Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2013-12-07 04:45:55.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคสมองขาดเลือด Ischemic stroke

 

สมองขาดเลือด Ischemic stroke

เนื้อสมองจะได้รับอาหารและออกซิเจนจากเลือดเมื่อหลอดเลือดตีบ หรือมีก้อนเลือดอุดจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอทำให้สมองขาดเลือด สมองขาดเลือดเพียงไม่กี่นาทีก็จะทำให้เซลล์สมองตาย ลักษณะที่สำคัญของสมองขาดเลือดได้แก่

  • โรคหลอดเลือดสมองมักจะเป็นโรคที่เกิดเฉียบพลันทันที
  • สาเหตุของโรคอาจจะเกิดจากหลอดเลือดตีบ หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือด
  • อาการของโรคจะเกิดทันที อาการส่วนใหญ่ได้แก่อาการอ่อนแรงของแขและหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง พูดลำบาก การทรงตัว การมองเห็น
  • การวินิจฉัยประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจทางรังสี การเจาะเลือด
  • การรักษาได้การให้ยาละลายลิ่มเลือด การให้ยาป้องกันเส้นเลือดตีบ การรักษาโรคร่วม การผ่าตัด
  • ผู้ป่วยหนึ่งในสามจะหายใกล้เคียงปรกติ

ชนิดของโรคสมองขาดเลือด

โรคสมองขาดเลือดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆได้แก่

  •  thrombotic หมายถึงภาวะที่มีคราบ plaque ที่ผนังหลอดเลือดหนาตัว จนทำให้หลอดเลือดตีบเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ หรือเกิดจากคราบชิ้นเล็กได้หลุดลอยไปอุดหลอดเลือดทำให้สมองขาดเลือด ซึ่งหลอดเลือดที่เกิดยังแบ่งเป็นหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น carotid artery และแขนงของหลอดเลือดเล็กในสมอง
  •  embolic หมายถึงเกิดลิ่มเลือดจากบริเวณอื่น( ส่วนมากเกิดที่หัวใจ)หลุดลอยเข้าไปอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง

โดยสรุป

  • โรคหลอดเลือดสมองหมายถึงภาวะที่สมองบางส่วนเสียหายทันทีเนื่องจากการที่เลือดไปเลี้ยงไม่พอ
  • เมื่อมีอาการของสมองขาดเลือดจะต้องประเมินให้ได้ว่าเกิดอาการนานเท่าไร เพราะจะมีผลต่อการวางแผนการรักษา
  • หากมาโรงพยาบาลหลังจากเกิดอาการไม่เกิน 3 ชั่วโมงจะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด
  • หลังจากให้ยาละลายลิ่มเลือดจะต้องประเมินโรคแทรกซ้อน สาเหตุ การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันเลือด
  • ผู้ป่วยที่เกิดจากลิ่มเลือดจะต้องให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด

                           

guest

Post : 2013-12-07 04:39:10.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเลือดออดเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง Subarachnoid

 

เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง Subarachnoid hemorrhage

ชั้น Subarachnoid จะเป็นชั้นที่อยู่ระหว่างเนื้อสมอง และกระโหลกศีรษะ ในชั้นนี้จะมีน้ำไขสันหลังอยู่เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกของสมองและกระโหลก

เลือดออกในชั้น Subarachnoid hemorrhage (SAH)คืออะไร

บนเยื่อหุ้มสมองจะมีหลอดเลือดวิ่งอยู่เป็นจำนวนมาก หากหลอดเลือดเหล่ามีความผิดปรกติ เช่น Berry aneurysms หรืออาจจะเกิดจากความดันโลหิตสูง หรือได้รับอุบัติเหตุมีการฉีกขาด หากหลอดเลือดเหล่านั้นแตกก็จะทำให้มีเลือดออกในชั้นของ เลือดออกในชั้น Subarachnoid

โรคนี้พบได้ประมาณ6-12 คนต่อประชากร 100000 คนหรือพบได้ประมาณร้อยละ6 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน อายุเฉลี่ยที่พบ 50 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 10-15 เสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล


 

guest

Post : 2013-12-07 04:37:15.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเลือดออกในสมอง

 เลือดออกในสมอง Cerebral Hemorrhage

เลือดออกในสมองเป็นอย่างไร

หมายถึงภาวะที่มีเลือดออกในสมองซึ่งอาจจะเกิดหลอดเลือดในสมอง หรือเกิดจากสาเหตุภายนอกเช่นอุบัติเหตุ อาการมักจะเป็นแบบทันทีทันใด ก้อนเลือดในสอมงจะกดหลอดเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอจนกระทั่งสมองขาดเลือด หากเป็นรุนแรงจะทำให้สมองตายและอันตรายถึงแก้ชีวิต

โครงสร้างของเยื่อหุ้มสมอง

เยื่อหุ้มสมอง meninges เป็นเยื่อที่หุ้มสมองและไขสันหลังไว้ในกระโหลกศีรษะ และไขสันหลังประกอบไปด้วย

  • ชั้นนอกสุดเรียก dura mater อยู่ติดกระโหลกศีรษะ
  • ชั้นกลางเรียก arachnoid mater.อยู่ระหว่งชั้น dura และชั้น pia ซึ่งเป็นชั้นที่ติดสมอง
  • ชั้นในสุดติดเนื้อสมองเรียก pia mater.

ชั้นต่างๆในสมองประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ชั้นต่างๆในสมองประกอบไปด้วย

  1. ช่อง epidural space เป็นชั้นซึ่งอยู่ระหว่างกระโหลกศีรษะและชั้น Dura
  2. ช่อง subdural spaceเป็นชั้นที่อยู่ระหว่างชั้น Dura และชั้น Arachnoid
  3. ช่อง subarachnoid spaceเป็นช่องอยู่ระหว่าง arachnoid mater และ pia mater.

เลือดออกในสมองมีด้วยกันหลายรูปแบบได้แก่

  • เลือดออกในเนื้อสมอง Intracerebral hemorrhages.เกิดจากการที่หลอดเลือดในสมองแตกและมีเลือดในเนื้อสมอง ความรุนแรงของโรคขึ้นกับปริมาณ และตำแหน่งของก้อนเลือด
  • เลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง Subarachnoid hemorrhages. เป็นภาวะที่มีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลางอ่านที่นี่
  • เป็นภาวะที่มีเลือดออกระหว่างสมองและเยื่อหุ่มสมอง Subdural hemorrhages.อ่านที่นี่
  • Epidural hemorrhages เป็นภาวะที่มีเลือดออกระหว่างกระโหลกและเยื่อหุ้มสมอง

ภาพแสดงชั้นของเยื่อหุ้มสมองและแสดงเลือดออกในชั้น sudural และ subarachnoid

สาเหตุของเลือดออกในสมอง

สาเหตุของเลือดออกในสมองที่พบบ่อยได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง เพราะความดันสูงไม่มีอาการอะไร ผู้ป่วยที่มีเลือดออกในสมองส่วนหนึ่งไม่รู้ตัวว่าเป็นความดันโลหิตสูง
  • อุบัติเหตูที่ศีรษะ คนอายุน้อยกว่า 50 ปีเลือดออกในสมองมักจะเกิดจากอุบัติเหตุ
  • Arteriovenous malformation (AVM) เป็นผิดปรกติแต่กำเนิดหลอดเลือดดำฝองต่อกับหลอดเลือดแดงทำให้หลอดเลือดดำฝอยแตก
  • หลอดเลือดโป่งพอง Aneurysm ซึ่งอาจจะเกิดจากความดันโลหิตสูง หรือเป็นความพิการแต่กำเนิด
  • ความผิดปรกติของผนังหลอดเลือด Amyloid angiopathy
  • โรคเลือดเช่น โรค Hemophilia, sickle cell anemia
  • โรตตับซึ่งเลือดจะออกง่าย
  • เนื้องอกสมอง Brain tumors.
  • รับประทานยาต้านเลือดแข็ง

อาการของเลือดออกในสมองเป็นอย่างไร

อาการที่สำคัญได้แก่

  • อาการปวดศีรษะอย่างทันที และรุนแรงไม่เคยเป็นมาก่อน
  • มีอาการอ่อนแรงของแขนขาข่างหนึ่ง พูดไม่ชัด ไม่เข้าใจคำพูด
  • ทรงตัวไม่ดี เดินเซ
  • มีความผิดปรกติเกี่ยวกับการมองเห็น
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ชัก
  • ซึมหากเป็นมากจะหมดสติได้

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติการเจ็บป่วย ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ร่วมกับการอ่อนแรง ซึมลง ตรวจร่างกายอาจจะพบความดันโลหิตสูง ซึมลง และมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก การตรวจที่สำคัญได้แก่การทำ CT scans ของสมองหรือ MRI/MRA จะเห็นเลือดออกในสมอง

Epidural hemorrage

intracerebral haemorrhage

intracerebral haemorrhage

subdural haemorrhage

การตรวจชนิดอื่นที่จำเป็น

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจรังสีทรวงอก
  • การตรวจเลือดและปัสสาวะ น้ำตาล สารเคมีในเลือด
  • การเจาะน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยที่สงสัย subarachnoid haemorrhage
  • ในบางรายจะต้องฉีดสีเส้นเลือดสมองเพื่อหาตำแหน่งเลือดออก

การรักษา

การรักษาเลือดออกในสมองขึ้นกับ ปริมาณเลือดที่ออก ตำแหน่งว่าผ่าได้หรือไม่ สภาพของผู้ป่วยว่าผ่าตัดได้หรือไม่

การผ่าตัด

  • จะทำเมื่อเลือดออกจากเส้นเลือดที่แตก และจะต้องไปเอาก้อนเลือดออกเพื่อลดความดันในสมอง
  • มีเลือดออกจากหลอดเลือดโป่งพอง aneurysm ผ่าตัดเพื่อไป clip หลอดเลือด

การป้องกันเลือดออกในสมอง

การป้องกันเลือดออกในสมองจะต้องแก้เรื่องปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นสาเหตุของการเกิดเลือดออกในสมอง

  • รักษาความดันโลหิตสูง
  • งดบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงยาเสพติดเช่น โคเคน
  • ไม่ประมาทเวลาขับรถ พักอย่างเพียงพอ ไม่ดื่มสุราหรือยาเสพติดขณะขับรถ ใส่เข็มขัดนิรภัย
  • ขี่มอเตอร์ไซด์จะต้องใส่หมวกกันน็อค
  • หากใช้ยาต้านเกล็ดเลือดต้องรับประทานยาและหลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทาน

                         >

guest

Post : 2013-12-07 04:33:10.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคหอบหืด

 

โรคหอบหืด Asthma

ถ้าหากท่านหรือญาติเป็นโรคหอบหืด ท่านไม่ได้เป็นหอบหืดคนเดียวเพราะเราพบโรคหอบหืดได้ทั่วโรค โดยมากมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่เด็ก  โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง อาการแต่ละคนรุนแรงไม่เท่ากัน และการหอบแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน บางคนอาจหอบไม่กี่นาทีก็หาย บางคนหอบมากถึงกับเสียชีวิตก็มี

เนื่องไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเมื่อไร่จะเป็นหอบหืด และไม่ทราบว่าหอบแต่ละครั้งจะเป็นมากแค่ไหน การศึกษาให้เข้าใจโรค รวมทั้งการมีแผนการรักษาที่ดีสามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี รายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไปนี้ได้มาจากตำราของต่างประเทศ และของประเทศไทยเหมาะสำหรับผู้ป่วย ญาติ และนักเรียนที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้วท่านเริ่มอ่านที่จุดประสงค์ของการรักษา ส่วนท่านที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหรือไม่แนะนำให้เริ่มอ่านตั้งแต่เริ่มต้น เนื้อหาข้อมูลจะเป็นแนวทางการดูแลตัวเอง

นิยาม  

โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory]  เป็นผลให้มี cell ต่างๆ เช่น mast cell,eosinophils,T-lymphocyte,macrophage,neutrophil มาสะสมที่เยื่อบุผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ[bronchial hyper-reactivity] ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้

ขณะที่ท่านเป็นหอบหืด หลอดลมของท่านจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

เมื่อท่านหายใจเอาสารภูมิแพ้เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปอดดังนี้

  1. Acute bronchoconstriction มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม[Airway muscle] หลังจากได้รับสารภูมิแพ้ทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
  2. Air way edemaเนื่องจากมีการหลั่งของน้ำทำให้ผนังหลอดลมบวมผู้ป่วยจะหอบเพิ่มขึ้น
  3. Chronic mucous plug formation มีเสมหะอุดหลอดลมทำให้ลมผ่านหลอดลมลำบาก
  4. Air way remodeling มีการหนาตัวของผนังหลอดลมทำให้หลอดลมตีบเรื้อรัง
Normal Lungs

หลอดลมของคนปกติจะมีกล้ามเนื้อ [Airway muscle]  และเยื่อบุหลอดลม[Airway lining]ในสภาพปกติ

Asthmatic Lungs

เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้มากระตุ้น กล้ามเนื้อหลอดลมจะบีบตัว เยื่อบุหลอดลมจะมีการอักเสบเกิดการหน้าตัว ร่วมการหลั่งของเสมะเป็นปริมาณมากทำให้เกิดการอุดทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก

 

จากกลไกดังกล่าวทำให้หลอดลมมีการหดเกร็ง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • หายใจตื้น หรือหายใจสั้น
  • แน่นหน้าอก
  • ไอ
  • หายใจเสียงดัง

โรคหอบหืดจะมีอาการไม่แน่นอนอาการของผู้ป่วยจะผันแปรได้หลายรูปแบบ

  • อาการหอบอาจจะเบาจนกระทั่งหอบหนัก
  • อาการแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
  • อาการอาจจะกำเริบเป็นครั้งๆ หรืออาการอาจจะหายไปเป็นเวลานาน
  • อาการหอบแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน

การวินิจฉัย

จุดประสงค์ของการรักษาหอบหืด

  • ไม่มีอาการหอบหืด เช่น ไอ หายใจเสียงดังหวีด แน่นหน้าอก
  • ไม่ต้องตื่นกลางคืนเพราะอาการหอบหืด
  • ไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนโรงพยาบาลเพราะโรคหอบหืด
  • สามารถคุมอาการให้สงบลงได้และหอบหืดเรื้อรังน้อยที่สุด
  • ป้องกันไม่ให้เกิดอาการกำเริบของโรค
  • ยกระดับสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ดีทัดเทียมกับคนปกติ
  • สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เหมือนคนปกติไม่ต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน
  • หลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหืด
  • ลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากโรคหอบหืด
  • ใช้ยา beta2-agonistเพื่อระงับอาการหอบให้น้อยที่สุด
  • ไม่มีภาวะฉุกเฉินของอาการหอบหืด
  • สามารถออกกำลังกายได้เหมือนคนปกติ

หลังการรักษาไม่ควรมีอาการหอบหืดอย่าเข้าใจผิดว่าหากมีอาการหอบ พอพ่นยาแล้วหายหอบคืออาการดีขึ้น การรักษาที่ดีต้องไม่หอบ

