารดาเป็นตับอักเสบจะมีผลอย่างไรต่อบุตร

บุตรที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะมีโอกาสติดเชื้อได้สูง แต่ปัจจุบันการฉีดวัคซีนให้กับทารกสามารถป้องกันการติดเชื้อได้แม่สามารถให้นมบุตรได้

         

guest

Post : 2013-12-24 21:04:14.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ตับแข็ง

 โรคตับแข็ง Liver cirrhosis

ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตับมีหน้าที่ทำลายสารพิษ poison หรือของเสียออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกัน immune เพื่อต่อต้านเชื้อโรค สร้างสารเพื่อให้เลือดแข็งตัว clotting factors  สร้างน้ำดี  bile เพื่อย่อยอาหารและดูดซึมวิตามินที่ละลายในน้ำมัน fat soluble vitamin

ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็ง เนื้อตับจะถูกทำลายจะมีพังผืดแทรกและเบียดเนื้อตับที่ดีทำให้เลือดไปที่ตับน้อยลง

สาเหตุ

ตับแข็งเกิดจากหลายสาเหตุ ในประเทศไทยโดยมากเกิดจาก สุรา ไวรัสตับอักเสบ บี

  1. Alcoholic cirrhosis ตับแข็งที่เกิดจากสุรามักเกิดหลังจากที่ได้ดื่มสุราเป็นปริมาณมากมาในระยะเสลาหนึ่ง ปริมาณที่ดื่มขึ้นกับแต่ละบุคคล ผู้หญิงจะเกิดตับแข็งได้ง่ายกว่าผู้ชาย ผู้หญิงอาจจะดื่มเพียง 2-3 แก้วต่อวันก็ทำให้เกิดตับแข็ง ผู้ชายดื่ม 4-6 แก้วต่อวันก็สามารถทำให้เกิดตับแข็ง เชื่อว่าสุราทำให้การสันดาปของโปรตีน ไขมัน และ แป้งผิดไป
  2. Chronic hepatitis B,D ไวรัสตับอักเสบทำให้เกิดอักเสบของตับเป็นเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะมีตับแข็ง
  3. Chrinic hepatitis C เริ่มพบมากขึ้นทั่วโรคตับมีการอักเสบอย่างช้าก่อนเป็นตับแข็ง
  4. Autoimmune hepatitis เกิดจากโรคที่ภูมิคุ้มกันมีการทำลายเนื้อตับ
  5. Inherited diseases โรคกรรมพันธุ์บางโรคทำให้เกิดตับแข็ง เช่น hemochromatosis, Wilson's disease, galactosemia,
  6. Nonalcoholic steatohepatitis (NASH) มีการสร้างไขมันในตับเพิ่มทำให้กลายเป็นตับแข็ง เช่นผู้ป่วยเบาหวาน คนอ้วน
  7. Blocked bile ducts มีการอุดกั้นของทางเดินน้ำดี เช่นนิ่วของถุงน้ำดีถ้าหากอุดนานๆทำให้เกิดตับแข็ง
  8. ยา และสารพิษ หากไดัรับติดต่อกันเป็นเวลานานก็ทำให้เกิดตับแข็ง

อาการ

ผู้ป่วยตับแข็งในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการ เมื่อตับเป็นมากขึ้นเรื่อยๆจึงเกิดอาการของตับแข็งได้แก่

  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • เหนื่อยง่าย
  • คลื่นไส้
  • น้ำหนักลด

ถ้าหากโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของโรคแทรกซ้อน

โรคแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง

ผู้ป่วยตับแข็งมีน้ำในท้อง และหลอดเลือดหน้าท้องพอง

  • บวมหลังเท้า และท้องมานเนื่องจากตับไม่สามารถสร้างไข่ขาว
  • เลือดออกง่าย เนื่องจากตับไม่สามารถสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว
  • ตัวเหลืองและตาเหลือง เนื่องจากตับไม่สามารถขับน้ำดี
  • คันตามตัวเนื่องจากน้ำดีสะสมตามผิวหนัง
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • สูญเสียความสามารถเกี่ยวกับความจำ สติ เนื่องจากการคั่งของๆเสีย
  • ไวต่อยา การให้ยาในผู้ป่วยตับแข็งต้องระวังการเกิดยาเกินขนาด เนื่องจากตับไม่สามารถทำลายยา แม้ว่าจะให้ยาขนาดปกติ ยาบางชนิดอาจต้องลดปริมาณยา
  • อาเจียนเป็นเลือดเนื่องจากตับแข็ง จะทำให้ความดันในตับสูง ส่งผลให้หลอดเลือดดำในหลอดอาหารมีความดันสูง และถ้าสูงมากเกิดการแตกของหลอดเลือดดำ
  • ปัญหาต่อระบบอื่น เช่น ติดเชื้อง่ายเนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลง ท้องมาน ไตวาย
  • ริดสีดวงทวาร

นมโต

เต้านมโต

ฝ่ามือแดง

ฝ่ามือแดง

ผื่น

มีหลอดเลือดเป็นตุ่ม

ดีซ่าน

ดีซ่าน

การวินิจฉัย

แพทย์จะซักประวัติหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็งและตรวจร่างเพื่อหาสิ่งแสดงว่าเป็นตับแข็งหรือไม่ เช่น ตัวเหลืองตาเหลือง ท้อง และเท้าบวม ฝ่ามือแดง palma erythema มีจุดแดง spider telangiectasia ตามตัวหรือไม่ คลำตับพบว่าผิวแข็งขรุขระ ขอบไม่เรียบ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ แพทย์จะเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับความผิดปกติที่อาจพบได้คือ ไข่ขาวต่ำ มีการคั่งของน้ำดี bilirubin บางรายอาจตรวจ ultrasound หรือเจาะเนื้อตับ

การรักษา

  1. รักษาสาเหตุ ขึ้นกับว่าต้นเหตุเกิดจากอะไรก็รักษาไปตามสาเหตุ เช่นถ้าเกิดจากสุราก็ให้หยุดสุรา เกิดจากยาก็ให้หยุดยา เกิดจากไวรัสก็ให้ยาบางชนิด โรคตับแข็งรักษาให้หายขาดไม่ได้แต่สามารถชะลอหรือหยุดการดำเนินของโรค
  2. รักษาโรคแทรกซ้อน
  • ท้องมานและบวมหลังเท้า แนะนำให้ลดอาหารเค็ม และจะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดบวม
  • คันตามผิวหนัง ให้ลดอาหารพวกโปรตีน และให้ยาแก้แพ้
  • ลดของเสีย แพทย์จะให้ยาระบายเพื่อลดของเสียที่อยู่ในลำไส้ซึ่งจะถูกดูดซึมหากมีมากในลำไส้
  • ผู้ป่วยที่มีความดันในตับสูงแพทย์จะให้ยาลดความดันกลุ่ม beta-block เช่น propanolol

      

guest

Post : 2013-12-24 21:02:15.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไขมันพอกตับ

 

ไขมันพอกตับ

บ่อยครั้งเมื่อคุณไปตรวจเลือดพบว่าการทำงานของตับผิดปกติมีค่า SGOT,SGPT สูง ค่าทั้งสองเป็นเอ็นไซม์ที่หลั่งออกมาจากตับ แสดงว่าตับได้รับอันตรายหรือมีการอักเสบ แพทย์จะส่งการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรือที่เรียกว่า ultrasound ส่งเลือดตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัส ซี บางรายอาจจะต้องเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อไปส่องกล้องเพื่อวินิจฉัย หลังจากนั้นแพทย์จะแจ้งว่าท่านเป็นไขมันพอกตับ Fatty liver ทำให้ท่านตกใจกับผลการตรวจ

 

เซลล์ตับปกติ

 

เซลล์ตับที่มีไขมันพอกตับ

 

ไขมันพอกตับคืออะไร

ไขมันในตับจะมีประมาณร้อยละ5-10 ของน้ำหนักตับ ไขมันพอกตับเป็นภาวะที่ไขมันโดยเฉพาะ Triglyceride ไปอยู่ในเซลล์ตับมากกว่าร้อยละ10 ของน้ำหนักตับจะถือว่าเป็นไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับจากการดื่มสุรา

เมื่อคนที่ดื่มสุราเป็นระยะเวลานาน เซลล์ของตับจะได้รับอันตรายในระยะแรกจะมีไขมันมาพอกที่ตับ หากยังดื่มสุราต่อเนื่อง ตับจะกลายเป็นตับแข็งซึ่งภาวะนี้จะไม่สามารถกลับสู่ปกติ นอกจากนั้นผู้ที่ดื่มสุราอย่างมากก็เกิดไขมันพอกตับแบบเฉียบพลันได้

ไขมันพอกตับของคนที่ไม่ได้ดื่มสุรา

ไขมันพอกตับชนิดนี้เรียกว่า Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) หมายถึงภาวะที่ไขมันพอกตับโดยเฉพาะ triglyceride อยู่ในเซลล์ตับ โดยที่คนคนนั้นไม่ได้ดื่มสุรา (ปกติคนดื่มสุรามานานจะมีไขมันพอกตับ) เซลล์ไขมันจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดตับอักเสบในระยะแรก แต่ผู้ป่วยบางส่วนที่ไขมันพอกตับทำให้เกิดการอักเสบของตับ เกิดกลุ่มอาการที่เรียกว่า nonalcoholic steatohepatitis (NASH) ในที่สุดก็จะกลายเป็นตับแข็ง Cirrhosis แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังอธิบายไม่ได้ว่าทำไมถึงเกิดการอักเสบของตับ พบว่าร้อยละ 5-8 ของผู้ป่วยไขมันพอกตับจะกลายเป็นตับอักเสบ และตับแข็ง

สาเหตุของไขมันพอกตับ

  1. ผู้ที่มีไขมันพอกตับโดยที่ไม่มีสาเหตุเรียก Primary
  2. ส่วนพวกที่มีสาเหตุเรียก Secondary สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ

             

guest

Post : 2013-12-09 00:16:27.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  นิ่วในถุงน้ำดี

 นิ่วในถุงน้ำดี

มะเร็งถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีเกิดได้อย่างไร

ตับ  liver เป็นอวัยวะสร้างน้ำดี ซึ่งจะส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี เมื่อต้องการไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีก็บีบตัวส่งน้ำดีไปตามท่อน้ำดี common bile duct เข้สู่ลำไส้  doudenum และย่อยอาหาร น้ำดีประกอบด้วย น้ำ ,cholesterol ,ไขมัน, bile salt เมื่อน้ำในน้ำดีลดลงก็ทำให้เกิดนิ่ว พบบ่อยๆมี 2 ชนิดคือ นิ่วที่เกิดจาก cholesterol และนิ่วที่เกิดจากเกลือต่างๆ

นิ่วในถุงน้ำดีอาจจะหลุดและอุดทางเดินน้ำดี ทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่ว

  • คนอ้วนจะเกิดนิ่วที่มี cholesterol เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
  • การได้ฮอร์โมน estrogen จากการรับประทานหรือตั้งครรภ์ทำให้ระดับ cholesterol ในน้ำดีสูง
  • เชื้อชาติ
  • เพศ หญิงพบมากกว่าชาย
  • อายุที่พบบ่อยอายุ 60 ขึ้นไป
  • ได้ยาลดไขมันบางชนิด ทำให้ cholesterol ในน้ำดีสูง
  • ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากมีระดับ triglyceride สูง
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป

อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี

ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการอะไร บางรายมีอาการปวดเฉียบพลัน

  • ปวดท้องบนขวาปวดตลอดอาจจะปวดนานเป็นชั่วโมง
  • ปวดมักจะปวดอยู่บริเวณสะบัก
  • อาจจะปวดร้าวไปไหล่ขวา
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
 

ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการเรื้อรังโดยมากมักจะสัมพันธ์กับอาหารมัน อาการอื่นที่พบมี

  • ท้องอืด
  • รับประทานอาหารมันแล้วทำให้ท้องอืด
  • ปวดมวนท้อง
  • เรอเปรียว
  • มีลมในท้อง
  • อาหารไม่ย่อย

ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์

  • ไข้สูง และมีเหงื่อออก
  • ไข้เรื้อรัง
  • ตัวเหลืองตาเหลือง หรือที่เรียกดีซ่าน
  • อุจาระเป็นสีขาว

การวินิจฉัย

หลังจากซักประวัติและตรวจร่างกายหากสงสัยว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี แพทย์จะส่งตรวจ ultrasound โดยใช้คลื่นเสี่ยงความถี่สูงตรวจหานิ่ว บางรายแพทย์จะตรวจพิเศษ เช่น Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) เป็นการตรวจโดยการส่องกล้องเข้าในท่อน้ำดีเพื่อหาตำแหน่งของนิ่วในท่อน้ำดี

 

การรักษา

นิ่วในถุงน้ำดีที่ไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องผ่าตัด นิ่วที่มีอาการต้องผ่าตัดเอานิ่วออกวิธีทีนิยมคือ laparoscopic cholecystectomy โดยการเจาะที่หน้าท้องเป็นรูหลายรูแล้วใส่เครื่องมือเพื่อตัดเอาถุงน้ำดีออกมา วิธีนี้สะดวก เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเก่า และอยู่ในโรงพยาบาลไม่นาน ผู้ป่วยบางรายหลังส่องดูแล้วผ่าตัดแบบ laparoscopic cholecystectomy ไม่ได้ต้องเปลี่ยนโดยการผ่าตัดแบบเก่า

นิ่วที่อยู่ในท่อน้ำดีอาจจะเอาออกโดยการทำ Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) และเอานิ่วออก

 

การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดผลที่ได้ยังไม่ดี คือ

  • Oral dissolution therapy เป็น bile acid ใช้ละลายนิ่วที่เป็น cholesterol ที่ก้อนไม่ใหญ่ ต้องใช้เวลานานในการละลาย ผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดท้องร่วง และตับมีการอักเสบเล็กน้อย
  • Extracorporeal shockwave lithotripsy (ESWL).โดยการใช้คลื่นแสงกระแทกให้นิ่วแตก หลังการทำผู้ป่วยอาจจะปวดท้อง และอัตราผลสำเร็จต่ำ

ถุงน้ำดีถูกตัดออกไปแล้วมีผลอย่างไรต่อร่างกาย

เนื่องจากถุงน้ำดีเป็นที่เก็บน้ำดีไว้ เมื่อต้องการใช้ถุงน้ำดีก็จะบีบตัวไล่น้ำดีออกมา คนที่ถูกตัดถุงน้ำดีจะมีน้ำดีไหลออกมาตลอดทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการท้องร่วง บางรายงานแนะนำต้องตรวจระดับ cholesterol

guest

Post : 2013-12-09 00:14:18.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ถุงน้ำดีอักเสบ

 

ถุงน้ำดีอักเสบ Cholecystitis

หมายถึงภาวะที่ถุงน้ำดีมีการอักเสบสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อปวดด้วยถุงน้ำดีอักเสบแพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล ให้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่ดีอาจจะจำเป็นต้องตัดถุงน้ำดีทิ้ง

