Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2014-11-08 15:59:42.0     Forum: สอบถาม  >  3DB

 

guest

Post : 2014-03-18 15:12:46.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามิน u

 

วิตามินยู (Vitamin U) คืออะไร? ประโยชน์ของวิตามินยู 11 ข้อ !!

Vitamin-30

วิตามินยู

วิตามินยู (Vitamin U) ในทางการแพทย์จะเรียกวิตามินชนิดนี้ว่า เอส-เมทิลเมไธโอนีน S-methylmethionine(SMM)

แหล่งอาหารที่มีวิตามินยูนั้นจะพบได้มากในพืชตระกูลกะหล่ำทั้งหลาย อย่างเช่น กะหล่ำปลีดิบ กะหล่ำดาว กะหล่ำดอก กะหล่ำม่วง แขนงกะหล่ำ บร็อกโคลี เป็นต้น

ข้อมูลที่เกี่ยวกับวิตามินชนิดนี้ในปัจจุบันนั้นมีอยู่น้อยมาก แต่ก็ไม่พบว่ามันมีอันตรายหรือโทษต่อร่างกายแต่อย่างใด

แต่ในปัจจุบันได้มีการนำวิตามินยูมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปของเม็ดอัดแข็งหรือเจลอัดเม็ด โดยจะมีคุณสมบัติช่วยล้างพิษในลำไส้และตับได้ (แต่ว่าในทางปฏิบัติแล้ว การได้วิตามินยูจากการรับประทานผักผลไม้หรือผักตระกูลกระหล่ำเป็นประจำจะได้ประโยชน์มากกว่า)

ประโยชน์ของวิตามินยู

  1. ประโยชน์ของวิตามินยูวิตามินยู ช่วยบำบัดอาการแผลพุพอง (แต่ในทางการแพทย์ยังมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนี้)
  2. มีส่วนช่วยต่อต้านมะเร็งและหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ได้
  3. มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิง อย่าง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม
  4. สารเอส-เมทิลเมไธโอนีน (SMM) ช่วยในการสมานแผลในกระเพาะอาหาร
  5. ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องซึ่งมีสาเหตุมาจากแผลในกระเพาะ
  6. ช่วยให้การหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ
  7. ช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของฮอร์โมนเอสโทรเจนในร่างกาย
  8. วิตามินยูในปัจจุบันแพทย์ผิวหนังมีการนำวิตามินชนิดนี้มาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ในการช่วยสมานผิวหลังการทำเลเซอร์
  9. นำมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์มาส์กหน้าเพื่อช่วยเพิ่มความขาวใส หรือใช้ทำเป็นทรีทเม้นท์ต่างๆ หรือใช้ร่วมกับเครื่องผลักยา
  10. มีส่วนช่วยทำให้ผิวพรรณดูอ่อนเยาว์ เปล่งปลั่งสดใส เพราะช่วยทำให้ผิวจัดเรียงคอลลาเจนขึ้นใหม่
  11. มีการนำมาทำเป็นอาหารเสริมในรูปของเม็ดอัดแข็งหรือเจลอัดเม็ด ซึ่งจะมีคุณสมบัติช่วยล้างพิษในลำไส้และตับได้ (แต่ในทางปฏิบัติแล้วเราควรรับประทานผักผลไม้หรือผักตระกูลกระหล่ำเป็นประจำจะดีกว่า)

guest

Post : 2014-03-18 15:10:51.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามิน t

 

ตามินที (Vitamin T) คืออะไร? ประโยชน์ของวิตามินที !!

วิตามินที

Vitamin T (Torulitine)

  • วิตามินที (Vitamin T) หรือมีอีกชื่อว่า Torulitine คือ สารเร่งการเจริญเติบโต เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ในปัจจุบันนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยววิตามินชนิดนี้น้อยมาก
  • ประโยชน์ของวิตามินทีวิตามินที สามารถพบได้ใน เมล็ดงาดำ และ ไข่แดง
  • ประโยชน์ของวิตามินที ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือดและช่วยในการสร้างเกร็ดเลือด
  • วิตามินที มีความสำคัญในการป้องกันและรักษาโรคภาวะโลหิตจางและฮีโมฟีเลีย
  • ในปัจจุบันยังไม่มีจำหน่ายในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามท้องตลาดแต่อย่างใด
  • ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลของขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ
  • จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่า หากได้รับวิตามินชนิดนี้มากเกินไปจะมีอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด
  • วิตามินทีนั้นในปัจจุบันทางผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ยังไม่ได้ยอมรับว่าเป็นวิตามิน หรือเป็นแม้กระทั่งอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

guest

Post : 2014-03-18 15:09:48.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามิน P

 

วิตามินพี (Bioflavonoids) ประโยชน์ของวิตามินพี

Vitamin-33

วิตามินพี

Aวิตามินพี หรือ ซีคอมเพล็กซ์ซิตรัสไบโอฟลาโวนอยด์รูตินเฮสเพอริดิน เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ที่ประกอบไปด้วยซิตริน รูติน เฮสเพอริดิน รวมไปถึงฟลาโวนและฟลาโวนอล มีหน่วยเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.) วิตามินชนิดนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานและการดูดซึมของวิตามินซี และช่วยเสริมทำงานเสริมกันกับวิตามินซี ช่วยวิตามินซีในการเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันBวิตามินพี มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า ตัวควบคุมการซึมผ่านของเส้นเลือดฝอย (วิตามินพี ย่อมาจาก Permeability ซึ่งหมายถึง การซึมผ่าน) โดยหน้าที่หลักของไบโอฟลาโวนอยด์ก็คือ เพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยและควบคุมการดูดซึมของสารต่างๆ ผ่านผนังเส้นเลือด โดยฟลาโวนอยด์เป็นสารที่ให้สีเหลืองและสีส้มแก่ผลไม้ในกลุ่มส้มและผลไม้รสเปรี้ยวอื่นๆCแหล่งที่พบวิตามินพีตามธรรมชาติ ได้แก่ ส่วนกากสีขาวของผลไม้รสเปรี้ยวทั้งหลาย เช่น ส้ม มะนาว เกรปฟรุต และพบได้ใน เอพริคอต แป้งบัควีท เชอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ โรสฮิป เป็นต้นDอาการขาดวิตามินพี คือ ผนังเส้นเลือดฝอยเปราะบาง และศัตรูของวิตามินพี ได้แก่ แสง ออกซิเจน ความร้อน การปรุงอาหาร การสูบบุหรี่ น้ำ

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินพี

  • วิตามินพีในรูปแบบของอาหารเสริม มีวางจำหน่ายทั้งแบบแยก และแบบรวมกับวิตามินซี เป็นซีคอมเพล็กซ์ ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณไบโอฟลาโวนอยด์ 500 มิลลิกรัม ต่อรูตินและเฮสเพอริดิน 50 มิลลิกรัม หรือควรมีรูตินมากกว่าเฮสเพอริดินเป็น 2 เท่า
  • วิตามินซีเสริมอาหารทุกรูปแบบ จะทำงานได้ดียิ่งขึ้นหากมีไบโอฟลาโวนอยด์เสริม
  • ขณะนี้ยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่นักโภชนาการเห็นตรงกันว่า ทุกๆ 500 มิลลิกรัม ของวิตามินซีที่เรารับประทานเข้าไป ควรจะได้รับไบโอฟลาโวนอยด์ควบคู่ไปด้วยอย่างน้อย 100 มิลลิกรัม (5:1)
  • ขนาดที่นิยมรับประทาน สำหรับรูตินและเฮสเพอริดินคือ 100 มิลลิกรัม วันละ 3 มื้อ ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อร่างกาย หากรับประทานมากกว่าปกติต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีอาการร้อนวูบวาบน้อยลง หากเพิ่มการรับประทานไบโอฟลาโวนอยด์ร่วมกับวิตามินดี
  • หากคุณมีเลือดซึมบริเวณเหงือกหลังแปรงฟันบ่อยๆ ควรรับประทานรูตินและเฮสเพอริดินให้เพียงพอ
  • ผู้ที่มีอาการฟกช้ำดำเขียวง่าย หากรับประทานวิตามินซีร่วมกับไบโอฟลาโวนอยด์ รูติน เฮสเพอริดิน อาการจะดีขึ้น

ประโยชน์ของวิตามินพี

  1. วิตามินพีช่วยเสริมภูมิต้านทาน ป้องกันโรคติดเชื้อได้
  2. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  3. เพิ่มความแข็งแรงให้ผนังเส้นเลือดฝอย จึงป้องกันการเกิดรอยฟกช้ำ
  4. ป้องกันไม่ให้วิตามินซีถูกทำลายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
  5. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามินซีให้ดีขึ้น
  6. ช่วยรักษาอาการบวมน้ำและวิงเวียนศีรษะที่เป็นผลมาจากโรคของหูชั้นใน

guest

Post : 2014-03-18 15:07:31.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามิน k

 

วิตามินเค (Vitamin K) ประโยชน์ของวิตามินเค | วิตามินเพื่อสุขภาพ !!

วิตามินเค

วิตามินเค

Aวิตามินเค หรือ เมนาไดโอน เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน โดยวิตามินเค มี 3 ชนิด คือ วิตามินเค1 (ฟิลโลควิโนน) พบได้ในผักใบเขียว , วิตามินเค2 (เมนาควิโนน) สร้างขึ้นโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ , วิตามินเค3 (ไฮโดรฟิลโลควิโนน) ซึ่งเป็นวิตามินสังเคราะห์Bวิตามินเค1 , วิตามินเค2 มีความสำคุญต่อสุขภาพที่ดีในแง่ที่แตกต่างกัน ส่วนวิตามินเค3 ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ และไม่ได้ทำหน้าที่เป็นวิตามินเคอย่างแท้จริง และในตัวมันเองก็ไม่จัดว่าเป็นวิตามินที่ดีต่อร่างกาย โดยวิตามินเคจะมีหน่วยวัดเป็นไมโครกรัม (มคก. หรือ mcg.) และมีความสำคัญในการสร้างโพรทรอมบิน (Prothrombin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวCแหล่งที่พบวิตามินเคตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ผักใบเขียว นม เนย อัลฟาฟา สาหร่ายเคลป์ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา เป็นต้นDผลเสียของการรับประทานเกินขนาด แม้ว่าวิตามินเคจะมีความแตกต่างจากวิตามินที่ละลายในไขมันตัวอื่นๆ คือไม่มีการสะสมในร่างกาย แต่ก็ไม่แนะนำให้รับประทานวิตามินเคแบบสังเคราะห์ในปริมาณที่มากกว่า 500 ไมโครกรัมต่อวัน โดยศัตรูของวิตามินเค ได้แก่ ยาแอสไพริน อาหารแช่แข็ง มลพิษในอากาศ น้ำมันแร่ธรรมชาติ การเอกซเรย์ และการฉายรังสีEวิตามินเคโรคจากการขาดวิตามินเค ได้แก่ โรคลำไส้อักเสบซีลิแอก (Celiac) โรคบิดสปรู (Sprue) และโรคลำไส้อักเสบ

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินเค

  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 65 – 80 ไมโครกรัม ต่อวัน
  • วิตามินเคในรูปแบบของอาหารเสริม มีจำหน่ายทั่วไปในรูปแบบเม็ด โดยมีขนาดประมาณ 100 ไมโครกรัม ซึ่งจะผสมอยู่ในวิตามินรวมทั่วๆไป
  • ผู้ที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคตับ โรคระบบทางเดินอาหาร มีความเสียงต่อการขาดวิตามินเค
  • การรับประทาน วิตามินอี ปริมาณสูงมากๆ จะส่งผลต่อการดูดซึมของวิตามินเคได้
  • อาการท้องร่วงอย่างหนักอาจเป็นอาการแสดงออกของภาวะขาดวิตามินเคได้ แต่ก่อนที่จะรักษาตัวเองด้วยการรับประทานอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • การรับประทานผักใบเขียวเป็นประจำ เป็นวิธีป้องกันการขาดวิตามินเคได้ดีที่สุด
  • หากคุณมีเลือดกำเดาไหลบ่อยครั้ง ควรลองรับประทานอาหารที่มีวิตามินเคสูงให้มากขึ้น หรือรับประทานอัลฟาฟาแบบเม็ดก็อาจจะช่วยได้ หากคุณกำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด พึงระลึกไว้เสมอว่า วิตามินเคอาจไปต้านฤทธิ์ของยาได้ แม้ว่าจะเป็นวิตามินเคจากอาหารธรรมชาติก็ตาม
  • ยาลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด อาจทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินเคได้ และหากคุณรับประทานยาปฏิชีวะนะที่ออกฤทธิ์กว้างเป็นเวลายาวนานและต่อเนื่อง ร่างกายอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเคได้ ควรรับประทานอาหารที่ให้วิตามินเคเพิ่มมากขึ้น