การรักษาให้ได้ผลดีต้องประกอบด้วยต้องประกอบด้วยแผนการรักษาดังนี้ ท่านผู้อ่านที่เป็นหอบหืดติดตามทีละหน้า และพยายามทำความเข้าใจ จะทำให้นำไปปฏิบัติได้

                          

guest

Post : 2013-12-07 04:30:34.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคปอดบวม

 

ปอดบวม Pneumonia

โรคปอดบวมคืออะไร

โรคปอดบวมหมายถึงภาวะปอดซึ่งเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งในสภาวะที่ผิดปกติอาจจะเกิดจาก เชื้อรา และ พยาธิ เมื่อเป็นปอดบวม จะมีหนอง และสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับ oxygen ทำให้ร่างกายขาด oxygen และอาจถึงแก่ชีวิตได้

สาเหตุของปอดบวม

มีสาเหตุมากมายแต่แบ่งสาเหตุได้ดังนี้

  • Bacteria
  • Viruses
  • Mycoplasma
  • เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา 
  • สารเคมี

เชื้อที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอ จาม นอกจากนี้ยังเกิดจากการดมสารเคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจน ไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลายเศษอาหารและน้ำย่อย เหตุชักนำสำคัญที่ทำให้เกิดปอดบวม ปกติเชื้อโรคอยู่ในคอ เมื่อร่างกายมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดโรค ภาวะต่างๆดังกล่าวได้แก่

  1. ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อการอักเสบติดเชื้อลดลง เช่นอายุมาก ขาดอาหาร เบาหวาน ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  2. การอักเสบติดเชื้อไวรัสของระบบการหายใจ
  3. การอุดกั้น และการอักเสบเรื้อรังในหลอดลม
  4. การสำลัก น้ำลาย เศษอาหาร หรือสิ่งติดเชื้อในปอด

การติดต่อ

ติดต่อโดยการได้รับเชื้อจากการไอ หรือจามของผู้ป่วย บางรายอาจได้จากการกินน้ำแก้วเดียวกันหรือใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้ออาจจะเกิดอาการใน 1-3 วัน

อาการของโรคปอดบวม

  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน 
  • บางรายอาจจะเริ่มด้วยไข้สูง หนาวสั่น 
  • หายใจหอบเหนื่อย 
  • อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกตำแหน่งที่เจ็บมักตรงกับบริเวณที่อักเสบ 
  • อาการไอ ในระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆ แต่ระยะต่อมาจะมีจำนวนเสมหะเพิ่มมากขึ้น เสมหะเหนียว

การวินิจฉัยโรคปอดบวม

หากมีประวัติไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว หายใจหอบ และแพทย์สงสัยว่าจะเป็นปอดบวม แพทย์ตรวจร่างกายและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการดังนี้

  • เจาะเลือดตรวจ CBC พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
  • ตรวจเสมหะโดยการย้อมสี และเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุของปอดบวม
  • นำเลือดไปเพาะเชื้อหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 วันกว่าจะทราบผล
  • X-ray ปอด

การรักษาโรคปอดบวม

ในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ต้องกระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ วัดไข้วันละ 2 ครั้ง รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งคัด ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดูสีริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์ หากเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมาก เช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และตรวจเลือดดังกล่าวข้างต้น และให้การรักษา คือ

  • ให้ oxygen
  • ให้ยาปฏิชีวนะ
  • ให้น้ำเกลือ

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  1. น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion) เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด จำนวนน้ำมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขนาดมาก ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้ ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบจะต้องทำการรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำออก
  2. หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (empyema )ภาพถ่ายรังสีเหมือนกับน้ำในช่องหุ้มปอดแต่จะมีไข้สูงและหอบเหนื่อย
  3. ปอดแตกและมีลมในช่องปอด (pneumothorax )มักเกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรง ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอกและหายใจหอบเหนื่อย
  4. เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ( pericarditis ) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ( meningitis )ปัจจุบันพบน้อย
  5. หัวใจวาย มักพบในรายที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อน

การป้องกันโรคปอดบวม

  • ใช้วัคซีนสามารถป้องกันปอดบวมได้บางเชื้อ เช่น H.influenza,  Pertussisไอกรน,ปอดบวม Pneumococcal
  • ให้หลีกเลี่ยงจากคนที่เป็นปอดบวม
  • หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นหอบหืดให้แยกถ้วย และชาม สมาชิกในครอบครัวให้ล้างมือบ่อยๆ

            

guest

Post : 2013-12-07 04:27:55.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรควัณโรค

 

 
 

วัณโรค

วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันโรคนี้ได้รับความสนใจจากองค์การอนามัยโลก เนื่องจากอัตราการติดเชื้อเริ่มมากขึ้นและมีเชื้อที่ดื้อยามากขึ้น ประมาณว่าปีหนึ่งจะมีคนติดเชื้อใหม่ประมาณ 8 ล้านคนและเสียชีวิตประมาณ 3 ล้านคนต่อปี

การแพร่ของเชื้อโรค Transmission

เชื้อวัณโรคจะแพร่โดยเชื้อจนอยู่ในเสมหะที่มีขนาด 1-5 ไมครอนซึ่งจะไปถึงถุงลมในปอดและทำให้เกิดการติดเชื้อ เสมหะนี้จะเกิดจากการไอ จาม พูดหรือร้องเพลง เชื้อโรคอาจจะอยู่ที่กล่องเสียงหรือในปอด หากเสมหะมีขนาดใหญ่กว่านี้จะถูกติดที่เยื่อบุโพรงจมูกวึ่งไม่ทำให้เกิดโรค

สภาวะที่เอื้อต่อการติดเชื้อได้แก่

  • จำนวนเชื้อวัณโรคที่อยู่ในอากาศ
  • ความเข้มข้นของเชื้อโรคซึ่งขึ้นกับปริมาณเชื้อและการถ่ายเทของอากาศ
  • ระยะเวลาที่คนอยู่ในห้องที่มีเชื้อโรค
  • ภูมิคุ้มกันของคนที่สัมผัสโรค

วิธีการที่จะทำให้เชื้อในอากาศมีน้อยลง

หากเชื้อที่อยู่ในอากาศมีปริมาณมากคนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมก็มีโอกาศที่จะติดเชื้อโรค

สำหรับท่านที่พักอาศัยกับผู้ที่เป็นวัณโรคปอด ก็สามารถนำวิธีนี้ไปใช้เพื่อลดเชื้อในอากาศซึ่งจะทำให้ลดการติดเชื้อได้ วิธีที่จะลดปริมาณเชื้อได้แก่

  1. เพิ่มการถ่ายเทของอากาศโดยให้มีปริมาตรของอากาศที่ไหลเวียนประมาณ 6 เท่าของห้องต่อชั่วโมงซึ่งจะทำให้เชื้อในห้องเจือจางลง
  2. ให้แสงแดดส่องเข้ามาในห้องซึ่งมี ultraviolet สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
  3. ให้ผู้ป่วยรับยารักษาวัณโรค
  4. ให้ผู้ป่วยผูกหน้ากากซึ่งจะต้องคลุมทั้งปากและจมูก

เชื้อที่เป็นสาเหตุ

เชื้อวัณโรคมีอยู่หลายสายพันธุ์ได้แก่

  1. M. tuberculosis complex
  2. M. tuberculosis
  3. M. bovis
  4. M africnum
  5. M. microti
  6. M. canetti

กลไกการเกิดโรควัณโรค

หลังจากที่เราหายใจเอาเชื้อโรคเข้าในปอด หการ่างกายเรามีภูมิก็จะฆ่าเชื้อโรคได้ หากฆ่าได้ไม่หมดเนื่องจากจำนวนหรือความรุนแรงของเชื้อ เชื้อก็จะอยู่ในเม็ดเลือดขาว และแบ่งตัวอย่างช้าประมาณว่าจะแบ่งตัวทุก 25-32 ชมจนกระทั่งเวลาผ่านไป 2-12 สัปดาห์จะมีปริมณเชื้อ 1000-10000 เซลล์ซึ่งมีปริมาณมากพอที่จำทำให้ร่างกายสร้างภูมิต่อโรคซึ่งสามารถตรวจพบภูมิโดยการทดสอบทางผิวหนัง ก่อนที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อจะแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลืองและกระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก ตับ ม้าม ปอดกลีบบน ไต กระดูก และสมอง เมื่อร่างการสร้างภูมิเต็มที่เชื้อจะไม่แบ่งตัวหรือแบ่งตัวช้ามากและจะไม่ติดต่อหรือเกิดโรค

สำหรับในบางภาวะที่ภูมิอ่อนแอเช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ เบาหวาน silicosis ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ จะมีโอกาสเกิดติดโรคได้ง่ายโดยเฉพาะใน 2 ปีแรก

อาการและอาการแสดงของโรควัณโรค

คนที่ติดเชื้อวัณโรคมีอาการได้หลายรูปแบบ บางคนอาจจะไม่มีอาการบางคนอาจจะมีอาการมากทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. ปัจจัยที่ตัวผู้ป่วย
  • ได้แก่อายุสำหรับเด็กและคนสูงอายุจะมีความรุนแรงมากกว่าคนหนุ่มสาว
  • สภาวะของภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เช่นคนที่เป็นโรคเอดส์ คนที่รับประทานยากดภูมิ ขาดอาหาร
  • โรคที่พบร่วม เช่นโรคถุงลมโป่งพอง เบาหวาน
  • การฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค
  1. ปัจจัยด้านตัวเชื้อโรค
  • ความรุนแรงของตัวเชื้อ
  • ตำแหน่งที่เกิดโรค
  1. ปฎิกิริยาระหว่างผู้ป่วยและตัวเชื้อโรค มีปฎิกิริยามากก็จะเกิดอาการมาก เช่นไข้หรือไอเป็นต้น
  • ตำแหน่งที่เกิดโรค
  • ความรุนแรงของโรค

ก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโรคเอดส์เราจะพบว่าวัณโรคจะเป็นที่ปอดประมาณร้อยละ85 ส่วนอีกร้อยละ15จะเป็นวัณโรคที่ปอดและนอกปอด แต่หลังจากที่มีโรคเอดส์พบว่าร้อยละ 38เป็นวัณโรคปอด ร้อละ 30 เป็นวัณโรคนอกปอด ร้อยละ 32 เป็นทั้งวัณโรคปอดและนอกปอด

อาการทั่วๆไป

เป็นอาการที่เกิดจากโรคแต่ไม่ได้บอกว่าเป็นวัณโรคที่ตำแหน่งไหน อาการที่สำคัญได้แก่

  • ไข้ พบว่าผู้ป่วยโรควัณโรคจะมีไข้ได้ตั้งแต่ร้อยละ 37-80 แต่ก็มีผู้ป่วยร้อยละ 21 ที่ไม่มีไข้เลย หลังจากได้รับยารักษาวัณโรคพบว่าไข้จะลงในหนึ่งและสองสัปดาห ์ ร้อยละ34,64 ตามลำดับระยะเวลาเฉลี่ยที่ไข้ลงประมาณ 10 วัน
  • อาการอื่นๆที่พบได้ได้แก่ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ครั่นเนื้อครั่นตัว เหงื่อออกกลางคืน
  • พบว่าเม็ดเลือดขาวอาจจะต่ำ ปกติหรือสูงก็ได้ ในรายที่เป็นมานานจะพบภาวะโลหิตจางด้วย
  • อาการของเลือแรโซเดียมต่ำซึ่งจากปอดที่ติดเชื้อวัณโรสร้าง antidiuretic hormone-like substance

อาการของวัณโรคปอด

  • อาการเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในระยะแรกๆอาจจะไอแห้งๆไม่มีเสมหะ หากไม่รักษาเมื่อมีการอักเสบเพิ่มมากขึ้นและมีการทำลายเนื้อเยื่อก็จะทำให้มีเสมหะ
  • ไอเสมหะมีเลือดออก ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคมักจะไม่มีเลือดออกในเสมหะนอกจากจะเกิดจากผู้ป่วยมีโรคอยู่เก่าเช่น ถุงลมโป่งพองจากวัณโรค (Tuberculosis bronchiectasis) เส้นเลือดที่ผนังฝีในปอดแตก การติดเชื้อราในปอด หรือการติดเชื้อแบคทีเรีย

การตรวจทางรังสี

  • ผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่จะมีความผิดปกติทางรังสี
  • ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคที่หลอดลม endobronchial lesion ภาพรังสีทรวงอกจะปกติ
  • ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดและโรคเอดส์ก็อาจจะมีภาพรังสีทรวงอกปกติได้
  • ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่เกิดจากการติดเชื้อโรควัณโรคที่ปอดโดยตรง(พึ่งจะได้รับเชื้อ) มักจะเกิดโรคที่ปอดกลีบกลาง และกลีบล่าง( middle or lower lung zone infiltrate) และมักจะมีต่อมน้ำเหลืองที่ขัวปอดโต( hilar adenopathy)
  • ส่วนผู้ป่วยวัณโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในอดีตมักจะเกิดที่ปอดกลีบบน(upper lobes ) ต่อมน้ำเหลืองที่ขัวปอดมักจะไม่โต แต่อาจจะโตในเด็ก

การวินิจัยโรค

การวินิจที่ถูกต้องจะต้องตรวจพบตัวเชื้อโรค โดยการนำสารหลั่งต่างมาตรวจ เช่น เสมหะ น้ำจากกระเพาะอาหาร น้ำจากช่องปอด น้ำไขสันหลัง นอกจากนั้นหากสามารถเพาะเชื้อโรคได้จะทำให้การวินิจฉัยถูกต้อง การนำมาเพาะเชื้อก็มีความจำเป็นเนื่องจากเชื้อวัณโรคมีการดื้อยาบ่อยทำให้ต้องทราบว่าเชื้อดื้อต่อยาอะไรบ้าง เพื่อจะได้ปรับยาที่ใช้รักษา นอกจากนั้นระยะเวลาก็มีความสำคัญ

เนื่องจากความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโรคดังนั้นการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจจึงมีความสำคัญซึ่งจะละเลยไม่ได้

การตรวจเสมหะ

ควรจะตรวจเสมหะอย่างน้อย 3 ครั้ง(ไม่เกิน 6 ครั้ง)โดยการตรวจวันละครั้ง เสมหะที่ได้ต้องมาจากในปอดโดยการไอ ไม่ควรขักน้ำลายหรือน้ำมูก ให้ไอเอาเสมหะออกมา ข้อต้องระวังการเก็บเสมหะเนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อทางการไอดังนั้นควรจะเก็บเสมหะในที่โล่งๆ ไม่ควรจะเก็บในห้องที่อยู่กันหลายคนและการระบายอากาศไม่ดีเพราะจะติดต่อคนอื่น

อุปกรณ์ที่ใส่เป็นขวดปากกว้าง มีฝาปิดมิดชิด น้ำไม่สามรถเข้าไปได้ เมื่อเก็บเสร็จแล้วต้องปิดฝาให้สนิท และรีบนำส่งห้องปฏิบัติการณ์ สำหรับท่านที่มีเสมหะน้อยอาจจะทำได้โดยการพ่นน้ำเกลือเพื่อให้เสมหะออกมา แต่ควรจะระบุด้วยว่าเป็นเสมหะที่เกิดจากการพ่นยาเพราะในเสมหะอาจจะมีลักษณะใสทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ตรวจ

