Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2013-12-05 02:45:31.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  จอประสาทตาลอก

 

จอประสาทตาลอก Retina detachment

 

จอประสาทตาลอกจากที่เคยอยู่ สาเหตุเกิดจากรูหรือรอยฉีกขาด หรือเกิดจากการดึงรั้งของผังผืด หรือการอักเสบทำให้มีน้ำเซาะจนจอประสาทลอก อาการที่สำคัญคือจะเห็นจุดดำลอยไปมา ร่วมกับการเห็นแสงเหมือนไฟแล็บ และมองไม่เห็นบางส่วนของภาพ

ตา

จอประสาทตา

จอประสาทตา Retina เป็นชั้นในสุดของลูกตา ประกอบด้วยเซลหลายชนิดเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ มีหน้าที่รับแสงที่ผ่านเข้ามาจากภายนอก โดยผ่านกระจกตา เลนส์ตาที่ทำหน้าที่รวมแสง ให้ไปตกที่จอประสาทตา จากนั้นที่จอประสาทตา จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางปฏิกิริยาทางเคมี เปลี่ยนสัญญาณแสง ให้กลายเป็นกระแสประสาท แล้วส่งไปตามเส้นประสาทตาคู่ที่2 เข้าสู่สมอง เพื่อแปลผลเป็นภาพต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบลูกตากับกล้องถ่ายรูป จอประสาทตาจะเทียบได้กับฟิล์ม ที่ทำหน้าที่รับภาพ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับจอประสาทตา จึงมีผลทำให้การเห็นภาพผิดไป หรืออาจทำให้เสียการมองเห็นไปทั้งหมดก็ได้

จอประสาทตาลอกจอประสาทตาลอก

หมายถึงภาวะที่เกิดการแยก หรือลอกตัวของจอประสาทตาออกจากตำแหน่งเดิม โดยมีรูปแบบและสาเหตุการเกิดได้หลายประการ ได้แก่

  1. จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรู หรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา (rhegmatogenous retinal detachment) ทำให้มีน้ำไหลเข้าเกิดการแยกของจอประสาทตา สาเหตุมักเกิดจากการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงที่ตา จอประสาทตาเสื่อมในผู้ป่วยสายตาสั้น หรือเกิดรูขาดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ เป็นสาเหตุของจอประสาทตาลอกบ่อยที่สุด
  2. จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง (tractional retinal detachment) เกิดจากการดึงรั้งของพังผืดที่จอประสาทตาหรือในน้ำวุ้นตา ทำให้จอประสาทตาหลุดลอก พบไม่บ่อย มักพบในผู้ป่วยเบาหวานขึ้นจอรับภาพระยะท้ายซึ่งมีเส้นเลือดงอกผิดปกติ ที่จอรับภาพ และมีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา ผู้ป่วยที่มีการอักเสบของน้ำวุ้นลูกตา หรือจอประสาทตาอย่างรุนแรงจนเกิดชั้นพังผืด หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับอุบัติเหตุทำให้ลูกตาแตกหรือทะลุมาก่อน
  3. จอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอตา (Exudative) เกิดจากการอักเสบ หรืออุบัติเหตุ ทำให้มีน้ำรั่วซึมขังอยู่ใต้จอประสาทตา พบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคคอรอยด์อักเสบ เนื้องอกที่จอประสาทตา หรือพบในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ ภาวะไตวาย เป็นต้น

ใครมีโอกาศเป็นโรคนี้สูง

จอประสาทลอกสามารถเกิดได้ทุกอายุ แต่จะพบบ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป กลุ่มคนที่มีโอกาศเป็นมากได้แก่

  • สายตาสั้นมาก
  • เคยมีจอประสาทตาลอกมาก่อน
  • มีประวัติครอบครัวที่จอประสาทตาลอก
  • ผ่าตัดต้อกระจก
  • เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
  • เป็นโรคตา เช่น retinoschisis, uveitis, degenerative myopia, or lattice degeneration

อาการของจอประสาทลอก

เริ่มต้นของผู้ป่วยที่มีจอประสาทตาลอก พบได้ตั้งแต่

  • มองเห็นจุดดำลอยไปมาและเป็นมากขึ้น
  • มองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบ
  • ภาพบางส่วนหายไป เป็นต้น

ดังนั้นผู้ที่มีอาการดังกล่าวจึงควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจจอประสาทตาโดยละเอียด ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากภาวะผิดปกติชนิดใด และต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีใด

  • หากจักษุแพทย์ตรวจพบรูขาดที่จอประสาทตา และยังไม่มีจอประสาทตาลอก อาจให้การรักษาโดยการยิงเลเซอร์รอบรอยขาด
  • หากพบมีการลอกตัวของจอประสาทตา การรักษาอาจมีตั้งแต่การฉีดกาซเข้าไปในตา การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา และการทำผ่าตัดน้ำวุ้นตา ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย

              

 

guest

Post : 2013-12-05 02:42:51.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  เลือดออกในวุ้นลูกตา

 

เลือดออกในวุ้นลูกตา vitreous haemorrhage

เป็นภาวะที่มีเลือดออกในวุ้นลูกตาเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดใหม ่เนื่องจากจอประสาทขาดเลือด หรือเกิดจากการฉีกขาดของเส้นเลือดเนื่องจากการกระแทก อาการที่สำคัญคือจะเห็นจุดดำลอยไปมา บางท่านตาจะมองไม่เห็น

น้ำวุ้นตา

เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา

โครงสร้างของน้ำวุ้นลูกตา

น้ำวุ้นลูกตาประกอบไปด้วยน้ำร้อยละ 99 ส่วนที่เหลือเป็เกลือแร่ น้ำตาล และที่สำคัญคือ collagen และ hyaluronic acid ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้น้ำวุ้นลูกตาข้น น้ำวุ้นลูกตาจะเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของตา และทำหน้าที่ให้ตาคงรูป และเป็นทางผ่านของแสง ปกติน้ำวุ้นลูกตาจะไม่มีเซลล์ หรือเส้นเลือด

ทำไมถึงมีเลือดในน้ำวุ้นลูกตา

สาเหตุที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตามีด้วยกันสามสาเหตุ ได้แก่

  1. ความผิดปกติของเส้นเลือด โดยมากเกิดจากการที่มีเส้นเลือดเกิดใหม่ เนื่องจากจอรับภาพมีการขาดเลือด เช่น โรคเบาหวานขึ้นจอรับภาพ sickle anemia เส้นเลือดที่เกิดใหม่เหล่านี้ผนังไม่แข็งแรงทำให้มีการฉีกขาดและมีเลือดออกในวุ้นลูกตาได้
  2. มีการฉีกขาดของเส้นเลือดปรกติเนื่องจากมีแรงที่กระทำต่อเส้นเลือดที่จอรับภาพ เช่น มีการแยกตัวของนำวุ้นลูกตาออกจากจอรับภาพทำให้เส้นเลือดจอรับภาพฉีกขาด
  3. เลือดจากอวัยวะข้างเคียง เช่น เนื้องอกเป็นต้น

ผู้ที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตาจะมีอาการอะไรบ้าง

อาการของคนที่มีเลือดออกในน้ำวุ้นคือ เห็นเศษลอยในตาข้างเดียวหรือตามองไม่เห็นโดยที่ไม่มีอาการปวด ในรายที่เริ่มเป็นหรือเป็นน้อยจะมีอาการเห็นเศษเนื้อลอยไปมา หรือเห็นเป็นใยแมงมุม อาจจะเห็นภาพเหมือนมีหมอก บางรายจะเห็นเป็นสีออกแดง

การวินิจฉัยไม่ยากแพทย์จะตรวจตาโดยละเอียดเลือดออกวุ้นลูกตา

  • ตรวจการเห็นของตาทั้งสองข้าง
  • ตรวจการตอบสนองต่อแสงของรูม่านตา pupil
  • ใช้เครื่อง Slit lamp ตรวจตาซึ่งจะเห็นเลือด
  • ใช้กล้องส่องเข้าในลูกตาจะพบเศษชิ้นเนื้อไม่พบรายละเอียดของจอรับภาพ

การรักษาเลือดออกวุ้นลูกตามีอะไรบ้าง

การรักษาขึ้นกับสาเหตุ หากเกิดจากจอรับภาพหลุดจากเส้นประสาทจะต้องผ่าตัดทันที หากจอรับภาพไม่หลุดก็อาจจะให้นอนพักศีรษะสูง และพิจารณาใช้ Laser ในกรณีที่เกิดจากการที่มีเส้นเลือดใหม่

 

          

 

guest

Post : 2013-12-05 02:40:15.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคตากุ้งยิง

 

ตากุ้งยิง,stye,hodeolum

ตากุ้งยิงสามารถพบได้ทุกอายุ ทุกเพศ เป็นการอักเสบของหนังตา ถ้าอักเสบที่ขนตา(hair follicle) เรียก external hordeolum> ถ้าอักเสบที่ต่อมไขมันที่เปลือกตาเรียก internal hordeolum

อาการ

 

ผู้ป่วยจะมาด้วยมีก้อนที่เปลือกตา และมีอาการปวดหนังตา กรอกตาหรือหลับตาจะทำให้ปวด บางคนมีอาการบวมที่เปลือกตา บางคนบวมมากจะตาปิด บางคนหนองไหลออกจากเปลือกตา หากหนองแตกในตาจะทำให้มีขี้ตาเป็นสีเขียว

สาเหตุ

 

เกิดจากเชื้อ Staphylococcus aureus เป็นส่วนใหญ่ หากไม่รักษาหนองอาจจะหายเองได้หรืออาจจะแตกออก หรืออาจเกิดเป็นก้อนที่เรียกว่า chalazionซึ่งอาจจะมีขนาดใหญ่จนรบกวนการมองเห็น และมักจะพบตากุ้งยิงมากในคนไข้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้

  • โรคเบาหวาน
  • โรคเรื้อรังอื่น
  • ผู้ที่มีหนังตาอักเสบเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

การตรวจร่างกาย

 

หากท่านมีปัญหาก้อนที่ตาและมีอาการปวดท่านควรจะไปพบจักษุแพทย์ซึ่งจะตรวจร่างกายอย่างละเอียด

  • แพทย์จะตรวจเปลือกตาทั้งด้านในและด้านนอกของเปลือกตาเพื่อแยกว่าเป็น internal หรือ external hordeolum
  • ท่านอาจจะพบตาท่านแดงเนื่องจากมีการอักเสบของเยื่อบุตา conjunctivitis
  • ต่อมน้ำเหลืองที่หน้าหูมักจะไม่โต

เมื่อมองจากข้างนอก

เมื่อมองที่ด้านในเปลือกตา

ตากุ้งยิงที่หนังตาบน

External hordeolum

ก้อนchalazion

การรักษา

การผ่าระบายหนอง

 

 

  • ใช้มีดเบอร์เล็กๆหรือเข็มเจาะบริเวณหัวหนอง โดยมากให้เจาะจากด้านในของเปลือกตา เนื่องจากว่าการเจาะจากด้านนอกจะทำให้เกิดแผล นอกเสียจากว่าหัวหนองนั้นอยู่ใกล้เปลือกตาด้านนอก
  • หากมีหัวหนองหลายแห่งก็ต้องเจาะหลายที่
  • หากเจาะจากด้านในของเปลือกตาให้เจาะตั้งฉากกับเปลือกตา หากเจาะจากด้านนอกให้เจาะขนานกับเปลือกตาเพื่อป้องกันการดึงรั้งของแผล
  • ห้ามกรีดขอบหนังตาเพราะจะไปทำลายต่อมขนตา
  • ไม่ควรเจาะทั้งด้านในและด้านนอกพร้อมกันเพราะจะทำให้เกิดเป็นรูเรียก fistula

การใช้ยาหยอดตา

 

  • Bacitracin ophthalmic ointment ในรายที่เป็นมากให้ป้ายแผลวันละ 4-6 ครั้งเป็นเวลา 7 วันในรายที่เป็นน้อยป้ายวันละ 2-3 ครั้ง
  • Tobramycin ophthalmic solution หยอดตาวันละ3-4 ครั้ง

ยารับประทาน

 

  • Erythromycin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหารข้อควรระวังในการใช้นาชนิดนี้ได้แก่ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับไม่ควรใช้ร่วมกับยา theophyllin, digoxin, carbamazepine,  cyclosporine warfarin;  lovastatin และ simvastatin ยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง
  • Dicloxacillin ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร
  • Tetracycline ให้ขนาด 250 มก.วันละ 4 ครั้ง ข้อระวังหากรับยานี้ร่วมกับยารักษากระเพาะอาหารหรือยาระบายจะทำให้ลดการดูดซึมยานี้ ทำให้ระดับยาคุมกำเนิดลดลงอาจจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ห้ามใช้ในคนท้อง

การดูแลตัวเอง

  • ประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาทีวันละหลายครั้ง อาจจะใช้ผ้าห่อไข่ต้ม
  • ห้ามบีบหรือเค้นเพื่อเอาหนองออก หากหนองแตกเองก็ให้ล้างบริเวณหนองด้วยน้ำต้มสุก
  • ให้ล้างมือบ่อยๆ
  • ให้หยอดหรือทายาตามสั่ง
  • งดทาเครื่องสำอาง
  • หลีกเลี่ยงการใส่ contact lenses

โรคแทรกซ้อน

 

