Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2013-12-06 02:14:56.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ติดเชื้อ HPV

 การติดเชื้อ human papillomaviruses(HPV)

เราเรียกไวรัสกลุ่มนี้ว่า Human papillomaviruses (HPVs) ซึ่งมีมากกว่าร้อยชนิด

เนื่องจากเชื้อนี้บางชนิดอาจจะทำให้เกิดลักษณะเหมือนหูดจึงเรียกว่า papillomaviruses หูดนี้สามารถเกิดได้ที่มือและเท้า(อ่านที่นี่) และยังเกิดที่คอ และอวัยวะเพศ อ่านที่นี่

หูดที่อวัยวะเพศเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งเกิดจากเชื้อ HPV ได้มากกว่าร้อยชนิด คนส่วนใหญ่ได้รับเชื้อหูดและไม่มีอาการและหายเองได้ แต่หูดบางชนิดสามารถอยู่ได้เป็นปีโดยที่ไม่เกิดอาการ และเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง

เชื้อไวรัวหูดจะอาศัยอยู่เซลล์ผิวที่เรียกว่า Sqamous cell ซึ่งพบได้ที่ส่วนบนของผิวหนัง ปากมดลูก ช่องคลอก ทวาน ส่วนปลายของอวัยวะเพศชาย ปากและคอ

การติดเชื้อ human papillomaviruses(HPV) ทำให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง

เนื่องเชื้อนี้ติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จึงทำให้โรคนี้เป็นกันมากในวัยเจริญพันธุ์ โรคที่พบจากการติดเชื้อนี้ได้แก่

เชื้อ (HPVs) ที่ทำให้เกิดมะเร็งได้น้อย

เชื้อไวรัสหูดบางชนิดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้น้อยได้แก่ HPVs type 6 และ 11 ทำให้เกิดโรคหูดที่เรียกว่า condyloma acuminatum

เชื้อ (HPVs) ที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มาก

หากว่าเชื้อหูดที่อวัยวะเพศหรือทวารหนักซึ่งเกิดจากเชื้อข้างล่างจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ค่อนข้างมาก ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งค่อนข้างสูง เชื้อดังกล่าวได้แก่ชนิด

  • HPV-16
  • HPV-18
  • HPV-31
  • HPV-35
  • HPV-39
  • HPV-45
  • HPV-51
  • HPV-52
  • HPV-58

ไม่ว่าเชื้อ HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งจะสูงหรือต่ำร่างกายจะกำจัดออกหมดในสองปีประมาณร้อยละ 90 ของคนที่ติดเชื้อ

เชื้อ HPV ทำให้เกิดมะเร็งได้ที่ไหนบ้าง

นอกจากเชื้อ HPV จะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกแล้วเชื้อนี้ยังทำให้เกิดมะเร็งได้อีกหลายแห่ง

  • ประมาณร้อยละห้าสิบของผู้ป่วยมะเร็งที่แคมใหญ่จะมีส่วนสัมพันธุ์กับการติดเชื้อ HPV
  • มะเร็งที่อวัยวะเพศชาย
  • มะเร็งช่องคลอด
  • มะเร็งท่อปัสาวะ
  • มะเร็งที่ต่อมทอนซิล มะเร็งที่ลิ้น

ผู้ชายจะเป็นมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือไม่

ดังที่ทราบกันว่าการติดเชื้อ HPV ติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ดังนั้นจะว่าว่าผู้ชายมีการติดเชื้อนี้บ่อยพอๆกับผู้หญิง แต่การวินิจฉัยอาจจะยากกว่าผู้หญิง เนื่องจากไม่มีอาการ นอกจากนั้นก็ยังพบวาการติดเชื้อบางสายพันธุ์ของ HPV จะทำให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศ และรอบทวารหนัก

การติดเชื้อ HPV รักษาได้หรือไม่

ประมาณร้อยละ70 ของผู้ป่วยร่างกายจะมีภูมิและกำจัดเชื้อออกจากร่างกายในหนึ่งปี ประมาณร้อยละ90 จะกำจัดออกหมดในสองปี เรายังไม่มียารักษาการติดเชื้อ HPV ที่เรารักษาคือรักษาเซลล์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการติดเชื้อ เช่นการกำจัดเอาหูดออก

การป้องกันการติดเชื้อ HPV

การป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่ดีคือการหลีกเลี่ยงหรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้

  • ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อHPV ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้บางชนิด
  • ไม่สำส่อนทางเพศ มีสามีหรือภรรยาเพียงคนเดียว
  • ไม่มีเพศสัมพันธุ์กับคนที่สำส่อนทางเพศ
  • การสวมถุงยางอนามัยก็พอป้องกันได้แต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากการถูไถของผิวหนังก่อนการสวมถุงยางก็สามารถติดเชื้อHPV ได้ และถุงยางก็ไม่สามารถคลุมอวัยวะเพศชายได้ทั้งหมด

การติดต่อของเชื้อ HPV

การติดเชื้อ HPV ติดจากการร่วมเพศไม่ว่าทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก ไม่ติดต่อทางเลือด หรือติดต่อทางผิวหนัง การติดต่อจากแม่ไปลูก หรือการติดต่อจากปากไปอวัยวะเพศ หรือการสัมผัสภายนอกโดยไม่ได้ร่วมเพศมักจะไม่ติดต่อ

การติดเชื้อ HPV และการเกิดมะเร็งปากมดลูก

  • ประมาณร้อยละ90 ของมะเร็งปากมดลูกจะมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV
  • ประมาณร้อยละ 70 ของเชื้อ HPV จะเป็นชนิด types 16 or 18
  • ผู้ป่วยที่เป็น Precancerous มากกว่าร้อยละ 50 เกิดจากเชื้อ types 16 or 18
  • แม้ว่ามะเร็งปากมดลูกจะเกิดจากการติดเชื้อ HPV แต่ผู้ป่วยติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะหายและมีภูมิใน 6-12 เดือน

                             

guest

Post : 2013-12-06 02:12:30.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ท้องร่วง

 

เมื่อไรจึงจะเรียกท้องร่วง

หมายถึงการที่ถ่ายอุจาระเหลว หรือเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งต่อวันหรือถ่ายเหลวมีเลือดปนเพียง 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมงโดยทั่วไปอาการท้องร่วงมักหายได้เองใน 2-3 วันโดยที่ไม่ต้องรักษา ถ้าเป็นนานกว่านั้นต้องมีปัญหาอื่น ท้องร่วงทำให้เกิดผลเสียคือร่างกายขาดน้ำ ซึ่งถ้าเป็นมากอาจจะอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้

ประวัติที่ต้องเตรียมก่อนพบแพทย์

  • อยู่ในแหล่งที่มีน้ำท่วมหรือไม่
  • อยู่ในแหล่งที่มีการระบาดหรือไม่
  • การเดินทาง
  • ประวัติการรับประทานอาหาร
  • ยาที่รับประทานอยู่โดยเฉพาะยาปฎิชีวนะ
  • โรคประจำตัว