ประโยชน์ของวิตามินเค

  1. ช่วยป้องกันเลือดออกภายในและเลือดออกไม่หยุด
  2. ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  3. ช่วยในกระบวนการสร้างลิ่มเลือด
  4. ช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง

guest

Post : 2014-03-18 15:05:20.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินเอฟ

 

วิตามินเอฟ (กรดไลโนเลอิก) ประโยชน์ของวิตามินเอฟ

Vitamin-15

กรดไลโนเลอิก

Aวิตามินเอฟ หรือ ไลโนเลอิก และ อะราคิโดนิก เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ได้จากการรับประทานอาหาร มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.) โดยไขมันไม่อิ่มตัวช่วยเผาผลาญไขมันอิ่มตัว ในอัตรส่วนสมดุลที่คุณรับประทาน ควรจะเป็น 2 : 1 (ไขมันไม่อิ่มตัว 2 ส่วน ต่อ ไขมันไม่อิ่มตัว 1 ส่วน)Bเมล็ดทานตะวัน 12 ช้อนชา หรือถั่วพีแคนครึ่งเมล็ด 18 ชิ้น ให้วิตามินเอฟที่พอเพียงสำหรับร่างกายใน 1 วัน หากร่างกายมีกรดไลโนเลอิกเพียงพอแล้ว กรดไขมันอีกสองตัวจะถูกสังเคราะห์ได้Cแหล่งที่พบวิตามินเอฟตามธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ และถั่วตระกูลต่างๆ เช่น ถั่วลิสง วอลนัท อัลมอนด์ พีแคน เมล็ดฝักทอง อะโวคาโด เป็นต้นDแหล่งที่พบวิตามินบี1 ได้ตามธรรมชาติ ได้แก่ ผัก โฮลวีท ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี บริวเวอร์ยีสต์ นม ไข่แดง ปลา เนื้อออร์แกนิก เนื้อหมูไม่ติดมัน เป็นต้นEผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณมากๆ แต่อาจจะส่งผลให้มีน้ำหนักตัวอันไม่พึงประสงค์ได้ โดยศัตรูของวิตามินเอฟ ได้แก่ ความร้อน ออกซิเจน และไขมันอิ่มตัวFโรคจากการขาดวิตามินเอฟ ได้แก่ เป็นสิว และผื่นผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินเอฟ

  • วิตามินเอฟในปัจจุบันยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่มีคำแนะนำว่า ควรมีอย่างน้อยร้อยละ 1 ของแคลลอรีที่คุณรับประทานในแต่ละวันควรจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกายประกอบอยู่ด้วย
  • วิตามินเอฟในรูปแบบของอาหารเสริม มักมีวางจำหน่ายทั่วไปในรูปแบบของแคปซูล โดยมีขนาดตั้งแต่ 100 – 150 มิลลิกรัม
  • ควรรับประทานวิตามินเอฟร่วมกับ วิตามินอี พร้อมมื้ออาหาร เพื่อการดูดซึมที่ดีที่สุด
  • หากคุณรับประทานอาหารประเภทแป้งมาก ร่างกายจะต้องการวิตามินเอฟ หรือกรดไขมันไม่อิ่มตัวเพิ่มมากขึ้น
  • ผู้ที่กังวลเรื่องระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ควรรับประทานวิตามินเอฟให้พอเพียง
  • ถึงแม้ว่าถั่วส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งของวิตามินเอฟที่ดี แต่ถั่วบราซิลและมะม่วงพิมพานต์ถือเป็นข้อยกเว้น
  • ควรระวังการรับประทานอาหารแบบแปลกๆ ที่มีไขมันอิ่มตัวสูง

ประโยชน์ของวิตามินเอฟ

  1.  วิตามินเอฟช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด
  2. ช่วยลดน้ำหนัก โดยเพิ่มการเผาผลาญไขมันอิ่มตัว
  3. ช่วยให้ผมและผิวพรรณมีสุขภาพดี
  4. ป้องกันอันตรายจากรังสีเอกซ์ได้ในระดับหนึ่ง
  5. ช่วยต่อสู้กับโรคหัวใจ
  6. ช่วยในการเจริญเติบโตของสุขภาพโดยรวม โดยกระตุ้นการทำงานของต่อมต่างๆ และทำให้เซลล์ต่างๆได้รับ ธาตุแคลเซียม

guest

Post : 2014-03-18 15:02:45.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินอี

 

วิตามินอี (Vitamin E) ประโยชน์ของวิตามินอี

วิตามินอี

วิตามินอี

Aวิตามินอี (Vitamin E) หรือ โทโคฟีรอล , โทโคไทรอีนอล เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งจะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ เนื้อเยื่อไขมัน หัวใจ เลือด กล้ามเนื้อ มดลูก อัณฑะ ต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง มีหน่วยวัดเป็น IU โดย 1 IU = 1 mg. โดยวิตามินอีแบ่งออกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือโทโคฟีรอลและโทโคไทรอีนอล โดยทั้ง 2 กลุ่มจะแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ แอลฟา บีตา แกมมา เดลตา ซึ่งในบรรดาสารทั้ง 8 ตัว แอลฟาโทโคฟีรอล จัดได้ว่ามีฤทธิ์ทางชีวภาพ แต่แกมมาโทโคฟีรอลมีประสิทธิภาพมากกว่าในการเพิ่มระดับเอนไซม์ซูปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (SOD) ซึ่งมีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันโรคที่เดี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งรวมไปถึงมะเร็ง โรคหัวใจ โรคชรา อัลไซเมอร์Bวิตามินอีเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม ป้องกันการเกิดออกซิเดชันของสารในกลุ่มไขมัน ทำงานเหมือนกับวิตามินเอ วิตามินซี ธาตุซีลีเนียม กรดแอมิโนซัลเฟอร์ นอกจากนี้วิตามินอียังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ วิตามินเอ ได้ดียิ่งขึ้น และยังทำหน้าที่สำคัญคล้ายเป็นยาขยายหลอดลมและเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยวิตามินอีจะต่างกับวิตามินที่ละลายในไขมันตัวอื่นคือร่างกายจะเก็บสะสมไว้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น คล้ายๆกับวิตามินบีและวิตามินซีCแหล่งที่พบวิตามินอีตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลชนิดโฮลเกรน แป้งทำขนมปังแบบเสริมวิตามิน ถั่วเหลือง น้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพดถั่ว เมล็ดทานตะวัน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (วอลนัท พีแคน ถั่วลิสง จะมีแกมมาโทโคฟีรอลมากเป็นพิเศษ) กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว ผักใบเขียว ผักขม อะโวคาโด(เฉพาะเนื้อ) ปวยเล้ง เป็นต้นDโรคจากการขาดวิตามินอี คือ เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย กล้ามเนื้อฝ่อ และโรคโลหิตจาง โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ และศัตรูของวิตามินอี ได้แก่ ความร้อน ออกซิเจน อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง กระบวนการแปรรูปอาหาร ธาตุเหล็กธาตุคลอรีน และน้ำมันแร่ธรรมชาติ เป็นต้น

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินอี

  • วิตามินอีขนาดแนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 8-10 IU
  • ปริมาณร้อยละ 60-70 ของขนาดที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันจะถูกขับออกทางอุจจาระ
  • อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของธาตุซีลีเนียม 25 mcg. ต่อวิตามินอี 200 IU จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวิตามินอีได้เป็นอย่างดี
  • ค่า IU ที่ระบุไว้ในฉลากอาหารเสริมของวิตามินอี เป็นค่าของ แอลฟาโทโคฟีรอล ส่วนโทโคฟีรอลตัวอื่นและโทโคไทรอีนอลนั้น ถือได้ว่ามีค่าเป็น 0 IU
  • ปริมาณ IU บนฉลากอาหารเสริม ไม่ได้เป็นการระบุว่าวิตามินอีนั้นมีเพียงแอลฟาโทโคฟีรอลเพียงตัวเดียว หรือมีโทโคฟีรอลตัวอื่นและโทโคไทรอีนอลรวมอยู่ด้วยหรือไม่
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินอีวางจำหน่ายทั้งแบบชนิดเป็นน้ำมัน แคปซูล แบบเม็ดละลายน้ำได้
  • อาหารเสริมที่สกัดแอลฟาโทโคฟีรอลจากธรรมชาติ จะมีประสิทธิภาพเป็นสองเท่าของแบบสังเคราะห์
  • วิตามินอีให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะมีขนาดตั้งแต่ 100-1,500 IU ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานแบบน้ำมัน หรือผู้ที่มีปัญหาผิวที่เกิดจากความมัน แนะนำให้รับประทานเป็นแบบเม็ดแห้งละลายน้ำ รวมไปถึงผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีด้วย
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานทั่วไปคือ 200-1,200 IU ต่อวัน ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานมากๆ
  • หากคุณรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสูง ร่างกายอาจต้องการวิตามินอีเพิ่มมากขึ้น
  • วิตามินอีในปริมาณที่สูง จะเสริมการทำงานของยาต้านการแข็งตัวของเลือดและลดการดูดซึมของ วิตามินเค ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว ดังนั้นหากคุณกำลังจะเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานวิตามินอี 2 สัปดาห์ก่อนและหลังการผ่าตัด
  • ร่างกายของเราจะดูดซึมวิตามินอีจากอาหารเสริมที่สกัดจากธรรมชาติได้มากกว่าเป็นสองเท่าของแบบสังเคราะห์ โดยสามารถดูที่ฉลากจะพบว่าวิตามินอีจากธรรมชาติจะรุว่าเป็น d-alpha-tocopherol ส่วนแบบสังเคราะห์จะเขียนว่า dl-alpha-tocopherol
  • การรับประทานโทโคไทรอีนอลนั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องรับประทานร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือมีไขมันอยู่ด้วย
  • การรับประทานแอลฟาโทโคฟีรอลในปริมาณมาก จะทำให้ระดับของแกมมาโทโคฟีรอลในเลือดลดลง ซึ่งแกมมาโทโคฟีรอลนี้มีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ (อนุมูลิสระที่มีไนโตรเจนจะสัมพันธ์กับโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง อัลไซเมอร์ โรคหัวใจ)
  • หากคุณรับประทานแกมมาโทโคฟีรอล จะทำให้ระดับแอลฟาและแกมมาโทโคฟีรอลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นด้วย
  • แกมมาโทโคฟีรอลมีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • ธาตุเหล็กอนินทรีย์ สามารถทำลายวิตามินอีได้ จึงไม่ควรรับประทานร่วมกัน หากจะรับประทานอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กหรือเฟอร์รัสซัลเฟต ควรจะรับประทานวิตามินอีก่อนหรือหลัง 8 ชั่วโมง
  • เฟอร์รัสกลูโคเนต เฟอร์รัสเปปโทเนต เฟอร์รัสซิเทรต เฟอร์รัสฟูเมเรต (ธาตุเหล็กอินทรีย์) จะไม่ทำลายวิตามินอี
  • หากดื่มน้ำที่มี ธาตุคลอรีน ร่างกายจะต้องการวิตามินอีเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือรับประทานยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนเสริม ร่างกายจะต้องการวิตามินเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ
  • สำหรับผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วัยทอง ควรรับประทานวิตามินอีให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยหากอายุน้อยกว่า 40 ปี ควรรับประทานในขนาด 400 IU ต่อวัน แต่หากมีอายุมากกว่า 40 ปี ควรรับประทาน 800 IU ต่อวัน ถ้าเป็นแบบเม็ดแห้งจะดีมาก