การตรวจเขื้อวัณโรคจากน้ำย่อย

เนื่องจากเด็กไม่สามารถที่จะไอและเอาเสมหะมาตรวจจึงใช้วิธีใส่สายยางเข้าไปในกระเพาะและดูดเอาน้ำย่อยประมาณ 50 ซมโดยที่เด็กจะต้องงดอาหารประมาณ 8-10 ชมโดยสามารถตรวจพบเชื้อได้ประมาณร้อยละ 40

การตรวจเชื้อจากการส่องกล้อง Bronchoscope

ในรายที่สงสัยว่าจะเป็นวัณโรคปอดแต่ตรวจเสมหะแล้วไม่พบเชื้อ การส่องกล้องเข้าไปตรวจในหลอดลมแล้วใช้น้ำล้างเอาเสมหะออกมาตรวจ หรืออาจจะตัดชิ้นเนื้อเยื่อเพื่อไปส่องกล้องหาเชื้อวัณโรค

การตรวจหาเชื้อจากปัสสาวะ

จะเก็บปัสสาวะในตอนเช้าโดยเก็บช่วงกลางของปัสสาวะโดยนำไปเพาะเชื้อ การยอมเชื้อมักจะไม่พบเชื้อ และไม่ควรจะรับยาปฏิชีวนะเพราะยาปฏิชีวนะจะทำให้เพาะเชื้อไม่ขึ้น

การเพาะเชื้อจากเลือด

จะต้องใช้หลอดนำส่งและจานเลี้ยงเชื้อเฉพาะสำหรับเชื้อวัณโรค

การตรวจน้ำไขสันหลัง

การวินิจฉับวัณโรคเยื่อหุ้มสมองโดยการตรวจน้ำไขสันหลังจะพบว่าระดับน้ำตาลในน้ำไขสันหลังจะต่ำ โปรตีนในน้ำไขสันหลังจะมากกว่า50%ของในเลือด เซลล์ในน้ำไขสันหลังส่วนใหญ่เป็นชนิด lymphocyte การนำน้ำไขสันหลังไปย้อมมักจะไม่พบตัวเชื้อแต่การเพาะเชื้อก็อาจจะขึ้นเชื้อวัณโรค

การตรวจน้ำจากแหล่งอื่น

เช่นน้ำจากช่องท้อง เยื่อหุ้มปอด หลักการแบบเดียวกับน้ำไขสันหลัง

การตรวจเนื้อเยื่อ

การตัดเนื้อเยื่อจากเยื่อหุ้มปอด เยื่อบุช่องท้อง เยื่อหุ้มหัวใจ หรือเนื้อเยื่ออื่นๆเช่นต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น แล้วนำเนื้อเยื่อไปย้อมก็อาจจะพบตัวเชื้อโรค แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อโรค

การตรวจหาเชื้อวัณโรคโดยวิธี RNA and DNA amplification

การตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้วินิจฉัยได้เร็ว จากการทำในห้องทดลองพบว่าสามารถตรวจพบเชื้อโรคแม้ว่าจะมีจำนวนน้อย 10 เซลล์ เมื่อเปรียบเทีบกับการตรวจเสมหะด้วยวิธีปกติ พบว่าหากย้อมเชื้อพบเชื้อการตรวจวัณโรคด้วยวิธีนี้จะให้ความไว sensitivity ร้อยละ95และความแม่ยยำ specificity ร้อยละ 98 หากตรวจย้อมเสมหะไม่พบเชื้อ จะพบความไวร้อยละ 48-53และความแม่นยำร้อยละ 95 ของการตรวจโดยวิธีเพาะเชื้อ

การเพาะเชื้อวัณโรค

เมื่อเก็บเสมหะหรือสารคัดหลั่งอย่างได้แล้วก็จะนำสารคัดหลั่งนั้นไปเพาะเชื้อวัณโรคเพราะ

  1. การเพาะเชื้อมีความไวในการวินิจฉัยเพราะสามารถให้การวินิจฉัยแม้ว่าจะมีปริมาณเชื้อน้อยกว่า 10 เซลล์
  2. เพื่อแยกสายพันธ์ของเชื้อ
  3. เพื่อทำการทดสอบว่าเชื้อดื้อต่อยาอะไรเพื่อประโยชน์ในการเลือกยาที่ใช้
  4. เพื่อทำ genotype

                   

guest

Post : 2013-12-07 04:24:33.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

 หลอดลมอักเสบ 

เมื่อคุณเป็นหวัดจะเริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไป คุณจะรู้สึกแน่นหน้าอกมีเสมหะในคอ และคุณเริ่มเกิดอาการไอแสดงว่าคุณเริ่มเป็นโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบคือโรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมากทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด

หากคุณเป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง

ไอเป็นอาการที่สำคัญที่สุด เสมหะจะมีสีเหลืองหรือเขียวแต่ท่านอาจจะไม่ได้เห็นเสมหะในเด็กหรือผู้ใหญ่บางคนที่กลืนเสมหะลงไปกระเพาะ นอกจากไอแล้วยังมีอาการอื่นคือ

  • แสบคอ เจ็บคอบางคนมีอาการแสบหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • หายใจเสียงดังหวีด
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ไข้ไม่สูง

สาเหตุ

  • ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเหมือนไข้หวัด เชื้ออื่นที่เป็นสาเหตุคือเชื้อ Mycoplasma pneumoniae.,Chlamydia pneumoniae
  • หลอดอักเสบจากสิ่งแวดล้อมเช่น ควันบุหรี่ กลิ่นสี สารเคมี ฝุ่น
  • จากกรดในกระเพาะที่ไหลย้อน gastroesophageal reflux disease (GERD)

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

  • สูบบุหรี่หรืออยู่กับคนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีโรคประจำที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเช่น โรคเบาหวาน โรคตับ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีโรคกรดไหลย้อน gastroesophageal reflux disease (GERD)
  • ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคืองเช่น ฝุ่น สารเคมี

ควรพบแพทย์เมื่อใด

โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 50หายใน 3 สัปดาห์ ร้อยละ 25 หายใช้เวลาเป็นเดือนจึงจะหาย การดูแลให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ คุณควรจะพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • ไข้สูงกว่า 38.5 องศา
  • หายใจลำบากหรือเหนื่อยหอบ
  • เสมหะมีเลือดปน
  • เสมหะเป็นหนอง
  • เมื่อคุณมีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคปอด

guest

Post : 2013-12-07 04:21:53.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การใช้หน้ากากอนามัย

 

การเลือกหน้ากากป้องกันการติดเชื้อ

หน้ากากอนามัยมีด้วยกันหลายชนิดการเลือกใช้อย่างเหมาะสม จะสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ และยังสามารถป้องกันอันตรายจากพิษของฝุ่นบางประเภทได้ด้วยหน้ากากป้องกันการติดเชื้อที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปน ี้(ในที่นี้จะเกล่าถึงหน้ากากป้องกันการติดเชื้อวัณโรค)

  1. สามารถกรองที่มีขนาดตั้งแต่ 1µ ประสิทธิ์ภาพในการกรอง 95% ที่อัตราการไหลเวียนของอากาศ 50 ลิตร/นาที(คำอธิบาย ขนาดของเสมหะมี 1-5µ ดังนั้นหน้ากากต้องกรองเสมหะที่มีขนาดเล็กที่สุด อัตราการไหลเวียน 50 ลิตร/นาที่เป็นปริมาตรของอากาศที่ไหลผ่านเข้าออกเมื่อคนสวมหายใจในขณะออกกำลังกาย)
  2. หน้ากากต้องสามารถทดสอบการรั่วได้ไม่เกิน 10%
  3. หน้ากากที่ดีต้องสวมใส่ได้กับทุกคนโดยทั่วไปไม่ควรจะมีขนาดมากกว่า 3 ขนาด
  4. ต้องสามารถทดสอบว่าหน้ากากมีความสมบูรณ์เพียงใดก่อนการใช้ทุกครั้งตามมาตรฐานการตรวจสอบ

ชนิดของหน้ากาก

  1. หน้ากากที่ใช้สวมในขณะผ่าตัด Surgical mask เป็นหน้ากากทีสวมขณะผ่าตัดเพื่อป้องกันเลือด หรือเสมหะของผู้ป่วยที่จะกระเด็นเข้าปากและจมูกของหมอผ่าตัด และป้องกันเสมหะหรือน้ำลายของแพทย์ที่จะไปปนเปื้อนบริเวณที่จะผ่าตัด ไม่ควรนำหน้ากากนี้มาใช้กับคนที่ป่วยเป็นวัณโรคเพราะไม่สามารถป้องกันได้ วิธีการใช้คลิกที่นี่
  2. หน้ากากที่ใช้ครั้งเดียว Disposable Particulate Respirators
  3. ตามมาตรฐานของ NIOSH จะมีชนิด N,R,P ซึ่งจะมีหรือไม่มีช่องสำหรับหายใจออกexhalation valveก ก็ได้ เช่น ชนิด N95

ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้

  • ใช้แล้วทิ้ง ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด
  • น้ำหนักเบาและสวมใส่ง่าย

ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้

  • เนื่องจากการหายใจเข้าจะทำให้เกิดความดันในหน้ากากต่ำกว่าภายนอน อากาศอาจจะเล็ดรอดทางรูรั่วได้
  • หน้ากากที่มีท่อสำหรับหายใจออกไม่เหมาะที่จะใช้ในห้องผ่าตัดเพราะจะทำให้บริเวณผ่าตัดสกปรก

N95

ไม่มีท่อหายใจออก

มีท่อหายใจออก

  1. หน้ากากชนิดเปลี่ยนไส้กรอง  เป็นหน้ากากที่สามารถเปลี่ยนไส้กรองอากาศได้ สามารถนำมาใช้ใหม่ แต่ต้องหมั่นทำความสะ

     

    อาดแบ่งเป็นสองชนิดคือ

หน้ากากครอบครึ่งหน้า Half-Mask Replaceable Particulate Filter Respirator อาจจะมีที่กรอง 1-2 ช่อง อาจจะต้องใช้ร่วมกับแว่นกันใบหน้า

Air-purifying Respirators

ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้

  • น้ำหนักเบา ใช้ได้สะดวก
  • หน้ากากนี้ทำด้วยยางใช้ได้นาน สามารถเปลี่ยนไส้กรองก็นำมาใช้ใหม่

ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้

  • ต้องหมั่นตรวจสอบรอยรั่ว การเสื่อมของหน้ากาก การทำความสะอาด
  • เนื่องจากการหายใจเข้าอาจจะทำให้การรั่วของอากาศโดยไม่ผ่าไส้กรอง
  • สื่อสารกับคนอื่นลำบาก
  • ไม่สามารถใช้ในห้องผ่าตัด

หน้ากากครอบเต็มหน้า Full Facepiece Replaceable Particulate Filter Respiratorเหมือนกับชนิดข้างบนแต่มีที่สำหรับกันใบหน้า

ข้อดีของหน้ากาก

  • การรั่วของอากาศน้อยกว่าชนิดครึ่งหน้า
  • สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยการเปลี่ยนไส้กรอง
  • ป้องกันตาจากการกระเด็นของเสมหะ

ข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้

  • ไม่สามารถใช้ในห้องผ่าตัด
  • ต้องมีการทำความสะอาด ตรวจสอบรอยรั่ว
  • อาจจะมีการรั่วของอากาศ
  • การสื่อสารทำได้ลำบาก
  • ต้องใช้แว่นตาชนิดพิเศษ
  1. หน้ากากชนิดที่มีอากาศหายใจ PAPRs เป็นหน้ากากที่มีมอเตอร์ดูดอากาศจากสิ่งแวดล้อม ผ่านเครื่องกรองอากาศแล้วส่ง ผ่านไปยังภายในหน้ากาก มีสองชนิดคือ
  • ชนิดครอบพอดีกับใบหน้า Tight-Fitting PAPR อาจจะเป็นชนิดครึ่งหน้าหรือเต็มหน้า อาจจะมีกระจกสำหรับป้องกันเสมหะ

                       

guest

Post : 2013-12-06 02:46:50.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเอดส์

 โรคเอดส์ ความรู้เรื่องโรคเอดส์

เอดส์หรือโรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาส

องค์การอนามัยโลกได้นิยามการวินิจฉัยโรคเอดส์ใหม ่เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยและการรักษา

การวินิจฉัยผู้ที่ติดโรคเอดส์ในผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปีซึ่งต้องมีเกณฑ์ดังนี้

  • ตรวจเลือดพบภูมิ antibody ต่อเชื้อโรคเอดส์สองครั้งด้วยวิธีที่ต่างกัน

และหรือ

  • การตรวจพบเชื้อโรคเอดส์ในเลือด (HIV-RNA or HIV-DNA) และต้องมีการตรวจยืนยันอีกครั้ง

สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า18ปี การวินิจฉัยโรคเอดส์มีเกณฑ์ดังนี้

  • การตรวจพบเชื้อโรคเอดส์ในเลือด (HIV-RNA or HIV-DNA) และต้องมีการตรวจยืนยันอีกครั้ง จะไม่ใช้การตรวจภูมิมายืนยันการวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัย Primary infection

องค์กรควบคุมโรคติดต่อของประเทศอเมริกา(CDC)ได้ให้คำนยามไว้ดังนี้

  • เป็นการติดเชื้อโรคเอดส์ในทารก เด็กหรือผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะไม่มีอาการหรือมีอาการกลุ่ม acute
    retroviral syndrome เช่น ไข้หลังจากได้รับเชื้อ 2-4 สัปดาห์ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ มีแผลที่ปากหรืออวัยวะเพศ หรืออาจจะมีเยื่อหุ้มสมองหรือสมองอักเสบ และอาจจะมีการติดเชื้อฉวยโอกาส ที่สำคัญคือการที่ว่าพบว่าพึ่งจะมีภูมิ antibody ต่อโรคเอดส์หรือตรวจพบตัวเชื้อโรคเอดส์(HIV-RNA or HIV-DNA) โดยที่ตรวจไม่พบภูมิ

การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเอดส์ชนิด advance (advanced HIV infection)

  • ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเอดส์ระยะที่3หรือ4และหรือ
  • CD4<350 cell/mmmในผู้ใหญ่ และหรือ
    • %CD4+ <30 ในเด็กอายุน้อยกว่า 12 เดือน
    • %CD4+ <25 ในเด็กอายุ 12–35 เดือน
    • %CD4+ <20 ในเด็กอายุ 36–59 เดือน

การประเมินความรุนแรงของโรคเอดส์ก่อนการรักษา

การประเมินความรุนแรงหรือระยะของโรคจะมีประโยชน์ในการประเมินก่อนการรักษาและประเมินเพื่อติดตามผลการรักษา และเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจให้ยาต้านไวรัสหรือการให้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส

การประเมินความรุนแรงของโรคแบ่งเป็น

การประเมินความรุนแรงจากอาการของโรค

ตารางประเมินความรุนแรงจากอาการของโรค
อากาของผู้ป่วยโรคเอดส์
เกณฑ์ความรุนแรงตามองค์การอนามัยโรค WHO
ไม่มีอาการ
1
มีอาการน้อย
2
มีอาการโรคเอดส์Advanced symptoms
3
มีอาการรุนแรง Severe symptoms
4

