Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2013-12-08 23:17:01.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  มะเร็งไฝ

 มะเร็งไฝ Melanoma

เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายเร็วมาก เกิดจากเซลล์สร้างสีผิว melanocyte การที่จะเข้าใจโรคนี้ท่านจะต้องเข้าใจโครงสร้างของผิวหนัง

โครงสร้างของผิวหนัง 

 

  • ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มร่างกายทำหน้าที่ป้องกัน ความร้อน แสง การติดเชื้อ ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และสร้างวิตามินดีผิวหนังประกอบด้วยเซลล์สองชั้น
  • ชั้น epidermis เป็นชั้นนอกสุดประกอบด้วยชั้นบนสุดเป็น squamous เซลล์รองลงมาได้แก่ basal cell โดยมี melanocyte อยู่ใต้ subcutaneous
  • ชั้น dermis เป็นชั้นที่อยู่ของต่อมขน ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน หลอดเลือด

Melanocyte และ ไฝ Mole

melanocyte เป็นตัวสร้างสีผิว melanin เมื่อผิวถูกแสงทำให้สีผิวเข็มขึ้น ไฝเป็นกลุ่มของ melanocyte ที่อยู่รวมกันมักเกิดในช่วงอายุ 10-40 ปี อาจจะแบน หรือนูน สีอาจเป็นสีชมพู หรือสีน้ำตาล รูปร่างกลม หรือวงรีไฝมักจะไม่เปลี่ยนแปลงขนาดหรือสีตัดออกแล้วไม่กลับเป็นซ้ำ

Melamoma

เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ melanocyte ที่แบ่งตัวนอกเหนือการควบคุมของร่างกาย ถ้าเกิดที่ผิวหนังเรียก cutaneous melanoma เกิดที่ตาเรียก ocular melanoma โดยทั่วไปเกิดบริเวณลำตัว ขา ถ้าคนผิวดำมักเกิดที่เล็บ โดยทั่วไปมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอาจพบที่อวัยวะอื่นๆได้เรียก metastasis melanoma

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง

  • ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งไฝ จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากกว่า 2 เท่าดังนั้นสมาชิกในครอบครัวควรได้รับการตรวจจากแพทย์
  • Dysplastic nevi ไฝที่มีลักษณะชิ้นเนื้อแบบนี้จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูง
  • เคยเป็น melanoma
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น AIDS
  • มีไฝจำนวนมาก เช่นมากกว่า 50 เม็ดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งมาก
  • แสง ultraviolet ควรสวมเสื้อแขนยาวและหมวกเพื่อกันแสง ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดเวลา10-16.00 น.ควรทาครีมกันแสงร่วมด้วย
  • เคยถูกแสงจนไหม้เมื่อวัยเด็ก ดังนั้นควรป้องกันไม่ให้เด็กสัมผัสแสงแดด
  • สีผิว ผิวขาวมีโอกาสเกิดมะเร็งได้ง่ายกว่าผิวคล้ำ

อาการของมะเร็งไฝ

อาการเริ่มแรกมักเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง ขนาด สี รูปร่าง ขอบ บางรายอาจมีอาการคัน มีขุยหากเป็นมากขึ้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงของความแข็ง หากพบมะเร็งเริ่มต้นการรักษาจะหายขาด แต่หากรุกลามเข้าใต้ผิวหนังมะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

Asymmetry

รูปร่างไม่สมดุล

Border

ขอบไม่เรียบ เป็นรอยขรุขระ

Color

มีการเปลี่ยนของสี

Diameter

ขนาดใหญ่ขึ้น

การวินิจฉัย

หากแพทย์สงสัยว่าไฝที่เห็นว่าจะเป็นมะเร็งแพทย์จะตัดก้อนนั้นส่งพยาธิแพทย์ตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์ หากก้อนนั้นใหญ่มากแพทย์จะตัดเพียงบางส่วนส่งตรวจ ถ้าพบเซลล์มะเร็งแพทย์จะตรวจพิเศษเพิ่มเพื่อตรวจดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นหรือยัง

การรักษา

หลังจากวินิจฉัยและทราบการแพร่กระจายของโรคแพทย์จะวางแผนการรักษา ก่อนการรักษาควรจดบันทึกคำถามเพื่อถามแพทย์ดังตัวอย่าง

  • การวินิจฉัยของแพทย์
  • มะเร็งแพร่กระจายไปหรือยัง
  • ควรจะรักษาด้วยวิธีใดดีที่สุด และแพทย์เลือกวิธีใด
  • โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จมีมากหรือไม่
  • เราจะทราบอย่างไรว่าการรักษาได้ผล
  • การรักษาจะสิ้นสุดเมื่อใด
  • จะดูแลตัวเองระหว่างการรักษาอย่างไร
  • ผลข้างเคียงของการรักษามีอะไรบ้าง
  • จะเจ็บปวดหรือไม่ และจะใช้ยาอะไรในการควบคุม
  • หลังการผ่าตัดต้องรักษาอย่างอื่นหรือไม่

วิธีการรักษา

  1. การผ่าตัด เป็นการรักษามาตรฐานแพทย์จะพยายามตัดเนื้อร้ายออกให้หมดร่วมทั้งต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้เนื้อร้าย ถ้ามะเร็งแพร่กระจายไปอวัยวะอื่นแพทย์จะให้การรักษาอย่างอื่น
  2. เคมีบำบัด เป็นการให้สารเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งโดยอาจเป็นยากินหรือยาฉีด
  3. รังสีรักษาเป็นการฆ่ามะเร็งเฉพาะที่โดยเฉพาะมะเร็งที่แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น สมอง ปอด ตับ
  4. การสร้างภูมิคุ้มกัน อาจให้ภูมิโดยการฉีด เช่นการให้ interferon หรือ interleukin โดยการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิขึ้นมาเช่นการฉีดวัคซีน

ผลข้างเคียงของการรักษา

  1. การผ่าตัด อาจทำให้เกิดแผลเป็นบางรายเกิด keloid การตัดต่อมน้ำเหลืองอาจทำให้ขาหรือแขนบวม
  2. เคมีบำบัด การให้เคมีบำบัดอาจให้เกิดโลหิตจาง ติดเชื้อง่าย หรือเลือดออกง่าย ผมร่วง
  3. รังสีรักษา ทำให้ผมบริเวณที่ฉายรังสีร่วง อาจมีอาการอ่อนเพลีย
  4. การสร้างภูมิคุ้มกัน อาจมีอาการปวดเมื่อตามตัวเบื่ออาหาร ท้องร่วง

                     

guest

Post : 2013-12-08 23:13:31.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  มะเร็งเม็ดเลือดขาว

 มะเร็งเม็ดเลือด Leukemia

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหมายถึงภาวะที่เม็ดเลือดขาว กลายเป็นมะเร็งมีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวอย่างมากมาย จนร่างกายของเราไม่สามารถควบคุมมันได้ เซลล์มะเร็งเหล่านี้จะไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และมีภูมิคุ้ทกันต่ำ เนื่องเซลล์มะเร็งเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเซลล์ทั่วไป


รูปแสดงเซลล์เม็ดขาวเลือดปกติ

รูปแสดงเซลล์เม็ดขาวที่เป็นมะเร็งพบว่าเป็นเซลล์ตัวอ่อน

เซลล์เม็ดเลือดที่เจริญเติบโตนอกเหนือการควบคุมของร่างกาย เรียกมะเร็งเม็ดเลือด

ส่วนประกอบของเลือด

ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดจากไขกระดูก bone marrow โดยเซลล์ตัวอ่อนเรียก blast เลือดประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำเรียก plasma ส่วนเซลล์ที่พบมี 3 ชนิด

  • เม็ดเลือดขาว leukocyte หรือ white blood cell ทำหน้าทีต่อสู้กับเชื้อโรค
  • เม็ดเลือดเลือดแดง erythrocyte หรือ red blood cell ทำหน้าที่นำ oxygen ไปล่างกาย และนำ carbodioxide ไปฟอกที่ปอด
  • เกล็ดเลือด platelet หรือ thrombocyte ทำหน้าที่หยุดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด

  • การได้รับรังสีเป็นจำนวนมาก เช่นระเบิดปรมณู
  • การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ยังต้องรอการศึกษายืนยัน
  • ทางพันธุกรรม เช่น เด็ก Down' syndrome
  • ผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีเช่น benzene

ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือด

มะเร็งสามารถเกิดจากเม็ดเลือดขาวได้ 2 ชนิด คือ lymphocyte และ myeloid และแบ่งการดำเนินของโรคเป็น acute คือเกิดเร็ว โรคดำเนินเร็ว  blast cell มาก chronic โรคดำเนินช้า blast cell ไม่มากเราแบ่งเป็น

  1. Acute lymphocytic leukemia [ALL] เซลล์ส่วนใหญ่เป็น lymphocyte มักพบในเด็ก
  2. Acute myeloid leukemia [AML] พบมากในเด็กและผู้ใหญ่
  3. Chronic lymphocytic leukemia [CLL] พบมากในอายุมากกว่า 55 ปี
  4. Chronic myeloid leukemia [CML] พบในผู้ใหญ่

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือด

อาการต่างๆเกิดจากเม็ดเลือดเสียหน้าที่เช่น เม็ดเลือดขาวเสียหน้าที่ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อง่ายมีไข้ เซลล์มะเร็งมีมากจะทำให้เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดมีน้อยทำให้เกิด ซีด และเลือดออกง่าย นอกจากนี้ยังเกิดอาการต่างๆตามที่เซลล์มะเร็งไปอยู่ เช่นปวดศีรษะ อาการที่พบบ่อยๆมีดังนี้

  • ไข้หนาวสั่น บางครั้งเหมือนหวัด
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
  • มีการติดเชื้อบ่อย
  • บวมและเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม
  • เลือดออกง่ายบริเวณผิวหนัง ไรฟัน ตา
  • ปวดกระดูก

การวินิจฉัย

ทำได้ไม่ยากโดยแพทย์จะตรวจร่างกายพบตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองโตแพทย์จะเจาะเลือด เมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งแพทย์จะเจาะไขกระดูก หรือเจาะไขสันหลังเพื่อตรวจเซลล์มะเร็งในน้ำไขสันหลัง

การรักษา

การรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย และมะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน โดยหลักการการรักษาคือระยะแรกจะควบคุมโรคให้สงบ remission หลังจากนั้นจะป้องกันการกลับเป็นซ้ำ relapse ผู้ป่วยหลายรายสามารถหายขาดได้

วิธีการรักษา

  1. เคมีบำบัด Chemotherapy สามารถให้ได้ทั้งทางฉีดและการกิน มะเร็งบางชนิดอาจต้องให้เข้าไขสันหลัง
  2. รังสีรักษา Radiotherapy สามารถให้ได้ 2 กรณีคือให้รังสีบริเวณที่มะเร็งอยู่ เช่นม้าม อันฑะ หรืออาจให้ฉายรังสีทั้งตัวเพื่อเตรียมการปลุกถ่ายไขกระดูก
  3. การปลุกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation โดยการให้เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับรังสีเพื่อทำลายเซลล์หลังจากนั้นจึงนำไขกระดูกของคนปกติฉีดเข้าไป ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดได้
  4. การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด 

การรักษาอื่นๆที่จำเป็น

เนื่องจากการรักษามะเร็งเม็ดเลือดมีโรคแทรกซ้อนมากดังนั้นการรักษาอื่น๐ก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เนื่องจากผู้ป่วยอ่อนแอเกิดการติดเชื้อง่ายดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสถานที่ทีมีคนมากโดยเฉพาะช่วงที่เกิดการระบาดของโรค ถ้าได้รับการติดเชื้อที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ antibiotic

ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและพบบ่อยหากเป็นมากอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ถ้าซีดมากควรได้รับการเติมเลือด tranfussions ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจช่องปากก่อนการรักษา

ผลข้างเคียงของการรักษา

  1. เคมีบำบัด Chemotherapy หลักการให้เคมีบำบัดคือทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วซึ่งเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเร็วดังนั้นจึงถูกทำลายมาก แต่ขณะเดียวกันการให้เคมีบำบัดก็ทำลายเซลล์ปกติ ดังนั้นอาการข้างเคียงจึงเกิดจากการที่เซลล์ปกติถูกทำลาย ผู้ป่วยจะคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นหมัน
  2. รังสีรักษา Radiotherapy บริเวณที่ฉายแสงขนหรือผมจะร่วง ผิวบริเวณดังกล่าวจะแห้ง คัน ห้ามใช้ lotion ก่อนปรึกษาแพทย์
  3. การปลุกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เลือดออกผิดปกติ

 

guest

Post : 2013-12-08 23:11:45.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  มะเร็งรังไข่

 ะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับห้าของมะเร็ง ที่พบในสุภาพสตรี และอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสี่1

รังไข่ OVARY

อวัยวะสืบพันธ์ในผู้หญิงประกอบไปด้วยรังไข่ (Ovary) ลักษณะวงรี โดยมีท่อรังไข่ที่เรียกว่า Fallopian tube ยื่นออกมาจากมดลูก Uterus หรีอ Womb ซึ่งต่อมาจากช่องคลอด รังไข่และท่อรังไข่จะอยู่ในช่องเชิงกราน Pelvic ซึ่งนอกจากจะมีอวัยวะสืบพันธ์ผู้หญิงแล้ว ยังมีอวัยวะที่สำคัญ เช่น กระเพาะปัสสาวะ Bladder ลำไส้ใหญ่ Rectum ต่อมน้ำเหลือง

ทุกๆเดือนรังไข่ข้างหนึ่งของหญิงวัยเจริญพ้นธ์ จะผลิตไข่ขึ้นมาหนึ่งฟอง ไข่จะเคลื่อนไปตามท่อรังไข่และเข้าสู่มดลูก หากไข่ไม่ได้รับการผสมก็จะถูกขับออก

รังไข่นอกจากสร้างไข่แล้ว ยังผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่า oestrogen and progesterone

เนื้องอกของรังไข้

เนื้องอกของรังไข่แบ่งอกเป็นชนิดใหญ่ 2 ชนิดคือ

  • เนื้องอกที่ธรรมดา หรือที่เรียกว่า benign tumor เนื้องอกชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายการรักษาทำได้ง่าย ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกก็หาย
  • เนื้อมะเร็ง Malignant เนื้องอกชนิดนี้อาจจะเรียกเนื้อร้ายหรือมะเร็งหากวินิจฉัยได้ช้าเนื้อร้ายจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น

ชนิดของมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่จะเกิดเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของรังไข่

  • Epithelial tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์ผิวของรังไข่ เนื้องอกส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ชนิดนี้
  • Germ cell tumor เป็นมะเร็งที่เกิดเซลล์ที่ผลิตไข่
  • Stroma tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งสร้างฮอร์โมนเพศ estrogen และ progesteron

มะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ที่เรียกว่า epithelial cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่เปลือกนอก และยังแบ่งเป็น

  • serous
  • mucinous
  • endometrioid
  • clear cell
  • undifferentiated or unclassifiable

ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดไหนการรักษาก็ไม่ต่างกัน

ระยะของมะเร็งรังไข่

การพิจารณาให้การรักษาแพทย์จะพิจารณาจากระยะของโรค ซึ่งแบ่งออกเป็น

  • Borderline tumours เป็นมะเร็งที่อยู่เฉพาะในรังไข่ รูปร่างของเซลล์มะเร็งจะคล้ายเซลล์ปก(low grade) การรักษาจะใช้วิธีผ่าตัดซึ่งให้ผลหายขาด
  • มะเร็งในระยะที่1มะเร็งอยู่ในเฉพาะรังไข่
  • Stage 1 หมายถึงมะเร็งอยู่ในรังไข่
  • Stage 1a เนื้อมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 1 ข้าง
  • Stage 1b มะเร็งอยู่ที่รังไข่ 2 ข้าง.และยังไม่ออกนอกรังไข่
  • Stage 1c มะเร็งอยู่ในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างร่วมกับ
    • มะเร็งอยู่ที่ผิวของรังไข่
    • หากมะเร็งเป็นถุงน้ำและถุงน้ำแตกออก
    • พบเซลล์มะเร็งในช่องท้อง
  • Stage 2มะเร็งอยู่ข้างหนึ่งหรือสองข้างและแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงเช่น ช่องคลอด ท่อรังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่
    • Stage 2a มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะสืบพันธ์เช่น vagina, มดลูก ท่อรังไข่fallopian tubes.
    • Stage 2b มะเร็งลามเข้าอวัยวะช่องเชิงกรานเช่น กระเพาะปัสสาวะ bladderแต่ยังไม่ลามไปยังอวัยวะในช่องท้อง
    • Stage 2cมะเร็งได้แพร่กระจายในช่องท้อง
  • Stage 3 มะเร็งอยู่ในรังไข่ มะเร็งลามเข้ายังอวัยวะในช่องท้อง เช่นต่อมน้ำเหลือง ลำไส้
  • Stage 3a มะเร็งที่แพร่กระจายมีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า. แต่ส่องกล้องพบเซลล์มะเร็ง
  • Stage 3b มะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 เซ็นติเมตร
  • Stage 3c มะเร็งมีขนาดมากกว่า 2 เซ็นติเมตร
  • Stage 4 มะเร็งแพร่กระจายไป ปอด สมอง

Grading

หมายถึงลักษณะของเซลล์มะเร็งที่มองด้วยกล้องจุลทัศน์ซึ่งจะบ่งบอกว่าเซลล์มะเร็งมีแนวโน้มว่าจะแพร่กระจายได้ง่ายหรือยา

  • Low-grade หมายถึงเซลล์มะเร็งที่มีรูปร่างเหมือเซลล์ปกติ ชนิดนี้มีการแพร่กระจายต่ำ
  • Moderate-grade หมายถึงเซลล์ทีผิดปกติมากกว่าแบบแรก
  • High-grade เซลล์มีความผิดปกติมากและมีการเจริญเติบโตเร็วและแพร่กระจายได้ง่าย

                        

guest

Post : 2013-12-08 23:09:27.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็ง

 โรคมะเร็ง >> มะเร็งเต้านม >>

ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

อายุของคุณ โอกาสเกิดมะเร็งเต้านมใน 10 ปีข้างหน้า หรือ 1 ใน
20 0.05% 2,152
30 0.40% 251
40 1.45% 69
50 2.78% 36
60 3.81% 26
70 4.31% 23
  1. โอกาศเกิดมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะหากอายุมากกว่า 50 ปี
  2. พันธุกรรม มีข้อมูลบ่งชี้ว่า ปัจจัยพันธุกรรม เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่
  • มีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง เช่น แม่ พี่ น้อง
  • มีประวัติเป็นมะเร็งในญาติพี่น้องหลายคน
  • ประวัติการเกิดมะเร็งตั้งแต่อายุน้อยในครอบครัว
  • การเกิดมะเร็งเต้านมทั้งสองข้าง

ดังนั้นหากท่านมีก้อนที่เต้านมและมีประวัติครอบครัวดังกล่าวโอกาสเกิดมะเร็งก็สูงขึ้น

  1. ปัจจัยเกี่ยวกับฮอร์โมน ที่พบว่าอาจจะมีความสัมพันธ์ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงขึ้นได้แก่
  • การมีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว (Early menachy) คือมีครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
  • หมดประจำเดือนช้ากว่าปกติคือหมดหลังอายุ 55 ปี
  • ไม่เคยมีบุตร
  • ไม่เคยมีน้ำนมหรือไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเอง
  • เคยได้รับฮอร์โมนจากภายนอกเช่น ยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปี ได้รับการเสริมด้วยฮอร์ดมนเอสโตรเจน หรือ diethylstilbestrol หรือได้รับฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้มีการเจริญพันธ์
  • ได้รับฮอร์โมนทดแทนวัยทองมากกว่า 5 ปี
  1. ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่นการได้รับรังสีที่ทรวงอกตั้งแต่เด็ก การดื่มสุราการบริโภคอาหารมัน หรือเนื้อแดง เป็นต้น
  2. ประวัติโรคอื่นๆที่เคยเป็น ได้แก่
  • เคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
  • มีโรคที่เต้านมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะกลายมาเป็นมะเร็งเต้านมได้แก่ lobular carcinoma in situ, atypical hyperplasia, proliferative fibrocystic disease, มะเร็งรังไข่ และมดลูก(ovarian and endometrial cancer)
  • เคยตรวจ mamogram พบความเข้มของเนื้อเยื่อมากกว่า 75 %
  • การสูบบุหรี่
  • คนอ้วน
  • ดื่มสุรา