ประโยชน์ของวิตามินอี

  1. ประโยชน์ของวิตามินอีช่วยทำให้แลดูอ่อนกว่าวัย โดยชะลอกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์
  2. ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
  3. ช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพความทนทาน
  4. ช่วยปกป้องปอดจากมลพิษทางอากาศ โดยทำงานร่วมกับวิตามินเอ
  5. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิด
  6. เพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโรคให้เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์
  7. ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม
  8. ช่วยป้องกันและสลายลิ่มเลือด
  9. ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย
  10. ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก
  11. Vitamin Eป้องกันแผลเป็นหนานูน ทั้งภายนอดและภายใน
  12. เร่งให้แผลไหม้บริเวณผิวหนังหายเร็วยิ่งขึ้น
  13. ทำงานคล้ายยาขับปัสสาวะ ช่วยลดความดันโลหิต
  14. ช่วยในการป้องกันภาวะแท้ง
  15. บรรเทาอาการตะคริวหรือขาตึง
  16. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอัมพฤกษ์ อัมพาต
  17. ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ได้

guest

Post : 2014-03-18 15:00:58.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินดี

 

วิตามินดี (Vitamin D) ประโยชน์ของวิตามินดี

วิตามินดี

Vitamin D

Aวิตามินดี (Vitamin D) หรือ แคลซิเฟอรอล , ไวออสเตอรอล , เออร์กอสเตอรอล , หรือเรียกง่ายๆว่า “วิตามินแดด” เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ร่างกายของเราจะได้รับวิตามินชนิดนี้จากแสงแดดหรืออาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ เพราะรังสี UV จากแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับน้ำมันที่ผิวหนัง ก่อให้เกิดการสร้างวิตามินดีซึ่งจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายBหากอาบแดดจนสีผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนแล้ว การสร้างวิตามินดีที่ผิวหนังจะหยุดลง คุณสามารถตากแดดโดยไม่ทาครีมกันแดดเพื่อรับวิตามินดีได้ แต่อย่าลืมที่จะปกป้องผิวของคุณด้วยการจำกัดเวลาในการออกแดดให้เหมาะสม (เพียง 1 ใน 4 ของเวลาที่จะทำให้ผิวคุณเริ่มแดง)Cวิตามินดีที่เรารับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมพร้อมไขมันผ่านทางผนังลำไส้ วิตามินชนิดนี้มีหน่วยวัดเป็น IU หรือ ไมโครกรัมของโคลีแคลซิเฟอรอล และหมอกควันพิษในอากาศส่งผลให้แสงอาทิตย์กระตุ้นการสร้างวิตามินดีได้น้อยลงDสำหรับแหล่งอาหารที่พบวิตามินดีได้ทั่วไป ได้แก่ น้ำมันตับปลา ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเฮร์ริง นม และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น และศัตรูของวิตามินดี ได้แก่ ควันพิษ น้ำมันแร่

ประโยชน์ของวิตามินดี

  1. วิตามินดีช่วยเสริมการใช้ ธาตุแคลเซียม และ ธาตุฟอสฟอรัสซึ่งจำเป็นต่อความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  2. หากรับประทานร่วมกับ วิตามินเอ และ วิตามินซี จะช่วยป้องกันโรคหวัดได้
  3. ช่วยในการรักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบ
  4. ช่วยในการดูดซึมของวิตามินเอ

โรคจากการขาดวิตามินดี : โรคกระดูกอ่อนในเด็ก ฟันผุขั้นรุนแรง โรคกระดูกน่วม ภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินดี

  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 200 – 400 IU หรือ 5 – 10 mcg.
  • ทารกที่ดื่มนมแม่ควรได้รับวิตามินดี 200 IU ต่อวัน นอกเสียจากว่าหย่านมแล้ว และเปลี่ยนมาดื่มนมสูตรเสริมวิตามินดีอย่างน้อย 500 ซีซีต่อวันแล้ว และสำหรับเด็กที่ดื่มนมขวดสูตรเสริมวิตามินดี แต่ปริมาณไม่ถึง 500 ซีซีต่อวัน ก็ควรรับประทานวิตามินดีเสริมเช่นกัน
  • วิตามินดีในรูปแบบของอาหารเสริม มักวางจำหน่ายในรูปแบบ เม็ดหรือแคปซูล มีขนาดประมาณ 400 IU ซึ่งดัดแปลงมาจากน้ำมันตับปลา โดยขนาดที่รับประทานกันโดยทั่วไปคือ 400 – 1,000 IU
  • ผู้ที่อยู่อาศัยในเมือใหญ่ โดยเฉพาะในบริเวณที่มลพิษหมอกควันหนาแน่น ควรได้รับวิตามินดีเพิ่มมากขึ้น
  • ประโยชน์ของวิตามินดีผู้ที่ทำงานกลางคืนและไม่ค่อยตากแดด ควรรับประทานวิตามินดีเพิ่ม
  • หากคุณรับประทานยากันชัก คุณควรต้องรับประทานวิตามินดีเพิ่ม
  • คนผิวเข้มที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีแดดน้อย ควรรับประทานวิตามินดีเพิ่ม
  • หากคุณอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือมีน้ำหนักตัวเกิน คุณมีความเสี่ยงต่อการมีวิตามินดีในร่างกายต่ำ
  • เด็กและวัยรุ่นที่ไม่ได้ดื่มนมที่มีวิตามินดี อย่างน้อย 500 ซีซีต่อวัน ควรรับประทานอาหารอื่นที่มีวิตามินดีสูง หรือรับประทานวิตามินรวมที่มีวิตามินดีรวมอยู่ด้วยอย่างน้อย 200 IU
  • อย่าให้สุนัขหรือแมวรับประทานวิตามินดีเป็นอาหารเสริม ยกเว้นว่าสัตวแพทย์เป็นผู้แนะนำในบางกรณี
  • วิตามินดีจะทำงานร่วมกับวิตามินเอ วิตามินซี โคลีน แคลเซียม ฟอสฟอรัสได้ดีที่สุด
  • ผลเสียของการรับประทานวิตามินดีเกินขนาด หากรับประทานในปริมาณมากต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือประมาณ 20,000 IU ต่อวัน อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ หรือหากรับประทานมากกว่า 1,800 IU ต่อวัน อาจทำให้เกิดภาวะวิตามินดีเกินในเด็ก สำหรับอาการอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าในร่างกายมีวิตามินดีมากเกินไป เช่น กระหายน้ำมากผิดปกติ เจ็บตา คันตามผิวหนัง อาเจียน ท้องร่วง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีหินปูนแคคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือด ตับ ไต ปอด กระเพาะอาหารอย่างผิดปกติ

guest

Post : 2014-03-18 14:59:38.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินซี

 

วิตามินซี (Vitamin C) ประโยชน์ของวิตามินซี 18 ข้อ !

วิตามินซี

Vitamin C

  • วิตามินซี (Vitamin C) หรือ กรดแอสคอร์บิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง
  • สัตว์ส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ แต่มนุษย์ต้องอาศัยวิตามินซีจากอาหารเสริมแทนเท่านั้น
  • วิตามินซี มีบทบาทสำคัญในการสร้าง คอลลาเจน เพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย
  • วิตามินชนิดนี้มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.)
  • วิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึม ธาตุเหล็ก ได้ดียิ่งขึ้น
  • วิตามินซีจะถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อคุณตกอยู่ในสภาวะเครียด
  • การขาดวิตามินซีอาจทำให้เกิดโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอยู่ที่ 60 mg. และสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรที่ประมาณ 70-96 mg.
  • ผู้ที่สูบบุหรี่และผู้สูงอายุ ควรได้รับวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น
  • ร่างกายจะสูญเสียวิตามินซี 25 – 100 mg. ต่อการสูบบุหรี่หนึ่งมวน
  • ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)
  • แหล่งที่พบวิตามินซีได้ในธรรมชาติ ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผักใบเขียว แคนตาลูป มันฝรั่ง มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ พริกไทย เป็นต้น
    วิตามินซี
  • หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดนิ่ว บางครั้งการรับประทานในปริมาณที่สูงหรือมากกว่า 10,000 mg. ขึ้นไปอาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่น อาการท้องร่วง ปัสสาวะบ่อย มีผื่นผิวหนัง ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวคุณควรรับประทานในปริมาณที่น้อยลง คนไข้โรคมะเร็งที่กำลังฉายรังสีหรือเคมีบำบัด ไม่ควรรับประทานวิตามินซีเพราะผลตรวจอาจแปรปรวนได้
  • ศัตรูของวิตามินซี ได้แก่ แสง, ออกซิเจน, น้ำ, ความร้อน, การสูบบุหรี่, การปรุงอาหาร

วิตามินซีในรูปแบบของอาหารเสริม

  • เป็นวิตามินที่รับประทานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด มีจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น แบบเม็ด แคปซูล ลูกอม เม็ดแบบแตกตัวช้า แบบผง แบบเคี้ยว น้ำเชื่อม หรือเรียกได้ว่าแทบจะทุกรูปแบบ
  • วิตามินซีบริสุทธิ์ คือรูปที่แปลงมาจากน้ำตาลเดกซ์โทรสจากข้าวโพด (แม้จะไม่มีข้าวโพดหรือเดกซ์โทรสหลงเหลืออยู่เลย)
  • ความแตกต่างระหว่างวิตามินซีจากธรรมชาติ หรือแบบอินทรีย์ (ออแกนิค) และกรดแอสคอร์บิกสังเคราห์โดยทั่วไป คือความยากง่ายในการย่อยและการดูดซึม ซึ่งต่างกันไปตามความสามารถของแต่ละคน
  • อาหารเสริมวิตามินซีที่ดีที่สุดคือวิตามินซีที่ประกอบไปด้วย ไบโอฟลาโวนอยด์ เฮาเพอริดิน และรูติน (บางครั้งอาจเห็นชื่อในฉลากว่า เกลือซิตรัส)
  • วิตามินซีในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูลส่วนมากจะมีขนาดตั้งแต่ 100 – 1,000 mg. ส่วนในรูปแบบผงละลายน้ำจะมีขนาดประมาณ 5,000 mg. ต่อช้อนชา
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับวิตามินซีเสริมอาหารคือ 500 – 4,000 mg.
  • อะซีโรลาซี (Acerola C) คือ วิตามินซีที่สกัดมาจากผลอะซีโรลาเบอร์รี่
  • วิตามินซีจากโรสฮิปหรือผลกุหลาบ จะมีไบโอฟลาโวนอยด์และเอนไซม์อื่นๆ ที่ช่วยให้วิตามินซีแตกตัวได้ดี ถือเป็นแหล่งของวิตามินซีตามธรรมชาติที่ดีที่สุด

ประโยชน์ของวิตามินซี

  1. ประโยชน์ของวิตามินซีช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  2. การรับประทานเป็นประจำจะช่วยให้ผิวใส เนียน นุ่มลื่นอย่างเป็นธรรมชาติ
  3. ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  4. ช่วยในการรักษาและป้องกันโรคหวัด
  5. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  6. ประโยชน์วิตามินซี ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด
  7. ช่วยต่อต้านการสร้างสารไนโตรซามีน (สารก่อมะเร็ง)
  8. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  9. ประโยชน์ของวิตามินซี ช่วยลดความดันเลือด
  10. ช่วยลดการเกิดเส้นเลือดเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดดำ
  11. ช่วยต่อชีวิตให้เซลล์โดยช่วยให้โปรตีนในเซลล์เกาะเกี่ยวกันได้ดีขึ้น
  12. ช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็ก
  13. เป็นยาระบายตามธรรมชาติ
  14. เพิ่มประสิทธิภาพของยาที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  15. ช่วยลดอาการที่เป็นผลมาจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
  16. ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิด
  17. ช่วยเร่งให้แผลหลังผ่าตัดหายเร็วยิ่งขึ้น
  18. ช่วยในการรักษาแผลสด แผลไหม้ให้หายเร็วยิ่งขึ้น