สาเหตุ

สาเหตุที่พบบ่อยๆ คือ

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ได้แก่เชื้อ บิดไม่มีตัว Shigella,ไข้ไทฟอยด์ Salmonella,เป็นต้น
  • การติดเชื้อไวรัส ได้แก่ rotavirus, Norwalk virus
  • การติดเชื้อพยาธิ์ เช่น Giardia lamblia, Entamoeba histolytica
  • จากแพ้อาหาร และนม
  • จากยา เช่น ยาลดความดัน ยาปฏิชีวนะ ยาระบาย
  • โรคลำไส้มีการอักเสบ

อาการของโรคท้องร่วง

ผู้ป่วยโรคท้องร่วงจะมีอาการ แน่นท้อง ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน และถ่ายบ่อย โรคท้องร่วงถ้าเป็นนานกว่า 3 สัปดาห์เรียกเรื้อรัง ถ้าหายภายใน 3 สัปดาห์เรียกท้องร่วงเฉียบพลันโดยมากเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย และเชื้อไวรัส อาการทีีท่านจะต้องสังเกตและแจ้งแก่แพทย์

  • ระยะเวลาที่เจ็บป่วย
  • อาการค่อยเป็นหรือเป็นมากทันที
  • จำนวนครั้งที่ถ่าย ลักษณะอุจาระ
  • อาการปวดท้อง อาเจียน
  • ไข้

โรคท้องร่วงในเด็ก

สาเหตุของโรคท้องร่วงในเด็กที่พบบ่อยได้แก่การติดเชื้อไวรัส Rotavirus ซึ่งใช้เวลา 5-8 วันจึงหาย นอกจากนั้นยังเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ,จากยา เป็นต้น การให้ยาจะให้เหมือนผู้ใหญ่ไม่ได้ เด็กที่ถ่ายเหลว 1 วันก็ทำให้เกิดการขาดน้ำได้ ควรพาเด็กพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • อุจาระมีหนอง หรือเลือด
  • ไข้มากกว่า 38ํ
  • อาการไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง
  • มีอาการของขาดน้ำ

อาการขาดน้ำมีอะไรบ้าง

  • หิวน้ำบ่อย
  • ปัสสาวะลดลง
  • ผิวหนังแห้ง
  • อ่อนเพลีย
  • เวียนศีรษะ
  • เวลาเปลี่ยนจากท่านอนเป็นยืนจะมีอาการหน้ามืดเป็นลม

ในเด็กอาจจะสังเกตอาการขาดน้ำได้จาก

  • ปากและลิ้นแห้ง
  • ไม่มีน้ำตาเวลาร้องไห้
  • ไม่มีปัสสาวะมากกว่า 3 ชั่วโมง
  • แก้มตอบ ท้องแฟบ ตากลวง
  • ไข้สูง
  • ร้องกวน
  • ผิวแห้ง

ถ้าหากมีอาการของการขาดน้ำควรพบแพทย์ทันที

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

  • เมื่อมีอาการท้องร่วงนานเกิน 3 วัน
  • มีอาการปวดท้องอย่างมาก
  • มีไข้มากกว่า 38.5ํ
  • มีเลือดในอุจาระ หรืออุจาระดำ
  • มีอาการขาดน้ำ

แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง

  • ตรวจอุจาระ และเพาะเชื้อจากอุจาระ
  • ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุ
  • ให้งดอาหารที่สงสัยว่าจะแพ้ เช่น นม ขนมปัง
  • ส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่เพื่อหาสาเหตุ [sigmoidoscopy,colonoscopy]

การรักษา

หลักการรักษาคือป้องกันการขาดน้ำโดยการได้รับ ORS วิธีการเตรียม

  • เตรียมน้ำต้มสุก เ ขวด
  • เทน้ำต้มสุกลงในแก้ว 1 แก้ว
  • เติมผงเกลือแร่ ORS ลงในแก้ว คนจนละลาย
  • เทน้ำที่ละลายเกลือแร่ลงในขวด
  • ดื่มตามฉลากข้างซองกำหนด

หรืออาจจะเตรียมน้ำเกลือแร่เองได้โดย

  • ผสมเกลือ 3.5 กรัม ผงฟู 2.5 กรัม เกลือ potassium chloride 1.5 กรัมผสมน้ำ 1 ลิตร

ยาที่ทำให้หยุดถ่ายไม่แนะนำเนื่องจากทำให้หายช้า

         

guest

Post : 2013-12-06 02:09:51.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคอมีบ้า acantameba

 การเกิดโรคจาก Acanthamoeba

เชื้อนี้สามารถทำให้เกิดโรคได้ดังนี้

  1. Primary amoebic meningoencephalitis [PAM]
  2. Granulomatious amoebic encephalitis [GAE]
  3. Acanthamoebic keratitis

Primary amoebic meningoencephalitis [PAM]

เกิดจากเชื้อ Naegleria fowleri โดยเชื้อจะเข้าทางจมูกและเข้าสู่สมองทำการแบ่งตัวและทำลายสมอง หากวินิจฉัยช้าอาจจะทำให้เสียชีวิต 

  • ผู้ป่วยจะมีอาการ 2-14วันหลังจากรับเชื้อ
  • จะเกิดอาการเฉียบพลัน
  • ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ คอแข็ง คลื่นไส้ และอาเจียน
  • ช้า โคม่า และเสียชีวิต

การวินิจฉัย ตรวจพบเชื้อจากน้ำไขสันหลัง รายละเอียดคลิกที่นี่

Granulomatious amoebic encephalitis [GAE]

เกิดจากเชื้อ Acanthamoeba มักเกิดในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นโรคเอดส์อาการผู้ป่วยจะค่อยเป็นค่อยๆไปและเสียชีวิตในที่สุดเชื่อว่าเชื้อมาสมองโดย ไปตามกระแสโลหิตนอกจากที่สมองแล้วยังพบรอยโรคที่ปอดผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ คอแข็งคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย สับสน ความจำเสื่อม ชักแลเสียชีวิติในเวลาหลายเดือน

Acanthamoebic keratitis

เกิดจาการใส่ contact lens ที่ทำความสะอาดไม่ดี การจะทำลายเชื้อนี้ได้ต้องต้มที่อุณหภูมิ 65 องศาเป็นเวลา 30 นาที

 นอกจากที่ตาแล้วเชื้อ Acanthamoeba ยังสามารถทำให้เกิดแผลตามผิวหนังมักเกิดในผู้ป่วยโรคเอดส์แผลจะไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา วินิจฉัยได้จากการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ รายละเอียด

แผลจากเชื้อ Acanthamoeba
Aca10.jpeg (30588 bytes)

การติดเชื้ออะมีบ้าที่ตา Acanthamoeba keratitis

มีรายงานการติดเชื้อ acanthamoeba ที่แก้วตาในประเทศสหรัฐ 24 รายเกิดตั้งแต่ปี1982-1986รายละเอียดมีดังนี้

