Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2013-12-25 18:38:32.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไส้ติ่งอักเสบ

 

ไส้ติ่งอักเสบ (APPENDICITIS)

โรคไส้ติ่งอักเสบ Appendicitis เป็นการอักเสบของผนังภายในไส้ติ่ง เกิดจากการที่มีการอุดกั้นรูในใส้ติ่ง โรคไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคที่ต้องการการรักษาโดยการผ่าตัดที่พบได้บ่อยที่สุด หากรักษาช้าอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้แก่ ไส้ติ่งแตก ฝีที่ไส้ติ่ง โลหิตเป็นพิษ ช่องท้องอักเสบ ไส้ติ่งเป็นโรคที่มีปัญหาในการวินิจฉัยให้ที่ถูกต้องค่อนข้างมาก ปัญหาที่เกิดได้แก่

  • ผู้ป่วยบางรายได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ แต่เมื่อผ่าตัดเข้าไปก็พบว่าไส้ติ่งไม่มีการอักเสบ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแพทย์และญาติ
  • ผู้ป่วยบางรายแม้จะไปพบแพทย์แต่ก็ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่น จนกระทั่งไส้ติ่งแตกแล้ว จึงได้รับการรักษาวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทำให้แพทย์ถูกต่อว่าจากญาติ
  • เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบเกือบทุกรายมักจะวินิจฉัยโรคนี้ได้ หลังจากการแตกของไส้ติ่งแล้ว
  • ในเด็กเล็กและผู้ป่วยสูงอายุพบว่าอาจเกิดปัญหารุนแรง ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคล่าช้าเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ

การวินิจฉัยโรค

ไส้ติ่งอักเสบ
ตำแหน่งที่ปวด

การวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบจะอาศัย ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจะเป็นเพียงการสนับสนุนการวินิจฉัย หรือแยกโรคเท่านั้น

อาการของโรคไส้ติ่งอักเสบ

  1. อาการปวดท้อง เป็นอาการที่สำคัญที่สุด ตอนแรกมักจะปวดรอบๆ สะดือ หรือบอก ไม่ได้แน่ชัดว่าปวดที่บริเวณใด แต่ระยะต่อมาอาการปวดจะชัดเจนที่ท้องน้อยด้านขวา
  2. อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วยคือ
  • คลื่นไส้ พบได้  61-92% 
  • อาเจียนพบได้  50%
  • ไข้ มักจะเกิดหลังจากเริ่มอาการปวดท้องแล้วระยะหนึ่ง
  • เบื่ออาหาร พบได้  74-78%
  • ท้องเสีย พบอาการในผู้ป่วยบางราย มักจะเกิดหลังจากไส้ติ่งแตกทะลุเนื่องจากไส้ติ่งอักเสบ ที่อยู่ตำแหน่งใกล้กับลำไส้ใหญ่ส่วน sigmoid หรือ rectum อาจจะทำให้ถ่ายเหลว
  1. ในเด็กที่มีไส้ติ่งแตกทะลุอาจมาด้วยอาการของลำไส้อุดตันได้

การตรวจร่างกาย

เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรค

  1. การกดเจ็บเฉพาะที่ท้องน้อยข้างขวา เกือบทั้งหมดจะมจุดที่เจ็บที่สุดที่ท้องน้อยข้างขวา และอาจมีหน้าท้องเกร็งเวลากด (guarding) และเมื่อปล่อยมือจะทำให้ปวดท้องมากขึ้น( rebound tenderness) ด้วย
  2. ในผู้ป่วยไส้ติ่งแตกทะลุ หรือมีช่องท้องอักเสบ Peritonitis มักจะพบว่าจุดที่เจ็บที่สุดจะกว้างขึ้น หรือพบทั่วบริเวณท้องน้อยส่วนล่างทั้ง 2 ข้าง
  3. ในรายที่เป็นฝีจะคลำได้ก้อนไส้ติ่งอักเสบ (appendiceal mass) จาก phlegmon หรือ abscess มักคลำได้ก้อนที่ ท้องน้อยด้านขวา
  4. การตรวจทางทวารหนัก (rectal examination) นับว่าเป็นประโยชน์มาก จะพบว่ากดเจ็บที่ด้านขวาของท้องน้อย แต่ไม่นิยมทำในเด็กเล็กเพราะแปลผลได้ลำบาก
  5. สำหรับผู้หญิงอาจจะต้องตรวจภายในเพื่อวินิจฉัยแยกโรคจาก
  • twisted ovarian cyst เพราะอาจคลำได้ก่อน
  • ส่วนในรายที่สงสัยว่าอาจเกิดจากช่องเชิงกรานอักเสบ pelvic inflammatory disease
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก ectopic pregnancy

การตรวจทางห้องปฎิบัติการ

ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนักในผู้ป่วยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อการตรวจร่างกายสามารถให้การวินิจฉัยได้อยู่แล้ว แต่จะทำเป็นพื้นฐานเพื่อการดูแลระหว่างการรักษาต่อไป ได้แก่

  • complete blood count มักพบว่า เม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ
  • การตรวจปัสสาวะ ไม่ค่อยมีประโยชน์มากนักในการวินิจฉัยแยกโรค แต่ช่วยแยกโรคอื่น เช่น มีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ อาจต้องนึกถึงนิ่วในท่อไต

การตรวจพิเศษ

ในรายที่ลักษณะทางคลินิกบ่งชัดเจนว่าเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน การตรวจพิเศษเพิ่มเติมก็ไม่มีความจำเป็น แต่ในรายที่ลักษณะทางคลินิกไม่ชัดเจนนั้น การตรวจพิเศษอาจมีประโยชน์ในการวินิจฉัยแยกโรค เช่น

  • การถ่ายภาพรังสีของช่องท้อง อาจพบเงาของ fecalith หรือ localized ileus ที่ RLQ
  • การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonography) ของช่องท้อง หรือ barium enema ไม่มีความจำเป็นในผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่อาจช่วยในการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาในการ วินิจฉัยโรค

guest

Post : 2013-12-25 18:37:01.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ลำไส้แปรปวน

 

ภาวะลำไส้แปรปรวน IBS Irritable Bowel Syndrome

ภาวะลำไส้แปรปรวนเป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ใหญ่่มากไปทำให้มีอาการปวดท้อง ถ่ายบ่อย โดยผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดท้องร่วมกับมีการขับถ่ายที่ผิดปกติไป โดยอาจจะมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสียก็ได้ ซึ่งอาการปวดท้องมักจะปวดบีบเกร็งบริเวณท้องน้อยด้านล่าง โดยเฉพาะด้านซ้ายและอาการมักจะดีขึ้นหลังจากถ่ายอุจจาระ ร่วมกับอาจมีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอุจจาระ เช่น ถ่ายเป็นน้ำหรืออุจจาระเป็นก้อนแข็ง ถ่ายมีมูก โดยไม่ควรมีสัญญาณอันตราย ได้แก่ น้ำหนักลด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด  มีไข้ หรือคลำได้ก้อน  ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการแน่นท้อง มีแก็ส หรือถ่ายไม่สุดได้ด้วย มักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่ ยา อาหาร อารมณ์เครียด ปริมาณเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ภาวะนี้จะไม่กลายเป็นโรคร้าย เช่น มะเร็งลำไส้ หรือลำไส้อักเสบโรคลำไส้แปรปรวน หรือ  Irritable Bowel Syndrome (IBS) พบได้ประมาณร้อยละ 15


สาเหตุ 

แม้จะเป็นภาวะที่พบได้บ่อยแต่ปัจจุบันก็ยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอน ซึ่งเชื่อว่าเกิดสาเหตุน่าจะมาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่

  •  การบีบตัวของลำไส้ที่ผิดปกติ ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าปกติ และมักจะตอบสนองไวต่อความเครียด
  • การรับรู้ของระบบทางเดินอาหารไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ โดยตัวกระตุ้นที่พบได้บ่อย คือ อาหาร ความเครียด การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ซึ่งจะทำให้มีการบีบตัวของลำไส้เปลี่ยนแปลงไปแล้วก่อให้เกิดอาการ 
  • ภาวะหลังการติดเชื้อ เนื่องจากพบผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีอาการลำไส้แปรปรวนตามหลังการติดเชื้อทางเดินอาหาร ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกิดจากการติดเชื้อทำลายเยื่อบุลำไส้มีผลต่อเส้นประสาทที่ลำไส้เกิดความไวต่อสิ่งกระตุ้น
  •  ภาวะจิตใจ เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีภาวะวิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น


อาการของภาวะลำไส้แปรปรวน

อาการสำคัญของลำไส้แปรปรวนคือ อาการปวดท้องหรืออาการแน่นท้อง ร่วมการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่าย อาการปวดท้องมักจะ

  • เริ่มเมื่อมีการขับถ่ายบ่อยมากขึ้น หรือขับถ่ายน้อยลง
  • อาการปวดท้องจะเริ่มเมื่อมีท้องผู้หรือถ่ายเหลว
  • อาการปวดจะดีขึ้นเมื่อหยุดถ่าย

อาการท้องร่วง

  • จะมีการถ่ายมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
  • อุจาระเหลว หรือเป็นน้ำ
  • มีอาการปวดเบ่ง หรือรู้สึกถ่ายไม่สุด

อาการท้องผู้

  • ถ่ายอุจาระเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • อุจาระแข็ง และแห้ง
  • ต้องเบ่งอุจาระ


การวินิจฉัย

 อาศัยอาการเป็นหลักซึ่งอาการที่สำคัญได้แก่ อาการปวดท้องหรืออึดอัดท้อง (abdominal pain or discomfort) ซึ่งดีขึ้นเมื่อถ่ายอุจจาระ ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของการถ่ายอุจจาระซึ่งเป็นได้ทั้งท้องผูก ท้องเสียหรือท้องผูกสลับท้องเสียก็ได้ โดยอาจมีอาการอื่น ๆ ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด มีลมในท้องมาก ถ่ายอุจจาระเป็นมูก หรือต้องเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติร่วมด้วย นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นนอกระบบทางเดินอาหาร เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ประจำเดือนผิดปกติ เป็นต้น นอกเหนือจากอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยที่จะวินิจฉัยภาวะนี้จะต้องไม่มีอาการเตือนที่บ่งว่ามีโรคอื่นที่เกิดจากพยาธิสภาพในระบบทางเดินอาหาร (organic disease) และจากการตรวจร่างกายต้องไม่พบโรคอื่นที่ก่อให้เกิดอาการแบบเดียวกันได้ แต่แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมในราย

  • ที่มีอาการสัญญาณเตือน
  • อายุมากกว่า 50 ปี
  • หรือมีประวัติมะเร็งลำไส้ในครอบครัว
  • อุจจาระเป็นเลือด
  • น้ำหนักลด
  • ซีด
  • ถ่ายอุจจาระกลางคืน

โดยแพทย์อาจจะทำการตรวจ

การวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก

เนื่องจากการวินิจฉัยอาศัยอาการเป็นหลักและไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้น เพื่อการศึกษาวิจัยที่ไปในทิศทางเดียวกันจึงมีการตั้งเกณฑ์การวินิจฉัยขึ้น ล่าสุดได้แก่ Rome II criteria โดยพบว่ามีความแม่นยำสูง หากใช้ criteria นี้ร่วมกับการพิจารณาอาการเตือนดังกล่าวจะมี positive predictive value 98-100% สำหรับการตรวจเพิ่มเติมนั้น จะทำต่อเมื่อให้การรักษาไป 3-6 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้นโดยเลือกวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยเป็นหลัก จาก Pathophysiology และอาการที่หลากหลายนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งร่างกายและจิตใจ โดยการรักษามีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ๆทั้งในระบบทางเดินอาหาร และนอกระบบทางเดินอาหารเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


การรักษายา

กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome  หรือ IBS) เป็นปัญหาทางเดินระบบอาหารที่พบได้บ่อย ในประเทศไทยจากการสำรวจประชากรในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และจันทบุรีพบได้ประมาณ5% โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีการดำเนินโรคเป็น ๆ หาย ๆ โดยที่ไม่มีผลกระทบด้านร่างกายมากนักและไม่ทำอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่จะมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต เนื่องจากอาการที่เรื้อรังจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วย และก่อให้เกิดความกังวลเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นโรคมะเร็ง

