โรคต่อมไร้ท่อ
โรคต่อมไร้ท่อ หรือโรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disorders หรือ Endocrine disease) คือ โรคที่เกิดกับอวัยวะต่างๆในระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) ซึ่งอวัยวะในระบบต่อมไร้ท่อมักเป็นต่อมต่างๆที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย มีหน้าที่ช่วยกันทำงานเป็นเครือข่ายสร้างฮอร์โมนต่างๆ เพื่อควบคุมการทำงานทุกชนิดของร่างกาย รวมทั้งในด้านของเพศลักษณ์ การสืบพันธุ์ การตั้งครรภ์ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
อวัยวะ/ต่อมที่อยู่ในเครือข่ายของระบบต่อมไร้ท่อได้แก่ สมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลา มัส (Hypothalamus เป็นสมองส่วนอยู่ลึกตรงกลางระหว่างสมองใหญ่ซ้ายและขวาที่เรียกว่า Diencephalon) ต่อมไพเนียล ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์/ต่อมเคียงไท รอยด์ (Parathyroid gland ต่อมขนาดเล็กอยู่ใต้ต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่หลัก คือ ควบคุมการทำ งานของแคลเซียม) ต่อมไทมัส (Thymus gland ต่อมอยู่ในช่องอกส่วนบน หน้าต่อหัวใจ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย) ต่อมหมวกไต ตับอ่อน รังไข่ (ในผู้หญิง) และอัณฑะ (ในผู้ชาย)
ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนต่างๆ และฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อจะเข้าสู่กระแสโล หิตโดยตรง ไม่ต้องมีท่อนำส่ง จึงเป็นที่มาของชื่อ “ต่อมไร้ท่อ”
ต่อมไร้ท่อแต่ละชนิดจะสร้างฮอร์โมนที่แตกต่างกัน แยกกันทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย แต่ฮอร์โมนต่างๆเหล่านี้ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงถึงกันเสมอ โดยทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย จึงส่งผลให้โรคของต่อมไร้ท่อมีความสัมพันธ์กันเสมอ ถึงแม้จะเกิดโรคกับต่อมไร้ท่อต่อมใดต่อมหนึ่งก็ตาม ก็จะกระทบถึงการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆได้ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลถึงการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย
การทำงานของต่อมไร้ท่อ มักทำงานด้วยระบบ หรือ วงจร ที่เรียกว่า การป้อนกลับทางลบ หรือการควบคุมย้อนกลับแบบลบ (Negative feed back mechanism) เพื่อควบคุมปริมาณฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์พอดีต่อการใช้งานของร่างกาย (เกณฑ์ปกติ) โดยเมื่อร่างกายขาดฮอร์ โมน ภาวะขาดฮอร์โมนนั้นๆจะกระตุ้นให้เครือข่ายของการสร้างฮอร์โมนนั้นๆทำงานมากขึ้น ส่ง ผลให้มีการสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไร้ท่อนั้นๆมากขึ้น เพื่อให้ต่อมไร้ท่อนั้นๆสร้างฮอร์โมนที่ขาดหายไปให้ได้เพียงพอต่อร่างกาย วนเวียนเป็นวงจรอยู่ตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น ในการทำงานของต่อมไทรอยด์ เมื่อร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ปริมาณไทรอยด์ฮอร์โมนที่ลดลง จะกระตุ้นให้สมอง ไฮโปธาลามัส สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมใต้สมองในส่วนควบคุมต่อมไทรอยด์ให้ทำงานมากขึ้น ต่อมใต้สมองส่วนนั้นจึงสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์มากขึ้น ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างไท รอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น จนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งระดับไทรอยด์ที่ปกตินี้ ก็จะส่งสัญญาณกลับไปยัง สมองไฮโปธาลามัส ลดการสร้างฮอร์โมน ส่งผลลดการทำงานของต่อมใต้สมอง และต่อมไทรอยด์ ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ วนเวียนเป็นวงจรควบคุมให้การสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ดังนั้นการผิดปกติของวงจรนี้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคในระบบต่อมไร้ท่อ
