Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

เจ็บหน้าอกจากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

dan_ann_copel@outlook.com | 25-12-2556 | เปิดดู 188 | ความคิดเห็น 0

 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Angina pectoris  

 
 

1

1คือหลอดแดงcoronary ข้างขวา

2คือหลอดเลือด coronary ข้างซ้าย

1

ตำแหน่งของการเจ็บหน้าอก

1

ภาพแสดงหลอดเลือดแดง coronary ตีบ

Angina pectoris เป็นโรคที่เกิดจากหลอดเลือด coronary มีการตีบเนื่องจากมีคราบไขมัน เมื่อคราบไขมันมากขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบ ในขณะที่พักเลือดยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อพอ แต่เมื่อออกกำลังกายเลือดจะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกในขณะออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก

เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกแพทย์จะถามอะไรบ้าง

ลักษณะของอาการของหัวใจขาดเลือด

อาการเจ็บหน้าอกจะเป็นอาการที่สำคัญ และมักจะสัมพันธ์กับการทำงานหนัก หรือออกกำลังกายโดยมากมักจะไม่เกิน 10 นาที

  • แน่นหน้าอกลักษณะหนักๆเหมือนมีคนนั่งทับบนหน้าอก อาจจะเจ็บร้าวไปคอ หรือกรามด้านซ้าย แขนซ้าย มักจะเจ็บเมื่อออกกำลังกาย พักจะหายปวด
  • ตำแหน่งที่ปวด บางรายอาจจะบอกไม่ได้ชัดว่าปวดที่ไหน แต่ส่วนใหญ่จะบอกว่าเจ็บบริเวณกลางหน้าอก หรือแน่นลิ้มปี่ แต่จะเจ็บแบบแน่นๆซึ่งต่างจากโรคกระเพาะ เพราะจะเจ็บแบบแสบๆ
  • บางรายมาด้วยใจสั่น
  • บางรายมาด้วยเหนื่อยง่าย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก

  • อาการเจ็บหน้าอกมักจะสัมพันธืกับการออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก หรือมีความเครียดทางอารมณ์ อาการปวดจะหายไปใน 10 นาทีหลังหยุดพัก
  • อากาศหนาวก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย
  • การรับประทานอาหารที่มากไปก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
  • อารมณ์เครียดจัดก็ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะเป็นกับใครบ้าง

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็งจะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงโดยเฉพาะผู้ที่มีตั้งแต่สองข้อขึ้นไป

โรคนี้จะพบมากในผู้ชาย อายุมากมากขึ้นก็จะพบโรคนี้เพิ่มขึ้น

  • ผู้หญิงอายุ 45-54 ปีจะพบได้ร้อยละ0.1-1 ผู้ที่มีอายุ 65-74 ปีจะพบได้ร้อยละ 10-15
  • ผู้ชายอายุ 45-54 ปีจะพบได้ร้อยละ0.1-1 ผู้ที่มีอายุ 65-74 ปีจะพบได้ร้อยละ 10-15

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและวิธีป้องกันคลิกที่นีครับ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วยเป็นสำคัญ การตรวจร่างกายหรือตรวจปกติก็ไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค ต้องใช้การตรวจพิเศษ

  1. จากประวัติซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาก ร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก
  2. การตรวจร่างกายก็อาจจะพบว่าอ้วนหรือไม่ก็ได้ ความดันโลหิตอาจจะสูงในบางราย เจาะเลือดอาจจะพบไขมันสูง โดยรวมแล้วการตรวจร่างกายมักจะไม่ช่วยวินิจฉัยโรค
  3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG  หรือ EKG ขณะตรวจอาจจะปกติได้ ควรตรวจขณะเจ็บหน้าอก
  • การตรวจเลือดทั่วไปหรือที่เรียกว่า CBC ซึ่งอาจจะพบว่าซีดซึ่งเป็นเหตุกระตุ้นให้เจ็บหน้าอก
  • การเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาล ไขมัน การทำงานของไต การทำงานของตับ ในเลือด
  • การตรวจโดยการวิ่งสายพาน treadmill exerciseหลักการทำให้หัวใจต้องการเลือดไปเลี้ยงมาก โดยการวิ่งบนสายพานเพื่อให้หัวใจต้องการเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น หากมีหลอดเลือดตีบก็จะเกิดเจ็บหน้าอก และแสดงบนคลื่นไฟฟ้า สำหรับผู้ป่วยที่วิ่งไม่ได ้ก็ยังมีการตรวจโดยการขี่จักรยานหรือใช้ยาเร่งให้หัวใจบีบตัวเรียก stress echo
  • การทำ cardiac scan เพื่อดูว่าเลือดไปเลี้ยงหัวใจเพียงพอหรือไม่
  • การสวนหัวใจและฉีดสี Coronary angiography เพื่อดูว่ามีตำแหน่งของหลอดเลือดตีบ แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ 

                                                     

ความคิดเห็น

วันที่: Thu Nov 14 22:53:57 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com