เมื่อให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยโรคนี้ ควรประเมินว่าปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายที่มาพบแพทย์คืออะไร ผู้ป่วยบางรายมีอาการเล็กน้อยไม่รบกวนกิจวัตรประจำวัน แต่มาพบแพทย์เพื่อต้องการทราบว่าป่วยเป็นโรคอะไรหรือมีความวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง การให้คำแนะนำ หรือการส่งตรวจเพื่อยืนยันให้ผู้ป่วยทราบว่าไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็อาจเพียงพอสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมากและรบกวนชีวิตประจำวันอาจต้องการการรักษาด้วยยาร่วมด้วยเพื่อการบรรเทาอาการ


การรักษาทั่วไป

เป็นการแนะนำโรคให้กับผู้ป่วย และสร้างความมั่นใจว่าโรคนี้จะไม่กลายเป็นโรคร้าย ใฟ้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นซึ่งได้แก่ อาหาร และความเครียด การปรับเปลี่ยนอาหาร



การรักษาโดยการใช้ยา (Pharmacologic therapies)

เนื่องจากโรคนี้มีอาการที่หลากหลาย การเลือกยาจึงพิจารณาจากอาการที่เป็นปัญหาหลักของผู้ป่วยเช่น อาการท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้อง หรือท้องอืดที่เป็นอาการเด่น เป็นต้น รายละเอียดของยาแต่ละชนิดมีดังนี้


ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูก

ภาวะนี้จะมีอาการท้องผูกมากกว่าร้อยละ 25 ของการถ่าย ยาที่ใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องผูกเด่นจะใช้ยาเพื่อเพิ่มกากอุจาระ ยาหล่อลื่น ยาที่เพิ่มการบีบตัวของลำไส้



ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย

ภาวะนี้จะมีอาการท้องเสียมากกว่าร้อยละ 25 ของการถ่าย ยาที่ใช้รักษาลำไส้แปรปรวนที่มีอาการท้องเสียได้แก่ยา opiate และ opioid analogues เช่น loperamide, diphenoxylate atropine



ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง

ยาที่ใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวนที่มีอาการปวดท้องจะใช้ย่ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ และยาต้านความเศร้า

 

               

guest

Post : 2013-12-25 18:35:18.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  มีก๊าซในท้องมาก

 

ก๊าซในทางเดินอาหาร

ก๊าซในทางเดินอาหารเป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยได้กล่าวถึงเนื่องจากอาการเป็นไม่มาก หายเองได้ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่เป็น ปกติเราสามารถขับก๊าซส่วนเกินโดยการขับออกทางปากและขับทางก้น หากก๊าซนั้นไม่ถูกขับออกจากร่างกาย จะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร แน่นท้องสำหรับบางคนที่ไวก็อาจจะเกิดอาการท้องอืดแม้ว่าจะมีก๊าซไม่มาก

สาเหตุของก๊าซในทางเดินอาหาร

ก๊ายในทางเดินอาหารหากมีมากจะถูกขับทางโดยการผายลม ก๊าซในระบบทางเดินอาหารเกิดจากการที่เรา

  1. ได้รับจากการกลืนเข้าไป
  • ผู้ที่มีความเครียด
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • มีน้ำมูกไหล
  • สูบบุหรี่
  • การกลืนอาหารเร็วไปไม่เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
  • ฟันปลอมที่ไม่พอดี
  • เครื่องดื่มที่มี carbonated จะทำให้เกิดก๊าซ
  1. เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้

อาหารที่ย่อยไม่หมดโดยเฉพาะอาหารพวกแป้งที่มีใยอาหารจะไม่ถูกย่อย เมื่อผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่เชื้อแบคทีเรียจะย่อยสลายทำให้เกิดก๊าซ นอกจากนั้นน้ำตาลที่อยู่ในนมหากร่างกายไม่ย่อยก็ทำให้เกิดก๊าซมาก

  • ได้แก่อาหารพวก กะหล่ำปี ดอกกำหล่ำ ถัว บรอคโคลี หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวสาลี wheat, ข้าวโอ๊ต oats, มันฝรั่ง potatoes เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีใยอาหาร และแป้งมากมำให้ลำไส้เล็กดูดไม่หมด อาหารเหลือไปยังลำไส้ใหญ่เกิดการหมักทำให้เกิดก๊าซ
  • อาหารที่มีใยอาหารมาก เช่นเมล็ดธัญพืช ข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ ทำให้เกิดอาการท้องอืด แต่หลังจาก 3 สัปดาห์จะปรับตัวได้ แต่บางคนอาการท้องอืดและมีก๊าซจะเป็นตลอด
  • นม ลำไส้บางคนขาดเอ็นไซม์ในการย่อยนม เมื่อดื่มนมจะทำให้ท้องอืด ลองงดนมอาการท้องอืดจะดีขึ้น

สาเหตุของการเรอบ่อย

การที่เราเรอส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่มีปริมาณก๊ายในกระเพาะมากทำให้กระเพาะขยายจึงเกิดอาการแน่นท้อง แต่บางท่าเรอจนติดเป็นนิสัยแม้ว่าปริมาณก๊าซในกระเพาะจะไม่มาก สาเหตุที่พบได้บ่อยๆได้แก่

  • มีการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะไปยังหลอดอาหาร ปกติเมื่อเรากลืนอาหารจะผ่านจากหลอดอาหารไปยังกระเพะอาหารซึ่งมีหูรูดกันไม่ให้กรด และอาหารไหลย้อนไปยังหลอดอาหาร เมื่อมีปัจจัยส่งเสริมทำให้หูรูดหย่อน กรดและอาหารจะไหลย้อนไปยังหลอดอาหารทำให้เราต้องกลืนบ่อย ลมจึงเข้าไปมาก
  • มีการอักเสบหรือแผลที่กระเพาะอาหาร

วันหนึ่งรางกายผลิตก๊าซเท่าใด

วันหนึ่งๆร่างกายเราจะผลิตก๊าซวันละ ครึ่งแกลลอนซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ Oxygen, carbon dioxide, และ nitrogen เหมืออากาศ ไม่มีกลิ่น แต่ที่มีกลิ่นเนื่องจากหมักหมมของอาหารที่ลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดก๊าซ hydrogen sulfide, indole, and skatole

อาการแน่นท้อง

อาการแน่นท้องเป็นอาการที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์

อาการแน่นท้องไม่จำเป็นต้องเกิดจากก๊าซในทางเดินอาหารแต่อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆเช่น

  • อาหารมัน ซึ่งจะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวช้า เกิดอาการแน่นท้อง การแก้ไขทำได้โดยลดอาหารมัน
  • เกิดจากการรับประทานอาหารมากเกินไป
  • ผู้ป่วยบางคนมีก๊าซไม่มากแต่มีอาการปวดท้องเนื่องจากลำไส้ของผู้ป่วยไวต่อการกระตุ้นทำให้เกิดอาการเกร็งของลำไส้ spasm
  • ผู้ป่วยบางคนพยายามที่จะเรอเอาลมออก แต่การกระทำดังกล่าวกลับทำให้กลืนลมเพิ่มขึ้น ทำให้แน่นท้องเพิ่มขึ้น
  • ก๊าซที่สะสมในลำไส้ใหญ่ข้างซ้ายอาจจะทำให้เกิดอาการปวดเหมือนกับโรคหัวใจ

หากเราเรอแล้วอาการแน่ท้องดีขึ้นก็แสดงว่าอาการแน่นท้องเกิดจากก๊าซ แต่หากอาการแน่นท้องไม่ดีขึ้นท่านต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการแน่นท้อง

อาการท้องอืดและท้องบวม

ท่านผู้อ่านคงจะเคยมีอาการรู้สึกแน่นท้อง บางคนจะรู้สึกตึงๆในท้อง บางคนจะรู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย บางคนมีอาการเสียดท้อง หากเราทราบสาเหตุและได้รับการแก้ไขอาการจะดีขึ้น แต่อาการแน่นท้องก็อาจจะเป็นอาการของท้องบวมซึ่งอาจจะเป็น

  • น้ำ
  • ลม
  • เนื้อเยื่อ เช่นเนื้องอก

ดังนั้นหากอาการแน่นท้องเป็นอาการเรื้อรัง และเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเป็นมากต้องให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุของอาการท้องอืด

สาเหตุของอาการท้องอืด

สาเหตุของอาการท้องอืดที่พบบ่อยๆได้แก่

  1. มีลมในทางเดินอาหารมากไป ซึ่งอาจจะเกิดจากร่างกายของคนนั้นมีเชื้อที่สร้างก๊าซมากกว่าคนอื่น หรือเกิดจากการที่อาหารไม่ย่อย หรือเกิดจากร่างกายมีเชื้อแบคทีเรียในลำไส้มากไป
  2. ลำไส้มีการอุดตันทำให้ก๊าซไม่สามารถไปลำไส้ใหญ่ เช่น ไส้เลื่อนที่อุดตัน ผังผืดในท้องรัดลำไส้เป็นต้น ผู้ที่มีโรคดังกล่าวจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน
  3. ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลำไส้แปรปวน อาหารที่มัน หรือมีกากมาก
  4. ผู้่วยที่มีลำไส้ไวต่อการกระตุ้น แม้ว่าก๊าซในลำไส้อาจจะไม่มากแต่ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง

การตรวจวินิจฉัย

ประวัติการเจ็บป่วย

เมื่อท่านไปพบแพทย์ท่านจะต้องเตรียมประวัติของการเจ็บป่วย

  • อาการแน่นท้องเป็นอย่างต่อเนื่องหรือเป็นๆหายๆ หากเป็นอย่างต่อเนื่องต้องตรวจหาสาเหตุ
  • อาการแน่นท้องสัมพันธ์กับการผายลมหรือไม่ หากมีความสัมพันธ์แสดงว่าเรามีก๊าซในท้องมาก
  • ประวัติการรับประทานอาหารที่สัมพันธ์กับอาการแน่นท้อง

การ``X-ray

แพทย์อาจจะส่งตรวจX-ray ท้องหรืออาจจะนัดตรวจ ultrasound ซึ่งขึ้นกับอาการและการตรวจร่างกาย

การป้องกันก๊าซ

ข้อแนะนำสำหรับท่านที่ผายลมบ่อยหรือเรอบ่อย

  1. หลีกเลี่ยงน้ำดื่มที่มีฟองฟู่ เช่นโซดา เบียร์ carbonated beverages ให้ดื่มน้ำมากๆ
  2. หลีกเลี่ยงนม หากท่านขาดเอ็นไซม์ในการย่อยนม
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ กะหล่ำปี ดอกกำหล่ำ ถัว บรอคโคลี หอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ผลไม้เช่น แอปเปิล แพร์
  4. ให้ออกกำลังกาย
  5. ลดการกลืนลมโดยวิธีการต่อไปนี้
  • รับประทานให้ช้า และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งและลูกอม
  • หยุดสูบบุหรี่
  • ตรวจฟันปลอมว่ามีขนาดพอดีหรือไม่

การใช้ยารักษา

ท่านอาจจะซื้อยาที่มีขายตามร้านขายาแต่อาจจะได้ผลไม่ดีได้แก่ Simethicone, ผงถ่าน, และยาช่วยย่อยอาหาร

guest

Post : 2013-12-25 18:24:29.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  อาหารไม่ย่อย

 Dyspepsia

Dyspepsia คืออาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องหรืออาหารไม่ย่อย ไม่ใช่โรคแต่หมายถึง กลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหารส่วนบน ซึ่งมีลักษณะอาการที่สำคัญคือ มีอาการปวด หรืออึดอัดไม่สบายท้องที่บริเวณกลางท้องส่วนบน โดยอาการมักจะสัมพันธ์กับอาการอื่น ๆ ของทางเดินอาหารส่วนบน เช่น อาการแน่นท้อง อิ่มง่ายกว่าปกติ อืดท้อง มีลมมากเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ หรือแสบร้อนขึ้นมาที่หน้าอก ดังนั้น จึงไม่ใช่โรคแต่เป็นกลุ่มอาการที่สามารถเกิดจากสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน หลอดอาหารอักเสบ มะเร็งทางเดินอาหาร

อาหารไม่ย่อยDyspepsia เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อย ประมาณ 20-40% ของประชากรสามารถมีอาการของ dyspepsia ได้เป็นครั้งคราวในเวลา 1 ปี ในต่างประเทศ อาการ dyspepsia เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ประมาณ 7% ของผู้ป่วยทั้งหมด และคิดเป็น 50% ของผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการของระบบทางเดินอาหารในเวชปฏิบัติทั่วไป ผู้ป่วย dyspepsia มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาการ dyspepsia สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง ต้องหยุดงาน หรือประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี

อาการของอาหารไม่ย่อย Dyspepsia

อาการที่สำคัญของอาหารไม่ย่อยได้แก่

  • แสบร้อนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ (Epigastricburning)โดยไม่ร้าวขึ้นไปบริเวณหน้าอก
  • ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปแน่นท้องซึ่งมักจะแน่นท้องส่วนบน
  • ความรู้สึกไม่สบายเหมือนกับว่าอาหารค้างอยู่ในกระเพาะนานผิดปกติ
  • เรอลม มีก๊าซในกระเพาะมาก
  • คลื่นไส้
  • แน่นหรืออึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร รู้สึกแน่นท้องท้องอืดโดยที่ท้องไม่พอง
  • ท้องบวมมีก๊าซมาก
  • อิ่มง่ายหรือ อิ่มเร็วกว่าปกต

กลไกการเกิดโรค

  1. Delay gastric emptying time คือระยะเวลาที่ใช้ในการบีบตัวของกระเพาะอาหารเพื่อดันอาหารลงสู่ลำไส้เล็กนานกว่าปกติ
  2. Impaired gastric accommodation คือ การคลายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้นหลังรับประทานอาหารทำได้น้อยกว่าปกติ จึงทำให้แรงดันในกระเพาะอาหารสูงขึ้น และไปกระตุ้นตัวรับความรู้สึกบริเวณผนังกระเพาะอาหารทำเกิดอาการ
    3.  Hypersensitivity to gastric distention คือ การรับรู้ความรู้สึกของกระเพาะอาหารที่ไวกว่าคนปกติ


การตรวจร่างกาย

ในผู้ป่วย uncomplicated dyspepsia การตรวจร่างกายมักปกติ หรืออาจมีเพียงกดเจ็บเล็กน้อยบริเวณ epigastrium การตรวจพบว่าผู้ป่วยซีด มีตับโต, ต่อมน้ำเหลืองโต, มีก้อนในท้อง, ตาเหลือง หรืออุจจาระเป็น melena บ่งว่าผู้ป่วยควรได้รับการทำส่องกล้องทันทีเพื่อหาสาเหตุ
อาการของ systemic disease อื่นที่สามารถทำให้เกิดอาการ dyspepsia ได้ เช่น อาการต่อมไธรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไป, อาการของ diabetic neuropathy, อาการของ heart disease ควรจะได้รับการตรวจหาอย่างละเอียด
ควรตรวจร่างกายผู้ป่วย dyspepsia ทุกรายที่มาพบแพทย์เป็นครั้งแรก เพื่อหาอาการแสดงต่าง ๆ ของ organic disease ที่เป็นสาเหตุของอาการ และถึงแม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบความผิดปกติ การที่แพทย์ใส่ใจตรวจร่างกายของผู้ป่วยอย่างละเอียดจะทำให้ผู้ป่วยมีความเชื่อมั่นในตัวแพทย์ และมีความมั่นใจในการวินิจฉัยซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการที่ผู้ป่วยจะยอมรับการวินิจฉัยในกรณีที่แพทย์หาสาเหตุของ organic disease ไม่พบ และให้การวินิจฉัยผู้ป่วยว่าเป็น non-ulcer dyspepsia

              

guest

Post : 2013-12-25 18:22:17.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  กลุ่มโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

 โรคเส้นเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ถ้าอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์จะพบว่าผู้มีชื่อเสียง ดารา เสียชีวิตจากโรคหัวใจไม่เว้นแต่ละวัน โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด เนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่เช่นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ทำให้โรคนี้พบมากขึ้น โรคหัวใจเป็นโรคใกล้ตัว คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่เสี่ยง และเป็นโรคหัวใจหากคุณตั้งอยู่บนความประมาท ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านร่วมกันทำบุญโดยคุณอ่านบทความนี้จนจบ โปรดแนะนำญาติ คนใกล้ชิด หรือคนรู้จักให้รู้ถึงปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกันความเสี่ยง รวมทั้งอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

หากท่านผู้อ่านสามารถให้ความรู้และป้องกันการเสียชีวิตได้หนึ่งรายจะทำญาติให้ผู้ป่วยมีความสุขมากน้อยแค่ไหน เนื้อหาที่จะกล่าวจะแบ่งเป็นส่วนๆดังนี้

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นโรคที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายอาจจะเกิดหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดปกติ

 

กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดของ Unstable Angina หรือ Non STMI จะเป็นแบบหลอดเลือดค่อยๆตีบและมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด แต่ไม่ถึงกับตันยังพอมีเลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ส่วนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเกิดจากลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อตาย

 

 

   
อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

อาการเจ็บหน้าอกของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จะมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย โดยมากเจ็บไม่เกิน 10 นาทีพักแล้วจะหาย หากกล้ามเนื้อหัวใจตายจะมีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก เจ็บนาน เจ็บมากจนเหงื่อตก อมยาแล้วไม่หายปวด

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้หลอดเลือดแดงตีบ จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่ายได้แก่ เพศ อายุ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคหัวใจ 

 

วินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดต้องอาศัยประวัติการเจ็บปวย การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเลือด 

 

ความรุนแรงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

กลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดแบ่งออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง Angina pectoris กลุ่มอาการเจ็บหน้าอก Unstable angina และกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด nstemi ซึ่งจะมีอาการคล้ายกัน และกลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจตาบชนิด STEMI 

 

การรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ประกอบไปด้วยการให้ยาแก้เจ็บหน้าอก ยาลดการขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาหรือการใส่สายสวนหัวใจเพิ่มเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหัวใจ 

 

โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการเต้นของหัวใจผิดปรกติ หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจวาย หรือเกิดจากลิ้นหัวใจรั่วเฉียบพลัน 

 

ป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การป้องกันโรคหัวใจแบ่งเป็นสองแบบคือปฐมภูมิ คือป้องกันมิให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทุติยภูมิคือการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ หลังจากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปแล้ว

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

 

 

guest

Post : 2013-12-25 18:19:49.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  เจ็บหน้าอกจากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Angina pectoris  

 
 

1

1คือหลอดแดงcoronary ข้างขวา

2คือหลอดเลือด coronary ข้างซ้าย

1

ตำแหน่งของการเจ็บหน้าอก

1

ภาพแสดงหลอดเลือดแดง coronary ตีบ

Angina pectoris เป็นโรคที่เกิดจากหลอดเลือด coronary มีการตีบเนื่องจากมีคราบไขมัน เมื่อคราบไขมันมากขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบ ในขณะที่พักเลือดยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อพอ แต่เมื่อออกกำลังกายเลือดจะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกในขณะออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก

เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอกแพทย์จะถามอะไรบ้าง

ลักษณะของอาการของหัวใจขาดเลือด

อาการเจ็บหน้าอกจะเป็นอาการที่สำคัญ และมักจะสัมพันธ์กับการทำงานหนัก หรือออกกำลังกายโดยมากมักจะไม่เกิน 10 นาที

  • แน่นหน้าอกลักษณะหนักๆเหมือนมีคนนั่งทับบนหน้าอก อาจจะเจ็บร้าวไปคอ หรือกรามด้านซ้าย แขนซ้าย มักจะเจ็บเมื่อออกกำลังกาย พักจะหายปวด
  • ตำแหน่งที่ปวด บางรายอาจจะบอกไม่ได้ชัดว่าปวดที่ไหน แต่ส่วนใหญ่จะบอกว่าเจ็บบริเวณกลางหน้าอก หรือแน่นลิ้มปี่ แต่จะเจ็บแบบแน่นๆซึ่งต่างจากโรคกระเพาะ เพราะจะเจ็บแบบแสบๆ
  • บางรายมาด้วยใจสั่น
  • บางรายมาด้วยเหนื่อยง่าย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก

  • อาการเจ็บหน้าอกมักจะสัมพันธืกับการออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก หรือมีความเครียดทางอารมณ์ อาการปวดจะหายไปใน 10 นาทีหลังหยุดพัก
  • อากาศหนาวก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย
  • การรับประทานอาหารที่มากไปก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
  • อารมณ์เครียดจัดก็ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะเป็นกับใครบ้าง

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็งจะมีโอกาสเป็นโรคนี้สูงโดยเฉพาะผู้ที่มีตั้งแต่สองข้อขึ้นไป

โรคนี้จะพบมากในผู้ชาย อายุมากมากขึ้นก็จะพบโรคนี้เพิ่มขึ้น

  • ผู้หญิงอายุ 45-54 ปีจะพบได้ร้อยละ0.1-1 ผู้ที่มีอายุ 65-74 ปีจะพบได้ร้อยละ 10-15
  • ผู้ชายอายุ 45-54 ปีจะพบได้ร้อยละ0.1-1 ผู้ที่มีอายุ 65-74 ปีจะพบได้ร้อยละ 10-15

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและวิธีป้องกันคลิกที่นีครับ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วยเป็นสำคัญ การตรวจร่างกายหรือตรวจปกติก็ไม่ช่วยในการวินิจฉัยโรค ต้องใช้การตรวจพิเศษ

  1. จากประวัติซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาก ร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก
  2. การตรวจร่างกายก็อาจจะพบว่าอ้วนหรือไม่ก็ได้ ความดันโลหิตอาจจะสูงในบางราย เจาะเลือดอาจจะพบไขมันสูง โดยรวมแล้วการตรวจร่างกายมักจะไม่ช่วยวินิจฉัยโรค
  3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG  หรือ EKG ขณะตรวจอาจจะปกติได้ ควรตรวจขณะเจ็บหน้าอก
  • การตรวจเลือดทั่วไปหรือที่เรียกว่า CBC ซึ่งอาจจะพบว่าซีดซึ่งเป็นเหตุกระตุ้นให้เจ็บหน้าอก
  • การเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาล ไขมัน การทำงานของไต การทำงานของตับ ในเลือด
  • การตรวจโดยการวิ่งสายพาน treadmill exerciseหลักการทำให้หัวใจต้องการเลือดไปเลี้ยงมาก โดยการวิ่งบนสายพานเพื่อให้หัวใจต้องการเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น หากมีหลอดเลือดตีบก็จะเกิดเจ็บหน้าอก และแสดงบนคลื่นไฟฟ้า สำหรับผู้ป่วยที่วิ่งไม่ได ้ก็ยังมีการตรวจโดยการขี่จักรยานหรือใช้ยาเร่งให้หัวใจบีบตัวเรียก stress echo
  • การทำ cardiac scan เพื่อดูว่าเลือดไปเลี้ยงหัวใจเพียงพอหรือไม่
  • การสวนหัวใจและฉีดสี Coronary angiography เพื่อดูว่ามีตำแหน่งของหลอดเลือดตีบ แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ 

                                                     

guest

Post : 2013-12-25 18:17:26.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  กล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด NSTEMI

 โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน NSTEMI และ Unstable Angina

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน NSTEMI และ Unstable Angina เป็นโรคหัวใจที่จำเป็นต้องให้การรักษา และเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจในอนาคต อาการที่สำคัญของทั้งสองโรคคืออาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเกิดจากเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หรือมีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจจะมีอาการเจ็บหรือแน่หน้าอกเมื่อออกกำลังกาย พักแล้วจะหายและมัจะเจ็บไม่เกิน 10 นาที หากมีอาการเจ็บหน้าอกมากกว่าครั้งก่อนๆ เจ็บนานกว่า 20 นาที พักแล้วไม่หาย และมีอาการใจสั่นหน้ามืดเป็นลม ให้รีบไปพบแพทย์

อาการเจ็บหน้าอกของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ผู้ที่มีหลอดเลือดตีบจะมีอาการเจ็บหน้าอกที่เรียกว่า angina จะเจ็บเมื่อออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก แต่ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดตีบ หรือ Unstable Angina จะมีอาการเจ็บหน้าอกนานกว่า เจ็บหน้าอกมากกว่า พักแล้วไม่หายปวด อมยาแล้วไม่หาย หรือมีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปลายมือปลายเท้าเย็น หน้าซีด 


กลไกการเกิดโรค

กลไกการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดของ Unstable Angina หรือ Non STMI จะเป็นแบบหลอดเลือดอุดแต่ไม่ถึงกับตัน ยังมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้บางส่วน ทำให้กล้ามเนื้อตายบางส่วน 


การประเมินความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ในการประเมินความเสี่ยงจะแบ่งออกเป็น 1การประเมินว่าอาการเจ็บหน้าอกจะเกิดจากโรคหลอดเลือดตีบหรือไม่ 2ประเมินความรุนแรงของโรคจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจและผลเลือด 3 ประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือไม่ 


กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค

ผู้ที่มีประวัติครอบครัว หรือเป็นโรคบางอย่าง จะเป็นความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 


การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคจะต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจเลือด 


การรักษา

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบ่งเป็น การรักษาแบบฉุกเฉินที่จะต้องรีบเปิดหลอดเลือด ให้เลือดไหลเวียน และการรักษาด้วยยา

 

                       

guest

Post : 2013-12-25 18:15:42.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  กลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบ ST Elevation

 

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-elevation myocardial infarction (STEMI)

กลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดประกอบไปด้วย

  • กลุ่มที่มีอาการเจ็บหน้าอกหรือที่เรียกว่า Angina pectoris
  • กลุ่มหัวใจขาดเลือดชนิด Unstable angina ,Non ST Elevation MI
  • กลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด ST Elevation MI

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ ST Elevation MI

คำจำกัดความกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-elevation myocardial infarction (STEMI)

  • กลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด ST Elevation MI หมายถึงกลุ่มโรคที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และตายเฉียบพลัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด ST-segment elevation และมีผลเลือดที่บอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่ม
  • มักจะเกิดจากมีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดทันที
  • การวินิจฉัยที่รวดเร็วและการรักษาจะลดอัตราการเสียชีวิต


อ้วนปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อย

  • คนที่อายุมากทั้งสองเพศ
  • มีโรคเรื้อรัง เช่นเบาหวานความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่
  • ประวัตครอบครัวมีความเสี่ง



สาเหตุของกล้ามเนื้อหัวใจตาย

สาเหตุเกิดจากการที่มีคราบ Plaque ที่เกาะตามผนังหลอดเลือดมีรอยปริหรือแตกทำให้เกล็ดเลือดมาจับเกิดเป็นลิ่มเลือด ลิ่มเลือดจะโตและมีขนาดใหญ่จนอุดหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากผู้ป่วยพบแพทย์ทันก็ละลายลิ่มเลือดให้เลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจ แต่หากมาไม่ทันกล้ามเนื้อหัวใจจะตาย



อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย STEMI

อาการที่สำคัญคืออาการเจ็บหน้าอกซึ่งอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกจะเป็นมากกว่า นานกว่าที่เคยเป็น อมยาก็ไม่หาย และอาจจะมีอาการของโรคแทรกซ้อน เช่นหอบเหนื่อย หน้ามืดเป็นลม มือเท้าเย็น



การวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจตาย

การวินิจฉัยกล้ามเนื้อหัวใจตายต้องอาศัย

  • อาการเจ็บหน้าอกที่เปลี่ยนไปจากเดิม
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ผลการตรวจเลือด



การรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

การรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด STEMI จะต้องเริ่มที่บ้าน และต้องนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพราะหากไปพบแพทย์เร็วผลการรักษาก็จะดี การรักษาจะต้องพยาบาลเปิดหลอดเลือดที่อุดตันซึ่งทำได้โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือการใสสายสวนหัวใจและทำบอลลูน หรือการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือด



โรคแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อหัวใจตาย STEMI

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้แก่หัวใจเต้นผิดปกติ นอกจากนั้นยังพบว่าเกิดหัวใจล้มเหลว ลิ้นหัวใจรั่ว ความดันโลหิตต่ำ ช็อคหมดสติ เกิดลิ่มเลือด



การป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตาย STEMI

การป้องกันทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงของการหลอดเลือดตีบ เช่น การงดบุหรือ ลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย คุมโรคเบาหวาน ความดัน และไขมัน นอกจากนั้นยังต้องรับประทานยาตามแพทย์สัง



การประเมินผูัป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย

การประเมินสภาพหัวใจหลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้แก่ การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง การวิ่งสายพาน การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ



 

guest

Post : 2013-12-25 18:12:49.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคหัวใจและหลอดเลือด

 โรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะโรคหัวใจที่เกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ นอกจากนั้นยังเกิดโรคหัวใจที่ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ

สำหรับประเทศไทยอัตราการเกิดโรคหัวใจ เพิ่มขึ้นอย่างมาก และอัตราการตาย เพิ่มขึ้นเป็นอันดับต้นๆของประเทศ เรามาเรียนรู้โรคเกี่ยวกับโรคหัวใจ

โรคหัวใจ

หัวใจของเราประกอบไปด้วย เยื่อหุ้มหัวใจ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ โรคที่เกิดกับอวัยวะเหล่านี้เราเรียกรวมว่าโรคหัวใจซึ่งพอจะอธิบายพอสังเขปดังนี้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ Coronary artery disease

เป็นโรคที่เกิดกับหลอดเลือด Coronary artery ซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่ทางการแพทย์เรียก CAD สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ เกิดอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด(ที่เรียกว่า angina pectoris) หากเป็นมากกล้ามเนื้อหัวใจตายที่เรียกว่า Acute Myocardial infartion ซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิตมาก 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Coronary heart disease

หมายถึงการที่เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจ เช่นการเจ็บหน้าอก การเกิดช็อกจากหัวใจเป็นต้น กลุ่มโรคนี้แบ่งออกเป็น

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ Cardiomyopathy

เป็นโรคที่เกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจ สาเหตุอาจจะเกิดจากพันธุกรรม โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอาจจะหนาตัว (Hypertrophic) หัวใจอาจจะพองโต(dilate) หากไม่ทราบสาเหตุเราเรียก idiopathic

  • Idiopathic dilated cardiomyopathy หัวใจพองโตโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • Hypertrophic cardiomyopathy โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา

โรคลิ้นหัวใจ Vulvular Heart Disease

โรคที่เกิดกับลิ้นหัวใจซึ่งอาจจะเกิดตีบ (stenosis) หรือลิ้นหัวใจรั่ว(regurgitant or insufficiency) ซึ่งอาจจะเกิดที่ลิ้นหัวใจลิ้นใดลิ้นหนึ่งหรือหลายลิ้น(ปกติเรามีลิ้นหัวใจอยู่ 4 ลิ้น ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องบนและล่างของข้างซ้ายเรียก mitral valve ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องบนและล่างของข้างขวาเรียก Tricuspid valve ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta เรียก aortic valve ลิ้นที่กั้นระหว่างห้องล่างของข้างขวาไปปอดเรียก Pulmonamic valve ) สาเหตุของความผิดปกติอาจจะเกิดจากกรรมพันธ์ การอักเสบจากลิ้นหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก ยา การฉายแสง

โรคเยื่อหุ้มหัวใจ ericardial Disease

อาจจะเกิดจากการอักเสบ (pericarditis) มีน้ำขังในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion) เยื่อหุ้มหัวใจไม่ขยาย(constrictive pericarditis) ผลของการเกิดโรคอาจจะเกิดอาการเจ็บหน้าอก หรือหอบเหนื่อย

โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด Congenital Heart Disease

เป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โรคอาจจะเกิดที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ผนังหัวใจ หรือหัวใจห้องล่างมีห้องเดียว หากเป็นมากก็อาจจะเสียชีวิตหลังคลอด แต่บางคนเป็นน้อยไม่มีมีอาการ จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ซึ่งตรวจพบโดยบังเอิญ

โรคหัวใจวาย Congestive Heart Failure

หมายถึงภาวะที่หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญไม่เพียงพอ ไม่ใช่หัวใจหยุดทำงาน เพียงแค่หัวใจบีบเลือดไม่เพียงพอที่เลี้ยงอวัยวะภายในทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เท้าบวม ส่วนสาเหตุอาจจะเกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง เป็นต้น 

โรคหลอดเลือดและน้ำเหลือง

หลอดเลือดเป็นท่อกลวงเพื่อนำนำและสารหลั่งไปยังอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย

  • Ateries หลอดเลือดแดงนำเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ
  • veins เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดจากร่างกายไปฟอกที่ปอด
  • capillaries เป็นหลอดเลือดฝอยเล็กๆต่อระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ
  • Lymphatics เมื่อสารน้ำออกจากหลอดเลือดเข้าสู่เนื้อเยื่อ ระบบน้ำเหลืองจะนำน้ำนั้นกลับสู่ร่างกาย

ตัวอย่างโรคต่างๆ

Aterosclerosis or arteriosclersis

เป็นภาวะที่มีการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด หลอดเลือดไม่สามารถขยายได้เมื่อหัวใจบีบตัว ซึ่งอาจจะเกิดจากกล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดหนาตัวหรือเกิดจากมีการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด ผลอาจจะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลงจนเกิดอาการ 

ความดันโลหิตสูง High Blood Pressure

เป็นภาวะที่มีแรงกระทำต่อผนังหลอดเลือดมากซึ่งทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัว โรคความดันโลหิตสูงอาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหัวใจวาย 

โรคอัมพาต Stroke

โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันหรือโรคลมปัจจุบัน เป็นภาวะที่สมองสูญเสียหน้าที่การทำงาน สาเหตุอาจจะเกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ischemia หรือเกิดจากเส้นเลือดสมองแตกและมีเลือดคั่งในเนื้อสมอง Hemorrhage 

Aneurysm

หมายถึงภาวะที่ผนังหลอดเลือดโป่งพองออก ภาวะนี้จะโตอยู่ตลอดเวลา และมีโอกาศที่จะแตกและเสียชีวิต เส้นเลือดที่โป่งมากคือเส้นเลือดแดงใหญ่ในท้อง Abdominal aorta aneurysm

โรคหลอดเลือดส่วนปลาย Peripheral arterial disease

หมายถึงโรคของหลอดเลือดที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงแขนหรือขาไม่เพียงพอ อาการเริ่มแรกจะมีอาการปวดแขนหรือขาเมื่อเวลาใช้งาน หากเป็นมากขึ้นจะปวดแขนหรือขาตลอดเวลา ผิวเย็น ผิวคลำมัน หากไม่แก้ไขอาจจะทำให้ต้องตัดแขนหรือขา 

โรคหลอดเลือดอักเสบ Vasculitis

หมายถึงการอักเสบของหลอดเลือดโดยเฉพาะหลอดเลือดแดง แต่ก็อาจจะเกิดการอักเสบกับหลอดเลือดดำได้ ผลจากการอักเสบทำให้ผนังหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะนั้นน้อยลง

Venous incompetence

เลือดดำาหมายถึงเลือดที่ร่างกายใช้แล้วจะถูกนำกลับสู่ร่างกายโดยหลอดเลือดดำ โดยปกติการเดินทางของหลอดเลือดดำจะไปในแนวทางเดียวโดยมีลิ้นกั้นมิให้เลือดไหลกลับ ภาวะนี้คือภาวะที่ลิ้นหลอดเลือดรั่ว เลือดจะไหลกลับมาทำให้หลอดเลือดโป่ง 

Venous thrombosis

หมายถึงภาวะที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือด โดยมากเกิดที่เส้นเลือดน่อง ทำให้ขาบวม หากลิ่มเลือดหลุดลอยเข้ากระแสเลือดอาจจะทำให้ไปอุดหลอดเลือดในปอด ซึ่งอันตรายทำให้เสียชีวิต 

Varicose veins

หมายถึงภาวะที่หลอดเลือดดำมีการโป่งพองและบิดตัว โดยมากเกิดจากลิ้นผนังหลอดเลือดรั่ว 

Lymphedema

เกิดจากมีการอุดกั้นของทางเดินน้ำดี ทำให้เกิดการบวมและปวด สาเหตุอาจจะเกิดจากการอักเสบ เช่นโรคเท้าช้าง

                  

 

guest

Post : 2013-12-25 18:09:58.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคหัวใจวาย

 การทำงานของหัวใจ

หัวใจของคนเราประกอบด้วยกล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่กว่ากำป้านของเจ้าของ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทุกๆวันหัวใจจะเต้นประมาณ 100000 ครั้ง สูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2000 แกลลอน