การประเมินว่าผู้หญิงคนใดจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากน้อยเพียงใดเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยประวัติครอบครัว และหากประเมินแล้วความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเท่ากับประชาชน การเริ่มการตรวจคัดกรองจะเริ่มที่อายุ 50 ปี ในการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมจะแบ่งความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมเป็นสองระดับคือ

  • ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมปานกลาง
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูง

ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมปานกลาง

หลังจากประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมว่ามีโอกาศเกิดมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง ท่านจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจ mamogram โดยตรจปีละครั้ง สำหรับเกณฑ์ในการประเมินได้แก่

  • มีญาติสายตรงหนึ่งคนเป็นมะเร็งเต้านมอายุก่อน40 ปี(เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง)
  • มีญาติสายตรง 2 คนเป็นมะเร็งเต้านม อายุที่เป็นมะเร็งเต้านมหลัง 50 ปี
  • มีญาติสายตรงที่เริ่มเป็นมะเร็งเต้านมหลังอายุ 60 ปีจำนวน 3 คน

ควางเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูง

สำหรับผู้ที่มีประวัติครอบครัวที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไปจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูง แต่ต้องเน้นว่า จำนวนผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมีเพียงน้อยกว่าร้อยละ1ที่จะเป็นมะเร็ง แต่เนื่องจากความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปจึงต้องติดตามใกล้ชิด

  • มีญาติสายตรง(พ่อ แม่ พี่ น้อง)หรือญาติสายรอง (ปู้ ย่า ตา ยาย อา น้า ป้า ลุง หลาน ลูกพี่ลูกน้อง)เป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 50 ปี
  • มีญาติสายตรงหรือสายรองจำนวน 3 คนที่เป็นมะเร็งเต้านมหลังอายุ 60 ปี(อย่างน้อยต้องมีสายตรง 1 คน)
  • มีญาติ 4 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีญาติสายตรงที่เป็นมะเร็งเต้านมทั้งสองข้าง และเกิดก่อนอายุ 50 ปี
  • มีญาติสายตรงหรือสายรอง 1 คนที่เป็นมะเร็งรังไข่ และมีญาติสายตรงหรือสายรอง 1 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม
  • มีญาติสายตรงหรือสายรองสองคนที่เป็นโรคมะเร็งรังไข

ปัจจัยอื่นๆที่อาจจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น

  • มีญาติที่เป็นมะเร็งเต้านมทั้งสองข้าง
  • มีญาติที่เป็นผู้ชายและเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีญาติทางสายพันธ์ทางพ่อหรือแม่ที่มีทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่
  • เป็นชนชาติยิว
  • มีประวัติครอบครัวที่เด็กเป็นมะเร็งที่หายาก

คำแนะนำในการคัดกรองสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

  • ผู้ที่อายุ 30-39 ควรตรวจคลำเต้านมตัวเองและอาจจะปรึกษาแพทย์ตรวจ
  • ผู้ที่อายุ40-49 ควารจะได้รับการตรวจ mamogram ปีละครั้ง
  • ส่วนผู้ที่อายุมากกว่า50ปีให้ตรวจ mamogram ทุก 3 ปี เนื่องจากในกลุมอายุนี้สามารถตรวจมะเร็งได้ง่ายและการเติบโตของมะเร็งในกลุ่มอายุนี้โตช้า

guest

Post : 2013-12-08 23:07:22.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  อาหารต้านมะเร็ง

 การป้องกันโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นแล้วรักษายาก บางรายรักษาไม่หาย การป้องกันโรคมะเร็งมิให้เกิดกับทานและครอบครัวจึงเป็นวิธีที่ท่านสามารถนำไปปฏิบัติ การป้องกันมะเร็งทำได้ไม่ยาก

เนื้อหาที่จะเกล่าเป็นแนวทางในการดูแลตัวเองให้แข็งแรงและลดปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็ง แนวทางการป้องกันมะเร็งได้มาจากสมาคมการวิจัยเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง American Institute for Cancer Research ดังนี้

  1. เลือกอาหารที่มาจากพืช

ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ทราบแล้วว่า อาหารเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง การรับประทานอาหารที่มาจากพืชรวมทั้งการรักษาน้ำหนักที่เหมาะสม และการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านโรคมะเร็ง เนื่องจากสารอาหาร วิตามินในพืชสามารถทำให้ร่างกายซ่อมแซมเซลล์ได้ดี ยับยังการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยังทำลายสารที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการรับประทานผักและผลไม้เพิ่ม 2 หน่วยร่วมกับการออกกำลังกายเพิ่มจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ร้อยละ 60-70 เช่นการเปลี่ยนขนมปังธรรมดาเป็นขนมปังธัญพืช

  • ให้รับประทานอาหารพวกผักชนิดใหม่ๆซึ่งจะเพิ่มความอยากรับประทานอาหารพวกผัก

     

  • ให้มีอาหารพร้อมปรุงที่ทำจากพืชไว้ในตู้เย็นเช่นพวกถั่วต่างๆ อาหารแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง

     

  • ให้ใช้ถั่วในการปรุงอาหารเช่นผสมในสลัด ใส่ถั่วในส้มตำ ใส่ถั่วในแกง อาจจะใช้ถั่วได้หลายชนิดเช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วแขก เม็ดมะม่วงหิมะพาน

     

  • ให้รับประทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์สัปดาห์ละครั้ง

     

  • หัดปรุงอาหารที่ทำจากพืช

     

  1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่ม

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าอาหารที่เรารับประทาน ควรจะมาจากพืชเสีย 2/3 เช่นผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว ส่วนที่เหลือ 1/3 มาจากเนื้อสัตว์และนม วิธีการที่จะรับประทานเนื้อสัตว์ให้ลดลงทำได้ดังนี้

  • ใช้เนื้อเพียงแค่ปรุงรสเท่านั้น ไม่ใช่อาหารหลักอย่างบ้านเราทำกัน คือผัดผักใส่หมูหรือกุ้งเพื่อปรุงรสและกลิ่น
  • รับประทานอาหรโปรตีนที่ทำจากพืชเช่น เนื้อปลอมที่ทำจากถั่วเหลืองหรือจากเห็ด
  • เลือกอาหารว่างที่ทำจากพืช เช่น น้ำผลไม้ ผลไม้ต่างๆ
  • เลือกผลไม้กระป๋องไว้ประจำบ้าน ควรเลือกผลไม้ที่บรรจุในน้ำผลไม้หรือน้ำไม่ควรใส่น้ำหวานหรือเกลือ
  • รับประทานผักใบเขียวให้มาก
  • มื้อกลางวันให้รับประทานสลัด
  • ใช้รับผลไม้หลังจากรับประทานอาหาร

หากท่านรับประทานผักและผลไม้มากเท่าใดท่านจะได้รับสารอาหาร วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้นเท่านั้นซึ่งจะต่อสู้กับมะเร็ง

  1. รักษานำหนักที่เหมาะสมและออกกำลังกายเป็นประจำ

น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับท่านควรอยู่ระหว่างดัชนีมวลกาย 18.5-23 สำหรับท่านที่น้ำหนักน้อยก็ต้องรับประทานอาหารเพิ่ม หากรับประทานไม่พอก็ต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่มขึ้น โรคอ้วนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากมายสำหรับท่านที่มีน้ำหนักเกินท่านต้องรับประทานอาหารน้อยลง วิธีการรับประทานอย่างฉลาดมีดังนี้

  • อ่านฉลากอาหารทุกครั้ง หากปริมาณสารอาหารที่ท่านซื้อมากเกินไปท่านต้องแบ่งอาหารออกมา เพื่อมิให้ได้รับพลังงานเกินไป
  • อย่าอดอาหารเป็นมือเพราะท่านจะรับประทานมากขึ้นในมื้อต่อไป
  • เลือกอาหารว่างอย่างฉลาดควรจะเลือกพวกผักและผลไม้
  • ให้รับประทานเมื่อท่านหิวเท่านั้น อย่ารับประทานเพราะว่าอร่อย หรือว่ากำลังเหงา ควรหางานอดิเรกทำเพื่อจะได้ไม่รับประทานมากเกินไป
  • อาหารพวกผักและผลไม้จะมีไขมันต่ำ หากอาหารหลักของท่านเป็นอาหารเหล่านี้โอกาสที่จะอ้วนก็มีน้อย

การออกกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ท่านแข็งแรง ลดความเครียดได้ ทำให้เจริญอาหาร และการขับถ่ายดีขึ้นวิธีการที่จะเริ่มออกกำลังกายอย่างง่ายๆ

  • เริ่มทีละเล็กน้อยค่อยๆเพิ่ม อย่าหักโหมเพราะจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ
  • การเดินเป็นวิธีที่ดีและง่าย
  • ให้กระฉับกระเฉงเช่น การขึ้นบัดได การเดินไปทำงาน การล้างรถหรือถูบ้าน
  • ท่านที่สุดอายุหรือมีโรคเข่าเสื่อมอาจจะเริ่มออกกำลังในน้ำเพราะจะใช้แรงไม่มากและไม่เป็นอันตรายต่อข้อ
  1. ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่

จากการวิจัยพบว่าการดื่มสุราก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่การดื่มไวน์แดงก็อาจจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายเหมือนกับการรับประทานองุ่นเพราะมีสาร resveratrol

  • หากไม่เคยดื่มสุราก็ไม่มีความจำเป็นต้องเริ่มดื่ม
  • หากจะดื่มสุราก็ให้ดื่มไม่เกิน 1 หน่วยสุรา
  • หากไปงานเลี้ยงก็ไม่ควรใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ผสม

การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดมะเร็งได้หลายระบบ การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้ลดการเกิดมะเร็งได้ร้อยละ 30

  1. เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันต่ำ

เชื่อว่าอาหารมันและเกลือจะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมัน trans-fats ('partially hydrogenated' oils). ซึ่งไขมันทั้งสองเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งและโรคหัวใจ แต่มิได้ห้ามรับประทานอาหารมันเพราะอาหารมันก็มีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ไม่ควรรับมากเกินไป

  1. ปรุงอาหารอย่างถูกต้อง

การปรุงอาหารพวกเนื้อสัตว์โดยเฉพาะการย่างด้วยไฟอุณหภูมิที่สูงจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง เนื่องจากน้ำมันที่ถูกไฟไหม้จะก่อให้เกิดสาร polycyclic aromatic hydrocarbons ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ควรจะเลี่ยงไปใช้วิธีอื่นเช่น การอบ การใช้microwave การต้ม การทอดในน้ำ วิธีการที่จะลดการเกิดสารก่อมะเร็งมีดังนี้

  • อย่าย่างเนื้อสัตว์หลายชนิดในไม้เดียวกัน เพราะเนื้อทุกชนิดสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ ให้เลี่ยงไปย่างผักหรือผลไม้แทนเนื้อสัตว์
  • เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน และให้ตัดไขมันออกจากเนื้อสัตว์ให้หมด
  • ให้หมักเนื้อนั้นก่อนปรุงอาหารโดยเฉพาะการหมักด้วยมะนาวจะช่วยลดสารก่อมะเร็งให้หมักก่อนปรุง 15-20 นาที ไม่ควรหมักด้วยน้ำมัน
  • ไม่ควรเผาเนื้อสัตว์ ให้หุ้มเนื้อสัตว์ด้วย foil อาจจะทำให้เนื้อสัตว์สุขด้วยการต้ม อบหรือmicrowave แล้วจึงนำมาเผาภายหลัง
  • อย่ารับประทานเนื้อสัตว์ที่ไหม้ ให้ตัดส่วนที่ไหม้ออก
  • การย่างหรือเผาอาหารพวกผักไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง
  1. การถนอมอาหาร

ผู้ป่วยที่พื้นจากโรคมะเร็งจะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอโอกาสจะเกิดโรคจากอาหารจะมีสูง ดังนั้นการเก็บและถนอมอาหารจะช่วยป้องกันการโรค

  • ล้างมือ ถ้วยชาม โต๊ะ ให้สะอาดและเปลี่ยนฟองน้ำบ่อยๆ
  • ให้ล้างผักและผลไม้โดยการรินน้ำ
  • ระวังการปนเปื้อนอาการจากการใช้มีด เขียง ชาม
  • ละลายอาหารแช่แข็งในตู้เย็นหรือ microwave ไม่ควรละลายในห้องครัว
  • ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิของอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารสุขจริงๆ
  • อ่านฉลากอาหารให้ทราบวันหมดอายุ
  1. การใช้ครีมป้องกันแสงแดดโดยเฉพาะตอน 10.00-15.00 น โดยใช้ครีมที่มี SF อย่างน้อย 15 
  2. การไม่สำส่อนทางเพศเพราะการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้เกิดการติดเชื้อ เริ่ม  และเชื้อไวรัสโรคเอดส์ ซึ่งทั้งสองโรคดังกล่าวจะทำให้เกิดมะเร็ง

คำถามที่ถามบ่อย

  • วิตามินช่วยป้องกันมะเร็งได้หรือไม่ จากรายงานพบว่าวิตามินในผักและผลไม้มีคุณค่ามากกว่ายาเม็ดวิตามิน ดังนั้นแนะนำให้รับประทานอาหารพวกผักและผลไม้ให้มาก ในกรณีที่รับอาหารไม่ได้เลยแพทย์ก็จะพิจารณาให้วิตามินเสริม

สารอาหารที่ใช้ป้องกันมะเร็ง

สารอาหารที่ใช้ป้องกันมะเร็งหรือที่เรียกว่า Chemoprevention จะทำหน้าที่สองประการคือ ป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และหยุดการแบ่งเซลล์มะเร็ง สำหรับสารที่นิยมมาใช้ป้องกันมะเร็งได้แก่

 

สารอาหาร ชนิดสารอาหาร ใช้ป้องกันหรือรักษามะเร็ง
Vitamin A + other retinoids vitamin ผิวหนัง คอและศีรษะ ปอด
Vitamin C vitamin ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร
Vitamin D vitamin ลำไส้ใหญ่
Vitamin E vitamin ปอด คอและศีรษะ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร
Folic Acid vitamin ปากมดลูก
Selenium mineral ผิวหนัง
Calcium mineral ลำไส้ใหญ่
Beta-Carotene phytochemical ปอด คอและศีรษะ ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร
Monoterpenes phytochemical เต้านม
Tamoxifen drug เต้านม
Finasteride drug ต่อมลูกหมาก
Oltipraz drug ตับ
NSAIDS 
(nonsteroidal anti-inflammatory drugs -- aspirin, buprofen)
drug ลำไส้ใหญ่
Sunscreen other ผิวหนัง
Spirulina 
fusiformi
(blue-green algae) คอและศีรษะ

 

 

                                    

guest

Post : 2013-12-08 23:03:53.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคมะเร็ง

 การป้องกันโรคมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในปัจจุบันซึ่งมีมลภาวะจากการพัฒนาประเทศ และประชาชนขาดความเอาใจใส่ต่อสุขภาพตนเอง ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่เลือก เหล่าเป็นสาเหตุให้มะเร็งเพิ่มขึ้น

โรคมะเร็งเป็นโรคที่ป้องกันได้ และสามารถรักษาให้หายขาดได้หากสามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มเป็น เนื้อหาที่นำเสนอจะเป็นแนวทางการตรวจและวินิจฉัย พร้อมทั้งแผนการรักษา ท่านผู้อ่านควรทำความเข้าใจ และนำความรู้ที่ได้ปรึกษาแพทย์ของท่านเกี่ยวกับวิธีรักษาของมะเร็งแต่ละชนิด

โรคมะเร็งคืออะไร

ร่างกายเราประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ อวัยวะจะประกอบด้วยเซลล์ กลุ่มของเซลล์ที่มีรูปร่างและทำหน้าที่เหมือนกันรวมตัวกันจะเป็นอวัยวะ หลายอวัยวะมาทำงานร่วมกันเป็นระบบ หลายๆระบบทำงานร่วมกันเป็นร่างกายของคนเรา เซลล์ต่างๆจะมีอายุเมื่อตายก็จะมีเซลล์ใหม่เจริญทดแทนเซลล์เก่า

เซลล์ที่สร้างใหม่ไม่หยุดเราเรียกเนื้องอกซึ่งแบ่งเป็น เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงหรือทางการแพทย์เรียก Benign tumor ส่วนมะเร็งที่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่นๆเรียกมะเร็ง

ชนิดของมะเร็ง

ชนิดของมะเร็งจะแบ่งตามชนิดของเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิด เช่น

  • carcinomas เซลล์ต้นกำเนิดเกิดเซลล์บุผิว (epithelium)มะเร็งชนิดนี้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 85
  • Sarcomas เป็นมะเร็งที่เกิดจากเนื้อเยื่อผูกพัน(connective tissue) เช่นกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน
  • leukemia/lymphoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือด
  • มะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งสมอง

คนเราเป็นโรคมะเร็งชนิดไหนมาก

ผู้ชายเราพบมะเร็ง

ผู้หญิง

การรักษาโรคมะเร็ง

การเฝ้าติดตาม

เมื่อบอกว่าเป็นมะเร็งคนทั่วไปมักจะคิดว่าต้องผ่าตัด หรือให้เคมีบำบัด แต่มีมะเร็งบางประเภทที่ไม่แพร่กระจาย และเจริญเติบโตช้ามาก การรักาาจึงเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงของมะเร็ง

การผ่าตัด

การผ่าตัดจะผ่าเอาเนื้องอกออกจากร่างกาย นอกจากนั้นบางรายอาจจะต้องผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองหรือมะเร็งที่แพร่กระจายออกให้หมด อ่านที่นี่

การฉายแสง

คือการใช้รังสีรักษาเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งแต่มีผลกับเซลล์ปกติน้อย อาการข้างเคียงคืออาการอ่อนเพลียไม่มีแรง

เคมีบำบัด

คือการให้สารเคมีหรือยาที่ทำลายเซลล์มะเร็งมีทั้งยาเม็ด ยาน้ำ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นยาฉีด มะเร็งบางชนิดให้ยาเพียงชนิดเดียวแต่ว่วนใหญ่จะยาสองชนิดขึ้นไป

การให้ฮอร์โมน

มะเร็งบางชนิดจะแบ่งตัวเมื่อมีฮอร์โมน การให้ยาเพื่อเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนทำให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโต ส่วนใหญ่จะใช้รักษามะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก

การรักษาอื่นๆ

เช่นการให้ภูมิเพื่อทำลายเซลล์เช่น interferon เป็นต้น


การเจาะเลือดเพื่อตรวจมะเร็ง
การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาโรคมะเร็งหรือที่เรียกว่า Tumor markerเป็นสารซึ่งอาจจะเจอในเลือด ปัสสาวะ เนื้อเยื่อต่างๆ มากกว่าปกติสารเหล่านี้ถูกสร้างโดยเนื้อมะเร็ง หรือปฏิกิริยาของร่างกายต่อมะเร็ง และจากเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง


มะเร็งเต้านม

คุณผู้หญิงควรจะอ่านทุกคนครับ ท่านจะได้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยง แนวทางการค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น รวมทั้งวิธีการผ่าตัดและวิธีการรักษาอย่างอื่น และโรคแทรกซ้อนของการรักษาแต่ละวิธี


มะเร็งลำไส้ใหญ

พบมาก สามารถรักษาให้หายขาดถ้าวินิจฉัยได้เร็ว ท่านจะทราบปัจจัยเสี่ยง การตรวจวินิจฉัย และการรักษา


มะเร็งปากมดลูก
1

เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยสำหรับผู้หญิง หากพบเร็วรักษาหายขาดหากพบช้าอาจจะทำให้เสียชีวิต คุณผู้หญิงควรจะอ่านทุกคนครับ


มะเร็งปอด

อัตราการตายสูงมาก พบมากในผู้ชาย รักษาหายขาดถ้าวินิจฉัยได้เร็ว


มะเร็งตับ

ท่านที่ดื่มสุรา ท่านที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังท่านเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ ท่านจะได้ทราบว่ามะเร็งตับมีหลายชนิด รวมทั้งอาการและการวินิจฉัย


มะเร็งเม็ดเลือดขาว

เป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อย ปัจจุบันสามารถรักษาให้หายขาด หากรักษาเร็วมีภาพเซลล์มะเร็งให้ดูครับ พร้อมทั้งอาการและวิธีการรักษา


มะเร็งไฝ

พบไม่บ่อย แพร่กระจายเร็ว ท่านจะทราบว่าไฝปกติและมะเร็งไฝแตกต่างกันอย่างไร น่าสนใจครับ


มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งที่พบในผู้ชายโดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักจะมีอาการปัสสาวะลำบากต้องเบ่ง การตรวจวินิจฉัยไม่ยาก


ปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็ง

เกิดจากสารเคมี การติดเชื้อ สุรา อาหาร ควรอ่านทุกคนครับเพื่อสุขภาพที่ดีของท่านและครอบครัว


อาหารต้านมะเร็ง

โรคมะเร็งนอกจากจะเป็นกรรมพันธุ์ การดำเนินชีวิตที่ไม่ระวังอาจจะชักนำท่านไปสู่โรคมะเร็ง โดยเฉพาะเรื่องอาหาร รับประทานอาหารอย่างไร ปรุงอาหารอย่างไรจึงจะห่างไกลมะเร็ง


มะเร็งผิวหนัง

พบบ่อยเป็นอันดับที่สอง เกิดจากแสงแดด โดยเฉพาะผู้ที่เคยถูกแดดเผามาก่อน แพร่กระจายช้า โดยมากมักจะหายขาดพบได้บ่อยมีสามชนิดคือ basalcell carcinoma Squamous cell carcunoma  Malignant melanoma


มะเร็งต่อมไทรอยด์
1

มะเร็งต่อมไทรอยด์พบได้ทุกวัย มาด้วยเรื่องก้อนที่คอ ไม่เจ็บปวด ก้อนโตช้า การรักษามักจะได้ผลดี อ่านมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่นี่


มะเร็งรังไข่์

มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบมากอันดับห้าของมะเร็งในผู้หญิง และอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสี่ อ่านที่มะเร็งรังไข่

 

 

 

                                              

guest

Post : 2013-12-08 22:58:30.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ช่องท้องอักเสบ

 เยื่อบุช่องท้องอักเสบหรือที่เรียกว่า Peritonitis เป็นการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องซึ่งอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา มะเร็งหรือสารเคมี เมื่อมีการติดเชื้อที่ช่องท้องจะทำให้เชื้อมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย

Peritoneum คืออะไร

Peritoneum เป็นเยื่อบางบางแบ่งออกเป็นสองชั้น ชั้นที่คลุมอวัยวะเรียก visceral peritoneum ส่วนอีกชั้นคลุมช่องท้องเรียก parietal peritoneum ช่องท้องจะมีน้ำไม่เกิน 100 มิลิลิตรซึ่งเป็นน้ำที่ไม่มีเชื้อโรค

ชนิดของ Peritonitis

Peritonitis มีสองชนิดได้แก่

ปัจจัยเสี่ยงช่องท้องอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดช่องท้องอักเสบชนิด primary peritonitis:

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดช่องท้องอักเสบชนิด secondary peritonitis ได้แก่

อาการและอาการแสดงของโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

อาการและอาการแสดงของโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบได้แก่

  • อาการปวดท้อง หรือท้องอืดจะเป็นอาการที่เด่น อาการปวดจะขึ้นกับชนิดของ Peritonitis หากเป็นชนิด secondary จะมีอาการปวดท้องมาก ส่วนprimary จะมีอาการท้องอืด หรือปวดตื้อๆ
  • มีไข้สูงหนาวสั่น ไข้สูงกว่า 38C (100.4F)
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • หิวน้ำ
  • เบื่ออาหาร
  • ปัสสาวะน้อยลง และปัสสาวะสีเข้ม
  • ไม่ถ่ายอุจาระ ไม่ผายลม
  • ใจสั่นหัวใจเต้นเร็ว

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคจะอาศัยประวัติการเจ็บป่วยในอดีต และอาการของโรค อาการปวดท้องจะเป็นอาการที่สำคัญ สำหรับบางท่านอาจจะมีอาการปวดท้องอยู่ก่อนหน้านี้ อาการปวดท้องนี้จะต่างจากเดิม ปวดจนขยับร่างกายไม่ได้ ต้องนอนนิ่งๆ หายใจเข้าแรงๆหรือไอจะปวดมากขึ้น ที่สำคัญคือเมื่อกดท้องบริเวณไหนก็ได้จะมีอาการปวดท้องเพิ่มขึ้นเมื่อปล่อยมืออาการปวดจะเพิ่มขึ้นจนแสดงสีหน้าว่าปวดมาก

 

การตรวจที่สำคัญ

  • การเจาะเลือดเพื่อตรวจความสมบูรณ์ของเลือด CBC ซึ่งจะตรวจพบว่าเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น และมีจำนวนเซลล์ Neutrophil สูงขึ้น
  • การเพาะเชื้อจากเลือด
  • การเจาะเลือดตรวจการทำงานของไต สำหรับผู้ที่มีช่องท้องอักเสบรุนแรง และมีภาวะขาดน้ำหรือช็อค จะพบว่ามีการเสื่อมของการทำงานของไต
  • สำหรับผู้ที่มีน้ำในช่องท้องหรือท้องมาน ต้องเจาะน้ำในช่องท้องไปตรวจและเพาะเชื้อ
  • การตรวจเกลือแร่ หากมีคลื่นไส้อาเจียนมาก และรับประทานอาหารไม่ได้อาจจะพบว่าเกลือแร่ทั้ง sodium และpotassium จะต่ำ
  • การตรวจทางรังสี การตรวจ ultrasound, x-ray computer จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค และสาเหตุของการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ

สาเหตุของช่องท้องอักเสบสาเหตุของช่องท้องอักเสบ

Primary peritonitis

Secondary Peritonitis

การรักษาโรคช่องท้องอักเสบ Peritonitis

หากมีอาการปวดท้องดังกล่าวผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อที่แพทย์และพยาบาลจะได้ดูแลใกล้ชิด

  • ให้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10 วัน
  • งดน้ำงดอาหาร และแพทย์จะให้สารน้ำและเกลือแร่ทางน้ำเกลือ
  • สำหรับผู้ที่ล้างไตทางหน้าท้องแพทย์จะผสมยาในน้ำล้างท้อง

การผ่าตัด

สำหรับช่องท้องอักเสบชนิด secondary จะต้องผ่าตัดไปซ่อมหรือแก้ไขสาเหตุ เช่นไส้ติ่งแตกจะต้องผ่าตัดไปตัดไส้ติ่ง และล้างช่องท้องจนสะอาด สำหรับรายที่มีหนองในช่องท้องต้องระบายหนองให้หมด

ส่วนผู้ที่เป็นช่องท้องอักเสบชนิด primary จะต้องรกษาที่ต้นเหตุ เช่นตับแข็งหรือท้องมาน

โรคแทรกซ้อนของช่องท้องอักเสบ

  • โลหิตเป็นพิษ เป็นโรคแทรกซ้อนที่อันตรายหากรักษาไม่ทันจะทำให้เกดปัญหาตามมามาก
  • ช็อคจากโลหิตเป็นพิษ เชื้อแบคทีเรียสร้างสารที่เป็นพิษต่อร่างกายทำให้ความดันโลหิตต่ำ มีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • การเกิดพังพืดในช่องท้องซึ่งจะทำให้เกิดลำไส้อุดตันจากการบีบรัด
  • ภาวะหายใจวาย

การดูแลเรื่องอาหารหลังจากหายจากโรคช่องท้องอักเสบ

  • รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นผัก ผลไม้ blueberries, cherries, และ tomatoes)
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี และแคลเซี่ยม เช่น almonds,ถั่ว, ธัญพืช , ผักใบเขียว
  • หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป เช่น ขนมปัง pastas, และน้ำตาล
  • รับประทานโปรตีนที่มาจากถั่ว เช่นเต้าหู้ ปลา และหลีกเลี่ยงเนื้อแดง
  • ใช้น้ำมันมะกอก หรือถั่วเหลือง
  • งดชา กาแฟ และสุราดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
  • รับประทาน นมเปรียวที่มี  Lactobacillus acidophilus among other species

guest

Post : 2013-12-08 22:56:22.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ท้องมาน

 ท้องมาน (ascites) 

ท้องมานท้องมานหมายถึง ภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้อง โดยปกติช่องท้องจะอยู่ใต้ช่องอก แยกจากกันด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม น้ำในช่องท้องที่มีปริมาณตั้งแต่ 1500 มิลิลิตรจึงจะตรวจร่างกายพบ น้ำปริมาตรตั้งแต่ 500 มิลิลิตรจึงตรวจด้วย ultrasound หากปริมาณน้อยกว่านี้จะตรวจไม่พบ น้ำในช่องท้องมีแหล่งที่มาได้ต่างๆ กัน โดยเกิดได้จากสาเหตุหลายอย่าง เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็ง โรคหัวใจล้มเหลว และโรคไต

ความรุนแรงของท้องมานGrading of ascites สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 grade โดย

  • Grade 1 พบว่ามี ascites เพียงเล็กน้อย ซึ่งสามารถตรวจพบได้โดยการตรวจ ultrasound
  • Grade 2 พบว่ามี ascites เพียงปานกลาง สามารถตรวจร่างกายพบได้
  • Grade 3 พบว่ามี ascites ปริมาณมาก ท้องของผู้ป่วยมักจะตึงแน่น

การแบ่งชนิดของท้องมาน

โดยทั่วไปแบ่งภาวะท้องมานออกเป็นสองชนิด เรียกว่า Serum Ascites Albumin Gradient (SAAG) คำนวณจากอัตราส่วนของโปรตีนชนิดแอลบูมินในสารน้ำช่องท้อง เทียบกับระดับของแอลบูมินในเลือด พบว่าน้ำในช่องท้องที่เกิดจากโรคตับแข็งหรือภาวะหัวใจวายจะมีค่าอัตราส่วนที่มากกว่า 1.1 ในขณะที่ภาวะท้องมานที่เกิดจากมะเร็งหรือโรคตับอ่อนอักเสบจะมีค่าอัตราส่วนน้อยกว่า 1.1 และควรตรวจดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ถ้า ascites neutrophil มากกว่า 250 cells/ml หรือมากกว่า 50% บ่งว่าผู้ป่วยน่าจะมีการติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง และหากสงสัยว่ามีมะเร็งหรือ pancreatic ascites ก็ควรส่งตรวจ cytology หรือ amylase ร่วมด้วย

คำนิยาม

Uncomplicated ascites คือ ascites ที่ไม่มีการติดเชื้อในช่องท้อง หรือไม่ได้เกิดร่วมกับ hepatorenal syndrome

Refractory ascites คือ ascites ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา พบว่า 5-10% ของผู้ป่วย ascites ทั่วไปจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมีลักษณะที่เข้าได้กับ refractory ascites โดยมีเกณฑ์ในการวินิจฉัยดังนี้

ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาขับปัสสาวะอย่างเต็มขนาดของยา โดยใช้ spironolactone 400 mg/วัน และ furosemide 160 mg/วัน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และร่วมกับทำการควบคุมปริมาณการรับประทานเกลือโซเดียม โดยให้น้อยกว่า 90 mmole หรือ 5.2 กรัมของเกลือต่อวันแล้วยังไม่สามารถควบคุมปริมาณ ascites ได้โดยสามารถดูได้จากการที่

  1. ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดน้อยกว่า 0.8 กิโลกรัม 4 วัน และปริมาณเกลือโซเดียมที่ร่างกายขับออกทางปัสสาวะน้อยกว่าปริมาณเกลือโซเดียมที่ร่างกายได้รับ
  2. และพบว่ามี ascites เกิดขึ้นใหม่ขนาด grade 2 หรือ 3 ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์
  3. หรือเกิดภาวะข้างเคียงจากการเพิ่มยาขับปัสสาวะ เช่น
  • เกิด hepatic encephalopathy โดยไม่มีสาเหตุอื่น ๆ
  • มีการเสื่อมของไตโดยที่ค่า creatinine เพิ่มมากกว่า 100% หรือมากกว่า 2 mg/dl ในผู้ป่วย ascites ที่ตอบสนองต่อการรักษา
  • เกิดภาวะ diuretic-induced hyponatremia ค่าซีรั่มโซเดียมลดลงมากกว่า 10 mmol/l หรือระดับซีรั่มโซเดียมน้อยกว่า 125 mmol/l
  • เกิดภาวะ hypo หรือ hyperkalemia ค่าโปรแตสเซียมที่เปลี่ยนแปลงจนน้อยกว่า 3 หรือมากกว่า 6 mmol/l

สาเหตุ

  1. โรคตับ โดยเฉพาะโรคตับแข็งจากสาเหตุใดก็ตาม พบได้ประมาณร้อยละ75 ของผู้ป่วยที่มีอาการท้องมานทั้งหมด การเกิดน้ำในช่องท้องเป็นผลจากความดันเลือดในตับเพิ่มสูงขึ้นมาก ร่วมกับระดับแอลบูมินในเลือดลดต่ำลง แอลบูมินเป็นโปรตีนในเลือดทำหน้าที่สำคัญในการดึงสารน้ำไว้ในกระแสเลือด เมื่อระดับลดต่ำลง ความดันที่แตกต่างกันระหว่างภายในกับภายนอกหลอดเลือดทำให้น้ำรั่วออกไปนอกหลอดเลือด โดยเข้าไปอยู่ในช่องท้องเกิดเป็นภาวะท้องมานขึ้น

Cirrhosis:

  • ผู้ป่วยตับแข็งจะมาโรงพยาบาลด้วยเรื่องท้องมานซึ่งเป็นอาการบ่อยที่สุด และเมื่อเกิดท้องมานแล้วจะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่ม
  • ร้อยละ75ของผู้ป่วยท้องมานเป็นตับแข็ง ร้อยละ50ของผู้ป่วยตับแข็งจะมีท้องมานในระยะเวลา 10 ปี
  • การท้องมาน บวมที่เท้า หรือมีน้ำในช่องอกจะเป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยโรคตับในระยะสุดท้ายและมีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • ผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งมานาน และต่อมาเกิดท้องมานให้ระวังโรคมะเร็งตับแทรก
  1. มะเร็งในช่องท้อง เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งที่กระจายมาที่ช่องท้อง เป็นต้น

โรคมะเร็งจะเป็นสาเหตุของท้องมานร้อยละ 15 มะเร็งที่ทำให้เกิดน้ำในช่องท้องได้แก่

  • มะเร็งของโรคทางเดินอาหารได้แก่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งตับ
  • มะเร็งรังไข่
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากมะเร็งที่อื่น เช่นมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม
  1. ภาวะหัวใจล้มเหลว
  2. โรคไต
  3. ภาวะขาดแอลบูมิน (โปรตีนไข่ขาว)ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดสารอาหาร ท้องร่วงเรื้อรัง หรือโรคไตรั่ว
  4. ภาวะช่องท้องอักเสบจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น การติดเชื้อเช่นเชื้อวัณโรค ภูมิแพ้
  5. สาเหตุจากโรคตับอ่อนอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากพิษสุราเรื้อรัง บางรายอาจเกิดจากโรคตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน หรืออุบัติเหตุที่ตับอ่อน
  6. เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดใหญ่ของตับ ซึ่งพบได้น้อยมาก

อาการ

ผู้ป่วยที่มีอาการท้องมานจะมีอาการ

  • แน่นท้อง ท้องโตขึ้น ถ้าน้ำขังอยู่ในท้องมากๆ อาจจะทำให้หนังท้องปริแล้วมีน้ำซึมออกมาได้
  • บางรายพบว่ามีสารน้ำในเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยหายใจติดขัด
  • น้ำหนักเพิ่มเนื่องจากการคั่งของน้ำและเกลือ
  • คลื่นไส้และเบื่ออาหารเนื่องจากน้ำในช่องท้องกดกระเพาะอาหาร
  • อาการของโรคที่เป็นสาเหตุ

การตรวจร่างกาย

  • ตรวจท่านอนและยืน ท่านอนนำจะไหลออกด้านข้างทำให้บวมออกด้านข้าง ส่วนท่ายืนน้ำจะไหลลงมาท้องน้อยทำให้บวมบริเวณท้องน้อย
  • หากน้ำมีมากทำดันสะดือออกมาเกิดไส้เลื่อน
  • อาการของตับ เช่นดีซ่าน นมโต ฝ่ามือแดง

นมโต

เต้านมโต

ฝ่ามือแดง

ฝ่ามือแดง

มีหลอดเลือดเป็นตุ่ม

ดีซ่าน

ดีซ่าน

การวินิจฉัย

จุดประสงค์ของการวินิจฉัยคือ

  • ตรวจเพื่อยืนยันว่าท้องที่โตเกิดจากน้ำคั่งในท้อง
  • ตรวจหาสาเหตุของการเกิดท้องมาน
  • ตรวจหาโรคแทรกซ้อน

การตรวจเลือด

การตรวจทางรังสี ที่สำคัญคือ

  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในช่องท้อง เพื่อตรวจตับ ตรวจหามะเร็งในช่องท้อง หรือมะเร็งที่แพร่กระจายมายังช่องท้อง
  • การถ่ายภาพรังสีทรวงอกเพื่อตรวจขนาดหัวใจ และน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
  • การตรวจอคมพิวเตอร์ช่องท้องหากการตรวจชนิดอื่นไม่ได้ผล

การเจาะน้ำในช่องท้อง

ตรวจวิเคราะห์สารน้ำในช่องท้อง นับเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว วัดระดับของแอลบูมิน ย้อมสีแกรมและส่งเพาะเชื้อ วัดระดับอะมัยเลส กลูโคส โปรตีน รวมทั้งส่งตรวจหาเซลล์ผิดปกต

การติดตามโรค

เราสามารถติดตามโรคท้องมานว่าเป็นมากขึ้นหรือไม่โดยติดตามจาก

  • วัดรอบเอวที่จุดเดียวกัน
  • ชั่งน้ำหนัก หากมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอย่างรวดเร็วหมายถึงมีการคั่งของน้ำ

Prognosis
ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เกิด ascites ถือว่ามีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี มีอัตราการเสียชีวิตถึง 40% ใน 2 ปี โดยเฉพาะถ้าพบว่ามี ,ean arterial pressure ≤ 82 mmHg การขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ ≤ 1.5 mEq ต่อวัน, GFR ≤ 50 ml/นาที, norepinephrine ในพลาสมา ≥ 570 pg/ml, ภาวะทุกโภชนาการ, ตับโต, อุลบูมินในซีรั่ม ≤ 2.8 mg/dl

               

guest
lovenight_loveyou@homail.com
- Guest -

Post : 2013-12-08 01:26:11.0     Forum: สอบถาม  >  ผลลัพธ์ ทาน B-Fiberry

 

guest

Post : 2013-12-07 05:27:27.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเวียนศีรษะ

 เวียนศีรษะ Dizziness

หลายท่านคงเคยเป็นโรคเวียนศีรษะ ผู้ป่วยมักจะมีชื่อเรียกต่างๆกันดังนี้ มึนศีรษะ งงศีรษะ บ้านหมุน หนักศีรษะ เป็นลม จะเห็นว่าเป็นปัญหาในการสื่อสารกับแพทย์เป็นอันมาก การที่จะวินิจฉัยโรคได้นั้นแพทย์จะต้องได้ประวัติที่ดี บทความนี้จะยกสาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบบ่อย เพื่อที่ท่านสามารถจะสื่อสารกับแพทย์ได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าภาวะนี้จะพบบ่อยแต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ร้ายแรง สาเหตุที่พบได้บ่อยคือ จากหูชั้นใน และจากระบบความดันโลหิต

การวินิจฉัยของโรคเวียนศีรษะ

เมื่อท่านไปพบแพทย์ด้วยอาการเวียนศีรษะแพทย์จะถามหลายคำถามและท่านต้องตอบให้ตรงคำถามเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

  1. ลักษณะของอาการเวียนศีรษะ
  • อาการเวียนศีรษะเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนท่าเช่นการหันหน้า นั่งไปนอน หรือจากนอนไปท่านั่งเป็นต้น
  • ความรุนแรงของอาการเวียนศีรษะ
  • สิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนหรือไม่
  1. ระยะเวลาที่เกิดอาการ
  • ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
  • ปัจจัยที่ทำให้หาย
  • เป็นแต่ละครั้งนานแค่ไหน
  • หลังจากเวียนศีรษะมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่
  • เป็นบ่อยแค่ไหน
  1. อาการที่เกิดร่วมกับอาการเวียนศีรษะ
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วยหรือไม่
  • มีอาการเครียดด้วยหรือไม่
  • มีอาการหน้ามืดเป็นลมหมดสติร่วมด้วยหรือไม่
  • มีเสียงดังในหูหรือไม่
  • มีอาการอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่

