|
---|
วัณโรค
วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันโรคนี้ได้รับความสนใจจากองค์การอนามัยโลก เนื่องจากอัตราการติดเชื้อเริ่มมากขึ้นและมีเชื้อที่ดื้อยามากขึ้น ประมาณว่าปีหนึ่งจะมีคนติดเชื้อใหม่ประมาณ 8 ล้านคนและเสียชีวิตประมาณ 3 ล้านคนต่อปี
การแพร่ของเชื้อโรค Transmission
เชื้อวัณโรคจะแพร่โดยเชื้อจนอยู่ในเสมหะที่มีขนาด 1-5 ไมครอนซึ่งจะไปถึงถุงลมในปอดและทำให้เกิดการติดเชื้อ เสมหะนี้จะเกิดจากการไอ จาม พูดหรือร้องเพลง เชื้อโรคอาจจะอยู่ที่กล่องเสียงหรือในปอด หากเสมหะมีขนาดใหญ่กว่านี้จะถูกติดที่เยื่อบุโพรงจมูกวึ่งไม่ทำให้เกิดโรค
สภาวะที่เอื้อต่อการติดเชื้อได้แก่
วิธีการที่จะทำให้เชื้อในอากาศมีน้อยลง
หากเชื้อที่อยู่ในอากาศมีปริมาณมากคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมก็มีโอกาศที่จะติดเชื้อโรค
สำหรับท่านที่พักอาศัยกับผู้ที่เป็นวัณโรคปอด ก็สามารถนำวิธีนี้ไปใช้เพื่อลดเชื้อในอากาศซึ่งจะทำให้ลดการติดเชื้อได้ วิธีที่จะลดปริมาณเชื้อได้แก่
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เชื้อวัณโรคมีอยู่หลายสายพันธุ์ได้แก่
กลไกการเกิดโรควัณโรค
หลังจากที่เราหายใจเอาเชื้อโรคเข้าในปอด หการ่างกายเรามีภูมิก็จะฆ่าเชื้อโรคได้ หากฆ่าได้ไม่หมดเนื่องจากจำนวนหรือความรุนแรงของเชื้อ เชื้อก็จะอยู่ในเม็ดเลือดขาว และแบ่งตัวอย่างช้าประมาณว่าจะแบ่งตัวทุก 25-32 ชมจนกระทั่งเวลาผ่านไป 2-12 สัปดาห์จะมีปริมณเชื้อ 1000-10000 เซลล์ซึ่งมีปริมาณมากพอที่จำทำให้ร่างกายสร้างภูมิต่อโรคซึ่งสามารถตรวจพบภูมิโดยการทดสอบทางผิวหนัง ก่อนที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อจะแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลืองและกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก ตับ ม้าม ปอดกลีบบน ไต กระดูก และสมอง เมื่อร่างการสร้างภูมิเต็มที่เชื้อจะไม่แบ่งตัวหรือแบ่งตัวช้ามากและจะไม่ติดต่อหรือเกิดโรค
สำหรับในบางภาวะที่ภูมิอ่อนแอเช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ เบาหวาน silicosis ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ จะมีโอกาสเกิดติดโรคได้ง่ายโดยเฉพาะใน 2 ปีแรก
อาการและอาการแสดงของโรควัณโรค
คนที่ติดเชื้อวัณโรคมีอาการได้หลายรูปแบบ บางคนอาจจะไม่มีอาการบางคนอาจจะมีอาการมากทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้
ก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโรคเอดส์เราจะพบว่าวัณโรคจะเป็นที่ปอดประมาณร้อยละ85 ส่วนอีกร้อยละ15จะเป็นวัณโรคที่ปอดและนอกปอด แต่หลังจากที่มีโรคเอดส์พบว่าร้อยละ 38เป็นวัณโรคปอด ร้อละ 30 เป็นวัณโรคนอกปอด ร้อยละ 32 เป็นทั้งวัณโรคปอดและนอกปอด
อาการทั่วๆไป
เป็นอาการที่เกิดจากโรคแต่ไม่ได้บอกว่าเป็นวัณโรคที่ตำแหน่งไหน อาการที่สำคัญได้แก่
อาการของวัณโรคปอด
การตรวจทางรังสี
การวินิจัยโรค
การวินิจที่ถูกต้องจะต้องตรวจพบตัวเชื้อโรค โดยการนำสารหลั่งต่างมาตรวจ เช่น เสมหะ น้ำจากกระเพาะอาหาร น้ำจากช่องปอด น้ำไขสันหลัง นอกจากนั้นหากสามารถเพาะเชื้อโรคได้จะทำให้การวินิจฉัยถูกต้อง การนำมาเพาะเชื้อก็มีความจำเป็นเนื่องจากเชื้อวัณโรคมีการดื้อยาบ่อยทำให้ต้องทราบว่าเชื้อดื้อต่อยาอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปรับยาที่ใช้รักษา นอกจากนั้นระยะเวลาก็มีความสำคัญ
