เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ
อาการที่สำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด คลิกที่นี่
ประวัติและการตรวจร่างกาย
อย่างที่กล่าวข้างต้นคนที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบเล็กน้อยอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย สำหรับคนที่เส้นเลือดตีบมากขึ้นจะมีอาการเจ็บหน้าอกเมื่ออกกำลังกาย ดังนั้นหากคุณมีความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นและมีอาการแน่หน้าอกควรจะปรึกษาแพทย์ แพทย์จะตรวจวินิจฉัยเพิ่ม การตรวจที่สำคัญได้แก่
- การตรวจเลือดเพื่อหาว่าหลอดเลือดหัวใจตีบจนกระทั่งมี enzyme หลั่งออกมา คลิกที่นี่
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า Electrocardiography (ECG)
- การตรวจคลื่นความถี่สูงเรียกว่า Echocardiography การตรวจนี้จะคลื่นเสี่ยงความถี่สูงสะท้อนเงาของหัวใจ การตรวจนี้สามารถบอกได้ว่าการทำงานของหัวใจยังดีอยู่หรือไม่ มีกล้ามเนื้อส่วนใดที่เสียหายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
- การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน Stress test คนที่เส้นเลือดหัวใจตีบเล็กน้อยจะไม่มีอาการเจ็บหน้าอก แต่เมื่อออกกำลังกายจะเจ็บหน้าอก เราอาศัยหลักการข้อนี้มาตรวจโดยการให้วิ่งบนสายพานเพื่อให้หัวใจทำงานหนัก หากมีเส้นเลือดตีบจะปรากฎบนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ นอกจากนั้นยังบอกว่าร่างกายฟิตแค่ไหน
- การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงร่วมกับการวิ่งสายพาน
- การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ Coronary angiography ผู้ป่วยที่วิ่งสายพานแล้วสงสัยว่าจะมีเส้นเลือดหัวใจตีบ แพทย์จะนำผู้ป่วยไปฉีดสีเพื่อดูว่ามีหลอดเลือดเส้นไหนตีบ และตีบมากน้อยแค่ไหน เพื่อวางแผนในการรักษา
- การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตรวจหลอดเลือดหัวใจ Coronary magnetic resonance angiography เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสร้างภาพหลอดเลือดหัวใจว่าตีบหรือไม่ เป็นการตรวจโดยไม่เจ็บตัว
- การตรวจโดยวิธี Neyclear scan วิธีการโดยการฉีดสารรังสีเข้ากระแสเลือดแล้วใช้เครื่อง scan
- วัดว่ากล้ามเนื้อส่วนไหนขาดเลือด
- การตรวจโดย Electron beam computerized tomography เป็นการตรวจหาแคลเซี่ยมที่ผนังหลอดเลือด
- การตรวจ Echocardiography โดยผ่านทางหลอดอาหาร
- การตรวจว่าหัวใจทำงานดีเพียงไหน