  • 2รายต้องขวักลูกตาออก อีก 12 รายเป็นแผลที่กระจกตาต้องเปลี่ยนแก้วตา
  • ผู้ป่วย 20 รายใส่ contact lens ผุ้ป่วย 10 รายใน 20รายเตรียมน้ำยาล้างเลนส์เอง4 รายใช้น้ำยาล้างเลนส์แล้วล้างด้วยน้ำประปา 1 รายใช้น้ำยาล้างเลนส์ 1รายใช้น้ำประปาล้างเลนส์

อาการเริ่มต้นจะมีอาการปวดตาโดยเฉพาะถ้าเจอแสงสว่าง แรกๆจะมีการอักเสบเฉพาะบนเยื่อกระจกตา ต่อมาจะเป็นแผลและมีฝีเล็กๆลุกลามแตกเข้าตาทำให้ตาบอดได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้การวินิจฉัยว่าเป็นกระจกตาอักเสบจากเชื้อไวรัส herpes simplex virus (HSV) การวินิจฉัยทำได้โดยการย้อมหรือเพาะเชื้อ เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ A. polyphaga and A. castellanii

การรักษา

เนื่องจากเชื้อดื้อยาค่อนข้างมากทำให้การรักษาไม่ค่อยได้ผล ยาที่นิยมใช้คือ ketoconazole, miconazole,และpropamidine isethionate (Brolene*)

รูปแสดงการอักเสบของตาและแสดงรูปชิ้นเนื้อ

22192.jpg (84878 bytes)

22193.jpg (113496 bytes)


เกี่ยวกับตัวเชื้ออะมีบ้ากินสมอง Acanthamoeba

Acanthamoeba พบได้ในน้ำและดินมันสามารถอาศัยอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์อื่นเชื้อที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคในคนได้แก่ A. polyphaga,A. castellanii, และ A. culbertsoni.ซึ่งทำให้เกิดโรค granulomatious amoebic encephalitis (GAE), acanthamoebic keratitis or acanthamoebic uveitis.ส่วน  Naegleria fowleri ทำให้เกิดโรค Primary amoebic meningoencephalitis PAM)

การสืบพันธ์ของอะมีบ้า

aca3.jpeg (43661 bytes)

trophozoite

aca5.jpeg (36016 bytes)

cyst

สืบพันธ์แบบไม่ใช้เพศ สืบพันธ์โดยการแบ่งตัวมีรูปร่าง2 แบบคือ trophozoite ซึ่งแบ่งตัวได้มีขนาด 25 - 40 µm ส่วนอีกรูปร่างหนึ่งคือ cyst ซึ่งจะเป็นรูปร่างที่เกิดในภาวะที่ไม่เหมาะสมในการแบ่งตัว 15 - 28 µm

เชื้อนี้สามารถเจริญที่อุณหภูมิ 12-45 องศาแต่จะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 36-37 และใช้ oxygenในการสันดาปอาหารองศาเมื่อสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมมันจะกลายเป็น cyst ซึ่งจะทนอุณหภูมิ -20 ถึง 56 องศา

แหล่งที่พบเชื้อ

พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติและและสระว่ายน้ำที่มี คลอรีนผสมอยู่ โดยจะพบเชื้อได้จากน้ำที่เก็บไว้ในแท็งก์น้ำมากกว่าน้ำที่มาจากประปา ยังไม่ทราบว่าเชื้อ acanthamoeba ที่อยู่ในแท็งก์มาจากไหน นอกจากนั้นยังพบในน้ำที่ใช้หล่อเลี้ยงเครื่องปรับอากาศ

เชื้อ Naegleria fowleri มีวงจรชีวิต 3 ระยะคือ cyst trophozoite และ flagellated forms ตัวแก่ trophozoiteสามารถแบ่งตัวโดยวิธีpromitosis  Naegleria fowleri จะพบในน้ำ ดิน น้ำที่ลดความร้อนจากเครื่อง สระว่ายน้ำอุ่น ธาราบำบัดชนิดน้ำอุ่น เชื้อ trophozoite จะสู่คนโดยผ่านทางเยื่อบุจมูก   ละเข้าสู่สมอง เราจะพบเชื้อระยะ trophozoites ในน้ำไขสันหลังและเนื้อสมอง ขณะที่ flagellated forms จะพบเฉพาะในน้ำไขสันหลัง
เชื้อในกลุ่ม Acanthamoeba spp. และ Balamuthia mandrillaris จะทำให้เกิดโรค granulomatous amebic encephalitis (GAE) ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อ Acanthamoeba spp. พบในดิน น้ำ น้ำกร่อย น้ำทะเล ของเสีย สระน้ำอุปกรณ์ contact lens  ยูนิตทำฟัน เครื่องฟอกเลือด เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องปรับอากาศ ผัก ในคอ จมูกของคนปกติ เชื้อ Acanthamoeba and Balamuthia จะมีอยู่2ระยะคือ cysts   และ trophozoites  ในวงจรชีวิต และจะไม่มี flagellated form  เชื้อระยะ trophozoites จะแบ่งตัวด้วยวิธี mitosis  ระย trophozoites จะเป็นระยะที่ติดต่อเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผิวหนังและเข้าสู่ระบบประสาทโดยทางโลหิต   

การติดต่อ

  1. เชื้อจะเข้าทางผิวหนังที่มีแผล
  2. เชื้อจะเข้าทางจมูก
  3. เชื้อเข้าทาง contact lens
  4. จากการหายใจ

อาการของโรคอะมีบ้าNaegleria fowleri in brain tissue

  • contactlens ซึ่งล้างไม่ถูกวิธีจะมีเชื้อติดอยู่และหากมีแผลก็จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่แก้วตา
  • เมื่อเชื้อเข้าสู่สมอง จะมีอาการปวดศีรษะคอแข็งคลื่นไส้อาเจียนสับสนทรงตัวไม่ได้และเสียชีวิตในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังโดยเฉพาะโรคที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

การรักษาอะมีบ้า

  • ถ้าหากเกิดที่ผิวหนังหรือตาสามารถรักษาได้
  • เกิดที่สมองโดยมากมักจะเสียชีวิต

เชื้อนี้สามารถติดจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งหรือไม่

เชื้อนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คน

การป้องกัน

ให้ใช้น้ำยาล้างlensที่เตรียมจากบริษัทมากว่าเตรียมเอง

guest

Post : 2013-12-06 02:07:29.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคมาลาเรีย

 โรคมาลาเรีย

เป็นโรคติดต่อในประเทศเขตร้อน เกิดจากเชื้อใน class sporozoa,Genus Plasmodium ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว ติดต่อโดยการที่ถูกยุุงกัด

หลังจากถูกกัด10-14 วันจะมีไข้หนวาสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ครั้งแรกจะมีอาการรุนแรงเนื่องจากยังภูมิต่อเชื้อนี้ หากติดเชื้อครั้งต่อไปอาการจะรุนแรงน้อยลง การวินิจฉัยทำได้โดยการย้อมเชื้อจากเลือด ในวันแรกอาจจะต้องเจาะเลือดทุก 6 ชั่วโมง