มาเรียนรู้เรื่องตับและถุงน้ดี

ตับ  liver เป็นอวัยวะสร้างน้ำดี ซึ่งจะส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี เมื่อต้องการไปย่อยไขมัน ถุงน้ำดีก็บีบตัวส่งน้ำดีไปตามท่อน้ำดี common bile duct เข้สู่ลำไส้  doudenum และย่อยอาหาร น้ำดีประกอบด้วย น้ำ ,cholesterol ,ไขมัน, bile salt เมื่อน้ำในน้ำดีลดลงก็ทำให้เกิดนิ่ว พบบ่อยๆมี 2 ชนิดคือ นิ่วที่เกิดจาก cholesterol และนิ่วที่เกิดจากเกลือต่างๆ

นิ่วในถุงน้ำดีอาจจะหลุดและอุดทางเดินน้ำดีทำให้เกิดตัวเหลืองตาเหลือง ถุงน้ำดีอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุถุงน้ำดีอักเสบ

ส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี

การวินิจฉัยโรคถุงน้ำดีอักเสบ

การทำ ultrasound จะช่วยวินิจฉัยโรคโดยจะพบนิ่วในถุงน้ำดี และผนังของถุงน้ำดีหนาตัว

ถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง

เป็นภาวะที่มีการอักเสบของถุงน้ำดีเป็นๆหายๆ ผู้ที่เป็นจะมีอาการปวดท้องเป็นๆหายๆ ถุงน้ำดีของคนที่เป็นถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรังจะผิวจะหนา และมีพังผืดดึงรั้ง

อาการถุงน้ำดีอักเสบ

  • ผู้ที่เป็นโรคถุงน้ำดีอักเสบมักจะมีอาการปวดท้องทันที ปวดชายโครงข้างขวา อาจจะปวดร้าวไปยังสะบักข้างขวา หายใจลึกๆจะทำให้ปวดมากขึ้น
  • หลังจากปวดท้องได้สักพักกล้ามเนื้อหน้าท้องจะเกร็งและกดเจ็บ
  • อาการอื่นที่พบได้แก่ไข้สูง คลื่นไส้ และอาเจียน
  • หากมีปัสสาวะเหลืองหรือตัวเหลืองแสดงว่ามีนิ้วอุดท่อน้ำดี

การรักษาโรคถุงน้ำดีอักเสบ

ผู้ที่ป่วยด้วยถุงน้ำดีอักเสบแพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล

  • ให้น้ำเกลือและยาแก้ปวด
  • ให้ยาปฏิชีวนะ
  • ให้งดอาหารเพื่อให้ถุงน้ำดีได้พัก
  • การผ่าตัดแพทย์บางท่านจะผ่าเร็วใน 48 ชั่วโมงแต่บางท่านจะรอหลายสัปดาห์จนหายอักเสบจึงผ่าตัด

การผ่าตัดถุงน้ำดี

การผ่าตัดทำได้สองแบบคือ

  • สองกล้องเข้าไปตัดเอาถุงน้ำดีออก
  •  
  • การผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง

โรคแทรกซ้อน

guest

Post : 2013-12-09 00:11:30.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ตับอ่อนอักเสบ

 ตับอ่อนอักเสบ Pancreatitis

ตับอ่อน Pancreas

ตับอ่อนตับอ่อน

ตับอ่อนเป็นอวัยวะยาวประมาณ 6 นิ้วอยู่ระหว่างกระเพาะอาหาร และกระดูกสันหลัง อวัยวะใกล้เคียงได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี ม้าม ลำไส้ ตับอ่อนแบ่งออกเป็นสามส่วน สวนที่กว้างที่สุดจะเรียกว่าส่วนหัว Head ส่วนนี้จะอยู่ติดลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนกลางของตับอ่นเรียกว่าส่วนลำตัว Body ส่วนปลายที่เรียกว่าหาง Tail จะเรียว

หน้าที่ของตับอ่อน

ตับอ่อนจะสร้างน้ำย่อยที่เรียกว่า Pancreatic juice ซึ่งเป็นน้ำย่อยสำหรับย่อยอาหารทั้งประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีนน้ำย่อยนี้จะหลั่่งไปตามท่อและไหลเข้าลำไส้เล็กส่วนต้น นอกจากน้ำย่อยแล้วตับอ่อนยังสร้างฮอร์โมนที่สำคัญคือ อินซูลิน Insulin ฮอร์โมนนี้จะเข้ากระแสเลือด หน้าที่ของฮอร์โมนนี้จะลดระดับน้ำตาลในเลือด ฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้างได้แก่

  • Insulin - จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • Glucagon – จะทำงานร่วมกับอินซูลินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่
  • Somatostatin –ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน
  • Gastrin – ช่วยในการย่อยในกระเพาะอาหาร

ตับอ่อนอักเสบ Pancreatitis

ตับอ่อนอักเสบเป็นการอักเสบของเนื้อตับอ่อน มีทั้งการอักเสบเฉียบพลัน และตับอ่อนอักเสบเรื้อรังซึ่งจะมีการทำลายเนื้อตับอ่อนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน และเกิดอาการตับอ่อนอักเสบเป็นๆหายๆ

อาการของตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

อาการของตับอ่อนอักเสบที่พบบ่อยได้แก่

  • ปวดท้องบริเวณกลางลิมปี่ร้าวไปด้านหลัง
  • คลื่นไส้อาเจียน ผู้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการขาดน้ำ
  • มีไข้
  • เหงื่อออก
  • กดหน้าท้องจะเจ็บ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจเร็ว

อาการของตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

อาการจะเหมือนตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน แต่จะมีอาการปวดบริเวณลิ่มปีและร้าวไปหลังแบบเรื้อรัง ถ่ายเป็นมูกมัน(ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง) น้ำหนักลดเนื่องจากมีปัญหาในการดูดซึมอาหาร อาจจะมีโรคเบาหวานร่วมด้วย

สาเหตุของตับอ่อนอักเสบ

สาเหตุของตับอ่อนอักเสบที่พบได้บ่อยคือนิ่วในท่อน้ำดีซึ่งไปอุดตันทางเดินน้ำย่อยจากตับอ่อน และจากการดื่มสุรา ส่วนสาเหตุอื่นๆได้แก่

  • ยาบางชนิดเช่น azathioprine, sulfonamides, corticosteroids, nonsteroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs),ยาปฏิชีวนะเช่น tetracycline
  • การติดเชื้อเช่น mumpshepatitis virus, หัดเยอรมัน rubella, Epstein-Barr virus (the cause of mononucleosis),และ cytomegalovirus
  • ระดับไขมัน Triglyceride สูง
  • การผ่าตัดซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงตับอ่อนลดลง
  • อุบัติเหตุหน้าท้อง
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • ดื่มสุรา
  • เนื้องอกในตับอ่อน

ใครที่เสี่ยงต่อการเกิดตับอ่อนอักเสบ

  • โรคทางเดินน้ำดี
  • ดื่มสุราเรื้อรัง
  • การผ่าตัด
  • ไขมัน Triglyceride ในเลือดสูง
  • สูบบุหรี่
  • อายุ 35-64 ปีเป็นช่วงอายุที่พบมากที่สุด

การวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบ

การวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบอาศัย

  • การเจาะเลือดตรวจได้แก่ CBC น้ำตาลในเลือด ระดับแคลเซี่ยมในเลือด ค่า amylase ในเลือดหากค่าสูงก็หมายถึงตับอ่อนอักเสบ
  • การทำ Ultrasound หรือการตรวจ CT เพื่อดูโครงสร้างตับอ่อน
  • การตรวจที่เรียกว่า ERCP เพื่อดูท่อน้ำดี และท่อตับอ่อนว่ามีนิ่วอุดตันหรือไม่

การรักษา

หากเป็นตับอ่อนอักเสบแพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล

  • ให้งดน้ำและอาหารในช่วงแรกของการรักษาเพื่อให้กระเพาะอาหารได้พัก
  • ให้น้ำเกลือและสารอาหาร
  • ให้ยาแก้ปวด
  • ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ
  • หากมีนิ่วในถุงน้ำดีแพทย์มักจะแนะนำการผ่าตัด

จะมีผู้ป่วยร้อยละ 20 ที่มีอาการรุนแรงจนต้องนอนใน ICU เนื่องจากตับอ่อนอักเสบจะมีการทำลายหัวใจ ไต

สำหรับตับอ่อนอักเสบเรื้อรังการรักษาจะมุ่งเน้นที่

  • อาการปวด
  • ภาวะขาดอาหารเนื่องจากขาดเอ็นไซม์ในการย่อยอาหารแก้ไขโดยการให้เอ็นไซม์ช่วยย่อย
  • ปก้ภาวะ metabolic ซึ่งจะแก้ไขโดยการให้อินซูลิน

โรคแทรกซ้อน

การป้องกันตับอ่อนอักเสบ

               

guest

Post : 2013-12-09 00:08:45.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ริดสีดวงทวาร

 ริดสีดวงทวาร Haemorrhoids  

ริดสีดวงทวารคือการที่หลอดเลือดที่ปลายลำไส้ใหญ่ และทวารหนักมีการบวมโป่งพอง และมีหลอดเลือดบางส่วนยื่นออกจากทวารหนัก

โครงสร้างทวารหนัก

ริดสีดวงทวาร

ภายในทวารหนัก (ทวารหนักอยู่ต่อจากลำไส้ใหญ่ตอนล่าง สุด เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนที่ต่อกับทวารหนัก) จะมีแนวเส้นที่เรียกว่า เส้นเด็นเทท หรือเส้นเพ็กทิเนท (Dentate line หรือ Pectinate line) ซึ่งเป็นเส้นแบ่งทวารหนักออกเป็นส่วนล่างและส่วน บน ทั้งนี้เมื่อเกิดริดสีดวงทวารในส่วนที่อยู่ใต้ต่อเส้นเด็นเทท เรียกว่า “โรคริดสีดวงภายนอก(External hemorrhoids)” และเมื่อเกิดริดสีดวงทวารเหนือต่อเส้นเด็นเทท เรียกว่า “โรคริดสี ดวงภายใน (Internal hemorrhoids)”

โรดริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อย  โดยมีอาการทางทวารหนักที่สำคัญคือเลือดออกขณะและหลังถ่ายอุจจาระ   และติ่งเนื้อขอบทวาร อาการในระยะแรกมักเป็น ๆ หาย ๆ ไม่รุนแรง  ผู้ที่มีการดำเนินโรคมากขึ้นเรื่อย ๆ มีไม่มากนักและมักกินเวลานานหลายปีก่อนจะถึงระดับที่รุนแรง  ริดสีดวงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

ริดสีดวงภายใน

คือ การที่เนื้อเยื่อของทวารหนัก  ที่อยู่สูงกว่าdentate line  เลื่อนตัวลงมาทางปากทวารหนักทำให้เกิดอาการเลือดออกขณะถ่ายอุจจาระ  หรือยื่นออกมาจากขอบทวารหนัก

   ริดสีดวงภายนอก  

คือเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ dentate line ยืดออกเป็นติ่งเนื้อ

ริดสีดวงภายในแบ่งตามความรุนแรงเป็น 4 ระยะ คือ 

  • ระยะที่ 1    ริดสีดวงอยู่เหนือ dentate line และไม่ยื่นออกมานอกขอบทวาร
  • ระยะที่  2   ริดสีดวงยื่นออกมานอกขอบทวาร ขณะถ่ายอุจจาระและเลื่อนกลับเข้าไปในทวารหนัก หลังถ่ายอุจจาระ
  • ระยะที่  3  ริดสีดวงยื่นออกนอกขอบทวาร  ขณะถ่ายอุจจาระ และหลังถ่ายอุจจาระต้องดันกลับเข้าไปในทวารหนัก
  • ระยะที่  4  ริดสีดวงยื่นออกนอกทวารหนักตลอดเวลา

ริดสีดวงทวารภายในและภายนอกจะเกิดร่วมกันได้บ่อยครั้ง การดูแลรักษาพิจารณาจากชนิด และ ความรุนแรงของโรค  ทั้งนี้การรักษามุ่งเพื่อบรรเทาอาการ  และไม่จำเป็นต้องขจัดหัวริดสีดวงทวารที่มีอยู่ทั้งหมด

สาเหตุของริดสีดวงทวาร

เกิดจากการที่หลอดเลือดดำหรือเนื้อเยื่อรอบทวารมีความดันสูงทำให้หลอดเลือดมีการโป่งพองออก โดยเฉพาะเมื่อเวลาเบ่งอุจาระ

ผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดริดสีดวงทวาร

  • ท้องผูก การนั่งแช่นานๆ รวมทั้งนั่งถ่ายอุจจาระนานๆ ทำให้ต้องเบ่งอุจจาระเป็นประจำ แรงเบ่งจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพอง หรือหลอดเลือดขอดได้ง่าย
  • ท้องเสียเรื้อรัง การอุจจาระบ่อยๆจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด เช่นกัน
  • อายุ ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อต่างๆรอบหลอดเลือด รวมทั้งของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด หลอดเลือดจึงโป่งพองได้ง่าย
  • การตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักของครรภ์จะกดทับลงบนกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดบวมพองได้ง่าย
  • โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องและในอุ้งเชิงกรานสูงขึ้น เช่นเดียวกับในหญิงตั้งครรภ์
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จึงเกิดการกดเบียดทับ/บาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดส่วนนี้เรื้อรัง จึงมีเลือดคั่งในหลอดเลือด เกิดโป่งพองได้ง่าย
  • โรคแต่กำเนิดที่ไม่มีลิ้นปิดเปิด (Valve) ในหลอดเลือดดำในเนื้อเยื่อหลอดเลือดซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือด จึงเกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดโป่งพองง่าย
  • อาจจากพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่า เมื่อครอบครัวมีประวัติเป็นโรคริดสีดวงทวาร

อาการของโรคริดสีดวงทวาร

  • มีก้อนเนื้อปลิ้นจากภายในขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ และยุบกลับเข้าไปเมื่อหยุดเบ่ง เมื่อเป็นมากต้องดันจึงจะกลับเข้าไป     และขั้นสุดท้ายอาจย้อยอยู่ภายนอกตลอดเวลา
  • มีเลือดแดงสดหยดออกมา หรือพุ่งออกมาขณะเบ่งถ่าย หรือหลังถ่ายอุจจาระจำนวนแต่ละครั้งไม่มากนัก ไม่มีอาการปวด หรือแสบขอบทวาร หรือพบเลือดบนกระดาษชำระ เลือดที่ออกจะไม่ปนกับอุจจาระไม่มีมูก และมักหยุดได้เอง อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ
  • เมื่อเป็นมาก หลอดเลือดจะบวมมาก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบหลอดเลือดจะบวมออกมาถึงปากทวารหนัก เห็นเป็นก้อนเนื้อนิ่ม ปลิ้นโผล่ออกมานอกทวารหนัก ซึ่งในภาวะเช่นนี้ จะก่ออาการเจ็บปวดได้
  • นอกจากอาการดังกล่าวแล้วผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการคันรอบทวารหนัก
  • อาจจะมาด้วยอาการมีมูกหลังจากถ่ายอุจาระ
  • เมื่อมีลิ่มเลือดเกิดในริดสีดวงที่โป่งพองจะก่ออาการปวด เจ็บ บวม และก่ออาการระคายเคืองบริเวณรอบปากทวารหนัก และอาการคัน แต่มักไม่ค่อยพบมีเลือดออกจากติ่งเนื้อนี้