  • หากไม่รักษาอาจจะทำให้เกิด chalazion ซึ่งจะทำให้เกิดแผลที่แก้วตา หรือความผิดปกติของหนังตา
  • ขนตางอกผิดปกติ หรืออาจจะเกิดรู
  • หากไม่รักษาอาจจะทำให้ตาอักเสบ

                

 

guest

Post : 2013-12-05 02:20:13.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคตาแห้ง

 โรคตาแห้ง

น้ำตาของคนเรามี 3 ชั้น ชั้นในสุดที่ติดกับแก้วตาจะเป็นเมือก ชั้นกลางเป็นน้ำ เป็นตัวให้อาหารและออกซิเจนหล่อเลี้ยงแก้วตา ส่วนชั้นนอกเป็นไขมันป้องกันการระเหยของน้ำตา น้ำตาของคนสร้างต่อมน้ำตาของหนังตาบน เวลาเรากระพริบตา น้ำตาจะถูกขับออกมาเคลือบตา น้ำตาที่หลั่งออกมาจากการกระพริบตาออกครั้งละไม่มาก น้ำตาไหลจากเสียใจหรือเกิดจากการระคายเคืองจะออกเป็นปริมาณมาก

สาเหตุของตาแห้ง

  • เป็นธรรมชาติของคนสูงอายุที่มีการขับน้ำตาออกมาน้อยโดยเฉพาะผู้หญิงจะพบได้บ่อยกว่าผู้ชาย
  • สภาพอากาศ ร้อน อากาศแห้ง ลมแรง
  • ลมจากเครื่องปรับอากาศ ควันบุหรี่
  • หารอ่านหนังสือหรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แนะนำให้หยุดพักตาและกระพริบตาบ่อยๆ
  • การใส่ contact lens
  • การขาดวิตามิน เอ

อาการของโรคตาแห้ง

  • เคืองตา
  • แสบตา
  • ตาแดง
  • ตามัว เมื่อกระพริบตามองเห็นชัดขึ้น
  • น้ำตาไหลมาก
  • เคืองตาหลังจากใช้งานเป็นเวลานาน

การรักษา

  • การใช้น้ำตาเทียมเป็นการลดอาการเท่านั้น
  • ปิดท่อระบายน้ำตา ทำให้มีน้ำตาหล่อเลี้ยงตาเพิ่มขึ้น
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ เวลาอ่านหนังสือหรือทำงานกับคอมพิวเตอร์นานให้กระพริบตาบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการขยี้ตา

                      

guest

Post : 2013-12-05 02:17:37.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคตาแดง

 ตาแดง

โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา (conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง

อาการของโรคตาแดง

แพทย์จะถามถึงยาที่ท่านรับประทาน ยาหยอดตา เลนส์ น้ำยาล้างตา รยะเวลาที่เป็น อาการที่สำคัญคือ

  1. คันตา เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อย คนที่เป็นโรคตาแดงโดยที่ไม่มีอาการคันไม่ใช่เกิดจากโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นอาจจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเช่นหอบหืด ผื่นแพ้
  2. ขี้ตา ลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง
  • ขี้ตาใสเหมือนน้ำตามักจะเกิดจากไวรัสหรือโรคภูมิแพ้
  • ขี้ตาเป็นเมือกขาวมักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง
  • ขี้ตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้าทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
  1. ตาแดงเป็นข้างหนึ่งหรือสองข้าง
  • เป็นพร้อมกันสองข้างโดยมากมักจะเกิดจากภูมิแพ้
  • เป็นข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยเป็นสองข้าง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อเช่นแบคทีเรีย ไวรัส หรือ Chlamydia
  • ผู้ที่มีโรคตาแดงข้างเดียวแบบเรื้อรัง ชนิดนี้ต้องส่งปรึกาแพทย์
  1. อาการปวดตาหรือมองแสงจ้าไม่ได้ มักจะเกิดจากโรคชนิดอื่นเช่นต้อหิน ม่านตาอักเสบเป็นต้น ดังนั้นหากมีตาแดงร่วมกับปวดตาหรือมองแสงไม่ได้ต้องรีบพบแพทย์
  2. ตามัว แม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์
  3. ประวัติอื่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา น้ำตาเทียม เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ

การตรวจร่างกาย

  • คุณลองคลำต่อมน้ำเหลืองรอบหู หากคลำได้อาจจะเป็นโรคติดเชื้อไวรัส หรือจากสัมผัสสารระคายเคือง ส่วนเชื้อแบคทีเรียมักจะคลำไม่ได้ต่อมน้ำเหลือง
  • ในรายที่เป็นไม่มากไม่ต้องตรวจอะไรเพิ่มเติม
  • ในรายที่เป็นรุนแรง เป็นๆหายๆ หรือเป็นเรื้อรังควรจะต้องตรวจเพาะเชื้อจากขี้ตา
  • การนำขี้ตามาย้อมหาตัวเชื้อก็พอจะบอกสาเหตุของโรคตาแดง

การป้องกันโรคตาแดง

  • อย่าใช้เครื่องสำอางร่วมกับคนอื่น
  • อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
  • ล้างมือบ่อยๆ อย่าเอามือเข้าตา
  • ใส่แว่นตากันถ้าต้องเจอสารเคมี
  • อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น
  • อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน
  • ยาเมื่อไม่ได้ใช้ให้ทิ้ง
  • อย่าสัมผัสมือ
  • เช็ดลูกบิดด้วยน้ำสบู่เพื่อฆ่าเชื้อโรค

การรักษาตาแดงด้วยตัวเอง

  • ประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • อย่าขยี้ตาเพราะจะทำให้ตาระคายมากขึ้น
  • ใส่แว่นกันแดด หากมองแสงสว่างไม่ได้
  • อย่าใส่ contact lens ช่วยที่มีตาแดง
  • เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เปลี่ยนหมอนทุก 2 วัน

หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์

  • ตามัวลง
  • ปวดตามากขึ้น
  • กรอกตาแล้วปวด
  • ไข้
  • ให้ยาไปแล้ว 48 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น
  • น้ำตายังไหลอยู่แม้ว่าจะได้ยาครบแล้ว
  • แพ้แสงอย่างมาก

การหยอดยาหยอดตา

  1. ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง
  2. ดึงหนังตาล่างลง
  3. ตาเหลือกมองเพดาน
  4. หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง
  5. ปิดตาและกรอกตาไปมาเพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา
  6. เช็ดยาที่ล้นออกมา
  7. ล้างมือหลังหยอดเสร็จ

               

guest

Post : 2013-12-05 02:15:19.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคต้อกระจก cataract

 

โรคต้อกระจก cataract

เมื่อคนเริ่มจะสูงอายุก็จะเริ่มเกิดการเสื่อมขึ้นตามอวัยวะต่าง เช่นข้อเสื่อม หากเกิดที่สมองก็เกิดสมองเสื่อม เกิดที่หูก็หูตึง เกิดที่ระบบสืบพันธ์ก็เกิดกามตายด้าน หากเกิดที่ตาโดยเฉพาะเลนส์แก้วตาเรียกต้อกระจก

โรคต้อกระจก

แก้วตา (Lens) เป็นเลนส์นูนใสอยู่หลังม่านตา ทำหน้าที่ร่วมกับ กระจกตา ในการหักเหแสงุให้ตกโฟกัสที่จอประสาทตา จึงทำให้เกิดการมองเห็น

ต้อกระจกหรือที่เรียกว่า Cataract เกิดจากเลนส์แก้วตาเสื่อม ทำให้เลนส์แก้วตาขุ่นมัวทำให้มองไม่ชัด อ่านหนังสือไม่ชัด แก้วตาที่ขุ่นลงนี้ ส่งผลให้กำลังหักเหของแสงผิดไป ตลอดจนขัดขวางไม่ให้แสงเข้าตา ผู้นั้นจึงมองภาพเห็นภาพไม่ชัด นั่นคือโรคที่เรียกกันว่า “ต้อกระจก”

เลนส์ตาใส

เลนส์ตาขุ่น

อาการของต้อกระจก

อาการและอาการแสดงของต้อกระจกมีดังนี้

  • มองไม่ชัดเป็นอาการเด่นของต้อกระจกคือ ตาค่อยๆมัวลงอย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการอื่น อาการตามัวจะเป็นมาขึ้นเมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า เช่น เมื่อออกแดด แต่กลับมองเห็นเกือบเป็นปกติในที่มืดสลัวๆ หรือเวลาพลบค่ำ
  • เห็นภาพซ้อนแม้ว่าจะมองด้วยตาข้างเดียวเนื่องจากการหักเหของแสงไม่ลงที่จอประสาท
  • เห็นวงรอบแสงไฟ
  • อ่านหนังสือต้องใช้แสงจ้าๆ
  • ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย
  • เห็นฝ้าขาวบริเวณกลางรูม่านตาในผู้ที่ต้อกระจกสุกเต็มที่แล้ว

การมองเห็นของตาปกติ

การมองเห็นของคนตาเป็นต้อกระจก

สาเหตุ

การมองเห็นของคนปกติ

การมองเห็นของคนที่เป็นต้อกระจก แสงผ่านเข้าจอรับภาพน้อย

แสงจะผ่านจากภายนอกเข้าสู่เลนส์กระจกตา ม่านตาและเลนส์ตา เลนส์ตาทำหน้าที่ปรับให้แสงตกที่จอรับภาพทำให้ภาพชัด คนที่เป็นต้อกระจกเลนส์ตาจะขุ่นมัว ทำให้แสงไม่สามารถผ่านไปยังจอรับภาพได้อย่างสะดวกทำให้ภาพไม่ชัด

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือ อายุพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีจะมีต้อกระจกอยู่แล้วบางส่วน มักพบแก้วตาขุ่นเล็กๆน้อยๆ หรือเป็นต้อกระจกระยะต้นๆ อาจพบจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่จากวัยสูงอายุ เช่น

  • โรคเบาหวาน
  • ประวัติครอบครัวเป็นต้อกระจก
  • เคยได้รับอุบัติเหตุที่ตา
  • การใช้ยาบางชนิดเช่น steroid
  • ติดสุรา
  • เจอแสงแดดมาก
  • ต้องสัมผัสรังสีปริมาณมาก
  • สูบบุหรี่
  • เด็กที่ขาดอาหาร
  • เลนส์ตาได้รับการกระทบกระเทืนอย่างแรง เช่นถูกกระแทก
  • การใช้ยา steroid เพื่อรักษาโรค

การคัดกรอง

  • อายุ 40-65 ปีให้ตรวจตาทุก 2-4 ปี
  • อายุมากกว่า 65 ปี ให้ตรวจทุก 1-2 ปี
  • ตรวจตาเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง

การรักษา

การรักษาขึ้นกับสภาพของต้อกระจกกล่าวคือ

  • ต้อที่เพิ่งจะเริ่มเป็นและเป็นไม่มาก ต้องรอให้ต้อสุกเสียก่อน ระหว่างนี้ก็ให้ตรวจตาตามแพทย์นัด
  • ต้อที่แก่หรือสุกก็ผ่าตัดซึ่งไม่จำเป็นต้องรีบร้อน หากเตรียมตัวพร้อมก็ผ่าตัด
  • ต้ที่สุกและเริ่มมีโรคแทรกซ้อนให้ทำการผ่าตัด

การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัดเอาเลนส์ที่ขุ่นมัวออก วิธีการผ่าตัดทำได้ 2 วิธี

  • Phacoemulsification เป็นวิธีที่นิยมทีสุดโดยการเจาะรูเล็กๆแล้วใช้เครื่อง ultrasound สลายเลนส์และดูดออก
  • Extracapsular โดยการผ่าตัดเป็นแผลเล็กๆแล้วเอาเลนส์ที่เสียออก

หลังจากเอาเลนส์ออกแล้วแพทย์ก็จะใส่แก้วตาเทียมเข้าแทนที่อันเดิม หลังผ่าตัดอาจจะมีอาการระคายเคืองตา อาจจะต้องใส่เครื่องป้องกันการขยี้ตา 1-2 วัน หลังผ่าตัก 1 วันก็จะเห็นชัดขึ้นแต่จะชัดที่สุดคือหลังผ่า 4 สัปดาห์และมีความจำเป็นต้องสวมแว่นตา หลังผ่าตัดหากมีอาการเหล่านี้ให้พบแพทย์

  • ตามองไม่เห็น
  • ปวดตาตลอด
  • ตาแดงมากขึ้น
  • เห็นแสงแปล็บๆ
  • คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะและไอ

การป้องกัน

  • งดสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์

                                  

guest

Post : 2013-12-05 02:12:03.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคต้อหิน glaucoma

 

โรคต้อหิน glaucoma

หลายคนคุ้นเคยกับคำว่าต้อกระจกมากกว่าต้อหิน ต้อกระจกเป็นภาวะที่เลนส์ตาเราขุ่นมัวเหมือนกระจกฝ้าทำให้เห็นไม่ชัด ส่วนต้อหินไม่ได้หมายความว่าเลนส์ตาเราจะแข็งเหมือนหิน แต่หมายถึงการเสื่อมของประสาทตาจากความดันในตาซึ่งสูงขึ้น หรือบางคนความดันตาก็ไม่ได้สูง

การทำงานของตา

การที่จะเข้าใจโรคต้อหินจะต้องเข้าใจถึงโครงสร้างของตา ตาของเรามีลักษณะกลม มีเปลือกตาขาว (sclera ) หุ้ม