วงจรชีวิตมาลาเรีย

วงจรชีวิตมาลาเรียจะมีส่วนหนึ่งอยู่ในยุงส่วนหนึ่งอยู่ในคน อ่านวงจรชีวิตมาลาเรีย

แหล่งระบาด

มาลาเรียเป็นโรคที่พบในเขตร้อนชื้น สำหรับประเทศไทยพบได้ทั่วไปจะพบมากบริเวณชายแดน อ่านแหล่งระบาด

อาการของโรคมาลาเรีย

อาการที่สำคัญคือไข้สูง ไข้จับสั่นเป็นวันเว้นวัน หากมีโรคแทรกซ้อนก็จะมีอาการของโรคแทรกซ้อน อ่านอาการโรคมาลาเรีย

การวินิจฉัยโรคมาลาเรีย

การวินิจฉัยอาศัยอาการและการตรวจเลือด อ่านเรื่องการวินิจฉัยโรคมาลาเรีย

การรักษา

จะต้องให้การรักษาอย่างเร่งด่วน หากรักษาช้าอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต อ่านการรักษามาลาเรีย

การป้องกัน

ดีที่สุดคืออย่าให้ยุงกัด การใช้ยาป้องกันในประเทศไทยอาจจะไม่ได้ผลเนื่องจากเชื้อเริ่มมีการดื้อยาอย่างมาก การจะรับยาป้องกันต้องปรึกษาแพทย์ 

          

guest

Post : 2013-12-06 02:05:24.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  พยาธิตืดหมู

 โรคพยาธิ์ตืดหมู

เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตืดหมู Taenia soliumเนื่องจากหมูเป็นเป็นโฮสท์กลาง พยาธิตืดหมูทำให้เกิดโรคในคนได้ 2 อย่างคือพยาธิตืดหมูไปอาศัยอยู่ในลำไส้เนื่องจากคนเป็นโฮสท์เฉพาะ และโรคที่สองคือมีพยาธิตัวอ่อนเข้าไปฝังตัวในเนื้อเยื่อของคนและมีถุงน้ำเราเรียก Cysticercosis

เขตปรากฎโรค

พบได้ทั่วโลก พบมากในผู้ที่ชอบรับประทานหมูสุกๆดิบๆ ในประเทศไทยพบมากแถบอีสานเนื่องจากรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เช่นลาบ น้ำตก หมู แหนมเป็นต้น

วงจรชีวิต

Life cycle of Taenia saginata & T. solium

Cysticercosis สามารถเกิดได้ทั้งตนและหมูโดยตัวอ่อนจะฝังตัวตามอวัยวะต่างๆจากพยาธิชื่อ Taenia solium.  คนเราจะได้รับเชื้อนี้โดยการรับประทานไข่พยาธิที่ออกมากับอุจาระและปนเปื้อนอาหารหรือน้ำที่เรารับประทาน  .  หมูและคนเมื่อได้รับประทานไข่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ  .  นอกจากจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารที่ปนเปื้อนคนยังได้รับไข่พยาธิจากตัวแก่ที่อยู่ในลำไส้โดยคนจะขย้อนตัวแก่เข้าในกระเพาะ ทำให้มีไข่ออกจากตัวแก่ ไข่จะแตกตัวเป็นตัวอ่อนระยะ oncospheresซึ่งจะเกาะที่ผนังลำไส้  ,และไชทะลุผนังลำไส้ไปยัง กล้ามเนื้อ สมอง ตับ และเนื้อเยื่ออื่นกลายเป็นตัวอ่อนในถุงน้ำเรียก cysticerci. อีกวงจรหนึ่งของพยาธิคือคนรับประทานเนื้อหมูที่มีพยาธิในรูป cysticeci .   cyst จะออกจากตัวอ่อนและเกาะกับผนังลำไส้โดยอวัยวะที่ชื่อว่า scolex  .  พยาธิจะโตเป็นตัวแก่ซึ่งมีความยาวประมาณ 2 ถึง 7 m และปล้องประมาณ 1000 proglottids, แต่ละปล้องจะมีไข่ประมาณ 50,000 ฟอง และอยู่ในลำไส้เล็กได้หลายปี  .

เราได้รับพยาธิตืดหมูได้อย่างไร

พยาธิตืดหมูจะเข้าสู่ร่างกายคนได้ดังต่อไปนี้

  • จากการดื่ม หรือรับประทานอาหารที่มีไข่ของพยาธิ เช่นผัก ผลไม้ เป็นต้น
  • จากการรับประทานตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในกล้ามเนื้อของหมู
  • จากการที่ขย้อนปล้องแก่เข้ากระเพาะ ทำให้เหมือนเรากินไข่พยาธิ

อาการ

พยาธิตืดหมูในลำไส้

พยาธิตัวแก่ในลำไส้จะแย่งอาหารทำให้ผู้ที่มีพยาธินี้จะรับประทานอาหารเก่ง หิวบ่อยแต่ผอมลง น้ำหนักลด นอกจากนั้นอาจจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียนหรืออุจาระบ่อยเนื่องจากเกิดจากการระคายเคืองต่อลำไส้

Cysticercosis

ภาพ x-ray computer แสดงcyst ในเนื้อสมอง

วงจรชีวิตของพยาธิตืดหมูได้กล่าวแล้วข้างต้น อาจจะมีวงจรที่ผิดปกติกล่าวคือ ถ้าคนรับประทานไข่พยาธิตืดหมูที่ติดตามผัก ผลไม้ หรืออาเจียนขย้อนปล้องแก่ของพยาธินี้มาที่กระเพาะคน ก็จะเป็นโฮสท์กลางของพยาธิกลางเหมือนหมู พยาธินี้จะเจริญเหมือนในหมู พยาธิตัวอ่อนจะฟักจากไข่แล้ว ไชทะลุลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลืองไปยังกล้ามเนื้อ หรืออวัยวะต่างๆ เช่นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ สมอง ไขสันหลัง ตา หัวใจ ตับ ปอด และในช่องท้องแล้วฝังตัวและมีถุงน้ำหุ้ม

อาการและอาการแสดงต่างๆขึ้นกับตำแหน่งของ cyst  ถ้าอยู่ใต้ผิวหนังก็จะมีก้อนใต้ผิวหนัง ถ้าอยู่ที่ตาก็จะปวดตา ตาพร่ามัว สายตาผิดปกติหรือตาบอด ถ้า cyst อยู่ในสมองผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการปวดศีรษะเนื่องจาก cyst ไปอุดทางเดินน้ำไขสันหลังทำให้ความดันในสมองสูง อาจจะทำให้เกิดอาการชักซึ่งเป็นอาการที่ผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุด

การวินิจฉัย

  1. ตรวจพบตุ่มใต้ผิวหนัง เมื่อตัดออกไปตรวจจะพบถุงน้ำและพยาธิตัวอ่อน
  2. ภาพรังสีของกล้ามเนื้อและกะโหลกจะพบหินปูนเป็นจุดๆ
  3. การตรวจ x-ray computer จะพบถุงน้ำและตัวอ่อน
  4. การตรวจอุจาระอาจจะพบปล้องและไข่ของพยาธิ แต่มักจะพบหลังจากการได้รับไข่พยาธิไปแล้ว 3 เดือน
ภาพแสดง cyst ตืดวัวและตืดหมูซึ่งไม่แตกต่างกัน
Taenia egg Taenia egg


