Folic Acid
Aกรดโฟลิก (โฟเลต,โฟลาซิน) หรือ
วิตามินบี9 หรือรู้จักกันในชื่อ
วิตามินเอ็ม หรือ
วิตามินบีซี (Bc) จัดอยู่ในกลุ่มของ
วิตามินบีรวม มีหน่วยวัดเป็นไมโครกรัม (มคก. หรือ mcg.) มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญ
โปรตีน มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการสร้าง กรดนิวคลีอิก และมีความจำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ร่างกายต้องใช้ในกระบวนการใช้น้ำตาลและ
กรดอะมิโน โดยกรดโฟลิกนั้นถูกทำลายได้ง่ายด้วยอุณหภูมิห้องเป็นเวลานานเกินไป
Bแหล่งที่พบกรดโฟลิกตามธรรมชาติ ได้แก่
ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แครอท แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอต อะโวคาโด อาร์ติโช้ก ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ทอร์ทูลายีสต์ เป็นต้น
Cผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการที่เป็นพิษต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน
แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผื่นแพ้ได้บ้าง และหากร่างกายมีกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี12 ไม่แสดงออกมา โดยศัตรูของกรดโฟลิก ได้แก่
น้ำ กระบวนการแปรรูปอาหาร (โดยเฉพาะการต้ม) แสงแดด ความร้อน ยาในกลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโรคที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิก ได้แก่ โรคโลหิตจางแบบแมโครไซติก หรือเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ
คำแนะนำในการรับประทานกรดโฟลิก
- ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือประมาณ 180 – 200 ไมโครกรัม ต่อวัน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่า ส่วนหญิงให้นมบุตรควรรับประทาน 280 ไมโครกรัม ในช่วง 6 เดือนแรก และ 260 ไมโครกรัม ในช่วง 6 เดือนหลัง
- กรดโฟลิก ในรูปแบบอาหารเสริม มีวางจำหน่ายตั้งแต่ปริมาณ 400 – 800 ไมโครกรัม ส่วน 1,000 มิลลิกรัม ต้องซื้อโดยใช้ใบสั่งของแพทย์เท่านั้น
- โดยทั่วไปกรดโฟลิกจะมีผสมอยู่ในรูปแบบของ วิตามินบีรวม ประมาณ 100 ไมโครกรัม ไปจนถึง 400 ไมโครกรัม
- คุณควรเลือกซื้ออาหารเสริมที่มีทั้งโฟเลตและวิตามินบี12 อยู่ด้วยกัน
- โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 400 – 5,000 ไมโครกรัม ต่อวัน
- ผู้หญิงควรรับประทานกรดโฟลิกและ วิตามินบี6 ให้เพียงพอ กรดโฟลิกเพียง 400 ไมโครกรัม วิตามินบี6 เพียง 2-10 มิลลิกรัม ก็สามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ถึงร้อยละ 42
- ผู้ที่รับประทานกรดโฟลิก 1,000 – 5,000 ไมโครกรัม ทุกๆวัน จะช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้
- สำหรับผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ควรได้รับกรดโฟลิกเสริม
- สำหรับผู้ที่รับประทานวิตามินซีมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม ต่อวัน ควรรับประทานกรดโฟลิกเสริมด้วย
- สำหรับผู้ที่รับประทานยากันชักไดแลนติน ฮอร์โมนเอสโทรเจน ซัลโฟนาไมด์ แอสไพริน ฟีโนบาร์บิทอล ควรได้รับกรดโฟลิกเสริม
- สำหรับผู้ที่ป่วยหรือร่างกายกำลังต่อสู้กับโรคใดๆอยู่ อาหารเสริมที่รับประทานควรจะมีกรดโฟลิกอยู่ด้วย เพราะจะช่วยเสริมแอนติบบอดีในร่างกาย
- การรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณมาก อาจมีผลกระทบต่อยาต้านมะเร็งบางชนิด
- การรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณมากอาจทำให้คนไข้โรคลมชักที่รับประทานยาฟีโนโทอินอยู่เกิดอาการชักได้
ประโยชน์ของกรดโฟลิก
- ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการอ่อนเพลีย
- ช่วยป้องกันแผลร้อนในได้
- ช่วยรักษาภาวะซีดหรือโลหิตจาง
- ทำงานออกฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวด
- ช่วยบำรุงผิวพรรณและสุขภาพ
- ช่วยป้องกันพยาธิในลำไส้และอาการแพ้จากอาหารเป็นพิษ
- ช่วยป้องกันการพิการของเด็กทารกแรกเกิด
- ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
- ช่วยชะลอให้ผมขาวช้าลง หากรับประทานร่วมกับ พาบา และ วิตามินบี5
- ช่วยลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือด
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้
- ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้