การประเมินความรุนแรงจากภูมิของร่างกาย

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์จะมีการตอบสนองของเซลล์ CD4 เมื่อโรคเป็นมากเซลล์จะลดลง หากการรักษาได้ผลเซลล์CD 4ก็จะเพิ่มขึ้น แต่จำนวนเซลล์ก็ขึ้นกับอายุดังนั้น

ตารางแสดงความรุนแรงและระดับ CD4
HIV-associated
immunodeficiency
จำนวน CD4 ในแต่ละอายุ
<11 เดือน
(%CD4+)
12–35 เดือน
(%CD4+)
36 –59 เดือน
(%CD4+)
>5 ปี (จำนวน cd4/mm3 sinv
%CD4+)
None or not significant
>35
>30
>25
500
Mild
30–35
25–30
20–25
350−499
Advanced
25–29
20–24
15−19
200−349
Severe
<25
<20
<15
<200 หรือ<15%

การตัดสินใจให้ยารักษาหรือป้องกันการตอดเชื้อฉวยโอกาส

การเจาะเลือดหาจำนวนเซลล์ CD4จะช่วยในการตัดสินใจให้ยารักษาหรือยาป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส

  • ผู้ป่วยที่มีความรุนแรง advance หรือ severe ควรจะได้รับยาต้านไวรัสเพื่อรักษาโรคเอดส์
  • ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการน้อยยังไม่สมควรได้รับยารักษาโรคเอดส์

การประเมินความรุนแรงของโรคเอดส์โดยอาศัยอาการหรือโรคแทรกซ้อน

ความรุนแรงของโรคระดับ1 อาการของผู้ป่วย
ไม่มีอาการ Asymptomatic
 
ต่อมน้ำเหลืองโต Persistent generalized lymphadenopathy ต่อมน้ำเหลืองโตมากว่า1 ซมโดยไม่พบสาเหตุ มากกว่า2แห่ง
ความรุนแรงของโรคระดับ2  
น้ำหนักลดลง 10 %จากปกตโดยไม่ทราบสาเหตุิ 
 
มีการติดเชื้อทางเดินหายใจซ้ำๆ เช่นไซนัสอักเสบ sinusitis,ต่อมทอนซิลอักเสบ tonsillitis, หูชั้นกลางอักเสบ otitis media และคออักเสบ pharyngitis) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดใบหน้า น้ำมูกไหลข้างเดียว เจ็บหู หรือเจ็บคอ
งูสวัด Herpes zoster มีตุ่มขึ้นตามแนวเส้นประสาท
ปากนกกระจอก Angular cheilitis มุมปากแตกตอบสนองต่อยารักษาเชื้อรา
แผลในปากเป็นซ้ำRecurrent oral ulceration เป็นแผลร้อนในมากกว่า2ครั้งในระยะเวลา 6 เดือน
ผื่นที่ผิวหนัง Papular pruritic eruptions ผื่นคันเป็นตุ่มๆและมักจะเป็นจุดดำๆ
ผื่แพ้ไขมัน Seborrhoeic dermatitis ผิวหนังคนและมีขุยมักเป็นบริเวณที่มีผมหรือขน เช่นศรีษะ รักแร ร่องจมูก
เชื้อราที่เล็บ Fungal nail infections มีการอักเสบของเล็บหรือมีการติดเชื้อราที่เล็บ
ความรุนแรงของโรคระดับ3  
น้ำหนักลดลงมากกว่าร้อยละ10โดยไม่ทราบสาเหตุ
น้ำหนักลด แก้มตอบ แขนขาลีบ ดัชนีมวลกายน้อยกว่า18.5
ท้องร่วงเรื้อรังมากกว่า 1 เดือน ถ่ายอุจาระเหลวเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 1เดือน
ไข้เรื้อรัง(มากกว่า37.6องศา)นานกว่าหนึ่งเดือน ไข้หรือเหงื่อออกกลางคืน ไข้อาจจะเป็นตลอดหรือเป็นๆหายๆ ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ
เชื้อราในปาก Persistent oral candidiasis มีอาการเจ็บปากและมีคราบขาวๆในปากเป็นๆหายๆ
มะเร็งในช่องปาก Oral hairy leukoplakia ผื่นขาวๆข้างลิ้น
เป็นวัณโรคปอด ไข้ไอเรื้อรังมากว่า 2 สัปดาห์ หรือตรวจเสมหะพบเชื้อวัณโรค หรือตรวจทางรังสีเข้าได้กับวัณโรค
ติดเชื้อแบททีเรียชนิดรุนแรง เช่น ปอดบวม หนองในปอด กล้ามเนื้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีไข้ร่วมกับอาการตามระบบ เช่นไอ เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ
ปากหรือเหงือกอักเสบ ปาดอักเสบ มีแผล ฟันร่วง กลิ่นปากแรง
ซีดโดยไม่ทราบสาเหตุ (<8 g/dl),เม็ดเลือดขาวต่ำneutropaenia (<0.5 × 109 per litre)
หรือเกล็ดเลือดต่ำ chronic thrombocytopaenia (<50 × 109 per litre)
 
ความรุนแรงของโรคระดับ4  
กล้ามเนื้อรีบ HIV wasting syndrome
น้ำหนักลดลงมากกว่า10%และหรือท้องร่วงเรื้อรัง หรือไข้เรื้อรัง
ติดเชื้อ Pneumocystis pneumonia ไข้ เหนื่อยง่าย ไอ ตรวจทางรังสีพบปอดบวมและไม่พบว่ามีการติดเชื้อแบททีเรีย
ปอดบวมรุนแรงซ้ำ Recurrent severe bacterial pneumonia มีปอดบวม 2ครั้งใน 6เดือน
ติดเชื้อเริม Chronic herpes simplex infection เรื้อรังนานมากกว่า 1 เดือน มีผื่นที่ริมฝีปากหรืออวัยวะเพศนานกว่า1เดือนหรือเป็นๆหายๆ
ติดเชื้อราตามอวัยวะต่างๆ Oesophageal candidiasis(or candidiasis of trachea, bronchi or lungs) มีอาการกลืนอาหารลำบาก และเจ็บหน้าอกเนื่องจากเชื้อราในหลอดอาหาร
เป็นวัณโรคนอกปอด Extrapulmonary tuberculosis
ไข้ ไอ เจ็บหน้าอก ตรวจมีหนองช่องปอดหรือหัวใจ
Kaposi’s sarcoma ก้อนสีออกแดงที่ผิวหนังและในปาก
ติดเชื้อCytomegalovirus infection (retinitis or infection of other organs) รู้ได้โดยการตรวจของจักษุแพทย์
ติดเชื้อ Central nervous system toxoplasmosis มีอาการอ่อนแรงของแขนและขาทำcomputer พบรอยโรคในสมอง
HIV encephalopathy ความจำไม่ดี การเรียนรู้หรือพฤติกรรมแย่ลง
ติดเชื้อ Extrapulmonary cryptococcosis including meningitis ไข้ ปวดศีรษะ คอแข็งเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ติดเชื้อDisseminated non-tuberculous mycobacterial infection ไม่มีอาการเฉพาะ
Progressive multifocal leukoencephalopathy ไม่มีอาการเฉพาะ
ติดเชื้อ Chronic cryptosporidiosis (with diarrhoed) ไม่มีอาการเฉพาะ
ติดเชื้อ Chronic isosporiasis  
ติดเชื้อ Disseminated mycosis (coccidiomycosis orhistoplasmosis) ไม่มีอาการเฉพาะ
ติดเชื้อไทฟอยด์ซ้ำ Recurrent non-typhoidalSalmonella bacteraemia ไม่มีอาการเฉพาะ
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Lymphoma (cerebral or B-cell non-Hodgkin) or other solid HIV-associated tumours ไม่มีอาการเฉพาะ
มะเร็งปากมดลูก Invasive cervical carcinoma ไม่มีอาการเฉพาะ
Atypical disseminated leishmaniasis ไม่มีอาการเฉพาะ
โรคเอดส์ที่มีโรคไตและโรคหัวใจSymptomatic HIV-associated nephropathy or symptomatic HIV-associated cardiomyopathy ไม่มีอาการเฉพาะ

 

                  

guest

Post : 2013-12-06 02:44:44.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคไข้เลือดออก

  โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อต่อไปนี้

อุบัติการณืของโรคไข้เลือดออก

เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific

ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1

สาเหตุไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก

อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ใผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณะที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ

  • ไข้สูงเฉียบพลันประมาณ2-7 วัน
  • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • บางรายอาจจะมีจุดเลือดสีแดงออกตามลำตัว แขนขา อาจจะใรเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามรายฟัน และถ่านอุจาระดำเนื่องจากเลือดออกในทางเดินอาหาร และอาจจะช็อค
  • ในรายที่ช็อคจะสังเกตเมื่อไข้ลงผู้ป่วยกลับแย่ลง ซึม มือเท้าเย็น เหงื่อออก หมดสติ และอาจจะเสียชีวิต

การเจาะเลือดตรวจวินิจฉัย

การรักษา

ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่มีปัญาเนื่องเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุม

วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย

  • กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะละ ยาง กระป๋อง
  • หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
  • ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ

ขนิดของเชื้อแดงกีเชื้อไวรัสแดงกี เป็น single strnded RNA ไวรัสมีด้วยกัน 4 ชนิด(serotype) DEN1 DEN2 DEN3 DEN4 ซึ่งมี antigen ร่วมกันบางส่วนทำให้เทื่อเกิดการติดเชื้อชนิดหนึ่ง จะเกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้ออีกชนิดหนึ่ง แต่ภูมิที่เกิดจะอยู่ได้ 6-12 เดือน ส่วนภูมิที่เกิดกับเชื้อที่ป่วยจะมีตลอดชีวิต เช่นหากเป็นไข้เลือดออกจากเชื้อ DEN1 ผู้ป่วยจะมีภูมิต่อเชื้อนี้ตลอดชีวิต แต่จะมีภูมิต่อเชื้อแดงกีชนิดอื่นเพียง 6-12 เดือนเท่านั้นจาการศึกษาพบว่าการติดเชื้อซ้ำ หรือการติดเชื้อครั้งที่สองจะเป็นสาเหตุของโรคแดงกีได้ถึงร้อยละ 80-90 ในสมัยก่อนปี 2543พบว่าการระบาดของเชื้อแดงกีเกิดจากสายพันธ์ที่สอง DEN2 แต่หลังจากนั้นพบลดลง แต่จะพบสายพันธ์ DEN3 มากขึ้น แต่หลังจากปี 2543 เชื้อสายพันธ์ที่สอง DEN2 เริ่มกลับมาพบมากขึ้นและมีอัตราการตายสูงเนื่องจากเป็นเชื้อที่หากเป็นแล้วจะเกิดอาการรุนแรงการ

อาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออก

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ

การติดเชื้อไวรัสแดงกิ่วมีอาการได้ 3 แบบคือ

        

guest

Post : 2013-12-06 02:41:53.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไข้หวัด

 ไข้หวัด Common cold

ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจส่วนบนเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบไปด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นก็มี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอ จะทำให้เยื่อบุจมูกบวมแดง และมีการหลั่งสารหลั่งที่เป็นเมือกออกมา แม้ว่าโรคจะหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุด โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัดปีละ 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่อาจจะเป็น 2-4 ครั้งต่อปี ผู้หญิงจะเป็นบ่อยเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็กมากกว่า คนสูงอายุจะเป็นปีละครั้ง

อาการของไข้หวัด

ผู้ใหญ่จะมีอาการจาม น้ำมูกไหลมาก่อน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักจะไม่ค่อยมีไข้ เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมง และหมดภายใน 2 สัปดาห์ บางรายมีอาการปวดหู เยื่อแก้หูมีเลือดคั่ง บางรายมีเยื่อบุตาอักเสบ เจ็บคอกลืนลำบาก โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจจะมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์

ในเด็กอาจจะรุนแรง และมักจะกลายเป็นหลอดลมอักเสบ และปอดบวม

การติดต่อ

โรคนี้มักจะระบาดในฤดูหนาวเนื่องจากความชื้นต่ำ และอากาศเย็น

  • คนปกติสามารถติดโรคจากน้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยที่ปลิวมากับจามหรือไอผ่านทางลมหายใจ
  • เชื้อยังสามารถผ่านทางปากจากมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
  • ผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ 1-2 วันก่อนที่จะเกิดอาการ และ 1-2 วันหลังเกิดอาการ
  • ผู้ที่ติดหวัดได้ง่ายคือเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เด็กที่ขาดอาหาร เด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก

วิธีการติดต่อมีด้วยกันกี่วิธี

  1. มือของเด็ก หรือผู้ใหญ่ที่สัมผัสเชื้อจากเสมหะของผู้ป่วย หรือสิ่งแวดล้อม แล้วขยี้ตา หรือนำเข้าทางปาก
  2. หายใจเอาเชื้อที่ผู้ป่วยไอออกมา
  3. หายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศ

การรักษา

  • ไม่มียารักษาเฉพาะ หากมีไข้ก็ให้ยาลดไข้ Pacetamol ห้ามให้แอสไพรินทร์
  • ให้พักและดื่มน้ำมากๆ
  • ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ

เมื่อไรจึงจะหาย

โดยทั่วไปใช้เวลา 2-4 วันหลังจากนั้นจะดีขึ้น โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือหูชั้นกลางอักเสบ ต้องได้รับยาปฏิชีวนะ

จะป้องกันหวัดได้อย่างไร

เป็นการยากที่จะป้องกันการติดเชื้อหวัด และยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันโรคหวัดได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

  • หลีกเลี่งที่ชุมชน เช่นโรงภาพยนตร์ ภัตราคาร ในช่วงระบาด
  • ไอหรือจามใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษปิดปากและจมูก
  • ให้ล้างมือบ่อยๆ
  • ไม่เอามือเข้าปาก หรือขยี้ตาเพราะอาจจะนำเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้
  • อย่าอยู่ใกล้ชิดผู้ที่ป่วยเป็นเวลานาน

อากาศหนาวจะทำให้เป็นไข้หวัดหรือไม่

เป็นความเชื่อที่ว่าอากาศหนาวจะทำให้เกิดไข้หวัด หรือทำให้หวัดเป็นมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าอากาศ การออกกำลังกาย และอาหารไม่ทำให้เกิดไข้หวัด และยังพบว่าความเครียด โรคภูมิแพ้ และรอบเดือนมีส่วนทำให้เกิดโรคหวัด

วิตามินซี รักษาหวัดได้หรือไม่

หลายท่านเชื่อว่าการรับประทานวิตามินซีขนาดสูงจะสามารถรักษา และป้องกันไข้หวัดได้ จากการศึกษายังไม่มีหลักฐานว่ารักาาได้จริง หรือทำให้โรคหายเร็วขึ้น นอกจากนั้นการได้รับวิตามิน ว๊ขนาดสูงยังทำให้เกิดท้องร่วง และมีผลต่อการตรวจน้ำตาลในเลือด รวมทั้งการแข็งตัวของเลือด

guest

Post : 2013-12-06 02:39:48.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไข้หวัดใหญ่

 ไข้หวัดใหญ่

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ข้อแตกต่างระหว่างไข้หวัด เชื้อไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก ไข้หวัดมรณะ ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่โรคไข้หวัดข้ออักเสบ การดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดต่างกันอย่างไร

ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลม และปอด เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน

สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก

ในปี คศ.2003 ได้มีการแนะนำเรื่องไข้หวัดใหญ่ดังนี้

  1. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีน คือเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน(เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศเราจะฉีดก็น่าจะเป็นช่วงเดียวกัน) โดยเน้นไปที่ประชาชนที่มีอายุ 50 ปี,เด็กอายุ 6-23 เดือน,คนที่อายุ 2-49 ปีที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ให้ฉีดในเดือนตุลาคม ส่วนกลุ่มอื่น เช่นเด็ก เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ดูแลคนป่วย กลุ่มนี้ให้ฉีดเดือนพฤศจิกายน
  2. เด็กที่อายุ 6-23 เดือนควรจะฉีดทุกรายโดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย
  3. ชนิดของวัคซีนที่จะฉีดให้ใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของเชื้อ A/Moscow/10/99 (H3N2)-like, A/New Caledonia/20/99 (H1N1)-like, และ B/Hong Kong/330/2001
  4. ให้ลดปริมาณสาร thimerosal ซึ่งเป็นสารปรอท

เชื้อที่เป็นสาเหต

การติดต่อ

เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่

  • ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตาและปาก
  • สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ
  • สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
  • อ่านรายละเอียด

อาการของโรค

อาการของไข้หวัดใหญ่จะเหมือนกับไข้หวัด แต่ไข้หวัดใหญ่จะเร็วกว่า ไข้สูงกว่า อาการทำสำคัญได้แก่

  1. ระยะฟักตัวประมาณ1-4 วันเฉลี่ย 2 วัน
  • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ปวดศรีษะอย่างรุนแรง
  • ปวดแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบกระบอกตา
  • ไข้สูง 39-40 องศาในเด็ก ผู้ใหญ่ไข้ประมาณ 38 องศา
  • เจ็บคอคอแดง มีน้ำมูกไหล
  • ไอแห้งๆ ตาแดง
  • ในเด็กอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • อาการไข้ คลื่นไส้อาเจียนจะหายใน 2 วัน แต่อาการน้ำมูกไหลคัดจมูกอาจจะอยู่ได้ 1 สัปดาห์
  1. สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
  • อาจจะพบว่ามีการอักเสบของเยื่อหุ่มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
  • อาจจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะปวดศรีษะ ซึมลง หมดสติ
  • ระบบหายใจอาจจะมีอาการของโรคปอดบวม จะหอบหายใจเหนื่อยจนถึงหายใจวาย
  • โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายในไม่กี่วัน แต่ก็มีบางรายซึ่งอาจจะมีอาการปวดข้อและไอได้ถึง 2 สัปดาห์

ระยะติดต่อ

ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น

  • ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วันก่อนเกิดอาการ
  • ห้าวันหลังจากมีอาการ
  • ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน

                 

guest

Post : 2013-12-06 02:37:29.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไข้หวัดนกH5N1

 

โรคไข้หวัดนก

โรคไข้หวัดนก avian influenza

โรคไข้หวัดนกหรือ avian influenza เกิดจากการที่ไก่ติดไวรัสไข้หวัด avian influenza type A ที่เกิดในนก เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสที่เกิดในนกไก่ไม่มีภูมิจึงป่วยและตาย คนเราจะติดไข้หวัดนกจากไก่โดยการรับเชื้อจากการดูแลไก่ที่ป่วย หรือระหว่างที่ฆ่าไก่ หรือรับประทานไก่ที่เป็นโรคแต่ปรุงไม่สุก นอกจากนั้นอาจจะได้รับเชื้อจากพื้นที่ปนเปื้อน

  • คนที่ป่วยด้วยไข้หวัดนกส่วนใหญ่จะเกิดในคนที่สัมผัสไก่ที่ป่วยด้วยโรคนี้ ประมาณร้อยละ 60 ของคนที่ป่วยจะเสียชีวิต
  • ยังไม่มีรายงานว่าไข้หวัดนกติดต่อจากคนสู่คน หรือติดต่อระหว่างนกมาสู่คน
  • การป้องกันที่สำคัญคือการระวังการสัมผัสไก่ที่ป่วยหรือตายโดยไม่ทราบสาเหตุ การสุขอนามัย

รูปภาพแสดงวงจรการติดต่อของไข้หวัดนก

ไข้หวัดนก

ไข้หวัดนก

วงจรเชื้อไข้หวัดนก

เชื้อไข้หวัดนกเป็นเชื้อไวรัสโดยธรรมชาติจะติดต่อในนกเท่านั้น โดยเฉพาะนกป่า นกเป็ดน้ำจะเป็นพาหะของโรค เชื้อจะอยู่ในลำไส้โดยที่ตัวนกไม่มีอาการ เมื่อนกป่าเหล่านี้อพยพไปก็จะนำเชื้อนั้นไปด้วย เมื่อสัตว์อื่น เช่นไก่ เป็ด หมูเมื่อไก่หรือสัตว์เลี้ยงอื่นได้รับเชื้อไข้หวัดนกจะเกิดอาการสองแบบคือ

  1. หากได้รับเชื้อชนิดไม่รุนแรง low pathogenic สัตว์เลี้ยงนั้นอาจจะมีอาการไม่มากและหายได้เอง
  2. หากเชื้อที่ได้รับมีความรุนแรงมาก highly pathogenic ก็จะทำให้สัตว์เลี้ยงตายหมดโดยมากภายใน 2 วัน

คนติดไข้หวัดนกได้อย่างไร

เมื่อนกป่าหรือนกน้ำมาอาศัยก็จะถ่ายอุจาระที่มีเชื้อโรค สัตว์เลี้ยงเช่นไก่เมื่อได้รับเชื้อโรคก็จะเกิดการติดเชื้อ ซึ่งสามารถแพร่สู่คนได้ เมื่อไก่ตายหรือป่วยก็จะมีการนำไก่เหล่านั้นไปบริโภคทำให้เกิดการติดเชื้อไข่หวัดนกจากไก่ การติดต่อมักจะเกิดขณะการเชือดไก่ การถอนขนไก่ การทำความสะอาดเครื่องในไก่

เชื้อไข้หวัดนกมักจะติดต่อระหว่างสัตว์ปีกแต่ก็สามารถติดต่อระหว่างนกสู่คนโดยเฉพาะสายพันธ์ H5N1คนจะได้รับเชื้อทาง

  • สัมผัสโดยตรงจากไก่ที่ป่วยเป็นโรค โดยสัมผัสเสมหะ หรือสารคัดหลั่ง
  • สัมผัสกับอุจาระของสัตว์ที่เป็นโรค
  • พื้นดินที่มีเชื้อโรคอยู่
  • ยังไม่มีรายงานว่าคนติดไข้หวัดนกจากนก

คนป่วยไข้หวัดนกจะมีอาการอะไรบ้าง

อาการที่สำคัญของไข้หวัดนกคือ

  • ไข้และไอ
  • แน่หน้าอก
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • ปวดท้อง
  • ท้องร่วง

มีไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ท้องร่วง 

ผู้ป่วยไข้หวัดนกที่ไม่รุนแรงจะต้องแยกพักเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค หากรุนแรงจะต้องพักในโรงพยาบาล 

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  • ปอดบวมซึ่งมักจะรุนแรง
  • หายใจล้มเหลวซึ่งมักจะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
  • ภาวะช็อค
  • ซึม ไม่รู้สึกตัว
  • ชัก
  • อวัยวะล้มเหลว เช่น ไต ตับ หือหัวใจ

การป้องกันการติดเชื้อ

การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกที่ดีคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสไก่ที่ป่วยหรือตาย ไม่ไปตลาดสดขายไก่ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับคนที่ป่วย หรืองดเดินทางไปประเทศที่กำลังระบาด

  • ล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาทีก่อนและหลังจากทำอาหารไก่หรือไข่
  • ล้าองอุปกรณ์ครัวด้วยน้ำและสบู่
  • วัดอุณหภูมิอาหารให้ได้ 165 ฟาเรนไฮต์
  • ไข่ต้องสุขทั้งไข่ขาวและไข่แดง
  • หลีกเลี่ยงตลาดที่ค้าสัตว์เป็นๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสของที่เปื้อนอุจาระสัตว์ปีก
  • งดรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสไก่หรือนกที่ตาย
ประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ H5N1สู่คน

การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสู่คนมีหลายประเทศดังนี้

  • กัมพูชา
  • เวียดนาม
  • ลาว
  • อินโดนีเซีย
  • ไทย

ส่วนฮ่องกงเคยระบาดเมื่อปี 1997 สถานการณ์ไข้หวัดนกวันที่ 17 พย 2548

มีโอกาศที่เชื้อ H5N1จะระบาดทั่วโลก

การที่เชื้อไข้หวัดนก H5N1จะระบาดทั่วโลกต้องมีปัจจัยสามประการได้แก่

  1. มีการเชื้อโรคชนิดใหม่
  2. เชื้อก่อให้เกิดโรครุนแรงในคน
  3. เชื้อนั้นสามารถติดต่อจากคนสู่คน

สำหรับเชื้อไข้หวัดนกมีองค์ประกอบเพียงสองข้อ ยังขาดการระบาดจากคนสู่คน อย่างไรก็ตามหากยังมีการระบาดของไข้หวัดนกในไก่ยังคงมีต่อเนื่องก็มีโอกาศที่เชื้อจะกลายพันธ ์ทำให้เกิดการติดเชื้อจากคนสู่คน

โอกาศของเชื้อไข้หวัดนก H5N1 จะระบาดทั่วโลกมีอะไรบ้าง

โกาศที่เชื้อไข้หวัดนกจะระบาดทั่วโลก Pandemic มีโอกาศคอนข้างมากการป้องกันจะทำได้โดยการกำจัดปัจจัยเสี่ยงสองประการคือ

  1. การกลายพันธ์ของเชื้อไข้หวัดนก การกลายพันธ์ของเชื้อไข้หวัดนกมีสองวิธีคือ
  • Reassortment คือการที่เชื้อไข้หวัดนกได้แลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างไวรัสที่ติดเชื้อในคนและไวรัสป้องกันไข้หวัดนก การป้องกันการกลายพันธ์ทำไดโดยการป้องกันมิให้เชื้อไข้หวัดนกข้ามพันธ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ วิธีการคือแยกการเลี้ยงไก่และหมูออกจากกัน คนที่ทำงานฟาร์มไก่ หรือคนที่ทำลายไก่ หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
  • Mutation คือการกลายพันธ์ด้วยตัวมันเองซึ่งต้องใช้เวลานาน วิธีป้องกันการกลายพันธ์นี้ทำได้โดยการกำจัดแหล่งแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดและรีบทำลายเชื้ออย่างรวดเร็ว แต่จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่พบว่าเชื้อได้ระบาดไปทั่วโลกจนเป็นเชื้อประจำถิ่นทำให้การกำจัดเชื้อเป็นไปได้ยาก นอกจากนั้นเชื้อยังติดต่อสู่คน ทุกครั้งที่เชื้อติดต่อสู่คนก็จะทำให้เชื้อพัฒนาติดคนได้ง่ายขึ้น และอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น
  1. การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในไก่ หากมีการระบาดของไข้หวัดนกในไก่ และมีการติดเชื้อสู่คนก็จะเพิ่มโอกาศที่เชื้อจะกลายพันธ์
ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เชื้อไข้หวัดนกมีการระบาดมีอะไรบ้าง
  • เป็ดไล่ทุ่งซึ่งเป็นพาหะของโรคซึ่งเป็นแหล่งแพร่พันธ์ไปยังสัตว์ธรรมชาติทำให้เชื้อมีการกระจายเป็นวงกว้าง
  • เชื้อไข้หวัดนก H5N1 ที่พบในปี 2004 มีความรุนแรงและอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นามกว่าเชื้อที่พบในปี 1997
  • เชื้อไข้หวัดนก H5N1 สามารถติดไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นเสือ แมว
  • การอพยพของนกป่าและนกน้ำเปลี่ยนแปลงไป
ผลกระทบเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดนก
  • เมื่อเกิดการระบาดของไข้หวัดนกในคน ไม่ใครที่จะหยุดการระบาดได้ เชื้อจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการจามหรือไอ นอกจากนั้นคนที่ได้รับเชื้ออาจจแพร่เชื้อโดยที่ยังไม่มีอาการทำให้เชื้อระบาดไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
  • ประมาณว่าจะมีประชากรโลกติดเชื้อร้อยละ 25-30 โดยประมาณว่าจะมีคนเสียชีวิตประมาณ 2-7.4 ล้านคน หากเชื้อมีความรุนแรงก็อาจจะมีคนเสียชีวิตมากกว่านี้ การคำนวณอาศัยข้อมูลการระบาดปี 1958
  • จำนวนเตียงของโรงพยาบาลไม่เพียงพอ จะขาดคนทำงาน ทำให้การขนส่ง การดูแลไม่เพียงพอ
  • จะขาดแคลนยาปฏิชีวนะ วัคซีน
  • เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและทางสังคม
  • ไม่มีการช่วยเหลือจากนานาชาติเนื่องจากแต่ละประเทศก็ห่วงคนของตัวเอง
สัญญาณเตือนภัยว่าเชื้อไข้หวัดนกติดต่อจากคนสู่คน

ประชาชนควรจะเฝ้าระวังว่าจะมีการระบาดใหญ่หรือไม่โดยสังเกตจาก 

  1. มีการติดเชื้อในกลุ่มคนที่ใกล้ชิดกัน เกิดโรคเวลาใกล้เคียงกัน
  2. เจ้าหน้าที่ติดเชื้อไข้หวัดนกจากการดูแลผู้ป่วย
  3. มีการกลายพันธ์ของเชื้อโรค
ยาที่ใช้รักษา

ยาที่ใช้ในการรักษาได้แก่ Oseltamivir[tamiflu] และยา Zannamivir[Relenza] เป็นยาที่จะช่วยบรรเทาอาการของโรคแต่ต้องให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงหลั่งเกิดอาการ

ความรู้ใหม่ล่าสุดปี2006

  • องค์การอนามัยโลเตือนเรื่องการระบาดของไข้หวัดนกจากคนสู่คน 23 พค 2549 
  • ความปลอดภัยของแหล่งน้ำ 23 พค 2549 
  • การจัดการเมื่อเริ่มเกิดการระบาดของไข้หวัดนก มีนาคม 2006 
  • การเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดของไข้หวัดนก 2005 

ความรู้ไข้หวัดนก

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไข้หวัดนก

การระบาดของไข้หวัดนก

guest

Post : 2013-12-06 02:33:35.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไข้หวัดนก H7N9

 

ไข้หวัดนก H7N9

เป็นไวรัสที่เป็นกับนก Avian Influenza type A H7 ซึ่งไวรัสในกลุ่ม H7ที่เคยทำให้เกิดโรคในคนได้แก่ H7N2, H7N3 และ H7N7 สำหรับเชื้อ H7N9 ยังไม่เคยมีรายงานว่าเกิดโรคกับคน จนกระทั่งมีรายงานการระบาดในจีน