ภาพแสดงปล้องของพยาธิตัวแก่
T. saginata gravid proglottid

ปล้องของตืดวัวTaenia saginata

T. solium gravid proglottids

ปล้องของตืดหมู Taenia solium


ภาพแสดงส่วนหัวของพยาธิตัวแก่
T. saginata scolex

หัวของตืดวัว มี 4 sucker

T. solium scolex

หัวของตืดหมูมี 4 sucker และ 1hooker


ภาพแสดงความยาวพยาธิตัวแก่
T. saginata adult worm T. saginata adult worm

การรักษา

  • พยาธิที่ฝังตัวในสมองให้ใช้ Praziquantel ขนาด 50 มก./กก/วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • ให้ยา Albendazole ให้ขนาด 15 มก./กก/วัน แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • หากเป็นพยาธิในลำไส้ให้ยา Niclosamide ขนาด 0.5 กรัม ขนาดที่ใช้ให้ 4 เม็ดเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน และให้ยาระบายร่วมด้วย ยาระบายจะให้หลังจากให้ยาฆ่าพยาธิแล้ว

     

การป้องกัน

  • ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ
  • ไม่รับประทานหมูที่มีลักษณะเหมือนจะติดเชื้อพยาธิ
  • ล้างมือหลังออกจากห้องน้ำ ล้างมือก่อนปรุงและรับประทานอาหาร
  • ล้างผักและอาหารสดให้สะอาด
  • ดื่มน้ำต้มสุก

           

guest

Post : 2013-12-06 02:03:05.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  พยาธิตัวจี๊ด

 โรคพยาธิตัวจี๊ด

เกิดจากพยาธิชื่อ Gnathostoma spirigerum

วงจรชีวิต

พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในโพรงของก้อนเนื้องอกที่กระเพาะอาหารของโอสท์ธรรมดาได้แก่ 
หมู แมว สุนัข สัตว์ป่า ไข่พยาธิจะออกมากับอุจาระสัตว์ ไข่จะเจริญเป็นตัวอ่อนในน้ำ  กุ้งไรจะกินตัวอ่อนระยะนี้เข้าไป ตัวอ่อนนี้จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะที่สองในกุ้งไร ปลา กบ งู นก จะกินกุ้งไรแล้วตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่สาม ในสัตว์เหล่านั้น ตัวอ่อนระยะที่3(จะอาศัยในกล้ามเนื้อและมีซีสท์หุ้มเป็น)ระยะติดต่อ เมื่อโฮสท์รับประทานปลาหรือกบ ตัวอ่อนระยะที่3จะเจริญเป็นตัวแก่ในผนังกระเพาะอาหาร

นก งู กบเป็นsecond intermediate host เมื่อกินปลาหรือกบ ตัวอ่อนระยะที่3จะไม่เจริญเติบโตเป็นตัวแก่ 
แต่จะยังเป็นระยะที่3 และยังคงเป็นระยะติดเชื้อ เมื่อคนกินก็จะติดเชื้อได้ คนจะไดรับเชื้อนี้โดยการรับประทานปลาหรือสัตว์น้ำดิบๆเช่น 
ปลาย่าง ส้มฟัก ที่มีตัวอ่อนระยะที่3 หรือดื่มน้ำซึ่งมีกุ้งไร
 

อาการและอาการแสดง

แนวผิวหนังอักเสบจากการไชของพยาธิ

อาการและอาการแสดงจะขึ้นกับว่าพยาธิไชไปที่ไหนก็เกิดอาการที่ตำแหน่งนั้น อาการอาจจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 24 ชั่วโมงอาการแรกจะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้ คลื่นไส้ ลมพิษถ้าเกิดในอวัยวะที่สำคัญก็เกิดอาการได้มาก ถ้าไปในที่ไม่สำคัญอาจจะไม่เกิดอาการเลย

อาการทางผิวหนัง

ที่สำคัญคืออาการบวมเคลื่อนที่ เช่นบวมที่มือแล้วไปที่แขน ไหล่ หน้า ศีรษะ จะบวมๆแดงๆ 3-10 วัน

อาการทางตา

ถ้าพยาธิไชไปที่หนังตาจะทำให้หนังตาบวมจนตาปิด ถ้าเข้าไปในตาอาจจะทำให้ตาบอดได้

อาการในช่องท้อง

อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของช่องท้อง คล้ายไส้ติ่งอักเสบ

อาการทางสมอง

ถ้าพยาธิไชเข้าสมองหรือน้ำไขสันหลังผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ไข้ คอแข็ง ปวดเสียวอย่างมากตามเส้นประสาทซึม หมดสติ

การวินิจฉัย

ยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่นอน นอกจากจะได้ตัวพยาธิที่ไชออกจากผิวหนัง ในทางปฏิบัติจะอาศัย

  • ประวัติการรับประทานอาหารดิบๆ หรือดิบๆสุกๆโดยเฉพาะปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก กบยำ ปลาดุกย่างไม่สุก
  • ลักษณะคลินิกที่มีอาการบวมเคลื่อนที่
  • ตรวจเลือดพบตัว eosinophil
  • ตรวจน้ำไขสันหลังจะพบเซลล์ eosinophil

การรักษา

  • Albendazole 400 มก.วันละ 2 ครั้งให้ 21 วัน
  • Thiabendazole ให้ 50 มก/กก/วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน

                        

guest

Post : 2013-12-06 02:00:04.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคบิดมีตัวอะมีบ้า

 โรคติดเชื้ออะมีบ้า

เชื้อที่เป็นสาเหตุ

เชื้อที่เป็นสาเหตุชื่อ Entamoeba histolytica

โดยมีวงจรชีวิต

Life Cycle of Entamoeba histolytica

Cysts จะขับออกทางอุจาระ  . การติดเชื้อ Entamoeba histolytica โดยการกินซีสตัวแก่ mature cysts   ในอาหาร น้ำ หรือมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรคนี้ เชื้อจะกลายเป็นตัวอ่อน   ในลำไส้และกลายเป็นระยะ trophozoites   ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปยังลำไส้ใหญ่  ตัวเชื้อระยะ trophozoites จะแบ่งตัวโดย binary fission และทำให้เกิด cysts  ซึ่งจะบับออกทางอุจาระ .  เนื่องจากระยะ cyst จะมีเปลือกหุ้มทำให้มันทนทานต่อสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ และสามารถติดต่อสู่คนได้ ส่วนตัวเชื้อระยะ trophozoite เมื่อออกสู่สิ่งแวดล้อมจะตายเร็ว แม้ว่าเรารับประทานเข้าไป กรดในกระเพาะก็จะทำลายตัวเชื้อ เชื้ออาจจะอยู่ในลำไส้โดยที่ไม่เกิดอาการและสามารถแพร่เชื้อออกทางอุจาระ  ( : non-invasive infection) แต่ก็มีผู้ป่วยบางคนที่เชื้อลุกลามเข้าผนังลำไส้ทำให้เกิดลำไส้อักเสบ ( :intestinal disease), และอาจจะทำให้เกิดโรคที่ตับ สมอง และปอด  ( :extra-intestinal disease) 