ท่านเป็นเวียนศีรษะประเภทไหน

การจะวินิจฉัยและรักษาจะต้องทราบก่อนว่าอาการเวียนศีรษะที่ท่านเป็นอยู่เป็นชนิดไหน ซึ่งแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆได้ 4 ชนิด

  1. อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนvertigo เป็นอาการที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุน การเปลี่ยนท่า เช่นหันหน้าหรือการเปลี่ยนจากนอนเป็นนั่งจะทำให้เกิดอาการหมุน ผู้ป่วยมักจะนอนหลับตา หากลืมตาบ้านจะหมุนทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน สาเหตุเกิดจากโรคของหูชั้นใน โรคที่เป็นสาเหตุได้แก่
  • Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV)เมื่อท่านหันศีรษะหรือพลิกตัวจะทำให้ท่านเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดจากโรคหูชั้นใน
  • Vestibular neuronitis (labyrinthitis) เกิดจาการอักเสบของหูชั้นในจากเชื้อไวรัส
  • Meniere's disease เกิดจากน้ำเลี้ยงในหูชั้นในเพิ่มขึ้น
  • Acoustic neuroma เกิดจากเนื้องอกกดเส้นประสาท
  • Medications ยาหลายชนิดทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะเช่น Aspirin, streptomycin, gentamicin, caffeine, alcohol และยาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
  1. อาการหน้ามืดเป็นลม Fainting มักเกิดขณะนั่งหรือนอนแล้วลุกขึ้นยืนผู้ป่วยจะรู้สึกเป็นลม หน้ามืด มีอาการใจสั่น เหงื่อออก หน้าซีด ต้องนอนหรือนั่งจึงจะดีขึ้นที่สำคัญคือจะไม่หมดสติ บางรายมีคลื่นไส้ สาเหตุ
  • ความดันโลหิตต่ำ เมื่อท่านลุกขึ้นยืนเลือดจะไหลไปที่เท้าเนื่องจากแรงโน้มถ่วง ร่างกายจะปรับตัวโดยการบีบตัวของหลอดเลือดดำเพื่อให้เลือดกลับไปที่หัวใจเพิ่มนอกจากนั้นหัวใจจะเต้นเร็วขึ้น การปรับตัวทั้งสองเป็นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้อาจจะเกิดจากยาลดความดันโลหิต การเจ็บป่วยทำให้ได้รับน้ำไม่พอ  ผู้ป่วยขาดน้ำอย่างรุนแรงเช่นท้องร่วงหรืออาเจียน  หัวใจเต้นเร็วไปหรือช้าไป โรคของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่นอนนานๆ ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราวทำให้เกิดอาการหน้ามืด
  • เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  1. ผู้ป่วยที่มีอาการหนักศีรษะมึนๆ ผู้ป่วยรู้สึกมึนในศีรษะสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่
  • โรคหูชั้นใน
  • โรคเครียด
  1. เวียนศีรษะแบบเดินเซทรงตัวไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการทรงตัวไม่ได้เวลาเดิน โรคที่เป็นสาเหตุได้แก่
  • โรคหูชั้นใน
  • โรคของระบบประสาท
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมและกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้ทรงตัวลำบาก
  • จากยา เช่นยานอนหลับ ยากันชัก

การตรวจวินิจฉัย

 

 

แสดงท่าตรวจให้นั่งแล้วนอนโดยหันศีรษะไปด้านซ้ายและด้านขวา

หลังจากที่แพทย์ทราบชนิดของเวียนศีรษะแพทย์จะตรวจหรือสั่งการตรวจเพิ่มเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

ชนิดของเวียนศีรษะ

การตรวจ

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน

  • ตรวจระบบหู
  • ตรวจตาว่ามีการกระตุก
  • ตรวจการได้ยิน
  • ตรวจจมูก คอ

เวียนศีรษะแบบหน้ามืดเป็นลม

  • ตรวจชีพขจร วัดความดัน
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ตรวจการทำงานของหัวใจ เช่น ultrasound หัวใจ
  • วัดความดันท่านอนและยืน

เวียนศีรษะแบบหนักๆศีรษะ

  • ตรวจทางจิตว่ามีความเครียดหรือไม่
  • อาจจะให้หายใจแรงๆดูว่ามีอาการหรือไม่

เวียนศีรษะแบบเดินเซ

  • ตรวจระบบการทรงตัวโดยการยืนหลับตา
  • ตรวจระบบประสาท

 

อาการเวียนศีรษะที่ต้องปรึกษาแพทย์

  • เวียนศีรษะร่วมกับอาการหมดสติ
  • ตามัว
  • หูหนวก
  • พูดลำบาก
  • อ่อนแรงแขนขา
  • ชาแขนขา
  • เวียนศีรษะบ้านหมุน
  • เวียนศีรษะจนทำงานประจำไม่ได้
  • หากสงสัยว่าเกิดจากยาควรปรึกษาแพทย์
  • หากมีอาการมึนๆมากกว่า 3 สัปดาห์
  • มีอาการอื่นร่วมเช่น แน่นหน้าอก หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย

อาการเหล่านี้อาจจะเป็นอาการเตือนของเนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองตีบ

การดูแลตัวเองเบื้องต้น

  • นอนพักจนอาการเริ่มดีขึ้น
  • อย่าเปลี่ยนท่าอย่างกระทันหัน
  • หันศีรษะช้าๆ
  • หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลงเช่นเกลือ ยาบางชนิด
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นเช่น ความเครียด ภูมิแพ้
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างเช่นการขับยานพาหนะ การปีนบันได
  • หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือขณะอยู่ในยานพาหนะเพราะอาจจะทำให้เกิดเมารถ เมาเรือ
  • หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุน
  • ยาแก้เวียนศีรษะ เช่น meclizine, dimenhydrinate, promethazine, scopolamine, atropine or diazepam

                        

guest

Post : 2013-12-07 05:24:31.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคปวดศีรษะ

 
ปวดศีรษะ
 
อาการปวดศีรษะจะเกิดเมื่อมีโรคเนื้อเยื่อที่ สมอง กล้ามเนื้อ เส้นเลือดรอบหนังศีรษะ หน้าและคอ ปวด
 
ศีรษะอาจจะเกิด๗กโรคที่ศีรษะหรืออาจะเกิดโรคที่อื่น เช่นต้นคอ หรือไซนัสอักเสบ เป็นอาการที่พบ
 
บ่อย และผู้ป่วยจำนวนมากต้องทนทุกทรมาน กับอาการปวดศีรษะโรคปวดศีรษะจะเป็นเฉพาะบางคน
 
ขึ้นกับบุคลิกที่เครียด ชอบแข่งขัน งานที่ต้องการผลงานมากๆ มีความวิตกกังวลสูง ซึมเศร้า การทำงาน
 
หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุให้บางคนเกิด
 
อาการปวดศีรษะ โรคปวดศีรษะเรื้อรังที่พบบ่อยๆๆ และข้อแตกต่างของแต่ละโรคแสดงในตารางข้าง
 
ล่าง
 
 
ข้อแตกต่างของอาการปวดศีรษะ migrain ,cluster,tension
 

ลักษณะอาการปวด
Migrain
 
 
 
 
 
 
Cluster
 
 
 
 
 
 
Tension-type
 
 
 
ตำแหน่งที่ปวด
 
 
 
ปวดข้างใดข้างหนึ่งหรือ 2 ข้าง
ปวดข้างใดข้างหนึ่ง
ปวดทั้ง 2 ข้าง
ระยะเวลาที่ปวด
4-72 ชม.
30-90 นาที
2ชม.-วัน
ความรุนแรง
ปานกลางถึงมาก
รุนแรงมาก
ปวดไม่มาก
ลักษณะปวด
ปวดตุ๊บๆ
ปวดแสบๆ ปวดเหมือนมีดแทง
ปวดตึงๆ
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
มีได้
ไม่มี
ไม่มี
ตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล
อาจมีได้
มี
ไม่มี
 
นอกจากนั้นยังพบอาการปวดศีรษะที่มีสาเหตุอื่นๆเช่น
 
อาการปวดศีรษะที่เกิดจากสาเหตุกระดูกและกล้ามเนื้อต้นคอ ซึ่งอาจจะเกิด
 
จากความผิดปกติของกระดูกต้นคอเช่นกระดูกอักเสบ ข้อเสื่อม หมอนกระดูก
 
ทับเส้นประสาท หรือเกิดจากกล้ามเนื้อต้นคอมีอาการเกร็งเนื่องจากการที่อยู
 
ผิดท่าเป็นเวลานานๆ
 
อาการปวดศีรษะจากไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้ น้ำมูกไหลมักจะปวดรอบตา
 
แก้มหรือบริเวณหน้าผาก เช้าๆตื่นมาไม่ปวดมาก สายๆจะปวดมากขึ้นเวลา
 
เคลื่อนไหวศีรษะจะปวดมากขึ้น
 
อาการปวดศีรษะจากขากรรไกร ผู้ที่นอนกัดฟันกลางคืนหรือเคี้ยวอาหารที่เหนียวๆจะมีอาการปวด การ
 
วินิจฉัยทำได้โดยให้เคี้ยวจะทำให้ปวดศีรษะเพิ่มขึ้น
 
ปวดศีรษะจากต้อหินGlaucoma ผู้ที่มีความดันตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และ
 
เป็นภาวะเร่งด่วนที่จะต้องรีบให้การรักษา ผู้ป่วยจะปวดศีรษะบริเวณหน้าผาก ตาแดง เห็นแสงเป็นวง
 
เนื้องอกสมอง ผู้ที่ปวดศีรษะจากเนื้องอกสมองมักจะมีอาการอ่อนแรงหรือมีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิก
 
และความจำ อาเจียน ชัก
 
อาการปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้ปวด
 
ศีรษะ โปรดจำไว้ว่าคนที่มีความดันโลหิตสูงจะไม่ปวดศีรษะเลยก็ได้
 
ปวดศีรษะจากเส้นเลือดสมองแตก ผู้ป่วยปวดศีรษะทันทีและปวดมากและซึมลง อ่อนแรงแขนขาข้างใด
 
ข้างหนึ่ง
                          

 

 

 

guest

Post : 2013-12-07 05:19:03.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคนอนไม่หลับ

 การนอนไม่หลับ

การนอนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คนเราใช้เวลาหนึ่งในสามในการนอน แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการนอนเท่าใด คนเราจะมีช่วงที่ง่วงนอน 2ช่วงคือกลางคืน และตอนเที่ยงวัน จึงไม่แปลกใจกับคำว่าท้องตึงหนังตาหย่อนในตอนเที่ยง

กลไกการนอนหลับ

เมื่อความมืดมาเยือนเซลล์ที่จอภาพ[retina] จะส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ใน hypothalamus ซึ่งจะเป็นที่สร้างสาร melatonin สาร melatonin สร้างจาก tryptophan ทำให้อุณหภูมิลดลงและเกิดอาการง่วง การนอนของคนปกติแบ่งออกได้ดังนี้

  1. การนอนช่วง  Non-rapid eye movement {non- (REM) sleep} การนอนในช่วงนี้มีความสำคัญมากเพราะมีส่วนสำคัญในการทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาการและมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต growth hormone การนอนช่วงนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่โดยการหลับจะเริ่มจากระยะที่1ไปจน REMและกลับมาระยะ1ใหม่
  • Stage 1 (light sleep) ระยะนี้ยังหลับไม่สนิทครึ่งหลับครึ่งตื่น ปลุกง่าย ช่วงนี้อาจจะมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า hypnic myoclonia มักจะตามหลังอาการเหมือนตกที่สูง ระยะนี้ตาจะเคลื่อนไหวช้า
  • Stage 2 (so-called true sleep).ระยะนี้ตาจะหยุดเคลื่อนไหวคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ rapid waves เรียก sleep spindles
  • Stage 3 คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีลักษณะ delta waves และ Stage 4ระยะนี้เป็นระยะที่หลับสนิทที่สุดคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นแบบ delta waves ทั้งหมด ระยะ3-4 จะปลุกตื่นยากที่สุดตาจะไม่เคลื่อนไหวร่างกายจะไม่เคลื่อนไหว เมื่อปลุกตื่นจะงัวเงีย
  1. การนอนช่วง Rapid eye movement (REM) sleep จะเกิดภายใน 90 นาที หลังจากนอนช่วงนี้เมื่อทดสอบคลื่นสมองจะเหมือนคนตื่น ผู้ป่วยจะหายใจเร็ว ชีพขจรเร็ว กล้ามเนื้อไม่ขยับ อวัยวะเพศแข็งตัว เมื่อคนตื่นช่วงนี้จะจำความฝันได้

เราจะใช้เวลานอนร้อยละ50ใน Stage 2 ร้อยละ 20ในระยะ REM ร้อยละ30 ในระยะอื่นๆ การนอนหลับครบหนึ่งรอบใช้เวลา 90-110นาที คนปกติต้องการนอนวันละ 8 ชั่วโมงโดยหลับตั้งค่ำจนตื่นในตอนเช้า คนสูงอายุการหลับจะเปลี่ยนไปโดยหลับกลางวันเพิ่มและตื่นกลางคืน จำนวนชั่วโมงในการนอนหลับแต่ละคนจะไม่เหมือนกันบางคนนอนแค่วันละ 5-6 ชั่วโมงโดยที่ไม่มีอาการง่วงนอน

อาการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับไม่ใช่โรคแต่เป็นภาวะหลับไม่พอทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น บางคนอาจจะหลับยากใช้เวลามากว่า 30นาทียังไม่หลับ บางคนตื่นบ่อยหลังจากตื่นแล้วหลับยาก บางคนตื่นเช้าเกินไป ทำให้ตื่นแล้วไม่สดชื่น ง่วงเมื่อเวลาทำงาน อาการนอนไม่หลับมักจะเป็นชั่วคราวเมื่อภาวะกระตุ้นหายก็จะกลับเป็นปกติแต่ถ้าหากมีอาการเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการเรื้อรัง

การวินิจฉัย

แพทย์จะถามคำถาม 4คำถามได้แก่

  • ให้อธิบายว่ามีปัญหานอนไม่หลับเป็นอย่างไร
  • นอนไม่หลับเป็นมานานเท่าใด
  • เป็นทุกทุกคืนหรือไม่
  • สามารถทำงานตอนกลางวันได้หรือไม่

แพทย์จะค้นหาว่าอาหารนอนไม่หลับนั้นเกิดจากโรค จากยา หรือจากจิตใจ

คนเราต้องการนอนวันละเท่าใด

ความต้องการการนอนไม่เท่ากันในแต่ละคนขึ้นกับอายุ ทารกต้องการนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่นต้องการวันละ 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ต้องการวันละ 7-8 ชั่วโมง แต่คนบางคนก็อาจจะต้องการนอนน้อยเหลือเพียงวันละ 5 ชั่วโมง หากนอนไม่พอร่างกายต้องการการนอนเพิ่มในวันรุ่งขึ้น

เราอาจจะทราบว่านอนไม่พอโดยดูจาก

  • เวลาทำงานคุณมีอาการง่วงหรือซึมตลอดวัน
  • อารมณ์แกว่งโกรธง่ายโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอกับครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน
  • หลับภายใน 5 นาทีหลังจากนอน
  • บางคนอาจจะหลับขณะตื่นโดยที่ไม่รู้ตัว

ทั้งหมดเป็นการแสดงว่าคุณนอนไม่พอคุณต้องเพิ่มเวลานอนหรือเพิ่มคุณภาพของการนอน

การนอนหลับจำเป็นอย่างไรต่อร่างกาย

 ร่างกายเราเหมือนเครื่องจักรทำงานตลอดเวลาการนอนเหมือนให้เครื่องจักรได้หยุดทำงาน สะสมพลังงานและขับของเสียออก การนอนจึงจำเป็นสำหรับร่างกายมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีการศึกษาว่าการนอนไม่พอจะมีอันตรายการประสานระหว่างมือและตาจะเหมือนกับผู้ที่ได้รับสารพิษ ผู้ที่นอนไม่พอหากดื่มสุราจะทำให้ความสามารถลดลงอ่อนเพลียมาก การดื่มกาแฟก็ไม่สามารถทำให้หายง่วง

มีการทดลองในหนูพบว่าหากนอนไม่พอหนูจะมีอายุสั้น ภูมิคุ้มกันต่ำลง สำหรับคนหากนอนไม่พอจะมีอาการง่วงและไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ความสามารถในการคำนวณด้อยลง หากยังนอนไม่พอจะมีอาการภาพหลอน อารมณ์จะแกว่ง การนอนไม่พอเป็นสาเหตุของอุบัติต่างๆ เชื่อว่าเซลล์สมองหากไม่ได้นอนจะขาดพลังงานและมีของเสียคั่ง นอกจากนั้นการนอนหลับสนิทจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (growth hormone)

จะปรึกษาแพทย์เมื่อไร

ถ้าหากอาการนอนไม่หลับเป็นมากกว่า 1 สัปดาห์ หรือทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลากลางวัน ก่อนพบแพทย์ควรทำตารางสำรวจพฤติกรรมการนอนประมาณ 10 วันเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย ในการรักษาแพทย์จะแนะนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการนอน ถ้าไม่ดีจึงจะให้ยานอนหลับ

การนอนหลับอย่างพอเพียงทั้งระยะเวลา และคุณภาพของการนอนหลับจะเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีเหมือนกับการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และการออกกำลังกาย 

           

 

guest

Post : 2013-12-07 05:15:45.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ความเครียด

 ความเครียด

ความเครียดสามารถเกิดได้ทุกแห่งทุกเวลาอาจจะเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงานความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจากภายในผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่งหรือความเจ็บป่วย

เครียดความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกาย ให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดี มันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิต ซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย

ชนิดของความเครียด

  1. Acute stress คือความเครียดที่เกิดขึ้นทันที และร่างกายก็ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันทีเหมือนกัน โดยมีการหลั่งฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับสู่ปกติเหมือนเดิมฮอร์โมนก็จะกลับสู่ปกติ ตัวอย่างความเครียด
  • เสียง
  • อากาศเย็นหรือร้อน
  • ชุมชนที่คนมากๆ
  • ความกลัว
  • ตกใจ
  • หิวข้าว
  • อันตราย
  1. Chronic stress หรือความเครียดเรื้อรังเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้น ซึ่งเมื่อนานวันเข้าความเครียดนั้นก็จะสะสมเป็นความเครียดเรื้อรัง ตัวอย่างความเครียดเรื้อรัง
  • ความเครียดที่ทำงาน
  • ความเครียดที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • ความเครียดของแม่บ้าน
  • ความเหงา

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียด

เมื่อมีภาวะกดดันหรือความเครียดร่างกายจะฮอร์โมนที่เรียกว่า cortisol และ adrenaline ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นเร็วเพื่อเตรียมพร้อมให้ร่างกายแข็งแรง และมีพลังงานพร้อมที่จะกระทำเช่นการวิ่งหนีอันตราย การยกของหนีไฟถ้าหากได้กระทำฮอร์โมนนั้นจะถูกใช้ไป ความกดดัน หรือความเครียดจะหายไป แต่ความเครียดหรือความกดดันมักจะเกิดขณะที่นั่งทำงาน ขับรถ กลุ่มใจไม่มีเงินค่าเทอมลูก ความเครียดหรือความกดดันไม่สามารถกระทำออกมาได้เกิดโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้ฮอร์โมนเหล่านั้นสะสมในร่างกายจนกระทั่งเกิดอาการทางกายและทางใจ

ผลเสียต่อสุขภาพ

ความเครียดเป็นสิ่งปกติที่สามารถพบได้ทุกวัน หากความเครียดนั้นเกิดจากความกลัวหรืออันตราย ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจะเตรียมให้ร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้ อาการทีปรากฏก็เป็นเพียงทางกายเช่นความดันโลหิตสูงใจสั่น แต่สำหรับชีวิตประจำวันจะมีสักกี่คนที่จะทราบว่าเราได้รับความเครียดโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง การที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังทำให้เกิดอาการทางกาย และทางอารมณ์ อ่านรายละเอียดที่นี่

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากความเครียด

 คุณมีความเครียดหรือไม่

ถามตัวคุณเองว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่

อาการแสดงทางร่างกาย

มึนงง ปวดตามกล้ามเนื้อ กัดฟัน ปวดศีรษะ แน่นท้อง เบื่ออาหาร นอนหลับยาก หัวใจเต้นเร็ว หูอื้อ มือเย็น อ่อนเพลีย ท้องร่วง ท้องผูก จุกท้อง มึนงง เสียงดังให้หู คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่อิ่ม ปวดท้อง

