ฝีทวารหนัก Anal Abscesses และ โรคฝีคัณฑสูตรFistulas
Anal abscesses หรือฝีที่ทวารหนักเกิดมาจากการติดเชื้อในต่อมของทวารหนักที่อุดตัน การติดเชื้อมักจะเริ่มเกิดที่บริเวณระหว่าง หูรูด การติดเชื้ออาจจะกระจายขยายขึ้น ลง หรือออกข้าง ๆ หรือออกรอบ ๆ ทวารหนัก ทางระบายของหนองเรียก fistulas ซึ่งทางเดินหนองอาจจะไหลเข้าในทวารหนัก หรือไหลออกผิวหนัง
อาการของโรค
- Perianal และ ischiorectal abscesses เป็นฝีที่รอบทวารหนัก มีอาการปวดที่บริเวณทวารหนักจากหนอง และอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว เมื่อตรวจด้วยตาจะพบว่ามีรอยนูน แดง ร้อนกดเจ็บ
- fistulas ส่วนหนึ่งเริ่มจากการเป็นหนอง ในกรณีที่รุนแรงไม่มาก หนองอาจไหลออกมาบริเวณภายนอกผ่านบริเวณทวารหนักแบบเป็น ๆ หาย ๆ แต่บางครั้งทำให้ฝีหายได้ หรือบางครั้งหนองออกจากในทวารหนัก การวินิจฉัยมักได้จากการตรวจร่างกายตามปกติ การตรวจภายนอกอาจเห็นแผลรูเปิดของ fistula ได้ การตรวจที่มองเห็นรูปผิดปกติ หรือมีแผลเป็นจากการติดเชื้อเรื้อรัง หรือจากการผ่าตัด การตรวจทางทวารหนัก อาจเห็นรูเปิด fistula ภายในที่สามารถคลำแทร็ก (track) ได้เป็นก้อนหนา ๆ หรือพบเป็นหนองอักเสบภายใน
การตรวจทวารหนักด้วยนิ้วต้องตรวจการทำงานของ Sphincter ด้วย และการตรวจในขณะที่วางยาสลบ ทำให้สามารถประเมินได้ละเอียดมากขึ้น
การดูแล
การรักษาฝี อย่างเร่งด่วน คือ การระบายหนองออกให้หมด โดยทั่วไปจะไม่รักษา fistula ทันที เพราะอาจมีผลทำให้การทำงานของ sphincter เสียไป ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องใช้ทุกราย ยกเว้นว่าตรวจพบอาการอักเสบที่ผิวหนังมาก หรือในผู้ป่วยที่มีโรคภูมิต้านทานบกพร่อง หลังจากนั้นประมาณ 6-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจซ้ำเพื่อตรวจหา fistula ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือตรวจพบได้ในขณะนั้น
- Anal fistulas ควรได้รับการรักษาโดยการเปิด fistula ให้หนองไหลให้หมดการ curette ที่มีอยู่ และปล่อยให้หายต่อไปภายหลัง fistulas ส่วนใหญ่เป็นช่องเปิดระหว่างภายนอกกับภายในที่ระดับของ dentate line และแทร็กมักไม่ผ่านทะลุกล้ามเนื้อ หรือผ่านเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เปิดปากแผลได้อย่างปลอดภัย
- Complex fistulas ที่มีแทร็กผ่านเข้าไปยังส่วนสำคัญของบริเวณ sphincter ทำให้การรักษายุ่งยากมากกว่า แนวทางการรักษาควรเริ่มจากการตรวจโดยให้ผู้ป่วยสลบ เพื่อให้ตรวจได้ละเอียดขึ้น รวมทั้งการใช้การตรวจด้วยคลื่นเสียงจากภายในทวารหนัก (endoluminal ultrasonography หรือ MRI) การรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความหลากหลาย แต่ไม่มีการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้
- ศัลยแพทย์ส่วนหนึ่งใช้ seton suture ใส่ในแทร็กของ fistula ระหว่างผ่าตัด และเอาปลายทั้งสองข้างมาผูกเข้าด้วยกันเป็นลักษณะวงกลม ถ้าใส่ seton suture แบบหลวม ๆ จะช่วยให้หนองไหลออกมาง่ายขึ้น ทำให้การติดเชื้อดีขึ้น การซ่อม fistula ทำหลังจากที่การติดเชื้อหายดีแล้วโดยใช้วิธี advancement flap technique ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ การผูก seton suture ให้แน่นมาก ๆ และผูกให้แน่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ให้เชือกค่อย ๆ ตัดกล้ามเนื้อให้ขาดอย่างช้า ๆ ปลายกล้ามเนื้อที่ขาดไม่เกิดการฉีก จึงทำให้มีการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และทำให้เกิดเป็น fibrosis ยึดปลายให้ติดกันอย่างเดิม มีผู้พยายามใช้การฉีด fibrin glue หรือ collagen อุดแนวแทร็กของ fistula แต่ผลการรักษาระยะยาวไม่ดีเท่าที่ควร