ระบบไหลเวียนโลหิตของเราประกอบไปด้วยหลอดเลือด ซึ่งเชื่อมติดต่อกันเป็นโครงข่ายทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากหัวใจห้องซ้ายล่าง Left Ventricle ฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เรียกว่า Aorta แล้วต่อไปยังหลอดเลือดแดง Artery ,Aterioles ต่อเส้นเลือดฝอย capillaries เลือด ณ.บริเวณนี้จะอุดมไปด้วยอาหารและออกซิเจนซึ่งแลกเปลี่ยนกับเนื้อเยื่อ แล้วไหลกลับสู่หลอดเลือดดำ vein ซึ่งนำเข้าหลอดเลือดดำใหญ่และเข้าสู่หัวใจ อ่านการทำงานของหัวใจ

โรคหัวใจวาย Heart failure

โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม สาเหตุการตายก็เปลี่ยนจากการติดเชื้อเป็นอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคเอดส์ ปัจจุบันการตายจากโรคหัวใจก็เพิ่มมากขึ้น บางคนก็เสียชีวิตเฉียบพลัน บางคนก็กลายเป็นโรคเรื้อรังและมีโรคแทรกซ้อน

โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วบางรายอาจจะถึงแก่ชีวิต การเปลี่ยนแปลงของโรคไม่แน่นอน ท่านอาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะทราบพยากรณ์ของโรค เมื่อเป็นโรคหัวใจนอกจากเกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยแล้วยังกระทบกับครอบครัว เพื่อนและครอบครัวต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ทั้งเรื่องอาหาร การทำความสะอาด

หัวใจวายคืออะไร

หัวใจวายหมายถึงภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง หัวใจวายไม่เหมือนกับหัวใจหยุดเต้น เราเรียกหัวใจวายว่า congestive heart failure คือหัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจน เมื่อไตได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย หากหัวใจห้องซ้ายวายก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edma หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า

อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่นเกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อยๆเกิดเช่นโรคของลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ

 

ชนิดของหัวใจวาย

เราทราบกันแล้วว่าหัวใจคนเรามี สี่ห้องคือมีหัวใจ การแบ่งหัวใจวายจะแบ่งเป็นหัวใจวายห้องขวา ซึ่งประกอบด้วยห้องบนขวา ( right atrium) และหัวใจห้องล่างขวา (right ventricle)  และหัวใจวายห้องซ้ายซึ่งประกอบด้วยหัวใจห้องบนซ้าย( left atrium) และหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle)

หัวใจห้องซ้ายล้มเหลวleft-sided heart failure

หัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดและจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจข้างนี้จะแข็งแรงกว่าหัวใจห้องอื่น หากหัวใจข้างนี้วายร่างกายจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดทำให้เลือดคั่งในปอดเกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edema นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมที่เท้า

หัวใจห้องขวาล้มเหลว

หัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบเลือดไปปอด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้า

guest

Post : 2013-12-25 18:07:56.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคหัวใจในผู้หญิง

 โรคหัวใจกับสุภาพสตรี

เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าโรคหัวใจ และหลอดเลือดเป็นโรคที่ทำให้ประชาชนคนไทยเสียชีวิตในอันดับต้นๆตลอดมา โดเฉพาะปัจจุบันสังคม ได้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากขึ้น แต่ประชาชนกับมีความสนใจเรื่องต่างๆเหล่านี้ลดลง อาจจะเป็นเพราะขาดความรู้ หรือเข้าใจผิดว่ายังมีเวลา หรือเพราะความเร่งรีบต่างๆ ทำให้คนไทยเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสุภาพสตรีที่มีแนวโน้มการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดเพิ่มอย่างมาก

ข้อเท็จจริงของโรคหัวใจในสุภาพสตรี

  • โรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง ส่วนโรคหลอดเลือดในสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับสามของสุภาพสตรีอเมริกา
  • พบว่าอัตราการเกิดโรคหัวใจของผู้ชายลดลงร้อยละ 17 แต่อัตราการเกิดโรคหัวใจในสตรีกลับไม่ได้ลดลง
  • สถานพยาบาลส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าโรคหัวใจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่ง
  • ผู้หญิงได้รับการตรวจสุขภาพน้อยกว่าผู้ชาย
  • การออกฤทธิ์ของยาอาจจะให้ผลต่างกันในเพศชายและหญิง
  • การขาดความความรู้ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ

สัญญาณอัตราย

สัญญาณอันตรายของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

อาการเตือนที่สำคัญคือ

  1. เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณด้านซ้ายร้าวไปแขน 
  2. จุกเสียดบริเวณลิ้มปี่ เหงื่อออก เป็นลม
  3. หอบเหนื่อย หายใจเร็ว
  4. อาการใจสั่น เป็นลมเหงื่อออก

โรคหลอดเลือดสมอง

อาการเตือนที่สำคัญได้แก่

  • มีอาการชา หรืออ่อนแรงครึ่งซีก อาจจะอ่อนแรงหน้า แขน ขา อาจจะอ่อนแรงไม่ถึงชั่วโมงแล้วหายเป็นปกติ
  • มีอาการสับสนหรือพูดลำบากทันที หรืออาจจะฟังไม่เข้าใจ
  • มีปัญหาเรื่องการมองเห็นหรือลำบากทันที
  • เดินเซ หรือเวียนศรีษะทันที ทรงตัวไม่ได้
  • ปวดศรีษะอย่างมากโดยไม่ทราบสาเหตุ

อาการเตือนว่าหัวใจหยุดเต้น

  • ไม่รู้สึกตัว เขย่าไม่ตื่น
  • ไม่หายใจ
  • หากพบกรณีเช่นนี้ต้องเรียกคนที่อยู่ใกล้มาช่วยพื้นคืนชีพทันที และเรียกรถพยาบาล

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

  1. ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่มีอายุมากกว่า 35 ปีควรจะได้มีการวัดความดันโลหิต ความดันมากกว่า 130/80 มิลิเมตรปรอทถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงควรปรึกษาแพทย์ 
  2. โรคเบาหวาน หากท่านอายุมากกว่า 35 ปีและยังไม่เคยตรวจน้ำตาลในเลือด ท่านต้องไปตรวจหากพบว่ามากกว่า 100 กรัม%แสดงว่าท่านเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน น้ำตาลมากกว่า 126 กรัม%จึงจัดว่าเป็นโรคเบาหวาน 
  3. ไขมันในเลือดสูง ไขมันที่ให้ความสำคัญคือ LDL Cholesterol,HDL Cholesterol 
  4. สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ 
  5. ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนวัยอันควรในครอบครัว
  6. อ้วน 
  7. ไม่ออกกำลังกาย 

guest

Post : 2013-12-25 18:06:43.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การตรวจพิเศษในโรคหัวใจ

 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ

อาการที่สำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด คลิกที่นี่

ประวัติและการตรวจร่างกาย

อย่างที่กล่าวข้างต้นคนที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบเล็กน้อยอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย สำหรับคนที่เส้นเลือดตีบมากขึ้นจะมีอาการเจ็บหน้าอกเมื่ออกกำลังกาย ดังนั้นหากคุณมีความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นและมีอาการแน่หน้าอกควรจะปรึกษาแพทย์ แพทย์จะตรวจวินิจฉัยเพิ่ม การตรวจที่สำคัญได้แก่

  • การตรวจเลือดเพื่อหาว่าหลอดเลือดหัวใจตีบจนกระทั่งมี enzyme หลั่งออกมา คลิกที่นี่
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า Electrocardiography (ECG)
  • การตรวจคลื่นความถี่สูงเรียกว่า Echocardiography การตรวจนี้จะคลื่นเสี่ยงความถี่สูงสะท้อนเงาของหัวใจ การตรวจนี้สามารถบอกได้ว่าการทำงานของหัวใจยังดีอยู่หรือไม่ มีกล้ามเนื้อส่วนใดที่เสียหายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
  • การตรวจหัวใจโดยการวิ่งสายพาน Stress test คนที่เส้นเลือดหัวใจตีบเล็กน้อยจะไม่มีอาการเจ็บหน้าอก แต่เมื่อออกกำลังกายจะเจ็บหน้าอก เราอาศัยหลักการข้อนี้มาตรวจโดยการให้วิ่งบนสายพานเพื่อให้หัวใจทำงานหนัก หากมีเส้นเลือดตีบจะปรากฎบนคลื่นไฟฟ้าหัวใจ นอกจากนั้นยังบอกว่าร่างกายฟิตแค่ไหน
  • การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงร่วมกับการวิ่งสายพาน
  • การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจ Coronary angiography ผู้ป่วยที่วิ่งสายพานแล้วสงสัยว่าจะมีเส้นเลือดหัวใจตีบ แพทย์จะนำผู้ป่วยไปฉีดสีเพื่อดูว่ามีหลอดเลือดเส้นไหนตีบ และตีบมากน้อยแค่ไหน เพื่อวางแผนในการรักษา
  • การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตรวจหลอดเลือดหัวใจ Coronary magnetic resonance angiography เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสร้างภาพหลอดเลือดหัวใจว่าตีบหรือไม่ เป็นการตรวจโดยไม่เจ็บตัว
  • การตรวจโดยวิธี Neyclear scan วิธีการโดยการฉีดสารรังสีเข้ากระแสเลือดแล้วใช้เครื่อง scan 
  • วัดว่ากล้ามเนื้อส่วนไหนขาดเลือด
  • การตรวจโดย Electron beam computerized tomography เป็นการตรวจหาแคลเซี่ยมที่ผนังหลอดเลือด
  • การตรวจ Echocardiography โดยผ่านทางหลอดอาหาร
  • การตรวจว่าหัวใจทำงานดีเพียงไหน

                                            

guest

Post : 2013-12-25 18:05:11.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  หัวใจโต

 หัวใจโต

หลายท่านเมื่อไปตรวจกับแพทย์จะบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งแพทย์อาจจะบอกกับท่านหลังจากตรวจร่างกายหรือดู x ray แล้วจึงบอกกับท่านว่าหัวใจโต ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลเป็นอันมาก คำว่าหัวใจโตไม่ใช่โรคเป็นเพียงสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายหรือการดู x ray แพทย์จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยอย่างอื่นเพื่อหาสาเหตุของหัวใจโต

อาการของคนที่หัวใจโต

หัวใจปกติหัวใจปกติ หัวใจโตหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ แต่หากหัวใจทำงานผิดปกติจะเกิดอาการต่างๆจากโรคที่เป็น อาการต่างๆได้แก่

  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หายใจเร็ว
  • เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย
  • ใจสั่น
  • บวมบริเวณเท้าตอนสายๆ
  • ไอโดยเฉพาะเวลานอน
  • นอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่หน้าอก

ท่านจะต้องประเมินอาการของท่านให้ดีเพราะบางครั้งอาการต่างๆค่อยๆเป็นไปจนกระทั่งคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ท่านอาจจะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกับท่านและมีวิถีชีวิตเหมือนกับท่านว่าท่านมีอาการต่างๆมากกว่าเขาหรือเปล่า หากมากกว่าหรือท่านไม่แน่ใจให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมิน

เมื่อไรโรคหัวใจโตจะไปพบแพทย์

ท่านควรจะไปพบแพทย์เมื่ออาการนั้นเกิดขึ้นใหม่ หรืออาการของท่านกำเริบมากขึ้น อาการที่ต้องไปพบแพทย์คือ

  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • เหนื่อยง่าย แรกๆอาจจะเดินขึ้นบันไดไม่ได้ ต่อมาเดินพื้นราบก็เหนื่อย หากเป็นมากจะเหนื่อยขณะพักเฉยๆ อ่านเรื่องหัวใจวาย
  • หายใจลำบาก หายใจเร็ว
  • หน้ามืดเป็นลม

สาเหตุของหัวใจโต

ผู้ที่หัวใจโตบางท่านอาจจะไม่มีสาเหตุแต่ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องหัวใจท่านจะทำงานหนักจึงทำให้หัวใจโต
  • ท่านที่มีโรคลิ้นหัวใจ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่ว หรือมีการอักเสบติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคต่างๆเหล่านี้จะทำให้หัวใจโต
  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง ที่เรียกว่า cardiomyopathy เช่นผู้ที่ดื่มสุราเป็นเวลานานกล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายทำให้หัวใจโต
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่นผนังหัวใจรั่วเป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติก็จะทำให้หัวใจโต
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูง
  • ผู้ที่มีโลหิตจางหรือซีดเป็นเวลานาน
  • โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ว่าต่อมจะทำงานมากไปหรือน้อยไปก็ทำให้เกิดหัวใจโต
  • สำหรับท่านที่รับประทานฐาตุเหล็กมากไปจะมีการสะสมฐาตุเหล็กเกิดโรค hemochromatosis
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีนทำให้มีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Amyloidosis