อาการแสดงทางด้านจิตใจ

วิตกกังวล ตัดสินใจไม่ดี ขี้ลืม สมาธิสั้น ไม่มีความคิดริเริ่ม ความจำไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

อาการแสดงทางด้านอารมณ์

โกรธง่าย วิตกกังวล ร้องไห้ ซึมเศร้า ท้อแท้ หงุดหงิด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย นอนไม่หลับ กัดเล็บหรือดึงผมตัวเอง

อาการแสดงทางพฤติกรรม

รับประทานอาหารเก่ง ติดบุหรี่สุรา โผงผาง เปลี่ยนงานบ่อย แยกตัว

อาการของความเครียด

การแก้ไขเมื่ออยู่ในภาวะที่เครียดมาก

โรคทางกายที่เกิดจากความเครียด

โรคทางเดินอาหาร

โรคปวดศีรษะไมเกรน

โรคปวดหลัง

โรคความดันโลหิตสูง

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหัวใจ

ติดสุรา

โรคภูมิแพ้

โรคหอบหืด

ภูมิคุ้มกันต่ำลง

เป็นหวัดง่าย

อุบัติเหตุขณะทำงาน

การฆ่าตัวตายและมะเร็ง

หากท่านมีอาการเครียดมากและแสดงออกทางร่างกายดังนี้

  • อ่อนแรงไม่อยากจะทำอะไร
  • มีอาการปวดตามตัว ปวดศีรษะ
  • วิตกกังวล
  • มีปัญหาเรื่องการนอน
  • ไม่มีความสุขกับชีวิต
  • เป็นโรคซึมเศร้า

ให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ 10 ประการ

  1. ให้นอนเป็นเวลาและตื่นเป็นเวลา เวลาที่เหมาะสมสำหรับการนอนคือเวลา 22.00น.เมื่อภาวะเครียดมาก จะทำให้ความสามารถในการกำหนดเวลาของชีวิต( Body Clock )เสียไป ทำให้เกิดปัญหานอนไม่หลับหรือตื่นง่าย การกำหนดเวลาหลับและเวลาตื่นจะทำให้นาฬิกาชีวิตเริ่มทำงาน และเมื่อความเครียดลดลง ก็สามารถที่จะหลับได้เหมือนปกติ ในการปรับตัวใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ บางครั้งเมื่อไปนอนแล้วไม่หลับเป็นเวลา 45 นาที ให้หาหนังสือเบาๆมาอ่าน เมื่อง่วงก็ไปหลับ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือให้ร่างกายได้รับแสงแดดยามเช้า เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายปรับเวลา
  2. หากเกิดอาการดังกล่าวต้องจัดเวลาให้ร่างกายได้พัก เช่นอาจจะไปพักร้อน หรืออาจจะจัดวาระงาน งานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วนก็ให้หยุดไม่ต้องทำ
  3. ให้เวลากับครอบครัวในวันหยุด อาจจะไปพักผ่อนหรือรับประทานอาหารนอนบ้าน
  4. ให้เลื่อนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆในช่วงนี้ เช่นการซื้อรถใหม่ การเปลี่ยนบ้านใหม่ การเปลี่ยนงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดความเครียด
  5. หากคุณเป็นคนที่ชอบทำงานหรือชอบเรียนให้ลดเวลาลงเหลือไม่เกิน 40 ชม.สัปดาห์
  6. การรับประทานอาหารให้รับประทานผักให้มากเพราะจะทำให้สมองสร้าง serotoninเพิ่มสารตัวนี้จะช่วยลดความเครียด และควรจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ
  7. หยุดยาคลายเครียด และยาแก้โรคซึมเศร้า
  8. ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอาจจะมีการเต้นรำด้วยก็ดี

หากปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวแล้วยังมีอาการของความเครียดให้ปรึกษาแพทย์

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเครียด

  • ความเครียดเหมือนกันทุกคนหรือไม่ สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในแต่ละคนไม่เหมือนกัน และการตอบสนองต่อความเครียดก็แตกต่างในแต่ละคน
  • ความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีจริงหรือไม่ ความเครียดเปรียบเหมือนสายกีตาร์ตึงไปก็ไม่ดี หย่อนไปเสียก็ไม่ไพเราะ เช่นกันเครียดมากก็มีผลต่อสุขภาพเครียดพอดีจะช่วยสร้างผลผลิต และความสุข
  • จริงหรือไม่ที่ความเครียดมีอยู่ทุกแห่งคุณไม่สามารถจัดการกับมันได้ แม้ว่าจะมีความเครียดทุกแห่งแต่คุณสามารถวางแผนที่จะจัดการกับงาน ลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนของงานเพื่อลดความเครียด
  • จริงหรือไม่ที่ไม่มีอาการคือไม่มีความเครียด ไม่จริงเนื่องจากอาจจะมีความเครียดโดยที่ไม่มีอาการก็ได ้และความเครียดจะสะสมจนเกินอาการ
  • ควรให้ความสนใจกับความเครียดที่มีอาการมากๆใช่หรือไม่ เมื่อเริ่มเกิดอาการความเครียดแม้ไม่มากก็ต้องให้ความสนใจ เช่นอาการปวดศีรษะ ปวดท้องเพราะอาการเพียงเล็กน้อยจะเตือนว่าคุณต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตเพื่อลดความเครียด
  • ความเครียดคือโรคจิตใช่หรือไม่ ไม่ใช่เนื่องจากโรคจิตจะมีการแตกแยกของความคิด บุคลิคเปลี่ยนไปไม่สามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติ
  • ขณะที่มีความเครียดคุณสามารถทำงานได้อีก แต่คุณต้องจัดลำดับก่อนหลังและความสำคัญของงาน
  • ไม่เชื่อว่าการเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียด การเดินจะช่วยผ่อนคลายความเครียดนั้น
  • ความเครียดไม่ใช่ปัญหาเพราะเพียงแค่สูบบุหรี่ความเครียดก็หายไป การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราจะทำให้ลืมปัญหาเท่านั้น นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาแล้วยังก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

เมื่อใดต้องปรึกษาแพทย์

  • เมื่อคุณรู้สึกเหมือนคนหลงทางหาทางแก้ไขไม่เจอ
  • เมื่อคุณกังวลมากเกินกว่าเหตุและไม่สามารถควบคุม
  • เมื่ออาการของความเครียดมีผลต่อคุณภาพชีวิตเช่นการนอน การรับประทานอาหารงานที่ทำความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง

                   

guest

Post : 2013-12-07 05:13:39.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรควัวบ้า

 โรควัวบ้า Creutzfeldt-Jakob Disease

โรควัวบ้าเป็นโรคที่เกิดกับระบบประสาทของวัว เมื่อคนรับประทานจะได้รับเชื้อวัวบ้า และจะติดโรค

โรควัวบ้าคืออะไร

โรควัวบ้า Bovine Spongioform Encephalopathy (BSE) เป็นโรคที่เกิดกับระบบประสาทของวัว เกิดจากโปรตีนตัวหนึ่งที่เรียกว่า prion โดยเกิดการระบาดในประเทศอังกฤษเมื่อปี 1986 พบวัวเสียชีวิตจำนวน 168000 ตัว เกิดจากวัวเหล่านี้ได้รับเนื้อ และกระดูกป่นจากแพะที่ตายจากโรค scrapie-containing sheep ซึ่่งมีสาร prion

 

โมเลกุลของprion

 

 

 สำหรับคนพบว่ามีโรคที่ลักษณะคล้าย BSEคือโรค
Creutzfeldt-Jakob disease (CJD) หรือโรคสมองฝ่อพบได้ไม่บ่อย แต่เป็นแล้วเสียชีวิตทุกราย มักจะเป็นตอนอายุ 50-70 ปี และผู้ป่วยส่วนใหญ่เสียชีวิตใน 1 ปี อาการจะเริ่มด้วยความจำเสื่อม พฤติกรรมเปลี่ยนไป เครียด มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เมื่อโรคดำเนินต่อผู้ป่วยจะมีอาการสับสน ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหว ตาบอด กล้ามเนื้ออ่อนแรง โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด พบประมาณ 1/1000000 คน

 

พบวัวบ้าในคนบ้างหรือไม

 

ในประเทศอังกฤษพบโรค new variant CJD ประมาณ 10 คนซึ่งต่างจาก CJD คือเกิดในคนที่อายุน้อยกว่า(อายุเฉลี่ย 28 ปี) จะมีอาการทางจิตใจ เช่นสับสน นอนไม่หลับ บุคลิกเปลี่ยน กลัวง่าย ส่วนอาการทางประสาท เช่นเดินเซ ความจำเสื่อม หรือกระตุกของแขนขาซึ่งพบระยะหลังของโรค ระยะที่เป็นโรคประมาณ 9 เดือนจึงเสียชีวิต ส่วนของสมองที่มีรูพรุนคือส่วนของ basal ganglia  cerebellum และ thalamus นอกจากนี้ยังได้นำ prion ของโรค BSE และ prion จากโรค nv CJD มาวิเคราะห์พบว่าโครงสร้างเหมือนกันทำให้เชื่อว่า คนเป็นโรคเกิดจากรับประทานสารม prion จากผลิตภัณฑ์ของวัว

โรควัวบ้าพบในประเทศไหนบ้าง

นอกจากอังกฤษแล้วยังพบโรควัวบ้าที่ประเทศ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ โอมาน อิตาลี เดนมาร์ก แคนาดา เยอรมัน

คนเป็นโรควัวบ้าได้กี่วิธี

จากระบาดวิทยาคนสามารถเป็นโรควัวบ้าได้ 3 วิธี

  1. Sporadic Creutzfeldt-Jakob Disease หมายถึงคนเป็นโรควัวบ้าโดยที่ไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร
  2. Inherited Creutzfeldt-Jakob Disease ผู้ป่วยมักจะมีประวัติครอบครัวโดยมีการกลายพันธ์ของพันธุกรรมพบในประเทศ ชิลี
  3. Creutzfeldt-Jakob Disease Through Infection แม้ว่าโรคนี้จะมีสาเหตุจาก prion แต่สมาชิกในครอบครัวก็ไม่ต้องกลัวเพราะไม่สามารถติดต่อโดยการสัมผัส ผู้ป่วยส่วนหนึ่งได้รับเชื้อจากการผ่าตัดเปลี่ยนแก้วตา การผ่าตัดใส่ dura mater  การฉีดฮอร์โมนที่เตรียมจากสมอง ที่ประเทศอังกฤษเริ่มพบโรควัวบ้าในวัวตั้งแต่ปี 1986 โดยวัวเหล่าไดรับอาหารโปรตีนจากซากแพะที่เป็นโรค scrapie-infected sheep ปี 1990-1994 พบว่ามีอัตราการเพิ่มของโรควัวบ้าในอังกฤษ 2 เท่านอนจากนั้นยังพบผู้ป่วยโรควัวบ้า 10 คนที่มีอายุน้อยกว่า 42 ปี 5 คนมีความสัมพันธ์กับเนื้อวัว จึงเชื่อว่าเกิดจากการรับประทานเนื้อวัวที่เป็นโรค

อาการของโรควัวบ้าเป็นอย่างไร

อาการเริ่มแรกจะสังเกตว่าคนใกล้ชิดง่วงนอน เบื่ออาหาร เมื่อยล้า ผู้ป่วยจะแยกตัวออกจากสังคม ไม่สนใจตัวเอง ต่อมามีความจำเสียเช่นจำชื่อญาติสนิทไม่ได้ จำเบอร์โทรไม่ได้  ต่อไปจะซึมเศร้า และสับสนอารมณ์จะหวั่นไหว ผู้ป่วยจะพูดลำบากมีอาการนอนไม่หลับ  ผู้ป่วยจะมีอาการจะบังคับกล้ามเนื้อให้ประสานกันลำบาก มือสั่น ทรงตัวไม่ได้ หกล้มบ่อย และการตัดสินใจผิดไปและมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาเรื่องนอนหลับทั้งวันและมีการกระตุกของแขนขา (myoclonus )ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม และซึมเศร้า ตลอดการเจ็บป่วยจะไม่มีไข้ ระยะท้ายของโรคขึ้นผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ มีการกระตุกของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า myoclonus ตาบอด ไม่สามารถพูด coma นอนบนเตียง ไม่สามารถกลืนอาหารและเสียชีวิตบางรายเสียชีวิตตั้งแต่เริ่มเกิดอาการจนเสียชีวิตใช้เวลา ปีครึ่ง- สอง ปี

การวินิจฉัยโรควัวบ้า

โรคนี้มีปัญหาในการวินิจฉัยยังไม่การทดสอบใดที่สามารถจะวินิจฉัยโรคได้ เมื่อแพทย์สงสัยโรคนี้แพทย์จะตรวจหาโรคที่รักษาได้ เช่น สมองอักเสบ [encephalitis] เยื่อหุ้มสมองอักเสบ [meningitis] แพทย์จะตรวจตามขั้นตอน

  • ตรวจร่างกายโดยละเอียด
  • เจาะไขสันหลังเพื่อนำน้ำไขสันหลังมาตรวจ
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง electroencephalogram (EEG)
  • ตรวจ Computerized tomography ของสมอง

การวินิจฉัยมักได้หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตโดยการตัดชิ้นเนื้อสมองตรวจ หรือตรวจสมองทั้งอันซึ่งจะมีลักษณะเป็นรูพรุนเหมือนฟองน้ำ

 

ภาพแสดงสมองที่เหมือนฟองน้ำเป็นรูพรุนเหมือนฟองน้ำ

 

สมองคนที่เป็นโรค CJD

 

สมองคนที่เป็นโรค Kuru

 

สมองของวัวที่เป็นโรค BSE

 

สมองของแพะที่เป็นโรค

การรักษาโรควัวบ้า

 

ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผล การรักษาเป็นแค่บรรเทาอาการเท่านั้น

 

 

สาเหตุของโรควัวบ้า

 

ไม่ใช่ทั้งเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งเรียก prion ไม่มี DNA หรือ RNA ทำลายได้ยาก โปรตีน prion อาจจะได้รับจากสัตว์ หรืออาจจะเกิดกลายพันธ์ [mutation]ได้เอง

 

 

  • Spongiform Encephalopathy Advisory Committee (SEAC) ของประเทศอังกฤษแนะนำว่าน้ำนมไม่ทำให้ความเสี่ยงของโรค BSE เพิ่มขึ้น
  • การได้รับฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง pituitary-derived hormones เช่น ฮอร์โมนที่ช่วยในการเติบโต Pituitary-derived growth hormone และฮอร์โมนที่ใช้ในคลินิกที่มีบุตรยาก pituitary derived gonadotrophins จะทำให้เกิดโรค CJD เพิ่ม
  • การผ่าตัดเปลี่ยนแก้วตาจากคนที่เป็นโรคทำให้คนที่ได้รับแก้วตาเป็นโรควัวบ้าได้
  • จนกระทั่งขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าการให้เลือดจะเพิ่มอัตราของการเกิดโรค nv CJD ก็ตามแนะนำว่าไม่ควรรับบริจาคเลือดกับกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเช่น ผู้ที่เคยได้รับ Pituitary-derived growth hormone,pituitary derived gonadotrophins

การติดต่อ

 

 

CJD ไม่ใช่โรคติดต่อทางอากาศ การสัมผัสปกติ เช่นการจับมือ ก็ไม่ติดต่อ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็ไม่มีอัตราการติดเชื้อมากกว่าปกติ แต่อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส สมอง หรือน้ำไขสันหลัง ในยุโรปพบโรควัวบ้าในผู้ป่วยอายุน้อยเชื่อว่าเกิดจากการรับประทานเนื้อวัวที่มีเชื้อนี้อยู่

การป้องกันโรค

 

เนื่องจากเชื้อโรคนี้ไม่สามารถถูกทำลายโดยวิธีการต้ม นึ่งหรือการใช้วิธีใดๆดังนั้นผู้ที่ทำงานกับผู้ป่วยต้องป้องกันดังนี้

 

 

  • ล้างมือ หรือผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับผู้ป่วยก่อนดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่
  • ปิดแผลด้วยวัสดุกันน้ำ
  • สวมถุงมือเมื่อต้องจับผู้ป่วย
  • ให้ใช้เสื้อผ้า หรือกระโถนที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งทำลาย แต่ถ้าไม่มีให้แช่ chlorine เข็มข้นมากกว่า 1 ชั่วโมง
  • สวมผ้ากันจมูก หรือแว่นตาเมื่อต้องตรวจพิเศษและอาจจะมีการกระเด็นของเลือดหรือน้ำเหลือง
  • เครื่องมือให้แช่ chlorine เข้มข้นและอบ autoclave
  • ผู้ทีสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ห้ามบริจาคเลือดหรืออวัยวะ

 อวัยวะส่วนไหนของวัวที่เป็นโรคหากรับประทานแล้วมีโอกาสติดเชื้อได้สูง

เอาสาร prion จากวัวที่เป็นโรคฉีดเข้าสมองหนูแล้วดูว่ามีการเป็นโรคสมองฝ่อหรือไม่ผลสรุปพบว่า ส่วนสมอง ไขสันหลังspinal cord และจอประสาทตา retina จะทำให้เกิดการติดเชื้อในสมองหนู อวัยวะส่วนอื่นยังไม่พบว่าหลังจากฉีดแล้วหนูไม่ติดเชื้อดังตารางข้างล่าง

Blood

 - Buffy Coat
 - Clotted blood
 - Foetal Calf blood
 - Serum

  

Cerebrospinal fluid

  

  

Fat

 - Midrum

  

Gastro intestinal tract

 - Abomasum

  

 - Colon:

distal
proximal

 - Oesophagus

  

 - Omasum

  

 - Small intestine:

distal
proximal

 - Rectum

  

 - Reticulum

  

 - Rumen:

Oesophageal groove
Pillar

Heart

  

  

Kidney

  

  

Liver

  

  

Lung

  

  

Lymph nodes

 - Mesenteric

  

  

 - Prefemoral

  

 - Retropharyngeal

  

Muscle

 - Musculus (M.)

semitendinosus
M.diaghragma
M.longissimus
M.masseter

Nerves

 - Cauda equina

  

 - Peripheral nerves:

N.sciaticus (proximal)
N.splanchnic
N.tibialis

Pancreas

  

  

Reproductive

FEMALE
 - Milk
 - Ovary
 - Placental Cotyledon
 - Placental fluids:
     Amniotic fluid
     Allantoic fluid
 
- Udder
 - Uterine caruncle

MALE
 - Epididymis
 - Prostate
 - Semen
 - Seminal Vesicle
 - Testis

Skin

  

  

Spleen

  

  

Trachea

  

  

Tonsil

  

  


 

guest

Post : 2013-12-07 05:10:21.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคอัลไซเมอร

 

 
 

โรคสมองเสื่อม | โรคอัลไซเมอร์ |dementia | alzheimers

ทุกท่านคงเคยได้ยิน ได้ฟัง เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ แต่จะรู้จักมากน้อยแค่ไหน สงสัยว่าตนเองหรือญาติป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ และจะทำอย่างไรต่อไป เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้สักหน่อยดีไหม

อัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด โดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วนเป็นแล้วไม่มีวันหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกทุกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด  ในสหรัฐประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า3-4 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น กล่าวคือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี หลังอายุ 60 ปี

แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษา ญาติสามารถช่วยผู้ป่วยโดยการศึกษาโรคนี้และช่วยผู้ป่วยอย่างถูกวิธี

สาเหตุของโรค 

  1. จากความผิดปกติในเนื้อสมองจะพบลักษณะที่สำคัญสองอย่างคือกลุ่มใยประสาทที่พันกัน Neurofibrillary Tangles.และมีสาร Beta Amyloid ในสมอง ใยสมองที่พันกันทำให้สารอาหารไม่สามารถไปเลี้ยงสมอง การที่สมองมีคราบ Beta Amyloid หุ้มทำระดับ acetylcholine สมองลดลงสาร acetylcholine จะมีส่วนสำคัญในเรื่องการเรียนรู้และความจำ
  2. การอักเสบ inflammatory สาร amyloid เมื่อสลายจะให้สารอนุมูลอิสระออกมา อนุมูลนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง
  3. กรรมพันธุ์ โรค Alzheimer ทีเกิด late onset จะมีการเพิ่มของ gene ที่ควบคุมการสร้าง apolipoprotein E4 (ApoE 4) ส่วนที่เกิด early onset จะมีการเปลี่ยนแปลงของ gene presenilin-1 (PS1) และ presenelin-2 (PS2)

