Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2013-12-04 21:37:33.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคความดันโลหิตสูง

 โรคความดันโลหิตสูง

ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ

เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปรกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

เมื่อไรจึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

เนื่องจากความดันโลหิตมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก การจะบอกใครเป็นความดันโลหิตสูง จะต้องมีการวัดความดันหลายครั้ง และต้องพิจารณาว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ คนปรกติจะมีความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 มิลิเมตร ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังมีภาวะอื่นๆ

 

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการอะไร เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัว ผู้ป่วยมักจะมาด้วยโรคหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไตวาย ตามัว สำหรับผู้ที่ความดันปกติให้วัดความดันโลหิตทุก 2 ปี

 

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

ไตวาย

ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุเรียกว่า Primary hypertension ส่วนอีกกลุ่มได้แก่ความดันโลหิตสูงเรียก Secondary hypertension ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดประมาณร้อยละ 95 เชื่อว่ามีสาเหตุหลายชนิดมารวมกันทำให้ความดันสูง

 

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

แม้ว่าท่านยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่่มีปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง จะมีโอกาศเป็นโรคความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อท่านลดปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูง ความดันของท่านก็จะลดลง 

ทำไมต้องรักาษาโรคความดันโลหิตสูง

อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ความดันโลหิตสูงไม่มากหรือความดันค่อยๆสูง มักจะไม่มีอาการ หายท่านไม่ยอมรับประทานยา หลายท่านหยุดยาเมื่อรับประทานยาได้สักระยะหนึ่ง หลายท่านกลัวว่าหากรับประทานยามากๆ จะทำให้เกิดโรคไต แต่ผู้ป่วยและญาติคงต้องทราบว่าหากไม่รักษา จะเกิดอะไรได้บ้าง โรคความดันมีผลต่ออวัยวะใดบ้าง

การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง

หัวใจแข็งแรง

สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง คือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอวัยวะต่างๆว่าได้ผลกระทบจากโรคความดันโลหิต และตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันหรือยัง

 

การวัดความดันโลหิต

การวัดความดันโลหิต

การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง จะได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้อง หากใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม หรือการวัดผิดวิธีก็จะได้ค่าความดันผิด การวัดความดันโลหิตจะต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง การเตรียมตัวที่ถูกต้อง การวัดที่ถูกต้อง วิธีวัดความดันโลหิตมีได้หลายวิธี อ่านเรื่อง

ประโยชน์ของการรักษาความดันโลหิต

การลดความดันโลหิตนอกจากจะลดอาการปวดศีรษะ เนื่องจากความดันสูง แต่การลดความดันโลหิตยังลดโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากความดันโลหิตสูง เช่นหัวใจ จะลดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจโต โรคไต ลดการเกิดโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนั้นยารักษาความดันบางชนิดยังลดการเกิดโรคเบาหวาน 

เมื่อไรจึงจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูง

การจะเริ่มต้นรักษาความดันโลหิตจะต้องพิจารณาถึง ระดับความดันโลหิต โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อวัยวะเสียหายจากความดันโลหิต โรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิต 

การรักษา

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคแทรกซ้อน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิด

 

โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิต

โรคความดันโลหิตสูงทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ ซึ่งหากไปเลี้ยงอวัยวะไม่พอก็จะเกิดเสียหายต่ออวัยวะนั้น และหากกิดลิ่มเลือดจากผนังหลอดเลือด ก็จะเกิดโรคที่อวัยวะนั้นแบบเฉียบพลัน โรคแทรกซ้อนได้หลายระบบ ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต เท้า ตา

 

การป้องกันความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สามารถนำมาใช้กับผู้ที่ร่างกายปรกติ หรือกลุ่มที่ความดันเริ่มจะสูง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแล้ว การป้องกันความดันโลหิตสูงจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 20 มม.ปรอท้

 

สัญญาณเตือนภัยของโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน

โรคความดันโลหิตสูงจะมีโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ที่สำคัญคือหัวใจและสมอง โรคระบบทั้งสองจะมีอาการเตือนล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดความพิการ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นหลัก ส่วนโรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการอ่อนแรง หรือเดินเซ เป็นต้นผู้ที่เป็นโรคความดันต้องเรียนรู้

 