อาการของโรคไข้หวัดนก H7N9

ผู้ป่วยไข้หวัดนก H7N9 ส่วนใหญ่จะมีอาการปอดบวมรุนแรง อาการที่นำผู้ป่วยมาได้แก่ ไข้ ไอ หายใจหอบ เนื่องจากยังพบผู้ป่วยไม่มากอาการที่พบจึงยังไม่มาก

คนติดเชื้อนี้อย่างไร

จนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบว่าคนติดเชื้อนี้อย่างไร แต่จากการวิเคราะห์พันธุกรรมพบว่าเป็นไวรัสไข้หวัดนกซึ่งมีการกลายพันธ์ และสามารถติดต่อถึงคน และสามารถเจริญในคนได้

การติดเชื้อไข้หวัดนก H7ที่ผ่านมา

ไข้หวัดนก

ตั้งแต่ปี คศ.1996-2012 มีการระบาดของ H7 (H7N2, H7N3, and H7N7) ที่ Netherlands, Italy, Canada, United States of America, Mexico and the United Kingdom.การระบาดส่วนใหญ่เกิดจากฟาร์ม อาการที่พบส่วนใหญ่ได้แก่เยื่อบุตาอักเสบ และอาการหวัดเล็กน้อย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย แต่ยังไม่เคยระบาดในจีน

ไข้หวัดนก A( H7N9) ต่างกับไข้หวัด

ไวรัสทั้งสามชนิดเป็นไวรัส Influenza type A ไวรัส H7N9 และ H5N1 อาจจะทำให้เกิดโรคในคน

คนติดโรคไวรัส A( H7N9) ได้อย่างไร

ผู้ที่ป่วยมีประวัติการสัมผัสหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสัตว์เช่น ตลาด นอกจากนั้นยังตรวจพบเชื้อในนกพิราบ ขณะกำลังวิเคราะห์ว่าเชื้อนี้สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน หรือจากคนสู่คนได้หรือไม่

การป้องกันไข้หวัดนก A( H7N9)

เนื่องจากยังไม่ทราบว่าคนติดเชื้อจากแหล่งไหน และยังไม่ทราบวิธีการติดโรคดังนั้นจึงแนะนำให้ปฏิบัติตามสุขบัญญัติดังนี้

  • ล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังจากดูแลสัตว์ หรือหลังการดูแลผู้ป่วย
  • ล้างมือด้วยน้ำและสบู่
  • ปิดปากและจมูกเวลาไอด้วยหน้ากากอนามัย หรือผ้าเช็ดหน้า หรือแขนเสื้อ และทิ้ง tissue ลงในถังที่มีฝาปิด และล้างมือ

รับประทานเนื้อหมูหรือไก่ได้หรือไม่

ไก่หรือหมูที่ปรุงสุก(มากกว่า 70 องศา)สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย สำหรับสัตว์ที่ป่วยหรือป่วยตายไม่ควรจะรับประทาน

ไปตลาดสดปลอดภัยหรือไม่

หากต้องไปตลาดสดให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่มีชีวิตรวมทั้งอุปกรณืที่บรรจุสัตว์ หากทำฟาร์มสัตว์ต้องมิให้เด็กเข้าใกล้สัตว์ป่วย ให้เลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดให้ห่างจากกัน และรายงานหากมีสัตว์ตายผิดปกติ สัตว์ที่ตายให้ทำลาย

มีวัคคซีนสำหรับไวรัสไข้หวัดนก A( H7N9) หรือยัง

ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับไวรัสไข้หวัดนก A( H7N9) แต่ได้มีการเก็บเชื้อต้นแบบสำหรับการทำวัคซีนแล้ว

การรักษาไข้หวัดนก A( H7N9)

จากการทดลองในห้องปฏิบัติการณ์พบว่าสามารถใช้ยา oseltamivir and zanamivir รักษา A( H7N9) ได้แต่ต้องรีบให้ตั้งแต่เริ่มป่วย

เชื้อนี้จะทำให้เกิดการระบาดทั่วโลกหรือไม่

เชื้อไข้หวัดนกทุกชนิดสามารถทำให้เกิดการระบาดไปทั่วโลกได้ทั้งนั้น แต่ความเป็นไปได้ยังไม่ทราบ

ไปเที่ยวเมืองจีนปลอดภัยหรือไม่

จำนวนผู้ป่วยที่รายงานมีไม่มากองค์การอนามัยโลกจึงยังไม่มีคำเตือนในการเที่ยวเมืองจีน

การระบาดของไข้หวัดนก A( H7N9) 13 เมษายน 2556

เท่าที่มีรายงานจากประเทศจีนพบทั้งหมด 49 ราย อายุที่เป็น 4-87 ปีเป็นหญิง 15 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต 11 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรง เมืองที่พบผู้ป่วยได้แก่ Anhui, Jiangsu Zhejiang, Beijing และ Shanghai

พบว่ามีผู้ป่วยสองรายเกิดโรคในครอบครัวที่ป่วย แต่จากการติดตามผู้สัมผัสโรคใกล้ชิดและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยยังไม่พบว่ามีการติดเชื้อจากคนสู่คน จากการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมที่จะติดเชื้อในคนง่ายขึ้น แต่จะไม่เกิดโรคกับสัว์ และยังสามารถใช้ยา oseltamivir and zanamivir

ปัญหาที่พบในขณะนี้คือไม่พบแหล่งที่ตัวแพร่เชื้อแม้ว่าจะตรวจพบเชื้อนี้ในนกพิรา และเป็ด

          

guest

Post : 2013-12-06 02:30:54.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไข้หวัดหมูหรือไข้หวัดสายพันธ์ใหม่

 

ไข้หวัดหมู หวัดสายพันธุ์ใหม่ที่ควรรู้จัก

 

 


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก 
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

          ข่าวคราวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูในประเทศเม็กซิโก จนคร่าชีวิตผู้คนไปหลายสิบคน ซึ่งผู้เสียชีวิตเฉพาะในประเทศเม็กซิโก มีถึง 149 คน (ตัวเลขทางการ ณ วันที่ 28 เมษายน 2552) เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้สร้างความวิตกกังวลให้กับนานาชาติเป็นอย่างมาก ล่าสุดองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศเตือนว่า สถานการณ์ขณะนี้มีความรุนแรงมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะลุกลามไปทั่วโลก ทำให้หลายคนที่ไม่คุ้นเคยกับโรคชนิดนี้ เกิดความสงสัยว่า "โรคไข้หวัดหมู" คืออะไร และจะสามารถป้องกันได้อย่างไร วันนี้กระปุกอาสามาบอกต่อกันค่ะ

 รู้จักโรคไข้หวัดหมู

          "โรคไข้หวัดหมู" หรือ Swine influenza เป็นไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ ตามปกติมีการระบาดในหมูเท่านั้น สามารถพบได้ทั้งในหมูเลี้ยง และหมูป่า ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ ทั้ง H1N1, H1N2 และ H3N2  แต่บางครั้งหมูอาจมีเชื้อไข้หวัดอยู่ในตัวมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดการผสมกันของยีนได้ ทำให้เกิดเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่สามารถข้ามสายพันธุ์มาติดต่อยังมนุษย์ได้ เริ่มต้นจากการสัมผัสกับหมูที่เป็นโรค

          ไข้หวัดหมูส่วนใหญ่มักแพร่ระบาดในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว แต่สามารถพบเชื้อได้ตลอดทั้งปี สำหรับโรคไข้หวัดหมูที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกานั้น  เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ สายพันธุ์ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ของคน ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน เนื่องจากเป็นการผสมกันของสารพันธุกรรมไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์, ไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ และไข้หวัดหมูที่พบในทวีปเอเชีย และยุโรป ทำให้องค์การอนามัยโลกต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูอย่างใกล้ชิด เนื่องจากหวั่นวิตกว่า เชื้อ H1N1 อาจจะกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ที่อันตรายยิ่งขึ้น 


 วิวัฒนาการไข้หวัดหมู
    
          ก่อนจะกลายพันธุ์เป็นไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่ หรือไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกนั้น ไข้หวัดหมูสายพันธุ์ดั้งเดิม พบมาตั้งแต่ ค. ศ.1918-1919 ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish Flu) ระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลกจนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 50 ล้านคน ส่วนใหญ่อายุ 20-40 ปี และตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป จากนั้นโรคไข้หวัดหมูได้แพร่ระบาดในช่วงต่างๆ ก่อให้เกิดโรคในคนอยู่มากกว่า 50 ราย โดยผู้ป่วย 61% มีประวัติสัมผัสหมูและมีอายุเฉลี่ย 24 ปี หลังจากนั้นใน ค.ศ.1974 ไข้หวัดหมูได้แพร่ระบาดในค่ายทหาร (Fort Dix) ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ มีผู้ป่วย 13 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยที่อีก 230 ราย ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่น้อยมาก ทั้งหมดนี้ไม่มีประวัติสัมผัสหมู ซึ่งแสดงว่าน่าจะมีการพัฒนาจนมีการติดต่อจากคนสู่คน

          ต่อมาใน ค.ศ.1988 หญิงตั้งครรภ์คนหนึ่งเสียชีวิตในรัฐวิสคอนซิน และมีประวัติสัมผัสหมู จึงเกิดการสงสัยว่าไข้หวัดหมูอาจไม่ใช่พันธุ์หมูล้วน (classic H1N1) จนกระทั่งปี ค.ศ.1998 จึงพิสูจน์พบว่า หมูที่เลี้ยงในประเทศสหรัฐอเมริกา มีไวรัสไข้หวัดหมูกลายพันธุ์ โดยมีพันธุกรรมผสมระหว่างหมู คน และนก เกิดสายพันธุ์ผสม (Triple assortant virus) H3N2, H1N2, และ H1N1 (วารสารโรคติดเชื้อ JID 2008) และสายพันธุ์ผสมนี้ยังพบได้ในเอเชีย และแคนาดา

          จากนั้นในเดือนพฤศจิกายน 2008 ได้พบไข้หวัดหมูผสมสายพันธุ์ใหม่ (H1N1) ที่ประเทศสเปน จากหญิงอายุ 50 ปีที่ทำงานในฟาร์มหมู โดยมีอาการไข้ ไอ เหนื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คันคอ คันตา และหนาวสั่น แต่อาการเหล่านี้หายไปได้เอง โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ จึงไม่มีการคาดการณ์ว่า ไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่จะเป็นอันตรายมากนัก

          จนกระทั่งล่าสุด เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมู ในประเทศเม็กซิโก และมีการยืนยันอย่างแน่ชัดว่า โรคนี้สามารถแพร่กันระหว่างคนสู่คน เนื่องจากเชื้อโรคได้วิวัฒนาการอย่างสมบูรณ์แล้ว     


 การติดต่อโรคไข้หวัดหมู

          เชื้อไข้หวัดหมู มีการติดต่อเหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ในคนทั่วไป และเชื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   ตามปกติคนจะไม่ติดเชื้อไข้หวัดหมู ยกเว้นผู้ที่ไปสัมผัสใกล้ชิดกับหมู ก็อาจติดเชื้อไข้หวัดหมูมาได้  แต่มักไม่ค่อยพบกรณีนี้ ทั้งยังไม่ค่อยพบกรณีไข้หวัดหมูระบาดจากคนสู่คนอีกด้วย แต่กรณีโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโกอยู่ขณะนี้ เป็นที่ชัดเจนว่า มีการติดต่อจากคนสู่คน เพราะผู้ป่วยบางรายไม่เคยมีประวัติสัมผัสหมูแต่อย่างใด

          ทั้งนี้เชื้อโรคจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นด้วยการไอ หรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด รวมทั้งติดต่อกันทางลมหายใจ หากอยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื่อ และสามารถติดต่อได้จากมือ หรือสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ทั้งนี้เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา แต่ไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมู

          ขณะที่นักวิชาการขององค์การอนามัยโลก ระบุไว้ว่า โรคไข้หวัดหมู มีอัตราการแพร่ระบาดมากกว่าโรคซาร์ส และไข้หวัดนก แต่อัตราการเสียชีวิตมีน้อยกว่า คืออยู่ที่ร้อยละ 5-7 ขณะที่โรคไข้หวัดนกมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 60

          แต่ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ยืนยันว่า โรคไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่จะระบาดในวงกว้างหรือไม่ และจะทำให้มีผู้เสียชีวิตมากน้อยเพียงใด อีกทั้งยังไม่แน่ใจว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะติดต่อจากคนสู่คนได้ยากง่ายระดับไหน


 อาการของโรคไข้หวัดหมู

          เมื่อเชื้อไข้หวัดหมูเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนจะปรากฎอาการที่คล้ายกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา แต่มีอาการรุนแรงกว่า และรวดเร็วกว่า นั่นคือ มีไข้สูงราว 38 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ ปอดบวม เบื่่ออาหาร บางรายอาจท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน  จากนั้นเชื้อจะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต จึงทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีการทรงตัวผิดปกติ เดินเอนไปเอนมาเหมือนคนเมาสุรา นอกจากนี้อาจสูญเสียการได้ยินจนถึงขั้นหูหนวกได้ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 การรักษาโรคไข้หวัดหมู

          ทางสหรัฐอเมริกา ระบุว่า โรคไข้หวัดหมูสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ คือ วัคซีนแอนตี้ไวรัส"โอเซลทามิเวียร์" (ชื่อทางการค้าว่า ทามิฟลู)  และ "ซานามิเวียร์" (ชื่อทางการค้าว่า รีเลนซา)เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสไม่ให้แตกตัว แต่ทั้งนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า วัคซีนเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพเพียงใด เนื่องจากไข้หวัดหมูที่แพร่ระบาดอยู่ขณะนี้ เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้น จึงต้องมีการศึกษาพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ เพื่อใช้ในการรักษาให้มีประสิทธิผลมากขึ้นต่อไป


 การป้องกันโรคไข้หวัดหมู

          โรคไข้หวัดหมู แม้จะเป็นสายพันธุ์หมู แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหมูโดยตรง เพราะเป็นไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อจากคนสู่คน ดังนั้นจึงสามารถรับประทานหมูได้ หากไม่แน่ใจ ให้ปรุงเนื้อหมูให้สุกเสียก่อน คือ ผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือต้มในน้ำเดือด ก็จะสามารถทำลายเชื้อให้หมดไปได้

          ทั้งนี้ วิธีการป้องกันการติดต่อของโรคได้ดีที่สุด คือ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัด และล้างมือบ่อยๆ 

          ในส่วนของผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศเม็กซิโก รวมทั้งรัฐแคลิฟอร์เนียและเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศใกล้เคียง ควรติดตามสถานการณ์และคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด และหากมีอาการไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

          สำหรับประเทศไทยนั้น ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า ยังไม่พบการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดหมูในประเทศ ดังนั้นก็ไม่ต้องตื่นตระหนกไปหรอกค่ะ แต่ถ้าหากยังไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์จากโรคไข้หวัดหมู แนะนำว่าให้รับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุกแล้วดีกว่า และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ อีกทั้งติดตามข่าวสารอยู่เป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตค่ะ

           

guest

Post : 2013-12-06 02:28:02.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคชิคุนกันย่า

 โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)

