การหกล้มเป็นอุบัติเหตุที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ(มากกว่า 65 ปี) ส่วนใหญ่มักจะเกิดในบ้าน เช่นห้องนั่งเล่น ลื่นล้มในห้องน้ำ ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ กระดูกมือหัก กระดูกสะโพกหัก กระดูกหลังหัก
- ผู้ป่วยร้อยละ 60 หกล้มในบ้าน ร้อยละ 30 เกิดในชุมชน ร้อยละ 10 เกิดในสถานสงเคราะห์คนชรา
- ร้อยละ 25 เกิดจากพื้นลื่น แสงสว่างไม่พอ ใส่รองเท้าไม่เหมาะ มีวัสดุขวางทางเดิน
ปัจจัยเสี่ยงของผู้สูงอายุ
- อายุ อายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
- กายกิจกรรม ผู้ที่ไม่ออกกกำลังกายจะทำให้การทรงตัวไม่ดี และมีโรคกระดูกพรุน
- เพศ ผู้หญิงจะมีโอกาสกระดูกหักมากกว่าผู้ชายสองเท่า
- คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราจะมีกระดูกพรุนมากกว่าคนปกติ
- อาหาร ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อยจะมีโอกาสกระดูกหักได้ง่าย
ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
- มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต เช่นความดันโลหิตต่ำ
- การหน้ามืดวิงเวียน เป็นลม
- การเสียการทรงตัวเป็นปัจจัยที่พบบ่อยที่สุด
- มะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูก
- มีโรคเกี่ยวกับสมอง
- มีโรคข้ออักเสบทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาและการได้ยิน
- ผลข้างเคียงจากยา
แนวทางแก้ไขเรื่องสุขภาพ
- ตรวจร่างกายประจำปีโดยเฉพาะเรื่องโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
- รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
- นำยาทั้งหมดปรึกษาแพทย์
- รู้ผลข้างเคียงของยา
- รับประทานยาอย่างเคร่งครัด
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
- พื้นลื่นพบร้อยละ 42.8
- การสะดุดสิ่งกีดขวางพบถึงร้อยละ 38.8
- พื้นต่างระดับ เป็นสาเหตุร้อยละ 26.3
- การถูกชนล้มพบประมาณร้อยละ 4
- การตกบันไดพบร้อยละ 3.5