อาการเด่นของโรคอัลไซเมอร์ ก็คือ ความจำเสื่อมหรือ หลงลืม เรื่องที่ลืมก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมปิดเตารีด ลืมกินยา  หรือใครมาพบวันนี้ ลืมชื่อคน ลืมของ หาของใช้ส่วนตัวไม่พบ ชอบพูดซ้ำ ถามคำถามซ้ำ เพราะจำคำตอบไม่ได้ มีปัญหาเรื่องการพูดและการใช้ภาษา คือจะคิดคำศัพท์บางคำไม่ออก ใช้คำใกล้เคียงแทน สติปัญญาความเฉลียวฉลาดลดลง ทักษะต่างๆ จะเริ่มสูญไป อารมณ์หงุดหงิด และอาจท้อแท้ เพราะอาการดังกล่าว

การดำเนินโรค

อาการจะเริ่มเป็นตอนอายุ 65 ปี แต่บางรายเป็นเร็วกว่านั้นอาจจะเริ่มตอนอายุ 40 ปีอาการเริ่มเป็นใหม่ๆจะมีอาการขี้ลืม และสูญเสียสมาธิ ซึ่งอาการแรกๆอาจจะวินิจฉัยยากเพราะอาการนี้ก็เป็นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ การดำเนินโรคจะค่อยเป็นค่อยไป และทรุดลงในช่วงระยะ 1-3 ปี มีปัญหาเรื่องวันเวลาสถานที่ และอาจหลงทางกลับบ้านไม่ถูก ลืมชื่อญาติสนิท หวาดระแวง สับสน โดยเฉพาะกลางคืนอาจไม่นอนทั้งคืน จะออกนอกบ้าน และมีพฤติกรรมก้าวร้าว บางคนก็กลับเปลี่ยนไป เป็นไม่สนใจสิ่งแวดล้อม งดงานอดิเรกที่เคยทำ เช่น เก็บกวาดต้นไม้ หรือดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ ส่วนหนึ่งเพราะดูและอ่านไม่ค่อยเข้าใจ คิดคำนวณไม่ได้ ใช้จ่ายทอนเงินไม่ถูก เมื่อเวลาผ่านไปอีก 2-3 ปี อาการยิ่งทรุดหนัก ความจำเลวลงมาก จำญาติไม่ได้ เคลื่อนไหวช้าลง ไม่ค่อยยอมเดิน หรือเดินก็เหมือนก้าวขาไม่ออก ลังเล ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง เช่นอาบน้ำ แปรงฟัน รับประทานอาหารไม่ได้ พูดน้อยลง ไม่เป็นประโยค ที่สุดก็ไม่พูดเลย กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ต้องมีคนดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลา 2-10 ปี โดยเฉลี่ย 10 ปี ด้วยโรคแทรก เช่น ติดเชื้อจากปอดบวม หรือแผลกดทับ

โรค Alzheimer สามารถแบ่งระยะของโรคได้ 3 ระยะได้แก่

  1. ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะรับรู้ว่าขี้ลืม ลืมปิดเตารีด ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน ลืมรับประทานยา ต้องให้คนช่วยเขียนรายการที่จะทำ
  2. ระยะที่สองผู้ป่วยจะสูญเสียความจำโดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดใหม่ๆโดยอาจจะจำเรื่องราวในอดีต เริ่มใช้คำพูดไม่ถูกต้อง อารมณ์จะผันผวน
  3. ระยะที่สาม ผู้ป่วยจะสับสน ไม่รู้วันรู้เดือน บางรายมีอาการหลงผิด หรือเกิดภาพหลอน บางรายอาจจะก้าวร้าวรุนแรง ปัสสาวะราด ไม่สนใจตนเอง

อันที่จริงโรคนี้มีมานานแล้วโดย Dr. Alois Alzheimer เป็นแพทย์ชาวเยอรมันเป็นผู้บรรยายไว้ตั้งแต่ปี คศ.1906 ที่นำมากล่าวขานกันระยะหลังนี้มากขึ้น ด้วยเหตุมีผู้ที่เคยเป็นผู้นำประเทศอย่าง Ronald Reagan ป่วยเป็นโรคนี้ และ วงการแพทย์ค้นพบปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้มากขึ้น ที่สำคัญคือ สามารถผลิตยาที่ช่วยทำให้อาการของอัลไซเมอร์ดีขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงคือ 

  1. อายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมากดังกล่าว พบว่าร้อยละ25ของผู้ป่วยอายุ 85ปี เป็นโรคนี้
  2. โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ การรักษาความดันจะทำให้ความจำดีขึ้น
  3.  เรื่องของกรรมพันธุ์ ถ้ามีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โอกาสที่จะเป็นก็มากขึ้น เรื่องพันธุกรรมนี้มีความก้าวหน้าขึ้นมาก เช่น ทราบว่าความผิดปกติของยีน (gene) ที่สร้าง amyloid precursor protein จะทำให้ได้โปรตีนที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดตะกอนที่เรียกว่า amyloid plaques ในเนื้อสมอง และผู้ที่มี gene บนโครโมโซมที่ 19 ชนิด Apolipoprotein E4 จะมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้ ยังพบโปรตีนที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น Tau protein ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary tangles) ที่พบเป็นลักษณะจำเพาะของพยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์

ยากับโรคอัลไซเมอร์

การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เริ่มมีความสำคัญ ในต่างประเทศพบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่รับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจนมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์น้อยกว่า และเป็นโรคช้ากว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยานี้

ยากลุ่มต้านการอักเสบที่เรียกว่า NSAID ก็พบว่า อาจมีบทบาทลดอุบัติการณ์ของโรค เนื่องจากพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์มีประวัติใช้ยากลุ่มนี้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็น นอกจากนี้ยาหรือสารต้านอ๊อกซิแดนท์ต่างๆ เช่น วิตามิน C และ E รวมถึงใบแปะก๊วย (gingo bibloa) ก็กำลังอยู่ในความสนใจ และมีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง ว่าอาจจะช่วยหรือป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีปริมาณเซลล์สมองลดลง และสารสื่อประสาท อะเซติลโคลีนลดลงด้วย สารสื่อประสาทนี้เป็นตัวเชื่อมโยงคำสั่งต่างๆ ของเซลล์สมองที่ควบคุมด้านความจำ ความคิดอ่านและพฤติกรรมต่างๆ เมื่อสารอะเซติลโคลีนลดลง จึงทำให้เกิดอาการต่างๆของโรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบันมียาที่ช่วยเพิ่มปริมาณของสารอะเซติลโคลีนในสมอง โดยออกฤทธิ์ต้านเอ็นไซม์อะเซติลโคลีนเอสเตอเรสที่ย่อยสลายอะเซติลโคลีน ยานี้จึงช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีอาการดีขึ้นได้ และชลอการทรุดลงของโรคถ้าได้ใช้ในระยะเริ่มแรก แต่จะไม่ทำให้โรคหายขาด

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องให้ความเข้าใจ เห็นใจ ว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะก้าวร้าว หงุดหงิดอย่างที่เราเห็น แต่เป็นจากตัวโรคเอง ไม่ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ อาย หรือหงุดหงิด เช่น ถ้าคุยอะไรแล้วผู้ป่วยนึกไม่ค่อยออกหรือจำไม่ได้ ควรเปลี่ยนเรื่อง เอาเรื่องที่คุยแล้วมีความสุข ผู้ป่วยไม่สามารถคิดเลขได้ ไม่สามารถเล่นดนตรีแต่สามารถร้องเพลงพร้อมกับวิทยุ เล่นหมากรุกไม่ได้ แต่สามารถเล่นเทนนีสได้ หรือถ้ามีความคิดอะไรผิดๆ ไม่ควรเถียงตรงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็อาจไม่ต้องอธิบายมาก เนื่องจากจะทำให้หงุดหงิด และหมดความมั่นใจ

ควรจัดห้องหรือบ้านให้น่าอยู่ สดใส ใช้สีสว่างๆ ถ้าในรายที่ชอบเดินไปมามากๆ ต้องใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรืออาจใช้การพาดเสื้อผ้า ไว้ที่ลูกบิดประตูเพื่อไม่ให้เห็นลูกบิด ต้องเก็บของมีคม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มิดชิด ปิดวาวล์เตาแก๊สไว้เสมอ เป็นต้น

ในรายที่มีอาการที่เริ่มจะดูแลยาก เช่น ก้าวร้าวมาก เอะอะโวยวาย สับสนมาก หรือ เดินออกนอกบ้านบ่อยๆ ควรพาไปพบแพทย์ระบบประสาท เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้ยาช่วยลดอาการดังกล่าว

การดูแลผู้ป่วยตามระยะของโรค

ผู้ป่วยในระยะแรก 

  • บอกการวินิจฉัยให้แก่ผู้ป่วยเพื่อที่แพทย์จะสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เริ่มเป็น แพทย์ ผู้ที่ดูแล และผู้ป่วยจะต้องมาปรึกษาว่าจะเกิดภาวะอะไรกับผู้ป่วย เช่นความจำ อารมณ์เป็นต้น
  • อารมณ์ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่ผันผวนอย่างรวดเร็ว อาจจะกร้าวและโกรธจัด พฤติกรรมนี้เกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง และเกิดจากที่ผู้ป่วยสูญเสียความรู้และไม่สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัว และไม่สามารถใช้คำพูดได้อย่างเหมาะสมจึงทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่แปรปรวน ผู้ให้การดูแลต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้เรียบง่าย ให้เงียบ เวลาพูดกับผู้ป่วยต้องช้าๆ และให้ชัดเจน ไม่ให้ทางเลือกกับผู้ป่วยมากไปเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้ถูกต้อง เช่นให้ผู้ป่วยเลือกเสื้อผ้าเอง ผู้ป่วยไม่สามารถเลือกเสื้อผ้าให้เข้ากันซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโกรธ เมื่อผู้ป่วยโกรธ หรือตะโกนอาจจะหาของว่างให้รับประทาน หรือขับรถให้ผู้ป่วยเที่ยวซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสงบ ผู้ให้การบริการจะต้องมีอารมณ์ทีสงบ อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว
  • ความสะอาด ผู้ป่วยมักจะไม่อยากอาบน้ำ ผู้ป่วยอาจจะเลือกเสื้อผ้าไม่เหมาะสมผู้ดูแลอย่าโกรธ ต้องแสดงความเห็นใจ
  • การขับรถ เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ห้ามขับรถ ต้องป้องกันผู้ป่วยออกนอกบ้านโดยการ lock ประตูและอาจจะติดสัญญาณเตือนเมื่อผู้ป่วยออกนอกบ้านพยายามให้ผู้ป่วยออกกำลัง เช่นเดินครั้งละ 30 นาทีวันละ 3 ครั้งจะทำให้ผู้ป่วยเพลียและหลับง่าย
  • การนอนหลับ มีคำแนะนำให้เปิดไฟให้สว่างในเวลากลางวัน จะทำให้ผู้ป่วยหลับในเวลากลางคืน

การดูและในระยะท้ายของโรค

  • ผู้ป่วยจะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ หากมีอาการดังกล่าวจะต้องตรวจดูว่ามีโรคติดเชื้อหรือไม่ ผู้ดูแลสามารถกะเวลาปัสสาวะได้โดยกำหนดเวลา และปริมาณน้ำและอาหารที่ให้ และสามารถพาผู้ป่วยไปห้องน้ำได้ทัน
  • การเคลื่อนไหว ระยะท้ายผู้ป่วยจะจำไม่ได้ว่าเคลื่อนไหวอย่างไร จะนอนหรือนั่งรถเข็น ผู้ดูแลต้องคอยพลิกตัวผู้ป่วยทุกสองชั่วโมง ทำกายภาพบำบัดเพื่อแก้ข้อติด
  • การรับประทานอาหาร ผู้ป่วยจะกลืนอาหารไม่ได้ต้องให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลต้องระวังสำลักอาหาร

neuสรุป ข้อควรรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่

  1. อัลไซเมอร์เป็นโรค ไม่ใช่ภาวะสมองเสื่อมตามธรรมชาติ หรือตามอายุที่มากขึ้น
  2. สาเหตุยังไม่ทราบชัด แต่น่าจะมีส่วนจากพันธุกรรม อาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ดังนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน
  3. ขณะนี้ ยังไม่สามารถป้องกัน และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  4. การดูแล ความเห็นอกเห็นใจ และความเข้าใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วย
  5. ถ้ามีญาติที่เริ่มมีอาการหลงลืม ควรพบแพทย์ระบบประสาท อาจเป็นสาเหตุอื่นที่รักษาหายขาดได้
  6. โรคนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้ที่รู้สึกว่าหลงลืมบ่อยโดยที่อายุไม่มาก (20-50 ปี) มักเกิดจากสาเหตุอื่น ส่วนมากเกิดจากการพักผ่อนไม่พอ เครียด ไม่มีสมาธิ ควรแก้ไขสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่ดีขึ้นค่อยปรึกษาแพทย์ เพราะมักเป็นสาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้
  7. เนื่องจากยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่นอนการวินิจฉัยจะอาศัยหลัก 3ประการ
  • มีอาการสมองเสื่อม อาการจะเริ่มจากความจำเสื่อม การเรียนรู้เสียไป
  • อาการของโรคจะดำเนินต่อเนื่องไม่หาย
  • ต้องแยกภาวะหรือโรคอื่นที่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อม
  1. ไม่ควรกลัวโรคนี้จนเกินไป เนื่องจากขณะนี้มีการวิจัยเรื่องนี้มากมายทั่วโลก เชื่อว่าอีกไม่นานนัก อาจมียาที่รักษาหรือป้องกันได้
  2. ในทางการแพทย์ ยังไม่แนะนำให้ทานยาใดๆเพื่อป้องกัน เพราะมักไม่ได้ผล และยาหรือสมุนไพรหรืออาหารเสริมเหล่านี้ส่วนมากมีราคาแพง และมักโฆษณาเกินความจริง

หากท่านสงสัยว่าอาจเป็นอัลไซเมอร์ ควรมาพบประสาทแพทย์เพื่อรับการตรวจโดยละเอียด และวินิจฉัยแยกโรค เนื่องจากมีโรคหลายอย่างที่มีอาการความจำเสื่อม ซึ่งรักษาให้หายได้ เช่น โรคไทรอยด์ , ซิฟิลิสขึ้นสมอง หรือโรคขาดวิตามิน B12 เป็นต้น ถ้าหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็อย่าตกใจ เพราะแพทย์ช่วยท่านได้.


 

            

guest

Post : 2013-12-07 05:06:51.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 Miningitis โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สมองของคนจะมีเยื่อหุ้มสมองอยู่ 3 ชั้น เรียกว่า Mininges และมีน้ำไขสันหลังอยู่กลาง การอักเสบของเยื่อหุ้มสมองเรียกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Meningitis สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อไวรัสเป็นแล้วไม่รุนแรง แต่เชื้อแบคทีเรียเป็นแล้วรุนแรง

เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้โดยผ่านทางเสมหะ และน้ำมูก แต่คนที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ไม่เกิดโรค

สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุขึ้นกับอายุ

  • ในทารกแรกเกิดเชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ได้แก่ Group B streptococci, Listeria, or Escherichia coli
  • ด็กอายุ 2-12 ปีเชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Neisseria meningitidis and Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae

เชื้อแบคทีเรียบางชนิดหากได้รับจะมีโอกาสติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่น เชื้อ Neisseria meningitidis หรือไข้กาฬหลังแอ่นมักจะพบระบาดในสถานรับเลี้ยงเด็ก สำหรับเชื้อ Haemophilus influenzae สามารถป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน Hib vaccine

อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็งเป็นอาการที่สำคัญบางรายอาจจะมีอาการ ซึมลง  คลื่นไส้อาเจียนบางรายอาจจะมีผื่น รายที่เป็นมากๆจะมีอากรความดันโลหิตต่ำ

การตรวจวินิจฉัย

หากประวัติและการตรวจร่างกายเข้าได้กับเยื่อหุ้มสมองอักเสบแพทย์จะทำการตรวจ

  • เจาะเลือดตรวจเลือดทั่วไปคือ CBC
  • บางรายอาจจะเจาะหาเกลือแร่
  • แพทย์จะเจาะหลัง (spinal tap,lumbar puncture )เพื่อนำน้ำไขสันหลังไปตรวจ
  • บางรายแพทย์อาจสั่งตรวจ computer scan

การรักษา

    ถ้าเป็นเชื้อไวรัสแพทย์จะให้พัก และน้ำเกลือ

    ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม

การรักษาใช้เวลานานแค่ไหน

    ผู้ป่วยที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอาจจะต้องใช้ยาฉีด 10-14 วัน หลังจากหายจะต้องเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน เช่น หูหนวก ชัก หรือตาบอด

การป้องกัน

เชื้อส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่มีเชื้อบางชนิดสามารถป้องกันได้

  • ป้องกันเชื้อ Haemophilus influenzaeโดยการฉีดวัคซีน Hib vaccine
  • คนที่สัมผัสกับผู้ป่วยไข้กาฬหลังแอ่นให้รับประทานยาป้องกันการติดเชื้อ
  • วัคซีนป้องกันไข้กาฬหลังแอ่น ประเทศไทยยังไม่แนะนำ
  • วัคซีนป้องกันเชื้อปอดบวม pneumococcus สามารถป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ใหญ่แต่ไม่สามารถป้องกันในเด็ก

                              

guest

Post : 2013-12-07 05:04:31.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคพาร์กินสัน

 โรคพาร์กินสัน Parkinson

โรคพาร์กินสันเป็นที่รู้จักกันมานานระยะหลังคนดังระดับโลกก็เป็นโรคนี้กันหลายคน เช่นประธานาธิบดีเรแกน มูอะมัดอาลี และดารา โรคนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยแพทย์ชาวอังกฤษชื่อJame Parkinson ในปี ค.ศ.. 1817ซึ่งได้อธิบายกลุ่มอาการที่มีการสั่นของมือ และการเคลื่อนไหวน้อย ต่อมาปี ค.ศ..1960 ได้มีการค้นพบว่าเซลล์ของสมองไม่สามารถสร้างสารdopamine ได้อย่างเพียงพอง

สมองของคนประกอบไปด้วยส่วนต่างๆดังนี้

 

  1. forebrain หรือสมองส่วนควบคุมการเดิน
  2. brain stemหรือก้านสมอง,cerebellum หรือสมองน้อย
  3. caudate nucleus
  4. putamen
  5. amygdaloid body
  6. substantia nigra

การทำงานของสมอง

  • สมองส่วนหน้าหรือforebrain ส่วนนี้จะทำหน้าที่คิด จำ การควบคุมการเดิน อารมณ์ ความรู้สึก ทั้งหมดจะอยู่ที่สมองส่วนหน้า
  • สมองน้อยหรือcerebellum จะทำหน้าที่ประสานงานให้การทำงานของกล้ามเนื้อเป็นไปอย่างเรียบร้อย และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว
  • เนื้อสมองส่วน 3,4 เป็นส่วนที่ทำกล้ามเนื้อทำงานประสานกัน เช่นเมื่อกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งหดตัว กลุ่มตรงข้ามก็จะคลายตัว

โรคพาร์กินสันจะมีปัญหาการเสื่อมของสมองส่วนนี้ทำให้การสร้างสารdopamine น้อยลงคพาร์กินสันคืออะไร

โรคพาร์กินสันเป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วย

  • อาการสั่นTremor โดยมากสั่นที่มือ แขน ขา กราม หน้า
  • อาการเกร็งRigidity จะมีอาการเกร็งของแขนและลำตัว
  • การเคลื่อนไหวช้าหรือที่เรียกว่าBradykinesia ผู้ป่วยจะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายช้าลง
  • การทรงตัวเสียPostural instability
  • ผู้ป่วยมักจะไม่มีการเคลื่อนไหวที่เป็นปกติ เช่นการยิ้ม การกระพริบตา การแกว่งแขน
  • พูดลำบาก พูดช้าพูดลำบาก เสียงเบาไม่มีเสียงสูงหรือต่ำ
  • กลืนลำบาก

โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังและเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเดินลำบาก พูดลำบาก ไม่สามารถช่วยตัวเองได้

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

เซลล์สมอง[ neurone ]ในส่วนที่เรียกว่าsubstantia nigra จะสร้างสารเคมีที่เรียกว่าdopamine สารนี้จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมไปยังสมองส่วนที่เรียกว่า corpus striatum ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีกำลังและประสานกันได้อย่างดี หากเซลล์สมองส่วนนี้ไม่สามารถสร้างสารดังกล่าวได้อย่างเพียงพอการทำงานของกล้ามเนื้อจะไม่ประสานงานกัน มือจะกระตุก ไม่สามารถทำงานที่ต้องประสานงานของกล้ามเนื้อหลายๆมัด สำสาเหตุที่ทำให้เซลล์เหล่านี้ตายก่อนวัยอันควรยังไม่ทราบ แต่เท่าที่สันนิฐานได้คือ