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินซี

  • วิตามินซีจะถูกขับออกจากร่างกายภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารในกระเพาะ และการรักษาระดับของวิตามินซีในเลือดให้สูงอยู่ตลอดเวลาถือเป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพ จึงขอแนะนำว่าให้รับประทานพร้อมอาหารมื้อเช้าและเย็น
  • วิตามินซีในปริมาณสูงอาจกระทบถึงผลการตรวจเลือดรวมทั้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นหากคุณกำลังไปตรวจอย่าลืมแจ้งแพทย์ว่าคุณกำลังรับประทานวิตามินซีอยู่ เพราะการวินิจฉัยอาจเกิดการผิดพลาดได้
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรทราบว่า ค่าที่ได้จากการตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะอาจไม่ถูกต้อง หากคุณรับประทานวิตามินซีปริมาณสูง
  • ยารักษาโรคเบาหวาน อาจมีประสิทธิภาพด้อยลงหากรับประทานร่วมกับวิตามินซี
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิด 2 หรือผู้ที่มีความดันโลหิตสูง สามารถลดความดันได้เพียงแค่รับประทานวิตามินซีวันละ 500 mg.
  • สำหรับผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้มีเหล็กสะสมในร่างกายมาก เช่น ทาลัสซีเมีย หรือฮีโมโครมาโตซิส ไม่แนะนำให้รับประทานวิตามินซีในปริมาณที่สูง – หากรับประทานวิตามินซีเกินกว่า 750 mg. ต่อวัน ควรรับประทานแมกนีเซียมเสริมด้วย เพราะช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไตได้
  • ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะทำลายวิตามินซี เพราะฉะนั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองควรรับประทานวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น
  • สำหรับผู้ทีรับประทานยาคุมกำเนิด ควรรับประทานวิตามินซีเพิ่มขึ้น
  • เพื่อให้วิตามินซีทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ควรให้มันได้ทำงานร่วมกันกับ ไบโอฟลาโวนอยด์ แคลเซียม แมกนีเซียม
  • หากคุณรับประทานยาแอสไพริน ควรรับประทานวิตามินซีเพิ่มมากขึ้น เพราะแอสไพรินทำให้วิตามินซีถูกขับเร็วขึ้นถึงสามเท่า
  • หากคุณรับประทานโสม ควรเว้นระยะเวลา 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังรับประทานวิตามินซี
  • เพื่อบรรเทาอาการหวัด ควรรับประทานวิตามินซี 1,000 mg. วันละสองเวลา พบว่าจะช่วยลดระดับฮิสตามีนในเลือดลงถึงร้อยละ 40 (ฮิสตามีนเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการน้ำมูกน้ำตาไหล)

guest

Post : 2014-03-18 14:58:20.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินบี 5

 

วิตามินบี5 (กรดแพนโทเทนิก) ประโยชน์ของวิตามินบี5

Vitamin-43

กรดแพนโทเทนิก

Aวิตามินบี5 หรือ กรดแพนโทเทนิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มของ วิตามินบีรวม มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.) ซึ่งร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์วิตามินบี5 ขึ้นเองได้ด้วยแบคทีเรียในลำไส้Bวิตามินบี5มีหน้าที่ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ต่างๆ การเจริญเติบโตของร่างกาย และการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง มีความจำเป็นอย่างมากต่อการทำงานของต่อมหมวกไต รวมไปถึงการช่วยสร้างเสริมภูมิต้านทานและใช้ พาบา และ โคลีน ของร่างกาย และยังมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนไขมันและน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงานCแหล่งที่พบวิตามินบี5 ตามธรรมชาติ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ตับ ไต หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่ว ผักสีเขียว กากน้ำตาลไม่บริสุทธิ์ บริเวอร์ยีสต์ เป็นต้นDผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน โดยศัตรูของวิตามินบี5 ได้แก่ ความร้อน กระบวนการแปรรูปอาหาร แอลกอฮอล์ การบรรจุกระป๋อง กาเฟอีน ยานอนหลับ ยาในกลุ่มซัลฟา และฮอร์โมนเอสโตรเจนEโรคจากการขาดวิตามินบี 5 ได้แก่ โรคไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, แผลในลำไส้เล็ก, โรคเลือด และโรคผิวหนัง

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินบี5

  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานสำหรับผู้ใหญ่หรือที่ร่างกายต้องการคือ 10 มิลลิกรัมต่อวัน
  • วิตามินบี5 ในรูปแบบของอาหารเสริม จะมีขนาดตั้งแต่ 10 – 100 มิลลิกรัม โดยมักผสมอยู่ในรูปของวิตามินบีรวม โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือประมาณ 10 – 300 มิลลิกรัม
  • หากมีอาการเหน็บชาที่มือและเท้าบ่อยๆ ควรรับประทานกรดแพนโทเทนิกร่วมกับ วิตามิบี อื่นๆ ให้มากขึ้น
  • การรับประทานกรดแพนโทเทนิก 1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน สามารถลดระดับคอเลสเตอรอล และลดความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบในผู้ป่วยบางรายได้
  • หากเป็นโรคภูมิแพ้ อาจบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานวิตามินบี5 รวมกับวิตามินซี อย่างละ 1,000 มิลลิกรัม พร้อมอาหารทั้งมื้อเช้าและมื้อเย็น
  • วิตามินบี5 ช่วยในการทำงานเป็นเกราะป้องกันความเครียดได้

ประโยชน์ของวิตามินบี5

  1. วิตามินบี5ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
  2. ช่วยลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะ
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
  4. ช่วยในกระบวนการรักษาแผล
  5. ช่วยรักษาอาการช็อกหลังการผ่าตัด
  6. ช่วยป้องกันการอ่อนเพลียของร่างกาย
  7. ช่วยลดความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบในผู้ป่วยบางรายได้
  8. ช่วยรักษาอาการเหน็บชาที่มือและเท้า
  9. ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย

guest

Post : 2014-03-18 14:57:02.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  พาบา

วิตามินพาบา (Paba) เป็นวิตามินประเภทละลายในน้ำ (Water Soluble) และจัดเป็นวิตามินเทียม วิตามินชนิดนี้

พบว่าอยู่รวมกับกรดโฟลิค หรือเป็นส่วนหนึ่งของกรดโฟลิค เป็นวิตามินที่แฝงอยู่ในวิตามินบีรวม

และพบว่ายังสะสมอยู่ในเนื้อใต้ผิวหนังของร่างกาย


วิตามินพาบา ( Paba ) มีในอาหาร ได้แก่ ตับ ไข่ บริเวอร์ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ข้าวทั้งเมล็ดทั้งหลาย โยเกิร์ต และผักใบเขียว


ประโยชน์ และ หน้าที่สำคัญ ของ วิตามิน พาบา ( Paba)
- กระตุ้นแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้สามารถผลิตกรดโฟลิค และรักษาสุขภาพของลำไส้
- ช่วยในการสร้างเม็ดโลหิตแดง โดยการทำงานประสานกับกรดโฟลิค
- ช่วยควบคุมสุขภาพของ ผิวหนัง สีของผม และป้องกันผมหงอก
- รักษาตับไต และหัวใจให้อยู่ในสภาพที่ดี

อาการขาดวิตามินพาบา ( Paba )
- อ่อนเพลีย หงุดหงิด ปวดศีรษะ
- การย่อยอาหารผิดปกติ  
- โลหิตจาง  
- ผมหงอกก่อนวัย


หมายเหตุ  จากการทดลองในสัตว์พบว่า ถ้าขาด พาบา จะมีผลทำให้ ขนเป็นสีขาว และเมื่อเพิ่มวิตามินชนิดนี้ลงไปในอาหาร ขนที่ขาว กลับดำได้อีก 

 

 

guest

Post : 2014-03-18 14:54:00.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  อิโนซิทอล

 

อิโนซิทอล (Inositol) ในวิตามินบีรวม | วิตามินเพื่อสุขภาพ !!

อิโนซิทอล

อิโนซิทอล

Aอิโนซิทอล (Inositol) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มของ วิตามินบีรวม โดยมีบทบาทสำคัญในระบบประสาท โดยให้พลังแก่เซลล์สมอง ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันและคอเลสเตอรอล อิโนซิทอล นั้นมีหน่วยเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.) เมื่อรวมตัวกับ โคลีน จะกลายเป็น เลซิตินBสำหรับแหล่งที่พบอิโนซิทอลตามธรรมชาติ ได้แก่ ตับ สมองและหัวใจวัว จมูกข้าวสาลี กากน้ำตาล ถั่วลิสง ถั่วลิมาแห้ง ลูกเกด แคนตาลูป เกรปฟรุต กะหล่ำปลี บริเวอร์ยีสต์ เป็นต้นCโรคจากการขาดอิโนซิทอล ได้แก่ โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา (Eczema) โดยมีลักษณะอาการคือ บวมแดง คัน ผิวหนังลอกเป็นขุย , ท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวลำไส้จะทำงานผิดปกติ จึงทำอาหารให้ตกค้างในลำไส้ใหญ่ หรืออาจเกิดความผิดปกติในดวงตา เช่น ตาบอดกลางคืน ต้อกระจก ต้อหิน และการมองเห็นผิดปกติได้ หรืออาจเกิดภาวะผมร่วงได้ หรืออาจเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน หรือเกิดการแข็งตัวของผนังเส้นเลือดได้ และอาจเกิดภาวะเสื่อมและอักเสบของปลายประสาท ทำให้มีอาการชา หรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้าได้Dผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในยังไม่มีรายงานว่าเกิดอันตรายต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน และศัตรูของอิโนซิทอล ได้แก่ น้ำ กาแฟ แอลกอฮอล์ กระบวนการแปรรูปอาหาร ยาในกลุ่มซัลฟา และฮอร์โมนเอสโตรเจน

คำแนะนำในการรับประทานอิโนซิทอล

  • อิโนซิทอล ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันยังไม่มีระบุอย่างเป็นทางการ แต่สำหรับผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้วันละ 500 – 1,000 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานเป็นวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าเย็น
  • มักมีวางจำหน่ายในรูปแบบเลซิทินผงที่ละลายน้ำได้ง่าย และในรูปของวิตามินบีรวมโดยจะมีอิโนซิทอลและโคลีนผสมอยู่ด้วยอย่างละ 100 มิลลิกรัม โดยในรูปของแคปซูลเลซิทินจากถั่วเหลือง 6 เม็ด จะมีอิโนซิทอลและโคลีนอยู่ด้วย อย่างละประมาณ 244 มิลลกิรัม
  • แต่ขนาดที่แนะนำให้รับประทานสำหรับอาหารเสริมโดยทั่วไปต่อวันคือประมาณ 500 – 1,000 มิลลิกรัม
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันทั่วๆไปคือประมาณ 250 – 500 มิลลิกรัม
  • ควรรับประทานร่วมกับโคลีน และ วิตามินบี ตัวอื่นๆ ในรูปของวิตามินบีรวม
  • สำหรับผู้ที่ชอบดื่มกาแฟ คุณควรรับประทานอิโนซิทอลเสริม
  • การรับประทานอิโนซิทอลและโคลีนเป็นประจำ จะทำให้ วิตามินอี ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ผู้ที่รับประทานเลซิติน ควรรับประทาน ธาตุแคลเซียม เสริมเพื่อปรับสมดุลของระดับแคลเซียมและ ธาตุฟอสฟอรัส เพราะอิโนซิทอล และโคลีนจะไปเพิ่มระดับของฟอสฟอรัสในร่างกาย

ประโยชน์ของอิโนซิทอล

  1. อิโนซิทอลช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมัน
  2. ป้องกันการหลุดล่วงของเส้นผม ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง
  3. อิโนซิทอลช่วยป้องกันผื่นผิวหนังอักเสบเอ็กซีมา
  4. ช่วยปรับการสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย
  5. ทำให้รู้สึกสงบ ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
  6. สามารถช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดได้
  7. ช่วยป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  8. ช่วยฟื้นฟูอวัยวะต่างๆของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้น

guest

Post : 2014-03-18 14:52:34.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  กรดโฟลิก

 

กรดโฟลิก (วิตามินเอ็ม) ประโยชน์ของกรดโฟลิก !