ความดันโลหิตและสุภาพสตรี

โรคความดันโลหิตสูง และสตรีมีเรื่องพิจารณามากว่าผู้ชายกล่าวคือ เรื่องการรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีผลต่อความดัน การตั้งครรภ์ก็มีผลต่อความดันโลหิตสูง วัยทอง รวมทั้งน้ำหนักตัวที่เพิ่มมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของสตรี สตรีจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูง หากรับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์หรือวัยทอง

 

ความดันโลหิตต่ำ

ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
  • ผู้ที่นอนป่วยนานไป
  • ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด

เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง

  1. ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
  2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  3. งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  7. ไปตามแพทย์นัด
  8. ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
  9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
  10. แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงในเด็ก

เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูง การค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรก จะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม

คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

                 

guest

Post : 2013-12-04 21:30:40.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคไข้เลือดออก

 โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อต่อไปนี้

อุบัติการณืของโรคไข้เลือดออก

เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific

ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1

สาเหตุไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก

อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ใผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ

  • ไข้สูงเฉียบพลันประมาณ2-7 วัน
  • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • บางรายอาจจะมีจุดเลือดสีแดงออกตามลำตัว แขนขา อาจจะใรเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามรายฟัน และถ่านอุจาระดำเนื่องจากเลือดออกในทางเดินอาหาร และอาจจะช็อค
  • ในรายที่ช็อคจะสังเกตเมื่อไข้ลงผู้ป่วยกลับแย่ลง ซึม มือเท้าเย็น เหงื่อออก หมดสติ และอาจจะเสียชีวิต

การเจาะเลือดตรวจวินิจฉัย

การรักษา

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่มีปัญาเนื่องเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุม

วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย

  • กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะละ ยาง กระป๋อง
  • หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
  • ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ

ขนิดของเชื้อแดงกีเชื้อไวรัสแดงกี เป็น single strnded RNA ไวรัสมีด้วยกัน 4 ชนิด(serotype) DEN1 DEN2 DEN3 DEN4 ซึ่งมี antigen ร่วมกันบางส่วนทำให้เทื่อเกิดการติดเชื้อชนิดหนึ่ง จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีกชนิดหนึ่ง แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน ส่วนภูมิที่เกิดกับเชื้อที่ป่วยจะมีตลอดชีวิต เช่นหากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อ DEN1 ผู้ป่วยจะมีภูมิต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิต่อเชื้อแดงกีชนิดอื่นเพียง 6-12 เดือนเท่านั้นจาการศึกษาพบว่าการติดเชื้อซ้ำ หรือการติดเชื้อครั้งที่สองจะเป็นสาเหตุของโรคแดงกีได้ถึงร้อยละ 80-90 ในสมัยก่อนปี 2543พบว่าการระบาดของเชื้อแดงกีเกิดจากสายพันธ์ที่สอง DEN2 แต่หลังจากนั้นพบลดลง แต่จะพบสายพันธ์ DEN3 มากขึ้น แต่หลังจากปี 2543 เชื้อสายพันธ์ที่สอง DEN2 เริ่มกลับมาพบมากขึ้นและมีอัตราการตายสูงเนื่องจากเป็นเชื้อที่หากเป็นแล้วจะเกิดอาการรุนแรงการ

อาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออก

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ

การติดเชื้อไวรัสแดงกิ่วมีอาการได้ 3 แบบคือ

การดำเนินของโรค

 

ข้อสำคัญของไข้เลือดออก
  • ให้สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออกในผู้ที่มีไข้เฉียบพลัน ไข้สูง โดยที่ไม่มีอาการของไข้หวัดร่วมกับ มีจุดเลือดออกหรือทำ touniquet test
  • หากตับโตจะช่วยสนับสนุนว่าเป็นไข้เลือดออก
  • ช่วงที่วิกฤตคือช่วงที่ไข้เริ่มลง หากเกล็ดเลือดต่ำลง ร่วมกับความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นก่อนไข้ลง ให้สงสัยว่าจะเกิดช็อค
  • ยาลดไข้ไม่ได้ทำให้ระยะเวลาที่เป็นไข้ลดลง การให้ยาไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
  • หากเลือดมีความเข้มข้นมากขึ้น 20% แสดงว่ามีการรั่วของพลาสม่า จำเป็นต้องได้รับน้ำเกลืออย่างเหมาะสม แต่การให้น้ำเกลือก่อนที่ จะมีการรั่วของพลาสม่าไม่เกิดประโยชน์
  • ภาวะ DSS เกิดจากการรั่งของพลาสม่า ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ต้องรีบให้น้ำเกลืออย่างรวดเร็ว และอาจจะจำเป็นต้องให้ Dextran 40
  • การให้น้ำเกลือจะให้เท่ากับพลาสม่าที่รั่ว โดยดูจากความเข้มของเลือดและปริมาณปัสสาวะที่ออก
  • การได้รับน้ำเกลือมากเกินไปอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด
  • การเกิดภาวะเป็นกรดจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆตามมา

ความรุนแรงของโรค

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกแดงกิว จะต้องมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา (มีความเข้มข้นของเลือด[Hct]เพิ่มขึ้น 20% หรือมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือในช่องท้อง) และมีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกจัดได้เป็น 4 ระดับ

  • Grade 1 ผู้ป่วยไม่ช็อก เป็นไข้เลือดออกโดยที่ไม่มีจุดเลือดออก ทำ touniquet test ให้ผลบวก
  • Grade 2 ผู้ป่วยไม่ช็อก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • Grade 3 ผู้ป่วย่ช็อก มีความดันโลหิตต่ำ ชีพขจรเร็ว pulse pressure แคบ เหงื่อออก กระสับกระส่าย
  • Grade 4 ผู้ป่วย่ช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิตไม่ได้

การดูแลผู้ป่วย

เมื่อไรจะให้กลับบ้าน

  • ไม่มีไข้ 24 ชั่วโมงโดยที่ไม่ได้รับยาลดไข้ ผู้ป่วยอยากอาหาร
  • ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน
  • ความเข้มของเลือดคงที่
  • 3วันหลังจากรักษาภาวะช็อค
  • เกล็ดเลือดมากกว่า 50000
  • ไม่มีอาการแน่ท้องหรือแน่หน้าอกจากน้ำในท้องหรือช่องเยื่อหุ้มปอด

ภาวะโรคแทรกซ้อนอื่นๆ

  • ตับวาย
  • ไตวาย
  • สมองทำงานผิดปกติ
 

การป้องกันไข้เลือดออก

วิธีป้องกันไข้เลือดออกที่ได้ผลดี และยั้งยืนต้องเป็นแบบบูรณการโดยการร่วมมือของทุกฝ่าย

  • ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล
  • ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง และจะต้องทำพร้อมกันถั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ
  • สำหรับชุมชนที่ห่างไกลก็อาจจะต้องใช้อาสาสมัคร
  • จัดโปรแกรมสำหรับเด็กและครอบครัวเพื่อกำจัดลูกน้ำ
  • กระตุ้นให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อม
  • จัดการประกวดพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก

guest

Post : 2013-12-04 21:25:43.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  มะเร็งต่อมลูหมาก

 มะเร็งต่อมลูหมาก

มะเร็งต่อมลูหมากเป็นมะเร็งที่พบในผู้ชาย มะเร็งต่อมลูกหมากพบได้ในวัยสูงอายุผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะไม่ออก

ตำแหน่งและหน้าที่ของต่อมลูกหมาก

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีใครทราบ แต่เท่าที่วิจัยได้พบว่าความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่

  • อายุ มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี
  • ประวัติครอบครัว พบว่าชายที่มีพ่อ หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนทั่วไป
  • เชื้อชาติ พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในอเมริกา
  • อาหาร พบว่าผู้ที่บริโภคมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

ยังไม่พบหลักฐานว่าการทำหมันชายทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมากขึ้นขณะนี้กำลังศึกษาว่า ต่อมลูกหมากโต คนอ้วน การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเจอรังสี การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เท่าที่มีหลักฐานยังไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากควรตรวจอะไรบ้าง

สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรจะปรึกษาแพทย์ว่าเมื่อไรจึงจะตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก แม้ว่าจะไม่มีอาการ จะตรวจอะไรบ้าง และตรวจถี่แค่ไหน แพทย์จะแนะนำให้ตรวจดังที่จะแสดงข้างล่าง แต่การตรวจดังกล่าวเป็นการตรวจว่ามีความผิดปกติที่ต่อมลูกหมากหรือไม่มิใช่บ่งว่าเป็นมะเร็ง

  • การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักโดยการที่แพทย์ใส่ถุงมือ ใช้ vaslin หล่อลื่นนิ้วมือ แล้วตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักเพื่อดูว่ามีก้อน หรือขนาดโตขึ้น
  • การตรวจหาสาร PSA ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่ผลิตโดยต่อมลูกหมาก ค่าจะสูงในโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก  ค่าปกติจะน้อยกว่า 4 nanogram ค่าอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram ค่านี้อยู่ระดับปานกลางถ้าค่ามากกว่า 10 ถือว่าสูงค่ายิ่งสูงโอกาสเป็นมะเร็งก็จะสูง นอกจากนี้ยังพบว่าค่า PSA สูงพบได้ในโรค ต่อมลูกหมากโต การอักเสบของต่อมลูกหมาก ค่ามักจะอยู่ระหว่าง 4-10 nanogram 

หากการตรวจดังกล่าวพบว่าผิดปกติก็จะต้องตรวจเพิ่มเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้

  • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง
  • เวลาปัสสาวะจะปวด
  • อวัยวะเพศแข็งตัวยาก
  • เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด
  • มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ
  • ปวดหลังปวดข้อ

อาการต่างๆเหล่านี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 

เมื่อผู้ป่วยที่การตรวจเบื้องต้นสงสัยว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากแพทย์ทั่วไปจะปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการวินิจฉัยต่อไปโดยทั่วไปนิยมตรวจ

  • Transrectal ultrasonography การทำ ultrasound ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก
  • Intravenous pyelography คือการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้สีขับออกทางไต ไปกระเพาะปัสสาวะ
  • Cystoscope แพทย์จะส่องกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะ

เมื่อสงสัยเป็นมะเร็งแพทย์จะใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจทางพยาธิถ้าเป็นต่อมลูกหมากโตก็จะรักษาตามขั้นตอน

ระยะของโรค

การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยังอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก โดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การ x-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D

  1. Stage 1 หรือ A ระยะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากทาง ทวารทราบว่าเป็นโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตระยะนี้มะเร็งอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก
  2. Stage 2หรือ B สามารถตรวจได้จาการตรวจต่อมลูกหมากโดยการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเนื่องจากค่า PSA สูงมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมากไม่แพร่กระจาย
  3. Stage 3หรือC มะเร็งแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ต่อมลูกหมาก
  4. Stage 4 หรือDมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น
  5. Reccurent หมายถึงภาวะที่มะเร็งกลับเป็นใหม่หลังจากรักษาไปแล้ว

การรักษา

แพทย์จะเลือกวิธีรักษาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้

  • ระยะของโรคว่าแพร่กระจายหรือยัง
  • ชนิดของมะเร็ง
  • ประโยชน์ที่ได้จากการรักษา
  • ผลข้างเคียงของการรักษาและการป้องกัน
  • การรักษานี้มีผลต่อความรู้สึกทางเพศหรือไม่ มีผลต่อการปัสสาวะหรือไม่ หลังรักษามีปัญหาถ่ายเหลวหรือไม่
  • คุณภาพชีวิตหลังรักษา

วิธีการรักษา

  1. การเฝ้ารอดูอาการ เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มเป็นและผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
  2. การผ่าตัด Prostatectomy เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งมีวิธีการทำผ่าตัดได้ 3 วิธี
  • radical retropubic prostatectomy แพทย์จะผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องโดยตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลือง
  • radical perineal prostatectomy แพทย์ผ่าตัดผ่านทางผิวหนังบริเวณอัณฑะและทวารหนักโดยตัดต่อมลูกหมาก ส่วนต่อมน้ำเหลืองต้องตัดออกโดยผ่านทางหน้าท้อง
  • transurethral resection of the prostate (TURP)เป็นการตักต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง

ถ้าผลชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อมะเร็งแสดงว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายแล้ว