  • พันธุ์กรรม ผู้ที่มีญาติสายตรงคนหนึ่งเป็นจะมีความเสี่ยงเพิ่ม 3 เท่า หกมีสองคนความเสี่ยงเพิ่มเป็น 10 เท่า
  • อนุมูลอิสระFree radicle จะทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้
  • มีสารพิษหรือToxin ซึ่งอาจจะได้รับจากอาหารหรือสิ่งแวดล้อมเช่น ยาฆ่าแมลง ทำลายเซลล์ประสาทส่วนนี้ carbon monoxide, alcohol, and mercury
  • พันธุกรรมโดยพบว่าผู้ป่วยร้อยละ15-20 มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการกลายพันธ์(mutation )ของโครโมโซมคู่ที่ 4 และ6ก็ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
  • เซลล์แก่ไวเกินไปโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ

นักวิจัยเชื่อการเกิดโรคนี้ต้องมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกันเริ่มแรกของโรคพาร์กินสันเป็นอย่างไร

เนื่องจากโรคนี้จะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบ บางคนอาจจะมีอาการปวดตามตัว เพลีย สั่นหรือลุกยาก ส่วนใหญ่มักจะวินิจฉัยได้จากการสังเกตของคนใกล้ชิดว่ามีอาการผิดปกติเช่น ใบหน้าไม่ยิ้ม มือสั่น เคลื่อนไหวของมือหรือแขนน้อย

อาการของโรคพาร์กินสัน

เมื่อโรคเป็นมากขึ้นผู้ป่วยก็จะเกิดอาการชัดเจนขึ้น อาการของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันอาการที่สำคัญได้แก่

  • อาการสั่นTremor อาการสั่นของผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีลักษณะเฉพาะ คือ จะมีการสั่นไปมาไของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นประมาณ 3 ครั้งต่อวินาที คนที่ช่างสังเกตบอกอาการสั่นเหมือนกับคนกำลังปั้นเม็ดยาpill rolling โดยมากอาการสันมักจะเกิดที่มือ แต่ก็มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดที่เท้า หรือกราม อาการสั่นจะเป็นขณะพัก จะเป็นมากเมื่อเกิดอาการเครียด อาการสั่นจะหายไปเมื่อเวลานอนหลับ หรือเมื่อเรากำลังใช้งาน อาการสั่นจะเป็นข้างหนึ่งก่อน เมื่อโรคเป็นมากจึงจะเป็นทั้งตัว
  • อาการเกร็งRigidity คนปกติเมื่อเวลาเคลื่อนไหวจะมีกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง และกล้ามเนื้อด้านตรงข้ามจะมีการคลายตัว โรคพาร์กินสันกล้ามเนื้อไม่มีการคลายตัวจึงทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปด้วยความลำบาก หากเราจับมือผู้ป่วยเคลื่อนไหวจะมีแรงต้านเป็นระยะเหมือนกับมีดสปริงcogwheel rigidity
  • อาการเคลื่อนไหวช้าBradykinesia ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวช้าและลำบาก งานประจำที่สามารถทำเองได้แต่ต้องใช้เวลามาก
  • สูญเสียการทรงตัวPostural instability ผู้ป่วยจะเดินหน้าถอยหลัง เวลาเดินจะเดินก้าวเล็กซอยถี่ๆ ทำให้หกล้มได้ง่าย

อาการอื่นของโรคพาร์กินสัน

  • ซึมเศร้าDepression
  • อารมณ์แปรปรวนเนื่องจาก
  • เคียวอาหารและกลืนอาหารลำบาก เนื่องจากการทำงานของกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการกลืนทำงานไม่ประสานงานกัน
  • มีปัญหาในการพูด พูดเสียงจะเบาไม่ค่อยมีเสียงสูงหรือต่ำ พูดติดอ่าง บางที่ก็พูดเร็ว
  • มีปัญหาเรื่องท้องผูก
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • เนื่องจากผู้ป่วยไม่ค่อยได้ล้างหน้า ผิวหน้าจะมันและมีรังแค
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ หลับยาก ฝันร้าย

โรคพาร์กินสันชนิดอื่นๆ

  • โรคพาร์กินสันที่เกิดจากยาเช่นยารักษาทางจิตเวช Chlorpromazine,haloperidol,metoclopamide ,reserpine เมื่อหยุดยาอาการจะกลับปกติ
  • โรคพาร์กินสันที่เกิดจากสารพิษ เช่น manganese dust, carbon disulfide, carbon monoxide
  • โรคพาร์กินสันที่เกิดจากเส้นเลือดสมองตีบ ผู้ป่วยจะมีความจำเสื่อม ไม่ค่อยมีมือสั่น ใช้ยามักจะไม่ได้ผล
  • โรคพาร์กินสันที่เกิดจากสมองอักเสบ ัยเสี่ยงของการเกิดโรค
  • อายุ หากมีอายุมากก็เสี่ยงที่จะเกิดโรค
  • กรรมพันธุ์ หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ 2 คนคุณมีโอกาสเป็นโรคนี้เพิ่ม 10 เท่า
  • ผู้ที่ต้องสัมผัสยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าวัชพืช โดยพบโรคนี้มากในชาวนาชาวไร่ที่ดื่มน้ำจากบ่อ
  • ผู้ที่มีระดับestrogen ต่ำ เช่นผู้ที่ตัดรังไข่และมดลูก ผู้ที่วัยทองก่อนกำหนด จะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูง หากได้รับฮอร์โมนจะช่วยลดการเกิดโรคนี้
  • มีรายงานว่าการขาดกรดโฟลิกจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ ินิจฉัย

ในระยะเริ่มแรกทำได้ยาก การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกายเท่านั้น การเจาะเลือดหรือการx-ray ไม่ช่วยในการวินิจฉัยนอกจากนั้นอาการเดินลำบาก อาการสั่นมักจะเกิดในผู้สูงอายุ ที่สำคัญอย่าแจ้งชื่อยาที่รับประทานให้แพทย์ทราบ

การรักษา

เนื่องจากโรคนี้เป็นการเสื่อมของสมองดังนั้น การรักษาทำได้โดยการรักษาอาการเท่านั้น ยังไม่มียาใดหรือการรักษาอื่นใดที่ทำให้หายขาด ผู้ป่วยแต่ละคนจะตอบสนองต่อการรักษาไม่เหมือนกัน ยาที่ใช้รักษาได้แก่

Levodopa

สารเคมีนี้พบในพืชและสัตว์ ยานี้จะออกฤทธิ์ในเซลล์ประสาททำให้สร้างdopamineเพิ่ม แต่เราไม่สามารถให้dopamine ได้โดยตรงเนื่องจาก dopamine ไม่สามารถซึมเข้าสมองได้ ยาตัวนี้เป็นยาหลักในการรักษาผู้ป่วย เมื่อผสมกับยาcarbidopa จะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้นเนื่องจากลดอัตราการถูกทำลาย ยานี้สามารถลดอาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ โดยเฉพาะอาการเคลื่อนไหวช้า Bradykinesia และอาการเกร็งrigidity แต่อาการสั่นลดลงเพียงเล็กน้อย สำหรับเรื่องการทรงตัวและอาการอื่นๆยานี้ไม่สามารถลดอาการได้ แพทย์มักจะแนะนำให้ลดอาหารโปรตีนเพื่อให้ยาออกฤทธิ์เต็มที่

ผลข้างเคียงของยา ยานี้เมื่อใช้อาจจะต้องเพิ่มยาเพื่อควบคุมอาการ แต่ก็อาจจะเกิดผลข้างเคียงของยาได้เช่น คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้คือมีการเคลื่อนไหวแบบกระตุก สั่นๆทางการแพทย์เรียกDyskinesia  สับสน หลังจากที่ใช้ยาระยะยาวและมีขนาดสูงจะเกิดอาการที่เรียกว่า on-off phenomenon คือก่อนกินยาจะมีอาการเกร็งมาก เมื่อรับประทานยาอาการจะดีขึ้น ระยะเวลาที่ดีขึ้นจะสั้นลง สั้นลง การแก้ไขภาวะนี้ให้รับประทานยาถี่ขึ้นแต่มีขนาดยาน้อยลง

ยาอื่นๆที่นำมาใช้ได้ได้แก่

  • Bromocriptine, pergolide, pramipexole and ropinirole ยาตัวนี้จะออกฤทธิ์เหมือนdopamine ในสมอง อาจจะใช้เป็นยาเดี่ยวหรือร่วมกับlevodopa หากใช้ในระยะเริ่มต้นของโรค ยานี้ลดอาการเกร็งหรือเคลื่อนไหวช้าได้น้อย ผลข้างเคียงของยาได้แก่ วิตกกังวล paranoid จิตหลอนhallucination สับสนconfusion ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้Dyskinesia ผันร้าย คลื่นไส้อาเจียน
  • Selegiline ยาตัวนี้เมื่อให้ร่วมกับlevodopa จะช่วยลดผลข้างเคียงของยาได้ยานี้จะลดการทำลายของ levodopa ในสมอง
  • Anticholinergics เช่นartane ,congentin ยานี้จะลดอาการสั่นและเกร็งได้ดี ยานี้จะใช้ได้ผลดีหากเป็นโรคพาร์กินสันที่เกิดจากยา ผลข้างเคียงที่พบได้แก่ ปากแห้ง ตาพร่ามัว ปัสสาวะไม่ออก ความจำเสื่อม
  • Amantadime ยานี้จะเร่งให้เซลล์ประสาทหลั่งdopamine ออกมาเพิ่มขึ้น ยานี้เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นโรค

โดยการผ่าตัด

นิยมน้อย จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดจะทำลายสมองที่เรียกว่าthalamus เรียกthallamotomy การผ่าตัดนี้จะลดอาการสั่นเท่านั้น ผลเสียของการผ่าตัดจะทำให้พูดช้า และอาจจะทำให้การทำงานของร่างกายไม่ประสานงาน ดังนั้นจึงไม่นิยมในการรักษา

ส่วนการผ่าตัดอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า Pallidotomy โดยการใช้ไฟฟ้าเข้าไปทำลายสมองส่วนที่เรียกว่าglobus pallidus ซึ่งจะลดอาการสั่น อาการเกร็ง และอาการเคลื่อนไหวช้า

การรักษาอีกวิธีหนึ่งเรียกDeep brain stimulation โดยการใส่ลวดเล็กๆเข้าไปยังสมองส่วนsubthallamic nucleus แล้วปล่อยไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้น

การรักษาโดยใช้อาหาร

เท่าที่ทราบยังไม่มีอาหารหรือวิตามินที่จะช่วยในการรักษาคนไข้แต่มีหลักการดังนี้

  • รับประทานอาหารสุขภาพ ให้ครบทุกกลุ่มโดยแบ่งเป็นสามมื้อ
  • ชั่งน้ำหนักอาทิตย์ละครั้งเพื่อตรวจสอบว่าไม่ขาดสารอาหาร
  • ให้รับประทานผักหรืออาหารที่มีใยมากๆ และให้ดื่มน้ำมากๆ 6-8 แก้วเพื่อป้องกันท้องผูก
  • หลีกเลี่ยงอาหารมันๆหรืออาหารที่มีcholesterolสูง
  • รับประทาน Levodopa ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง
  • อย่ารับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง

การรักษาโดยการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง อารมณ์ดีขึ้น การเดินดีขึ้

โรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยไก้แก่

  • ซึมเศร้า เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนทั่วไป
  • Dementia คือสมองเสื่อม ประมาณหนึ่งในสามจะมีความจำเสื่อม บุคลิกเปลี่ยน การตัดสินใจเสียไป
  • ภาวะแทรกซ้อนจากยา เช่นDyskinesia ความดันต่ำ
  • มีปัญหาเกี่ยงกับการกลืน การเคี้ยว อาการนี้จะเกิดในระยะของโรค
  • ท้องผูกเนื่องจากลำไส้เคลื่อนไหวน้อย
  • ปัสสาวะคั่งอันเป็นผลข้างเคียงของยา
  • ปัญหาเกี่ยวกับการนอนเนื่องจากซึมเศร้า
  • ความต้องการทางเพศลดลง

การประเมินความรุนแรงของโรค

การประเมินความรุนแรงของโรคพาร์กินสันเพื่อจะได้เป็นเครื่องติดตามการดำเนินของโรค และการปรับยา การประเมินมีด้วยกันหลายวิธี เช่นประเมินแบบ Activity of diary living ซึ่งจะประเมินหัวข้อ 14 อย่าง

  กิจกรรม
การพูด
น้ำลายไหล
การกลืน
การเขียน
การตักอาหาร
การแต่งตัว
 การอาบน้ำ การเข้าห้องน้ำเอง
การพลิกตัว การห่มผ้าห่ม
การหกล้ม
การหยุดเวลาเดิน
การเดิน
สั่นมือซ้าย
สั่นมือขวา
บ่นเรื่องความรู้สึก

โดยในแต่ละข้อให้คะแนน 0-4,

  • 0 หมายถึงปกติช่วยตัวองได้เหมือคนปกติ
  • 1 หมายถึงทำได้แต่ช้า ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากคนอื่น
  • 2 ทำได้แต่ช้าและไม่สมบูรณ์ ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  • 3 ทำไม่ค่อยได้ ต้องการความช่วยเหลือ
  • 4 ทำไม่ได้เลย

คะแนนมีตั้งแต่ 0-56 ยิ่งคะแนนมากหมายถึงโรคเป็นมาก ต้องการความช่วยเหลือมาก

การดูแลตัวเอง

การรับประทานอาหาร

ผู้ป่วยควรจะรับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้และธัญพืชให้มากเนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก และยังมีใยอาหารมากป้องกันอาการท้องผูก บางคนไปซื้อสาหร่ายหรือยาระบายชนิดผงที่เพิ่มเนื้ออุจาระ ท่านต้องดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วเพราะหากดื่มน้ำน้อยอาจจะทำให้อาการท้องผูกแย่ลง

ต้องหลีกเลียง ชา กาแฟ อาหารมันๆโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวเช่น เนื้อแดง นม เนย กะทิ ไอศกรีม

การเคี้ยวและการกลืน

เนื่องจากผู้ป่วยในระยะท้ายจะมีปัญหาเรื่องการกลืน วิธีการที่จะลดปัญหาได้แก่

  • ตักอาหารพอคำแล้วเคี้ยวให้ละเอียด
  • กลืนให้หมดก่อนที่จะป้อนคำต่อไป
  • ควรจะมีแผ่นกันความร้อนรองเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารเย็น
  • ควรเลือกอาหารที่เคี้ยวง่าย

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยอย่างมากเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดีขึ้น ข้อมีการเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันข้อติด อารมณ์ดีขึ้น วิธีการออกกำลังกายอาจจะใช้การเดิน การว่ายน้ำ การทำสวน การเต้นรำ การยกน้ำหนัก แต่ก่อนกำลังกายทุกครั้งต้องมีการยืดเส้นก่อนทุกครั้ง อย่าลืมการออกกำลังใบหน้า กราม และฝึกพูดบ่อยๆ และอาจจะต้องฝึกหายใจโดยการหายใจเข้าออกแรงๆหลายๆครั้ง

การเดิน

เนื่องผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องการทรงตัวและการเดิน ผู้ป่วยต้องเรียนรู้การเดิน

  • เมื่อรู้สึกว่าเดินเท้าลาก ให้เดินช้าลงแล้วสำรวจท่ายืนของตัวเอง ท่ายืนที่ถูกต้องต้องยืนตัวตรง ศีรษะไหล่และสะโพกอยู่ในแนวเดียวกัน เท้าห่างกัน 8-10 นิ้ว
  • ให้ใส่รองเท้าสำหรับการเดิน
  • การเดินที่ถูกต้องให้ก้าวยาวๆ ยกเท้าสูง และแกว่งแขน

การป้องกันการหกล้ม

เนื่องจากในระยะท้ายของโรคผู้ป่วยมักจะเสียการทรงตัวทำให้หกล้มบ่อย การป้องกันทำได้โดย

  • ให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลท่านว่าสามารถไปรำมวยไทเก็กได้หรือไม่ เพราะการรำมวยไทเก็กจะช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวของข้อ การทรงตัว
  • เลือกรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าเป็นยางเพราะไม่ลื่น
  • ทางเดินในบ้านไม่ควรมีของเล่นหรือสิ่งของ หรือเปื้อนน้ำ
  • ติดราวไว้ในห้องน้ำ ทางเดิน บันได
  • เก็บสายไฟ สายโทรศัพท์ให้พ้นทางเดิน
  • โทรศัพท์ให้ใช้แบบไร้สายและวางไว้บนหัวเตียง

การแก้ไขเรื่องตะคริว

กล้ามเนื้อของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักจะมีอาการเกร็งอยู่ตลอดเวลา บางครั้งอาจจะเกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อของเท้า ท้อง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด การดูแลจะช่วยลดอาการเหล่านี้

  • หากเป็นตะคริวที่เท้าให้ใช้วิธีนวด
  • หากมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อให้ใช้น้ำอุ่น หรือขวดบรรจุน้ำอุ่นประคบ
  • กำลูกบอลเพื่อป้องกันมือสั่น

การเลือกเสื้อผ้า

เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถทำงายที่มีความละเอียดต้องใช้การประสานของกล้ามเนื้อหลายๆมัด การเลือกเสื้อผ้าต้องสะดวกในการใส่

  • ให้ใจเย็นเพราะผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการใส่เสื้อผ้า
  • วางเรียงเสื้อผ้าให้ใกล้มือ
  • เลือกเสื้อผ้าที่ใส่ง่าย เช่นชุดที่สวมคลุม ไม่ควรจะมีกระดุม
  • เลือกซื้อรองเท้าหรือเสื้อที่ไม่มีกระดุม ควรเป็นแบบยางยืด
  • เวลาจะสวมเสื้อผ้า หรือรองเท้าให้นั่งบนเก้าอี้ทุกครั้ง

การนอนหลับ

ผู้ป่วยโรคนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับประมาณร้อยละ70ของผู้ป่วย ปัญหาเรื่องการนอนจะส่งผลเสียทั้งทางด้านอารมณ์ คุณภาพชิตทั้งของผู้ป่วยและคนที่ดูแลปัญหาเรื่องการนอนหลับพบได้หลายรูปแบบดังนี้

  • ผู้เข้าหลับง่ายแต่จะมีปัญหาเรื่องตื่นตอนเช้ามืด จะรู้สึกนอนไม่หลับ ขยับตัวยาก บางรายอาจจะเกิดอาการสั่น หรือบางรายหลังจากลุกขึ้นมาปัสสาวะแล้วจะเกิดอาการนอนไม่หลับ สาเหตุเกิดจากขนาดของยาไม่สามารถคุมอาการในตอนกลางคืน แพทย์ต้องปรับยาเพื่อให้ยาคุมอาการตอนกลางคืน
  • ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะหลับในตอนกลางวันมาก บางคนอาจจะหลับขณะรับประทานอาหาร ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหานอนไม่หลับในตอนกลางคืน หรือาจจะเกิดฝันร้าย สาเหตุมักจะเกิดจากยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันมีขนาดมากไป แพทย์ต้องปรับขนาดของยาหรืออาจจะต้องเปลี่ยนชนิดของยา
  • ชนิดที่สามอากรนอนผิดปกติจากตัวโรคเอง ปกติเมื่อคนธรรมดาฝันมักจะไม่มีการเคลื่อนไหวของแขนหรือขาเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการคลายตัว แต่ผู้ป่วยพาร์กินสันกล้ามเนื้อมีการเกร็งออยู่ตลอดเวลา เมื่อเวลาฝันอาจจะมีอาการแตะหรือถีบ ซึ่งอาจจะทำให้คนดูแลตกใจหรือได้รับบาดเจ็บกรณีที่นอนเตียงเดียวกัน ที่สำคัญต้องระวังมิให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ
  • ประสาทหลอน อาจจะหลอนเห็นผี เห็นสัตว์ทั้งใหญ่และเล็กเป็นต้น สาเหตุเกิดจากยาที่ใช้รักษาพาร์กินสัน การรักษาให้ปรับขนาดของยา

การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม

ห้องน้ำ

เนื่องจากห้องน้ำจะเล็กไม่สะดวกต่อการเคลื่อนไหว และลื่นการปรับสภาพแวดล้อมในห้องน้ำจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และยังป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น