1. การวินิจฉัยริดสีดวงทวาร 

หลักการวินิจฉัยที่สำคัญ

  • คือ การแยกโรคออกจากโรคอื่น ๆเช่นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก
  • ตรวจดูขอบทวารหนัก ส่วนใหญ่จะปกติ   หรือ อาจเห็นริดสีดวงทวารหนักยื่นออกมา
  • การตรวจทวารหนักด้วยนิ้วมือ (PR) ไม่ช่วยวินิจฉัยริดสีดวงทวารหนัก แต่ช่วยตรวจแยกโรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายริดสีดวงทวารหนัก โดยเฉพาะก้อนหรือแผลบริเวณทวารหนักหรือภายใน rectum
  • การตรวจด้วยส่องดูทวารหนัก anoscope  จะตรวจพบหัวริดสีดวงภายในได้ชัดเจน ควรทำเสมอเพื่อการวินิจฉัยโรคที่แน่นอน
  • การตรวจด้วยส่องด้วยกล้อง sigmoidoscope  ควรทำในรายที่มีอายุมาก    และจำเป็นต้องทำถ้ามีประวัติขับถ่ายผิดปกติเรื้อรัง  หรือถ่ายเป็นมูก ปนเลือด หรือคลำก้อนได้ภายในทวารหนัก
  • การส่งตรวจด้วยสวนสี x-ray ลำไส้ใหญ่ barium enema หรือการส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ colonoscopy ใช้ตรวจในกรณีทีอาการไม่ชัดเจนว่าเป็นโรคอะไรหรือมีอาการอื่น ๆ รวมทั้งตรวจในผู้ป่วยสูงอายุ
  • การตรวจร่างกายตามปกติ

จะต้องรายงานแพทย์ทุกครั้งหากมีอาการดังต่อไปนี้

  • น้ำหนัดลงชัดเจน
  • ระบบขับถ่ายผิดปกติ เช่นท้องผูกสลับกับท้องผู้ก
  • มีการเปลี่ยนแปลงของสีอุจาระ
  • อุจาระมีเลือดปน
  • พบมูกในอุจาระ 

                               

guest

Post : 2013-12-09 00:05:55.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  รูทวารฉีก

 แผลปริที่ขอบทวารหนัก Anal Fissure

Anal Fissure เป็นแผลเซาะ (tract) ที่เกิดใต้ dentate line แผลจะอยู่ที่บริเวณตรงกลางไม่ด้านหน้าก็ด้านหลังของ anal canal บางครั้งอาจเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ เช่น Crohn’s disease สาเหตุของโรคไม่ทราบชัดเจน แต่มักจะเกิดเกี่ยวข้องกับการเบ่งแรง ๆ ที่บริเวณ anal canal

อาการโรค anal fissure

เฉียบพลัน (acute)

จะมีอาการปวดบริเวณทวารหนักอย่างรุนแรงทันที และบางครั้งมีเลือดออก ในกรณีที่เป็นเรื้อรัง (chronic) จะมีอาการปวดทวารหนักเวลาถ่ายอุจจาระ หรือหลังเบ่งอุจจาระ และอาจมองเห็นมีจุดเลือดออกติดกระดาษชำระ หรือติดอยู่ที่ก้อนอุจจาระ
การตรวจ acute fissure ทำได้ยาก เนื่องจากาการปวด การตรวจในโรค chronic ทำได้ง่ายกว่า การตรวจด้วยความนุ่มนวลจะมองเห็นรอย fissure ได้ มักจะมองเห็นขอบรูแผลด้านบนอยู่ตดกับขอบของ internal anal sphincter

การดูแล

มักหายได้เอง การให้ยาที่เพิ่มขนาดของอุจจาระ ยาแก้ปวดที่ไม่ทำให้ท้องผูก และการใช้ยาทาแก้ปวด ทำให้หายได้เร็วขึ้น ในกรณีของ chronic fissure มักจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาดังกล่าว และมักต้องรักษาด้วยการรักษาที่ทำให้แรงตึงที่ anal canal ลดลง การพัฒนาการรักษาปัจจุบันเน้นการรักษาด้วยยามากกว่าการผ่าตัด มาตรฐานการรักษา anal fissure ปัจจุบันคือการใช้

  • Glyceryl trinitrate ointment (0.4%) ทาวันละสองครั้งนาน 6-8 สัปดาห์ ยานี้เป็นตัวสร้าง nitric oxide ซึ่งลดแรงตึงของ anal canal และทำให้แผลหายมากกว่าร้อยละ 50 ผู้ป่วยที่ใช้ยานี้บางคนมีอาการปวดศีรษะมากจนไม่สามารถใช้ยาต่อไป ยาอีกขนานหนึ่งที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง คือ
  • Diltiazem cream (2%) ซึ่งเป็น calcium channel blocker มีฤทธิ์ลดแรงตึงของ internal sphincter ได้เช่นกัน ส่วนยาที่สามารถใช้เป็นยาระดับสอง
  • (second line) คือ การใช้ botulinum toxin ฉีดเข้าไปบริเวณกล้ามเนื้อของ anal sphincter ยานี้จะไปห้ามการปล่อยสาร acetylcholine จากปลายประสาท ยามีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 2-3 เดือน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนน้อย บางคนหลังได้การรักษาด้วยยาเหล่านี้แล้วอาการยังหายก็ยังจำเป็นต้องรักษาด้วย

การผ่าตัด

ข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยการผ่าตัด

  • คือ การรักษาด้วยยาไม่ได้ผลดี การผ่าตัดที่เป็นมาตรฐานของโรคนี้ คือ การทำ lateral internal sphincterotomy โดยทำการตัดด้านล่างของ internal anal sphincter วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลดีในการรักษา fissure แต่อาจมีโอกาสทำให้เกิดการอั้นอุจจาระไม่อยู่ (incontinence) แม้ว่าจะเกิดไม่มากนักก็ตาม การรักษาด้วยการขยายทวารหนักที่เคยมีผู้ใช้กันในสมัยหนึ่งนั้น ปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว เนื่องจากผลที่ได้ไม่แน่นอน และมีโอกาสเกิดการกลั้นอุจจาระไม่อยู่ได้มาก เนื่องจากกล้ามเนื้อของ sphincter เสียหายมากเกินไป

guest

Post : 2013-12-09 00:01:31.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ฝีที่ทวาร

 

ฝีทวารหนัก Anal Abscesses และ โรคฝีคัณฑสูตรFistulas

ฝีที่ทวารหนักAnal abscesses หรือฝีที่ทวารหนักเกิดมาจากการติดเชื้อในต่อมของทวารหนักที่อุดตัน การติดเชื้อมักจะเริ่มเกิดที่บริเวณระหว่าง หูรูด การติดเชื้ออาจจะกระจายขยายขึ้น ลง หรือออกข้าง ๆ หรือออกรอบ ๆ ทวารหนัก ทางระบายของหนองเรียก fistulas ซึ่งทางเดินหนองอาจจะไหลเข้าในทวารหนัก หรือไหลออกผิวหนัง

อาการของโรค

  • Perianal และ ischiorectal abscesses เป็นฝีที่รอบทวารหนัก มีอาการปวดที่บริเวณทวารหนักจากหนอง และอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เมื่อตรวจด้วยตาจะพบว่ามีรอยนูน แดง ร้อนกดเจ็บ
  • fistulas ส่วนหนึ่งเริ่มจากการเป็นหนอง ในกรณีที่รุนแรงไม่มาก หนองอาจไหลออกมาบริเวณภายนอกผ่านบริเวณทวารหนักแบบเป็น ๆ หาย ๆ แต่บางครั้งทำให้ฝีหายได้ หรือบางครั้งหนองออกจากในทวารหนัก การวินิจฉัยมักได้จากการตรวจร่างกายตามปกติ ฝีที่ทวารหนักการตรวจภายนอกอาจเห็นแผลรูเปิดของ fistula ได้ การตรวจที่มองเห็นรูปผิดปกติ หรือมีแผลเป็นจากการติดเชื้อเรื้อรัง หรือจากการผ่าตัด การตรวจทางทวารหนัก อาจเห็นรูเปิด fistula ภายในที่สามารถคลำแทร็ก (track) ได้เป็นก้อนหนา ๆ หรือพบเป็นหนองอักเสบภายใน
    การตรวจทวารหนักด้วยนิ้วต้องตรวจการทำงานของ Sphincter ด้วย และการตรวจในขณะที่วางยาสลบ ทำให้สามารถประเมินได้ละเอียดมากขึ้น

การดูแล

การรักษาฝี อย่างเร่งด่วน คือ การระบายหนองออกให้หมด โดยทั่วไปจะไม่รักษา fistula ทันที เพราะอาจมีผลทำให้การทำงานของ sphincter เสียไป ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องใช้ทุกราย ยกเว้นว่าตรวจพบอาการอักเสบที่ผิวหนังมาก หรือในผู้ป่วยที่มีโรคภูมิต้านทานบกพร่อง หลังจากนั้นประมาณ 6-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจซ้ำเพื่อตรวจหา fistula ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือตรวจพบได้ในขณะนั้น

  • Anal fistulas ควรได้รับการรักษาโดยการเปิด fistula ให้หนองไหลให้หมดการ curette ที่มีอยู่ และปล่อยให้หายต่อไปภายหลัง fistulas ส่วนใหญ่เป็นช่องเปิดระหว่างภายนอกกับภายในที่ระดับของ dentate line และแทร็กมักไม่ผ่านทะลุกล้ามเนื้อ หรือผ่านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เปิดปากแผลได้อย่างปลอดภัย
  • Complex fistulas ที่มีแทร็กผ่านเข้าไปยังส่วนสำคัญของบริเวณ sphincter ทำให้การรักษายุ่งยากมากกว่า แนวทางการรักษาควรเริ่มจากการตรวจโดยให้ผู้ป่วยสลบ เพื่อให้ตรวจได้ละเอียดขึ้น รวมทั้งการใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงจากภายในทวารหนัก (endoluminal ultrasonography หรือ MRI) การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความหลากหลาย แต่ไม่มีการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้
  • ศัลยแพทย์ส่วนหนึ่งใช้ seton suture ใส่ในแทร็กของ fistula ระหว่างผ่าตัด และเอาปลายทั้งสองข้างมาผูกเข้าด้วยกันเป็นลักษณะวงกลม ถ้าใส่ seton suture แบบหลวม ๆ จะช่วยให้หนองไหลออกมาง่ายขึ้น ทำให้การติดเชื้อดีขึ้น การซ่อม fistula ทำหลังจากที่การติดเชื้อหายดีแล้วโดยใช้วิธี  advancement flap technique ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ การผูก seton suture ให้แน่นมาก ๆ และผูกให้แน่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ให้เชือกค่อย ๆ ตัดกล้ามเนื้อให้ขาดอย่างช้า ๆ ปลายกล้ามเนื้อที่ขาดไม่เกิดการฉีก จึงทำให้มีการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดเป็น fibrosis ยึดปลายให้ติดกันอย่างเดิม มีผู้พยายามใช้การฉีด fibrin glue หรือ collagen อุดแนวแทร็กของ fistula แต่ผลการรักษาระยะยาวไม่ดีเท่าที่ควร

guest

Post : 2013-12-08 23:56:25.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การตรวจรักษาอาการ “เลือดออก” (7) อุจจาระเป็นเลือด

 การตรวจรักษาอาการ “เลือดออก” (7) อุจจาระเป็นเลือด


ในคราวที่แล้วพูดถึงอาการไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือดมาแล้ว ในคราวนี้จะพูดถึงอาการเลือดออกอีกทางหนึ่ง ซึ่งหลายๆ คนคงเคยพบมาบ้าง นั้นคือ อาการอุจจาระเป็นเลือด มาดูในรายละเอียดกันเลยดีกว่าครับ

9. อุจจาระเป็นเลือด
 เป็นอาการเลือดออกทางทวารหนัก (ทางก้น) เลือดที่ออกมาพร้อมกับการถ่ายอุจจาระ (ขี้) มีหลายลักษณะ ที่พบบ่อย คือ

9.1 เสือดสีแดงสด มักพบใน

(1) ก้อนอุจจาระเป็นก้อนใหญ่แข็ง (ท้องผูก) ต้องออกแรงเบ่งมาก จึงจะถ่ายออกมาได้ ในขณะถ่ายจะรู้สึกเจ็บหรือแสบบริเวณก้น (ทวารหนัก) หลังก้อนอุจจาระผ่านแล้วจะมีเลือดสีแดงสดเป็นสาย หรือเป็นเส้นติดออกมากับก้อนอุจจาระหรือติดอยู่ที่ก้น เมื่อใช้กระดาษเช็ดกัน จะเห็นเลือดสีแดงสดที่กระดาษ อาการเลือดออกแบบนี้ มักเกิดจากก้อนอุจจาระที่ใหญ่และแข็งนั้นครูดกับผิว (เยื่อเมือก) ของทวารหนักทำให้เกิดเป็นแผลถลอก ทำให้เจ็บหรือแสบและมีเลือดออกเล็กน้อยเป็นเส้นหรือเป็นสายติดกับก้อนอุจจาระหรือติดอยู่ที่ทวารหนัก

การรักษา : ระวังอย่าให้ท้องผูก (ดูในหัวข้อต่อไป)

(2) โรคริดสีดวงทวารหนัก คนที่ท้องผูก (อุจจาระเป็นก้อนแข็ง) บ่อยๆ มักจะเกิดโรคริดสีดวงทวารหนัก (hemorrhoids) ทำให้เลือดสีแดงสดออกมาได้ง่ายขึ้นและมากขึ้นเวลาโดนครูดด้วยก้อนอุจจาระแข็งๆ ทำให้เลือดสีแดงสดหยดออกมาพร้อมกับการถ่ายอุจจาระหรือหลังการถ่ายอุจจาระ ส่วนใหญ่จะหยดออกมาหรือไหลออกมาไม่มากนัก แล้วก็จะหยุดเองเมื่อถ่ายอุจาระเสร็จ หรือหลังถ่ายอุจจาระเสร็จไม่นานนัก

การรักษา : ระวังอย่าให้ท้องผูก โดยกินอาหารที่มีกาก (เช่น ผัก ผลไม้) ให้มากขึ้น ดื่มน้ำให้มากขึ้น ดื่มน้ำให้มากขึ้น ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา กินมะขามหรือน้ำมะขามเพิ่มขึ้น อาจใช้ผลไม้หรือสมุนไพรอื่น เช่น มะละกอดิบ (ส้มตำ) มะละกอสุก น้ำต้มใบมะกา มะขามแขก เม็ดแมงลัก เป็นต้น

- ถ้ายังไม่หายท้องผูกอาจใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ ยาระบายมะขามแขกขององค์การเภสัชกรรม หรืออื่นๆ

- ส่วนเรื่องเลือดออกเล็กๆ น้อยๆ และอาการเจ็บแสบเล็กๆ น้อยๆ ที่ทวารหนัก มักจะหายเองในเวลาไม่นานนักหลังจากเช็ดและ/หรือล้างก้นให้สะอาดแล้ว