อยู่ภายนอก ส่วนหน้าของลูกตาซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็น จะมีเยื่อบางๆหุ้มอยู่เรียกเยื่อนี้ว่า conjunctiva ถัดจากนั้นเป็นชั้นที่เรียกว่า กระจกตา (cornea) เป็นทางให้แสงผ่านชั้นนี้หากขุ่นมัวเราสามารถผ่าตัดเปลี่ยนได้ ถัดจากนั้นก็จะเป็นรูม่านตา pupil ซึ่งจะปรับปริมาณแสงที่ผ่านถ้าสว่างมากรูม่านตาก็จะเล็ก หากมือรูม่านตาก็จะกว้างเพื่อให้แสงผ่านเข้าตามากขึ้น แสงจะผ่านไปเลนส์ lens และไปที่จอรับภาพ retina ในตาจะมีน้ำเลี้ยงเรียก aqueous humor ซึ่งเหล่าเลี้ยงเลนส์ กระจกตา และจะถูกดูดซึมตามท่อข้าง iris muscle ทำให้มีความสมดุลของน้ำในตา

น้ำตาและน้ำเลี้ยงตาเหมือนกันหรือไม่

น้ำตาเป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตาและหล่อเลี้ยงภายนอก ส่วนน้ำเลี้ยงตาจะอยู่ในลูกตาไม่ออกสู่ภายนอก น้ำเลี้ยงตาจะหล่อเลี้ยง กระจกตา เลนส์และม่านตา

ต้อหินคืออะไร

ต้อหินเป็นภาวะที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นและมีการเสื่อมของประสาทต าและสูญเสียการมองเห็น ความดันในตาที่สูงจะกดดันเส้นประสาทตา (optic nerve)ให้เสื่อม ความดันสูงเป็นเวลานานประสาทตาก็จะเสื่อมทำให้สูญเสียการมองเห็น การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด หากไม่ได้รักษาการมองเห็นจะจะได้ภาพเล็กลง การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว โดยมากมักจะเป็นสองข้าง อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน

 

การมองเห็นของคนปกติ

การมองเห็นของคนเป็นต้อหิน

การดำเนินของต้อหิน

  • ต้อหินชนิดเรื้อรังโดยทั่วไปไม่มีอาการรุนแรง เพียงแค่สายตาค่อยๆมัวลงอย่างช้าๆ มีลานสายตาแคบลงผู้ป่วยจะมองเห็นแคบลงๆ ซึ่งผู้ป่วยอาจใช้กลอกตาหรือหันหน้าช่วย จึงทำให้ไม่รู้สึกว่าตัวเองมีความผิดปกติของสายตาเกิดขึ้นแล้ว
  • ขั้นสุดท้าย ตาบอดมองไม่เห็นแล้ว ยังมีอาการเจ็บปวด เคืองตา ยังความทรมานแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก

                                   

guest

Post : 2013-12-05 02:08:05.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคตาบอดสี

 โรคตาบอดสี

โรคตาบอดสี

ตาบอดสีเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ sex linked ทำให้พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 10 ต่อ1ส่วนใหญ่จะบอดสี แดง-เขียว พบรองลงมาได้แก่ น้ำเงิน-เหลือง คนที่บอดสี แดง-เขียวมักจะบอดสี น้ำเงิน-เหลืองด้วย

อาการ และการรักษา

ในรายที่เป็นไม่รุนแรงอาจจะไม่มีอาการ ในรายที่เป็นรุนแรงผู้ปกครองอาจจะสังเกตพบตอนเป็นเด็ก ยังไม่มีการรักษาเฉพาะเป็นแล้วจะเป็นตลอดชีวิต บางประเทศอาจจะมีข้อห้ามในการเป็นนักบิน

การตรวจตาบอดสี

โดยการให้อ่านกระดาษซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข หรือหนังสือคนตาปกติจะบอกเลขได้

 

1.jpg (15372 bytes) 2.jpg (17278 bytes) 3.jpg (16672 bytes) 4.jpg (16090 bytes)
6.jpg (17245 bytes) 7.jpg (15147 bytes) 8.jpg (16981 bytes) 9.jpg (18137 bytes)
5.jpg (15865 bytes) 10.jpg (17142 bytes) 11.jpg (15737 bytes) 12.jpg (16732 bytes)

 

                            

guest

Post : 2013-12-04 22:47:50.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคหู คอ จมูก

 โรคหู คอ จมูก

โรคหู คอ จมูกที่พบบ่อยในเด็ก

       เนื่องจากหู คอ จมูก เป็นช่องทางที่ผู้มาเยือนอย่างไวรัส เชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม สามารถเดินทางผ่านเข้ามาได้โดยตรง โดยเฉพาะเด็กที่ไม่สามารถบอกอาการต่าง ๆ ได้ดีนัก ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรเป็นฝ่ายช่างสังเกตเพื่อนำอาการไปบอกเล่าให้แพทย์ฟัง เพื่อที่แพทย์จะได้วินิจฉัย และทำการรักษาได้อย่างถูกต้องทันการ
       
       ทั้งนี้ โรคหู คอ จมูกที่พบบ่อยในเด็กมีดังนี้
       
       1. โรคของคอ : คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ
       
       อาการที่ตรวจบพบ ถ้าเด็กโตจะสามารถบอกได้ว่าเจ็บคอ แต่เด็กเล็กมักจะรับประทานนมได้น้อยลง น้ำลายไหล เพราะกลืนจะรู้สึกเจ็บ ถ้าเป็นมากจะมีไข้ มีแผลในปาก มีกลิ่นปาก อาจคลำพบก้อนเล็ก ๆ ที่บริเวณด้านข้างของลำคอ เนื่องจากมีต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโตและอักเสบ
       
       ดังนั้น พ่อแม่หรือคนเลี้ยงต้องช่างสังเกต ถ้าเด็กได้รับการรักษาในระยะ 1 - 2 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์อีกครั้ง
       
       2. โรคของจมูก : จมูกอักเสบจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย จากการก่อภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ หรือมีสิ่งแปลกปลอมในจมูก
       

       อาการที่พบคือ มีน้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก แน่นจมูก เลือดกำเดาไหล จมูกมีกลิ่นเหม็น นอนกรน
       
       น้ำมูกไหล อาการร่วมด้วยคือ หายใจไม่สะดวกเพราะแน่นจมูก กวนโยเย ขยี้จมูก ลักษณะของน้ำมูกอาจใส หรือข้น เหลืองหรือเขียว เยื่อจมูกบวมแดงหรือบวมซีด เนื่องจากน้ำมูกไหลจึงต้องเช็คจมูกบ่อย ๆ จนรอบ ๆ จมูกเป็นแผล เด็กต้องหายใจทางปาก อาการเหล่านี้ ถ้าพบในช่วงดึกที่ยังไม่สามารถพบแพทย์ได้ ให้ช่วยเด็กไปก่อนโดยการให้เด็กนอนหัวสูง หรืออุ้มเด็กซบกับไหล่ อย่าให้พัดลมหรือลมจากเครื่องปรับอากาศเป่าตรงมาที่ตัวเด็ก เพราะจะยิ่งทำให้แน่นจมูกมากขึ้น ใส่เสื้อให้อุ่น อย่าให้อุณหภูมิในห้องเย็นเกินไป
       
       เลือดกำเดาไหล ถ้าเลือดกำลังออกจากจมูก ให้บีบจมูกด้านนอกส่วนปลายจมูก (ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งที่เลือดออกจากด้านในจมูก) นั่งโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย ถ้ามีเลือดไหลลงคอด้วยให้บ้วนใส่ภาชนะไว้ เพื่อจะได้ทราบปริมาณเลือดคร่าว ๆ ว่ามากน้อยเพียงใด เอาผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งวางบริเวณหน้าผาก เพื่อให้เส้นเลือดหดตัว ถ้าสาเหตุที่ทำให้เลือดออกอยู่ในจมูกจะมีเลือดออกไม่มาก และจะหยุดได้เองหากปฏิบัติตามวิธีห้ามเลือดดังกล่าว
       
       จมูกมีกลิ่นเหม็น อาจมีสาเหตุมาจากไซนัสอักเสบ ถ้าจมูกมีน้ำมูกข้นและเหม็นข้างเดียว มักมีสาเหตุมาจากสิ่งแปลกปลอมในจมูก ซึ่งเด็กอาจตั้งใจใส่เข้าไปหรือเพียงแค่สูดดมแต่เผอิญสิ่งนั้นหลุดเข้าจมูก เด็กจะไม่บอกเพราะกลัวโดนดุ คนเลี้ยงต้องสังเกตและพาไปพบแพทย์
       
       นอนกรน มักมีสาเหตุมาจากต่ออะดินอยซึ่งอยู่ด้านหลังจมูกโต ทำให้ทางผ่านของลมหายใจแคบ ทำให้เกิดเสียงกรน ต่ออะดินอยด์โตนำไปสู่การมีจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ฯลฯ
       
       จมูกอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้ เด็กอาจจะมีอาการจาม น้ำมูกใส แน่นจมูก อาจคันจมูก คันตา คันคอ คันหูร่วมด้วย เหล่านี้เกิดจากเด็กได้รับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งอาจเป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เช่น ตุ๊กตาขนปุย นุ่น ผ้าห่ม พรม ไรฝุ่น ขนของสัตว์เลี้ยง
       
       3. โรคของหู : หูชั้นกลางอักเสบ หูชั้นนอกอักเสบ ขี้หูอุด สิ่งแปลกปลอมในหูชั้นนอก ฯลฯ
       

       อาการที่ตรวจพบ คือปวดหู หูอื้อ เด็กบางคนจะบอกว่ามีเสียงใหญ่ ๆ ในหู เวลากลางคืนมีเสียงกึกกักในหู อาจกดเจ็บบริเวณหน้าหู จับที่ใบหูแล้วเจ็บ มีน้ำสีขุ่น ๆ หรือหนองไหลจากหู หรือมีแก้วหูทะลุ
       
       หูชั้นกลางอักเสบ เด็กมักมีประวัติว่ามีน้ำมูกหรือเจ็บคอ หรือมีอาการของหวัดมา 2 - 3 วันจึงมีอาการปวดหู เนื่องจากหูชั้นกลางมีท่อต่อกับด้านหลังจมูก เรียกว่าท่อยูสเตเชี่ยน ทำหน้าที่ปรับความดันอากาศภายในหูชั้นกลางให้เท่ากับความดันอากาศภายนอก โดยอาศัยการเปิดปิดของท่อยูสเตเชี่ยน เมื่อเด็กมีด้านหลังจมูกอักเสบ ทำให้ท่อยูสเตเชี่ยนไม่สามารถเปิดปิดได้ตามปกติ เป็นผลให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบ ทำให้เด็กปวดหู หูอื้อ ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ มิฉะนั้นจะเกิดเป็นหนองในหูชั้นกลาง และดันให้แก้วหูทะลุได้
       
       ขี้หูอุด การมีขี้หูอุดตันช่องหูจะทำให้เกิดการปวดหูได้ โดยเฉพาะหลังการไปว่ายน้ำ หรืออาบน้ำแล้วน้ำเข้าหู เพราะน้ำจะทำให้ขี้หูพองตัวไปดันช่องหู ทำให้มีอาการปวดหู กรณีนี้อย่าพยายามแคะหูเอง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อช่องหู ควรให้แพทย์ทำให้ดีกว่า
       
       สิ่งแปลกปลอมภายในหู เด็กมักไม่บอกว่าเอาอะไรใส่หูเพราะเกรงโดนดุ บางครั้งเพื่อนอาจเอื้อเฟื้อใส่ให้ ในกรณีเช่นนี้หากเอาออกเองไม่ได้ ก็ควรไปพบแพทย์
       
       สำหรับผู้ปกครอง การดมหู จมูก ปากของลูกบ่อย ๆ จะช่วยให้ทราบว่าลูกมีอาการอักเสบหรือไม่ เพราะกลิ่นของอวัยวะปกติจะแตกต่างจากกลิ่นยามอักเสบ มีหนอง และรักษาได้ไม่ยากหากพามาพบแพทย์ในเวลาอันสมควร

                         

guest

Post : 2013-12-04 22:43:27.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคต่อมไร้ท่อ

โรคต่อมไร้ท่อ

โรคต่อมไร้ท่อ หรือโรคระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine disorders หรือ Endocrine disease) คือ โรคที่เกิดกับอวัยวะต่างๆในระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) ซึ่งอวัยวะในระบบต่อมไร้ท่อมักเป็นต่อมต่างๆที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย มีหน้าที่ช่วยกันทำงานเป็นเครือข่ายสร้างฮอร์โมนต่างๆ เพื่อควบคุมการทำงานทุกชนิดของร่างกาย รวมทั้งในด้านของเพศลักษณ์ การสืบพันธุ์ การตั้งครรภ์ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

อวัยวะ/ต่อมที่อยู่ในเครือข่ายของระบบต่อมไร้ท่อได้แก่ สมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปธาลา มัส (Hypothalamus เป็นสมองส่วนอยู่ลึกตรงกลางระหว่างสมองใหญ่ซ้ายและขวาที่เรียกว่า Diencephalon) ต่อมไพเนียล ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์/ต่อมเคียงไท รอยด์ (Parathyroid gland ต่อมขนาดเล็กอยู่ใต้ต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่หลัก คือ ควบคุมการทำ งานของแคลเซียม) ต่อมไทมัส (Thymus gland ต่อมอยู่ในช่องอกส่วนบน หน้าต่อหัวใจ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย) ต่อมหมวกไต ตับอ่อน รังไข่ (ในผู้หญิง) และอัณฑะ (ในผู้ชาย)

ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนต่างๆ และฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อจะเข้าสู่กระแสโล หิตโดยตรง ไม่ต้องมีท่อนำส่ง จึงเป็นที่มาของชื่อ “ต่อมไร้ท่อ”

ต่อมไร้ท่อแต่ละชนิดจะสร้างฮอร์โมนที่แตกต่างกัน แยกกันทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย แต่ฮอร์โมนต่างๆเหล่านี้ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงถึงกันเสมอ โดยทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย จึงส่งผลให้โรคของต่อมไร้ท่อมีความสัมพันธ์กันเสมอ ถึงแม้จะเกิดโรคกับต่อมไร้ท่อต่อมใดต่อมหนึ่งก็ตาม ก็จะกระทบถึงการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆได้ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลถึงการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย

การทำงานของต่อมไร้ท่อ มักทำงานด้วยระบบ หรือ วงจร ที่เรียกว่า การป้อนกลับทางลบ หรือการควบคุมย้อนกลับแบบลบ (Negative feed back mechanism) เพื่อควบคุมปริมาณฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์พอดีต่อการใช้งานของร่างกาย (เกณฑ์ปกติ) โดยเมื่อร่างกายขาดฮอร์ โมน ภาวะขาดฮอร์โมนนั้นๆจะกระตุ้นให้เครือข่ายของการสร้างฮอร์โมนนั้นๆทำงานมากขึ้น ส่ง ผลให้มีการสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไร้ท่อนั้นๆมากขึ้น เพื่อให้ต่อมไร้ท่อนั้นๆสร้างฮอร์โมนที่ขาดหายไปให้ได้เพียงพอต่อร่างกาย วนเวียนเป็นวงจรอยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่างเช่น ในการทำงานของต่อมไทรอยด์ เมื่อร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ปริมาณไทรอยด์ฮอร์โมนที่ลดลง จะกระตุ้นให้สมอง ไฮโปธาลามัส สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมใต้สมองในส่วนควบคุมต่อมไทรอยด์ให้ทำงานมากขึ้น ต่อมใต้สมองส่วนนั้นจึงสร้างฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์มากขึ้น ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างไท รอยด์ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น จนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งระดับไทรอยด์ที่ปกตินี้ ก็จะส่งสัญญาณกลับไปยัง สมองไฮโปธาลามัส ลดการสร้างฮอร์โมน ส่งผลลดการทำงานของต่อมใต้สมอง และต่อมไทรอยด์ ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ วนเวียนเป็นวงจรควบคุมให้การสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ดังนั้นการผิดปกติของวงจรนี้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคในระบบต่อมไร้ท่อ

โรคของต่อมไร้ท่อ พบเกิดได้ในคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยในเด็กแรกเกิด มักเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด หรือจากความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น เป็นต้น

โรคของอวัยวะในระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยที่สุด คือ โรคเบาหวาน ที่เกิดจากการทำ งานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อของตับอ่อน

ส่วนโรคของต่อมไร้ท่ออื่นๆ เป็นโรคที่พบได้น้อยกว่าโรคเบาหวานมาก เช่น

  • ภาวะประจำเดือนผิดปกติจากโรคของรังไข่ (เช่น โรคพีซีโอเอส)
  • ภาวะนกเขาไม่ขัน
  • โรคของต่อมไทรอยด์ (โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน)
  • โรคอ้วนที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต หรือของต่อมใต้สมอง
  • โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไต ของต่อมใต้สมอง ของต่อมพาราไทรอยด์
  • โรคเนื้องอกสมอง

โรคต่อมไร้ท่อมีสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?

โรคต่อมไร้ท่อ

สาเหตุของโรคต่อมไร้ท่อเกิดได้จาก

  • สาเหตุจากมีฮอร์โมนเกินปกติ
  • สาเหตุจากมีฮอร์โมนต่ำกว่าปกติ
  • โรคมะเร็งของต่อมนั้นๆ
  • และโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
  • สาเหตุจากมีฮอร์โมนเกินปกติ ที่พบได้บ่อย คือ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ และโรคถุงน้ำรังไข่หลายๆใบ/โรคพีซีโอเอส (PCOS) ที่เป็นสาเหตุให้ไม่มีประจำเดือน นอกนั้น เป็นโรคพบได้ประปราย เช่น โรคต่อมหมวกไตทำงานเกิน (Cushing’ syndrome) โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไต ชนิด Pheochromocytoma โรคเนื้องอกตับอ่อนชนิด Insulinoma โรคเนื้องอกต่อมพาราไทรอยด์ โรคเนื้องอกต่อมใต้สมองชนิด Prolactinoma หรือชนิด Acromegaly
  • สาเหตุจากมีฮอร์โมนต่ำกว่าปกติ ที่พบบ่อย คือ โรคเบาหวาน และภาวะขาดไท รอยด์ฮอร์โมน นอกนั้น เป็นโรคที่พบได้ประปราย เช่น โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง ชนิด Pituitary adenoma โรคทางพันธุกรรมบางชนิดที่ทำให้ รังไข่ หรืออัณฑะทำงานต่ำกว่าปกติ (Hypogo nadism)
  • โรคมะเร็งของอวัยวะในระบบต่อมไร้ท่อ ที่พบบ่อย คือ โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ส่วนที่พบได้บ้าง คือ โรคมะเร็งตับอ่อน ที่พบได้ประปราย คือ โรคมะเร็งของต่อมไร้ท่อชนิดอื่นๆ เช่น ของต่อมหมวกไต หรือของต่อมใต้สมอง
  • โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง เป็นสาเหตุที่พบได้ไม่บ่อยนัก เช่น โรคต่อมไท รอยด์อักเสบชนิด Hashimoto และโรค เอสแอลอี (SLE)

อนึ่ง อวัยวะต่างๆในระบบต่อมไร้ท่อ มักไม่เกิดโรคจากการอักเสบติดเชื้อ

โรคต่อมไร้ท่อมีอาการอย่างไร?

อาการของโรคในระบบต่อมไร้ท่อ จะขึ้นกับว่าเป็นโรคที่เกิดกับต่อมไร้ท่ออะไร ทั้งนี้ โดย ทั่วไป คือ

  • อาการจากโรคที่เกิดกับสมองส่วนไฮโปธาลามัส โรคที่เกิดเฉพาะกับสมองส่วนนี้พบได้น้อยมากๆ โดยทั่วไปจะเป็นโรคเนื้องอก หรือโรคมะเร็งสมองส่วนอื่นๆที่มีขนาดโตจนลุกลามเข้ามาในสมองส่วนนี้ ดังนั้น อาการจึงมักเป็นอาการของโรคเนื้องอกและมะเร็งสมอง ซึ่งส่วนใหญ่คือ อาการปวดศีรษะที่อาการรุนแรงเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับอาจมีอาการ คลื่นไส้ อา เจียน ชัก และ/หรือ แขน/ขาอ่อนแรง (อัมพฤกษ์ อัมพาต)
  • อาการที่เกิดจากโรคของต่อมไพเนียล มักเป็นโรคที่เกิดจากเนื้องอก หรือโรคมะเร็งของต่อมไพเนียล และมักพบในเด็ก และมักเป็นเด็กชาย ซึ่งต่อมไพเนียลมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแสดงสัญลักษณ์ทางเพศ ดังนั้น อาการจากโรคของต่อมไพเนียล จึงมักเป็นอาการที่เด็กเจริญเป็นวัยรุ่นก่อนวัย เช่น มีหนวด หรือมีนมตั้งเต้าตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กหรือเป็นเด็กโต เป็นต้น
  • อาการที่เกิดจากโรคของต่อมใต้สมอง อาการของโรคต่อมใต้สมอง มักเกิดจากโรคเนื้องอก ส่วนน้อยมากเกิดจากโรคมะเร็ง ซึ่งอาการจะมีได้หลากหลายมาก เพราะต่อมใต้สมองควบ คุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่นๆ (เช่น ต่อมไทรอยด์ รังไข่หรืออัณฑะ) เช่น อาการจากภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน อาการประจำเดือนผิดปกติ การมีบุตรยาก หรือนกเขาไม่ขัน
  • อาการที่เกิดจากโรคของต่อมไทรอยด์ เช่น ต่อมไทรอยด์โต มีเนื้องอกต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน และโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • อาการที่เกิดจากโรคของต่อมพาราไทรอยด์ คือ อาการชักจากการมีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มักเกิดจากเซลล์ต่อมพาราไทรอยเจริญเกินปกติ จึงสร้างฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงเกินปกติ (Parathyroid hyperplasia) หรือ เนื้องอกต่อมพาราไทรอยด์
  • อาการที่เกิดจากโรคของต่อมไทมัส ซึ่งมักเกิดจากโรคเนื้องอกของต่อมไทมัส (Thymoma) ซึ่งอาการคือ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myastenia gravis) ซึ่งมีอาการสำคัญ คือ กล้ามเนื้อทั่วร่างกายอ่อนแรงเมื่อต้องออกแรง แต่จะกลับเป็นปกติเมื่อหยุดออกแรง
  • อาการที่เกิดจากโรคของตับอ่อน คือ อาการของโรคเบาหวาน
  • อาการที่เกิดจากโรคของต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นโรคที่พบได้เพียงประปราย อาจจากเซลล์ต่อมหมวกไตเจริญเกินปกติ หรือมีเนื้องอก อาการที่อาจพบได้ เช่น โรคอ้วน อ่อนเพลียมาก เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล หรือมีความดันโลหิตสูง
  • อาการที่เกิดจากโรคของรังไข่ ที่พบบ่อย คือจากโรคพีซีโอเอส ซึ่งอาการพบบ่อย คือ ภาวะขาดประจำเดือน และมีบุตรยาก
  • อาการที่เกิดจากโรคของอัณฑะ มักเกิดจากอัณฑะฝ่อ ซึ่งอาการที่พบได้ คือ นกเขาไม่ขัน

แพทย์วินิจฉัยโรคต่อมไร้ท่อได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยโรคทางต่อมไร้ท่อได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน การตรวจร่างกาย การตรวจเลือดและ/หรือการตรวจปัสสาวะเพื่อหาระดับฮอร์โมนต่างๆ การตรวจภาพอวัยวะที่สงสัยว่ามีโรคด้วย อัลตราซาวด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือ เอมอาร์ไอ และบ่อยครั้ง คือ การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมที่เกิดโรคเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา

รักษาโรคต่อมไร้ท่ออย่างไร?

แนวทางการรักษาโรคทางต่อมไร้ท่อ คือ การรักษาสาเหตุ และการรักษาตามอาการ

  • การรักษาตามสาเหตุ เช่น การให้ฮอร์โมนชดเชยเมื่อเกิดจากการขาดฮอร์โมน การให้ยาต้านฮอร์โมนเมื่อเกิดจากการมีฮอร์โมนเกิน การผ่าตัด ยาเคมีบำบัด และ/หรือ รังสีรักษา เมื่อเกิดจากโรคเนื้องอก หรือโรคมะเร็ง
  • การรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวดเมื่อมีอาการปวด การให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น

โรคต่อมไร้ท่อรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม?

ความรุนแรงของโรคต่อมไร้ท่อขึ้นกับสาเหตุ และขึ้นกับว่าเป็นโรคของต่อมอะไร เช่น เมื่อสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็ง ความรุนแรงโรคจะสูง หรือเมื่อเกิดโรคกับสมองไฮโปธาลามัส ความรุนแรงโรคจะสูง เป็นต้น

ในโรคที่เกิดจากเนื้องอก หรือโรคมะเร็ง ถ้าผ่าตัดก้อนเนื้อ หรือก้อนมะเร็งไม่ได้ ความรุนแรงโรคจะสูงกว่าการผ่าตัดก้อนเนื้อออกได้

นอกจากนั้น ความรุนแรงโรคจะเช่นเดียวกับในโรคอื่นๆ คือ ขึ้นกับสุขภาพโดยรวมของผู้ ป่วย และอายุ โดยในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ ความรุนแรงโรคจะสูงกว่าในวัยอื่นๆ

อนึ่ง โรคของต่อมไร้ท่อ มักเป็นโรคเรื้อรัง และดังกล่าวแล้วว่า ฮอร์โมนมีส่วนสำคัญในการทำงานของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยโรคต่อมไร้ท่อ จึงมักมีปัญหาในด้านคุณ ภาพของชีวิต และมักจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ พยาบาลตลอดชีวิต

ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ เมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆ และอาการไม่ดีขึ้นภายในระยะ เวลาประมาณ 1 สัปดาห์หลังการดูแลตนเอง หรือถ้าอาการเลวลง ควรรีบพบแพทย์เสมอ และเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางต่อมไร้ท่อ การดูแลตนเองและการพบแพทย์ คือ

  • ปฏิบัติตามแพทย์พยาบาลแนะนำ กินยาต่างๆที่แพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรง เพราะความผิดปกติในฮอร์โมนทุกชนิดจะส่งให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้าน ทานโรคต่ำลง จึงติดเชื้อได้ง่าย และเนื่องจากดังกล่าวแล้วว่า โรคทางต่อมไร้ท่อจะเป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้นจึงมักมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตเสมอ
  • กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกๆวัน ในปริมาณให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานของร่างกาย เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง และป้องกันโรคอ้วน
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือเมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือเมื่อกังวลในอาการ

มีการตรวจคัดกรองโรคต่อมไร้ท่อไหม?