อาการแสดงของโรค

ผู้ที่ได้รับการติดเชื้ออาจจะไม่มีอาการ หรืออาจจะมีอาการท้องร่วงเนื่องจากลำไส้อักเสบ หรืออาจจะมีการติดเชื้อนอกลำไส้ เช่น ฝีในปอด ช่องท้องอักเสบ ฝีในปอด ผิวหนังและอวัยวะเพศมีรอยโรค

โรคบิดจากเชื้ออะมีบ้าหรือบิดมีตัว

ทางการแพทย์เรียก Amoebic dysentery เป็นการอักเสบของลำไส้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจาระบ่อย อุจาระเป็นมูกเลือด และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ฝีที่ตับ สมอง ปอด และผิวหนัง

การติดต่อโดยการรับประทานหรือดื่มน้ำที่มี cyst ของเชื้ออะมีบ้าซึ่งมี 4 นิวเครียส

อาการและอาการแสดง

ขึ้นอยู่กับว่าเชื้ออะมีบ้าแพร่กระจายไปมากหรือไม่ ความรุนแรงของเชื้อ ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย รวมทั้งกลุ่มเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ อาการที่เกิดจากเชื้ออะมีบ้า

  1. โรคบิดอะมีบ้าชนิดเฉียบพลัน Acute amoebiasis จะเกิดอาการหลังจากได้รับประทาน cyst ไปแล้ว 8-10 วัน จะมีอาการถ่ายอุจาระเหลวๆ แรกจะมีเนื้ออุจาระมาก แต่ระยะหลังจะมีมูกมากและมีเลือดปน มีกลิ่นเหม็นมากเหมือนหัวกุ้งเน่า ปวดท้องมากอยากถ่ายแต่เมื่อถ่ายออกเป็นมูกเลือดเล็กน้อยอาการปวดก็หายไป ไม่นานก็จะเริ่มปวดอีกถ้าหากเชื้อลามไปลำไส้เล็กก็จะมีการถ่ายเป็นน้ำ ไม่มีไข่หรืออาจจะมีไข้ต่ำๆ

     

  2. โรคบิดอะมีบ้าชนิดเรื้อรัง Chronic amoebiasis เป็นผลจากการรักษาชนิดเฉียบพลันที่ไม่ถูกต้องหรือไม่พอที่จะฆ่าเชื้อให้หมด จะมีอาการถ่ายเป็นมูกและเลือดกลับมาใหม่ ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้ามาทำให้อักเสบเพิ่มขึ้น หรืออาจจะเกิดจากรับประทานอาหารผิดแปลกไปเชื้อในลำไส้เปลี่ยนไปจะทำให้เกิดอาการบิดเฉียบพลัน เมื่อตรวจอุจาระจะพบทั้ง trophozoite  และ cyst

     

  3. โรคบิดอะมีบ้าชนิดไม่มีอาการ คนบางคนเมื่อได้รับ cyst เข้าไปแต่ไม่เกิดอาการ หรืออาจจะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรืออาจจะมีอาการท้องเดินแต่ไม่มาก ตรวจอุจาระจะพบไข่หรือ cyst พวกนี้เป็นพาหะของโรค

     

  4. โรคอะมีบิค แกรนูโลมา ( Amoebic granuloma) เป็นพยาธิสภาพที่มีลักษณะเป็นก้อนที่เกิดจากเชื้ออะมีบ้า อาจจะเกิดได้กับทุกแห่งของลำไส้ใหญ่ เพราะฉะนั้นอาการที่มีคืออาการของบิดมีตัวร่วมกับคลำได้ก้อนในท้อง กดเจ็บ บางครั้งอาจจะทำให้คิดว่าเป็นมะเร็ง ก้อนจะยุบลงอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับการรักษา

     

  5. โรคอะมีบ้าที่มีภาวะแทรกซ้อน พบในรายที่เป็นโรคอย่างรุนแรงโรคแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่

     

  • ลำไส้ทะลุ ตกเลือดและไส้ติ่งอักเสบจากเชื้ออะมีบ้า

     

  • เป็นโรคอะมีบ้านอกลำไส้

     

  • มีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นมะเร็ง บิดมีตัว

     

โรคบิดอะมีบ้าที่ตับ

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ได้บ่อยและสำคัญที่สุดของโรคบิดอะมีบ้าในลำไส้ พบในผู้ชายได้บ่อยกว่าผู้หญิงประมาณ7ต่อ1 อายุที่เป็น 30-50 ปี มักจะเป็นกลีบขวาของตับและมีหัวเดียว เชื้อว่าเชื้ออะมีบ้ามาตับโดยทางกระแสเลือด หรือทางหลอดน้ำเหลือง หรือลุกลามจากลำไส้โดยตรง

อาการของฝีในตับผู้ป่วยจะมีไข้ เจ็บชายโครงข้างขวา ถ้าฝีอยู่ใกล้กำบังลมเวลาหายใจจะทำให้เจ็บมากขึ้น ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะทุโภชนาการ

โรคแทรกซ้อนของฝีในตับ

  • ฝีแตกอาจจะแตกเข้าท้องเกิดช่องท้องอักเสบ ทำให้ปวดท้องและไข้สูง หากแตกเข้าในปอดทำให้มีหนองที่ช่องเยื่อหุ้มปอดหรืออาจจะลามเข้าหัวใจ

     

  • เกิดน้ำในช่อเยื่อหุ้มปอด การจะหนองและน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดทำได้โดยการเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด

     

การวินิจฉัย

E. histolytica/dispar trophozoite

เซลล์ระยะ trophozoite

E. histolytica trophozoite with ingested erythrocytes

เซลล์ระยะ trophozoite กินเม็ดเลือดแดง

E. histolytica/dispar cyst

cyst ที่ตรวจพบในอุจาระ

การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการตรวจพบเชื้ออะมีบ้าโดยการตรวจพบ cyst และ trophozoite ในอุจาระซึ่งสามารถตรวจได้จาก

  • อุจาระสดโดยการส่องกล้องดูอุจาระ หรือย้อมสี
  • นำอุจาระมาปั่นแล้วดูสดหรือย้อมสี

การตรวจทางรังสี

หากเป็นฝีที่ปอดหรือหนองในช่องเยื่อหุ้มปอดเมื่อ x-ray ปอดจะพบว่ามีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ส่วนฝีในตับเมื่อทำ ultrasound จะพบก้อนในตับ