โรคชิคุนกุนยาคืออะไร

โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคติดเชื้อไวรัสติดต่อโดยยุงลาย ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงและมีอาการปวดข้อ แต่มักจะไม่เสียชีวิต แต่อาการปวดข้ออาจจะต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหาย มีอาการคล้ายไข้ เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก

ประวัติของโรคชิคุนกุนยา

ตัวเชื้อไวรัส
การติดต่อของเชื้อโรค

พบการระบาดโรคนี้ครั้งแรกในทวีปอัฟริกาที่ราบ Makonde Plateau ของประเทศ Tanzania. ซึ่งอยู่ระหว่างประเทศ Tanzania และ Mozambique และมีการระบาดที่ประเทศอินเดีย

เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae เชื้อนี้เป็นชนิด single stranded RNA โดนทำลายโดยความร้อนที่อุณหภูมิ 58 องศา

พาหะนำโรค Vector

มียุงลาย Aedes aegypt เป็นพาหะนำโรคในเขตเมือง ส่วนชนิด Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรคในเขตชนบท ยุงนี้จะวางไข่ในน้ำที่อยู่ใน้าง เช่นแจกัน นำระบายเครื่องปรับอากาศ ตุมน้ำ ถังน้ำ หรือแอ่งน้ำรอบบ้าน เช่น กระป๋อง กะลา ยางเก่า

วิธีการติดต่อ

โรคชิคุณกุนย่าเกิดจากไวรัสติดต่อถึงคนโดยการกัดของยุงลายที่มีเชื้อโรค ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัด และดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่ม จำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้

ระยะฟักตัว

โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อ ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคัน ร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis)อ่านอาการโรคชิคุนกันย่าที่นี่

การระบาดของโรคนี้

โรคชิคุนกุนยามักจะระบาดหลังฤดูมรสุมเนื่องจากจะมีพาหะชุกชุม มักจะระบาดในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีคน ลิง กระรอก นกเป็นแหล่งแพร่โรค reservoir เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่ประเทศอินเดียทำให้เกิดความพิการกับผู้คนจำนวนมาก

ข้อแตกต่างระหว่างไข้เลือดออกและโรคชิคุณกันย่า

จะมีไข้สูงเหมือนกันแต่ไข้ชิคุณกันย่าจะใช้เวลาน้อยกว่า และมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า อ่านที่นี่ การรักษา ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment)

การป้องกันโรค

เนื่องจากยังไม่มียาหรือวัคซีนเฉพาะ ดังนั้นการป้องกันจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด โดยการหลีกเลี่ยงมิให้ยุงลายกัด อ่านที่นี่

การรักษา

เป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน

             

guest

Post : 2013-12-06 02:26:00.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคคางทูม

 โรคคางทูม

โรคคางทูมเป็นโรคติดต่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีลักษณะคือ ไข้ ต่อมน้ำลายอักเสบ และบางครั้งอาจจะมีตับอ่อนอักเสบ สำหรับผู้ชายอาจจะมีอัณฑะอักเสบ ผู้หญิงอาจจะมีรังไข่อักเสบ นอกจากนั้นอาจจะมีเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ

เชื้อที่เป็นสาเหตุโรคคางทูม

เป็นเชื้อ RNA ไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus

การติดต่อของโรคคางทูม

โรคคางทูมติดต่อกันโดยทาง น้ำลาย เสมหะ มักจะพบในเด็กอายุ 5-10 ปี โรคนี้อาจจะไม่แสดงอาการ เชื้อไวรัสออกมาทางน้ำลายของผู้ป่วยประมาณ 6 วันก่อนมีอาการคางทูม และออกอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์หลังจากนั้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอัณฑะอักเสบ หรือสมองอักเสบ ก็สามารถพบเชื้อนี้ในน้ำลาย เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต

อาการของโรคคางทูม

ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อ 7-23 วัน

  1. ต่อมน้ำลายอักเสบมักจะมีไข้นำมาก่อน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร วันต่อมาจึงเกิดการอักเสบของต่อมน้ำลาย ที่บ่อยที่สุดคือบริเวณใต้หูที่เรียกว่าต่อม parotid ซึ่งจะบวมโต ผิวหนังเหนือต่อมน้ำลายจะบวม แดง และร้อน เมื่อกดดูจะมีลักษณะเหมือนเยลลี่ อาการบวมจะเริ่มจากหน้าใบหูบวมมายังหลังใบหู และลงมาคลุมขากรรไก บางรายบวมมากจนบวมถึงส่วนหน้าอก ส่วนใหญ่มักจะเป็นทั้งสองข้าง ข้างที่สองมักจะเป็นหลังจากข้างแรก 4-5 วัน อาการบวมมักจะไม่เกิน 7 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเวลาพูด กลืน หรือเคี้ยว โดยเฉพาะอาหารรสเปรี้ยวจะทำให้ปวดมาก
  2. อัณฑะอักเสบ Orchitis มักจะเกิดหลังจากต่อมน้ำลายอักเสบ 4-10 วัน หรือบางรายอาจจะไม่มีอาการอักเสบของต่อมน้ำลาย และมักจะเป็นข้างเดียว ผู้ที่เป็นอัณฑะอักเสบจะมีอาการปวดอัณฑะมาก บวมและกดเจ็บ
  3. ตับอ่อนอักเสบ pancreatitis เป็นภาวะที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องส่วนบน อาเจียน กดเจ็บบริเวณลิ่มปี่
  4. โรคคางทูมและสมอง โรคคางทูมจะทำให้เกิดสมองอักเสบ encephalitis ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ และซึมลง บางรายเกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ meningitis ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง หลังแข็ง มักเป็นหลังจากต่อมน้ำลายอักเสบไปแล้ว 3-7วัน

การรักษา

  1. ต่อมน้ำลายอักเสบ ให้รักษาความสะอาดในช่องปาก ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด
  2. อัณฑะอักเสบให้นอนพัก และรับประทานยาแก้ปวด
  3. เยื่อหุ้มสมอง และสมองอักเสบไม่มียารักษาเฉพาะ

การป้องกัน

โดยการฉีดวัคซีน MMR

ควรจะไปพบแพทย์เมื่อไร

  • วัดไข้ได้มากกว่า 38.5 องศา
  • ปวดอัณฑะ และอัณฑะบวม
  • ปวดท้อง
  • ปวดศีรษะและซึมลง

                          

guest

Post : 2013-12-06 02:23:20.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคKawasaki

 โรคหัดญี่ปุ่น Kawasaki syndrome

เราคุ้นเคยกับโรคหัดธรรมดา โรคหัดเยอรมัน แต่เรายังไม่คุ้นเคยกับโรคหัดญี่ปุ่นซึ่งเป็นโรคที่พบไม่บ่อย และหากวินิจฉัยไม่ได้อาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา โรคนี้ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ปี 1967 โดยครั้งแรกเรียกกลุ่มอาการ mucocutaneous lymph node syndrome ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการที่สำคัญดังนี้ ไข้ เยื่อบุตาอักเสบ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ริมฝีปากและในช่องปากมีการอักเสบ

ใครมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัดญี่ปุ่น

โรคหัดญี่ปุ่นหรือ Kawasaki syndrome มักจะเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ร้อยละ80ของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5ปีเด็กชายจะเป็นมากกว่าเด็กหญิง1.5 ต่อ1น้อยกว่าร้อยละ2ของผู้ป่วยมีโอกาสเป็นซ้ำอีกครั้ง

สาเหตุของโรคหัดญี่ปุ่น

โรคนี้เป็นโรคที่เรียกว่า Autoimmune เกิดจากร่างกายสร้างภูมิต่อต้านเนื้อเยื่อของร่างกายให้มีหลอดเลือดขนาดกลาง medium-sized blood vessels ทั่วร่างกายมีการอักเสบโดยจะเป็นบริเวณ หลอดเลือด ผิวหนัง เยื่อบุในปาก และต่อมน้ำเหลือง เด็กบางคนอาจจะมีเส้นเลือดหัวใจอักเสบทำให้เสียชีวิตได้

อาการที่สำคัญ

ไข้

อาการไข้เป็นอาการที่สำคัญ มักจะมีไข้สูง ไข้มักจะไม่ลงเมื่อให้ยาลดไข้ ( 39-40°C) ระยเวลาที่เป็นไข้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หากไม่ได้รักษาอาจจะมีไข้ถึง 3-4 สัปดาห์ หากเป็นไข้นานก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่หัวใจ

เยื่อบุตาอักเสบ

มักจะมีเยื่อบุตาอักเสบของตาทั้งสองข้าง ไม่มีหนอง ไม่ปวดตามักจะเป็นหลังไข้

หัดญี่ปุ่น

ผื่นที่ปาก

ริมฝีปากจะแดง บวมและมีรอยแตกทำให้เกิดอาการปวด ลิ้นจะบวมแดงมีลักษณะที่เรียกว่า strawberry tongue เนื่องจากมีการอักเสบของหลอดเลือด

หัดญี่ปุ่นหัดญี่ปุ่น

ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

พบได้ประมาณร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโดยโตที่คออย่างน้อยต้องมีขนาดมากกว่า 1.5 ซม

ผื่นฝ่ามือฝ่าเท้า

ฝ่ามือฝ่าเท้าจะบวมและแดง และมักจะมีหนังลอกบริเวณนิ้ว

หัดญี่ปุ่น

นอกจากนั้นยังพบผื่นแดงที่ลำตัว ใบหน้า แขนและขา ขาหนีบ

เนื่องจากโรคนี้จะเป็นกับหลายอวัยวะดังนั้นอาจจะมีอาการของ ปวดข้อทั้งสองข้าง อาการของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 การวินิจฉัย

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่การตรวจวินิจฉัยใดๆที่บอกโรคได้ 100 % การวินิจฉัยอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายโดยมีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้

  1. จะต้องมีไข้อย่างน้อย 5 วันไข้สูง 40 องศาไข้อาจจะเป็นนาน 10-14 วันในรายที่ไม่ได้รักษา

ต้องมีเกณฑ์ข้อ 1 ร่วมกับเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างน้อย 4 ข้อ ได้แก่

  1. มีการเปลี่ยนแปลงบริเวณแขนหรือขา

ผื่นแดงและบวมมักเกิดใน5วัน

ผิวลอกมักเกิดหลังจากไข้ 2 สัปดาห์

  1. ผื่นตามผิวหนัง ผื่นมักจะเกิดภายใน 5 วัน ผื่นมีหลายรูปแบบ อาจจะมีลักษณะคล้ายลมพิษ หรือผื่นแบบโรคหัด แต่จะไม่มีตุ่มน้ำ
  2. เยื่อบุตาอักเสบทั้งสองข้าง ไม่แสบหรือเคืองตา ไม่มีขี้ตา
  3. การเปลี่ยนแปลงที่ปากและริมฝีปาก ลิ้นจะแดงเหมือน strawbery ริมปีปากจะบวมแดงและมีรอยแตกที่สำคัญจะไม่มีแผล
  4. มีต่อมน้ำเหลืองโตมักโตข้างเดียวขนาด 1.5 ซม.
  5. ต้องแยกโรคอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

การวินิจฉัยแยกโรค 

โรคที่มีลักษณะคล้ายกับ Kawasaki Disease

Measles 
Scarlet fever 
Drug reactions 
Stevens-Johnson syndrome 
Other febrile viral exanthems 
Toxic shock syndrome 
Rocky Mountain spotted fever 
Staphylococcal scalded skin syndrome 
Juvenile rheumatoid arthritis 
Leptospirosis 
Mercury poisoning

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การเจาะเลือดไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค เม็ดเลือดขาวอาจจะสูง เกล็ดเลือดอาจจะต่ำ อาจจะพบไข่ขาวในปัสสาวะ

การรักษา

  • ให้ยาลดไข้
  • ให้ acetylsalicylic acid (aspirin) ขนาดสูงเพื่อลดการอักเสบและลดไข้ขนาดที่ให้ 80-100 mg/kgให้จนกระทั่งไข้ลงหลายวันหลังจากนั้นจึงลดขนาดยาลงเหลือ 3-5 mg/kgใหยาไป 6-8 สัปดาห์หากไม่มีโรคหัวใจแทรกซ้อน
  • ให้ immunoglobulin ขนาด 2 gm/kg โดยจะให้ภายใน 10 วันหลังเกิดอาการไข้ ไข้จะลงใน 24 ชั่วโมง

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  1. โรคทางหัวใจมักจะพบช่วงแรกของอาการเจ็บป่วย
  • เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบพบได้ร้อยละ 30 และมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ วินิจฉัยได้จากการทำ ultrasound หัวใจ หายได้เอง
  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ myocarditis ทำให้เกิดอาการหัวใจวายผู้ป่วยจะหอบเหนื่อย ความดันโลหิตต่ำ
  • หลอดเลือดแดง Coronary artery โป่งพบได้ร้อยละ 20-25 วินิจฉัยได้จากการทำ ultrasound หัวใจ เด็กอาจจะเสียชีวิตจากหัวใจขาดเลือดได้

ภาพแสดงหลอดเลือดแดงหัวใจโป่งพอง

    • โรคแทรกซ้อนอื่นที่พบได้แก่ ข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปวดท้อง ถ่ายเหลว
    •       

guest

Post : 2013-12-06 02:21:21.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคปากเท้าเปื่อย

 โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome

เป็นโรคทมักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ โรค HFMD ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 1-7 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirusA16 และ EV71 ผู้ป่วยจะมีไข้ฉับพลันและมีแผลเปื่อยเล็กๆ ในลำคอบริเวณเพดาน ลิ้นไก่ ทอนซิล มีอาการเจ็บคอมากร่วมกับมีน้ำลายมาก ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต และอาจมีอาการกลืนลำบากปวดท้องและอาเจียน โรคจะเป็นอยู่ 3 - 6 วัน และมักจะหายเอง 

โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.