โดยทั่วไป ยังไม่มีวิธีตรวจคัดกรอง (ตรวจให้พบโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ) โรคทางต่อมไร้ท่อ ยกเว้น โรคเบาหวาน ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองได้จากการตรวจน้ำตาลในเลือดในการตรวจสุขภาพประจำปี

ป้องกันโรคต่อมไร้ท่อได้อย่างไร?

เมื่อดูจากสาเหตุ โรคทางต่อมไร้ท่อเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีป้องกัน ยกเว้น โรคเบาหวาน ซึ่งการป้องกันสำคัญ คือ ป้องกันการเกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน โดยการจำกัดการกิน อาหารไขมัน อาหารเค็ม อาหารแป้งและน้ำตาล ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุข ภาพทุกๆวัน

นอกจากนั้น เพื่อลดความรุนแรงของโรค ควรมีการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เพื่อการรักษาควบคุมโรคตั้งแต่ในระยะยังไม่มีอาการ เพราะการควบคุมโรคจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาเมื่อเกิดอาการแล้วเป็นอย่างมาก

          

 

guest

Post : 2013-12-04 22:38:17.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การตรวจสุขภาพ

 การตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง

ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปทั้งในแง่การใช้แรงงานทำงานมาใช้สมองนั่งโต๊ะทำงาน การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบทำให้เกิดความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ขาดการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ขาดความสนใจต่อสุขภาพตัวทำให้เกิดโรคต่างๆซึ่งเกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดีเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกัน หรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราใส่ใจดูแลตัวเอง เพียงใช้เวลาวันละประมาณ 1 ชั่วโมงก็สามารถทำให้สุขภาพดีขึ้น

คนไทยทุกวันนี้รักสุขภาพมากขึ้นจะเห็นได้จากกระแสการใช้สมุนไพร การนวด spa ชาเขียว อาหารเสริมต่างๆ การตรวจสุขภาพต่างๆ ทั้งที่อาจจะไม่มีรายงานว่าได้ผลจริงทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและเสียงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน

ในความหมายของคนทั่วไปการตรวจสุขภาพคือไปพบแพทย์และตรวจตามโปรแกรมตามที่แพทย์หรือโรงพยาบาลเสนอ ในความเป็นจริงการตรวจสุขภาพตนเองควรจะเริ่มต้นโดยตัวเองสำรวจสุขภาพตนเองได้แก่

คำแนะนำให้ทำเป็นประจำ

การพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ

แม้ว่าคุณจะดูแลสุขภาพของคุณอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม ยังมีความจำเป็นสำหรับคนบางประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง สมควรที่จะได้พบกับแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเจาะเลือด สภานพยาบาลหลายแห่งจึงจัดรายการตรวจสุขภาพ ทั้งการตรวจหาโรคหัวใจ การตรวจหาโรคมะเร็งซึ่งการตรวจบางอย่างเกินความจำเป็น

ควรจะตรวจสุขภาพตั้งแต่อายุเท่าใด

ในความเป็นจริงเราเริ่มต้นตรวจสุขภาพตั้งแต่แรกเกิดเลย จะเห็นได้ว่าหลังจากคลอดคุณหมอจะนัดพาเด็กไปตรวจสุขภาพชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบศีรษะและฉีดวัคซีนป้องกันโรค แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ไม่มีโรคทางกรรมพันธุ์ในครอบครัวก็อาจจะจะเริ่มต้นตรวจเมื่ออายุ 35 ปี แต่หากคุณเป็นคนอ้วน มีประวัติเบาหวานในครอบครัว ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจของญาติสายตรง ไขมันสูงในครอบครัวหรือเจ็บป่วยบ่อยก็อาจจะเริ่มต้นตรวจที่อายุน้อยกว่านี้บางประเทศ เช่นในอเมริกาแนะนำให้ตรวจไขมันในเลือดตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนเรื่องความถี่ก็ขึ้นกับสิ่งที่ตรวจพบหากพบว่ามีโรคหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคก็อาจจะต้องตรวจถี่ หากไม่เสี่ยงก็อาจจะตรวจทุก 3-5 ปี

จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

หากต้องการเจาะเลือดควรจะงดอาหารไปอย่างน้อย 8 ชั่วโมงหากต้องการตรวจไขมันในเลือดควรจะงดอาหาร 12 ชั่วโมง หากไม่ได้ตรวจไขมันหรือน้ำตาลก็ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร หลังจากเจาะเลือดก็ไปรับประทานอาหาร สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องทำตัวเหมือนปกติก่อนตรวจไม่ควรที่จะควบคุมตัวเองเป็นพิเศษเพื่อที่จะให้ผลตรวจออกมาดี ไม่ควรกังวลหรือดื่มสุรก่อนการตรวจ การอดอาหารหมายถึงอาหารทุกอย่างทั้งน้ำชา กาแฟ นมดื่มได้เฉพาะน้ำเท่านั้น ม่ควรจะออกกำลังกายก่อนการเจาะเลือดเพราะมีผลต่อการตรวจเลือด

แพทย์เขาจะตรวจอะไรบ้าง

การตรวจร่างกายโดยทั่วไปจะเริ่มต้นซักประวัติ

  • สุขภาพโดยทั่วไป

  • ประวัติโรคในครอบครัวเพื่อค้นหาโรคทางพันธุกรรม

  • ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต

  • ประวัติการใช้ยา

  • การตรวจร่างกาย วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกาย ตรวจร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า สำหรับผู้หญิงก็แนะนำเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง และการตรวจภาย

การเจาะเลือดเขาตรวจดูอะไรบ้าง

โดยปกติก็จะมีการตรวจเลือด CBC,LFT,Lipid,Creatinin,Urine analysis,X-ray แต่หากคุณต้องการตรวจอย่างอื่นให้ปรึกษาแพทย์ ตารางที่แสดงข้างล่างจะแสดงชื่อโรค วิธีการตรวจ และข้อบ่งชี้ในการตรวจ

โรคที่อยากรู้

รายการตรวจ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

การวัดความดันโลหิต

ความดันโลหิต

  • 18-35ปีให้วัดทุก 2 ปี

  • มากกว่า35ปีให้วัดทุกปี

การวัดสายตา

วัดสายตา

  • ผู้ที่อายุมากกว่า 40ปีให้ตรวจทุกปี

การตรวจเต้านม มะเร็งเต้านม

การตรวจเต้านมโดยแพทย์

  • 20-40ปีให้ตรวจทุก 3 ปี

  • มากกว่า 40ปี ให้ตรวจทุกปี

การตรวจรังสีเต้านม

Mamography

  • ควรทำในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี

  • ญาติสายตรงที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่

การตรวจทางทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่

การใช้นิ้วล้วงก้น

  • ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีให้ตรวจทุก 3 ปี

ภาวะโลหิตจาง

CBC

  • ตรวจสุขภาพทุกครั้ง

การตรวจแยกฮีโมโกลบิน

Hemoglobin typing

  • ก่อนการแต่งงาน

การตรวจปัสสาวะ

การตรวจปัสสาวะ

  • ตรวจสุขภาพทุกครั้งทุกวัย

ตรวจพยาธิ

ตรวจอุจาระ

  • ทุกวัยให้ตรวจทุก 3-5 ปี

โรคเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือด

ไขมันในเลือด

เจาะหาไขมัน

การทำงานของตับ

Liver function test

 

ไต

BUN Creatinin(Cr)

 

หัวใจ

  • ตรวจหาระดับน้ำตาล

  • ระดับน้ำตาลในเลือด

  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

  • X-ray ปอดและหัวใจ

  • การตรวจโดยการวิ่งสายพาน

  • Cardiac enzyme

โรคเก๊าท์

Uric acid

 

การตรวจความหนาแน่นกระดูก

Bone density

  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย

  • มีญาติสายตรงเป็นโรคกระดูกพรุน

  • ได้รับยาที่อาจจะเป็นโรคกระดูกพรุน เช่น steroid

ต่อมลูกหมาก

PSA

 

การตรวจภายใน

PV

ควรจะตรวจทุก 1 ปี

ต่อมไทรอยด์

Thyroid function test

  • ควรจะตรวจในรายที่เคยผ่าตัดไทรอยด์ หรือได้รับไอโอดีนกัมมันตรังสี

โรคเอดส์

เจาะเลือดตรวจเอดส

การตรวจอัลตราซาวนด์ตับ

Ultrasound

  • ผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบบี

  • ผู้ที่เป็นโรคตับ

การตรวจความดันตา โรคต้อหิน

การตรวจตาสำหรับประชาชน

  • ตรวจทุก 1 ปี

  • สำหรับผู้ที่มีโรคเสี่ยง เช่น ต้อหิน สายตาสั้นมาก เบาหวาน

  • เริ่มตรวจเมื่ออายุมากกว่า40 ปี

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตรวจสุขภาพ

การตรวจสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไปหมายถึงการเจาะเลือดเมื่อทราบผลว่าไม่เป็นโรคก็สบายใจ แต่ในความเป็นจริงหากเขาอยู่ในความเสี่ยงของการเกิดโรคเขาจะต้องป้องกันเพื่อมิให้โรคนั้นเป็นกับตัวเขา ดังตัวอย่าง คนที่มีพ่อหรือแม่เป็นเบาหวาน ดังนั้นเขาจะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเมื่อผลเลือดบอกไม่เป็นเบาหวานแทนที่เขาจะปรับฟฤติกรรมเพื่อป้องกันเบาหวาน แต่เขาก็ยังใช้ชีวิตแบบสบายๆ ไม่คุมน้ำหนักไม่ออกกำลังกาย หากดำรงชีวิตแบบเก่าสักวันหนึ่งเขาก็จะเป็นเบาหวาน

หรือคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเอดส์เมื่อผลเลือดปกติก็ควรที่จะลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแต่เขาก็ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ หรือคนที่ดื่มสุราเจาะเลือดเพื่อตรวจดูว่าเป็นโรคตับหรือยังเมื่อผลเลือดปกติ เขาก็ยังดื่มสุราอยู่ การตรวจสุขภาพดังกล่าวไม่น่าจะมีผลดีต่อผู้ป่วย

 

               

guest

Post : 2013-12-04 22:33:28.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้


โรคภูมิแพ้

 

โรคภูมิแพ้ กับฝุ่นที่ทำงานและห้องนอน (เดลินิวส์)

 

          โรคภูมิแพ้ เป็นโรคหนึ่งที่พบบ่อย ในที่นี้หมายถึงภูมิแพ้จากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศเรามองไม่เห็น ทำให้เกิดอาการแพ้ คันจมูก น้ำมูกไหล เป็นไม่มากแต่เรื้อรังก่อความรำคาญให้ไม่สะดวกในการทำงาน สาเหตุป่วยเป็น โรคภูมิแพ้ ก็รู้ๆ อยู่แต่ไม่สามารถแก้ไขให้หายขาดได้ เพราะฝุ่นมีอยู่ทั่วไป ทำให้เป็นโรคเรื้อรังประจำตัวกันมาก

 

          โรคภูมิแพ้ เรื่องแพ้ฝุ่นละอองบางคนโชคดีไม่แพ้ ผู้ที่แพ้จะมีอาการมากน้อยต่างกัน ตั้งแต่คันจมูก คันตา น้ำมูกใส จามบ่อย แน่นจมูก เจ็บคอ ไปจนถึงอาการมากแน่นหอบหายใจไม่ค่อยออกแบบหอบหืด จะเห็นมาโรงพยาบาลกันบ่อยตอนเช้ามืด มาสูดดมออกซิเจน กันสักพัก พอค่อยดีขึ้นจึงค่อยกลับไป

 

          สารทำให้เป็น โรคภูมิแพ้ ที่พบบ่อยมี ฝุ่น นุ่น ละอองเกสรพืช ไรฝุ่น ขนสัตว์จากสุนัขและแมวไปจนถึงเชื้อราในอากาศ รวมทั้งอุณหภูมิของอากาศเป็นตัวช่วย บางครั้งอากาศหนาวเย็นจะมีอาการแพ้ง่ายขึ้น ภาวะมลพิษ บางคนอยู่ในบ้านหรือในตัวเมืองแพ้ พอออกไปอยู่ริมทะเลได้สัมผัสอากาศที่เย็นสบาย หรืออยู่บนที่สูงภาวะมลพิษน้อย อาการอาจทุเลาลงหรือหายไป รู้สึก สดชื่นสบายขึ้น หรือบางท่านว่าอาจเกิดจากพันธุกรรมได้ถึง 75%

 

          โรคภูมิแพ้ ระบบทางเดินหายใจได้แก่ หืด จมูกอักเสบ คาดว่ามีถึง 18 ล้านคน แพ้จากไรฝุ่นราว 30% ในฝุ่น จะมีตัวไรฝุ่นแฝงอยู่ เรามองไม่เห็น ชอบอากาศชื้น ในบ้านเรือนจะเกาะอยู่ทั่วไปและ บนโต๊ะทำงาน บนหนังสือที่วางอยู่ข้างหน้าเรา 

