โรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ถ้าอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์จะพบว่าผู้มีชื่อเสียง ดารา เสียชีวิตจากโรคหัวใจไม่เว้นแต่ละวัน โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด เนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่เช่นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ทำให้โรคนี้พบมากขึ้น โรคหัวใจเป็นโรคใกล้ตัว คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่เสี่ยง และเป็นโรคหัวใจหากคุณตั้งอยู่บนความประมาท ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านร่วมกันทำบุญโดยคุณอ่านบทความนี้จนจบ โปรดแนะนำญาติ คนใกล้ชิด หรือคนรู้จักให้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
หากท่านผู้อ่านสามารถให้ความรู้และป้องกันการเสียชีวิตได้หนึ่งรายจะทำญาติให้ผู้ป่วยมีความสุขมากน้อยแค่ไหน เนื้อหาที่จะกล่าวจะแบ่งเป็นส่วนๆดังนี้
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายอาจจะเกิดหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดปกติ
กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
|
กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดของ Unstable Angina หรือ Non STMI จะเป็นแบบหลอดเลือดค่อยๆตีบและมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด แต่ไม่ถึงกับตันยังพอมีเลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ส่วนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดจากลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อตาย
|
อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
อาการเจ็บหน้าอกของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย โดยมากเจ็บไม่เกิน 10 นาทีพักแล้วจะหาย หากกล้ามเนื้อหัวใจตายจะมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก เจ็บนาน เจ็บมากจนเหงื่อตก อมยาแล้วไม่หายปวด |
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้หลอดเลือดแดงตีบ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่ายได้แก่ เพศ อายุ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคหัวใจ |
วินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องอาศัยประวัติการเจ็บปวย การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเลือด |
ความรุนแรงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
กลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดแบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง Angina pectoris กลุ่มอาการเจ็บหน้าอก Unstable angina และกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด nstemi ซึ่งจะมีอาการคล้ายกัน และกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตาบชนิด STEMI |
การรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ประกอบไปด้วยการให้ยาแก้เจ็บหน้าอก ยาลดการขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาหรือการใส่สายสวนหัวใจเพิ่มเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจ |
โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการเต้นของหัวใจผิดปรกติ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจวาย หรือเกิดจากลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน |
ป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
การป้องกันโรคหัวใจแบ่งเป็นสองแบบคือปฐมภูมิ คือป้องกันมิให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทุติยภูมิคือการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หลังจากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปแล้ว
|
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค | อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด |
วันที่: Thu Nov 14 23:03:40 ICT 2024
|
|
|