Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

dan_ann_copel@outlook.com | 05-12-2556 | เปิดดู 458 | ความคิดเห็น 0

 

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

หมายถึงการเกิดการอักเสบของระบบขับปัสสาวะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ท่อปัสสาวะจนถึงไต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคแถวบริเวณท่อปัสสาวะ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ Urinary tract infection [UTI]

ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเราประกอบด้วย ไต(kidney) ท่อไต (ureter) 2 ข้าง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra)

ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกในรูปปัสสาวะ นำออกท่อไต ไป กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อย ทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ผู้หญิงจะพบบ่อยกว่าผู้ชาย 8-10 เท่าประมาณว่าคุณผู้หญิง1ใน 5 คนเป็นคนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

แพทย์บางท่านวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะว่าติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือส่วนล่าง โดยทั่วไปการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนมักจะมีไข้ หนาวสั่น แต่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง มักจะไม่มีไข้ ระบบทางเดินปัสสาวะแบ่งออกเป็น

  1. ระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract) หมายถึงไต และท่อไต
  2. ระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง  (Lower urinary tract) หมายถึง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

การตอดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนจะหมายถึงกรวยไตอักเสบ ส่วนการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างหมายถึงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ

สาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ปัสสาวะปกติจะประกอบด้วยน้ำ และเกลือ ไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดเมื่อมีเชื้อโรคมาจากทางเดินอาหาร หรือจากอุจาระ มาทางท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ เรียก Urethritis หากเชื้อลามเข้ากระเพาะปัสสาวะเรียกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ Cystittis หากเชื้อลามเข้าท่อไต และกรวยไตทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis

เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญคือ E coli เป็นเชื้อที่มาจากอุจาระเชื้อที่พบรองลงมาได้แก่  Staphylococcusนอกจากนั้นยังพบเชื้อที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น Clamydia และ Mycoplasma ก็สามารถทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เชื้อดังกล่าวเกิดจากเพศสัมพันธ์จะต้องรักษาทั้งคู่

โครมีโอกาศเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  • ผู้ที่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโตเพราะก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้ที่คาสายสวนปัสสาวะ
  • ผู้ที่ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะเสียมีภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด เช่นโรคเบาหวาน ประสาทไขสันหลังอักเสบ
  • มีโรคที่ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ร่างกายจึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เพราะจะมีปัญหาในการถ่ายปัสสาวะ มักเกิดการแช่ค้างของปัสสาวะ แบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี
  • การนั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก การกลั้นปัสสาวะนานๆ เพราะส่งผลให้เกิดการแช่คั่งของปัสสาวะ เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดี
  • ผู้หญิงมีโอกาศเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าผู้ชาย
    • เนื่องจาก ท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
    • และตำแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้กับทวารหนัก และช่องคลอดททำให้เชื้อลุกลามมาที่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
    • ช่วงมีประจำเดือน บริเวณปากช่องคลอดและท่อปัสสาวะจะมีเชื้อแบคทีเรียมากจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
    • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่นช่วงการตั้งครรภ์หรือวัยทองจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
    • ภาวะตั้งครรภ์ มดลูกมีการกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
    • วัยเจริญพันธ์มีกิจกรรมทางเพศทำให้เกดการติดเชื้อได้ง่าย
    • การคุมกำเนิดโดยการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการใช้ฝาครอบซึ่งไม่สะอาดจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อ

ผู้ทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง

  • ผู้ที่ท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะสุดแล้วมีอาการปวด บางรายมีคราบหนองติดกางเกงใน
  • ผู้ที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการปวดหน่วงๆท้องน้อย ปัสสาวะออกครั้งละน้อยๆ ปวดมากเมื่อปัสสาวะจะสุด บางรายมีเลือดปนและเลือดออก
  • ผู้ที่มีกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis จะมีอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่จะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

การวินิจฉัยทางเดินปัสสาวะอักเสบ

หากท่านมีอาการเหมือนทางเดินปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งให้เก็บปัสสาวะไปตรวจ โดยก่อนการเก็บปัสสาวะจะต้องทำความสะอาดบริเวณนั้น แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงกลางๆของปัสสาวะ บางรายอาจจะต้องเก็บปัสสาวะโดยการใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อให้ได้ปัสสาวะที่สะอาด และนำไปเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุ แพทย์จะนำปัสสาวะไปตรวจหาเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง และเพาะเชื้อ

ถ้าท่านติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย หรือหลังการรักษาแล้วไม่หาย แพทย์จะตรวจไตโดยการฉีดสีเข้าเส้นเลือด และให้สีขับออกทางไต [intravenous pyelography IVP] หรือนัดตรวจ ultrasound ที่ไตซึ่งจะได้ภาพของไต บางรายแพทย์จะส่งตรวจ cystoscope คือการใช้กล้องส่องเข้าไปดูในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว ไม่มีโรคประจำตัว อาจจะเลือกใช้ยา trimethoprim/ sulfamethoxazole,amoxicillin,ampicillin,ofloxacin,norfloxacin,ciprofloxacin โดยทั่วไปอาจจะรักษา 1-2 วันก็ทำให้หายได้ แต่แพทย์มักจะแนะนำให้รับประทานยาให้ครบ 7 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าหายขาด การรักษา 1-2 วันไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน มีอาการรุนแรง หรือมีโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน หรือต่อมลูกหมากโต
  2. ผู้ที่มีอาการมาก มีไข้สูง ปวดเอวมาก ควรจะรับไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือด
  3. ผู้ป่วยที่เป็นหญิงและมีทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ Recurrent Infections in Women หมายถึงเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี ประมาณว่า 4/5 ของผู้ป่วยจะเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบอีกใน 18 เดือน ดังนั้นจึงต้องป้องกันโดย
  • รับประทานยา trimethoprim/sulfamethoxazoleเป็นเวลา 6 เดือน
  • รับประทานยาปฏิชีวนะหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ให้ยาปฏิชีวนะ 1-2 วันเมื่อมีอาการ

วิธีป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

  • ดื่มน้ำให้มากเข้าไว้ ดื่มน้ำสะอาดให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยวันละ 8-10แก้ว
  • ห้ามกลั้นปัสสาวะ
  • ให้เช็ดก้นจากหน้าไปหลัง
  • ให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อนที่จะมีกิจกรรมทางเพศ
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก
  • งดใช้ spray และการใช้สายสวน
  • สวมใส่กางเกงในเป็นผ้าฝ้าย100% ไม่รัดแน่นเกินไป เพิ่มการระบายอากาศไม่ให้บริเวณนั้นอับชื้น
  • ควรจะอาบน้ำจากฝักบัว
  • ไม่ใช้ยาดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ
  • ให้ปัสสาวะก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในปัสสาวะลง
  • การคลิบอวัยวะเพศจะลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่ใช่โรคติดต่อ
  1. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะสำหรับชายมักพบร่วมกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือการคาสายสวนปัสสาวะ

                      

ความคิดเห็น

วันที่: Thu Nov 14 23:19:33 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com