 

          นอกจากนี้ยังอยู่ทั่วไปในบ้าน ห้องนอน ได้แก่ ที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม พรมปูพื้น ผ้าม่าน ตุ๊กตา และเครื่องเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งวัตถุสะสมต่าง ๆ ชอบอุณหภูมิราว 25 องศา ความชื้น 70-80 หน่วย ออกไข่มาก ขยายพันธุ์รวดเร็ว ทั้งตัวและมูลมีโปรตีนก่อภูมิแพ้สูง เรียงลำดับแพ้จากมากไปน้อย คือมูล ตัวแก่ ตัวอ่อน และไข่

 

          การหลีกเลี่ยงไรฝุ่น จะทำให้อาการแพ้ลดลง โดยปกติถ้ามีไรฝุ่นมากกว่า 2 ไมโครกรัมต่อฝุ่น 1 กรัม จะทำให้เกิดการแพ้ ถ้ามากถึง 10 ไมโครกรัม จะทำให้จับหอบหืดเฉียบพลันได้การป้องกัน ทั้งๆ ที่รู้แต่การป้องกันยาก จะไปทางไหนก็มีแต่ฝุ่นทั้งนั้น ดีที่สุด ก็คือ การทำความสะอาด เอาวัตถุที่ไม่จำเป็นออกจากห้องทำงานและห้องนอนให้มากที่สุด ปัดกวาด เอาผ้าคลุมไว้ ซักผ้าคลุม ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน มุ้ง บ่อยหน่อย หรือไม่ก็เอาไปตากแดด คงพอช่วยผ่อนคลายได้

 

          นอกจากนี้ ดอกไม้ วัชพืช ล้วนมีละออง ขนของสัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข แมว ก็เช่นกัน อาจทำให้แพ้ได้

 

 

          โรคภูมิแพ้ เป็นเรื่องที่ต้องหาสาเหตุว่ามาจากอะไร ภูมิแพ้จากทางเดินหายใจถ้ารู้ว่ามาจากฝุ่นละออง ที่ทำงานและที่นอนเป็นที่ที่เราสัมผัสมากที่สุดในชีวิตประจำวันหากได้มีการปรับปรุงแก้ไขคงจะช่วยให้ทุเลาลงได้

 

         

guest

Post : 2013-12-04 22:24:45.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคกระดูกพรุน

 โรคกระดูกพรุน 

 

โรคกระดูกพรุน (โรคกระดูกบาง โรคกระดูกผุ) article

         คือภาวะที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง และโครงสร้างของเนื้อกระดูกเสื่อมลง ทั้งนี้เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายมีกระบวนการสร้างเนื้อกระดูกใหม่ช้ากว่ากระบวนการสลายเนื้อกระดูก จึงทำให้กระดูกเปราะบาง และมีโอกาสหักหรือยุบตัวได้ง่าย ซึ่งกระดูกที่หักบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ โรคนี้พบบ่อยในผู้สูงอายุ หรือหญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะช่วยยับยั้งการสลายเนื้อกระดูก


ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน    

     

  1. ผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิง
  2. มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้
  3. หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง
  4. คนผิวขาวหรือชาวเอเชีย
  5. เคลื่อนไหวน้อย หรือไม่ออกกำลังกาย
  6. คนที่มีรูปร่างเล็ก ผอม
  7. กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย
  8. อาหารที่มีไขมันมาก จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
  9. สูบบุหรี่จัด
  10. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำชา ในปริมาณมากๆ เป็นประจำ
  11. ผู้ที่กินยาบางชนิด ซึ่งทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายลดลง เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาพวกสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
  12. ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคของต่อมหมวกไต หรือการเข้าเฝือกเป็นระยะเวลานาน โรคอัมพฤกษ์ - อัมพาต

อาการของโรคกระดูกพรุน

     

ระยะแรกมักไม่มีอาการแสดง เมื่อเป็นมากขึ้นจะมีอาการดังนี้

  1. ปวดหลัง ปวดตื้อๆ ตำแหน่งที่ปวดไม่ชัดเจน และอาจปวดร้าวไปด้านข้างได้
  2. หลังโก่ง - ค่อม ความสูงลดลง
  3. กระดูกเปราะบาง หักง่ายกว่าคนปกติ

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

         ในคนปกติ ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงอายุ 20 - 35 ปี หลังอายุ 40 ปี ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะลดลงทั้งชายและหญิง ดังนั้น จึงควรเสริมสร้างให้เนื้อกระดูกแข็งแรงตั้งแต่วัยเด็ก โดยปฏิบัติดังนี้

     

  1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย มีปริมาณแคลเซียมและวิตามินเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัย ซึ่งปกติควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยที่สุดประมาณวันละ 800 - 1,000 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม น้ำปู กุ้งแห้ง ปลาร้าผง กะปิ ปลาเล็กปลาน้อยที่กินทั้งกระดูก ถั่วแดงหลวง งาดำ ถั่วต่างๆ เต้าหู้ ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักโขม บริคโคลี ผักคะน้า ใบชะพลู ใบยอ เป็นต้น 
  2. ควรลดอาหารที่มีไขมันมาก เนื่องจากไขมันจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม 
  3. ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี สม่ำเสมอ เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพศ และวัย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที เช่น วิ่งเหยาะๆ เดินเร็วๆ แอโรบิก เต้นรำ เป็นต้น 
  4. ควรงดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำชา เป็นต้น 
  5. ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดมีผลให่การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายลดลง เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาพวกสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น 
  6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

"กินอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอทุกวัย หมั่นออกกำลังกาย ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้"

                

guest

Post : 2013-12-04 22:18:23.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  มะเร็งรังไข่

 

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) (ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย)

           รังไข่มีลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ อยู่สองข้าง ข้างซ้ายขวาของโพรงมดลูก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและไข่ ชนิดของมะเร็งรังไข่แบ่งตามตำแหน่งเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งได้ 3 กลุ่ม คือ

            Epithelial Tumors : มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ จุดเริ่มต้นที่เซลล์เยื่อบุผิวรังไข่และช่องท้อง เป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 90% ของมะเร็งรังไข่

            Germ Cell Tumors : มะเร็งฟองไข่ จุดเริ่มต้นของก้อนเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิด พบได้ร้อยละ 5-10 ของมะเร็งรังไข่ มักพบในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี 

            Sex Cord-Stromal Tumors : มะเร็งเนื้อรังไข่ จุดเริ่มต้นที่เนื้อเยื่อเกี่ยวกันของรังไข่ ซึ่งผลิตฮอร์โมนเพศหญิง โอกาสพบน้อยมาก

           ทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นยังสามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของร่างกายที่เรียกว่าเป็นมะเร็งรังไข่ระยะแพร่กระจาย

ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งรังไข่

            อายุ : 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งไข่ มีอายุเฉลี่ย 55 ปี หรือมากกว่า

            ประวัติครอบครัว : ผู้หญิงที่มี แม่ พี่สาวน้องสาว ยาย ป้า หรือน้า เป็นมะเร็งรังไข่ จะมีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งรังไข่สูงขึ้น

            การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม (Genetic Mutations) : ในผู้ที่พบมีการกลายพันธุ์ของ 1 ใน 2 ยีนมะเร็งเต้านม BRCA1 และ BRCA2 มีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่สูงขึ้น 

            มะเร็งเต้านม, ลำไส้ใหญ่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูก : ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการพัฒนาเป็นมะเร็งรังไข่ได้

            การคลอดบุตร : ผู้หญิงที่มีการคลอดบุตรอย่างน้อย 1 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี มีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่น้อยกว่า การมีบุตรหลายคน และการให้นมบุตร พบว่ามีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่น้อยลง

            โรคอ้วน : ผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 30 หรือสูงกว่า อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้น 

            บางการศึกษามีการเชื่อมโยงระหว่างฮอร์โมนทดแทน (HRT) และมะเร็งรังไข่ ความเสี่ยงนี้ดูเหมือนจะมากสำหรับผู้หญิงที่ใช้เอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวนานกว่า 5 ปี แต่ต้องทำการศึกษามากกว่านี้

อาการแสดงของมะเร็งรังไข่

            ท้องอืดเป็นประจำ

            มีก้อนในช่องท้องหรือช่องเชิงกราน จึงอาจทำให้เกิดอาการแน่นหรือปวดท้อง 

            ก้อนเนื้ออาจกดเบียดลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ทำให้รู้สึกปวดถ่วง ถ่ายอุจจาระไม่สะดวกหรือลำบาก

            เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้น จะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยและขัด

            เมื่อเซลล์มะเร็งมีการกระจายไปในช่องท้อง จึงอาจทำให้เกิดมีน้ำในช่องท้อง ซึ่งจะทำให้ดูเหมือนอ้วนขึ้นได้ ท้องโตขึ้นกว่าเดิม

            เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด

            อาจมีประจำเดือนผิดปกติ บางรายอาจพบการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น มีเสียงห้าว มีหนวด หรือขนขึ้นตามลำตัวคล้ายผู้ชายได้ เนื่องจากผลของมะเร็งรังไข่ที่ทำให้ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติไป

            ในบางรายอาจไม่มีการแสดงอาการเลย แพทย์อาจตรวจพบโดยบังเอิญว่ามีก้อนในท้องน้อย



การตรวจหามะเร็งรังไข่

            ตรวจภายใน (Pelvic Exam) : ตรวจบริเวณช่องท้องและช่องเชิงกรานเพื่อหาก้อน มีการนำเทคโนโลยีการถ่ายภาพเข้ามาช่วยให้การตรวจละเอียดชัดเจนขึ้น

            Transvaginal ultrasound : ตรวจโดยใช้หัวตรวจชนิดเรียวยาวใส่เข้าไปในช่องคลอด สามารถดูมดลูก และสิ่งผิดปกติที่อยู่หลังมดลูก

            ตรวจ CA-125 : หากระดับ CA-125 สูงเกินปกติ อาจบ่งชี้ถึงการเป็นมะเร็งรังไข่ แต่ก็มีโรคอื่นด้วยเช่นกันที่ CA-125 สูงได้จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติม

            CT scan : เพื่อดูภาพละเอียดภายในร่างกาย

            Barium enema : เป็นการเอกซเรย์ทางเดินอาหารส่วนล่างด้วยการสวนสารทึบรังสีทางทวาร

            Intravenous pyelogram : เป็นการเอกซเรย์ดูไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ 

            Biosy : การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา 

ระยะของมะเร็งรังไข่

            ระยะ 1  : เซลล์มะเร็งยังอยู่ภายในรังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง

            ระยะ 2  : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่สู่อวัยวะในช่องเชิงกราน เช่น ท่อนำไข่ หรือมดลูก

            ระยะ 3  : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่และช่องเชิงกราน ไปยังช่องท้องหรือต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง

            ระยะ 4  : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่ไปยังอวัยวะที่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด



การรักษามะเร็งรังไข่

 การผ่าตัด 

           อาจมีการผ่าตัดตั้งแต่แรกเพื่อดูระยะหรือการลุกลามของมะเร็ง ในกรณีผ่าตัดเพื่อการรักษา แพทย์จะตัดเนื้องอกออกให้มากที่สุดโดยจะพยายามให้เหลือเนื้องอกขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร ซึ่งการผ่าตัดส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก และจะเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยยังต้องการมีบุตรอีก แพทย์จะตัดเอาเฉพาะรังไข่และท่อนำไข่ด้านที่เป็นมะเร็งออก การให้เคมีบำบัดและรังสีรักษาจะใช้เมื่อมีการกลับมาเป็นซ้ำหลังจากผ่าตัด 

           หลังจากรักษาต้องนัดตรวจติดตามอย่างน้อยทุก 6 เดือนสำหรับช่วง 5 ปีแรก นอกจากนี้ ถ้าตรวจพบว่ามีการลุกลามของมะเร็งออกนอกรังไข่ตั้งแต่การตรวจพบมะเร็งครั้งแรก แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งออกให้มากที่สุด ถ้ามะเร็งกระจายไปตามผนังช่องท้องหรืออวัยวะอื่นหลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องได้รับยาเคมีบำบัด แต่ถ้ายังไม่มีการกระจายไปส่วนดังกล่าว หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด

 รังสีรักษา 

           มีทั้งการฉายรังสีจากภายนอกร่างกายและการฝังแร่ในร่างกาย การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับระยะของโรคและชนิดของมะเร็ง 

 ยาเคมีบำบัด 

           สำหรับมะเร็งรังไข่จะให้ยาเคมีทางช่องที่มีอวัยวะภายในช่องท้อง (peritoneal cavity) การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับระยะและชนิดของมะเร็ง 

 

      

 

guest

Post : 2013-12-04 22:14:26.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคหลอดเลือดสมอง

 

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก

 



ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% หลอดเลือดสมองอุดตันเกิดได้จากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง

  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมากเนื่องจากทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมีหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีสาเหตุจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้

    • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ รูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ
    • เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
    • ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้

    • ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ
    • เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า
    • ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ คือภาวะไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด
    • โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ก็จะทำให้สมองขาดเลือดได้
    • การสูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็งตัว พบว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%
    • ยาคุมกำเนิด ในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง
    • โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง
    • การขาดการออกกำลังกาย