  1. Radiation therapy การให้รังสีรักษาเป็นการให้ในกรณีที่มะเร็งนั้นก้อนขนาดเล็กหรือให้หลังจากผ่าตัดต่อมลูกหมากไปแล้วการให้รังสีรักษา อาจจะให้โดยการฉายแสงจากภายนอกหรือการฝังวัตถุอาบรังสีไว้ใกล้เนื้องอก implant radiationหรือ brachytherapy
  2. Hormonal therapy เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากต้องใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตการให้ฮอร์โมนจะใช้ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายแล้ว หรือเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
  • การตัดลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย
  • การใช้ยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน testosterone เช่น  leuprolide, goserelin, และ buserelin.
  • ยาที่ป้องกันการออกฤทธิ์ของ androgen เช่น  flutamide และ bicalutamide.
  • ยาที่ป้องกันต่อมหมวกไตไม่ให้สร้างฮอร์โมน androgen เช่น ketoconazole and aminoglutethimide.
  1. Chemotherapy การให้เคมีบำบัดเป็นการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการให้สารเคมีซึ่งการรักษายังไม่ดีพบใช้ในกรณีที่โรคแพร่กระจายแล้ว
  2. ใช้สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิหรือภูมิที่สร้างจากภายนอกเพื่อให้ภูมิต่อสู่กับเชื้อโรค
  3. cryotherapy เป็นการรักษาใหม่โดยใช้เข็มสอดเข้าในต่อมลูกหมากแล้วฉีดสาร liquid nitrogen เพื่อแช่แข็งมะเร็งต่อมลูกหมาก ใช้ในกรณีที่ไม่เหมาะในการผ่าตัดผลการรักษายังไม่ยืนยันว่าได้ผลดี

ผลข้างเคียงของการรักษา

  1. การเฝ้ารอสังเกตอาการผลเสียคือทำให้เสียโอกาสในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก
  2. การผ่าตัด จะทำให้เจ็บปวดในระยะแรก และผู้ป่วยต้องคาสายสวนปัสสาวะ10วัน-3 สัปดาห์ การผ่าตัดอาจจะทำให้กลั้นปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ และอาจจะเกิดกามตายด้าน นอกจากนี้จะไม่มีน้ำเชื้อเมื่อถึงจุดสุดยอด
  3. การฉายรังสีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียการผักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ก็ควรออกกำลังเท่าที่จะทำได้ การฉายรังสีอาจจะทำให้ผมร่วง และอาจจะทำให้เกิดกามตายด้าน
  4. การให้ฮอร์โมนจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหมือนชายวัยทองคือมีอาการกามตายด้าน ร้อนตามตัว

การป้องกัน

 

  • อาหารป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

     

  • มีการศึกษาว่า วิตามินอี selenium และน้ำมะเขือเทศสามารถลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  • การลดอาหารไขมันและเพิ่มถั่ว ผัก ผลไม้สามารถป้องกันมะเร็งได้

                               

guest

Post : 2013-12-04 21:18:36.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ต่อมลูกหมากอักเสบ

 ต่อมลูกหมากอักเสบ

ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงเชื้ออสุจิ หากมีเชื้อโรคเข้าไปก็จะทำให้ดกิดต่อมลูหมากอักเสบ

เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากพบได้ในผู้ชายกลางคนผู้ป่วยมักจะไปพบแพทย์ด้วยเรื่องไข้ ปัสสาวะลำบากการอักเสบของต่อมลูกหมากแบ่งได้เป็น

  1.  Acute  prostatitis 
  2. Chronic bacterial prostatitis
  3. Chronic prostatitis/chronic pelvic pain syndrome พบบ่อยที่สุด

Acute  prostatitis

เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากที่เกิดจากการติดเชื้อโรค

สาเหตุ

  1. เชื้อโรคมาจากแบคทีเรียทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือ . Escherichia coli โดยเชื้อจะมาตามท่อปัสสาวะแล้เข้าสู่ต่อมลูกหมากและแบ่งตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการอักเสบ
  2. จากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุคือ หนองใน(gonorrhea) chlamydia
  3. จากการส่องกล้อง

อาการของผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบ

อาการมักจะรุนแรงและเกิดทันที อาการที่เกิดได้แก่

  • ไข้สูงหนาวสั่น
  • ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดหลังและปวดข้อ
  • ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะไม่สุด อั้นปัสสาวะไม่ได้
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง
  • จะมีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ

การวินิจฉัย

เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายและสงสัยว่าเป็นต่อมลูกหมากอักเสบแพทย์จะตรวจต่อไปนี้

  • ตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนักพบว่าต่อมลูกหมากบวมและกดเจ็บ รายที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจจะมีอัณฑะอักเสบร่วมด้วย
  • ตรวจปัสสาวะพบว่ามีเม็ดเลือดขาวและเชื้อแบคทีเรียมาก

การรักษา

ยาที่ใช้รักษาคลิที่นี่ นอกจากนั้นยังใช้ยาดังต่อไปนี้รักษาเช่น ciprofloxacinnorfloxacinofloxacin or levofloxacin โดยให้ยา 4 สัปดาห์

Chronic bacterial prostatitis

เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียของต่อมลูกหมากเรื้อรังและมักจะเป็นสาเหตุของการติดเชื้อซ้ำทางเดินปัสสาวะ มักจะติดเชื้อหลังจากทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือตามหลังท่อปัสสาวะอักเสบ หรือต่อมลูกหมากอักเสบ

อาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง

อาการของผู้ป่วยแต่ละคนจะไม่ค่อยเหมือนกัน อาการต่างๆที่พบได้คือ

  • ผู้ป่วยมักจะมีประวัติการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นๆหายๆ
  • ปัสสาวะบ่อย อั้นปัสสาวะไม่ได้
  • ปัสสาวะกลางคืน
  • เมื่อปัสสาวะจะปวด
  • ปวดบริเวณอัณฑะและอวัยวะเพศ
  • เมื่อหลั่งน้ำกามจะปวด
  • ปวดหลัง
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ปัสสาวะเล็ด

การวินิจฉัย

เนื่องจากอาการของต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังไม่มากและชัดเจนหากสงสัยสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจต่อมลูกหมากทางทางทวารหนัก และนวดต่อมลูกหมากเพื่อนำสารหลังไปตรวจซึ่งจะพบเม็ดเลือดขาวมาก และเพาะเชื้อพบเชื้อแบคทีเรีย

การรักษา

  • เนื่องจากยาจะเข้าต่อมลูกหมากได้ไม่ดีดังนั้นการให้ยาอาจจะต้องให้ยา 2-3 เดือน แม้ว่าบางครั้งอาจจะฆ่าเชื้อไดไม่หมดก็อาจจะให้ยาปฏิชีวนะขนาดต่ำเพื่อป้องกันการเกิดอาการ ยาที่นิยมใช้คือtrimethoprim-sulfamethoxazole และ fluoroquinolones
  • แช่ก้นในน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปวดขัดได้
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.
  • ในรายที่เป็นเรื้อรังแพทย์อาจจะพิจารณาผ่าตัด

Chronic non-bacterial prostatitis/chronic pelvic pain syndrome

เป็นการอักเสบของต่อมลูกหมากที่พบบ่อยที่สุดโดยเกิดจากการติดเชื้อ chlamydia หรือ ureaplasma โรคนี้อาจจะเกิดตามหลังทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ

อาการเหมือนผู้ป่วยต่อมลูกหมากอักเสบเรึ้อรัง

การวินิจฉัยเหมือนต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรังแต่จะไม่พบเชื้อแบคทีเรียเมื่อนำสารหลังจากต่อมลูกหมากไปเพาะเชื้อ

การรักษา

  • รักษายากยาที่ใช้ได้แก่ tetracyclin,doxycyclin ,erythromycin ต้องรักษา 6-8 สัปดาห์
  • ได้รับยาระบายหากมีอาการท้องผูก
  • การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกหากใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
  • สวมถุงยางเมื่อมีการร่วมเพศ
  • แช่ก้นด้วยน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการปัสสาวะบ่อย
  • ดื่มน้ำวันละอย่างน้อย 8 แก้ว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะเช่น alcohol, citrus juices, อาหารเผ็ดๆ และ caffeine.

