Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

มีก๊าซในท้องมาก

dan_ann_copel@outlook.com | 25-12-2556 | เปิดดู 339 | ความคิดเห็น 0

 

ก๊าซในทางเดินอาหาร

ก๊าซในทางเดินอาหารเป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยได้กล่าวถึงเนื่องจากอาการเป็นไม่มาก หายเองได้ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่เป็น ปกติเราสามารถขับก๊าซส่วนเกินโดยการขับออกทางปากและขับทางก้น หากก๊าซนั้นไม่ถูกขับออกจากร่างกาย จะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร แน่นท้องสำหรับบางคนที่ไวก็อาจจะเกิดอาการท้องอืดแม้ว่าจะมีก๊าซไม่มาก

สาเหตุของก๊าซในทางเดินอาหาร

ก๊ายในทางเดินอาหารหากมีมากจะถูกขับทางโดยการผายลม ก๊าซในระบบทางเดินอาหารเกิดจากการที่เรา

  1. ได้รับจากการกลืนเข้าไป
  • ผู้ที่มีความเครียด
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • มีน้ำมูกไหล
  • สูบบุหรี่
  • การกลืนอาหารเร็วไปไม่เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
  • ฟันปลอมที่ไม่พอดี
  • เครื่องดื่มที่มี carbonated จะทำให้เกิดก๊าซ
  1. เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้

อาหารที่ย่อยไม่หมดโดยเฉพาะอาหารพวกแป้งที่มีใยอาหารจะไม่ถูกย่อย เมื่อผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่เชื้อแบคทีเรียจะย่อยสลายทำให้เกิดก๊าซ นอกจากนั้นน้ำตาลที่อยู่ในนมหากร่างกายไม่ย่อยก็ทำให้เกิดก๊าซมาก

  • ได้แก่อาหารพวก กะหล่ำปี ดอกกำหล่ำ ถัว บรอคโคลี หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวสาลี wheat, ข้าวโอ๊ต oats, มันฝรั่ง potatoes เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีใยอาหาร และแป้งมากมำให้ลำไส้เล็กดูดไม่หมด อาหารเหลือไปยังลำไส้ใหญ่เกิดการหมักทำให้เกิดก๊าซ
  • อาหารที่มีใยอาหารมาก เช่นเมล็ดธัญพืช ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ ทำให้เกิดอาการท้องอืด แต่หลังจาก 3 สัปดาห์จะปรับตัวได้ แต่บางคนอาการท้องอืดและมีก๊าซจะเป็นตลอด
  • นม ลำไส้บางคนขาดเอ็นไซม์ในการย่อยนม เมื่อดื่มนมจะทำให้ท้องอืด ลองงดนมอาการท้องอืดจะดีขึ้น

สาเหตุของการเรอบ่อย

การที่เราเรอส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่มีปริมาณก๊ายในกระเพาะมากทำให้กระเพาะขยายจึงเกิดอาการแน่นท้อง แต่บางท่าเรอจนติดเป็นนิสัยแม้ว่าปริมาณก๊าซในกระเพาะจะไม่มาก สาเหตุที่พบได้บ่อยๆได้แก่

  • มีการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะไปยังหลอดอาหาร ปกติเมื่อเรากลืนอาหารจะผ่านจากหลอดอาหารไปยังกระเพะอาหารซึ่งมีหูรูดกันไม่ให้กรด และอาหารไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร เมื่อมีปัจจัยส่งเสริมทำให้หูรูดหย่อน กรดและอาหารจะไหลย้อนไปยังหลอดอาหารทำให้เราต้องกลืนบ่อย ลมจึงเข้าไปมาก
  • มีการอักเสบหรือแผลที่กระเพาะอาหาร

วันหนึ่งรางกายผลิตก๊าซเท่าใด

วันหนึ่งๆร่างกายเราจะผลิตก๊าซวันละ ครึ่งแกลลอนซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ Oxygen, carbon dioxide, และ nitrogen เหมืออากาศ ไม่มีกลิ่น แต่ที่มีกลิ่นเนื่องจากหมักหมมของอาหารที่ลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดก๊าซ hydrogen sulfide, indole, and skatole

อาการแน่นท้อง

อาการแน่นท้องเป็นอาการที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์

อาการแน่นท้องไม่จำเป็นต้องเกิดจากก๊าซในทางเดินอาหารแต่อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆเช่น

