Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

โรคตากุ้งยิง

dan_ann_copel@outlook.com | 05-12-2556 | เปิดดู 901 | ความคิดเห็น 0

 

ตากุ้งยิง,stye,hodeolum

ตากุ้งยิงสามารถพบได้ทุกอายุ ทุกเพศ เป็นการอักเสบของหนังตา ถ้าอักเสบที่ขนตา(hair follicle) เรียก external hordeolum> ถ้าอักเสบที่ต่อมไขมันที่เปลือกตาเรียก internal hordeolum

อาการ

 

ผู้ป่วยจะมาด้วยมีก้อนที่เปลือกตา และมีอาการปวดหนังตา กรอกตาหรือหลับตาจะทำให้ปวด บางคนมีอาการบวมที่เปลือกตา บางคนบวมมากจะตาปิด บางคนหนองไหลออกจากเปลือกตา หากหนองแตกในตาจะทำให้มีขี้ตาเป็นสีเขียว

สาเหตุ

 

เกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus เป็นส่วนใหญ่ หากไม่รักษาหนองอาจจะหายเองได้หรืออาจจะแตกออก หรืออาจเกิดเป็นก้อนที่เรียกว่า chalazionซึ่งอาจจะมีขนาดใหญ่จนรบกวนการมองเห็น และมักจะพบตากุ้งยิงมากในคนไข้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวาน
  • โรคเรื้อรังอื่น
  • ผู้ที่มีหนังตาอักเสบเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

การตรวจร่างกาย

 

หากท่านมีปัญหาก้อนที่ตาและมีอาการปวดท่านควรจะไปพบจักษุแพทย์ซึ่งจะตรวจร่างกายอย่างละเอียด

  • แพทย์จะตรวจเปลือกตาทั้งด้านในและด้านนอกของเปลือกตาเพื่อแยกว่าเป็น internal หรือ external hordeolum
  • ท่านอาจจะพบตาท่านแดงเนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุตา conjunctivitis
  • ต่อมน้ำเหลืองที่หน้าหูมักจะไม่โต

เมื่อมองจากข้างนอก

เมื่อมองที่ด้านในเปลือกตา

ตากุ้งยิงที่หนังตาบน

External hordeolum

ก้อนchalazion

การรักษา

การผ่าระบายหนอง

 

 

  • ใช้มีดเบอร์เล็กๆหรือเข็มเจาะบริเวณหัวหนอง โดยมากให้เจาะจากด้านในของเปลือกตา เนื่องจากว่าการเจาะจากด้านนอกจะทำให้เกิดแผล นอกเสียจากว่าหัวหนองนั้นอยู่ใกล้เปลือกตาด้านนอก
  • หากมีหัวหนองหลายแห่งก็ต้องเจาะหลายที่
  • หากเจาะจากด้านในของเปลือกตาให้เจาะตั้งฉากกับเปลือกตา หากเจาะจากด้านนอกให้เจาะขนานกับเปลือกตาเพื่อป้องกันการดึงรั้งของแผล
  • ห้ามกรีดขอบหนังตาเพราะจะไปทำลายต่อมขนตา
  • ไม่ควรเจาะทั้งด้านในและด้านนอกพร้อมกันเพราะจะทำให้เกิดเป็นรูเรียก fistula

การใช้ยาหยอดตา

 

  • Bacitracin ophthalmic ointment ในรายที่เป็นมากให้ป้ายแผลวันละ 4-6 ครั้งเป็นเวลา 7 วันในรายที่เป็นน้อยป้ายวันละ 2-3 ครั้ง
  • Tobramycin ophthalmic solution หยอดตาวันละ3-4 ครั้ง

ยารับประทาน

 

  • Erythromycin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารข้อควรระวังในการใช้นาชนิดนี้ได้แก่ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับไม่ควรใช้ร่วมกับยา theophyllin, digoxin, carbamazepine,  cyclosporine warfarin;  lovastatin และ simvastatin ยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง
  • Dicloxacillin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร
  • Tetracycline ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้ง ข้อระวังหากรับยานี้ร่วมกับยารักษากระเพาะอาหารหรือยาระบายจะทำให้ลดการดูดซึมยานี้ ทำให้ระดับยาคุมกำเนิดลดลงอาจจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ห้ามใช้ในคนท้อง

การดูแลตัวเอง

  • ประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาทีวันละหลายครั้ง อาจจะใช้ผ้าห่อไข่ต้ม
  • ห้ามบีบหรือเค้นเพื่อเอาหนองออก หากหนองแตกเองก็ให้ล้างบริเวณหนองด้วยน้ำต้มสุก
  • ให้ล้างมือบ่อยๆ
  • ให้หยอดหรือทายาตามสั่ง
  • งดทาเครื่องสำอาง
  • หลีกเลี่ยงการใส่ contact lenses

โรคแทรกซ้อน

 

  • หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิด chalazion ซึ่งจะทำให้เกิดแผลที่แก้วตา หรือความผิดปกติของหนังตา
  • ขนตางอกผิดปกติ หรืออาจจะเกิดรู
  • หากไม่รักษาอาจจะทำให้ตาอักเสบ

                

 

ความคิดเห็น

วันที่: Fri Nov 15 04:47:57 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com