ท้องร่วงเรื้อรังหมายถึงการที่มีถ่ายเหลววันละ 2-3 ครั้งเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ ท้องร่วงเรื้อรังพบได้ในคนที่สุขภาพปกติ หรือพบได้ในคนที่มีโรคประจำตัว
สาเหตุของท้องร่วงเรื้อรัง
ท้องร่วงเรื้อรังมีสาเหตุมากมาย และมีความแตกต่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่
ท้องร่วงเรื้อรังที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ
ท้องร่วงเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆ
การวินิจฉัยโรคท้องร่วงเรื้อรัง
การวินิจฉัยโรคท้องร่วงเรื้อรังจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย การส่งตรวจพิเศษจะต้องอาศัยประวัติและอาการของโรค
- ตรวจอุจาระ 2-3 ครั้งเพื่อหาพยาธิ์ และเพาะเชื้อจากอุจาระ
- หากไม่ได้คำตอบจะต้องตรวจทางรังสี หรือการส่องกล้อง
เมื่อไรจึงจะพบแพทย์
โรคท้องร่วงส่วนใหญ่มักจะหายเอง หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ให้พบแพทย์
ผู้ป่วยเด็ก
- ไข้สูง 39 องศา
- ถ่ายอุจาระดำ หรือมีเลือดออก
- ปากแห้ง ร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา
- เด็กซึม
- แก้มตอบ ตาโหล
- ผิวแห้ง
สำหรับผู้ใหญ่
- มีอาการท้องร่วงมากกว่า 3 วัน
- มีอาการของการขาดน้ำ
- ปวดท้อง หรือปวดเบ่งมาก
- อุจาระดำ หรือถ่ายเป็นเลือด
การรักษาโรคท้องร่วงเรื้อรัง
การรักษา
- การรักษาโรคท้องร่วงเรื้อรังจะขึ้นกับสาเหตุ หากเป็นโรคติดเชื้อต้องให้ยาปฏิชีวนะ
- ในกรณีที่เกิดจากโรคอื่นก็รักษาที่ต้นเหตุ
กรณีที่ไม่ทราบสาเหตุ
- ต้องดื่มน้ำเกลือแร่อย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- ต้องได้รับอาหารอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร และทำให้โรคหายเร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ ชา และกาแฟ
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำเพิ่มขึ้น
ยาที่ใช้รักษาโรคท้องร่วง
- Bismuth (sold as Kaopectate®, Pepto-Bismol®)
- ยาที่เพิ่มกากอุจาระTreatments that bulk the stools, such as a high-fiber diet or fiber supplement
- ยาที่แก้ท้องร่วงเช่น loperamide diphenoxylate (Lomotil®)
การป้องกันท้องร่วงเรื้อรัง
- ดื่มน้ำที่สะอาด
- รับประทานอาหารที่ทำสุกใหม่ๆ
- การเตรียมอาหาร การประกอบอาหารอย่างถูกต้อง
- ล้างมือให้สะอาด