ท่านเคยปวดขาหรือขาไม่มีแรงเมื่อเดินบ้างหรือไม่
เวลาที่ท่านเดินเร็วๆ เดินขึ้นบันได หรือแม้ขณะเดินเล่น แล้วเกิดอาการปวดเมื่อยที่น่อง และสะโพก เมื่อพักสักครู่แล้วหายปวด อาการอย่างนี้เป็นตลอด และจะปวดเมื่อเดินด้วยระยะทางเท่าๆเดิม อาการเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าท่านอาจจะมีอาการของเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาน้อยลง จึงเกิดตะคริวหรือปวดเมื่อยเวลาเดิน ไม่มีการรักษาใดที่จะทำให้โรคนี้หายเป็นปลิดทิ้งทันที
สัญญาณเตือน
หากเส้นเลือดตีบไม่มาก หรือ อาจจะมีการไหลเวียนของเลือดจากเส้นเลือดใกล้เคียง ทำให้ไม่มีอาการอะไรเลย ต่อเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น เลือดไปเลี้ยวอวัยวะส่วนนั้นไม่พอผู้ป่วยจะมีอาการ
- ปวดน่อง
- ตะคริว
- ชาเท้า
- อ่อนแรง
โดยเฉพาะ เมื่อเวลาเดิน และจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกัน อาการจะเป็นๆหายๆทางการแพทย์เรียก I ntermittent Claudication เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้นจะเกิดอาการปวดแม้ขณะพัก
การไหลเวียนของเลือด
เลือดจะเริ่มตนจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย เลือดดำหรือเลือดที่ได้ไปเลี้ยงร่างกายจะกลับไปทางหลอดเลือดดำ และกลับเข้าสู่หัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบ ปัจจัยต่างๆได้แก่
เมื่อไปพบแพทย์
หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติเพิ่มเติม ครวจร่างกายเพิ่มเติม และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม
ประวัติและการตรวจร่างกาย
- แพทย์จะถามถึงโรคประจำประวัติครอบครัว
- โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
- ยาที่ผู้ป่วยรับประทาน
- การออกกำลังกาย
- การสูบบุหรี่
- อาการทั่วๆไป
- อาการของการเจ็บขา
สิ่งที่สังเกตเห็นเมื่อเส้นเลือดแดงตีบ
- ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
- สีผิวของขาจะคล้ำขึ้น บางรายอาจจะซีด
- คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
- เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชายที่เป็นความดันโลหิตสูง
- แผลเรื้อรังที่เท้า
- เล็บหนาตัว
- หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว
การตรวจวินิจฉัยโรค
- การตรวจด้วยวิธี ankle-brachial index (ABI) คือการวัดความดันโลหิตที่แขนทั้งสองข้างและขาทั้งสองข้าง และนำเปรียบเทียบกัน ปกติความดันที่ขาจะสูงกว่าที่แขน
- การใช้หูฟังเสียงที่หลอดเลือดแดงที่ขา หากได้ยินเสียง แสดงว่ามีการตีบของหลอดเลือด
- การตรวจด้วยเครื่องดอปเปลอร์
หากการตรวจเบื้องต้นพบว่า หลอดเลือดแดงตีบค่อนข้างมาก และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข ท่านอาจจะต้องได้รับการฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดเพิ่มเติม โดยอาศัยพิธีพิเศษร่วมกับการถ่ายภาพรังสีต่อเนื่อง จะช่วยให้ตรวจการไหลเวียนของโลหิตและตำแหน่งของการตีบแคบหรืออุกตันได้
- การฉีดสี Arteriogram โดยการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือด เพื่อดูตำแหน่งเส้นเลือดที่ตีบ
- Magnetic resonance angiography (MRA). โดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- CT Angiography (CTA). การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสี จะทำให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น
นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบ เช่น
- ระดับน้ำตาลในเลือด
- ระดับไขมันในเลือด
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การรักษา
การที่เกิดหลอดเลือดแดงตีบไม่ใช่เกิดจากการเสื่อมจากอายุ แต่เป็นการเกิดหลอดเลือดตีบจากโรค atherosclerosis หากเกิดหลอดเลือดแดงที่ขาตีบจะต้องคำนึงถึงว่าอาจจะมีหลอดเลือดที่อื่นตีบ เช่นหลอดเลือดหัวใจเป็นต้น
การรักษาทั่วๆไป
- การเดินเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กระตุ้นให้เดินจนกระทั่งเริ่มปวด แล้วหยุด เมื่อหายปวดเริ่มเดินใหม่ การเดินจะทำให้หลอดเลือดที่ขามีการสร้างขึ้นใหม่ ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น ปวดน้อยลง
- หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งหรือน้ำร้อน
- สวมรองเท้าที่คับพอดี
- หลีกเลีบงอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป หรืออาหารมันมากเกินไป
- หยุดสูบบุหรี่
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีมาก
- การดูแลเท้า
- การออกกำลังกาย
การรักษาด้วยยา
- การใช้ยา
- ยาต้านเกล็ดเลือด Anti-Platelet Agents – ยาในกลุ่มนี้จะลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เดินได้ไกลขึ้น ยาที่สำคัญได้แก่
- Anticoagulation Agents – ยาละลายลิ่มเลือด ยาที่ใช้ได้แก่
- Warfarin (Coumadin?) – การปรับยาต้องเจาะเลือดตรวจ เพราะหากให้มากไปอาจจะเกิดเลือดออกในช่องท้องหรือสมอง
- Enoxapari,flaxiparine? –เป็นยาฉีดที่ใช้ในช่วงแรกก่อนที่ยากินจะออกฤทธิ์.
- ยาอื่นๆ – ได้แก่ยาที่ขยายหลอดเลือดได้แก่
- การควบคุมระดับไขมันในเลือด
- การให้ยาขยายหลอดเลือด
- การควบคุมความดันโลหิต
- การควบคุมโรคเบาหวาน
การให้ยา Beta-block ,estrogen อาจจะทำให้อาการเส้นเลือดแดงตีบเป็นมากขึ้น
หากการรักษาด้วยยาแล้วยังมีอาการปวดต้องรักษาด้วยวิธีอื่น
- การทำ Balloon angioplasty แพทย์จะสอดสายเข้าไปหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ แล้วเอาบอลลูนดันส่วนที่ตีบให้ขยายพร้อมทั้งใส่ขดลวด
- การผ่าตัด Bypass โดยการใช้เส้นเลือดเทียมต่อข้ามส่วนที่ตัน
การป้องกัน
- ป้องกันและรักษาโรคหัวใจ
- รักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หยุดสูบบุหรี่
- รักษาน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
- ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ
ติดต่อกับแพทย์ประจำตัวของท่านหากมีอาการดังต่อไปนี้
- วิงเวียนศรีษะ หน้ามือจะเป็นลม หรือเกิดอาการอ่อนแรง
- หายใจไม่ทั่วท้อง หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ แน่นหน้าอก
- มีไข้