- ในกรณีที่เลือดออกมากหรือเจ็บแสบที่ทวารหนักมาก มักเกิดจากโรคริดสีดวงทวารหนักอักเสบ ถ้าเป็นมากควรไปโรงพยาบาล ถ้ายังไปไม่ได้ หรือถ้าเป็นไม่มากนักในระยะแรก ควรล้างก้นให้สะอาดแล้วใช้ผ้าห่อน้ำแข็งก้อนเล็กๆ ประคบบริเวณทวารหนักจนเลือดหยุดไหลและอาการเจ็บดีขึ้น

เมื่อเลือดหยุดไหลแล้วสัก 2-3 ชั่วโมง และยังมีอาการเจ็บบริเวณก้นอยู่ ควรนั่งแช่ก้นในน้ำอุ่นๆ (เอาน้ำอุ่นใส่ในกะละมังแล้วนั่งแช่) ครั้งละ 20-30 นาที วันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้ ถ้าสามารถหาซื้อยาเหน็บทวารหนักได้ ให้ใช้ยาเหน็บทวารหนัก เช่น พร็อกโทซีดิล (Proctosedyl) เชอริพร็อก (Scheriproct) เหน็บเข้าไปในทวารหนักตอนเช้า และตอนเย็น จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ลดอาการปวดบวมของก้อนริดสีดวงและทำให้ถ่ายอุจจาระได้สะดวกขึ้น ถ้าเลือดยังออกบ่อยๆ หรือมีอาการเจ็บปวดรุนแรงหรือเรื้อรังควรไปตรวจที่โรงพยาบาล

(3) เลือดออกจากลำไส้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ในกรณีเช่นนี้จะมีการถ่ายอุจจาระออกมาเป็นเลือดสีแดงปนกับเลือดสีแดงคล้ำ และมักจะมีลิ่มเลือด (ก้อนเลือด) ปนออกมาด้วย อาจจะมีหรือไม่มีอาการปวดท้อง และมักจะไม่มีอาการเจ็บปวดที่ทวารหนัก ในกรณีเช่นนี้ ควรให้ผู้ป่วยนอนพัก งดอาหารและน้ำ แล้วรีบพาไปโรงพยาบาล ถ้าสามารถเก็บเลือดที่ออกมา (เก็บใส่กระโถน หรือถุงพลาสติก) นำไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาลได้ก็ยิ่งดี จะทำให้การตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเร็วขึ้น จะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยมากขึ้น

9.2 เลือดสีแดงคล้ำ มักพบใน

(1) โรคริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งส่วนใหญ่เลือดจะออกไม่มากและจะหยุดเองได้ ให้การรักษาดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

(2) เลือดออกในลำไส้ใหญ่ ถ้าเลือดออกมากจะมีเลือดสีแดงสดและลิ่มเลือดปนออกมาด้วย ในกรณีเช่นนี้ ต้องให้ผู้ป่วยนอนพัก งดน้ำและอาหาร แล้วรีบพาไปโรงพยาบาล ถ้าเลือดออกน้อยและหยุดเองให้รอดูอาการก่อนได้ ถ้าไม่เป็นอีกก็ไม่ต้องทำอะไร ถ้าเป็นอีกควรไปโรงพยาบาลเช่นเดียวกัน

9.3 เลือดสีดำ หรืออุจจาระเหลวเป็นสีดำเหมือนยางมะตอยเหลวๆ หรือเฉาก๊วยเหลวๆ มักพบใน

(1) เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก มักมีอาการอาเจียนเป็นเลือดมาก่อน หรือไม่มีอาการอาเจียนก็ได้ ถ้าอุจจาระเหลวเป็นสีดำเป็นจำนวนมาก ควรให้ผู้ป่วยนอนพัก งดน้ำและอาหาร ควรรีบพาไปโรงพยาบาล (นำอุจจาระไปด้วยถ้าทำได้) ถ้าอุจจาระเหลวเป็นสีดำเป็นจำนวนไม่มากนัก และผู้ป่วยไม่มีอาการอะไร ควรเก็บอุจจาระนั้นไปตรวจที่โรงพยาบาลพร้อมกับผู้ป่วย แต่ไม่จำเป็นต้องรีบด่วนเหมือนในกรณีที่อุจจาระเหลวดำเป็นจำนวนมาก

(2) เลือดออกในลำไส้ใหญ่ส่วนต้นๆ และออกไม่มากนัก ทำให้เลือดค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นานจึงเปลี่ยนเป็นสีดำ ควรเก็บอุจจาระและพาผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาล

(3) การกินอาหารที่มีเลือดสัตว์ผสมอยู่ เช่น กินอาหารที่มีเลือดหมู เลือดเป็ด เลือดไก่ หรือเสื้อสัตว์อื่นผสมอยู่จำนวนมาก จะทำให้อุจจาระเป็นสีดำได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ถ้าอุจจาระสีดำหลังจากการกินอาหารดังกล่าว ก็ไม่ต้องตกใจอะไร จะหายเองหลังจากเลิกกินอาหารเหล่านั้น

(4) การกินยาบำรุงเลือด ก็จะทำให้อุจจาระเป็นสีเทาดำได้ แต่จะไม่ดำเหมือนเฉาก๊วย หรือยางมะตอย สีจะออกไปทางสีเทาดำมากกว่า ถ้ากินยาบำรุงเลือดแล้วอุจจาระเป็นสีดำ ก็ไม่ต้องตกใจ ถ้าจะให้แน่ใจก็ควรหยุดยาดู ถ้าหยุดยาแล้ว อาการอุจจาระดำหายไป ก็แสดงว่าอุจจาระดำเพราะยานั่นเอง ให้กินยาต่อไปถ้ายังซีดอยู่

(5) การกลืนเลือดที่ออกในจมูก (เลือดกำเดา) หรือออกในหลอดลม (ไอเป็นเลือด) หรือออกในปาก (แผลในปาก) ลงไป ก็จะทำให้อุจจาระดำได้เช่นเดียวกัน ให้รักษาอาการเลือดออกในจมูก ในหลอดลม หรือในปาก ดังที่กล่าวไว้แล้วในฉบับก่อนๆ อาการอุจจาระดำก็จะหายไปได้

หมายเหตุ : อุจจาระเป็นสีดำที่เป็นก้อนแข็ง มักไม่ได้เกิดจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น แต่เกิดจากการที่อุจจาระค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นานเกินไป ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีดำ เมื่อกินยาระบายหรือเปลี่ยนอุปนิสัยให้กายท้องผูก (หายอุจจาระแข็ง) แล้ว อุจจาระก็จะกลับมีสีเป็นปกติดังเดิม

9.4 เลือดปนมูก หรืออุจจาระเป็นมูกเลือด มักพบใน

(1) โรคบิด คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อในลำไส้ใหญ่ทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผล จึงอุจจาระเหลว และเป็นมูกเลือด เกิดได้ในคนทุกวัย เกิดจาก

ก. เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะแยกจากเชื้อแบคทีเรีย จึงอาจเรียกว่า “โรคบิดไม่มีตัว” มักมีอาการปวดบิดในท้องมาก มักมีไข้ อุจจาระเหลว ถ่ายกะปริดกะปรอย และไม่มีกลิ่นเน่าเหม็น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และมักจะไม่เป็นเรื้อรังเกินกว่า 1 สัปดาห์

การรักษา : ถ้าไม่มีอาการมาก ให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น ยาแอมพิซิลลิน (ampicilin) ขนาดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม กินครั้งละ 1 เม็ดก่อนอาหาร 3 มื้อ และก่อนนอนเป็นเวลา 5-7 วัน หรือยาอะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) เม็ดละ 500 มิลลิกรัม กินครั้งละ 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 5-8 วัน หรือยาโคไตรม็อกซาโซล (cotrimoxazole) กินครั้งละ 2 เม็ด หลังอาหารเช้าและอาหารเย็น เป็นเวลา 5-7 วัน ถ้ามีอาการมาก เช่น อ่อนเพลีย หมดแรง หน้ามืด เป็นลม ไข้สูง หรืออื่นๆ ควรให้น้ำเกลือ และส่งโรงพยาบาล

ข. เชื้อพยาธิ ซึ่งมองเห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์เป็นตัวพยาธิเคลื่อนไหวได้ หรือเป็นไข้พยาธิในอุจจาระสดๆ (ไม่ต้องย้อมสี) จึงอาจเรียกว่า “โรคบิดมีตัว” มักไม่ค่อยมีอาการปวดท้อง หรือปวดท้องก็ไม่รุนแรง ถ้ามีไข้ ไข้ก็มักจะไม่สูง อุจจาระบางครั้งก็ไม่เหลวแต่มีมูกเลือดปน และมีกลิ่นเหม็นเน่า ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื้อรัง อาจเรื้อรังเป็นเดือนหรือเป็นปีได้

การรักษา : ควรวินิจฉัยให้แน่นอนก่อนโดยการตรวจอุจจาระ จึงควรไปตรวจที่โรงพยาบาล ถ้าพบว่าเป็นโรคบิดมีตังจริง ให้รักษาด้วยยาเมโทรนิดาโซล (metronidazole) เม็ดละ 200 มิลลิกรัม กินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเป็นเวลา 10 วัน (คนรูปร่างเล็กกินครั้งละ 2 เม็ด คนตัวใหญ่ หรือน้ำหนักมาก กินครั้งละ 3 เม็ด)

(2) โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะส่วนใกล้ทวารหนัก มะเร็งทำให้เกิดแผล จึงเกิดมูกเลือดในอุจจาระได้ โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่มักเป็นกับคนที่อายุมากกว่า 40 ปี มีอาการอุจจาระเป็นมูกเลือดเรื้อรัง ไม่มีไข้ มักไม่ปวดท้องโดยเฉพาะอาการปวดบิด (ผิดกับโรคบิด) คนสูงอายุที่อุจจาระเป็นมูกเลือดเป็นๆ หายๆ เกินกว่า 2 สัปดาห์ ควรจะไปตรวจที่โรงพยาบาล พร้อมกับนำอุจจาระไปด้วย เพราะอาจจะต้องตรวจด้วยวิธีพิเศษ เช่น การส่องกล้องทางทวารหนัก หรือการเอกซเรย์โดยการสวนแป้งแบเรียมเข้าทางทวารหนัก เป็นต้น

(3) โรคลำไส้ขาดเลือด หรือลำไส้อักเสบจากกรณีอื่นๆ มักมีอาการอื่นๆ ด้วย และอาการมักจะรุนแรง ดังนั้น ถ้าอุจจาระเป็นมูกเลือด และมีอาการมาก ควรจะไปโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตาม

                      

guest

Post : 2013-12-08 23:49:28.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  อุจจาระตกค้าง … ในสภา

อุจจาระตกค้าง(กากสวะตกค้างในสภา- ขอซะหน่อย…)

อุจจาระตกค้าง เนื่องมาจาก(เหตุที่มีกากสวะสภาเนื่องมาจาก)

 1. เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด(ปฏิวัติรัฐประหารไม่เบ็ดเสร็จไม่กำจัดสวะออกไปให้หมด)

 2. กินอาหารที่มีกากใย น้อย(เกิดจากทำงานของรัฐบาลที่แล้วๆนู้น..ตามนโยบายของไอ้สู้แล้วหยุด อยากจะบอกตุ๊ดยังทำได้ดีกว่า พูดแล้วเซ็งจิต)

 3. มีพยาธิ หรือ เชื้อรา ทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ(มีลิ่วล้อสมุนพวกซากเน่าเหลือทำงานอยู่ในระบบ ทำให้ระบบทำงานผิดปกติ)

 4. ระบบดูดซึมเสีย เพราะน้ำมันพืชเคลือบ ทำให้น้ำที่ดื่มเข้าไป ไม่หมุนเวียน(กฏหมายอ่อน กระบวนการยุติธรรมทำงานช้า และมีคนคอยขัดแข้งขัดขาประจำ)

 5. ไม่ถ่ายอุจจาระเวลา 05.00-07.00 เช้า(ไม่Educateพวกประชาชนโดยเฉพาะรากหญ้า รากฝอย รากแขนง รากแก้ว รากกิ่ง รากแก่น (รวมๆก็ทุกรากนั่นแหละ) ให้ตระหนักถึงระบอบชั่วร้ายที่กัดกินประเทศมากว่าห้าปี)

(พอแค่นี้ก่อนดีกว่า ขี้เกียจแล้วน่ะครับ วันนี้ง่วง เอาเป็นว่าอ่านเอาความรู้เพื่อสุขภาพกันก่อนก็แล้วกันนะครับ หรือใครอยากแชร์ด้วยก็ดีครับ มุขตันเพราะดันง่วงมาก…)

 หากถ่ายอุจจาระ หลังเวลา 7 โมงเช้า ลำไส้จะบีบให้อุจจาระขึ้นไปข้างบน  เวลาถ่าย จะถ่ายไม่หมด แต่ไม่รู้ตัว  ที่ปลายลำไส้จะมีประสาทปลายทวาร เมื่อมีอุจจาระที่เหลวพอ มาจ่อปลายทวาร  ประสาทจะส่งสัญญานบอกสมองให้ปวดอึ หลัง 7 โมงเช้า  ลำไส้จะทำงานไม่เป็นปกติ บีบอุจจาระให้ขาดช่วง เวลาถ่ายจนรู้สึกว่าหมดแล้ว  เราก็หยุด แต่ความจริง อุจจาระท้ายขบวนยังไม่ออก  แต่มันถูกดันกลับขึ้นไป ไม่มาจ่อปลายทวาร ทำให้เราไม่ปวดอึ  เราก็นึกว่าหมดแล้ว

 อุจจาระที่ค้างไว้นี้ ก็จะเกาะที่ผนังลำไส้  พอมีอุจจาระใหม่ที่เหลวกว่า มันก็แซงหน้าไปก่อน  แต่มันไม่สามารถดันพวกที่ค้างแข็งให้ออกไปได้  พวกที่ค้างแข็งไว้

 ก็เกาะติดแน่น  ฉะนั้น ทุกวันที่ถ่าย มันก็ถ่ายเฉพาะอึที่เหลวพอ ส่วนที่เหลือ ก็เกาะไปเรื่อย  ๆ  อุจจาระตกค้างจะไปทับเส้นเลือดต่าง ๆ ในกระเพาะ  และ กดทับกระดูกหลัง ทำให้เกิดอาการมากมาย เช่น ท้องอืด ปวดหลัง ปวดขา  ปวดกล้ามเนื้อที่ไหล่และสะบัก เวียนหัว อ่อนเพลีย  นอนไม่หลับ เป็นฝ้า ไมเกรน และ อื่น ๆ 

คุณหมอพรทิพย์เขียนไว้ว่า  เวลาผ่าศพจะเจออุจจาระตกค้างในลำไส้อย่างน่าตกใจ

 บางศพ มีน้ำหนักอุจจาระถึง 10 กิโล  การนำอุจจาระตกค้างออกจึงจำเป็ นต้องสาเหตุว่าเป็นที่สาเหตุใดใน 5  สาเหตุข้างต้น  แต่ถ้าสามารถได้รับการตรวจด้วยลูกดิ่งเพนดูลั่ม ก็จะรู้ได้  สำหรับท่านที่ไม่สะดวกในการเดินทางมาให้ตรวจ  ก็แนะนำให้ถ่ายพยาธิเสียก่อน แล้ว ลองสูตรอาหารดังต่อไปนี้ 