 

guest

Post : 2013-12-04 20:58:17.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคต่อมลูกหมาก

 ต่อมลูกหมากโต Benigh prostatic hypertrophy

ต่อมลูกหมากโตคืออะไร

prostate=ต่อมลูกหมาก  bladder= กระเพาะปัสสาวะ    ureter= ท่อไต   eretha= ท่อปัสสาวะ

เมื่อผู้ชายเริ่มย่างเข้าอายุ 40 ปีต่อมลูกหมากจะโตเมื่ออายุมากขึ้น ก็จะพบผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโต จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ80จะมีต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมาก จะเริ่มโตจากด้านใน ดังนั้นก็จะกดท่อปัสสาวะทำให้ปัสสาวะลำบาก เมื่อปัสสาวะลำบาก ทำให้ปัสสาวะออกไม่หมด เหลือปัสสาวะบางส่วนในกระเพาะปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้การที่ทางเดินปัสสาวะถูกกด อาจจะทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ด ีและอาจจะเกิดไตวายได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ต่อมลูกหมากโตเป็นโรคเดียวกับมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่

ต่อมลูกหมากโตเป็นเพียงมีเซลล์เพิ่มขึ้นไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยส่วนมากแม้จะมีต่อมลูกหมากโตแต่ก็ไม่มีอาการ

ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตจะมีอาการอะไรบ้าง

อาการของต่อมลูกหมากโตเกิดจากต่อมลูกหมากโตกดท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบ ระยะแรกของโรคกระเพาะปัสสาวะยังแข็งแรงสามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะออกได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงไม่สามารถบีบตัวไล่ปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะสะดุด ผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่มีอาการจนได้รับประทานยาแก้หวัด ผลข้างเคียงของยาแก้หวัดทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่อก อาการที่พบได้บ่อยคือ

  • ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะสะดุดขณะปัสสาวะ
  • อั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง
  • ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ
  • ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ

ถ้าหากผู้ป่วยยังไม่รักษาก็อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้แก่ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีเกิดการคั่งของปัสสาวะและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ไตเสื่อม กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะเล็ด นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต

  • เมื่อผู้ป่วยที่สงสัยว่าต่อมลูกหมากโตไปพบแพทย์แพทย์จะถามประวัติเพื่อประเมินความรุนแรงของต่อมลูกหมาก
  • ซักประวัติเกี่ยวกับโรคทั่วไป
  • ตรวจร่างกายทั่วไป
  • ตรวจต่อมลูกหมากโดยการตรวจทางทวารหนัก
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีเลือดหรือการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • ตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไตและตรวจ Prostate-specific antigen (PSA) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตจากต่อมลูกหมากค่านี้จะสูงในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • การตรวจส่องกล้อง cystoscope เพื่อดูต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะเป็นการตรวจที่ไดข้อมูลมาก
  • การตรวจ x-ray เรียก urogramหรือ IVP [ intravenous pyelography] โดยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ และเมื่อสีขับเข้ากระเพาะปัสสาวะแพทย์จะสามารถเห็นตำแหน่งและความรุนแรงของการอุดกลั้นปัสสาวะ
  • การตรวจ ultrasound สามารถเห็นต่อมลูกหมาก ไต และกระเพาะปัสสาวะโดยทำผ่านทางทวารหนัก
  • การตรวจ Uroflowmetry เพื่อดูว่าทางเดินปัสสาวะถูกอุดมากน้อยแค่ไหน

                                   

 

 

 

guest

Post : 2013-12-04 20:49:04.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ใช้ชีวิตอย่างไรให้ห่างไกลโรคหัวใจ

 ใช้ชีวิตอย่างไรให้ห่างไกลโรคหัวใจ


     โรคหัวใจเป็นโรคที่กระทรวงสาธารณะสุขสำรวจพบว่าคนไทยมีความเสี่ยงเป็นอันดับ 1วันนี้เรามาดูวิธีลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจกัน

สาเหตุโรคหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

1. ไม่ออกกำลังกาย
2. น้ำหนักตัวที่มากเกินปกติ
3. ระดับไขมันในเลือดสูง
4. คนที่เป็นโรคเบาหวาน
5. ความดันโลหิตสูง
6. สูบบุหรี่

การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ


1. ไม่สูบบุหรี่
2. ควบคุมน้ำหนักตัว
3. รักษาระดับไขมันในเลือดโลหิต
4. รักษาระดับความดันโลหิต
5. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
6. เลือกรับประทานอาหาร
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

