ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว Atrial fibrillation
นิยามและระบาดวิทยา
หัวใจเต้นสั่นพริ้ว Atrial fibrillation เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่ง คือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มีทั้งเต้นช้และเต้นเร็ว ส่วนใหญ่เต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง Atrial Fibrillation (AF) เป็นอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุด ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิตแต่อาจนำมาซึ่งภาวะรุนแรงมากขึ้น เช่น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดอื่น ทำให้อ่อนเพลียเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลว
หัวใจเต้นปรกติ กระแสไฟฟ้าจะเริ่มต้นจากจุดเดียวที่หัวใจห้องบน และส่งผ่านไฟฟ้ามายังหัวใจห้องล่าง หัวใจเต้นสั่นพริ้วไฟฟ้าจะเริ่มจากหลายจุด และต่างคนต่างส่งไฟฟ้ามายังหัวใจห้องล่าง |
|
ลูกศรแดงเป็นหัวใจเต้นพริ้ว atrial fibrillation ส่วนลูกศรน้ำเงินเป็น sinus rhythm ซึ่งเต้นปรกติ |
ส่วน " lone atrial fibrillation " ได้แก่ atrial fibrillation ที่ไม่พบโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุหรือไม่มีประวัติการมีภาวะความดันเลือดสูง.ปกติการเต้นของหัวใจจะเกิดจากไฟฟ้าที่จะเริ่มต้นที่หัวใจห้องบ่นส่งไปฟ้ามายังห้องล่าง ในกรณีหัวใจเต้นพริ้วAtrial Fibrillation เกิดในหัวใจห้องบน ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเกิดเต้นเร็วมาก ไม่สม่ำเสมอและส่งไฟฟ้ามายังหัวใจห้องล่างทำให้หัวใจเต้นไม่สอดคล้องกัน สูบฉีดเลือดออกไปไม่ได้ดี ทำให้ร่างกายส่วนอื่นขาดอาหารและออกซิเจน ทำนองเดียวกันเลือดที่เหลือตกค้างในหัวใจห้องบนจะแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดและ อาจหลุดเข้าไปในระบบไหลเวียนของเลือดไปสู่สมองทำให้เกิด stroke (อัมพฤกษ์ อัมพาต) หัวไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนจะเต้นไม่สม่ำเสมอ
อุบัติ การณ์ผู้ป่วย atrial fibrillation พบมากขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น โดยในต่างประเทศพบผู้ป่วยใหม่ร้อยละ4 ของประชากรมักจะเป็นในรายที่อายุมากกว่า 60 ปี สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปีจะพบว่าป่วยด้วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 10 สำหรับข้อมูลในคนไทยยังไม่มีรายงาน.
วันที่: Thu Nov 14 23:13:18 ICT 2024
|
|
|