** 1. เม็ดแมงลัก 2 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 แก้ว ทิ้งไว้ 30 นาที ดื่มก่อนนอน  เม็ดแมงลักจะลากอุจจาระตกค้างออกมา  ทานเป็นปกติได้ทุกวัน ** หรือ  3-4วันต่อสัปดาห์ แล้วแต่จะชอบ 

2. นมสด 2 กล่อง (รวมจะได้ประมาณ 500 มิลลิตร) และ กล้วยน้ำว้า 2 ลูก ทานก่อน 6 โมงเช้า  ช่วงแรกควรทานติดกัน 3 วัน หากถ่ายก่อน 7 โมงเช้าเป็นปกติได้แล้ว   ก็ลดมาเป็นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือ ตามที่เห็นสมควร 

3. ทานผักบุ้ง 2 กำมือ ผัด หรือ ต้ม ทำอาหารตามใจชอบ  ผักบุ้งจะลากอุจจาระตกค้างออกมาสำหรับผู้ที่สงสัยว่าระบบดูดซึมเสีย ให้ดูสูตร ชามะละกอ

guest

Post : 2013-12-08 23:41:01.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  คันก้น

 

คันก้น Pruritus Ani คันอวัยวะเพศหญิง pruritus vulvae

 

เป็นอาการที่รู้สึดคันรอบทวารหนักเรื้อรัง อาการคันจะเกิดอยู่ตลอดเวลา โดยมากจะเกิดหลังจากเข้าห้องน้ำ และก่อนนอน อาการคันจะเป็นมากเมื่อ ร้อน ชื้น เครียด ผลจากการคันจะทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเกิดการติดเชื้อ

สาเหตุของอาการคันก้น

อาการคันก้นไม่ใช่การวินิจฉัยเป็นเพียงอาการคัน ต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันก้น สาเหตุที่พบบ่อยๆได้แก่

  • โรคผิวหนัง รอบๆทวารหนัก เช่น ผื่นแพ้ ezema สะเก็ดเงิน seborrhoeic dermatitis
  • มีการระคายเคืองรอบทวารหนัก
    • มีความชื้น หรือเหงื่อมาก เช่นทารก หรือเด็กที่ทำความสะอาดไม่สะอาดพอ ผู้ที่ทำงานในที่ชื้น หรือมีขนบริเวณดังกล่าวจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการคัน
    • ทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวมากไป
    • สบู่ น้ำยาทำความสะอาด น้ำหอบ หรือสารระคายที่ติดบนกระดาษทำให้เกิดการระคายเคือง
  • การติดเชื้อบริเวณดังกล่าว
  • โรคริดสีดวงทวารหนัก
  • Anal fissure ตุ่ม (skin tag) แผล (ulcer, fissure) บริเวณทวารหนัก
  • อาหารบางประเภทจะทำให้เกิดอาการคันก้นหลังจากถ่ายอุจาระ เช่น ผลไม้เปรี้ยว องุ่น อาหารรสจัด
    • เบียร์ ชา กาแฟมากเกินไป
    • Carbonated beverages
    • Milk products ดื่มนม
    • มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ
    • Cheese
    • Chocolate
    • Nuts
  • ยาบางชนิดอาจจะทำให้เกิดอาการคันก้น เช่นยาปฏิชีวนะทำให้เกิดท้องร่วงทำให้คันก้น โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์กว้าง (broad spectrum antibiotic) ดังนั้นถ้ากินยาเหล่านี้อยู่ ควรลองหยุดยาเหล่านี้ดู หากเป็นยาที่แพทย์สั่งจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยา ยา steroid ทำให้ภูมิอ่อนลงเกิดการติดเชื้อ
  • เนื้องอก
  • โรคหรือบางภาวะที่ทำให้เกิดอาการคัน เช่นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไต โรคตับ
  • ตกขาว (leucorrhea) วินิจฉัยได้เพราะคนไข้มีเมือกหรือมูก หนองหรือเลือดปนหนองออกทางช่องคลอด ถ้าเป็นเมือกหรือมูกสีขาวคล้ายแป้งเปียก และเป็นไม่มากนัก (ไม่ต้องใช้ผ้าอนามัยคอยกันเปื้อน) ให้แช่ก้นในน้ำอุ่นวันละ 2-4 ครั้ง ครั้งละ 10-15 นาที แล้วซับด้วยผ้าสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นเมือกหรือมูกเป็นฟอง และ/หรือเป็นสีเหลือง นอกจากนั่งแช่ก้นในน้ำอุ่นแล้ว ควรเหน็บช่องคลอดด้วยยาเหน็บช่องคลอด (vaginal tablet หรือ vaginal suppository) เช่น ยาเหน็บโคลไทรมาโซล (clotrimazole vaginal tablet) ราคาเม็ดละประมาณ 6-7 บาท เหน็บช่องคลอดก่อนนอนครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 1 ครั้ง และเหน็บติดต่อกัน 3-6 วัน ชื่อการค้าของยานี้ เช่น Candinas® , Candinox® , Canesten® , Clomaz® , Clotricin® , Cotren® , Defungo® , Fungicon® เป็นต้น ถ้าเป็นหนองหรือหนองปนเลือด ควรไปโรงพยาบาล

การดูแลรักษา

หากทราบสาเหตุ

  • หากทราบสาเหตุก็รักษาที่ต้นเหตุ เช่นยารักษาเชื้อรา ยาปฏิชีวนะเป็นต้น
  • หากเป็นพยาธิ์หัวเข็มหมุดให้ ให้กินยาถ่ายพยาธิเข็มหมุด หรือยาถ่ายพยาธิตัวกลม เช่น ยามีเบนดาโซล (mebendazole) 1 เม็ด ขนาด 100 มิลลิกรัม แล้วกินซ้ำอีก 1 เม็ดหลังจากที่กินครั้งแรกแล้ว 2 สัปดาห์ (ชื่อการค้าของยานี้ เช่น Benda® , Bendosan® , Damaben® , Fugacar® , Mebasol® , Meben® , Mebenda-P® ฯลฯ ราคาประมาณเม็ดละ 2-3 บาท) ควรกินทั้งครอบครัว คนละ 1 เม็ด แล้วอีก 2 สัปดาห์ต่อมากินซ้ำอีกคนละ 1 เม็ด

หากไม่ทราบสาเหตุ

หากไม่ทราบสาเหตุให้หลีกเลี่ยงสารที่จะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง

  • เช่น สบู่ยา น้ำหอบ แป้ง
  • ใช้กระดาษชำระสีขาวที่ไม่มีสีหรือสารระคายเคือง และเช็ดอย่างเบาๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการคัน

สุขอนามัยการดูแลทวาร

  • ล้างก้นด้วยน้ำหลังจากถ่ายเพื่อชำระเอาอุจาระที่ติดออก และล้างก้นก่อนนอน
  • ใช้น้ำเปล่าล้าง หากใช้สบู่ควรเป็นสบู่อ่อนและไม่มีกลิ่นหอม
  • อาบน้ำทุกวันและล้างทวารด้วยน้ำเปล่า
  • เปลี่ยนชุดชั้นในทุกวัน

หลีกเลี่ยงความชื้นบริเวณทวารหนัก

  • หลังจากทำความสะอาดด้วยน้ำ ให้ใช้กระดาษซับทวารจนแห้งแล้วค่อยใส่ชุดชั้นใน
  • ใส่ชุดชั้นในเมื่อทวารหนักแห้ง
  • ใช้ชุดชั้นในที่ทำจากผ้าฝ่ายไม่ใช้ไนล่อน
  • หลีกเลี่ยงชุดที่ฟิตๆ
  • อย่านั่งนานเพราะจะทำให้ชื้น
  • หากที่ก้นมีความชื้นให้สอดสำลีตรงซอกก้น

หลีกเลี่ยงการเกา

  • เวลาตื่นอาจจะบังคับตัวเองได้ แต่เวลานอนซึ่งมักจะมีอาการคันมากขึ้นและเกาโดยไม่รู้ตัว
  • ให้ตัดเล็บให้สั้น
  • สวมถุงมือผ้าฝ้ายก่อนนอน
  • ทานยาแก้แพ้

guest

Post : 2013-12-08 23:38:49.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ฝีคัณฑสูตร

 

โรคฝีคัณฑสูตร

โรคฝีคัณฑสูตร (Anal fistula หรือ Fistula-in-ano) คือ โรคที่ด้านในของทวารหนักเกิดมีรูขึ้นมา ซึ่งรูนี้เป็นเส้นทางที่จะไปเชื่อมต่อกับผิวหนังภายนอกบริเวณแก้มก้นและทวารหนัก สาเหตุหลักเกิดจากการเป็นฝีที่ทวารหนัก หรือแผลรอบทวารหนักมาก่อน พบว่าผู้ป่วยที่มีฝีที่ทวารหนักจะมีโรคฝีคัณฑสูตรประมาณร้อยละ50

โรคฝีคัณฑสูตรพบได้ในทุกเชื้อชาติ โดยอัตราการเกิดโรคประมาณ 9 คนต่อประชากร 1 แสนคน เพศชายพบมากกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยกลางคนไปถึงจนถึงผู้สูงอายุ

 

โครงสร้างของทวารหนัก

ฝีคัณฑสูตรเกิดได้อย่างไร

โรคฝีคัณฑสูตร คือ เกิดจากการติดเชื้อของต่อมภายในทวารหนัก ทำให้มีเชื้อแบคทีเรีย อุจาระ และของเสียหมักหมมเกิดเป็นฝีหนอง หนองที่มีปริมาณมากขึ้นก็จะค่อยๆเซาะไปตามชั้นของกล้ามเนื้อของทวารหนัก ฝีคัณสูตรทะลุมาชั้นของผิวหนังที่อยู่บริเวณรอบๆทวารหนัก จนกระทั่งหนองแตกทะลุออกสู่ภายนอก กลายเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างช่องในทวารหนักกับผิวหนัง เรียกว่า Fistula

สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดเป็น Fistula นอกจากการเป็นฝีแล้ว ได้แก่

อาการของโรคฝีคัณฑสูตร

ผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตร จะมีอาการ

  • ปวดและบวมบริเวณแก้มก้น หรือบริเวณขอบรูทวารหนัก
  • มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรูที่ผิวหนัง
  • บางครั้งอาจมีเลือดปน หรือเป็นหนอง
  • บางครั้งมีอาการคันรอบๆรูที่ผิวหนังนี้ได้
  • และผิวหนังรอบๆรู อาจเกิดการอักเสบแดง

ช่องทางเชื่อมต่อนี้ บางครั้งอาจเกิดการอุดตันและติดเชื้อขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นฝีหนอง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการบวมและปวดมากที่บริเวณแก้มก้นหรือขอบรู/ปากทวารหนัก หรืออาจมีอาการปวดข้างในทวารหนัก มักมีไข้ร่วมด้วย ฝีหนองเหล่านี้ในที่สุดก็จะเซาะออกสู่ภายนอกผ่านทางผิวหนังบริเวณใกล้รูทวารหนัก ซึ่งอาจเป็นการเซาะมาตามรูเดิม หรือเซาะไปตามทางใหม่ก็ได้ ดังนั้นในผู้ป่วยบางคนอาจมีเส้นทางเชื่อมต่อออกสู่ภายนอกได้หลายทาง แต่ส่วนใหญ่จะมีรูเปิดด้านใน (ภายใน) ของทวารหนักเพียงรูเดียว

การแบ่งชนิด

การแบ่งชนิดของ fistula in ano มีความสำคัญต่อการเลือกการรักษา แต่ปัญหาก็คือการแบ่งชนิดจากคนไข้จริงไม่ได้ง่ายเหมือนในภาพวาด การแบ่งชนิดได้ดีต้องอาศัยประสบการณ์ของศัลยแพทย์ มากกว่าจะมีหลักการตายตัว วิธีที่เป็นที่ยอมรับคือวิธีของ Parks แบ่งเป็น 4 ชนิดดังนี้  Park classification

a and b=Intersphincteric fistula

c=Transphincteric fistula

d=Suprasphincteric fistula

e=Extrasphincteric fistula

1.Intersphincteric fistula เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เริ่มต้นจากการอักเสบที่ต่อมผลิตเมือก แล้วกลายเป็นฝีหนอง abscess ที่บริเวณ intersphincteric space (คือบริเวณที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อหูรูดชั้นในและชั้นนอก) ถ้าเซาะลงล่างไปทางปากทวารหนัก หรือได้รับการเซาะของหนอง ก็จะเกิดเป็น fistula.ที่บริเวณใกล้ปากทวาร อาจคลำได้เป็น tract แข็งๆชี้เข้าไปทางรูเปิดด้านในด้วย ลักษณะของ fistula ชนิดนี้ ฝีคัณฑสูตรชนิดนี้สา มารถใช้นิ้วตรวจคลำหาได้ค่อนข้างง่าย


2.Transphincteric fistula พบบ่อยรองลงมาจากชนิด intersphincteric fistula ชนิดนี้หนองจะเซาะผ่านทั้ง internal และ external sphincter ก่อนจะแตกออกมาสู่ผิวหนังด้านนอก ความสูงของ tract ต่างๆกันจึงทำให้อาจคลำได้หรือคลำไม่ได้ tract จากทางด้านนอกก็ได้  การใช้นิ้วตรวจคลำหาเส้นทางของฝีชนิดนี้จะทำได้ค่อนข้างยาก


3.Suprasphincteric fistula พบได้น้อย fistula จะเซาะตาม intersphincteric space ขึ้นสูงไป supralevator space จากนั้น fistula tract จะกัดเซาะทะลุผ่าน levator ani ลงมาแตกออกที่ผิวหนังเป็น external opening ดังนั้น fistula ชนิดนี้จะ involve กล้ามเนื้อหูรูดทั้งหมดที่มีอยู่ การคลำตรวจหาเส้นทางของฝีชนิดนี้ทำได้ค่อนข้างยากเช่นกัน


4.Extrasphincteric fistula เป็นชนิดที่พบได้น้อย อาจเกิดจาก transphincteric fistula ที่กัดเซาะทะลุ levator ani ผ่าน supralevator space แล้วแตกเข้าสู่ rectum นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น traumta, rupture diverticulitis, inflammatory bowel disease เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคฝีคัณฑสูตร

ประวัติ:ผู้ที่เป็นโรคนี้จะให้ประวัติมีหนองหรือน้ำเหลืองไหล หรือเลือด หรืออุจาระ ออกมาที่ผิวหนังรอบทวารหนัก ทำให้เกิดอาการคัน รู้สึกระคายเคือง ปวดเวลาถ่ายอุจาระ 

การตรวจ: ตรวจผิวหนังใกล้ๆกับทวารหนักเพื่อหาตุ่มนูน สีออกแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1 เซ้นติเมตร ซึ่งเป็นรูเปิด และอาจจะตรวจพบมีหนองหรือน้ำเหลืองไหลเมื่อบีบ ร่วมกับการสอดนิ้วมือเข้าไปตรวจในทวารหนัก เพื่อหารูเปิดภายในของทวารหนัก และทิศทางของช่องทางเชื่อมต่อ การกดและรูดช่องทวารหนักอาจจะช่วยให้น้ำเหลืองไหลซึมออกมาสังเกตุได้ง่ายขึ้น

การตรวจพิเศษ: 