Folic-1

Folic Acid

Aกรดโฟลิก (โฟเลต,โฟลาซิน) หรือ วิตามินบี9 หรือรู้จักกันในชื่อ วิตามินเอ็ม หรือ วิตามินบีซี (Bc) จัดอยู่ในกลุ่มของ วิตามินบีรวม มีหน่วยวัดเป็นไมโครกรัม (มคก. หรือ mcg.) มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญ โปรตีน มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการสร้าง กรดนิวคลีอิก และมีความจำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ร่างกายต้องใช้ในกระบวนการใช้น้ำตาลและกรดอะมิโน โดยกรดโฟลิกนั้นถูกทำลายได้ง่ายด้วยอุณหภูมิห้องเป็นเวลานานเกินไปBแหล่งที่พบกรดโฟลิกตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แครอท แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอต อะโวคาโด อาร์ติโช้ก ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ทอร์ทูลายีสต์ เป็นต้นCผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการที่เป็นพิษต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผื่นแพ้ได้บ้าง และหากร่างกายมีกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี12 ไม่แสดงออกมา โดยศัตรูของกรดโฟลิก ได้แก่ น้ำ กระบวนการแปรรูปอาหาร (โดยเฉพาะการต้ม) แสงแดด ความร้อน ยาในกลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโรคที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิก ได้แก่ โรคโลหิตจางแบบแมโครไซติก หรือเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ

คำแนะนำในการรับประทานกรดโฟลิก

  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือประมาณ 180 – 200 ไมโครกรัม ต่อวัน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่า ส่วนหญิงให้นมบุตรควรรับประทาน 280 ไมโครกรัม ในช่วง 6 เดือนแรก และ 260 ไมโครกรัม ในช่วง 6 เดือนหลัง
  • กรดโฟลิก ในรูปแบบอาหารเสริม มีวางจำหน่ายตั้งแต่ปริมาณ 400 – 800 ไมโครกรัม ส่วน 1,000 มิลลิกรัม ต้องซื้อโดยใช้ใบสั่งของแพทย์เท่านั้น
  • โดยทั่วไปกรดโฟลิกจะมีผสมอยู่ในรูปแบบของ วิตามินบีรวม ประมาณ 100 ไมโครกรัม ไปจนถึง 400 ไมโครกรัม
  • คุณควรเลือกซื้ออาหารเสริมที่มีทั้งโฟเลตและวิตามินบี12 อยู่ด้วยกัน
  • โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 400 – 5,000 ไมโครกรัม ต่อวัน
  • ผู้หญิงควรรับประทานกรดโฟลิกและ วิตามินบี6 ให้เพียงพอ กรดโฟลิกเพียง 400 ไมโครกรัม วิตามินบี6 เพียง 2-10 มิลลิกรัม ก็สามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ถึงร้อยละ 42
  • ผู้ที่รับประทานกรดโฟลิก 1,000 – 5,000 ไมโครกรัม ทุกๆวัน จะช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้
  • สำหรับผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ควรได้รับกรดโฟลิกเสริม
  • สำหรับผู้ที่รับประทานวิตามินซีมากกว่า 2,000 มิลลิกรัม ต่อวัน ควรรับประทานกรดโฟลิกเสริมด้วย
  • สำหรับผู้ที่รับประทานยากันชักไดแลนติน ฮอร์โมนเอสโทรเจน ซัลโฟนาไมด์ แอสไพริน ฟีโนบาร์บิทอล ควรได้รับกรดโฟลิกเสริม
  • สำหรับผู้ที่ป่วยหรือร่างกายกำลังต่อสู้กับโรคใดๆอยู่ อาหารเสริมที่รับประทานควรจะมีกรดโฟลิกอยู่ด้วย เพราะจะช่วยเสริมแอนติบบอดีในร่างกาย
  • การรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณมาก อาจมีผลกระทบต่อยาต้านมะเร็งบางชนิด
  • การรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณมากอาจทำให้คนไข้โรคลมชักที่รับประทานยาฟีโนโทอินอยู่เกิดอาการชักได้

ประโยชน์ของกรดโฟลิก

  1. ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการอ่อนเพลีย
  2. กรดโฟลิกช่วยป้องกันแผลร้อนในได้
  3. ช่วยรักษาภาวะซีดหรือโลหิตจาง
  4. ทำงานออกฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวด
  5. ช่วยบำรุงผิวพรรณและสุขภาพ
  6. ช่วยป้องกันพยาธิในลำไส้และอาการแพ้จากอาหารเป็นพิษ
  7. ช่วยป้องกันการพิการของเด็กทารกแรกเกิด
  8. ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
  9. วิตามินบี9ช่วยชะลอให้ผมขาวช้าลง หากรับประทานร่วมกับ พาบา และ วิตามินบี5
  10. ช่วยลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือด
  11. ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้
  12. ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้

guest

Post : 2014-03-18 14:50:53.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โคลีน

 

โคลีน (Choline) ประโยชน์ของโคลีน | วิตามินเพื่อสุขภาพ !!

Choline-1

โคลีน

Aโคลีน (Cholineเป็นหนึ่งในสารที่ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และจัดอยู่ในกลุ่มของ วิตามินบีรวม โดยโคลีนจะทำงานร่วมกับ อิโนซิทอล ในกระบวนการใช้ไขมันและคอเลสเตอรอลของร่างกายBโคลีน เป็นสารที่สามารถผ่านระบบกรองระหว่างเลือดและสมอง ซึ่งเป็นระบบที่ปกป้องสมองจากสารหลากหลายในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป โดยโคลีนจะตรงเข้าไปยังเซลล์สมองเพื่อผลิตสารเคมีที่ช่วยในเรื่องความทรงจำ และยังช่วยในการกระจายตัวของคอเลสเตอรอล ไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะที่ผนังเส้นเลือดแดงหรือผนังของถุงน้ำดี โดยการใช้โคลีนในร่างกายจะขึ้นอยู่กับ วิตามินบี12 กรดโฟลิก และ กรดแอมิโนแอล-คาร์นิทีนCสำหรับแหล่งที่พบโคลีนตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ หัวใจ สมอง ตับ ปลา ผักใบเขียว ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก เป็นต้นDผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหากมีการรับประทานในปริมาณมากติดต่อกันทุกวัน และศัตรูของโคลีน ได้แก่ น้ำ กระบวนการแปรรูปอาหาร แอลกอฮอล์ ยาในกลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโทรเจนEโรคจากการขาดโคลีน ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ โรคตับแข็งหรือไขมันสะสมที่ตับ ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว

คำแนะนำในการรับประทานโคลีน

  • โคลีนมักพบเจอในรูปแบบของวิตามินบีรวม โดยจะมีโคลีนและอินอซิทอลอยู่ประมาณ 50 มิลลิกรัม หรือพบได้ในรูปของเลซิทินแบบแคปซูลซึ่งทำมาจากถั่วเหลือง โดยมีโคลีนและอินอซิทอลอยู่อย่างละประมาณ 244 มิลลิกรัม และอาจมีวางจำหน่ายในรูปของ ฟอสฟาทิดิลโคลีน หรือ ฟอสฟาทิดิลอิโนซิทอล
  • ในปัจจุบันยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่มีการประมาณว่าในวัยผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ประมาณ 500 – 900 มิลลิกรัมต่อวัน
  • แต่ขนาดที่แนะนำให้รับประทานโดยทั่วไปต่อวันคือประมาณ 500 – 1,000 มิลลิกรัม
  • คุณควรรับประทานโคลีนที่อยู่รูปของ วิตามินบีรวม
  • การรับประทานโคลีน อาจช่วยลดภาวะอาการตื่นตระหนกตกใจบ่อยๆได้
  • เพื่อเสริมสร้างประสิทธภาพด้านความทรงจำ คุณควรรับประทานโคลีนให้มากขึ้น
  • การรับประทานเลซิทินเสริม อาจจะต้องรับประทาน ธาตุแคลเซียม เสริมด้วยเพื่อให้ระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายสมดุลกัน เนื่องจากโคลีนเพิ่มการดูดซึมของ ธาตุฟอสฟอสรัส
  • สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ควรจะรับประทานโคลีนเสริม เพื่อช่วยลดการทำงานหนักของตับ

ประโยชน์ของโคลีน

  1. โคลีนช่วยลดการสะสมตัวของคอเลสเตอรอลได้
  2. ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย
  3. ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ค้างในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของตับ
  4. ช่วยในกระบวนการส่งกระแสประสาท โดยเฉพาะในสมองส่วนที่ทำงานที่ด้านความจำ
  5. ช่วยต่อสู้กับปัญหาความจำเสื่อมในวัยสูงอายุ (ด้วยขนาด 1,000 – 5,000 มิลลิกรัม ต่อวัน)
  6. ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้
  7. ช่วยป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  8. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

guest

Post : 2014-03-18 14:49:23.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามิน เอช

 

ไบโอติน (Biotin) ประโยชน์ของไบโอติน (วิตามินเอช)

ไบโอติน

ไบโอติน

Aไบโอติน (Biotin) หรือ วิตามินเอช (Vitamin H) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำซึ่งมีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ และจัดอยู่ในกลุ่ม วิตามินบีรวม มีหน่วยวัดเป็นไมโครกรัม (มคก. หรือ mcg.) โดยมีส่วนสำคัญในการเผาผลาญไขมันและ โปรตีน และการสังเคราะห์กรดแอสคอร์บิกต้องใช้ไบโอตินเป็นตัวช่วย โดยแบคทีเรียในลำไส้ก็สามารถสังเคราะห์ไบโอตินได้ สำหรับประโยชน์โดยรวมจะช่วยรักษาสุขภาพผิวพรรณ เส้นผม และเล็บ

Bแหล่งที่พบไบโอตินตามธรรมชาติ ได้แก่ ตับวัว ไข่แดง นม แป้งถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสง บริเวอร์ยีสต์ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสีเป็นต้นCโรคจากการขาดไบโอติน ได้แก่ ผมร่วง ซึมเศร้า เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง การเผาผลาญไขมันทำงานไม่สมบูรณ์ เป็นผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณหน้าและตัวDผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ปัจจุบันยังไม่พบผู้ที่มีอาการเป็นพิษจากการรับประทานไบโอตินเกินขนาดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และศัตรูของไบโอติน ได้แก่ ไข่ขาวดิบ (เพราะมีอะวิดิน ซึ่งเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมของวิตามินเอชหรือไบโอติน) น้ำ แอลกอฮอล์ ยาในกลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโตรเจน และกระบวนการแปรรูปอาหาร

คำแนะนำในการรับประทานโมลิบดีนัม

  1. ไบโอตินในรูปแบบอาหารเสริม มีขนาดรับประทานทั่วไปตั้งแต่ 25 – 300 ไมโครกรัม ต่อวัน โดยมักจะรวมอยู่อาหารเสริมประเภทวิตามินบีรวม และ วิตามินรวม ทั่วไป
  2. ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 100 – 300 ไมโครกรัม
  3. ไข่ดิบจะลดการดูดซึมของวิตามินเอช
  4. หากรับประทานเครื่องดื่มปั่นโปรตีนสูงที่มีไข่ดิบผสมอยู่ ควรรับประทานไบโอตินเสริม
  5. ผู้ที่รับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาในกลุ่มซัลฟา ควรรับประทานไบโอตินเพิ่มอย่างน้อย 25 ไมโครกรัม ต่อวัน
  6. ผู้ที่มีปัญหาผมร่วง การรับประทานไบโอตินก็เป็นทางออกที่ดี
  7. ขณะตั้งครรภ์ ระดับของไบโอตินจะลดลง คุณควรรับประทานไบโอตินเสริม
  8. การรับประทานไบโอติน 300 ไมโครกรัม ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน สามารถรักษาอาการเล็บแห้ง ฉีก เปราะได้ โดยหากอาการดีขึ้นค่อยปรับลดขนาดลง
  9. ไบโอติน หรือ Vitamin H จะทำงานเสริมซึ่งกันและกันกับวิตามินบี1 วิตามินบี3 วิตามินบี6 และวิตามินเอ ได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของไบโอติน

  1. ไบโอติน ช่วยป้องกันผมหงอกได้ดีไบโอติน
  2. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
  3. ช่วยในการเผาผลาญไขมันและโปรตีน
  4. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะล้าน
  5. ช่วยบรรเทาอาการผื่นผิวหนังอักเสบ ผดผื่นคันต่างๆ
  6. ช่วยป้องกันและบำรุงรักษาเล็บที่แห้งเปราะ

guest

Post : 2014-03-18 14:43:11.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินบี17

 

วิตามินบี17 (Amygdalin) เลไทรล์ (Laetrile) กับประโยชน์สำคัญ !!