โรคของต่อมไร้ท่อ พบเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยในเด็กแรกเกิด มักเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด หรือจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น เป็นต้น
โรคของอวัยวะในระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคเบาหวาน ที่เกิดจากการทำ งานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อของตับอ่อน
ส่วนโรคของต่อมไร้ท่ออื่นๆ เป็นโรคที่พบได้น้อยกว่าโรคเบาหวานมาก เช่น
สาเหตุของโรคต่อมไร้ท่อเกิดได้จาก
อนึ่ง อวัยวะต่างๆในระบบต่อมไร้ท่อ มักไม่เกิดโรคจากการอักเสบติดเชื้อ
อาการของโรคในระบบต่อมไร้ท่อ จะขึ้นกับว่าเป็นโรคที่เกิดกับต่อมไร้ท่ออะไร ทั้งนี้ โดย ทั่วไป คือ
แพทย์วินิจฉัยโรคทางต่อมไร้ท่อได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดและ/หรือการตรวจปัสสาวะเพื่อหาระดับฮอร์โมนต่างๆ การตรวจภาพอวัยวะที่สงสัยว่ามีโรคด้วย อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือ เอมอาร์ไอ และบ่อยครั้ง คือ การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมที่เกิดโรคเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
แนวทางการรักษาโรคทางต่อมไร้ท่อ คือ การรักษาสาเหตุ และการรักษาตามอาการ
ความรุนแรงของโรคต่อมไร้ท่อขึ้นกับสาเหตุ และขึ้นกับว่าเป็นโรคของต่อมอะไร เช่น เมื่อสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็ง ความรุนแรงโรคจะสูง หรือเมื่อเกิดโรคกับสมองไฮโปธาลามัส ความรุนแรงโรคจะสูง เป็นต้น
ในโรคที่เกิดจากเนื้องอก หรือโรคมะเร็ง ถ้าผ่าตัดก้อนเนื้อ หรือก้อนมะเร็งไม่ได้ ความรุนแรงโรคจะสูงกว่าการผ่าตัดก้อนเนื้อออกได้
นอกจากนั้น ความรุนแรงโรคจะเช่นเดียวกับในโรคอื่นๆ คือ ขึ้นกับสุขภาพโดยรวมของผู้ ป่วย และอายุ โดยในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ความรุนแรงโรคจะสูงกว่าในวัยอื่นๆ
อนึ่ง โรคของต่อมไร้ท่อ มักเป็นโรคเรื้อรัง และดังกล่าวแล้วว่า ฮอร์โมนมีส่วนสำคัญในการทำงานของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยโรคต่อมไร้ท่อ จึงมักมีปัญหาในด้านคุณ ภาพของชีวิต และมักจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ พยาบาลตลอดชีวิต
การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ เมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆ และอาการไม่ดีขึ้นภายในระยะ เวลาประมาณ 1 สัปดาห์หลังการดูแลตนเอง หรือถ้าอาการเลวลง ควรรีบพบแพทย์เสมอ และเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางต่อมไร้ท่อ การดูแลตนเองและการพบแพทย์ คือ
โดยทั่วไป ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรอง (ตรวจให้พบโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ) โรคทางต่อมไร้ท่อ ยกเว้น โรคเบาหวาน ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองได้จากการตรวจน้ำตาลในเลือดในการตรวจสุขภาพประจำปี
เมื่อดูจากสาเหตุ โรคทางต่อมไร้ท่อเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีป้องกัน ยกเว้น โรคเบาหวาน ซึ่งการป้องกันสำคัญ คือ ป้องกันการเกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โดยการจำกัดการกิน อาหารไขมัน อาหารเค็ม อาหารแป้งและน้ำตาล ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุข ภาพทุกๆวัน
นอกจากนั้น เพื่อลดความรุนแรงของโรค ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เพื่อการรักษาควบคุมโรคตั้งแต่ในระยะยังไม่มีอาการ เพราะการควบคุมโรคจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาเมื่อเกิดอาการแล้วเป็นอย่างมาก
วันที่: Fri Nov 15 04:50:55 ICT 2024
|
|
|