  • โดยการใช้กล้องส่องเข้าไปเพื่อหาตำแหน่งของรูเปิดภายในทวาร Colonoscope
  • การสวนสีตรวจลำไส้ใหญ่ตามความจำเป็น
  • การตรวตl x-rays (computed tomography or CT), และการตรวจ ultrasonography) ตามความจำเป็น

รักษาโรคฝีคัณฑสูตร

การรักษาโรคฝีคัณฑสูตร แบ่งออกเป็น

  1. การรักษาฝีหนองในระยะก่อนที่จะเป็นฝีคัณฑสูตร คือ การผ่าฝีเพื่อระบายหนองออก ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวดลดไข้ รวมทั้งการดูแลทำความสะอาดบริเวณทวารหนัก การใช้น้ำอุ่นประคบช่วยลดอาการบวมและอาการปวด ฝีที่ระบายหนองออกแล้ว มีโอกาสกลายเป็นฝีคัณฑสูตรได้ประมาณ 40-50%
  2. การรักษาฝีคัณฑสูตร ในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการใดๆปรากฏ แต่ตรวจพบรูเปิดและเส้นทางเชื่อมต่อโดยบังเอิญจากการตรวจทวารหนักด้วยสาเหตุอื่นๆ ไม่ต้องให้การรักษา

แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการต้องให้การรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งมีหลายเทคนิควิธี ได้แก่

  • Fistulotomy ใช้ยาชาฉีดเข้าไขสันหลัง หรือการดมยาสลบ ทำโดยการใส่ตัวนำทาง Probe เข้าไปที่รูเปิดที่ผิวหนังจนกระทั่งไปโผล่ออกที่รูเปิดภายในทวารหนัก แล้วใช้มีดหรือจี้ไฟฟ้ากรีดเปิดเส้นทางเชื่อมต่อทั้งเส้นทางให้ทะลุออกสู่ภายนอก แล้วใช้ curette หรือจี้ทำลายตลอดความยาวของ tract เปิดแผลไว้ซึ่งปกติจะหายภายใน 4-5 สัปดาห์ เนื้อเยื่อจึงจะขึ้นมาจนเต็มแผล วิธีนี้จะใช้กับฝีคัณฑสูตรชนิด intersphincteric fistula ไม่มีผลเสียต่อการกลั้นอุจจาระ แต่อาจมีปัญหาด้านกลั้นผายลมได้ไม่ดี
  • Seton ligationวิธีการเริ่มต้นเหมือนการทำ fistulotomy คือตัดส่วนของ lower internal sphincter แต่เนื่องจากมีการ involve external sphincter ด้วยจึงต้องใช้วิธีรัดส่วนของ external sphincter วัสดุรัดจะค่อยๆตัดให้ขาดใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ โดยไม่ทำให้เสียFunction ของ external sphincte วิธีนี้เหมาะสำหรับฝีชนิดใช้สำหรับ
    • Complex fistulas ( high transsphincteric, suprasphincteric, extrasphincteric)or ฝีคัณฑสูตรที่มีหลายเส้นทางเชื่อมต่อหลายเส้นทาง(multiple fistulas)
    • ผู้ที่เป็นซ้ำหลังการรักษา
    • ฝีคัณฑสูตรในผู้หญิงที่มีรูเปิดอยู่ด้านบนต่อรูทวารหนัก
    • ผู้ป่วยที่การหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหูรูดไม่ด
    • Patients with Crohn disease or patients who are immunosuppressed
    • ฝีคัณฑสูตรในผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • Fistulectomy วิธีนี้ใช้ในผู้ป่วยกลุ่มเดียวกับผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ Seton ligation ยกเว้นในผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง วิธีการรักษาคล้ายกับ Fistulotomy แต่จะตัดส่วนของเส้นทางเชื่อมต่อ fistula tract ออกไปด้วย แล้วตามด้วยการใช้เนื้อเยื่อบางส่วนจากลำไส้ตรง (Rectum) มาปิดแผลและเย็บซ่อมกล้ามเนื้อหูรูด
  1. หากเกิดเป็นฝีหนองกำเริบขึ้นมา ต้องรักษาฝีหนองให้หายก่อนโดยการกรีดผ่าฝีธรรมดาเพื่อระบายหนองออก และให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อฝีหนองหายแล้วจึงนำผู้ป่วยไปผ่าตัดรักษาต่อไป

โรคแทรกซ้อนของโรคฝีคัณฑสูตร

ความรุนแรงและผลข้างเคียงของฝีคัณฑสูตร คือ

  1. เมื่อช่องทางเชื่อมต่ออุดตัน และกลายเป็นฝีหนอง เชื้อโรคอาจลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดและทำให้เกิดผลข้างเคียง คือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) ตามมาได้
  2. การผ่าตัดแต่ละวิธีมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือการกลั้นอุจจาระไม่ได้
  3. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาไปแล้ว มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีก

ผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตรควรพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

ผู้ป่วยโรคฝีคัณฑสูตรควรพบแพทย์เมื่อ

  1. เมื่อมีฝีหนองเกิดขึ้นบริเวณใกล้ๆรูปากทวารหนัก
  2. เมื่อมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้มก้น หรือบริเวณขอบรูทวารหนัก มีน้ำ เหลืองซึมออกมาจากรูที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นอาการของฝีคัณฑสูตร
  3. มีแผลเรื้อรังบริเวณรอบๆปากทวารหนัก เพื่อแยกว่าไม่ใช่แผลจากโรคมะเร็ง
  4. อุจจาระเป็นเลือด เพื่อแยกว่าไม่ใช่แผลมะเร็ง
  5. เจ็บแผลมาก
  6. เมื่อกังวลในอาการ
  7. แต่เมื่อพบแพทย์แล้ว ควรรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อ
    • อาการต่างๆหลังพบแพทย์แล้วเลวลง หรือผิดไปจากเดิม
    • ยังกังวลในอาการ

การป้องกันโรคฝีคัณฑสูตร

การป้องกันโรคฝีคัณฑสูตร คือ

  • ป้องกันการเกิดแผลบริเวณปากทวารหนักจากสาเหตุต่างๆดังกล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ที่ป้องกันได้ เช่น การป้องกันโรคแผลรอยแยกขอบทวารหนัก แผลปริขอบทวารหนัก เป็นต้น
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพกินผัก และผลไม้เพิ่มมาก เพื่อป้องกันอาการท้องผูก ้
  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
  • ใช้น้ำล้างก้นและใช้ทิชชูที่อ่อนนุ่มในการทำความสะอาดหลังอุจจาระเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดแผล
  • รักษาความสะอาดบริเวณปากทวารหนักเสมอ และควรล้างให้สะอาดทุกครั้งหลังการอุจจาระ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในบริเวณปากทวารหนัก และล้างทวารหนักก่อนนอน
  • เมื่อมีแผลบริเวณปากทวารหนัก ควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆ ไม่ปล่อยให้แผลเรื้อรังจนเกิดเป็นหนอง

guest

Post : 2013-12-08 23:35:28.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของปอด เช่น เนื้อปอด หลอดลมกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบบ่อย หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายขาดได้

มะเร็งคืออะไร

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant

  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด ส่วนใหญ่พบร่วมกับการสูบบุหรี่

  • สูบบุหรี่ จำนวนปีที่สูบ อายุที่เริ่มสูบ จำนวนบุหรี่ที่สูบ สูบแต่ละครั้งลึกแค่ไหน ทั้งหมดเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งปอด
  • สูบ cigars และ pipes
  • ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของผู้สูบบุหรี่
  • สัมผัสสาร Randon เป็นแก็สที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งพบได้ตามดินและหิน ผู้ป่วยทีทำงานเหมืองจะมีโอกาสเสี่ยง
  • ใยหิน Asbestos ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองใยหินมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอด<
  • ควันจากการเผาไหม้น้ำมัน และถ่านหิน
  • โรคปอด โดยเฉพาะวัณโรคมะเร็งจะเกิดบริเวณที่เป็นแผลเป็นวัณโรค<
  • ผู้เคยเป็นมะเร็งปอดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าคนปกติ

อาการของมะเร็งปอด อาการที่พบบ่อยมีดังนี้

  • ไอเป็นมากขึ้นเรื่อย
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • ไอเสมหะมีเลือดปน
  • หายใจเหนื่อย เสียงแหบ
  • เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
  • หน้าและคอบวม
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

การวินิจฉัย

แพทย์กำลังส่องกล้อง

กล้อง Brochoscope

เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงต่างๆและส่ง x-ray ปอด ส่งเสมหะตรวจหาเซลล์มะเร็ง

 การวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดคือการได้ชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิโดยพยาธิแพทย์วิธีการได้ชิ้นเนื้อมีหลายวิธีดังนี้

  1. Brochoscopy คือการส่องกล้องเข้าทางปาก ลงหลอดลม และเข้าปอดเพื่อตัดชิ้นเนื้อ<
  2. Needle aspiration คือใช้เข็มเจาะผ่านผนังทรวงอกเข้าปอด และเข้าเนื้อร้ายแล้วดูดเอาชิ้นเนื้อส่งตรวจ<
  3. Thoracenthesis คือใช้เข็มเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดส่งตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  4. Thoracotomy คือผ่าเข้าในทรวงอกและตัดเนื้อร้ายออก

หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็งแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเพื่อจะทราบว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยังโดยการตรวจดังนี้

  • CAT [Computed tomography] เป็นการ x-ray computer เพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง
  • MRI [magnetic resonance imaging] ใช้คลื่นแม่เหล็กตรวจ
  • Scan โดยใช้สารอาบรังสีฉีดเข้ากระแสเลือดและวัดรังสีที่อวัยวะนั้น เช่น ตับ กระดูก
  • Mediastinoscopy เป็นการส่องเข้าในช่องอกเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรือยัง

การรักษา

  1. การผ่าตัด แพทย์จะผ่าเอาเนื้อร้ายออกบางครั้งอาจต้องตัดปอดออกบางกลีบ lobectomy หรือตัดทั้งปอด pneumectomy
  2. เคมีบำบัด การให้สารเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดไปแล้วอาจมีมะเร็งบางส่วนหลงเหลือจึงให้เคมีบำบัดเพื่อทำลายส่วนที่เหลือ
  3. รังสีรักษา อาจให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของมะเร็ง แพทย์อาจให้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา
  4. Photodynamic therapy โดยการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือด สารนั้นจะอยู่ที่เซลล์มะเร็งแล้วใช้ laserเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง

มะเร็งปอดมีกี่ชนิด เราแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ 2 ชนิด

  1. non-small cell lung cancer พบบ่อย โตช้ามี 3 ชนิด

squamous cell carcinoma

adenocarcinoma

 

large cell carcinoma

  1. Small cell carcinoma หรือที่เรียก oat cell cancer พบน้อยแต่แพร่กระจายเร็ว

การรักษา non-small cell lung cancer

แพทย์จะเลือกการผ่าตัดและให้รังสีร่วมกับเคมีบำบัดเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

การรักษา small cell lung cancer

แพทย์จะเลือกให้เคมีรักษาร่วมกับการผ่าตัด และอาจให้รังสีรักษาแม้ว่าจะตรวจไม่พบว่ามีการแพร่กระจาย 

         

guest

Post : 2013-12-08 23:33:13.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคมะเร็งตับ

 มะเร็งตับ Liver cancer

โรคมะเร็งตับเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของตับกลายเป็นมะเร็งมีการแบ่งตัวของเซลล์ และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

มะเร็งตับคืออะไร

ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักโดยประมาณ 2 %ของน้ำหนักตัว ตับอยู่บริเวณใต้ชายโครงขวา แบ่งออกเป็น 2 กลีบคือกลีบขวา และกลีบซ้าย โดยมีเส้นเลือดมาเลี้ยง 2 เส้นคือ hepati artery และ portal vein ตับมีหน้าที่สะสมอาหาร เช่นน้ำตาล โปรตีน ไขมัน และวิตามินไว้ให้ร่างกายใช้ นอกจากนั้นยังเป็นอวัยวะที่ทำลายของเสีย

ตับยังทำให้หน้าที่สร้างโปรตีนที่เรียกว่า Albumin ซึ่งทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำในเซลล์และเนื้อเยื่อ และยังนำฮอร์โมนไปยังเนื้อเยื่อ

ชนิดของเนื้องอกตับ

เนื้องอกของตับมีทั้งชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งและชนิดที่เป็นมะเร็ง

เนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นมะเร็ง

  1. Hemangioma เป็นเนื้องอกที่เกิดจากหลอดเลือด ไม่มีอาการ บางรายมีเลือดออก การรักษาใช้การผ่าตัด
  2. Hepatic adenomas เกิดจากเซลล์ตับรวมตัวกันเป็นก้อน ผู้ป่วยมาด้วยอาการแน่นท้อง หรือคลำได้ก้อนที่ท้อง
  3. Focal nodular hyperplasia เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ตับหลายชนิด เช่น เซลล์เนื้อตับ เซลล์ของท่อน้ำดีการรักษาผ่าตัดเอาเนื้องอกออก

เนื้องอกที่เป็นมะเร็งตับ

  1. Angiosarcomas or hemangiosarcomas เกิดจากเซลล์ของหลอดเลือดในตับ พบมากในผู้ที่สัมผัส vinyl chloride or to thorium dioxide (Thorotrast) สาร vinyl เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก
  2. Cholangiocarcinoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ท่อน้ำดี พบได้บ่อยในผู้ที่อยู่ทางภาคอิสาน ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้แก่ผู้ที่มีพยาธิ์ใบไม้ในตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งชนิดนี้พบได้ร้อยละ13 ของมะเร็งตับ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต และปวดท้อง เนื่องจากก้อนมีขนาดใหญ่ทำให้ผ่าตัดไม่หมดต้องให้เคมีบำบัด และฉายแสงมักจะมีอายุไม่เกิน 6 ปีหลังจากวินิจัย
  3. Hepatoblastoma เป็นมะเร็งที่พบในเด็ก ถ้าพบในระยะเริ่มต้นการผ่าตัดจะได้ผลดี
  4. Hepatocellular carcinoma เป็นมะเร็งตับที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเซลล์ของตับ ในบทความนี้จะกล่าวถึงมะเร็งชนิดนี้เท่านั้น

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ

  1. ไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี พบว่าหากเป็นเรื้อรังจะพบการเกิดมะเร็งสูง
  2. การได้รับสาร Aflatoxin ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตจากเชื้อราที่อยู่ในอาหารพวกถั่ว แป้งสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว
  3. ตับแข็งจากสุรา ตับอักเสบ
  4. การได้รับสาร Vinyl choloride
  5. ยาคุมกำเนิดดังกล่าวข้างต้น
  6. ยาฮอร์โมนเพศชาย ที่ใช้รักษาโรคโลหิตจาง หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ
  7. สารหนู หากได้รับติดต่อกันก็เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ
  8. การสูบบุหรี่