จะป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร

การป้องกันหัวใจโตจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้หัวใจโตแนวทางป้องกันมีดังนี้

                                    

guest

Post : 2013-12-25 18:03:13.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  หัวใจเต้นสั่นพริ้ว Atrial fibrillation

 ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว Atrial fibrillation

นิยามและระบาดวิทยา

หัวใจเต้นสั่นพริ้ว Atrial fibrillation เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่ง คือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มีทั้งเต้นช้และเต้นเร็ว ส่วนใหญ่เต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง Atrial Fibrillation (AF) เป็นอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุด ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิตแต่อาจนำมาซึ่งภาวะรุนแรงมากขึ้น เช่น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดอื่น ทำให้อ่อนเพลียเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลว

 

หัวใจเต้นปรกติ กระแสไฟฟ้าจะเริ่มต้นจากจุดเดียวที่หัวใจห้องบน และส่งผ่านไฟฟ้ามายังหัวใจห้องล่าง

หัวใจเต้นสั่นพริ้วไฟฟ้าจะเริ่มจากหลายจุด และต่างคนต่างส่งไฟฟ้ามายังหัวใจห้องล่าง

ลูกศรแดงเป็นหัวใจเต้นพริ้ว atrial fibrillation ส่วนลูกศรน้ำเงินเป็น sinus rhythm ซึ่งเต้นปรกติ


ส่วน " lone atrial fibrillation " ได้แก่ atrial fibrillation ที่ไม่พบโรคหัวใจที่เป็นสาเหตุหรือไม่มีประวัติการมีภาวะความดันเลือดสูง.ปกติการเต้นของหัวใจจะเกิดจากไฟฟ้าที่จะเริ่มต้นที่หัวใจห้องบ่นส่งไปฟ้ามายังห้องล่าง ในกรณีหัวใจเต้นพริ้วAtrial Fibrillation เกิดในหัวใจห้องบน ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเกิดเต้นเร็วมาก ไม่สม่ำเสมอและส่งไฟฟ้ามายังหัวใจห้องล่างทำให้หัวใจเต้นไม่สอดคล้องกัน สูบฉีดเลือดออกไปไม่ได้ดี ทำให้ร่างกายส่วนอื่นขาดอาหารและออกซิเจน ทำนองเดียวกันเลือดที่เหลือตกค้างในหัวใจห้องบนจะแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดและ อาจหลุดเข้าไปในระบบไหลเวียนของเลือดไปสู่สมองทำให้เกิด stroke (อัมพฤกษ์ อัมพาต) หัวไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนจะเต้นไม่สม่ำเสมอ

อุบัติ การณ์ผู้ป่วย atrial fibrillation พบมากขึ้นตามอายุที่สูงขึ้น โดยในต่างประเทศพบผู้ป่วยใหม่ร้อยละ4 ของประชากรมักจะเป็นในรายที่อายุมากกว่า 60 ปี สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 80 ปีจะพบว่าป่วยด้วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 10 สำหรับข้อมูลในคนไทยยังไม่มีรายงาน.

guest

Post : 2013-12-24 21:19:47.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคความดันโลหิตสูง

 ความดันโลหิตสูง

ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ

เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปรกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

เมื่อไรจึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง

เนื่องจากความดันโลหิตมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก การจะบอกใครเป็นความดันโลหิตสูง จะต้องมีการวัดความดันหลายครั้ง และต้องพิจารณาว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ คนปรกติจะมีความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 มิลิเมตร ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังมีภาวะอื่นๆ


อาการของโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการอะไร เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัว ผู้ป่วยมักจะมาด้วยโรคหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไตวาย ตามัว สำหรับผู้ที่ความดันปกติให้วัดความดันโลหิตทุก 2 ปี


สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

ไตวาย

ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุเรียกว่า Primary hypertension ส่วนอีกกลุ่มได้แก่ความดันโลหิตสูงเรียก Secondary hypertension ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดประมาณร้อยละ 95 เชื่อว่ามีสาเหตุหลายชนิดมารวมกันทำให้ความดันสูง


ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

แม้ว่าท่านยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่่มีปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง จะมีโอกาศเป็นโรคความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อท่านลดปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูง ความดันของท่านก็จะลดลง 

ทำไมต้องรักาษาโรคความดันโลหิตสูง

อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ความดันโลหิตสูงไม่มากหรือความดันค่อยๆสูง มักจะไม่มีอาการ หายท่านไม่ยอมรับประทานยา หลายท่านหยุดยาเมื่อรับประทานยาได้สักระยะหนึ่ง หลายท่านกลัวว่าหากรับประทานยามากๆ จะทำให้เกิดโรคไต แต่ผู้ป่วยและญาติคงต้องทราบว่าหากไม่รักษา จะเกิดอะไรได้บ้าง โรคความดันมีผลต่ออวัยวะใดบ้าง


การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง

หัวใจแข็งแรง

สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง คือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอวัยวะต่างๆว่าได้ผลกระทบจากโรคความดันโลหิต และตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันหรือยัง


การวัดความดันโลหิต

การวัดความดันโลหิต

การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง จะได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้อง หากใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม หรือการวัดผิดวิธีก็จะได้ค่าความดันผิด การวัดความดันโลหิตจะต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง การเตรียมตัวที่ถูกต้อง การวัดที่ถูกต้อง วิธีวัดความดันโลหิตมีได้หลายวิธี อ่านเรื่อง

ประโยชน์ของการรักษาความดันโลหิต

การลดความดันโลหิตนอกจากจะลดอาการปวดศีรษะ เนื่องจากความดันสูง แต่การลดความดันโลหิตยังลดโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากความดันโลหิตสูง เช่นหัวใจ จะลดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจโต โรคไต ลดการเกิดโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนั้นยารักษาความดันบางชนิดยังลดการเกิดโรคเบาหวาน 

เมื่อไรจึงจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูง

การจะเริ่มต้นรักษาความดันโลหิตจะต้องพิจารณาถึง ระดับความดันโลหิต โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อวัยวะเสียหายจากความดันโลหิต โรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิต 

การรักษา

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคแทรกซ้อน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิด


โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิต

โรคความดันโลหิตสูงทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ ซึ่งหากไปเลี้ยงอวัยวะไม่พอก็จะเกิดเสียหายต่ออวัยวะนั้น และหากกิดลิ่มเลือดจากผนังหลอดเลือด ก็จะเกิดโรคที่อวัยวะนั้นแบบเฉียบพลัน โรคแทรกซ้อนได้หลายระบบ ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต เท้า ตา


การป้องกันความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สามารถนำมาใช้กับผู้ที่ร่างกายปรกติ หรือกลุ่มที่ความดันเริ่มจะสูง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแล้ว การป้องกันความดันโลหิตสูงจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 20 มม.ปรอท้


สัญญาณเตือนภัยของโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน

โรคความดันโลหิตสูงจะมีโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ที่สำคัญคือหัวใจและสมอง โรคระบบทั้งสองจะมีอาการเตือนล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดความพิการ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นหลัก ส่วนโรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการอ่อนแรง หรือเดินเซ เป็นต้นผู้ที่เป็นโรคความดันต้องเรียนรู้


ความดันโลหิตและสุภาพสตรี

โรคความดันโลหิตสูง และสตรีมีเรื่องพิจารณามากว่าผู้ชายกล่าวคือ เรื่องการรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีผลต่อความดัน การตั้งครรภ์ก็มีผลต่อความดันโลหิตสูง วัยทอง รวมทั้งน้ำหนักตัวที่เพิ่มมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของสตรี สตรีจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูง หากรับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์หรือวัยทอง


ความดันโลหิตต่ำ

ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
  • ผู้ที่นอนป่วยนานไป
  • ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด

เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง

  1. ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
  2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  3. งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  7. ไปตามแพทย์นัด
  8. ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
  9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
  10. แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงในเด็ก

เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูง การค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรก จะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม

คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

             

guest

Post : 2013-12-24 21:17:00.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  อาหารสำหรับโรคความดันโลหิตสูง

 

ส่วนประกอบของอาหาร DASH

ตารางข้างล่างจะแสดงสัดส่วนของชนิดอาหารที่มีพลังงานเท่ากับ 2000 กิโลแคลอรี

ชนิดของอาหาร ปริมาณที่ประทาน (ส่วน) ปริมาณอาหาร หนึ่งส่วน ตัวอย่างอาหาร แหล่งของ สารอาหาร
ธัญพืช 7-8 (วันหนึ่ง จะรับประทานข้าว ไม่เกิน 7-8 ทัพพีแบ่ง 3 มื้อ) ขนมปัง 1 ชิ้น

corn flag 1 ถ้วยตวง

(ข้าวสุก ครึ่งถ้วย หรือ 1 ทัพพี หรือ มะหมี่ 1 ก้อน หรือขนมจีน 1 จับ)

 

ขนมปัง  whole wheat,cereals,crackers,pop corn,(ข้าว มะหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น) เป็นแหล่งให้พลังงาน และใยอาหาร
ผัก 4-5 ผักสด 1 ถ้วย

ผักสุก ครึ่งถ้วย

น้ำผัก240 มม.

มะเขือเทศ,มันฝรั่ง แครอท,(อาหารไทย ได้แก่ผักชนิดต่างๆ) เป็นแหล่งเกลือ โปแทสเซียม ,แมกนีเซียม,ใยอาหาร
ผลไม้ 4-5 น้ำผลไม้ 180 ซีซี

ผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล

ผลไม้แห้ง 1/4 ถ้วย

ผลไม้กระป๋อง 1/2 ถ้วย

ผลไม้ชนิดต่างๆ เป็นแหล่งเกลือ โปแทสเซียม ,แมกนีเซียม,ใยอาหาร
นมไขมันต่ำ 2-3 นม 240 ซีซี

โยเกตร์ 1 ถ้วย

cheese 11/2 oz

นมพร่องมันเนย ,นมที่ไม่มีมัน, เป็นแหล่งอาหาร แคลเซียม และโปรตีน
เนื้อสัตว์ น้อยกว่า 2 ส่วน เนื้อสัตว์น้อยกว่า 3 oz เลือกเนื้อที่ไม่มีมัน และเล็บมันออก ให้อบ เผาแทนการทอด นำหนังออกจากเนื้อ เป็นแหล่งอาหารโปรตีน และแมกนีเซียม
ถั่ว 4-5ส่วนต่อสัปดาห์ ถั่ว 1/3 ถ้วย

เมล็ดพืช 2 ช้อนโต๊ะ

ถัวลันเตา 1/2 ถ้วย

ถัวalmond ถั่วลิสง มะม่วงหิมพานต์ เมล็ดทานตะวัน เป็นแหล่งพลังงาน แมกนีเซียม โปรตีน ใยอาหาร
น้ำมัน 2-3 น้ำมันพืช 1 ชต

สลัดน้ำข้น 1 ชต

สลัดน้ำใส 2 ชต

มาการีน 1 ชต

น้ำมันพืชได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด  
น้ำตาล 5ส่วนต่อสัปดาห์ น้ำตาล 1 ชต

น้ำมะนาว 240 ซีซี

แยม 1 ชต

น้ำตาล แยม ไอสครีม  

รายการอาหารที่อยู่ในวงเล็บเป็นการดัดแปลง DASH เพื่อนำมาใช้กับคนไทยจะขอนำตัวอย่างอาหารสำหรับคนไทยตามแนวทางของ DASH แต่ละมื้อประกอบด้วยข้าว(หรือมะหมี่ ก๊วยเตี๋ยว ขนมจีนที่เทียบเท่าปริมาณ 1 ส่วน)ไม่เกิน 2 ทัพพี ผักมื้อละจาน(อาจจะเป็นผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ) เนื้อสัตว์4-5 ชิ้นคำ(ควรจะเป็นพวกปลามากกว่าสัตว์อื่น หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูเนื้อแดง) ผลไม้ขนาดกลางมื้อละผล(เช่น ส้ม 1 ลูก หรือฝรั่ง 1 ลูกหรือมะม่วงครึ่งซีกหรือสัปรส 6 ชิ้นคำหรือมะละกอ 8 ชิ้นคำหรือแตงโม 12 ชิ้นคำหรือกล้วยหอมครึ่งลูก หรือกล้วยน้ำวา1ผลหรือชมพู่ 2-3 ผลหรือขนุน 2-3 ยวงหรือทุเรียนขนาดเล็ก 1เม็ด ฯลฯ)

