Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ปัสสาวะบ่อยจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมาก

dan_ann_copel@outlook.com | 05-12-2556 | เปิดดู 387 | ความคิดเห็น 0

 

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)

หลายท่านโดยเฉพาะผู้ที่สูงอาย ุและเป็นผู้หญิงมีอาการปวดปัสสาวะมากจนกระทั่งกลั้นปัสสาวะแทบจะไม่อยู่ จนไปห้องน้ำไม่ทัน บางท่านมีอาการปัสสาวะราดก็มี เมื่อไปตรวจกับแพทย์ แพทย์บอกตรวจไม่พบความผิดปกติและให้ยาแก้อักเสบ สักพักอาการก็กลับเป็นใหม่ เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นมาเป็นเดือน อาการเหล่านี้เรียก กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)

คำนิยามของโรค

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder) เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยอาการอยากปวดปัสสาวะ อาจจะมีกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ด้วยก็ได้ มีอาการปัสสาวะบ่อย(มากกว่าวันละ 8 ครั้ง/วัน) ปัสสาวะกลางคืน(มากกว่า 2 ครั้ง/คืน) โดยที่ตรวจไม่พบสาเหตุสรุปอาการที่สำคัญคือ

  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปวดมากจนต้องรีบไปปัสสาวะ
  • ปัสสาวะเร็ด

โรคหรือภาวะที่ทำให้เกิดอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ ตามตารางที่นี่

ภาวะ
กลไก
การแก้ไข
ทางเดินปัสสาวะ
   

การติดเชื้อ

การอักเสบทำให้กระตุ้นปลายประสาทเกิดอาการ อยากปัสสาวะ ให้รักษาการติดเชื้อก่อน

ทางเดินปัสสาวะอุดกั้น

การอุดกลั้นทำให้กล้ามเนื้อไวต่อการบีบตัว การผ่าตัด
กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวอ่อนแรง การที่มีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง
  • หลีกเลี่ยงยาที่ลดการบีบตัวของ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้กดบริเวณหัวเหน่าเมื่อปัสสาวะ
  • ใส่สายสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
มีความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ (เช่นเนื้องอก นิ่ว) ความผิดปกติทำให้กระเพาะปัสสาวะ ไวต่อการกระตุ้น ตรวจหาสาเ้หตุและรักษา
ผู้หญิง
   

ขาด estrogen

มีการอักเสบของช่องคลอดและท่อปัสสาวะ ใช่ยา estrogen ทาช่องคลอด

หุรูดอ่อนแรง

  • มีการรั่วของปัสสาวะทำให้เกิดการระคายเคือง
  • กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ บีบตัวแรงกว่ากล้ามเนื้อหูรูด
  • ใช่ยา estrogen ทาช่องคลอด
  • การผ่าตัด
ผู้ชาย
   

ต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากโต กระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัว
  • ประเมินและรักษาต่อมลูกหมากโต
  • การใช้ยา alpha adrenergic blocking
  • 5 alpha Reductase inhibitor เพื่อลดขนาดของต่อมลูกหมาก
  • การผ่าตัด
โรคระบบประสาท
 

กลไกการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)

กระเพาะปัสสาวะของคนเรามีหน้าที่เก็บปัสสาวะ โดยการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท และประสาทอัตโนมัติ โรคที่เกิดกับอวัยวะเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกต

โดยปกติเมื่อมีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 1/3 ของความจุจะเริ่มรู้สึกว่ามีน้ำในกระเพาะปัสสาวะ เพียงรู้สึกหน่วงๆระยะนี้จะไม่มีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะเลย ความรู้สึกปวดจะเริ่มเมื่อมีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะซึ่งโดยประมาณ 300-400 ซม มล. หากมีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่ปัสสวะเริ่มสะสมถือว่าผิดปกติ

การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เริ่มเมื่อมีสัญญาณส่งความรู้สึกจากกระเพาะปัสสาวะเป็นความรู้สึกตึงตัวของกระเพาะปัสสาวะผ่านไขสันหลังจนถึงสมอง เมื่อสมองแปลความหมายและเห็นสมควรว่าถ่ายปัสสาวะได้ จึงส่งกระแสประสาทลงมาไขสันหลัง ไปยังกระเพาะปัสสาวะให้บีบตัว ในขณะเดียวกันหากต้องการปัสสาวะโดยที่กระเพาะปัสสาวะไม่เต็มก็สามารถทำได้โดยการสั่งจากสมองโดยตรง นอกจากนั้นกรณีที่กระเพาะปัสสาวะระคายเคืองจากการอักเสบ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดรู้สึกปวดปัสสาวะ

การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ Parasympathetic ซึ่งมีสารนำประสาท neurotransmitter ที่สำคัญคือ Acetylcholine ในขณะเดียวกันที่ระบบประสาทอัตโนมัติ Sympathetic ก็ทำหน้าที่ของมันคือเก็บกักปัสสาวะโดยทำให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัว 

สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ

การตรวจวินิจฉัย

ในการตรวจวินิจฉัยโรคแพทย์จะซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยและนำไปสู่การรักษาได้ จุดประสงค์หลักของการวินิจฉัยคือการคัดกรองเอาโรคอื่นๆที่อาจจะมีอาการคล้ายคลึงกันออก เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือแม้กระทั่งมะเร็งกระเพาะปัสสาวะก็อาจจะทำให้มีอาการคล้ายกัน 

การตรวจร่างกาย เริ่มจากการตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจระบบประสาทเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจจะเป็นสาเหตุหรือเกิดร่วมด้วย

การรักษา

การรักษา OAB

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

  • การรักษาเชิงพฤติกรรม (Behavioral therapy) เช่น การกำหนดเวลาถ่ายปัสสาวะ ปรับปริมาณและเวลาในการดื่มน้ำ การให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ การดื่มน้ำต้องให้มีปริมาณมากพอ และต้องเลือกเวลาที่ดื่มด้วย
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวเช่น กาแฟ สุรา
  • การบริหารกล้ามเนื้อุ้งเชิงกราน การบริหารแบ่งเป็นสองแบบคือแบบที่หนึ่งให้ขมิบสั้นถี่ อีกแบบหนึ่งคือขมิบแต่ละครั้งให้นับ 1-20 ระหว่างที่ขมิบอย่ากลั้นหายใจ ทำวันละ 30-80 ครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์ทำแบบนี้บ่อยๆจะทำให้ลดอาการของปัสสาวะบ่อย
  • Vaginal weight training โดยการใส่วัสดุเข้าในช่องคลอดและขมิบ ทำวันละ15 นาที วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์

การใช้ยา

  1. anticholinergic drugs ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ท้องผูก ภาวะกรดไหลย้อน ตามัว ปัสสาวะคั่ง ยาที่ใช้บ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่
    • oxybutynin มีทั้งที่ออกฤทธิ์ปานกลางและระยะยาวขนาดที่ให้ 5 mg วันละ 3 ครั้งซึ่งสามารถลดอาการปวดปัสสาวะและปัสสาวะเร็ด สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ยาวคือรับประทานยาวันละครั้งจะให้ผลการรักษาดีเหมือนกัน
    • propiverine
    • tolterodine มีทั้งออกฤทธิ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ใช้ได้ผลดีทั้งอายุมากและอายุน้อย
    • and trospium
  2. Estrogen สำหรับผู้หญิงวัยทองจะใช้ทั้งยาทาหรือยารับประทานก็ได้ผล
  3. การรักษาด้วยยา
  4. การรักษาโดยปรับสมดุล
  5. การฉีด botulinum toxin
  6. การผ่าตัดขยายกระเพาะปัสสาวะ(Augmentation cystoplasty)

 

ความคิดเห็น

วันที่: Thu Nov 14 23:18:27 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com