Vitamin-48

อะมิกดาลิน

Aวิตามินบี17 หรือ อะมิกดาลิน (Amygdalin) หรือ เลไทรล์ (Laetrile) หรือ ไนทริโลไซด์ สำหรับวิตามินชนิดนี้นับเป็นเวลาหลายปีแล้วที่มีสารซึ่งประกอบไปด้วยน้ำตาลสองโมเลกุล (เบนซาลดีไฮด์และไซนาไนด์) อันมีข้อขัดแย้งมากมายนี้ ถูกเรียกผิดๆมาโดยตลอดว่าคือ “วิตามินบี17″ ซึ่งเป็นคำที่ผิดความหมายอย่างมาก สารนี้ส่วนมากแล้วสกัดมาจาก แอปริคอต โดยมีการกล่าวอ้างว่ามีคุณสมบัติในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแต่ในขณะนี้สารนี้ยังถือเป็นสิ่งเป็นกฎหมายในหลายๆรัฐของประเทศอเมริกาBวิตามินบี17 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ไม่สามารถทนต่อความร้อนได้ แนะนำว่าควรรับประทานแบบสดๆ เพื่อรักษาคุณค่าของวิตามินCวิตามินชนิดนี้ เป็นองค์ประกอบของ วิตามินบีรวม สามารถขัดขวางการเดินทางของแคดเมี่ยมที่เข้าสู่ร่างกายได้ และยังช่วยขับสารแคดเมี่ยมที่เข้าสู่ร่างกายและขับออกไปจากร่างกาย ได้อีกด้วย

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิตามินบี17

  • วิตามินบี17เชื่อกันว่าวิตามินชนิดนี้สามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ (แต่ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่มาก และยังไม่เป็นที่ยอมรับ)
  • แพทย์ที่มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ผู้เชี่ยวชาญโรคชรา พบว่าวิตามินชนิดนี้สามารถช่วยป้องกันความเสื่อมทางสมองได้ และสามารถช่วยทำให้ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ กลับมามีสุขภาพกาย แข็งแรงเหมือนเดิมและสุขภาพจิตก็ดีขึ้น
  • วิตามินชนิดนี้พบได้มากในเมล็ดพืชโดยเฉพาะ เมล็ดแอปริคอต และยังมีเมล็ดอื่นๆอีกเช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดพลับ เมล็ดถั่วอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ข้าว ถั่ว รวมไปถึงถั่วแมคคาดาเมีย
  • การได้รับวิตามินชนิดนี้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้ตัวเย็น หรือเหงื่อออก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีอาการง่วงซึม หายใจติดขัด ริมฝีปากเขียว ความดันต่ำ
  • วิตามินชนิดนี้ยังถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในพื้นที่หลายๆรัฐของอเมริกา

guest

Post : 2014-03-18 14:40:02.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินบีรวม

 

วิตามินบีรวม ประโยชน์ของวิตามินบีรวม ทั้งหมด 13 ชนิด

วิตามินบีรวม

วิตามินบีรวม

วิตามินบี หรือ วิตามินบีรวม ที่เรารู้จักมักคุ้นกันในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่คุณรู้หรือไม่ว่าวิตามินบีนั้นมีอยู่ได้หลายชนิด และต่างก็มีประโยชน์และผลข้างเคียงที่ต่างกันออกไป โดยวิตามินบีแต่ละตัวจะทำงานเสริมซึ่งกันและกัน ต้องทานร่วมกันจึงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าแยกทาน สำหรับชนิดต่างๆของวิตามินบีรวมนั้นก็ได้แก่ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5วิตามินบี6 วิตามินบี7 วิตามินบี9 วิตามินบี12 วิตามินบี15 วิตามินบี17 และยังรวมไปถึง ไบโอติน โคลีน พาบา อิโนซิทอล อีกด้วยที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม

สำหรับการรับประทานวิตามินบีในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ไม่ควรแยกรับประทานเพราะจะไม่ได้ประสิทธิภาพดีเท่าที่ควร แต่ควรรับประทานเป็นวิตามินบีรวมเพราะวิตามินบีแต่ละชนิดนั้นจะทำหน้าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันและจะให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูงสุดโดยวิตามินบีรวมนั้นมีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบประสาทและความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆในร่างกาย

วิตามินบี1 (ไทอะมีน)

  • วิตามินบี1 หรือ ไทอะมีน มีชื่อเรียกว่า “วิตามินเสริมขวัญและกำลังใจ” เพราะมีส่วนช่วยบำรุงประสาท
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ ผัก โฮลวีท ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง รำข้าว เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี บริวเวอร์ยีสต์ นม ไข่แดง ปลา เนื้อออร์แกนิก เนื้อหมูไม่ติดมัน
  • ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 1 – 1.5 มิลลิกรัม
  • ผลเสียของการรับประทานเกินขนาดยังไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษ หากรับประทานเกินขนาดก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะและไม่มีการสะสมแต่อย่างใด แต่หากมีอาการ (ซึ่งพบได้น้อยมากๆหรือแทบไม่เกิดเลย) ก็คือ สั่น โรคเริมกำเริบ ตัวบวม กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว และภูมิแพ้
  • ประโยชน์ของวิตามินบี1
    วิตามินบี11. ช่วยบำรุงประสาท กล้ามเนื้อ ทำหัวใจให้ทำงานเป็นปกติ
    2. ช่วยบำรุงสมอง ความคิด สติปัญญาให้ดีขึ้น
    3. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต
    4. ช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งได้ดี
    5. ช่วยบรรเทาอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน
    6. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัดทำฟัน
    7. ช่วยรักษาโรคงูสวัด
    8. ช่วยรักษาโรคโรคเหน็บชา

วิตามินบี2 (ไรโบฟลาวิน)

  • วิตามินบี2 หรือ ไรโบฟลาวิน มีอีกชื่อว่า วิตามินจี (Vitamin G)
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ ไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว ปลา ตับ ไต
  • ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 1.2 – 1.7 มิลลิกรัม แต่ขนาดที่ใช้รับประทานต่อวันโดยทั่วไปคือ 100-300 mg.
  • ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ยังไม่พบอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นพิษที่เกิดจากการรับประทานวิตามินชนิดนี้ แต่มีความเป็นไปได้ว่าหากในร่างกายมีวิตามินชนิดนี้สูงเกินไปก็คือ คัน รู้สึกชา อาการแสบยิบๆ
  • โรคจากการขาดวิตามินบีชนิดนี้ได้แก่ โรคปากนกกระจอก หรือโรคขาดวิตามินบี 1 และบี 2 พบที่บริเวณริมฝีปาก มุมปาก ผิวหนัง อวัยวะสืบพันธุ์
  • ประโยชน์ของวิตามินบี 2
    วิตามินบีรวม1. บำรุงผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม
    2. ช่วยในกระบวนการสร้างการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์
    3. เพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น ช่วยบรรเทาอาการอ่อนล้าของสายตา
    4. ช่วยลดความเจ็บปวดจากไมเกรน
    5. กำจัดอาการเจ็บแสบในปาก ริมฝีปากและลิ้น6
    6. ทำงานร่วมกับสารอื่นๆ ในการเผาผลาญอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีน

วิตามินบี3 (ไนอะซิน)

  • วิตามินบี3 หรือ ไนอะซิน สำหรับชื่ออื่นๆได้แก่ ไนอะซินาไมด์, กรดนิโคตินิก, นิโคตินาไมด์
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ ไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก ตับ โฮลวีต จมูกข้าวสาลี ถั่วลิสง อะโวคาโด อินทผลัมลูกพรุน มะเดื่อฝรั่ง บริเวอร์ยีสต์
  • ปริมาณที่แนะนำให้คุณรับประทานต่อวันคือ 13-19 มิลลิกรัม
  • โรคจากการขาดวิตามินบีชนิดนี้ ได้แก่ โรคเพลลากร้า (Pellagra) ลักษณะอาการคือเป็นผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรง
  • ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด
    1. อาจมีแนวโน้มเป็น โรคเกาต์ หรือมีอาการปวดตามข้อได้ หากในร่างกายคุณมีไนอะซินมากเกินไป
    2. ผลข้างเคียงอาจมีอาการร้อนวูบวาบ หน้าแดง คันตามตัว เมื่อรับประทานเกินกว่า 100 mg.
    3. ไม่ควรให้สัตว์กินไนอะซิน โดยเฉพาะสุขนัข เพราะอาจมีอาการเหงื่อออก ร้อนวูบวาบตามตัว และสร้างความอึดอัดแก่สัตว์เลี้ยงได้
    4. ทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานมีปัญหาต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด หรือส่งผลให้อาการของโรคเบาหวานรุนแรงขึ้นได้และอาจทำตับทำงานผิดปกติได้ เพราะไนอะซินในร่างกายที่มีสูงมากเกินไปจะส่งผลต่อการควบคุมน้ำตาลในร่างกาย
  • ประโยชน์ของวิตามินบี 3
    ประโยชน์ของวิตามินบีรวม
    1. ช่วยบำรุงผิวพรรณ
    2. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
    3. ช่วยเผาผลาญไขมัน และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น บรรเทาปัญหาต่างๆ ของระบบย่อยอาหาร
    4. บรรเทาอาการปวดศีระษะจากไมเกรน
    5. ลดอาการวิงเวียนศีรษะของโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
    6. เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดความดันโลหิต
    7. ช่วยรักษาอาการร้อนในและกลิ่นปาก
    8. บรรเทาอาการท้องร่วง
    9.ช่วยเพิ่มพลังงานที่ได้จากการย่อยและเผาผลาญอาหาร

วิตามินบี5 (กรดแพนโทเทนิก)

  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ตับ ไต หัวใจ ธัญพืชไม่ขัดสี รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่ว ผักสีเขียว กากน้ำตาลไม่บริสุทธิ์ บริเวอร์ยีสต์
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานสำหรับผู้ใหญ่คือ 10 mg. ต่อวัน
  • โรคจากการขาดวิตามินบี5 ได้แก่ โรคไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นแผลในลำไส้เล็ก โรคเลือด โรคผิวหนัง
  • ประโยชน์ของวิตามินบี 5
    1. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
    2. ช่วยลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะ
    3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
    4. ช่วยในกระบวนการรักษาแผล
    5. ช่วยรักษาอาการช็อกหลังการผ่าตัด
    6. ช่วยป้องกันการอ่อนเพลียของร่างกาย
    7. ช่วยลดความเจ็บปวดจากโรคข้ออักเสบในผู้ป่วยบางรายได้
    8. ช่วยรักษาอาการเหน็บชาที่มือและเท้า
    9. ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย

วิตามินบี6 (ไพริด็อกซิน)

  • วิตามินบี6 หรือ ไพริด็อกซิน เป็นคำที่ใช้เรียกรวมกันของกลุ่มสารที่มีโครงสร้างคล้ายกันและทำงานร่วมกัน ซึ่งประกอบไปด้วย ไพริด็อกซิน ไพริด็อกซาล และไพริด็อกซามีน
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ บริวเวอร์ยีสต์ รำข้าว จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง วอลนัท กะหล่ำปลีกากน้ำตาล แคนตาลูป ไข่ ตับ ปลา
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1.6 – 2 mg.
  • ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด อาจเกิดอาการกระสับกระส่ายในเวลานอน ฝันเหมือนจริงเกินไป เท้าชาและมีอาการกระตุก สำหรับผู้ที่รับประทานขนาด 2,000 – 10,000 mg. ทุกวันอาจทำให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทได้ ขอแนะนำว่าควรรับประทานขนาดไม่เกิน 500 mg. ต่อวันจะปลอดภัยกว่า
  • โรคจากการขาดวิตามินบี6 โรคโลหิตจาง ผื่นผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมัน
  • ประโยชน์ของวิตามินบี6
    ประโยชน์วิตามินบีรวม1. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็ง
    2. ช่วยชะลอวัยได้
    3. ช่วยป้องกันการเกิด นิ่วในไต
    4. ลดความเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ
    5. ทำให้ร่างกายดูดซึมโปรตีนและไขมันได้ดียิ่งขึ้น
    6. ช่วยเปลี่ยนรูปของทริปโตแฟน ให้เป็นวิตามินบี3
    7. ช่วยป้องกันโรคทางประสาทและโรคผิวหนังหลายชนิด8
    8. ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
    9. เป็นยาขับปัสสาวะตามธรรมชาติ
    10. ลดอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งในเวลากลางคืน มือชา ขาเป็นตะคริว และปลายประสาทที่แขนขาอักเสบบางชนิด
    11. ช่วยลดอาการปากแห้งและปัญหาด้านการปัสสาวะที่เกิดจากการรับประทานยาต้านอาการซึมเศร้าในกลุ่มไตรไซคลิก