  • อาหารมัน ซึ่งจะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้า เกิดอาการแน่นท้อง การแก้ไขทำได้โดยลดอาหารมัน
  • เกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป
  • ผู้ป่วยบางคนมีก๊าซไม่มากแต่มีอาการปวดท้องเนื่องจากลำไส้ของผู้ป่วยไวต่อการกระตุ้นทำให้เกิดอาการเกร็งของลำไส้ spasm
  • ผู้ป่วยบางคนพยายามที่จะเรอเอาลมออก แต่การกระทำดังกล่าวกลับทำให้กลืนลมเพิ่มขึ้น ทำให้แน่นท้องเพิ่มขึ้น
  • ก๊าซที่สะสมในลำไส้ใหญ่ข้างซ้ายอาจจะทำให้เกิดอาการปวดเหมือนกับโรคหัวใจ

หากเราเรอแล้วอาการแน่ท้องดีขึ้นก็แสดงว่าอาการแน่นท้องเกิดจากก๊าซ แต่หากอาการแน่นท้องไม่ดีขึ้นท่านต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการแน่นท้อง

อาการท้องอืดและท้องบวม

ท่านผู้อ่านคงจะเคยมีอาการรู้สึกแน่นท้อง บางคนจะรู้สึกตึงๆในท้อง บางคนจะรู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนมีอาการเสียดท้อง หากเราทราบสาเหตุและได้รับการแก้ไขอาการจะดีขึ้น แต่อาการแน่นท้องก็อาจจะเป็นอาการของท้องบวมซึ่งอาจจะเป็น

  • น้ำ
  • ลม
  • เนื้อเยื่อ เช่นเนื้องอก

ดังนั้นหากอาการแน่นท้องเป็นอาการเรื้อรัง และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเป็นมากต้องให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุของอาการท้องอืด

สาเหตุของอาการท้องอืด

สาเหตุของอาการท้องอืดที่พบบ่อยๆได้แก่

  1. มีลมในทางเดินอาหารมากไป ซึ่งอาจจะเกิดจากร่างกายของคนนั้นมีเชื้อที่สร้างก๊าซมากกว่าคนอื่น หรือเกิดจากการที่อาหารไม่ย่อย หรือเกิดจากร่างกายมีเชื้อแบคทีเรียในลำไส้มากไป
  2. ลำไส้มีการอุดตันทำให้ก๊าซไม่สามารถไปลำไส้ใหญ่ เช่น ไส้เลื่อนที่อุดตัน ผังผืดในท้องรัดลำไส้เป็นต้น ผู้ที่มีโรคดังกล่าวจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน
  3. ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลำไส้แปรปวน อาหารที่มัน หรือมีกากมาก
  4. ผู้่วยที่มีลำไส้ไวต่อการกระตุ้น แม้ว่าก๊าซในลำไส้อาจจะไม่มากแต่ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง

การตรวจวินิจฉัย

ประวัติการเจ็บป่วย

เมื่อท่านไปพบแพทย์ท่านจะต้องเตรียมประวัติของการเจ็บป่วย

  • อาการแน่นท้องเป็นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นๆหายๆ หากเป็นอย่างต่อเนื่องต้องตรวจหาสาเหตุ
  • อาการแน่นท้องสัมพันธ์กับการผายลมหรือไม่ หากมีความสัมพันธ์แสดงว่าเรามีก๊าซในท้องมาก
  • ประวัติการรับประทานอาหารที่สัมพันธ์กับอาการแน่นท้อง

การ``X-ray

แพทย์อาจจะส่งตรวจX-ray ท้องหรืออาจจะนัดตรวจ ultrasound ซึ่งขึ้นกับอาการและการตรวจร่างกาย

การป้องกันก๊าซ

ข้อแนะนำสำหรับท่านที่ผายลมบ่อยหรือเรอบ่อย

  1. หลีกเลี่ยงน้ำดื่มที่มีฟองฟู่ เช่นโซดา เบียร์ carbonated beverages ให้ดื่มน้ำมากๆ
  2. หลีกเลี่ยงนม หากท่านขาดเอ็นไซม์ในการย่อยนม
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ กะหล่ำปี ดอกกำหล่ำ ถัว บรอคโคลี หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ผลไม้เช่น แอปเปิล แพร์
  4. ให้ออกกำลังกาย
  5. ลดการกลืนลมโดยวิธีการต่อไปนี้
  • รับประทานให้ช้า และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งและลูกอม
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ตรวจฟันปลอมว่ามีขนาดพอดีหรือไม่

การใช้ยารักษา

ท่านอาจจะซื้อยาที่มีขายตามร้านขายาแต่อาจจะได้ผลไม่ดีได้แก่ Simethicone, ผงถ่าน, และยาช่วยย่อยอาหาร

ความคิดเห็น

วันที่: Thu Nov 14 23:11:24 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com