ชนิดอาหาร ปริมาณ
ข้าว(หรือมะหมี่ ก๊วยเตี๋ยว ขนมจีนที่เทียบเท่าปริมาณ 1 ส่วน) ไม่เกิน 2ทัพพีต่อมื้อวันละ3 มื้อ
ผัก(อาจจะเป็นผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักคะน้า แตงกวา มะเขือเทศ ฯลฯ) มื้อละจาน
ผลไม้ขนาดกลาง(เช่น ส้ม 1 ลูก หรือฝรั่ง 1 ลูกหรือมะม่วงครึ่งซีกหรือสัปรส 6 ชิ้นคำหรือมะละกอ 8 ชิ้นคำหรือแตงโม 12 ชิ้นคำหรือกล้วยหอมครึ่งลูก หรือกล้วยน้ำวา1ผลหรือชมพู่ 2-3 ผลหรือขนุน 2-3ยวงหรือทุเรียนขนาดเล็ก 1เม็ด ฯลฯ)  มื้อละผล
เนื้อสัตว์(ควรจะเป็นพวกปลามากกว่าสัตว์อื่น หากเป็นไก่หรือเป็ดต้องลอกหนังออก หมูต้องเป็นหมูเนื้อแดง) 4-5 ชิ้นคำต่อมื้อ
นม(ต้องเป็นชนิดพร่องมันเนย หรือโยเกตร์ วันละ 2 กล่อง
ถั่ว(ได้แก่ถั่ลิสง มะม่วงหิมพานต์ แอลมอนต์ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม ถั่วลันเตา ถั่วแระ ถั่วเขียว ฯลฯ) วันละส่วน
น้ำมัน(ให้ใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพดแทนน้ำมันปามล์ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารทอด ผัด ให้ใช้อบ ต้มหรือเผา
น้ำตาล หลีกเลี่ยงของหวานทุกชนิด
 

 

 

             

guest

Post : 2013-12-24 21:14:39.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเส้นเลือดขอด

 เส้นเลือดขอด varicose vein

เส้นเลือดดำเป็นเส้นเลือดที่รับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ ปกติจะไม่โป่งพอง แต่ถ้าเกิดโรคที่หลอดเลือดหรือลิ้นของหลอดเลือดทำให้เลือดคั่งในหลอดเลือด การคั่งของเลือดอาจจะเกิดได้หลายๆแห่งเช่น

  • เกิดที่ทวารหนักเรียกโรคริดสีดวงทวาร
  • เกิดที่ผนังหลอดอาหารเรียก esophageal varices
  • เกิดที่อัณฑะเรียก varicococel

สำหรับเส้นเลือดขอดที่จะกล่าวเกิดที่ขา ท่านผู้อ่านคงได้ยินการโฆษณาถึงการรักษาเส้นเลือดขอด ทำให้หายขาด ไม่เจ็บปวด และปลอดภัย ทำให้ท่านผู้อ่านสับสนว่าจะรักษาดีหรือไม่ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยท่านในการตัดสินใจ

เส้นเลือดขอดคืออะไร

เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดคือเส้นเลือดดำที่มีเลือดมากองทำให้หลอดเลือดโป่งพองอาจจะมีสำดำคล้ำ หรือม่วงอ่อนๆ มักจะขดวนไปมา หลอดเลือดจะนูนขึ้นมา มักจะพบที่น่อง ต้นขาและมักจะมีอาการหนักเท้า คันเท้ารายที่เป็นมากอาจจะมีแผลที่เท้ารายละเอียดคลิกที่นี่

เส้นเลือดฝอยที่ขา

ส่วนเส้นเลือดฝอยที่โป่งก็คล้ายกับเส้นเลือดขอด แต่มีขนาดเล็กกว่า มักจะมีสีแดง และออกม่วง คุณผู้หญิงบางท่านอาจจะพบเห็นเส้นเลือดฝอยที่ต้นขา อาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นเส้นเลือดขอดความจริงเป็นเส้นเลือดที่ขยายพบมากที่ขา ข้อเท้า และหน้า รายละเอียดคลิกที่นี่

สาเหตุของเส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอย

สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบ อาจจะเกิดจากการอ่อนแรงของลิ้นที่เส้นเลือดดำ หรือผนังหลอดเลือดดำ หรือเกิดจากการอักเสบของผนังหลอดเลือดทำให้เลือดกองที่หลอดเลือดดำมักจะเกิดในผู้หญิงเจริญพันธ์ ส่วนเส้นเลือดฝอยเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

เส้นเลือดขอดและเส้นเลือดฝอยจำเป็นต้องรักษา

ไม่จำเป็นต้องรักษาการรักษาเป็นเพียงในแง่ความงามเท่านั้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด

  • อายุมากจะเพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดเส้นเลือดขอด
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่ม
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่นวัยรุ่น การตั้งครรภ์ หรือวัยทอง แม้กระทั่งการรับประทานยาคุมกำเนิดก็จะส่งเสริมทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีปริมาณเลือดมาก และมดลูกกดหลอดเลือดทำให้เกิดเส้นเลือดขอด อาการจะดีขึ้นหลังคลอด 3 เดือน
  • อ้วน
  • การนั่งหรือยืนนานๆ
  • การสัมผัสแสงนานๆก็จะเกิดเส้นเลือดฝอยที่ใบหน้า

อาการของเส้นเลือดขอด

  • ปวดน่องหลังจากนั่งหรือยืนนาน
  • ปวดตุบๆ และเป็นตะคริว
  • บวมที่เท้า
  • เท้าหนักๆ
  • ผื่นที่ขาและคัน
  • ผิวที่ผิวหนังจะออกคล้ำ

เป็นเส้นเลือดขอดอันตรายหรือไม่

ทั้งเส้นเลือดขอด และเส้นเลือดฝอยมักจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ แต่ก่อให้เกิดความรำคาญ เช่น เท้าหนัก คัน แต่ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้

  • แผลที่เท้าซึ่งหายยากเนื่องจากการคั่งของเลือดเป็นระยะเวลานาน
  • เลือดออก เนื่องจากผิวหนังบริเวณเส้นเลือดขอดจะบาง ทำให้เกิดแผลและเลือดออกง่าย
  • เส้นเลือดดำอักเสบ เนื่องจากเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดฝอย
  • ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ ทำให้เท้าบวม และมีอาการปวด หากมีลิ่มเลือดหลุดลอยไปที่ปอดก็จะเกิดปัญหาอันตราย

จะไปพบแพทย์เมื่อไร

  • เส้นเลือดขอดโป่งพองมาก ผิวหนังแดง และเจ็บ ผิวอุ่น แสดงว่ามีการอักเสบ
  • เกิดแผลและผื่นใกล้กับข้อเท้า
  • ผิวหนังบริเวณข้อเท้าและน่องหนาและมีการเปลี่ยนสีผิว
  • เลือดออกจากเส้นเลือดขอด
  • ปวดน่องมาก

การวินิจฉัยโรค

แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากประวัติและการตรวจร่างกาย ดูเส้นเลือดขอดทั้งท่านอน และท่ายืน การตรวจเพิ่มเติมแพทย์อาจจะส่งตรวจ

  • คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อดูการไหลของเลือดและโครงสร้างของหลอดเลือด
  • ฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ

การป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด

แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันเส้นเลือดขอด หรือเส้นเลือดฝอยได้หมด แต่ก็สามารถที่จะลดการเกิดเส้นใหม่

  • ป้องกันการถูกแสงซึ่งจะทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยที่หน้า
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ระบบไหลเวียนดี ลดการเกิดเส้นเลือดขอด
  • ลดน้ำหนัก
  • อย่างนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน
  • หากต้องนั่งนานให้ยกเท้าให้สูง
  • อย่านั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ให้เปลี่ยนเท้าที่ยืนบ่อยๆ หากต้องนั่งนานให้ลุกขึ้นเดินทุก 30 นาที
  • ให้ใส่ Support ไม่ใส่กางเกงที่ฟิต และรัดเอว
  • ไม่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน
  • ลดอาหารเค็ม และรับประทานผักผลไม้ให้มาก

                             

guest

Post : 2013-12-24 21:12:27.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคชั้นประหยัด

 เลือดคั่งในหลอดเลือดดำส่วนลึก Deep vein thrombosis

เส้นเลือดฝอย

รูปที่เห็นเป็น superficial vein

deep vein คือ FV

ถ้าท่านผู้อ่านอ่านหนังสือพิมพ์ หรือฟังข่าวจะพบชื่อโรคชั้นประหยัด เป็นโรคลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำที่ขา ซึ่งมักจะเกิดในการเดินทางโดยเครื่องบินชั้นประหยัด ทางการแพทย์เรียก deep vein thrombosis ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนกไหนก็ต้องรู้จักเป็นอย่างด ีเนื่องจากเป็นโรคที่พบอยู่เรื่อยๆ ฟังจากชื่อแล้วเป็นเฉพาะคนจนหรือเปล่า และจำเป็นต้องนั่งเครื่องบินชั้นประหยัดหรือไม่ เป็นแล้วอันตรายหรือไม่ มีวิธีป้องกันอย่างไร หลังจากท่านผู้อ่านได้อ่านบทความนี้หมดแล้ว คงพอมีความรู้เบื้องต้นที่จะดูแลและป้องกันโรคนี้

เส้นหลอดเลือดดำส่วนลึกคืออะไร

เส้นหลอดเลือดดำจะนำเลือดที่ใช้แล้วกลับสู่หัวใจ โดยอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อ ร่วมกับลิ้นในหลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำที่ขามี 2 ชนิดคือหลอดเลือดดำที่ผิว superficial veinที่เราสามารถเห็นได้ด้วยตา ซึ่งจะนำเลือดจากผิวไปสู่หลอดเลือดดำส่วนลึก deep veinซึ่งจะอยู่ในกล้ามเนื้อ หลอดเลือดดำลึกก็จะนำเลือดไปยังหลอดเลือดดำใหญ่ในท้อง inferior venacava

เลือดคั่งในหลอดเลือดดำลึกคืออะไร

ปกติเลือดในหลอดเลือดดำจะไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อมีภาวะที่เลือดดำหยุดไหลเวียนและจับแข็งตัว

ลิ่มเลือด

thrombosisในหลอดเลือดเรียกภาวะนี้ว่าลิ่มเลือดคั่งในหลอดเลือดดำ[blood clot] ภาวะนี้อาจจะเกิดร่วมกับการอักเสบของหลอดเลือดดำ thromboplebitis คือมีทั้งลิ่มเลือดและการอักเสบของหลอดเลือด ภาวะนี้อาจจะเกิดที่เส้นเลือดผิว superficial vein ซึ่งเพียงทำให้บวมและปวดเท้านั้นจะไม่ไปอุดหลอดเลือดหัวใจหรือปอด การรักษาก็ไม่ยุงยากแต่หากเกิดที่เส้นเลือดส่วนลึก deep vein จะก่อให้เกิดปัญหามากคือลิ่มเลือดอาจจะไปอุดที่ปอดเรียก pulmonary embolism ซึ่งอันตรายเสียชีวิตได้

สาเหตุของลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้แก่

  1. หลอดเลือดดำได้รับอันตราย เช่นอุบัติเหตุกระดูกหัก กล้ามเนื้อถูกกระแทก หรือการผ่าตัด
  2. เลือดในหลอดเลือดมีการไหลเวียนช้าลงเช่นการนั่งหรือนอนนาน หลังผ่าตัด อัมพาต การเข้าเผือก
  3. การที่เลือดมีการแข็งตัวง่าย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

  • คนแก่ นอนไม่เคลื่อนไหวมากว่า 3วัน
  • อัมพาต
  • การเข้าเผือก
  • หลังผ่าตัดทำให้ต้องนอนนาน
  • การที่ต้องนั่งรถ รถไฟ เครื่องบิน หรือนั่งไขว่ห้าง
  • การใช้ยาคุมกำเนิด ฉีดยาเสพติด
  • การตั้งครรภ์ หลังคลอด
  • นอนไม่เคลื่อนไหวมากกว่า 3 วัน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคทางพันธุกรรมบางโรค

อาการของโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

หลอดเลือดดำ

ขาข้างที่เป็น dvt จะบวมกว่าอีกข้าง

อาการที่สำคัญคืออาการบวมที่เท้าเนื่องจากการไหลกลับของเลือดไม่ดีมักจะบวมข้างเดียว บางรายอาจจะเห็นเส้นเลือดโปงพอง อาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริวพบได้ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย โดยเฉพาะเวลากระดกข้อเท้าจะทำให้ปวดมากขึ้น เมื่อกดบริเวณน่องก็จะทำให้ปวด ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่มีอาการที่เท้าอาจจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่องหอบเหนื่อย เนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดในปอด

การตรวจร่างกาย

การตรวจร่างกายต้องใช้การตรวจหลายอย่างมาช่วยในการวินิจฉัย

  1. บวมเท้าที่เป็นข้างเดียว และอาจจะกดเจ็บบริเวณน่อง
  2. เมื่อจับปลายเท้ากระดกเข้าหาตัวโดยที่เข่าเหยียดตรง[เรียกการตรวจนี้ว่า Homans Sign ]
  3. อาจจะตรวจพบว่าหลอดเลือดดำโป่งและอาจจะคลำได้ ถ้าเส้นเลือดอักเสบเวลาคลำจะปวด
  4. อาจจะมีไข้ต่ำๆ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยต้องอาศัยการตรวจพิเศษ

  1. venography คือการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือดที่สงสัยเพื่อดูว่ามีลิ่มเลือดอุดหรือไม่ แต่ให้ผลการตรวจไม่แม่นยำ และอาจจะเกิดอาการแพ้จึงไม่นิยม
  2. venous ultrasound เป็นการใช้ ultrasound ช่วยในการวินิจฉัย วิธีนี้ไม่เจ็บปวดให้ผลดี
  3. MRI

การรักษา

หากวินิจฉัยว่าเป็น dvt จะต้องรีบให้การรักษาโดยรับตัวไวในโรงพยาบาลแพทย์จะเลือกให้ heparin หรือ low molecular weight heparin หลังจากนั้นต้องให้ warfarin เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอีก 3 เดือน

การป้องการคือการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำลึกและการป้องกันเส้นเลือดขอด

guest

Post : 2013-12-24 21:10:50.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคหลอดเลือดตีบ Atherosclerosis

 โรคหลอดเลือดตีบ Atherosclerosis

โรคหลอดเลือดตีบในที่นี้ หมายถึงหลอดเลือดแดงขนาดกลาง หรือเส้นใหญ่ มีการสะสมของไขมัน และแคลเซี่ยมที่ผนังด้านในของหลอดเลือดแดง เมื่อสะสมมีขนาดใหญ่พอ ก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลง

สาเหต

ยังไม่ทราบทั้งหมด แต่ก็มีข้อสันนิฐานของการเกิดโ รคหลอดเลือดตีบ ดังต่อไปนี้ คือการที่ผนังหลอดเลือดแดง (intima)ได้รับอัตรายซึ่งอาจจะเกิดจาก

  • แรงดันของความดันโลหิต
  • การอักเสบจากโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน
  • โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Chlamydia pneumoniae or Helicobacter pylori) หรือเชื้อไวรัสบางตัวเช่น cytomegalovirus
  • สารเคมีในร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol น้ำตาล เป็นต้น

เมื่อผนังหลอดเลือดแดงได้รับอันตรายไม่ว่าจะเกิดจากไขมัน หรือการติดเชื้อ ก็จะมีเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า Monocyte หรือ Macrophage มาจัดการกับสิ่งแปลกปลอมนั้น เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเกิดเป็นคราบหรือที่เรียกว่า Plaque ซึ่งจะมีขนาดใหญ่จนบางครั้งอาจจะอุดทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะน้อยลง แต่ก็มีบางภาวะโดยเฉพาะคราบที่เกิดใหม่ซึ่งส่วนประกอบของคราบจะเป็นไขมันโดยที่มีผังผืด Fibrous capsule ไม่แข็งแรง เมื่อเจอภาวะที่แรงดันเลือดสูงทำให้คราบนั้นฉีกขาด ร่างกายก็จะมีเกล็ดเลือด เม็ดเลือดขาวมายังที่เกิดการฉีกขาด ทำให้เกิดลิ่มเลือด Thrombus ซึ่งอาจจะอุดตันเส้นเลือดดังกล่าวหรืออาจจะหลุดลอยไปอุดเส้นเลือดส่วนปลายทำให้เกิดโรคขึ้นมา

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆได้แก่

  1. ปัจจัยเสี่ยงซี่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
  2. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ได้แก่

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง

  • เพศ
  • อายุ
  • ประวัติการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดตีบก่อนวัยในครอบครัว

guest

Post : 2013-12-24 21:08:15.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคหลอดเลือดแดงขาตีบ PAD

 

โรคหลอดเลือดแดงตีบ

ท่านเคยปวดขาหรือขาไม่มีแรงเมื่อเดินบ้างหรือไม่

เวลาที่ท่านเดินเร็วๆ เดินขึ้นบันได หรือแม้ขณะเดินเล่น แล้วเกิดอาการปวดเมื่อยที่น่อง และสะโพก เมื่อพักสักครู่แล้วหายปวด อาการอย่างนี้เป็นตลอด และจะปวดเมื่อเดินด้วยระยะทางเท่าๆเดิม อาการเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าท่านอาจจะมีอาการของเส้นเลือดแดงที่ขาตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาน้อยลง จึงเกิดตะคริวหรือปวดเมื่อยเวลาเดิน ไม่มีการรักษาใดที่จะทำให้โรคนี้หายเป็นปลิดทิ้งทันที

สัญญาณเตือน

หากเส้นเลือดตีบไม่มาก หรือ อาจจะมีการไหลเวียนของเลือดจากเส้นเลือดใกล้เคียง ทำให้ไม่มีอาการอะไรเลย ต่อเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้น เลือดไปเลี้ยวอวัยวะส่วนนั้นไม่พอผู้ป่วยจะมีอาการหลอดเลือด

  • ปวดน่อง
  • ตะคริว
  • ชาเท้า
  • อ่อนแรง

โดยเฉพาะ เมื่อเวลาเดิน และจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกัน อาการจะเป็นๆหายๆทางการแพทย์เรียก I ntermittent Claudication เมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้นจะเกิดอาการปวดแม้ขณะพัก 

การไหลเวียนของเลือด

เลือดจะเริ่มตนจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย เลือดดำหรือเลือดที่ได้ไปเลี้ยงร่างกายจะกลับไปทางหลอดเลือดดำ และกลับเข้าสู่หัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบ ปัจจัยต่างๆได้แก่

เมื่อไปพบแพทย์

หากท่านมีอาการดังกล่าวต้องแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติเพิ่มเติม ครวจร่างกายเพิ่มเติม และส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม

ประวัติและการตรวจร่างกาย

  • แพทย์จะถามถึงโรคประจำประวัติครอบครัว
  • โรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
  • ยาที่ผู้ป่วยรับประทาน
  • การออกกำลังกาย
  • การสูบบุหรี่
  • อาการทั่วๆไป
  • อาการของการเจ็บขา

สิ่งที่สังเกตเห็นเมื่อเส้นเลือดแดงตีบ

  • ขนที่เท้าหรือขาจะน้อย
  • สีผิวของขาจะคล้ำขึ้น บางรายอาจจะซีด
  • คลำชีพขจรที่หลังเท้าไม่ได้
  • เท้าจะเย็นอุณหภูมิเท้าสองข้างไม่เท่ากัน
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในชายที่เป็นความดันโลหิตสูง
  • แผลเรื้อรังที่เท้า
  • เล็บหนาตัว
  • หากเป็นมากจะมีการเน่าของนิ้ว

การตรวจวินิจฉัยโรค

  • การตรวจด้วยวิธี ankle-brachial index (ABI) คือการวัดความดันโลหิตที่แขนทั้งสองข้างและขาทั้งสองข้าง และนำเปรียบเทียบกัน ปกติความดันที่ขาจะสูงกว่าที่แขน 
  • การใช้หูฟังเสียงที่หลอดเลือดแดงที่ขา หากได้ยินเสียง แสดงว่ามีการตีบของหลอดเลือด
  • การตรวจด้วยเครื่องดอปเปลอร์

หากการตรวจเบื้องต้นพบว่า หลอดเลือดแดงตีบค่อนข้างมาก และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข ท่านอาจจะต้องได้รับการฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดเพิ่มเติม โดยอาศัยพิธีพิเศษร่วมกับการถ่ายภาพรังสีต่อเนื่อง จะช่วยให้ตรวจการไหลเวียนของโลหิตและตำแหน่งของการตีบแคบหรืออุกตันได้

  • การฉีดสี Arteriogram โดยการฉีดสีเข้าไปในเส้นเลือด เพื่อดูตำแหน่งเส้นเลือดที่ตีบ
  • Magnetic resonance angiography (MRA). โดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • CT Angiography (CTA). การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสี จะทำให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น

นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบ เช่น

  • ระดับน้ำตาลในเลือด
  • ระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การรักษา

การที่เกิดหลอดเลือดแดงตีบไม่ใช่เกิดจากการเสื่อมจากอายุ แต่เป็นการเกิดหลอดเลือดตีบจากโรค atherosclerosis หากเกิดหลอดเลือดแดงที่ขาตีบจะต้องคำนึงถึงว่าอาจจะมีหลอดเลือดที่อื่นตีบ เช่นหลอดเลือดหัวใจเป็นต้น

การรักษาทั่วๆไป

  • การเดินเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กระตุ้นให้เดินจนกระทั่งเริ่มปวด แล้วหยุด เมื่อหายปวดเริ่มเดินใหม่ การเดินจะทำให้หลอดเลือดที่ขามีการสร้างขึ้นใหม่ ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น ปวดน้อยลง 
  • หลีกเลี่ยงการประคบน้ำแข็งหรือน้ำร้อน
  • สวมรองเท้าที่คับพอดี
  • หลีกเลีบงอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป หรืออาหารมันมากเกินไป
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินบีมาก
  • การดูแลเท้า
  • การออกกำลังกาย

การรักษาด้วยยา

  • การใช้ยา
    1. ยาต้านเกล็ดเลือด Anti-Platelet Agents – ยาในกลุ่มนี้จะลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เดินได้ไกลขึ้น ยาที่สำคัญได้แก่
      • Aspirin - ขนาด (81-325 mg) เปแ็นยาหลักที่ใช้รักษา
      • Clopidogrel bisulfate (Plavix?) – เป็นยาต้านเกล็ดเลือดใหม่ที่ใช้รักษาโรคหัวใจ
    2. Anticoagulation Agents – ยาละลายลิ่มเลือด ยาที่ใช้ได้แก่
      • Warfarin (Coumadin?) – การปรับยาต้องเจาะเลือดตรวจ เพราะหากให้มากไปอาจจะเกิดเลือดออกในช่องท้องหรือสมอง
      • Enoxapari,flaxiparine? –เป็นยาฉีดที่ใช้ในช่วงแรกก่อนที่ยากินจะออกฤทธิ์.
    3. ยาอื่นๆ – ได้แก่ยาที่ขยายหลอดเลือดได้แก่
      • Trental?
      • Pletal?
  • การควบคุมระดับไขมันในเลือด
  • การให้ยาขยายหลอดเลือด
  • การควบคุมความดันโลหิต
  • การควบคุมโรคเบาหวาน

การให้ยา Beta-block ,estrogen อาจจะทำให้อาการเส้นเลือดแดงตีบเป็นมากขึ้น

หากการรักษาด้วยยาแล้วยังมีอาการปวดต้องรักษาด้วยวิธีอื่น

  • การทำ Balloon angioplasty แพทย์จะสอดสายเข้าไปหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ แล้วเอาบอลลูนดันส่วนที่ตีบให้ขยายพร้อมทั้งใส่ขดลวด
  • การผ่าตัด Bypass โดยการใช้เส้นเลือดเทียมต่อข้ามส่วนที่ตัน

การป้องกัน

  • ป้องกันและรักษาโรคหัวใจ
  • รักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หยุดสูบบุหรี่
  • รักษาน้ำหนัก อย่าให้อ้วน
  • ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติ

ติดต่อกับแพทย์ประจำตัวของท่านหากมีอาการดังต่อไปนี้

  • วิงเวียนศรีษะ หน้ามือจะเป็นลม หรือเกิดอาการอ่อนแรง
  • หายใจไม่ทั่วท้อง หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นไม่เป็นจังหวะ แน่นหน้าอก
  • มีไข้

처음 이전 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | ... 다음 끝
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com