  • พื้นห้องน้ำหรือพื้นอ่างน้ำควรใช้วัสดุที่ไม่ลื่น หรืออาจจะจะใช้พื้นยางรอง
  • ติดตั้งราวไว้ในห้องน้ำเพื่อสำหรับผู้ป่วยประคองตัว
  • ติดตั้งก๊อกน้ำสำหรับนั่งอาบ และจัดเก้าอี้สำหรับนั่งอาบ
  • ติดตั้งราวยึดเหนี่ยวไว้ข้างโถส้วม สำหรับพยุงตัวเวลานั่งหรือยืน
  • พื้นห้องน้ำควรจะแห้งอยู่ตลอดเวลา และไม่ควรลงwax
  • ให้ใช้สบู่เหลว ให้ผูกเชือกกับขวดใส่สบู่เข้ากับราว เพื่อไม่ให้สบู่หล่นใส่พื้น

ห้องนอน

การจัดเตียงนอนให้สะอาดไม่รกรุงรังจะทำให้ป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้ม ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  • จัดเตียงให้มีความสูงระดับเข่า หากเตียงสูงไปให้ช่างไม้ตัดขาเตียง หากเตี้ยเกินไปก็เสริมด้วยผ้า
  • ให้หาไม้เสริมขาเตียงส่วนศีรษะเพื่อผู้ป่วยจะได้ลุกได้สะดวก
  • ติดราวไว้ข้างกำแพงเหนือเตียง 10 นิ้วเพื่อสำหรับประคองตัว

การจัดห้องนั่งเล่น

  • ทางเดินต้องโล่ง และระหว่าทางเดินควรจะมีเครื่องสำหรับยึดเหนี่ยวเพื่อกันล้ม
  • เก้าอี้ควรจะมีพนักพิงหลังและ มีที่วางแขน อาจจะเสริมเบาะเพื่อให้ความสูงพอดี
  • ติดราวบันไดไว้สำหรับยึดเหนี่ยว

การจัดห้องครัว

 

  • พื้นควรจะแห้งและไม่ลื่น
  • ซื้อไม้สำหรับทำความสะอาดที่มีด้ามยาว
  • เก็บของที่ใช้บ่อยๆไว้ในที่หยิบฉวยได้ง่าย
  • ให้ใช้โทรศัพท์ไร้สาย สำหรับติดต่อสื่อสาร

                        

guest

Post : 2013-12-07 05:01:44.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคสมองอักเสบ

โรคสมองอักเสบ

โรคสมองอักเสบหรือศัพท์ทางการแพทย์เรียก Encephalitis หมายถึงมีการอักเสบของเนื้อสมอง การอักเสบอาจจะเกิดทั้งสมองหรือบางส่วนของเนื้อสมอง สาเหตุของสมองอักเสบมักจะเกิดจากไวรัสเช่น เริม คางทูม หัดเยอรมัน ไข้สุกใสนอกจากนั้นยังเกิดจากยุงหรือไรกัดเช่น Japanese encephalitis

cerebritis หมายถึงการอักเสบของสมองโดยมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หากไม่รักษาจะกลายเป็นฝีในสมอง

อาการของผู้ป่วยสมองอักเสบ

ผู้เป็นไม่มากจะมีอาการ

  • ไข้
  • อ่อนเพลียไม่มีแรง
  • เจ็บคอ
  • คอแข็ง
  • อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • สับสน
  • กระสับกระส่าย
  • ซึม
  • ปวดหัวเมื่อแสงจ้าๆ

สำหรับผู้ที่มีอาการมากได้แก่

  • ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว
  • สับสนไม่รู้วันหรือกลางคืน จำคนไม่ได้
  • ชัก
  • ไข้สูง
  • ปวดศีรษะมาก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • มือสั่น
  • คอแข็ง

สาเหตุสมองอักเสบ

สาเหตุของสมองอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส การติดต่อโดยมากเกิดจากยุง ไรกัด เช่นโรคสมองอักเสบจากไวรัสสายพันธ์ยี่ปุ่น japaness encephalitis บางชนิดเกิดจากการที่สัตว์เช่นค้างคาวหรือสุนัขกัด เช่นโรคหมาบ้า

ประเภทของการติดเชื้อแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  • ติดเชื้อครั้งแรก Primary encephalitis หมายถึงการติดเชื้อไวรัสเป็นครั้งแรกและเชื้อนั้นก็ทำให้เกิดสมองอักเสบ มักจะมีการระบาดเป็นครั้งคราว เช่นไขสมองอักเสบสายพันธ์ญี่ปุ่น
  • สมองอักเสบซึ่งเกิดจากเชื้อที่อยู่ในร่างกายเรียก Secondary (post-infectious) encephalitis เช่นสมองอักเสบจากเชื้อเริม

เชื้อที่เป็นสาเหตุของสมองอักเสบ

  1. Herpes viruses เมื่อคนได้รับเชื้อจะทำให้เกิดโรคเริมซึ่งอาจจะเกิดแผลที่ปากหรืออวัยวะเพศ หลังจากนั้นเชื้อจะอยู่ในร่างกาย เมื่อคนมีภูมิลดลงเชื้อที่อยู่ในร่างกายจะกำเริบทำให้เกิดสมองอักเสบ 
    • Herpes simplex virus
    • Varicella-zoster virus
    • Epstein-Barr virus
  2. Childhood infections
    • Measles (rubeola)
    • Mumps
    • Rubella (German measles)
  3. Arboviruses สัตว์ที่เป็นแหล่งพักเชื้อได้แก่ หมู นก ยุงและไรจะเป็นตัวนำเชื้อโรคมาสู่คนโดยการกัดสัตว์ที่เป็นดรค และเมื่อมากัดคนก็จะปล่อยเชื้อสู่คน หากเชื้อมีปริมาณมากพอก็จะทำให้เกิดโรค
    • Eastern equine encephalitis
    • Western equine encephalitis
    • St. Louis encephalitis
    • La Crosse encephalitis
    • West Nile encephalitis
    • Japanese encephalitis เป็นโรคไข้สมองอักเสบที่พบมากในเอเซียปีละประมาณ 50000 รายและเสียชีวิตประมาณปีละ 15000 รายพบมากในเด็กและวัยรุ่น หมูเลี้ยงและนกเป็นสัตว์ที่มีเชื้อ โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดโรค

  • อายุ สมองอักเสบบางชนิดมักจะเป็นในเด็ก
  • ภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องมีโอการของสมองอักเสบสูงกว่าคนอื่น
  • ภูมิสาสตร์ ผู้ที่อาศัยหรือไปเที่ยวยังแหล่งที่มีการระบาดของโรคก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • สภาพความเป็นอยู่ ผู้ที่มีกิจกรรมนอกบ้านมาก เช่นการวิ่งนอกบ้าน ตีกอลฟ์ การดูนก ดังนั้นในช่วงที่มีการระบาดต้องระวังเป็นพิเศษ
  • ฤดูกาล

การวินิจฉัยโรค

เมื่อมีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคไข้สมองอักเสบโดยเแพาะรายที่มีไข้และมีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก ก็จะต้องตรวจพิเศษเพื่อวินิจฉัยแยกโรค การตรวจที่สำคัญได้แก่

  • การเจาะเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจภาษาแพทย์เรียก Spinal tap (lumbar puncture) แพทย์จะใช้เข็มเจาะเข้าไขสันหลัง และเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจ
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง Electroencephalography (EEG).เป็นการวัดไฟฟ้าของสมอง การตรวจนี้จะมีประโยชน์มากในรายที่มีอาการชัก
  • การตรวจรังสีสมอง หรือการตรวจ computerized tomography (CT) or magnetic resonance imaging (MRI) scan จะบอกได้ว่าสมองส่วนไหนมีการบวม
  • การตรวจเนื้อเยื่อสมองเพื่อหาตัวเชื้อโรค

โรคแทรกซ้อน

ผู้ที่มีสมองอักเสบแบบรุนแรงอาจจะมีโรคแทรกซ้อนได้หลายประการ

  • เสียชีวิต
  • หายใจวาย
  • โคม่า
  • ความจำเสื่อม
  • ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อ
  • หูหนวกหรือตาบอด

เมื่อไรจึงจะพบแพทย์

หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้นร่วมกับภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่น

  • เป็นเริมที่ปากหรืออวัยวะเพศ
  • เมื่อคุณเข้าป่า และสงสัยว่าถูกยุงกัด
  • เมื่อคุณไปในแหล่งที่มีการระบาดของโรค

การรักษา

โดยทั่วไปหากไม่รุนแรงอาจจะหายเองได้ โดย

  • การพักผ่อนให้พอเพียง
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • ยาแก้ปวดพาราเซ็ตตามอล
  • ยาแก้สมองบวม
  • ยากันชัก หากผู้ป่วยมีอาการชัก

แต่การรักษาโรคมักจะไม่มียาเฉพาะโรค เนื่องจากไวรัสที่เป็นสาเหตุไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษานอกเสียจากเชื้อไวรัสเริมอาจจะตอบสนองต่อการรักษา

การป้องกันโรค

เนื่องจากโรคนี้เมื่อเป็นแล้วไม่มียาที่รักษาเฉพาะ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น ไข้สุกใส คางทูม หัดเยอรมัน วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ
  • ใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเมื่อต้องออกนอกบ้าน
  • ทายากันยุงที่เสื้อผ้า ความเข้มข้นของยาขึ้นกับระยะเวลาที่ป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดยหลีกเลี่ยงแหล่งที่มียุงมาก
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  • ให้สำรวจสิ่งแวดล้อม ว่ามีสัตว์ตายผิดปกติบ้างหรือไม่
  •    

guest

Post : 2013-12-07 04:55:33.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคระบบประสาท

 โรคทางระบบสมอง

โรคอัมพาต

โรคอัมพาตเป็นโรคที่พบบ่อยในคนอายุมาก แต่คนที่มีอายุน้อยหากมีปัจจัยเสี่ยงก็สามารถเกิดได้ ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการเตือนก่อนเกิดอาการจริง สาเหตุของโรคทีทั้งเส้นเลือดแตก และเส้นเลือดตีบ หากเราทราบอาการเตือนแล้วรีบรักษา ก็สามารถจะป้องกันโรคได้ ในเรื่องท่านจะทราบอาการ อาการเตือนของโรค การป้องกันก่อนเกิดโรค การป้องกันหลังจากเกิดโรคแล้ว


โรคเวียนศีรษะ

หลายท่านคงเคยมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนและอาเจียน บางท่านเป็นมากถึงกับทรงตัวไม่ได้ ต้องหลับตาตลอดในเรื่องท่านจะทราบสาเหตุต่างของโรคเวียนศีรษะ การรักษา การบริหารเพื่อป้องกันบ้านหมุน ยาที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ


โรคปวดศีรษะ

ทุกคนคงเคยปวดศีรษะ โรคปวดศีรษะเรื้อรังเป็นเฉพาะคนเครียดใช่หรือไม่ ปวดศีรษะไมเกรนเป็นอย่างไร การป้องกันไมเกรนจะต้องทำอย่างไร ท่านจะได้รับทราบแนวทางในการดูแลตัวเอง


โรคนอนไม่หลับ

คนที่โชคดีคือคนที่หลับง่าย บางคนเวลานอนต้องนับแกะที่ละตัวนับไปเป็นพันตัวก็ยังนอนไม่หลับ บางคนนอนดูนาฬิกาทั้งคืนก็ยังไม่หลับ ในเรื่องท่านจะทราบสาเหตุของการนอนไม่หลับในแต่ละวัย เช่นวัยรุ่น หญิงวัยทอง คนแก่ คนที่ทำงานเป็นกะ การรักษาทั้งใช้ยาและไม่ใช้ยา


ความเครียด

เวลาไม่สบายใจหรือมีปัญหาทุกคนก็จะเกิดความเครียด ความเครียดเกิดขึ้นทุกวัย วัยเด็ก โดยเฉพาะคุณแม่บ้านมักจะมีปัญหาเป็นทวีคูณทั้งจากงานบ้านและงานประจำ ความเครียดจากการสูญเสีย การจัดการกับความเครียด การจัดการกับความโกรธ น่าสนใจทั้งเรื่องเลยครับ



โรควัวบ้า

โรคที่กำลังระบาดในยุโรปก่อให้เกิดการหวาดกลัวทั่วโลก ความเป็นมาของโรคนี้เป็นอย่างไร คนเป็นโรควัวบ้าได้หรือไม่ คนจะเป็นโรควัวบ้าได้กี่วิธี อาการของโรควัวบ้า การวินิจฉัยโรควัวบ้า อาหารที่มีเชื้อวัวบ้า เชิญอ่านได้ครับเนื้อหาแน่


โรคอัลไซเมอร

สมองเป็นโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นแล้วไม่หาย อาการเบื้องต้นจะมาด้วยหลงลืม เช่นลืมปิดประตู ลืมปิดไฟ หากเป็นมากขึ้นจะลืมชื่อคน จนระยะสุดท้ายจะไม่รู้วันเดือน ไม่รู้เวลา ท่านจะทราบสาเหตุของการเกิดโรคการดำเนินของโรค ปัจจัยเสี่ยง การดูแลผู้ป่วยระยะต่างๆ


โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เป็นโรคที่มีความรุนแรง สาเหตุมีทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน


โรคพาร์กินสัน 21/09/2546

พบได้ในคนแก่อายุมากกว่า 50 ปีทำให้เกิดอาการเกร็ง เคลื่อนไหวช้า ก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วยและคนที่ดูแล 

สมองอักเสบ

โรคสมองอักเสบ เป็นโรคที่ระบาดมากในเขตร้อน มักจะระบาดหน้าหนาวหรือฝน โดยมียุงเป็นภาหะนำเชื้อ อัตราการเสียชีวิตสูง วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันโดยการฉีดวัคซีน และหลีกเลี่ยงแหล่งระบาดของโรค


โรค Myasthenia gravis

เป็นโรคที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั้งตา และแขนขาทำให้ลืมตาลำบาก แขนขาไม่มีแรง 

โรค สมองขาดเลือด Ischemic stroke

โรคสมองขาดเลือด โรคสมองขาดเลือดเกิดจากเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่พอ เนื่องจากมีการตีบตันของหลอดเลือดแดง หรือมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดแดง ทำให้สมองขาดเลือดหากรักษาไม่ทันจะทำให้สมองบริเวณดังกล่าวตาย


โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

ปากเบี้ยวโรคหน้าเบี้ยงครึ่งซีกหมายถึงกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก เป็นอัมพาตทำให้ปากเบี้ยว น้ำลายไหล ตาปิดไม่สนิท สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เส้นประสาทคู่ที่ 8 อักเสบ อ่านการรักษา การดูแล


ปวดเส้นประสาทจากโรคงูสวัด

งูสวัดโรคงูสวัดเป็นโรคที่เกิดการอักเสบของปลายประสาท ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคงูสวัด Herpes zoster ในช่วงแรกที่เป็นโรคจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่แผล แผลจะหายในเวลา 7- 10 วันและอาการปวดจะค่อยๆดีขึ้น สำหรับบางท่านที่มีปัจจัยเสี่ยงเช่นสูงอายุ โรคเบาหวาน มะเร็ง จะมีอาการปวดประสาทไม่หายก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง


กลุ่มอาการปวดประสาท

เป็นอาการปวดที่เกิดจากความผิดปกติของประสาทโดยตรง สาเหตุที่พบบ่อย เช่นโรคเบาหวาน การได้รับเคมีบำบัด การเสื่อมของปลายประสาทจากขาดเลือด ประสาทถูกกดทับ


กลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

เป็นกลุ่มโรคกดทับเส้นประสาทที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุเกิดจากมีการกดทับเส้นประสาท median nerve ที่บริเวณข้อมือซึ่งบริเวณนี้จะมีลักษณะเป็นโพรงหรืออุโมง อาการที่สำคัญคือมีอาการชาและปวดนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง


โรคเบาหวานกับปลายประสาทอักเสบ

โรคเบาหวานทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการต่างตามที่เส้นประสาทไปเลี้ยงได้แก่ ชาตามปลายมือปลายเท้า หรือบางรายอาจจะเกิดอาการที่อวัยวะภายในร่างกายเช่น ทางเดินอาหาร หัวใจ อวัยวะเพศทำให้เกิดอาการ แน่นท้อง ท้องร่วงหรือท้องผูก ปัสสาวะไม่ออก หย่อนยานทางเพศ

 

guest

Post : 2013-12-07 04:48:50.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis

 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis

การทำงานของกล้ามเนื้อ

การทำงานของกล้ามเนื้อ จะเริ่มต้นจากเซลล์สมองสั่งการทำงานไปยังเส้นประสาทโดยการหลั่งสารเคมี เมื่อเส้นประสาทได้รับสารเคมีก็จะมีกระแสไฟฟ้าวิ่งไปยังกล้ามเนื้อ เส้นประสาทมิได้ี่ติดต่อกับกล้ามเนื้อแต่จะมีช่องเล็กๆที่เรียกว่า neuromuscular junction. ซึ่งเซลล์ของปลายประสาทจะะหลังสารเคมที่เรียกว่า acetylcholine สารเคมมีจะไปออกฤทธิ์ที่ receptor บนเซลล์กล้ามเนื้อทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหดตก เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อ

สำหรับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis เป็นโรคที่กล้ามเนื้อที่เราควบคุมได้ เช่นการยกแขน กล้ามเนื้อหน้าผาก มีอาการอ่อนแรง การอ่อนแรงนี้เกิดจากภาวะที่ร่างกายเราสร้างภูมิคุ้มกันทำลาย receptor บนกล้ามเนื้อ ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อไม่ทำงานแม้ว่าเซลล์ประสาทจะหลั่งสารเคมี

ภูมิคุ้มกันจะเกิดเมื่อร่างกายได้รับสารแปลกปลอม เช่นเชื้อแบคทีเรีย แต่สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่างกายสร้างภูมิต่อต้าน receptor เองเราเรียกโรคหรือภาวะ autoimmune disease

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis มีอาการอะไรบ้าง

หนังตาตกหนังตาตก
  • จะมีอาการหนังตาตก
  • ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน
  • พูดไม่ชัด
  • เคี้ยวหรือกลืนลำบาก
  • มีอาการอ่อนแรงแขนหรือขา
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงง่าย
  • หายใจลำบาก

การทดสอบทางห้องปฏิบัติการว่าเป็น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis มีอะไรบ้าง

  • การเจาะเลือดหา Acetylcholine Receptor Antibody ซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 85 จะพบภูมิดังกล่าว
  • ผู้ป่วยร้อยละ40-70ของผู้ป่วยกลุ่มที่ให้ผลลบกลุ่มแรกจะให้ผลบวกต่อการทดสอบนี้ Anti-MuSK Antibody testing
  • Tensilon® test เป็นการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือดดำ จะพบว่ากล้ามเนื้อจะมีแรงดีขึ้นทันที
  • Electromyography -- (EMG)เป็นการทดสอบคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อจะพบลักษณะเฉพาะของโรค
  • Single Fiber EMG การทดสอบไฟฟ้ากล้ามเนื้อซึ่งจะให้ลักษณะเฉพาะ

การรักษา

การรักษาเฉพาะยังไม่มี แต่มีการรักาาที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่อาจจะไม่ดีเท่ากันทุกคน การรักาาประกอบไปด้วย การรักาาด้วยยา การผ่าตัด Thymus plasmapharesis

ยาที่ใช้รักษา

  • Mestinon เป็นสารที่ลดการทำลาย acetylcholine ทำให้มีสารเคมีนี้มากใน neuromuscular junction
  • Prednisoloneและยาที่กดการสร้างภูมิ imuran เป็นยาที่ลดการสร้างภูมิของร่างกาย
  • immunoglobulins เป็นยาที่ฉีดเพื่อต่อต้านภูมิคุ้มกัน

การผ่าตัด

การผ่าตัดต่อม thymus เพราะเชื่อว่าต่อมนี้มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างภูมิ พบว่าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง myasthenia gravis จะมีเนื้องอกที่ต่อม thymus ประมาณร้อยละ 15 การผ่าตัดจะทำให้โรคนี้มีความรุนแรงน้อยลง บางรายอาจจะอาการหายไปเลย

Plasmapheresis

เป็นการถ่ายเลือดหรือที่เรียกว่าล้างเลือดเอาภูมิออกจากร่างกาย กล้ามเนื้อจะมีแรงขึ้นทันที มักจะใช้กรณีที่มีอาการกำเริบแบบเป็นหนัก

             

처음 이전 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | ... 다음 끝
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com