มะเร็งตับป้องกันได้หรือไม่

มะเร็งตับสามารถป้องกันได้โดย

  • แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ บี แก่เด็กทุกราย รวมทั้งให้ความรู้ประชาชนถึงวิธีติดต่อของไวรัสตับอักเสบ บี ซี
  • ลดสาร aflatoxin โดยการเน้นการเก็บอาหารให้แห้งเพื่อลดปริมาณ aflatoxin
  • โรคตับแข็ง โดยการลดการดื่มสุรา
  • พยาธิ์ใบไม้ในตับ ให้ประชาชนบริโภคอาหารสุก
  • สารเคมีต่างๆ ควรมีมาตรการป้องกันทั้งผู้บริโภค และคนงานมิให้ได้รับสารเคมีเหล่านี้

เราสามารถให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับเมื่อเริ่มเป็นได้หรือไม่

โรคมะเร็งหากทราบเร็วผลการรักษาจะดี โรคมะเร็งตับสามรถตรวจหาระดับ alfa fetoprotein ค่านี้จะสูงหากเป็นมะเร็งตับ การเจาะเลือดชนิดนี้จะใช้เจาะในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง

อาการของโรคมะเร็งตับ

ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งตับที่มีอาการมักจะเป็นมะเร็งที่เป็นมาก อาการของโรคตับมักจะมีอาการเหมือนกับมะเร็งระบบอื่นๆ อาการต่างๆที่พบได้คือ

  • น้ำหนักลด
  • เบื่ออาหาร
  • จุกเสียดแน่นท้อง
  • ปวดท้องตลอดเวลา
  • ท้องบวมขึ้น หายใจลำบาก
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • คลำได้ก้อนที่บริเวณตับ
  • อาการผู้ป่วยทรุดลงอย่างรวดเร็ว

การวินิจฉัย

แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้วส่งตรวจ

  • Ultrasound ใช้คลื่นเสียงผ่านตับเพื่อหาว่ามีก้อนบริเวณตับ
  • CT scan บริเวณเพื่อหาก้อน
  • Angiography คือการฉีดสีเข้าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับ แพทย์จะทำใรายเพื่อการวางแผนผ่าตัด
  • Laparoscope คือส่องกล้องเข้าไปในช่องเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายเข้าท้องหรือยัง เป็นการวางแผนก่อนผ่าตัด
  • Biopsy คือการนำชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจทางพยาธิ ส่วนชิ้นเนื้อจะได้จากการใช้เข็มเจาะ หรือการใช้วิธีการผ่าตัด
  • เจาะเลือดตรวจ alfe-fetoprotein ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูง และเพื่อติดตามว่าจะกลับเป็นซ้ำหรือไม่

การรักษา

การรักษาขึ้นกับชนิดของมะเร็งตับ ขึ้นกับระยะของโรคว่าเป็นมากหรือน้อย โดยทั่วไปการรักษามีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัด จะทำได้ก็ต่อเมื่อมะเร็งอยู่เฉพาะที่ตับ และขนาดไม่ใหญ่มาก ที่สำคัญต้องไม่มีโรคอื่น เช่นตับแข็ง
  • embolizatio คือการฉีดสารบางอย่างให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็งตับทำให้มะเร็งขาดเลือด เป็นการรักษาในรายที่ไม่เหมาะต่อการผ่าตัด
  • การให้เคมีบำบัด มักจะไม่ค่อยได้ผล
  • การฉายรังสี มักจะไม่ค่อยได้ผล

           

guest

Post : 2013-12-08 23:30:54.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยในผู้ใหญ่ มะเร็งส่านใหญ่รักษาหายขาดถ้าสามารถวินิจฉัยได้เร็วและรักษาเร็วมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็เช่นกัน ดังนั้นท่านผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งคืออะไร

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก Tumor ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant

  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

โครงสร้างของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

 

ระบบทางเดินอาหารเริ่มตั้งแต่ช่องปาก [oral cavity] หลอดอาหาร [esophagus] กระเพาะอาหาร[stomach] ลำไส้เล็ก [jejunum] ส่วนลำไส้ใหญ่เริ่มตั่งแต่ ascending colon, transverse colon,descending colon,sigmoid colon ไปสิ้นสุดที่ ทวารหนัก rectum และเปิดที่รูทวาร anus หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือกักอาหารที่เหลือจากการดูดซึม ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 6 ฟุต ส่วน rectum ยาว 8-10 นิ้ว


ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบแต่มักจะพบร่วมปัจจัยต่างๆดังนี้

  • พบมากในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี แต่สามารถพบในอายุน้อยได้
  • อาหาร ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และใยอาหารน้อย
  • polyps เนื้องอกในลำไส้ใหญ่หากพบมากมีแนวโน้มเป็นมะเร็ง
  • ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรังไข่ มดลูก เต้านม มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง
  • ผู้ป่วยที่มีพ่อ แม่ พี่ น้องเป็นมะเร็งมีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง
  • ผู้ป่วยทีเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ ulcerative colitis

วิธีลดความเสี่ยง

จากการค้นคว้าพบว่า การวินิจฉัยและการตัด polyps การหยุดสูบบุหรี่ การที่ได้รับ aspirin การงดสุรา และการออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงลงได้

อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบบ่อย

  • อุจาระเหลวกับอุจาระแข็งสลับกัน บางครั้งเหมือนถ่ายไม่หมด
  • เลือดปนอุจาระ
  • อุจาระลำเล็กกว่าปกติ
  • ท้องอืดแน่นท้องตลอดเวลา
  • น้ำหนักลด
  • อาเจียน

การวินิจฉัย

เมื่อแพทย์ทราบอาการของผู้ป่วยและสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แพทย์จะซักประวัติครอบครัว ประวัติส่วนตัว หลังจากนั้นจะตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจพิเศษเพิ่มเติมดังนี้

  • ใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนัก โดยแพทย์จะสวมถุงมือและทาครีมหล่อลื่นแล้วตรวจเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจว่ามีก้อนเนื้อหรือไม่
  • ตรวจหาเลือดในอุจาระ โดยให้งดเนื้อสัตว์และเลือดรวมทั้งวิตามินบำรุงเลือด3 วันแล้วนำอุจาระตรวจหากผลตรวจให้ผลบวกแสดงว่ามีเลือดทางเดินอาหาร
  • การส่องกล้องมีทั้งการส่อง sigmoidoscope คือส่องดูแค่ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น และ colonoscopy ส่องดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด
  • การสวนสี barium enema โดยการสวนสารทึบรังสีเข้าในลำไส้ใหญ่แล้ว x-ray ดูลำไส้ใหญ่
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ biopsy อาจจะตัดชิ้นเนื้อขณะส่องกล้อง หรือตรวจหลังจากทราบผล x-ray

การแบ่งระยะของโรค

หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์จะแบ่งระยะของโรคโดยแบ่งตามการแพร่กระจายของโรคดังนี้

  1. Stage 0 คุณเป็นคนที่โชคดีเป็นโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น มะเร็งอยู่เฉพาะผิวของลำไส้
  2. Stage 1 มะเร็งอยู่เฉพาะผนังลำไส้ ยังไม่แพร่ออกนอกลำไส้
  3. Stage 2 มะเร็งแพร่ออกนอกลำไส้แต่ยังแพร่ไม่ถึงต่อมน้ำเหลือง
  4. Stage 3 มะเร็งแพร่ไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง แต่ยังไม่แพร่ไปยังอวัยวะอื่น
  5. Stage 4 มะเร็งแพร่ไปอวัยวะอื่นโดยมากไปยังตับและปอด
  6. Recurrent เป็นมะเร็งซ้ำหลังจาการรักษา

การรักษา

มีการรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสุขภาพ ตำแหน่ง ขนาด และระยะของโรค

  1. การผ่าตัด แพทย์จะตัดเนื้อร้ายทั้งหมดร่วมกับเนื้อดีบางส่วน โดยมากแพทย์สามารถต่อลำไส้ได้แต่บางรายไป่สามารถต่อลำไส้ได้แพทย์จะเปิดลำไส้ไว้ที่ผนังหน้าท้อง ถ่ายอุจาระทางหน้าท้องโดยมีถุงรองรับอุจาระ
  2. การให้เคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่เหลือจากการผ่าตัด
  3. การให้รังสีรักษา โดยมากจะให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของเนื้อร้าย หรือให้หลังการผ่าตัดเพื่อทำลายเซลล์เนื้อร้ายที่เหลือ
  4. Biological therapy คือการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

หลังการรักษาควรไปตรวจตามแพทย์นัดเพื่อตรวจดูว่ามะเร็งกลับเป็นซ้ำหรือไม่เพื่อที่จะให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยแพทย์จะตรวจร่างกาย ตรวจหาเลือดในอุจาระ x-ray เจาะเลือดตรวจ

        

guest

Post : 2013-12-08 23:27:50.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคมะเร็งถุงน้ำดี

มะเร็งถุงน้ำดี Cacinoma of gallbladder

มะเร็งถุงน้ำเกิดจากเซลล์ของถุงน้ำดี หรือท่อน้ำดีกลายเป็นมะเร็ง ถุงน้ำดีมีหน้าที่เก็บน้ำดีและทำให้น้ำดีมีความเข้มข้นขึ้น น้ำดีนี้สร้างที่ตับและมาเก็บกักที่ถุงน้ำดี หน้าที่ของน้ำดีจะทำการสลายหรือย่อยไขมันในลำไส้

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

สาเหตุของมะเร็งถุงน้ำดียังไม่มีใครทราบ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นมะเร็งถุงน้ำดีได้เพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงได้แก่

  • นิ่วในถุงน้ำดีและการอักเสบ ผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดีมักจะมีประวัติเป็นนิ่วในถุงน้ำด ีและหรือถุงน้ำดีอักเสบ แต่ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำก็ไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็งถุงน้ำดี
  • Polyps เป็นเนื้องอกที่ไม่เป็นมะเร็งแต่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งถุงน้ำดี
  • ความพิการของท่อหรือถุงน้ำดี ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของถุงน้ำดีจะมีโอกาสเกิดมะเร็งถุงน้ำดี
  • ผู้ที่มีถุงน้ำดีที่เรียกว่า Porcelain gall bladder จะมีแคลเซี่ยมเกาะที่ผนังของถุงน้ำดีซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งถุงน้ำดี
  • การสูบบุหร่ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งถุงน้ำดี
  • ประวัติครอบครัว ผู้ป่วยที่ประวัติครอบครัวโดยเฉพาะพี่น้องหรือพ่อแม่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งถุงน้ำดี
  • คนอ้วน คน้วนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งถุงน้ำดี

อาการของผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดี

ผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดีในระยะแรกเริ่มจะจะไม่มีอาการโดยมากจะทราบเพราะการผ่าตัดอย่างอื่นและพบโดยบังเอิญ ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดีจะมาในระยะสุดท้ายของโรค อาการที่สำคัญได้แก่ ไข้เจ็บชายโครงขวา บางรายอาจจะมีอาการดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง ท้องอืด น้ำหนักลด

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคมะเร็งถุงน้ำดี

เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งถุงน้ำดีระยะเริ่มแรกไม่มีอาการดังนั้นการตรวจโดยเครื่องมือจะช่วยในการวินิจฉัย เครื่องมือดังกล่าวได้แก่

  • เครื่อง Ultrasound โดยใช้คลื่นเสียงตรวจทำใ้เกิดเสียงสะท้อนกลับมา หากมีเงาผิดปกติจะทำให้สงสัยว่าเป็นมะเร็งถุงน้ำดี
  • การตรวจ computer ช่องท้อง การตรวจนี้ใช้เวลา 10-30 นาทีก็จะได้คำตอบ
  • การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็ก MRI (magnetic resonance imaging) scan ใช้เวลาตรวจประมาณ 1 ชั่วโมงและเสียงดังในระหว่างการตรวจ
  • การตรวจโดยการส่องกล้อง ERCP (endoscopic retrograde cholangio-pancreatography) วิธีการส่องกล้องแล้วสวนดีเข้าในทางเดินน้ำดี ซึ่งจะทำให้เห็นถุงน้ำดีและทางเดินน้ำดี
  • การฉีดสีเข้าเส้นเลือด Angiogram เนื่องจากถุงน้ำดีอยู่ใกล้อวัยวะเช่นหลอดเลือดจึงต้องฉีดสีเพื่อดูว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียง
  • การเจาะหน้าท้องเพื่อส่องกล้องเข้าไปดู Laparoscopy วิธีการนี้แพทย์จะเห็นอวัยวะภายในและถุงน้ำดี
  • และหากแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้แพทย์จะผ่าตัดเพื่อเข้าไปดูว่าเป็นโรคอะไรกันแน่

ระยะของโรค

การทราบระยะของโรคจะทำให้เราวางแผนในการรักษา โดยอาศัยขนาดของเนื้องอก การแพร่กระจายของโรค โดยแบ่งออกเป็น

  • ระยะที่1Stage 1 หมายถึงมะเร็งถุงน้ำดีที่มีเซลล์มะเร็งอยู่ที่ผนังของถุงน้ำดีพบได้ประมาณ1/4ของผู้ป่วย
  • ระยะที่2Stage 2 มะเร็งแพร่กระจายเต็มผนังถุงน้ำดีแต่ยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่3Stage3 มะเร็งแพร่ไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่น ตับ กระเพาะ
  • ระยะที่4 มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงอย่างน้อยสองแห่ง

Grading

หมายถึงลักษณะของเซลล์มะเร็งที่เห็นจากกล้องจัดได้เป็น low grade หมายถึงเซลล์มะเร็งจะมีลักษณะคล้ายเซลล์ปกติ มะเร็งชนิดนี้จะแพร่กระจายช้าส่วน high grade มะเร็งพวกนี้จะแพร่กระจายได้เร็ว

การรักษา

การเลือกชนิดของการรักษาขึ้นกับระยะของโรค สุขภาพของผู้ป่วย

การผ่าตัด

หากผู้ป่วยสุขภาพดีและโรคเป็นในระยะแรกเริ่มการผ่าตัดจะเป็นการรักษาหลัก แต่หากมะเร็งแพร่กระจายแล้วการผ่าตัดก็อาจจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น

การให้รังสีรักษา

โดยการใช้รังสีที่มีพลังงานสูงทำลายเซลล์มะเร็งผู้ ป่วย มะเร็ง

การใช้เคมีบำบัด

โดยการใช้ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่ได้ผลไม่ดี

หากเซลล์มะเร็งอุดกลั้นทางเดินน้ำดีแพทย์อาจจะใส่หลอดหรือที่เรียกว่า stent เพื่อระบายน้ำดี

guest

Post : 2013-12-08 23:24:23.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคมะเร็งเต้านม

 มะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านมตัวเอง

มะเร็งเต้านม

เต้านม

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อน มะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอ ตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอ ตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาศรอดชีวิตสูง ก้อนขนาดเล็กก่อนที่จะรู้เรื่องมะเร็งท่านต้องทราบ

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม

สูบบุหรี่ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งขึ้นกับ

  • อายุ
  • พันธุกรรม ประวัติการเกิดมะเร็งในครอบครัว และการเกิดมะเร็งเต้านมของตัวเอง
  • ปัจจัยของฮอร์โมน เช่นอายุเริ่มต้นของการมีประจำเดือน อายุที่หมดประจำเดือน การมีบุตร การให้นมบุตร ประวัติการใช้ยาฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง
  • นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงในแงพฤติกรรมเช่น ความอ้วน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเคยได้รับการฉายรังสี

ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม

การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะแรกเริ่ม

แมมโมแกรมวิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง การตรวจหามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีได้แก่

  1. การตรวจเต้านมด้วย แมมโมแกรม ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไป
  2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือพยาบาล
  3. การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

อาการของมะเร็งเต้านม

ผิวหนังมะเร็งเต้านมผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะไม่มีอาการอะไร โดยมากมักจะรู้ได้โดย

  • คลำได้ก้อนที่เต้านมหรือรักแร้
  • มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านม
  • มีน้ำไหลออกจากหัวนม
  • เจ็บ หรือหัวนมถูกดึงรั้ง
  • ผิวเต้านมจะเหมือนเปลือกส้ม

สำหรับผู้ที่มะเร็งเป็นมากและมีการแพร่กระจายของมะเร็งจะมีอาการ

  • ปวดกระดูก
  • น้ำหนักลด
  • แผลที่ผิวหนัง
  • แขนบวม

ก้อนที่เต้านม

การตรวจหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง

การตรวจหลังจากทราบผลชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็งเต้านมจะเป็นการตรวจเพื่อประเมินว่ามะเร็งเต้านมอยู่ในระยะไหน มีการแพร่กระจายหรือยัง มะเร็งมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนหรือไม่ การตรวจเหล่านี้มีความสำคัญในการวางแผนการรักษา

การตรวจหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง

ระยะของมะเร็งเต้านม

การประเมินระยะของมะเร็งเต้านมหมายถึงการประเมินว่าโรคมะเร็งมีการลุกลาม หรือมีแน้วโน้มที่จะลุกลามเร็วหรือไม่ การประเมินจะช่วยในการวางแผนการรักษา วิธีการประเมินมีด้วยกันสองวิธี

การประเมินระยะของมะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านม

การผ่าตัดมะเร็งเต้านมการรักษาโรคมะเร็งเต้านม จะต้องได้ประเมินระยะของผู้ป่วยแล้ว จึงวางแผนการรักษา โดยทั่วไปการรักษามะเร็งเต้านมมีด้วยกันดังนี้

  • การรักษาโดยการผ่าตัด
  • การรักษาโดยการให้เคมีบำบัด
  • การรักษาโดยการฉายรังสี
  • การให้ฮอร์โมน

การรักษาโรคมะเร็งเต้านม

มาป้องกันมะเร็งกันเถอะ

สาเหตุของมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การปฎิบัติตัวที่ดีจะลดการเกิดมะเร็งเต้านม

  • เปลี่ยนแปลงอาหาร เช่นลดพวกเนื้อสัตว์ลง ลดอาหารไขมัน
  • เลือกรับประทานอาหารผักหรือผลไม้
  • ควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วน
  • ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วันวันละ 30 นาที
  • งดบุหรี่ และแอลกอฮอลล์

             

guest

Post : 2013-12-08 23:22:15.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคมะเร็งปากมดลูก

 โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดที่ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อย บทความนี้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษา

มะเร็งคืออะไร

ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant

  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น polyps,cyst,wart
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis

โครงสร้างของปากมดลูก

โครงสร้างระบบอวัยวะสืบพันธ์ของคุณสุภาพสตร ีประกอบไปด้วยรังไข่ [ovary] ซึ่งต่อกับมดลูกโดยท่อรังไข่ [fallopian tube]  มดลูก[uterus]อยู่ระหว่างทวารหนัก [rectum] และกระเพาะปัสสาวะ [bladder] มดลูกติดต่อกับช่องคลอด [vagina] โดยมีปากมดลูก [cervix] เป็นทางติต่อระหว่างมดลูกและช่องคลอด

มะเร็งในระยะเริ่มแรก

เซลล์ที่ประกอบเป็นปากมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์ squamous cells and glandular มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ทั้งสองชนิด การเปลี่ยนแปลงของเซล์จะค่อยเปลี่ยนจนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า Precancerous ซึ่งมีด้วยกัน คือ cervical intraepithelial neoplasia (CIN), squamous intraepithelial lesion (SIL), and dysplasia.

  • Low-grade SIL หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเริ่มแรกของ รูปร่าง ขนาด และจำนวน บางครั้งอาจหายไปเองแต่ก็มีจำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น High-grade SIL บางครั้งเรียก mild dysplasia
  • High-grade SILหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุมดลูกที่เปลี่ยนไปจากเดิมชัดเจน ถ้าเซลล์อยู่เฉพาะปาดมดลูกเรียก moderate or severe dysplasia

มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด Squamous cell ประมาณร้อยละ 80%ถึง 90% ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 20 จะเป็นชนิด Adenocarcinomas

การเปลี่ยนแปลงจาก Precancerous เป็นมะเร็งใช้เวลาเป็นปี การรักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งจะป้องกันมิให้เกิดมะเร็ง

การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม

เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี

อาการของมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว

  • มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน
  • มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
  • มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่

  • การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
  • การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
  • การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
  • อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
  • ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
  • ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง

การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก

จากการทำการตรวจปากมดลูก pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ  Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร

              

guest

Post : 2013-12-08 23:20:10.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  มะเร็งผิวหนัง

 มะเร็งผิวหนัง

ประเทศไทยพบมะเร็งผิวหนังน้อยกว่าประเทศอื่นๆทั้งๆที่เราเป็นเมืองที่มีแสงแดดจัดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งผิวหนัง อาจเป็นเพราะผิวหนังของคนไทยมีเม็ดสีเมลานินที่ช่วยป้องกันอันตรายจากแสงแดด หรือเป็นจากเราไม่ได้ให้ความสำคัญ และละเลยในการค้นหาเฝ้าระวัง โรคนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นที่ผิวหนังไม่อันตรายก็เป็นได้

รู้จักมะเร็งผิวหนังกันก่อน

มะเร็งผิวหนังคือเนื้อร้ายที่เกิดบนผิวหนังและเยื่อบุ  เนื่องจากความผิดปกติของการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์ของผิวหนังและเยื่อบุ มะเร็งผิวหนังมีหลายชนิด ที่พบบ่อย ได้แก่

  • มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ Squamous cell carcinoma,
  • ชนิดเบเซลเซลล์ Basal cell carcinoma
  • เมลาโนมา malignant melanoma พบไม่บ่อย แต่มีความร้ายแรง เพราะสามารถกระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็วคือ มะเร็งของเซลล์เม็ดสี

มะเร็งผิวหนังอาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้นช้าๆ และลุกลามเฉพาะที่ หรืออาจจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วย เช่นต่อมน้ำเหลือง ส่วนมากจะพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี และพบในชายมากกว่าหญิง

 จะทราบได้อย่างไร ว่าไฝที่มีอยู่เป็นมะเร็งหรือไม่

คนที่มีไฝเป็นจำนวนมาก หรือมีไฝขนาดใหญ่ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งไฝได้สูงกว่าคนที่ไม่มี 

โดยปกติแล้วอาการจะดูออกยากเพราะจะเหมือนเป็นไฝทั่วไป แต่เราสามรถวินิจฉัยด้วยตัวเอง โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงง่ายดังนี้

  •  ดูบริเวณไฝที่เป็นว่ามีผื่นหรือก้อนที่โตเร็วกว่าปกติหรือไม่
  • มีสีเปลี่ยน
  • มีแผลเรื้อรังที่ไม่หายและขยายออกหรือไม่
  • พบผื่นที่ใช้ยาทาแล้วไม่หายหรือไม่
  • ตรวจสอบตนเองว่าเคยมีประวัติการใช้ยาหม้อ กินหมากหรือสูบบุหรี่หรือไม่ 
  • และมีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งดังกล่าวหรือไม่ 

ถ้ามีข้อสงสัย ให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อการวินิจฉัย ซึ่งทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัย ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

ลักษณะที่ทำให้สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนัง

 ไฝที่เป็นอยู่เดิม มีรูปร่างเปลี่ยนไป อาจใช้หลักง่ายๆ คือ ABCD ดังนี้

  • Asymmetryลักษณะของไฝสองข้างม่เหมือนกัน
    Border irregularity ขอบของไฝไม่เรียบ
    Colorสีของไฝไม่สม่ำเสมอ
    SADADAD Diameter ขนาดของไฝมากกว่า 6 มม
      1.  มีผื่นหรือก้อนที่เกิดขึ้นใหม่ และไม่หายใน4-6 สัปดาห์
      2.  ไฝหรือปานที่โตเร็ว และรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม มีอาการคัน แตกเป็นแผล และมีเลือดออก
      3.  แผลเรื้อรังไม่หายใน 4 สัปดาห์

      ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง

      1.  แสงอัลตราไวโอเลต (UVA,UVB) พวกที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง
      2.  เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์ ผิวไหม้แดดง่าย มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะมีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ คนที่เป็นโรคผิวหนัง Albinism ซึ่งมีความผิดปกติของการสร้างเม็ดสี จะพบมะเร็งผิวหนังได้บ่อย
      3.  การได้รับสารเคมีก่อมะเร็ง เช่น สารหนูที่ปนอยู่ในน้ำ ยาหม้อ ยาไทย ยาจีน ยาลูกกลอน
      4.  แผลเป็นจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลจากผื่นผิวหนังบางโรค เช่น DLE
      5.  มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
      6.  เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HPV ที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ
      7.  ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหลังการปลูกถ่ายไต
      8.  ผิวหนังในบริเวณที่เคยได้รังสีรักษา
      9.  คนที่สูบบุหรี่นานๆ จะเกิดมะเร็งในช่องปากได้

      การป้องกันและรักษา

      มะเร็งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นที่อวัยวะใด ถ้าสามารถตรวจพบตั้งแต่แรก และกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติออกได้หมด ก็สามารถหายขาดได้ มะเร็งผิวหนังมีข้อเด่นคือ ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มอยู่ภายนอก เราสามารถมองเห็นได้ จึงทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรกได้รวดเร็ว และยังติดตามการรักษาได้ง่าย

       การรักษามีหลายวิธี ขึ้นกับชนิด ตำแหน่ง และการลุกลามของโรค โดยทั่วไปมักใช้วิธีผ่าตัดเอามะเร็งผิวหนังออกให้หมด หลายครั้งที่มะเร็งเกิดบนใบหน้า ในบริเวณที่อาจมีการผิดรูปจากการผ่าตัดได้ ปัจจุบันมีวิธีผ่าตัดโดยวิธีที่เรียก Mohs micrographic surgery แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อและส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ในคราวเดียวกัน เพื่อตรวจดูว่าได้ตัดมะเร็งออกได้หมด หากยังมีหลงเหลือ ก็จะกลับมาผ่าตัดซ้ำจนหมด จึงจะเย็บปิดแผล วิธีนี้จะทำให้สามารถตัดมะเร็งออกได้หมดในคราวเดียว โดยไม่ตัดเนื้อดีออกมากเกินจำเป็น แต่ในบางครั้ง มะเร็งถูกทิ้งไว้จนมีขนาดใหญ่เกินที่จะตัดออกได้หมด อาจรักษาโดยการใช้รังสีรักษา หรือถ้ามีการแพร่กระจาย จะต้องให้เคมีบำบัดร่วมด้วย

      มะเร็งผิวหนังสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัย และรักษาตั้งแต่เริ่มแรก ถ้ามีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง ควรพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อตรวจหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรก ในคนทั่วๆ ไปก็ไม่ควรประมาท ระวังอย่าถูกแสงแดดจัด ใช้ครีมกันแดดให้ถูกต้องและเหมาะสม ไม่ควรใช้สารที่ทำให้ผิวขาวหรือทำลายเม็ดสี โดยเฉพาะการฉีดสารกลูต้าไธโอนเข้าเส้นเลือดดำ สังเกตการเปลี่ยนแปลงของหูด,ไฝ, ปาน หากมีแผลเรื้อรังหรือแผลที่ไม่หายใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ สำหรับผู้ที่อยู่ใกล้บริเวณ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ในวันที่ 29 และ 30 พฤศจิกายน 2553 นี้ทางสมาคมแพทย์ผิวหนังจะจัดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนังไปออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ขอเชิญไปรับบริการและคำปรึกษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

      มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ สาเหตุที่สำคัญคือ

      • แสงแดด โดยเฉพาะผู้ที่เคยผิวไหม้หรือพวกที่นอนอาบแดดผิวสี tan
      • ผู้ที่ได้รับรังสี
      • แผลเป็นจากรอยไหม้ของผิวหนัง
      • ผู้ที่สัมผัสน้ำมัน
      • กรรมพันธุ์
      • การป้องกันที่สำคัญคือการป้องกันการถูกแสงแดด
      • หลีกเลี่ยงแสงแดดช่วง 10.00-15.00 น ซึ่งเป็นช่วงที่มีรังสี UV สูงสุด
      • สวมเสื้อผ้าสีอ่อน เนื้อแน่น หมวกปีกกว้าง 3 นิ้วเมื่อเวลาออกแดด
      • ทาครีมกันแสงแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 15
      • การทาครีมควรทาตั้งแต่ในวัยเด็กเพราะรังที่ประมาณร้อยละ 80 จะได้รับก่อนอายุ 18 ปี

      การตรวจมะเร็งผิวหนังแรกเริ่ม

      ควรจะต้องเริ่มตรวจร่างกายตัวเอง การรักษามะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุดคือการค้นพบตั้งแต่แรกเริ่ม โดยต้องสำรวจร่างตายตัวเองให้ทั่วซึ่งต้องใช้กระจกตั้งและกระจกมือช่วย

      SADASDASDA

       

      ยืนหน้ากระจกส่องข้างหน้า ข้างหลัง ด้านข้างซ้ายขวา ยกแขนขึ้น

      • ตรวจแขน รักแร้ มือ หลังมือ ข้อศอก
      • ตรวจต้นขาด้านหน้า ด้านหลัง น่อง หน้าแข็ง เท่ หลังเท้า ซอกนิ้ว
      • ตรวจหลัง คอด้านหน้า ด้านหลัง หนังศีรษะ ไรผม
      • ตรวจหลัง หนังศีรษะ ไรผม

      มะเร็งผิวหนังเริ่มแรก

      เราเรียก Actinic keratoses คลิกอ่านที่นี่เป็นผื่นเล็กๆมีขุยมักจะพบบริเวณใบหน้า แขน หลังมือโดยเฉพาะบริเวณที่ได้รับแสงมาก หากไม่รักษาก็จะกลายเป็นมะเร็งในภายหลัง

      มะเร็งผิวหนังที่พบได้บ่อยคือ

      SaAS ลักษณะมะเร็งจะเป็นก้อนนูนขึ้นมา พบบ่อยบริเวณใบหน้า มือ ศีรษะ แต่ก็อาจจะพบตามลำตัวมักจะพบในคนผิวขาว ก้อนโตช้า

      s เป็นมะเร็งผิวหนังที่พบเป็นอันดับ 2 มักจะพบในคนผิวขาว มักจะพบบริเวณขอบหู ริมฝีปาก หน้า ก้อนโตช้าหากพบได้เร็วการรักษาจะหายขาด

      As เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและมีอัตราการตายสูง มักจะพบมากในคนที่เคยมีผิวไหม้จากแดด พวกผิวขาว

       

       

       

처음 이전 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | ... 다음 끝
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com