วิตามินบี7 (ไบโอติน)

  • วิตามินบี7 (Biotin) หรือ วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งมีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ และจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินบีรวม
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ ตับวัว ไข่แดง นม แป้งถั่วเหลือง เนย ถั่วลิสง บริเวอร์ยีสต์ ข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 100 – 300 mcg.
  • โรคจากการขาดไบโอติน ผมร่วง ซึมเศร้า เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง การเผาผลาญไขมันทำงานไม่สมบูรณ์ เป็นผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณหน้าและตัว แต่ทั้งนี้ยังไม่พบผู้ที่มีอาการเป็นพิษจากการรับประทานไบโอตินเกินขนาดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • ประโยชน์ของไบโอติน
    1. ช่วยป้องกันผมหงอกได้ดี
    2. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะล้าน
    3. ช่วยป้องกันและบำรุงรักษาเล็บที่แห้งเปราะ
    4. ช่วยในการเผาผลาญไขมันและโปรตีน
    5. บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
    6. ช่วยบรรเทาอาการผื่นผิวหนังอักเสบ ผดผื่นคันต่างๆ

วิตามินบี9 (กรดโฟลิก)

  • วิตามินบี9 หรือ กรดโฟลิก (โฟเลต,โฟลาซิน) หรือรู้จักกันในชื่อ วิตามินเอ็ม หรือ วิตามินบีซี (Bc)
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แครอท แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอต อะโวคาโด อาร์ติโช้ก ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ทอร์ทูลายีสต์
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือประมาณ 180 – 200 mcg. ต่อวัน
  • ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการที่เป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผื่นแพ้ได้บ้าง และหากร่างกายมีกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี12 แต่ไม่แสดงออกมา
  • โรคจากการขาดวิตามินบี9 โรคโลหิตจางแบบแมโครไซติก หรือเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ
  • ประโยชน์ของวิตามินบี9
    ประโยชน์ของวิตามินบี1. ช่วยบำรุงผิวพรรณและสุขภาพ
    2. ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอได้
    3. ช่วยชะลอให้ผมขาวช้าลง หากรับประทานร่วมกับพาบา และวิตามินบี5
    4. ช่วยให้เจริญอาหาร หากร่างกายอ่อนเพลีย
    5. ช่วยป้องกันแผลร้อนในได้
    6. ช่วยรักษาภาวะซีดหรือโลหิตจาง
    7. ทำงานออกฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวด
    8. ช่วยป้องกันพยาธิในลำไส้และอาการแพ้จากอาหารเป็นพิษ
    9. ช่วยป้องกันการพิการของเด็กทารกแรกเกิด
    10. ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
    11. ช่วยลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือด
    12. ชวยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้

วิตามินบี12 (โคบาลามิน)

  • วิตามินบี12 หรือ โคบาลามิน (Cobalamin) มีอีกชื่อที่รู้กันดีคือ วิตามินแดง หรือ ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin)
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ เนื้อสัตว์เป็นหลัก และตับ ไต นม ไข่แดง ชีส ปลา เนื้อหมู เนื้อวัว อาหารหมักดอง เป็นต้น
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 2 ไมโครกรั
  • หากร่างกายขาดวิตามินบี12 อาจทำให้เกิด โรคโลหิตจาง และโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้
  • ประโยชน์ของวิตามินบี12
    ประโยชน์วิตามินบี1. ช่วยบำรุงประสาททำให้ระบบประสาทแข็งแรงขึ้น
    2. ช่วยเพิ่มสมาธิ ความจำ และการทรงตัว
    3. ช่วยบรรเทาอาการหงุดหงิด ลดความเครียด
    4. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย
    5. ช่วยทำให้เด็กเจริญอาหาร
    6. ทำให้ร่างกายสามารถใช้ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม
    7. มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
    8. ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง
    9. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งจากการสูบบุหรี่
    10. ปริมาณ 80 ไมโครกรัมต่อวันจะช่วยเสริมสร้างความแข็งของกระดูกและช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้

วิตามินบี15 (กรดแพงเกมิก)

  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี บริเวอร์ยีสต์
  • ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ยังไม่พบว่าหากรับประทานในปริมาณมากจะมีอาการเป็นพิษต่อร่างกาย แต่อาจมีอาการคลื่นไส้ในช่วงแรกๆ ที่เริ่มรับประทานวิตามินบี15 แต่อาการมักจะหายไปได้เองภายในไม่กี่วัน และอาจะบรรเทาอาการโดยเริ่มต้นรับประทานวิตามินบี15 หลังมื้ออาหารที่หนักที่สุดของวัน
  • โรคที่พบจากการขาดวิตามินบี15 เนื่องจากวิตามินตัวนี้ยังมีงานวิจัยค่อนข้างน้อยและจำกัด แต่มีความเป็นไปได้ว่าการขาดวิตามินบี 15 จะทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมและเส้นประสาท โรคหัวใจ สภาวะที่ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆได้น้อยลง
  • ประโยชน์ของวิตามินบี15
    1. ช่วยเพิ่มการตอบสนองภูมิคุ้มกันของร่างกาย
    2. ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน
    3. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
    4. ช่วยบรรเทาอาการอยากดื่มสุรา
    5. ช่วยรักษาอาการเมาค้าง
    6. ช่วยปกป้องตับจากภาวะตับแข็ง
    7. เร่งการฟื้นตัวจากความอ่อนเพลีย
    8. ช่วยป้องกันอันตรายจากมลพิษต่างๆ
    9. สามารถยืดอายุของเซลล์ในหลอดทดลองได้
    10. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหืด

วิตามินบี17 (อะมิกดาลิน)

  • วิตามินบี17 หรือ อะมิกดาลิน (Amygdalin) หรือ เลไทรล์ (Laetrile)
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ เมล็ดพืชโดยเฉพาะเมล็ดแอปริคอต และยังมีเมล็ดอื่นๆอีกเช่น เมล็ดแตงโม เมล็ดพลับ เมล็ดถั่วอัลมอนด์เมล็ดทานตะวัน ข้าว ถั่ว รวมไปถึงถั่วแมคคาดาเมีย
  • การได้รับวิตามินชนิดนี้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้ตัวเย็น หรือเหงื่อออก ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีอาการง่วงซึม หายใจติดขัด ริมฝีปากเขียว ความดันต่ำ
  • เชื่อกันว่าวิตามินชนิดนี้สามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ (แต่ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่มาก และยังไม่เป็นที่ยอมรับ)
  • วิตามินชนิดนี้สามารถช่วยป้องกันความเสื่อมทางสมองได้ และสามารถช่วยทำให้ผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ กลับมามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนเดิมและสุขภาพจิตก็ดีขึ้น

พาบา (กรดพารา-แอมิโนเบนโซอิก)

  • พาบา (PABA) หรือ กรดพารา-แอมิโนเบนโซอิก เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ ตับ ไต ข้าว รำข้าว จมูกข้าวสาลี ธัญพืชไม่ขัดสี กากน้ำตาล บริเวอร์ยีสต์
  • ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณสูงและต่อเนื่อง แต่ไม่แนะนำให้รับประทานในปริมาณที่สูงต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน ส่วนอาการที่อาจบ่งบอกว่าในร่างกายได้รับ พาบา มากเกินไปที่พบเห็นได้บ่อยคือ คลื่นไส้อาเจียน
  • ประโยชน์ของพาบา
    1. ช่วยให้ผิวพรรณมีสุขภาพดีและเนียนนุ่ม
    2. ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยได้
    3. ช่วยลดความเจ็บปวดจากแผลไหม้
    4. ช่วยฟื้นคืนสีผมตามธรรมชาติให้กับเส้นผม โรคจากการขาดพาบา ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา

โคลีน (Choline)

  • โคลีน (Choline) เป็นหนึ่งในสารที่ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และจัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ หัวใจ สมอง ตับ ปลา ผักใบเขียว ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก
  • ยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่มีการประมาณว่าในวัยผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ประมาณ 500 – 900 mg. ต่อวัน
  • โรคจากการขาดโคลีน
    1. โรคอัลไซเมอร์
    2. ผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว
    3. โรคตับแข็งหรือไขมันสะสมที่ตับ
  • ประโยชน์ของโคลีน
    1. ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย
    2. ช่วยต่อสู้กับปัญหาความจำเสื่อมในวัยสูงอายุ (ด้วยขนาด 1,000 – 5,000 mg. ต่อวัน)
    3. ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้
    4. ช่วยในกระบวนการส่งกระแสประสาท โดยเฉพาะในสมองส่วนที่ทำงานที่ด้านความจำ
    5. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
    6. ช่วยป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด
    7. ช่วยลดการสะสมตัวของคอเลสเตอรอลได้
    8. ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ค้างในร่างกาย โดยช่วยเสริมการทำงานของตับ

อิโนซิทอล (Inositol)

  • อิโนซิทอล (Inositol) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม
  • แหล่งอาหารที่พบได้แก่ ตับ สมองและหัวใจวัว จมูกข้าวสาลี กากน้ำตาล ถั่วลิสง ถั่วลิมาแห้ง ลูกเกด แคนตาลูป เกรปฟรุต กะหล่ำปลี บริเวอร์ยีสต์
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันยังไม่มีระบุอย่างเป็นทางการ แต่สำหรับผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้วันละ 500 – 1,000 mg.
  • โรคจากการขาดอิโนซิทอล
    1. ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา (Eczema) โดยมีลักษณะอาการคือ บวมแดง คัน ผิวหนังลอกเป็นขุย
    2. มีอาการท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวลำไส้จะทำงานผิดปกติ จึงทำอาหารให้ตกค้างในลำไส้ใหญ่
    3. อาจเกิดความผิดปกติในดวงตา เช่น ตาบอดกลางคืน ต้อกระจก ต้อหิน และการมองเห็นผิดปกติได้
    4. เกิดภาวะผมร่วงได้
    5. อาจเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน หรือมีการแข็งตัวของผนังเส้นเลือดได้
    6. อาจเกิดภาวะเสื่อมและอักเสบของปลายประสาท ทำให้มีอาการชา หรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้าได้
  • ประโยชน์ของอิโนซิทอล
    1. ป้องกันการหลุดล่วงของเส้นผม ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง
    2. ทำให้รู้สึกสงบ ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
    3. สามารถช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดได้
    4. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมัน
    5. ช่วยปรับการสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย
    6. ช่วยฟื้นฟูอวัยวะต่างๆของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้น
    7. ช่วยป้องกันผื่นผิวหนังอักเสบเอ็กซีมา

 

guest

Post : 2014-03-18 14:37:34.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินบี15

 

วิตามินบี15 (กรดแพงเกมิก) ประโยชน์ของวิตามินบี15

Vitamin-50

กรดแพงเกมิก

Aวิตามินบี15 หรือ กรดแพงเกมิก (Pangamic Acid) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ และยังไม่ถือว่าเป็นวิตามินอย่างเป็นทางการ โดยมีหน่วยวัดเป็นมิลลกรัม (มก. หรือ mg.) ซึ่งลักษณะการทำงานจะคล้ายกับวิตามินอีในด้านการต่อต้านอนุมูลอิสระBสำหรับแหล่งที่พบวิตามินบี15 ตามธรรมชาติ ได้แก่ ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง เมล็ดงา เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี บริเวอร์ยีสต์Cโรคที่พบจากการขาดวิตามินบี15 เนื่องจากวิตามินตัวนี้ยังมีงานวิจัยค่อนข้างน้อยและจำกัด แต่มีความเป็นไปได้ว่าการขาดวิตามินบี 15 จะทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมและเส้นประสาท โรคหัวใจ สภาวะที่ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆได้น้อยลงDผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่าหากรับประทานในปริมาณมากจะมีอาการเป็นพิษต่อร่างกาย แต่อาจมีอาการคลื่นไส้ในช่วงแรกๆ ที่เริ่มรับประทานวิตามินบี15 แต่อาการมักจะหายไปได้เองภายในไม่กี่วัน และอาจะบรรเทาอาการโดยเริ่มต้นรับประทานวิตามินบี15 หลังมื้ออาหารที่หนักที่สุดของวัน โดยศัตรูของวิตามินบี15 ได้แก่ น้ำ และ แสงแดด

คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานวิตามินบี15

  • วิตามินบี15 ในรูปแบบของอาหารเสริม ปัจจุบันมีวางจำหน่ายในรูปแบบเม็ดขนาด 50 มิลลิกรัม โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันทั่วไปคือ 50 – 150 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี15 จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากรับประทานร่วมกับ วิตามินเอ และ วิตามินอี
  • สำหรับนักกีฬาทุกประเภท ควรได้รับวิตามินบี15 ขนาด 50 มิลลิกรัม หนึ่งเม็ดพร้อมมื้ออาหารเช้า และหนึ่งเม็ดพร้อมมื้ออาหารเย็น
  • วิตามินตัวนี้ชาวรัสเซียเป็นผู้เริ่มใช้เป็นชาติแรก ซึ่งต่างก็ประทับใจกับผลที่ได้รับ แต่ FDA กำลังดำเนินการถอนวิตามินตัวนี้ออกจากตลาด เพราะว่าวิตามินบี 15 ยังไม่มีการยืนยันความปลอดภัยแต่อย่างใด
  • แม้ว่าจะมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับวิตามินบี15 แต่มีหลายคนเชื่อว่าวิตามินชนิดนี้มีประสิทธิภาพที่ดีและมีประโยชน์ไม่ว่าจะรับประทานในรูปแบบใด

ประโยชน์ของวิตามินบี15

  1. วิตามินบี15วิตามินบี15 ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
  2. ช่วยบรรเทาอาการอยากดื่มสุรา
  3. ช่วยรักษาอาการเมาค้าง
  4. เร่งการฟื้นตัวจากความอ่อนเพลีย
  5. สามารถยืดอายุของเซลล์ในหลอดทดลองได้
  6. ช่วยป้องกันอันตรายจากมลพิษต่างๆ
  7. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหืด
  8. ช่วยปกป้องตับจากภาวะตับแข็ง
  9. ช่วยเพิ่มการตอบสนองภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  10. ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน

guest

Post : 2014-03-18 14:35:34.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินบี 13

 Vitamin-52

กรดออโรติก

Aวิตามินบี13 หรือ กรดออโรติก ปัจจุบันยังไม่มีขนาดในการรับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ และยังไม่พบข้อมูลว่าหากร่างกายขาดวิตามินบี13 จะมีผลเสียอย่างไรบ้างต่อร่างกาย แต่ก็ไม่พบอาการเป็นพิษหากรับประทานมากเกินไปเช่นกันBในปัจจุบันนี้ยังมีข้อมูลและงานวิจัยเกี่ยวกับวิตามินชนิดนี้ หรือมีแต่ก็ค่อนข้างน้อยพอสมควร เกินกว่าที่จะให้คำแนะนำได้ แต่มีวางจำหน่ายในรูปของแคลเซียมออโรเทต (แต่เป็นวิตามินที่ไม่มีจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา) สำหรับศัตรูของวิตามินชนิดนี้ก็คือน้ำและแสงแดดCวิตามินบี13 เป็นวิตามินที่พบได้ในผักหัว(พืชผักที่มีผลผลิตฝังอยู่ใต้ดิน) เวย์(หรือส่วนที่เป็นผลิตผลพลอยได้จากการทำชีส ลักษณะจะเป็นของเหลว) และส่วนที่เป็นของเหลวในนมเปรี้ยว

ประโยชน์ของวิตามินบี13

  1. วิตามินบี13อาจมีส่วนช่วยป้องกันโรคตับบางชนิดได้
  2. ช่วยในการชะลอความแก่
  3. ช่วยในกระบวนการเมแทบอลิซึม ช่วยเผาผลาญ วิตามินบี12 และกรดโฟลิก
  4. ช่วยรักษาโรคมัลติเพิลสเคลอโรซิส (Multiple Sclerosis หรือโรคเอ็มเอส) หรือโรคที่เป็นความผิดปกติขิงระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งพบมากในช่วงวัยรุ่น

 

 

guest

Post : 2014-03-18 14:32:18.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิตามินบี 12

อาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 12

โดยแจ็คกี้โคเฮน

ผลิตภัณฑ์ปลาเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมด้านบนรายการอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 12 หรือที่เรียกว่า cobalamin สารอาหารที่ไม่ได้ จำกัด อยู่ที่ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่อาหารจากพืชที่มีวิตามินบี 12 ในปริมาณที่มีขนาดเล็กมาก

บริโภคอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 12 ทำไม


ร่างกายมนุษย์ดูดซึมสารอาหารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากอาหารที่นอกเหนือไปจากวิตามินเสริมอาหารเพื่อการบริโภคที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะได้รับค่าเผื่อการแนะนำอาหารที่ วิตามิน B12 ประโยชน์ด้านที่สำคัญมากของสรีรวิทยาและไม่ได้คุณสามารถประสบความบ้าคลั่ง, ความเมื่อยล้า อาการซึมเศร้าหรือ ข้อบกพร่องในระยะยาวของวิตามินบี 12 สามารถทำให้เกิดความเสียหายโรคโลหิตจางและถาวรไปยังสมองและระบบประสาทส่วนกลาง

เซลล์เม็ดเลือด

วิตามินบี 12 เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับบทบาทในการพัฒนาเซลล์เม็ดเลือดแดงเป็นสารอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าเซลล์แบบฟอร์ม healthfully วิตามินบี 12 เป็นพาหะของข้อมูลที่เก็บไว้ในยีนไปยังเว็บไซต์ที่เซลล์จะถูกขึ้นรูป โดยไม่ต้องวิตามินบี 12, เซลล์เม็ดเลือดเติบโตมีขนาดใหญ่เกินไปจะกลายเป็นผิดลักษณะและการทำงานไม่ได้ผล -- หรือที่เรียกว่าโรคโลหิตจาง

ระบบประสาท

สารอาหารที่ยังมีส่วนร่วมในการสร้างเซลล์ประสาทถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์รู้น้อยเกี่ยวกับกระบวนการนี​​้กว่าที่พวกเขาทำเกี่ยวกับบทบาทของวิตามินบี 12 ในกระแสเลือด แต่เมื่อระบบประสาทที่มีจำนวนไม่เพียงพอของวิตามินบี 12 ในการกำจัดของสารเคลือบผิวที่ล้อมรอบเส้นประสาทที่มีปัญหาในการขึ้นรูป

โปรตีนไขมันและคาร์โบไฮเดรต

วิตามิน B12 ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผาผลาญไขมัน, โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต สารอาหารที่ช่วยให้ร่างกายใช้ประโยชน์จากกรดอะมิโน -- การสร้างบล็อคของโปรตีน วิตามิน B12 ยังช่วยในการเคลื่อนไหวของคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่ผ่านระบบย่อยอาหาร

อาหารมีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด


ไม่มีสัตว์หรือพืชสามารถผลิตวิตามินบี 12 ด้วยตัวเองมีชีวิตดังนั้นการที่มีความจุมากที่สุดในการจัดเก็บสารอาหารที่มีมันในความเข้มข้นที่ยิ่งใหญ่ที่สุด อาหารที่อุดมวิตามินบี 12 ทั้งหมดมาจากสัตว์ แต่พืชบางชนิดมีสารอาหารในปริมาณความเข้มข้นขนาดเล็ก

แหล่งพืช

แหล่งที่มาจากพืชวิตามินบี 12 ได้แก่ :

  • พืช Sea รวมทั้งสาหร่ายทะเลและสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว
  • ยีสต์รวมถึงการต้มเบียร์ของยีสต์
  • การหมักอาหารจากพืชรวมทั้ง เทมเป้ , มิโซะและเต้าหู้

แหล่งที่มาดังกล่าวข้างต้นของวิตามินบี 12 จะไม่เป็นที่เชื่อถือได้ว่าเป็นอาหารสัตว์ที่มีสารอาหารที่เป็นมันส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าสารอาหารที่ลดได้จากอาหารจากพืชปรุงอาหาร อาหารเช้าซีเรียลเสริมมักจะมีวิตามินบี 12 เป็นสารเติมแต่งและผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับ Vegans และมังสวิรัติที่มีความกังวลเกี่ยวกับการได้รับเพียงพอวิตามินบี 12

แหล่งที่มาของสัตว์

ปริมาณของวิตามินบี 12 ในสัตว์ตามแหล่งอาหารที่สามารถแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการตัดเฉพาะของเนื้อสัตว์และแม้กระทั่งอวัยวะ หลายชนิดของปลาที่มีหลาย ๆ ครั้งหักเงินสำรองค่าอาหารที่แนะนำในการให้บริการเดียวในขณะที่จำนวนเงินเทียบเท่าของเนื้อดำเนินการประมาณครึ่งหนึ่งของ RDA วันของวิตามิน B12 แหล่งที่มาของสัตว์วิตามินบี 12 ได้แก่ :

  • ตับของลูกวัว
  • ปลาซาร์ดีน
  • ปลากะพง
  • เนื้อกวาง
  • กุ้ง
  • ปู
  • กุ้งก้ามกราม
  • คาเวียร์
  • หอยสแกลลอบ
  • ปลาแซลมอน
  • หอยกาบ
  • หอยนางรม
  • หอยแมลงภู่
  • เนื้อวัว
  • เนื้อแกะ
  • ปลาชนิดหนึ่ง
  • หลอกล่อ
  • โยเกิร์ต
  • นมวัว
  • ชีส
  • ไข่

อาหารปรุง B12

วิตามิน B12 ภายในอาหารสัตว์มีเสถียรภาพค่อนข้างเมื่อสุกหรือใส่ลงไปในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการขยายระยะเวลา มีการศึกษาแสดงว่าหลังจากที่การปรุงอาหารสัตว์ที่มีแหล่งที่มาของสารอาหารที่ประมาณ 70% ของวิตามินบี 12 จะยังคงอยู่หลังจากนั้น อย่างไรก็ตามมีการวิจัยน้อยมากในเดียวกันไม่ว่าจะถือเป็นจริงสำหรับพืชอาหารที่มีวิตามินบี 12

เท่าใด

Linus Pauling สถาบัน ที่ Oregon State University แนะนำขั้นต่ำของ 2.4 ไมโครกรัมของวิตามินบี 12 ต่อวัน คุณสามารถตอบสนองความต้องการที่มีถ้วยของนมและถ้วยรำลูกเกดหรือโดยการรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งถ้วยของโยเกิร์ตไขมันต่ำธรรมดาหนึ่งไข่และอกไก่หนึ่ง ข่าวดีก็คือไม่มีสิ่งดังกล่าวเป็นมากเกินไปวิตามินบี 12 นักวิจัยได้พบผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการรับประทานอาหารมากขึ้นกว่าจำนวนเงินต่อวันที่แนะนำและเป็นผลให้คณะกรรมการอาหารและโภชนาการได้มีการจัดตั้งระดับการบริโภคที่ไม่มีบนสำหรับวิตามิน ร่างกายมนุษย์มีแนวโน้มที่จะเก็บมาหลายปีแล้วมูลค่าของวิตามินนี้ได้ถึง 20 ปีมูลค่าในความเป็นจริงดังนั้นมันจึงหายากมากที่จะมีการขาด ผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ที่มีความเสี่ยงของการมีข้อบกพร่องวิตามินบี 12

กินวิตามินของคุณ

ที่มีประโยชน์รวมถึงการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือดมีสุขภาพดีและการทำงานของระบบประสาท วิตามินบี 12 เป็นส่วนสำคัญของอาหารที่สมดุล เช่นเดียวกับวิตามินใด ๆ ก็มักจะดีกว่าที่จะได้รับวิตามินบี 12 ได้จากอาหารมากกว่าอาหารเสริม โชคดีสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ดีให้เพียงพอของสารอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าร้านค้าที่เพียงพอและมีสุขภาพที่ดี

1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 ... 다음 끝
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com