 

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งอาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

  • ชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย

  • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก

  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด

  • ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด  

  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก

 

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) อาจมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเอง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นอาการร้ายแรงและอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

 

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและสามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งของสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติ รวมถึงภาวะและสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น

  • การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

  • การตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด

  • การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram) เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ

  • การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography)เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่

  • การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ (carotid duplex scan) เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง

  • การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อดูเนื้อสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดที่คอ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวดและมีประสิทธิภาพสูง

 

การรักษา

การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน 

  • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพบว่าจะได้ผลดีกับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองและรีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง

  • หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่อาจเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต

 

การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง คือ ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ หรือขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

  • ตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

  • ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก ต้องรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ

  • ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม

  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • ถ้ามีอาการเตือนที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว ควรรีบมาพบแพทย์ถึงแม้ว่าอาการเหล่านั้นจะหายได้เองเป็นปกติ

  • ผู้ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันแล้ว แพทย์จะให้การรักษาโดยใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลและใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจากถ้ามีการใช้ยาผิด ประมาทเลินเล่อ หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างสม่ำเสมออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได

                 

guest

Post : 2013-12-04 22:07:30.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  มะเร็งเต้านม

 มะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งซึ่งอาจจะกิดเป็นมะเร็งเต้านมที่เกิดกับท่อน้ำนม หรือมะเร็งเต้านมที่เกิดกับต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นหญิงหรือชายควรจะตรวจเต้านมตัวเอง

มะเร็งเต้านม

เต้านม

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อน มะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอ ตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอ ตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาศรอดชีวิตสูง ก้อนขนาดเล็กก่อนที่จะรู้เรื่องมะเร็งท่านต้องทราบ

เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม

สูบบุหรี่ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งขึ้นกับ

  • อายุ
  • พันธุกรรม ประวัติการเกิดมะเร็งในครอบครัว และการเกิดมะเร็งเต้านมของตัวเอง
  • ปัจจัยของฮอร์โมน เช่นอายุเริ่มต้นของการมีประจำเดือน อายุที่หมดประจำเดือน การมีบุตร การให้นมบุตร ประวัติการใช้ยาฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง
  • นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงในแงพฤติกรรมเช่น ความอ้วน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเคยได้รับการฉายรังสี

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะแรกเริ่ม

แมมโมแกรมวิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง การตรวจหามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีได้แก่

  1. การตรวจเต้านมด้วย แมมโมแกรม ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไป
  2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือพยาบาล
  3. การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง

 

อาการของมะเร็งเต้านม

ผิวหนังมะเร็งเต้านมผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะไม่มีอาการอะไร โดยมากมักจะรู้ได้โดย

  • คลำได้ก้อนที่เต้านมหรือรักแร้
  • มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านม
  • มีน้ำไหลออกจากหัวนม
  • เจ็บ หรือหัวนมถูกดึงรั้ง
  • ผิวเต้านมจะเหมือนเปลือกส้ม

สำหรับผู้ที่มะเร็งเป็นมากและมีการแพร่กระจายของมะเร็งจะมีอาการ

  • ปวดกระดูก
  • น้ำหนักลด
  • แผลที่ผิวหนัง
  • แขนบวม

 

การตรวจหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง

การตรวจหลังจากทราบผลชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็งเต้านมจะเป็นการตรวจเพื่อประเมินว่ามะเร็งเต้านมอยู่ในระยะไหน มีการแพร่กระจายหรือยัง มะเร็งมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนหรือไม่ การตรวจเหล่านี้มีความสำคัญในการวางแผนการรักษา

 

ระยะของมะเร็งเต้านม

การประเมินระยะของมะเร็งเต้านมหมายถึงการประเมินว่าโรคมะเร็งมีการลุกลาม หรือมีแน้วโน้มที่จะลุกลามเร็วหรือไม่ การประเมินจะช่วยในการวางแผนการรักษา วิธีการประเมินมีด้วยกันสองวิธี

 

การรักษามะเร็งเต้านม

การผ่าตัดมะเร็งเต้านมการรักษาโรคมะเร็งเต้านม จะต้องได้ประเมินระยะของผู้ป่วยแล้ว จึงวางแผนการรักษา โดยทั่วไปการรักษามะเร็งเต้านมมีด้วยกันดังนี้

  • การรักษาโดยการผ่าตัด
  • การรักษาโดยการให้เคมีบำบัด
  • การรักษาโดยการฉายรังสี
  • การให้ฮอร์โมน

 

 

มาป้องกันมะเร็งกันเถอะ

สาเหตุของมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การปฎิบัติตัวที่ดีจะลดการเกิดมะเร็งเต้านม

  • เปลี่ยนแปลงอาหาร เช่นลดพวกเนื้อสัตว์ลง ลดอาหารไขมัน
  • เลือกรับประทานอาหารผักหรือผลไม้
  • ควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วน
  • ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 วันวันละ 30 นาที
  • งดบุหรี่ และแอลกอฮอลล์

การป้องกันมะเร็ง

เรื่องเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

           

guest

Post : 2013-12-04 22:02:56.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน 

เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

โรคเบาหวานนี้เปรียบเทียบได้ง่ายๆ โดยเปรียบร่างกายเราเป็นระบบปั๊มน้ำ และน้ำในระบบก็คือเลือดของเราโดยปรกติแล้วปั๊มน้ำก็จะทำงานอย่างปรกติ แต่เมื่อมีการทำให้น้ำในระบบเกิดความข้นขึ้น(ก็คือการเติมน้ำตาลลงไปในน้ำ) น้ำในระบบก็จะมีความหนืดขึ้น ปั๊ม(หัวใจ)ก็จะต้องทำงานหนักขึ้น ท่อน้ำ(หลอดเลือด)ก็ต้องรับแรงดันที่มากขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคเบาหวานก็จะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนกับอวัยวะต่างๆเพิ่มขึ้นได้
ปี 2550 พบผู้ป่วยเบาหวานแล้วถึง 246 ล้านคน โดยผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลก 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย
เบาหวาน เป็นโรคที่เป็นกันมากขึ้นทุกปีจนมีการกำหนดให้วันที่ 14 พฤษจิกายน ของทุกปีเป็นวันเบาหวานโลกเพื่อให้มีการรณรงค์ป้องกันให้เป็นที่แพร่หลายขึ้น
 

อินซูลิน กับ เบาหวาน

 
อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มเซลล์ภายในตับอ่อน มีหน้าที่ในการนำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างพลังงานและสร้างเซลล์ต่างๆ โดยปรกติแล้วเมื่อมีน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดตับอ่อนก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่ง อินซูลิน แล้วอินซูลินก็จะเข้าจับน้ำตาลเพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งร่างกายมี อินซูลิน ไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
 

ประเภทของ เบาหวาน

 
เบาหวาน สามารถแบ่งออกได้เป็น2ชนิด ได้แก่

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน(autoimmune) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน(ketones) สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้หมดสติถึงตายได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด

 

อาการเบื้องต้นของ เบาหวาน

 
ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ
  1. ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน

  2. ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น

  3. กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง

  4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง

  5. เบื่ออาหาร

  6. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน

  7. ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก

  8. สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน

  9. อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง

  10. อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต

โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย

 

อาการแทรกซ้อนของ โรคเบาหวาน

 
มักจะเกิดเมื่อเป็น เบาหวาน อย่างน้อย 5 ปีแล้วไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง
  • ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง ตาหรือจอตาเสื่อม หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา และอาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
  • ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)ไตมักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ

  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) เบาหวาน จะทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เช่นรู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด ในผู้ชายอาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(impotence)

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) เบาหวาน เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในผู้ป่วย เบาหวาน บางราย กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดฝอยเล็กๆที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจาก เบาหวาน ซึ่งจะทำการรักษาได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้เป็น เบาหวาน คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่นอาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป ดังนั้นผู้เป็น เบาหวาน บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้เป็น เบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะ เบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกายและถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมอง ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า โดยจะมีอาการเบื้องต้นสังเกตุได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็นครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ มีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง

  • โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)

  • แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)
 

ผู้ที่มีโอกาสเป็น โรคเบาหวาน

 
เบาหวาน พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในคนอายุกว่า 40 ปีขึ้นไป คนที่อยู่ในเมืองมีโอกาสเป็น เบาหวาน มากกว่าคนในชนบท คนอ้วนที่น้ำหนักเกิน โดยดูจากดัชนีมวลกาย ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และหญิงที่มีลูกดกโดยเฉพาะผู้มีประวัติคลอดบุตรมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า4กิโลกรัม จะมีโอกาสเป็น เบาหวานได้มากขึ้น แต่ในปัจจุบันลักษณะการบริโภค และกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันส่งผลให้มีคนเป็น เบาหวาน เพิ่มมากขึ้น และการพบผู้ป่วยที่อายุน้อยที่เป็น เบาหวาน ก็เพิ่มสูงขึ้น
 

การป้องกันการเป็นเบาหวาน

 
  1. ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอันจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน

  2. ควบคุมโภชนาการ ให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรค

  3. ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และ ระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสม

  4. ยาบางชนิดหรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือ สมุนไพร เหล่านี้
 

สิ่งที่ตรวจพบเมื่อเป็น เบาหวาน

 
เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในคนที่ มีรูปร่างซูบผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อลีบฝ่อ 
เบาหวานชนิดที่ 2 อาจมีรูปร่างอ้วน บางรายตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติตามร่างกาย การตรวจปัสสาวะมักจะพบน้ำตาลในปัสสาวะขนาดมากกว่าหนึ่งบวกขึ้นไป
การตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 6 ชั่วโมง (fasting plasma glucose/FPG) มักพบว่ามีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
 

การวินิจฉัย เบาหวาน

 
หากสงสัยว่าเป็น เบาหวาน ควรไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลโดย อดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะเลือดในตอนเช้า เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร6ชั่วโมง (FPG) ซึ่งคนปกติจะมีค่าต่ำกว่า 110 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร หากพบมีค่า เท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัม ในการตรวจอย่างน้อย 2ครั้ง ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน และยิ่งมีค่าสูงเท่าใดก็แสดงว่ามีความรุนแรงของการเป็นเบาหวาน เพิ่มมากขึ้น
 

คำแนะนำเกี่ยวกับ เบาหวาน

 
  1. เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้เวลาการรักษานานหรือตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องก็อาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อนได้มาก

  2. ผู้ที่กินยาหรือฉีดยารักษาเบาหวานอยู่ บางครั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการได้แก่ ใจสั่น หน้ามืด ตาลาย ตัวเย็น เหงื่อออก ถ้าเป็นมากๆ อาจเป็นลม หมดสติ และอาจจะชักได้ ควรจะต้องพก น้ำตาลหรือของหวานติดตัวไว้ ถ้ารู้สึกมีอาการก็ให้รีบรับประทาน แล้วทบทวนดูว่าเกิดอาการเหล่านี้ได้อย่างไร โดยสังเกตุตัวเองจากการบริโภคอาหารเมื่อเป็นเบาหวานเช่น กินอาหารน้อยไปหรือไม่ ออกกำลังมากเกินไปหรือไม่ กินหรือฉีดยาเบาหวาน เกินขนาดไปหรือไม่ แล้วควมคุมทั้ง 3 อย่างนี้ให้พอดีกัน สำหรับผู้ที่กินอาหารผิดเวลาก็อาจเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควร รับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อด้วย
  3. อย่าซื้อยากินเอง เนื่องจากยาบางประเภทมีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือดได้ เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ และยาบางประเภทก็อาจทำให้ฤทธิ์ของยารักษาเบาหวาน แรงขึ้นได้ ก็จะมีผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ เช่น แอสไพริน ดังนั้นเมื่อเป็น เบาหวาน ก่อนทานยาประเภทใดควรจะต้องแน่ใจว่ายานั้นไม่มีผลต่อค่าน้ำตาลในเลือด

  4. ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นครั้งคราว เพื่อป้องกันตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
 

การบริโภคอาหารเมื่อเป็น เบาหวาน

 

  1. เลือกบริโภคอาหารให้ครบ 5หมู่ โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้จากอาหารโดยประมาณจากคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) ประมาณ 55-60%โปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20%ไขมัน ประมาณ 25%


  2. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรจะต้องลดปริมาณการรับประทานลง โดยอาจจะค่อยๆลดลงให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่เคยรับประทานปรกติ และพยายามงด อาหารมันๆ ทอดๆ


  3. รับประทานอาหารที่มีกากใยมากเพื่อช่วยในการขับถ่าย


  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานจุกจิกและรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา


  5. พยายามรับประทานอาหารในปริมาณที่สม่ำเสมอกันในทุกมื้อ


  6. หากมีอาการเกี่ยวกับโรคไตหรือความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม


  7. แม้ระดับน้ำตาลในเลือดจะปรกติดีแล้วก็ควรจะต้องควบคุมอาหารตลอดไป
 

อาหารที่ห้ามรับประทานเมื่อเป็น เบาหวาน diabetes

 