การตรวจทางภูมิคุ้มกัน

  • การตรวจภูมิคุ้ม(Antibody)กันต่อเชื้ออะมีบ้าสามารถกระทำได้โดยการตรวจวิธี indirect hemagglutination (IHA), enzyme immunoassay (EIA), and immunodiffusion (ID) การตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อะมีบ้าจะมีประโยชน์ในการติดเชื้อนอกลำไส้ เพาะเราไม่สามารถตรวจหาตัวเชื้อจากการตรวจอุจาระ การตรวจด้วยวิธี IHA จะให้ผลบวกเมื่อระดับภูมิมากกว่า 1 ต่อ 256 พบว่าการติดเชื้อนอกลำไส้จะให้ผลบวก 95% การติดเชื้อที่ลำไส้จะให้ผลบวก 70% สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการจะให้ผลบวก 10 % หลังการรักษาผลบวกนี้จะคงอยู่เป็นปี ดังนั้นจะอาศัยผลการตรวจหาภูมิอย่างเดียวอาจจะไม่แม่นยำ
  • เป็นการตรวจหา Antigen โดยมากมักจะใช้ร่วมกับการตรวจพบตัวเชื้อเพื่อแยกว่าเชื้อที่ตรวจพบเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคหรือไม่

การรักษา

 ยาที่นิยมใช้ได้แก่

  • Metronidazole ขนาดที่ใช้ 400-800 มก. วันละ 3 ครั้งนาน 5 วัน
  • Tetracyclin หรือ erythromycin 1 กรัมต่อวันเป็นเวลา 10 วัน

guest

Post : 2013-12-05 21:32:33.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคพยาธิเส้นด้าย

 โรคพยาธิไส้เดือนตัวกลม Ascaris

เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคคือ Ascaris lumbricoides เป็นพยาธิตัวกลมมีขนาดใหญ่ ตัวผู้จะมีความยาว 15-30 ซม ตัวเมียจะมีความยาว 25-35 ซมตัวเมียจะออกไข่วันละประมาณ 200000 ฟองทำให้ง่ายต่อการตรวจอุจาระหาไข่พยาธิ

วงจรชีวิตของพยาธิ

Life cycle of Ascaris lumbricoides

พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก แย่งอาหารที่ย่อยแล้วในลำไส้กิน ตัวแก่มีอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี    มีสองเพศคือตัวผู้และตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่วันละประมาณ 200,000 ฟอง ไข่จะออกมาพร้อมกับอุจาระ   ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะไม่สามารถติดต่อ ไข่ที่ผสมแล้วจะเจริญเป็นตัวอ่อนในเวลา 10-21 วัน เมื่อคนกินในระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อ   , depending on the environmental conditions (optimum: moist, warm, shaded soil).  เมื่อตัวอ่อนถูกกิน  , ตัวอ่อนจะไชทะลุผนังลำไส้  , ไปตามหลอดเลือดดำที่ไปเลี้ยงตับ เข้าสู่ปอด .  ตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวแก่ในปอดโดยใช้เวลาประมาณ10 ถึง 14 วัน ตัวแก่จะไชผ่านผนังของถุงลม เข้าหลอดลม เข้าคอ และถูกกลืน   เชื้อจะเจริญเป็นตัวแก่   ที่ลำไส้เล็ก.  ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งโตเป็นตัวแก่ใช้เวลา 2-3 เดือน ตัวแก่สามารถมีอายุ 1-2 ปี

โรคพยาธิไส้เดือนตัวกลมจะแพร่กระจายในภาคใต้มากกว่าภาคอื่นเนื่องจากเขตภาคใต้มีความชุ่มชื้นตลอดปี อากาศก็ไม่ร้อน โรคมักจะเป็นในเด็กเพราะเด็กมักจะกิน หรือเล่นบนพื้นดิน

คนจะได้รับพยาธินี้อย่างไร

โรคนี้มักจะเกิดกับเด็กนำเอามือที่ปนเปื้อนดินและมีไข่พยาธิเข้าปาก

อาการของโรค

อาการของโรคพยาธิไส้เดือนแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ

  1. อาการเกิดจากพยาธิตัวอ่อนกำลังเดินทาง ขณะที่ตัวอ่อนกำลังเดินทางจากลำไส้ไปปอดอาจจะทำให้เกิดไข้ ไอ หายใจแน่ หอบเหนื่อย เสมหะอาจจะมีเลือดปน อาจจะมีพยาธิตัวอ่อนออกมาด้วย บางคนอาจจะเกิดลมพิษอาการเหล่านี้มักจะเกิดภายหลังจากไดรับไข่พยาธิ 4-16 วัน
  2. อาการเกิดจากตัวแก่ เนื่องจากพยาธิตัวแก่จะแย่งอาหารเด็กอาจจะขาดอาหาร อาจจะมีลมพิษ หากมีพยาธิเป็นจำนวนมากอาจจะเกาะกันเป็นก้อนทำให้อุดทางเดินลำไส้หรือทางเดินน้ำดีทำให้เกิดอาการดีซ่าน
  • ปวดท้องเนื่องจากพยาธิอุดลำไส้
  • เสียดท้อง คลื่นไส้อาเจียน
  • ตับอ่อนอักเสบ เนื่องจากพยาธิไช
  • ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ไส้ติ่งอักเสบ

ผู้ป่วยที่เป็นพยาธิไส้เดือนเวลามีไข้มักจะปวดท้องเนื่องจากพยาธิจะดิ้นเพราะมันทนต่อความร้อนไม่ได้

การวินิจฉัย

  1. ตรวจพบตัวแก่ออกมาในอุจาระหรือในสิ่งที่อาเจียน
  2. ตรวจอุจาระพบไข่พยาธิ
<> A. lumbricoides fertilized egg

<>ไข่พยาธิ

<> A. lumbricoides adult female worm

<>พยาธิตัวแก่

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินเพราะจะทำให้มือสัมผัสกับไข่พยาธิ
  • ให้ถ่ายอุจาระให้ห้องน้ำ ไม่ถ่ายอุจาระลงบนดิน
  • กำจัดผ้าอ้อมอย่างเหมาะสม
  • ล้างมือด้วยสบู่ก่อนรับประทานและเตรียมอาหาร
  • หากไปเที่ยวประเทศที่มีระบบสาธารณะสุขไม่ดีต้องระวังน้ำเดิมและอาหารว่าอาจจะปนเปื้อนไข่พยาธิ
  • ล้างผักและผลไม้ก่อนที่จะนำไปปรุงหรือรับประทานอาหาร

การรักษา

  1. Mebendazole ขนาด 100 มก.รับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน
  2. Albendazole ขนาด 400 มก.รับประทานครั้งเดียว หากไม่หาย(ยังตรวจพบไข่พยาธิ)ให้ซ้ำอีกครั้งใน 3 สัปดาห์
  3. Piperazine citrateยานี้เหมาะสำหรับรายที่สงสัยว่าพยาธิจะไปอุดลำไส้หรือท่อน้ำดี เพราะยาจะทำให้กล้ามเนื้อของพยาธิอ่อนแรงขนาดที่ใช้ 305 กรัมวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 2 วัน

 

guest

Post : 2013-12-05 21:30:36.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคพยาธิใบไม้ในตับ

 พยาธิใบไม้ในตับ

พยาธิใบไม้ในตับที่สำคัญมียู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ

  • Clomorchis sinensis พบมากในประเทศจีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง และเวียดนาม
  • Opisthorchis felineus พบมากในประเทศทางภาคพื้นยุโรปตอนกลาง ตอนใต้ และทางตะวันออกของยุโรป รวมทั้งประเทศรัสเซีย
  • Opisthorchis  viverini พบมากในประเทศไทย ลาวและกัมพพูชา

สำหรับประเทศไทย Opisthorchis  viverini เป็นพยาธิใบไม้ที่สำคัญและทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับโดยตัวแก่อาศัยอยู่ในท่อน้ำดี พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยพบว่าคนเป็นโรคนี้สูงถึง 72-87%

วงจรชีวิต

Life cycle of Opistorchis spp.