เนื่องจากความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโรคดังนั้นการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจจึงมีความสำคัญซึ่งจะละเลยไม่ได้
การตรวจเสมหะ
ควรจะตรวจเสมหะอย่างน้อย 3 ครั้ง(ไม่เกิน 6 ครั้ง)โดยการตรวจวันละครั้ง เสมหะที่ได้ต้องมาจากในปอดโดยการไอ ไม่ควรขักน้ำลายหรือน้ำมูก ให้ไอเอาเสมหะออกมา ข้อต้องระวังการเก็บเสมหะเนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อทางการไอดังนั้นควรจะเก็บเสมหะในที่โล่งๆ ไม่ควรจะเก็บในห้องที่อยู่กันหลายคนและการระบายอากาศไม่ดีเพราะจะติดต่อคนอื่น
อุปกรณ์ที่ใส่เป็นขวดปากกว้าง มีฝาปิดมิดชิด น้ำไม่สามรถเข้าไปได้ เมื่อเก็บเสร็จแล้วต้องปิดฝาให้สนิท และรีบนำส่งห้องปฏิบัติการณ์ สำหรับท่านที่มีเสมหะน้อยอาจจะทำได้โดยการพ่นน้ำเกลือเพื่อให้เสมหะออกมา แต่ควรจะระบุด้วยว่าเป็นเสมหะที่เกิดจากการพ่นยาเพราะในเสมหะอาจจะมีลักษณะใสทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ตรวจ
การตรวจเขื้อวัณโรคจากน้ำย่อย
เนื่องจากเด็กไม่สามารถที่จะไอและเอาเสมหะมาตรวจจึงใช้วิธีใส่สายยางเข้าไปในกระเพาะและดูดเอาน้ำย่อยประมาณ 50 ซมโดยที่เด็กจะต้องงดอาหารประมาณ 8-10 ชมโดยสามารถตรวจพบเชื้อได้ประมาณร้อยละ 40
การตรวจเชื้อจากการส่องกล้อง Bronchoscope
ในรายที่สงสัยว่าจะเป็นวัณโรคปอดแต่ตรวจเสมหะแล้วไม่พบเชื้อ การส่องกล้องเข้าไปตรวจในหลอดลมแล้วใช้น้ำล้างเอาเสมหะออกมาตรวจ หรืออาจจะตัดชิ้นเนื้อเยื่อเพื่อไปส่องกล้องหาเชื้อวัณโรค
การตรวจหาเชื้อจากปัสสาวะ
จะเก็บปัสสาวะในตอนเช้าโดยเก็บช่วงกลางของปัสสาวะโดยนำไปเพาะเชื้อ การยอมเชื้อมักจะไม่พบเชื้อ และไม่ควรจะรับยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะจะทำให้เพาะเชื้อไม่ขึ้น
การเพาะเชื้อจากเลือด
จะต้องใช้หลอดนำส่งและจานเลี้ยงเชื้อเฉพาะสำหรับเชื้อวัณโรค
การตรวจน้ำไขสันหลัง
การวินิจฉับวัณโรคเยื่อหุ้มสมองโดยการตรวจน้ำไขสันหลังจะพบว่าระดับน้ำตาลในน้ำไขสันหลังจะต่ำ โปรตีนในน้ำไขสันหลังจะมากกว่า50%ของในเลือด เซลล์ในน้ำไขสันหลังส่วนใหญ่เป็นชนิด lymphocyte การนำน้ำไขสันหลังไปย้อมมักจะไม่พบตัวเชื้อแต่การเพาะเชื้อก็อาจจะขึ้นเชื้อวัณโรค
การตรวจน้ำจากแหล่งอื่น
เช่นน้ำจากช่องท้อง เยื่อหุ้มปอด หลักการแบบเดียวกับน้ำไขสันหลัง
การตรวจเนื้อเยื่อ
การตัดเนื้อเยื่อจากเยื่อหุ้มปอด เยื่อบุช่องท้อง เยื่อหุ้มหัวใจ หรือเนื้อเยื่ออื่นๆเช่นต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น แล้วนำเนื้อเยื่อไปย้อมก็อาจจะพบตัวเชื้อโรค แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อโรค
การตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยวิธี RNA and DNA amplification
การตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้วินิจฉัยได้เร็ว จากการทำในห้องทดลองพบว่าสามารถตรวจพบเชื้อโรคแม้ว่าจะมีจำนวนน้อย 10 เซลล์ เมื่อเปรียบเทีบกับการตรวจเสมหะด้วยวิธีปกติ พบว่าหากย้อมเชื้อพบเชื้อการตรวจวัณโรคด้วยวิธีนี้จะให้ความไว sensitivity ร้อยละ95และความแม่ยยำ specificity ร้อยละ 98 หากตรวจย้อมเสมหะไม่พบเชื้อ จะพบความไวร้อยละ 48-53และความแม่นยำร้อยละ 95 ของการตรวจโดยวิธีเพาะเชื้อ
การเพาะเชื้อวัณโรค
เมื่อเก็บเสมหะหรือสารคัดหลั่งอย่างได้แล้วก็จะนำสารคัดหลั่งนั้นไปเพาะเชื้อวัณโรคเพราะ
วันที่: Thu Nov 14 22:58:47 ICT 2024
|
|
|