  • น้ำตาลทุกชนิด รวมไปถึงน้ำผึ้ง
  • ผลไม้กวนประเภทต่างๆ
  • ขนมเชื่อม ขนมหวานต่างๆ
  • ผลไม้ที่มีรสหวานมากๆ
  • น้ำหวานประเภทต่างๆ
  • ขนมทอดกรอบหรือชุบแป้งทอด

                          \

 

guest

Post : 2013-12-04 21:54:53.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคกระเพาะอาหาร

 โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหารหมายถึงภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะ และลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก >gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึก>muscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก >gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียก>duodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย 

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง

  1. เชื่อโรค Helicobacter pylori เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี
  2. สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
  • กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
  • ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
  • การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
  •  การกินอาหารไม่เป็นเวลา
  • ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามาก จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  1. มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
  •  การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
  • การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
  1.  ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกระเพาะอาหาร

 
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์ประจำ
  • ผู้ที่มีความเครียดเป็นประจำ

Helicobacter pylori (H. pylori) คืออะไร

 

เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

           

guest

Post : 2013-12-04 21:48:56.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  อาหารเพื่อสุขภาพ

 อาหารเพื่อสุขภาพ

หมายถึงอาหารที่เมื่อรับเข้าไปแล้วน้ำหนักจะต้องอยู่ในเกฑ์ปรกติ ไม่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการเพิ่มอาหารผักและผลไม้ ลดเกลือ ลดน้ำตาล ลดไขมัน

อาหารสุขภาพ

องค์การอนามัยโรคได้นิยามเรื่องอาหารสุขภาพว่า การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ร่วมกับการไม่ออกกำลังกายจะเป็นบ่อเกิดโรคเรื้อรัง องค์การอนามัยโลกได้แนะนำอาหารสุขภาพดังนี้

  • รับประทานอาหารที่สมดุลและมีน้ำหนักที่ปรกติ
  • ให้ลดอาหารไขมัน และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว Saturated fat,Transfatty acid
  • ให้รับประทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ธัญพืขเพิ่มมากขึ้น
  • ลดอาหารที่มีน้ำตาล
  • ลดอาหารเค็ม

สำหรับ National Health Service (NHS)ของประเทศอังกฤษได้นิยามอาหารสุขภาพไว้ว่า มีสองปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงได้แก่

  • รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสมดุลกับพลังงานที่ใช้
  • รับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย

NHSจึงได้กำหนดแนวทางอาหารสุขภาพไว้ดังนี้

  • ทุกท่านต้องรู้จักจานอาหารสุขภาพซึ่งมีอาหารทั้งหมด 5 หมู่
  • ในจานอาหารสุขภาพจะบอกเราว่าควรจะรับประทานอาหารให้มีสัดส่วนอย่างไร

สำหรับสมาคมโรคหัวใจประเทศอเมริกาได้กำหนดอาหารสุขภาพไว้ดังนี้

  1. รับประทานผักและผลไม้เพิ่มโดยตั้งเป้าให้รับผักและผลไม้วันละ 4-5ส่วนทุกวัน

  2. ให้รับประทานธัญพืชเพิ่มEat more whole-grain foods.เนื่องจากผักและผลไม้มีไขมันต่ำ ใยอาหารสูงได้แก่  Whole-grain foods include whole-wheat bread, rye bread, brown rice and whole-grain cereal.
  3. ให้ใช้น้ำมัน olive, canola, corn or safflower oil สำหรับปรุงอาหารและจำกัดจำนวนที่ใช้ 
  4. รับประทานไก่ ปลา ถั่วมากกว่าเนื้อแดง เนื่องจากไก่ที่ไม่มีหนัง ปลา ถั่วจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าเนื้อแดง.
  5. อ่านฉลากก่อนซื้อหรือรับประทานทุกครั้งเพื่อเลือกอาหารที่มีคุณภาพ

หลักการง่ายๆที่จะทำให้เราได้รับอาหารเพื่อสุขภาพ

 

อาหารจานสุขภาพ

ชนิดของอาหาร และสัดส่วนของอาหารที่ควรจะรับประทานทุกเพศ ทุกวัย ทุกน้ำหนัก 


รับประทานผักและผลไม้ให้มาก

ให้รับประทานผัก และผลไม้ห้าส่วนทุกวันโดยการสลับผักและผลไม้ 


รับประทานปลาให้มาก

เนื้อปลาจะให้โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ ควรจะรับประทานอย่างน้อยสองส่วนต่อสัปดาห์ ปลาที่ควรจะรับประทานควรจะเป็นประเภทปลาที่มีมันสูง 


ลดทั้งน้ำตาลและไขมัน

ไขมันจากสัตว์ หรือไขมันจากพืชบางชนิด มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมัน Trans fat ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพต้องหลีกเลี่ยง 


รับประทานเกลือให้น้อย

การรับประทานเกลือมาก นอกจากจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังทำให้เกิดโรคมะเร็ง กระดูกพรุน 



ฉลาดเลือกรับประทานอาหารแป้ง

อาหารแป้งเป็นอาหารหลักที่ให้พลังงาน การเลือกอาหารแป้งที่มีใยอาหารจะช่วยลดโรคเรื้อรัง 


เรื่องที่ควรจะต้องรู้เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารสุขภาพ

อาหารต้านโรค อาหารที่ดีที่สุดสำหรับหัวใจ ถั่วเหลือง อาหารสำหรับโรคไต อื่นๆอีกมากมาย 


อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ

ร่างกายคนเราประกอบไปด้วยน้ำประมาณร้อยละ40 เสียน้ำประมาณวันละ 2.5ลิตร ดังนั้นแต่ละวันเราจะต้องได้รับน้ำอย่างน้อยวันละ 2.5 ลิตร 


อาหารเช้าเป็นอาหารที่มีความสำคัญ

ช่วงที่เราหลับสมองจะได้รับอาหารจากที่สะสม หลังจากตื่นสมองควรจะได้รับอาหารที่เรารับประทาน การรับประทานอาหารเช้าจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี 


เข้าใจเรื่องแคลรอรี่

เป็นหน่วยวัดพลังงาน อาหารสำเร็จรูปทั้งหลาย จะมีรายละเอียดของปริมาณพลังงาน ของอาหาร ที่รับประทานเข้าไป 


มาลดน้ำหนักกันเถอะ

น้ำหนักที่เกินจะทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด 


ฉลากอาหาร

หมายถึงการที่ผิวหนังเกิดการอักเสบ จากสิ่งที่มาสัมผัสผิวหนัง มีด้วยกันสองรูปแบบ อ่านเรื่องชนิดของการแพ้ อาการ และการรักษา 


รับประทานอาหารนอกบ้าน

ท่านที่ห่วงสุขภาพเมื่อต้องไปรับประทานอาหารนอกบ้าน จะมีปัญหาเรื่องไม่สามารถที่จะเลือกอาหารเองได้ได้ หรืออาจจะเผลอตัว อ่านแนวทางที่จะรับประทานอาหารนอกบ้าน 


อาหารปลอดภัย

อาหารปลอดภัยคงจะต้องเริ่มต้น ตั้งแต่การเลือกซื้ออาหารอย่างฉลาดซื้อ การเก็บอาหาร การปรุงอาหาร การรับประทานอาหาร และสุขอนามัย 


การดื่มสุรา

สุราหากดื่มมากจะทำให้เกิดโรคตับ เกิดอุบัติเหตุ ความดันโลหิตสูง แต่หากดื่มพอประมาณจะลดการเกิดโรคหัวใจ 


อาหารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง

ท่านเชื่อหรือไม่อาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน หากรับประทานมากจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง 


 

การออกกำลังกาย

ลำพังอาหารสุขภาพอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถลดน้ำหนัก การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยลดน้ำหนัก ยังช่วยลดการเกิดโรคเรื้องรัง 


 

                     

guest

Post : 2013-12-04 21:41:06.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การออกกำลังกาย

 

ความฟิตคืออะไร Physical fittness

หมายถึงประสิทธิภาพของ หัวใจ กล้ามเนื้อ ปอด ที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความฟิตไม่ได้หมายถึงว่าคุณสามารถวิ่งได้ระยะทางเท่าใด หรือยกน้ำหนักได้เท่าใด แต่ ความฟิตหมายถึงประสิทธิภาพของหัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อ ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพ โดยทั่วไปถ้าหากออกกำลังกายได้อย่างน้อยวันละ 30 นาทีโดยออกปานกลางสัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วันถือว่าได้ออกกำลังแบบ aerobic exercise องค์ประกอบของฟิตเนสมีอยู่ 5 องค์ประกอบได้แก่

หัวใจและปอดแข็งแรง

Cardiorepiratory endurance หมายถึงความสามารถของหัวใจ ที่จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้อย่างเพียงพอ ในขณะที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบ areobic จะเป็นการฝึกให้หัวใจแข็งแรง

กล้ามเนื้อแข็งแรง

Muscular strength ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งเราสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้โดยการยกน้ำหนัก หรือวิ่งขึ้นบันได

กล้ามเนื้อทนทานMuscular endurance

Muscular endurance ความทนของกล้ามเนื้อหมายถึงความสามารถของกล้ามเนื้อ ที่จะทำงานอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า 


ร่างกายสมส่วน

สัดส่วนของร่างกาย หมายถึงสัดส่วนของกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน การออกกกำลังจะทำให้มีปริมาณกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณไขมันจะลดลง อาจจะดูได้จาก


ข้อมีความยืดหยุ่น

Flexibility

ความยืดหยุดของกล้ามเนื้อ เอ็น เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหรือข้อได้รับอุบัติเหตจากการออกกำลังกาย 


ขั้นตอนในการออกกำลังกาย

  1. การอบอุ่นร่างกาย Warm up การอบอุ่นร่างกายเป็นการเตรียมหัวใจ หลอดเลือด และกล้ามเนื้อให้พร้อมสำหรับการออกกำลัง ทำประมาณ 5-10 นาที อ่านการอบอุ่นร่างกาย
  2. การเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ อาจจะออกโดยการยกน้ำหนักเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อใหญ่ๆให้ออกครั้งละ 20 นาทีสัปดาห์ละ 2 วัน อ่านการออกกำลังให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  3. Muscular Endurance เป็นการออกกำลังเพื่อให้กล้ามเนื้อ มีความทนทานที่จะออกกำลังหนักแบบต่อเนื่องโดยออกกำลังครั้งละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3 วัน ตัวอย่างเช่น การเพาะกาย การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้นขา อ่านที่นี่
  4. aerobic exercise เป็นการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องโดยออกกำลังปานกลางครั้งละ 20 นาทีเช่น การวิ่ง การเดินเร็ว เพื่อให้หัวใจแข็งแรง อ่านการออกกำลังให้หัวใจแข็งแรง
  5. Flexibility ความยืดหยุดของกล้ามเนื้อ เอ็น โดยเฉพาะมัดที่ออกกำลังกาย เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหรือข้อได้รับอุบัติเหตจากการออกกำลังกาย อ่านและฟังที่นี่
  6. cool down ใช้เวลา 5-10 นาทีในการ cool down โดยการเดินเร็วๆร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อและหัวใจคลายตัว

มาเริ่มต้อออกกำลังกายกัน


การมีสุขภาพที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยการมีพันธุกรรมที่ดี การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง การพักผ่อนที่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ แต่ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก ทำให้ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดี
สุขภาพ>>การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายสามารถป้องกันโรคหัวใจได้หรือไม่

จากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือการเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต เช่นการเดิน การเต้นรำ การทำสวน สามารถลดการเกิดโรคหัวใจได้ แต่ถ้าต้องการทำให้ปอดและหัวใจแข็งแรงต้องออกกำลังกายแบบ Aerobic นอกจากการออกกำลังกาย ท่านยังต้องลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ด้วย

จะออกกำลังกายหนักแค่ไหน

  • ถ้าท่านต้องการออกกำลังกายเพื่อให้ปอด หัวใจแข็งแรง ท่านต้องออกกำลังกายให้ได้ร้อยละ 75 ของอัตราเต้นสูงสุด โดยออกอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ แต่ถ้าท่านต้องการลดน้ำหนักท่านจะต้องออกกำลังประมาณ 5 วัน
  • หากไม่มีพื้นที่ในการวิ่ง อาจจะใช้เครื่องมือบริหารกล้ามเนื้อช่วย เรียกว่าการออกกำลังที่ต้องใช้แรงต้าน Resistant training โดยใช้น้ำหนัก 3-4 กก บริหารกล้ามเนื้อ 8-10 กลุ่ม โดยบริหารกล้ามเนื้อให้หลายส่วน เช่นกล้ามเนื้อแขน ไหล่ หน้าอก ขา เป็นต้น แต่ละส่วนให้ออกกำลัง 10-15 ครั้งทำ 2 วันต่อสัปดาห์
  • หากท่านต้องการออกกำลังแบบ AEROBIC โดยการวิ่ง หรือขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ โดยต้องมีความหนักของการออกกำลังกายปานกลาง โดยท่านต้องคำนวนหาอัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย แล้วพยายามออกกำลังเพื่อให้หัวใจเต้นอยู่ในเกณฑ์เป็นเวลา 30 นาที ออกกำลังอย่างน้อย 30 นาทีอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือท่านจะเลือกประเภทกีฬาที่แบ่งเป็นแบบเบาจนหนัก

เรื่องที่น่าอ่าน

                           

처음 이전 ... 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 다음 끝
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com