วิธีดูแลรักษาตัวเองเมื่อเป็นโรคหัวใจ

1. การออกกำลังกาที่ทำให้เกิดประโยชน์กับโรคหัวใจ ก็คือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยอย่างน้อยออกกำลังกายให้ได้ 30 นาทีต่อครั้ง เป็นการออกกำลังกายแบบปลายกลางก็ได้

เช่น เดินต่อเนื่องกัน 30 นาที เดินด้วยความเร็วสบายๆ ทำประมาณ 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์


2. ความคุมอาหาร ที่จะทำให้เกิดปัจจัยเสียง
  • ปริมาณอาหาร ต้องท่านให้พอเหมาะ ไม่มากเกินไป
  • ชนิดของอาหาร คืออาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง อาหารประเภทไขมันที่มาจากสัตว์ทุกชนิดมันหมู มันเนื้อ หนังเปิด หนังไก่ หรือไข่แดง

ถ้าเป็นโรคหัวใจแล้วจะมีวิธีดูแล รักษาตัวเองอย่างไร?


ก็เหมือนกับการดูแลไม่ให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
1. สูบบุหรี่
2. การไม่ออกกำลังกาย
3. น้ำหนักตัวที่มากเกินปกติ
4. เบาหวาน
5. รักษาระดับความดันโลหิต
6. รักษาระดับไขมันในเลือดโลหิต

 
 

guest

Post : 2013-11-25 22:37:03.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  เรื่องเซ็กซ์ อึดสุดกี่ครั้งต่อวัน?

  

รื่องเซ็กส์ เคยสำรวจตัวเองไหมครับ ว่าเราสามารถสร้างกิจกรรมรักนั้น ได้มากที่สุดกี่ครั้งต่อวัน หากนับว่า การหลั่ง เป็นเป้าหมายของการปลดปล่อย นี่ไม่ใช่เรื่องของการหมกมุ่นหรือบ้ากามแต่อย่างใด เพราะเมื่อความต้องการทางเพศเกิดขึ้น การปลดปล่อยจึงเป็นเรื่องที่ตามมา ทั้งหมดเป็นกระบวนการธรรมชาติที่อยู่ติดตัวมนุษย์อย่างปฏิเสธไม่ได้ และมีปัจจัยทางกายภาพของแต่ละคนที่ส่งผลให้แต่ละคนมีความต้องการมากน้อยต่างกันออกไป

 

อาจฟังดูเป็นเรื่องโอ้อวดที่จะมีคนบอกว่าตัวเองได้ถึง 5 ครั้งต่อวัน บางคนว่าได้ถึง 10 ครั้ง บางคนได้แค่2-3ครั้ง ในขณะที่ผู้ชายบางคนโอดครวญว่า"แค่ครั้งเดียวก็จะตายแล้ว" 

 

ความต้องการทางเพศที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากความสมบูรณ์ของสุขภาพและช่วงวัย หากสุขภาพสมบูรณ์ หมายถึงปลอดโรคภัย ทานอาหารครบ และออกกำลังกายประจำ สุขภาพทางเพศก็จะดีตามไปด้วย จึงไม่ต้องแปลกใจหากเราจะมีความต้องการทางเพศสูง และยิ่งอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์แล้วยิ่งเข้าไปใหญ่

 

 

โดยปกติแล้วหลังจากการหลั่งแต่ละครั้ง อวัยวะเพศจะอ่อนตัวลง และเฉยต่อสิ่งเร้าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะกลับมาตื่นตัวได้ใหม่ในเวลาไม่กี่นาทีสำหรับวัยเจริญพันธุ์ผู้มีสุขภาพดี แต่าหรับผู้สูงอายุอาจจะต้องใช้เวลากว่าหลายชั่วโมงกว่าน้องชายจะกลับมาผงาดง้ำได้อีกครั้ง

 

แต่การหลั่งก็ใช่ว่าจะเป็นเป้าหมายสูงสุดของกิจกรรมรักเสมอไป สำหรับลัทธิเต๋าที่เลื่องชื่อเรื่องตำรับการมีเพศสัมพันธ์ขั้นสุดยอดได้ถือว่าการควบคุมการหลั่ง และแข็งตัวได้นานที่สุดต่างหาก ถึงจะเรียกว่ามีประสิทธิภาพที่สุด และยังถือว่าเป็นการนำพลังมาบำรุงร่างกายและสมองอีกด้วย

 

 

처음 이전 ... 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com