สาเหตุของโรคมือเท้าปาก

เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 มักไม่รุนแรง เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจากEnterovirus 71 อาจเป็นแบบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Aseptic meningitis ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอ ส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบencephalitis ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมองทำให้หมดสติ หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะทำให้เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตจะต่ำ มีอาการหัวใจวาย และ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด

อาการของโรคมือเท้าปาก

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น จะปรากฏอาการดังกล่าว 3-5 วัน แล้วหายได้เอง สำหรับผู้ที่มีอาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ

  • ไข้  มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน
  • เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร
  • พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ ผื่นหรือแผลในปากจะเกิดหลังจากไข้ 1-2 วัน
  • ปวดศีรษะ
  •  พบตุ่มพอง (vesicles) สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ 
  • เบื่ออาหาร
  • เด็กจะหงุดหงิด
  • ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต 

ระยะฝักตัวของโรคมือเท้าปาก

หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน

การติดต่อของโรคมือเท้าปาก

โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจาก

  • จากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย
  • และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ( droplet spread)

ระยะที่แพร่เชื้อของโรคมือเท้าปาก

ประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว การแพร่เชื้อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก เชื้อจะอยู่ในลำคอ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ เพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ และเชื้อจะออกมากับอุจจาระ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า การแพร่กระจายของโรคเกิดจากแมลง น้ำ อาหาร หรือขยะ 

          

guest

Post : 2013-12-06 02:18:31.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไข้หวัดมรณะ

ไข้หวัดมรณะ

การระบาดของไข้หวัดมรณะหรือที่เรียกว่า SARS

ไข้หวัดมรณะมีอาการอย่างไร

ท่านที่ไปประเทศที่มีการระบาด หรือดูแลผู้ป่วยที่มีโรคไข้หวัดมรณะ หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรพบแพทย์ อาการที่พบได้บ่อยคืออาการไข้สูงโดยมากมักจะเกิน 38 องศานอกจากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดตามตัว บางคนอาจจะมีอาการน้อยเมื่อเริ่มเป็นโรค จะเห็นได้ว่าอาการที่ปรากฏไม่แตกต่างจากไข้หวัด

หลังจากมีอาการ 2-7 วันผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งๆ เจ็บหน้าอก หายใจตื้นหรือหายใจหอบ ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกว่าโรคได้ดำเนินในทางที่แย่ลง มีผู้ป่วยปราณ10-20%ที่อาการเป็นมากจนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และมีอัตราการตายร้อยละ4%

จะเกิดอาการเมื่อไรหลังได้รับเชื้อ

ระยะฟักตัวของโรคหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อโรคจนกระทั่งเกิดอาการของโรค โดยประมาณใช้เวลา 2-7 วันโดยเกิดอาการไข้ก่อน แต่มีบางรายงานพบว่าอาจจะใช้เวลา 10 วันสำหรับประเทศไทยให้ระยะเวลา 14 วันในการสังเกตอาการว่าจะเป็นโรคหรือไม่

การรักษาโรคไข้หวัดมรณะ

จากข้อมูลล่าสุดในการรักษาไข้หวัดมรณะยังไม่มีแผนการรักษาที่ได้ผลดี การรักษาส่วนใหญ่รักษาแบบปอดบวมที่ไม่ทราบชนิดของเชื้อ ประกอบด้วยการรักษาแบบประคับประคอง บางคนให้ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัสเช่น oseltamivir หรือ ribavirin บางคนก็ให้ Steroids

การแพร่กระจายหรือการติดต่อ

โรคหวัดมรณะแพร่กระจายโดยวิธีไหน อ่านรายละเอียด

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคหวัดติดต่อโดย 3 วิธีคือ

  • การแพร่กระจายเชื้อโดยการไอหรือจาม

     

  • การที่เสมะหรือน้ำลายไปเปื้อนของใช้ เช่นลูกบิดประตู โต๊ะ เมื่อเราเอามือจับแล้วเอาเข้าปากหรือขยี้ตาก็จะได้รับเชื้อนี้เข้าไป

     

  • การที่เราใช้ของส่วนตัว เช่น ถ้วย ชาม หรือผ้าเช็ดตัว

     

การแพร่กระจายของโรคหวัดมรณะส่วนใหญ่แพร่โดยการที่มีการกระจายของน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยเมื่อเวลาจามหรือไอ เชื้อนี้จะอยู่ในอาการ เมื่อเราสูดดมเข้าไปก็จะได้รับเชื้อนี้ และทำให้เกิดโรค แต่การแพร่กระจายของไข้หวัดมรณะด้วยวิธีอื่นก็สามารถเกิดได้เช่นเดียวกัน เท่าที่มีหลักฐานพบว่าการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดมรณะผ่านทาง

  • น้ำลายหรือเสมะที่เกิดจากการจามหรือไอ มักจะติดคนใกล้ชิด เช่นญาติพี่น้อง หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

     

  • สำหรับฮ่องกงมีการระบบแบบ clusster คือระบาดในอาคารเดียวกันที่ Amoy garden พบว่าเชื้ออาจจะระบาดจากระบบในห้องน้ำ กล่าวคือผู้ป่วยที่เป็นไขหวัดมรณะของตึกนี้จะพบว่ามีอาการท้องร่วงมาก เมื่อนำไปตรวจก็พบชิ้นส่วนของไวรัส เชื่อเกิดจากระบบการของส้วมมีปัญหา การระบายอากาศในห้องน้ำด้วยพัดลม การที่ท่อน้ำเสียมีการรั่ว

     

เชื้อโรคไข้หวัดมรณะจะติดต่อคนอื่นได้นานแค่ไหน

จากข้อมูลเท่าที่มีอยู่เชื้อไข้หวัดใหญ่จะแพร่เชื้อเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการของโรค เช่น ไข้ ไอหรือจาม แต่ก็ยังไม่ทราบว่าก่อนที่จะมีอาการของโรคหรือเมื่อหายจากโรคแล้วเชื้อจะยังสามารถแพร่ไปสู่คนอื่นได้นานแค่ไหน

ใครที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดมรณะ

ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อคือผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย มีการใช้ของร่วมกัน เช่นถ้วย ผ้าเช็ดตัว หรือผู้ที่ดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะอยู่ในรัศมี 1 เมตร รวมทั้งเจ้าหน้าที่บุคลากรทางแพทย์ที่ให้การดูแลผู้ป่วย จากข้อมูลในขณะนี้ยังไม่มีการระบาดแบบกระจายในชุมชน

เชื้อที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดมรณะ

เท่าที่มีรายเชื้อที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดมรณะคือ

  • เชื้อไวรัสที่เรียกว่า  SARS-associated coronavirus (SARS-CoV)

     

จากข้อมูลเท่าที่มีเชื่อว่าเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุของไข้หวัดมรณะคือเชื้อ Corona virus เพราะสามารถแยกเชื้อจากเนื้อเยื่อของผู้ป่วยหลายคน และยังสามารถเพาะเชื้อได้จากจมูกและคอ และเมื่อทดสอบระบบภูมิคุ้มกันก็พบหลักฐานว่าเพิ่มจะมีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ การตรวจทาง DNA ก็พบว่ามีลักษณะเหมือน Corona virus แต่ยังมีความแตกต่างจึงเชื่อว่าน่าเป็นสายพันธ์ใหม่ แต่ยังไม่สามารถสรุปแน่ชัดว่า Corona virus เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดมรณะซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ยืนยันแล้วว่าเชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุของหวัดมรณะ

ปกติเชื้อ Corona virus เป็นสาเหตุของไข้หวัดในคนมักจะมีอาการไม่มาก การที่โรคนี้จะมีความรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นกับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน  จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการตรวจหรือทดสอบยืนยันว่ามีการติดเชื้อนี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการวิจัย

การรักษาโรคไข้หวัดมรณะ

ผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดมรณะไม่ว่าจะเป็นชนิด Suspected หรือ Probable case ควรจะรับตัวไว้ในโรงพยาบาลเพื่อเหตุผลในการควบคุมโรคและเฝ้าติดตามอาการของโรค

การระบาดของโรคหวัดมรณะ

โรคนี้เริ่มแพร่ระบาดในประเทศประเทศจีนและระบาดไปยังประเทศฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ แคนาดา ไต้หวัน

การเดินทางไปยังประเทศเสี่ยง

การป้องกันโรค

ถ้าท่านไปต่างประเทศหรือสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรคท่านต้องปฏิบัติดังนี้

  • ปรึกษาแพทย์โดยด่วน
  • ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชู หรือผ้าเช็ดหน้า สวมหน้ากากป้องกัน เมื่อมีการติดต่อพูดคุยกับผู้อื่น

ถ้าท่านสงสัยว่าตัวเองหรือสมาชิกในครอบครัวจะเป็นโรคไข้หวัดมรณะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  1. ไข้มากกว่า 38 องศา

     

  2. มีประวัติไปประเทศที่มีการระบาดของโรค จีน ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ แคนาดา หรืออยู่อาศัยหรือดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดมรณะ
  3. มีอาการทางระบบหายใจดังต่อไปนี้
  • ไอ
  • แน่นหน้าอก
  • หายใจหอบ หายใจเร็ว

หากมีองค์ประกอบครบก็ให้จะเป็น Suspected case เมื่อแพทย์ได้ตรวจทางรังสีพบว่าเป็นปอดบวมก็จะจัดเป็น Probable case แพทย์จะรับตัวไว้เพื่อป้องกันโรคมิให้ติดต่อไปยังบุคคลอื่น แต่ถ้าหากท่านไปไม่เคยไปต่างประเทศและไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรค แสดงว่าท่านไม่ได้เป็นโรคนี้

ถ้าท่านต้องดูแลผู้ป่วยที่สงสัยหรือกำลังเป็นโรคนี้อยู่ที่บ้าน

  • ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับการปรึกษาและดูแลจากแพทย์แล้ว
  • แม้ว่าผู้ป่วยจะหายจากโรคแล้วจะต้องดูแลและป้องกันการติดเชื้อต่ออีก 10 วันหลังจากไข้ลงโดยไม่ต้องไปทำงานหรือเรียนหนังสือ ไม่ไปในที่สาธารณะ ให้พักอยู่แต่ในบ้าน
  • สมาชิกในครอบครัวต้องรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลโดยเคร่งครัด เช่นการใช้ของร่วมกัน การล้างมือ สมาชิกในครอบให้ล้างมือบ่อยหรือหลังสัมผัสของใช้หรือสารหลั่งของผู้ป่วย โดยใช้สบู่หรือแอลกอฮอล์
  • ให้ผู้ป่วยปิดปากและจมูกด้วยผ้าหรือทิชชูเวลาไอหรือจาม และให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น ถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถสวมหน้ากากก็ให้สมาชิกในครอบครัวสวมแทน
  • ให้สวมถุงมือชนิดเมื่อต้องสัมผัสสารหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำลาย เสมหะ ทิชชู หลังจากนั้นให้ถอดถุงมือทันที และรีบล้างมือทันที ไม่ควรจะนำถุงมือนั้นมาใช้ใหม่
  • ไม่ใช้ของร่วมกันเช่น ชาม ช้อน ถ้วย ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ ควรจะทำความสะอาดด้วยผงซักฟอกหรือสบู่ก่อนนำมาใช้
  • อากาศต้องถ่ายเทเป็นอย่างดี
  • ให้ทำความสะอาดเครื่องใช้ เช่นโต๊ะ ลูกบิด อ่างล้างหน้า ห้องน้ำ ฯลฯ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และให้สวมถุงมือทุกครั้ง
  • หากสมาชิกในครอบครัวไม่มีอาการก็สามารถออกไปสู่สังคมได้ สำหรับสมาชิกที่มีอาการ เช่นมีไข้ หรือไอต้องปรึกษาแพทย์

สิ่งที่ท่านต้องปฏิบัติเมื่อท่านถูกกักตัว 14 วัน(มาจากประเทศเสี่ยง หรือสัมผัสคนป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดมรณะ)

  • ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัด
  • ควรอยู่แต่ในบ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันไม่ควรไปเยี่ยมคนอื่น หรือชุมชนขณะเดียวกันก็ไม่ต้องให้คนอื่นมาเยี่ยม
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสมาชิกในครอบครัว
  • แยกห้องนอนชั่วคราว
  • ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆหรือล้างด้วยแอลกอฮอล์โดยเฉพาะหลังจากจามหรือไอ
  • ปิดปากและจมูกด้วยผ้าหรือทิชชูเมื่อเวลาจามหรือไอ
  • ควรจะสวมหน้ากากอนามัยอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อเวลาอยู่ในห้องเดียวกับคนอื่น
  • หากที่บ้านมีเด็กเล็กที่ต้องดูแลก็ต้องล้างมือบ่อยๆ ผูกหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือ
  • ไม่ใช้เครื่องใช้ร่วมกันเช่น แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว จาน ชาม ถ้วย เป็นต้น
  • ทำความสะอาดเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู ห้องน้ำ อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า เป็นต้น
  • วัดไข้วันละสองครั้ง
  • สมาชิกในครอบครัวสามารถไปที่ชุมชนได้ตามปกติ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำนี้อย่างน้อยเป็นเวลา 10 วันหลังจากที่หายจากอาการไข้หรือไอ

หากท่านดูแลผู้ป่วยโรคหวัดมรณะไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หรือญาติ

  • หากท่านเกิดอาการไข้ หรือไอหลังจากสัมผัสผู้ป่วย 10 วันให้ท่านหยุดงานเป็นเวลา 14 วัน
  • หากท่านไม่มีไข้หรือไอก็ไม่จำเป็นต้องหยุดงาน
  • ให้วัดไข้ทุกวัน และเฝ้าดูอาการไอทุกวัน

การเดินทางและการติดเชื้อไข้หวัดมรณะ

เมื่อท่านเดินทางโดยเครื่องบินหรือเรือจากประเทศที่ระบาด

ท่านจะได้รับบัตรแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองเป็นเวลา 14 วัน การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดมรณะ และคำแนะนำให้พบแพทย์เมื่อเกิดอาการไข้ ปวดศีรษะหรืออาการไอ เมื่อท่านเข้าประเทศที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก็จะมีการตรวจสุขภาพ วัดไข้ หากท่านมีอาการว่าติดเชื้อไข้หวัดมรณะ แพทย์จะแนะนำให้ท่านอยู่ห่างจากชุมชนเป็นเวลา 10 วันหรือหากเป็นชาวต่างประเทศก็จะถูกส่งตัวกลับประเทศ

ท่านจะติดเชื้อไข้หวัดมรณะหรือไม่หากอยู่บนเครื่องบิน หรือรถ หรือเรือ

จากข้อมูลพบว่าการติดเชื้อไข้หวัดมรณะจะติดต่อกับคนที่สัมผัสโรคใกล้ชิดเช่น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยโดยที่ไม่ได้ป้องกัน ญาติหรือเพื่อนร่วมงานใกล้ชิด และยังพบว่านักท่องเที่ยวโดยเฉพาะฮ่องกง จีน สิงคโปร์ ฮานอย ก็สามารถติดเชื้อนี้มาได้ ดังนั้นผู้โดยสารที่มากับผู้ที่เป็นโรคไขหวัดมรณะจะต้องเฝ้าระวังตัวเองว่าจะเกิดอาการของไข้หวัดมรณะหรือไม่เป็นเวลา 14 วัน ทางราชการจะจดชื่อและที่อยู่ของท่านเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ และในช่วงที่ท่านยังไม่มีอาการของโรค ท่านควรจะจดบันทึกสถานที่ท่านไป และบุคคลที่ท่านพบ เพื่อที่จะได้ติดตามคนที่พบหากว่าท่านเกิดเป็นโรคไข้หวัดมรณะ

ท่านจะถูกกักตัวหรือห้ามเข้าประเทศหรือไม่หากมาจากประเทศที่เชื้อกำลังระบาด หรือโดยสารมากับคนที่ป่วย

หากท่านมาจากประเทศที่เสี่ยง หรือโดยสารกับคนที่ป่วยท่านจะต้องได้รับการจดชื่อที่อยู่ เพื่อที่จะได้ติดตามตัว หรือเฝ้าระวังการติดเชื้อ หากท่านไม่มีอาการอะไรทางรัฐยังไม่มีนโยบายที่จะกักตัวท่านไว้ แต่หากท่านมีอาการของไข้หวัดมรณะท่านต้องรีบปรึกษาแพทย์

แต่หากท่านมีอาการของไข้หวัดมรณะ ทางรัฐจะแนะนำให้ท่านพักในโรงพยาบาลเพื่อที่จะให้การรักษาและป้องกันโรคไปติดต่อผู้อื่น

 

처음 이전 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | ... 다음 끝
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com