พยาธิตัวแก่จะอาศัยในท่อน้ำดีของ คน แมวและสุนัขซึ่งเป็นโอสท์เฉพาะ พยาธิอาจจะอาศัยในถุงน้ำดี หรือท่อของตับอ่อน ไข่จะปนออกมากับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้เล็กและออกมาพร้อมกับอุจาระ  . ถ้าถ่ายอุจาระลงในน้ำพวกหอยซึ่งเป็นโฮสท์กลางที่หนึ่ง (first intermediate host)   จะกินไข่พยาธิ ภายในตัวหอยไข่จะฟักตัวเป็นตัวอ่อน miracidia  , ซึ่งจะเจริญอีกหลายขั้นตอน (sporocysts  , rediae  , cercariae  )ตามลำดับ  Cercariae จะออกจากหอย   และเข้าสู่ปลาน้ำจืดได้แกปลา แม่สะเด้ง ปลาตะเพียนขาว ปลาสร้อยนกเขา ปลาสูตร และปลากะมัง(second intermediate host), และเจริญเป็น metacercariae ในเนื้อปลา   ซึ่งเป็นระยะติดต่อเมื่อคนหรืสัตว์ที่เป็นโฮสท์เฉพาะรับประทานปลาดิบๆสุกๆ เช่น ก้อยปลา    metacercariae จะออกจาก cyst เข้าสู่ลำไส้เล็ก   และเคลื่อนที่เข้า ampulla of Vater สู่ท่อนน้ำดี และจะเจริญเป็นตัวแก่ และออกไข่ใน 3-4 สัปดาห์   .

ปลาผิวใบไผ่

ปลาสร้อยขวา

ปลากะมัง

ปลาตะเพียนขาว

กระสูบจุด

อาการ

ผู้ป่วยมีอาการแตกต่างกันได้ 4 แบบ

  • ไม่มีอาการเลย เรารู้โดยการตรวจอุจาระพบไข่พยาธิในอุจาระ
  • มีอาการอย่างอ่อน ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง จุกเสียด รู้สึกไม่ค่อยสบาย โดยเฉพาะบริเวณชายโครงขวา
  • มีอาการแรงปายกลาง ผู้ป่วยมีการอักเสบของท่อน้ำดีร่วมด้วย อาจจะเป็นๆหายๆ หรือเป็นติดต่อกันเรื่อยๆ ผู้ป่วยเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน แน่บริเวณลิ่มปี่ ท้องเดิน ตับโต
  • มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยพวกนี้จะมรอาการรุนแรง มีโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นท่อน้ำดีอักเสบเป็นๆหายๆไข้สูง เบื่ออาหาร มีอาการเหลืองปานกลาง ตับโตกดเจ็บ ถ้ามีตับแข็งอาจจะมีม้ามโต

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคจะต้องอาศัยประวัติถิ่นที่อยู่ ลักษณะการรับประทานอาหาร และอาการเจ็บป่วย หากภูมิลำเนามาจากอีสาน และชอบรับประทานอาหารสุกๆดิบๆก็ให้สงสัยไว้ก่อน

ภาพแสดงตัวแก่

ภาพแสดงตัวแก่ย้อมสี

การตรวจอุจาระก็จะตรวจพบไข่ของพยาธิ หากมีโรคแทรกซ้อนที่ตับอาจจะต้องตรวจโดยการส่องกล้องเข้าช่องท้องหรือการฉีดสีเข้าท่อน้ำดี

ภาพแสดงไข่ของพยาธิที่ตรวจจากอุจาระ


ระยะ cercaria ที่ออกจากหอย

metacercaria ที่อยู่ในเนื้อปลา

การรักษา

ใช้ยา Praziquantel ขนาด 25 มก./กก/วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้งเป็นเวลาหนึ่งวัน

การป้องกัน

  • ไม่รับประทานปลาดิบๆหรือสุกๆดิบๆ
  • ถ่ายอุจาระให้ใช้ส้วม ไม่ถ่ายเรี่ยราดหรือถ่ายลงน้ำ
  • ทำลายหอยที่เป็นโฮสท์กึ่งกลาง

                     

guest

Post : 2013-12-05 21:28:01.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเท้าช้าง

 โรคเท้าช้าง elephantiasis

โรคเท้าช้างหรือที่เรียกว่า Lymphatic Filariasis หรือ elephantiasis พบมากในเขตร้อนและชิดเขตร้อน(subtropic)ได้แก่ อินเดีย ยุงพาหะนำโรคพม่า มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี อัฟริกาสำหรับประเทศไทยพบได้แถบภาคใต้ ชายแดนใกล้พม่า ทั่วโลกมีคนที่ติดเชื้อประมาณ 120 ล้านคน และมีความพิการประมาณ 40 ล้านคน พบว่า ผู้ป่วยประมาณ1ใน3อยู่ในประเทศอินเดีย อีก1ใน3อยู่ในอัฟริกา ที่เหลืออยู่ในเอเชีย

โรคนี้เกิดจาดพยาธิตัวกลมที่พบบ่อยคือเชื้อ Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi ซึ่งอาศัยอยู่ในคนเท่านั้น เชื้อจะเข้าท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนได้ 4-6 ปีและออกลูกออกหลานเป็นล้านตัวเข้ากระแสเลือด ยุงกัดคนที่เป็นและรับเชื้อไป เมื่อไปกัดคนอื่นจะปล่อยเชื้อสู่คนอื่น

อาการที่สำคัญคือมีอาการบวมของอวัยวะที่พบได้บ่อยคือ ขา แขน อวัยวะเพศ

วงจรชีวิตของพยาธิ

ยุงที่เป็นพาหะของโรคมีได้หลายชนิดได้แก่ Culex (C. annulirostris, C. bitaeniorhynchus, C. quinquefasciatus, and C. pipiens); Anopheles (A. arabinensis, A. bancroftii, A. farauti, A. funestus, A. gambiae, A. koliensis, A. melas, A. merus, A. punctulatus and A. wellcomei); Aedes (A. aegypti, A. aquasalis, A. bellator, A. cooki, A. darlingi, A. kochi, A. polynesiensis, A. pseudoscutellaris, A. rotumae, A. scapularis, and A. vigilax); Mansonia (M. pseudotitillans, M. uniformis); Coquillettidia (C. juxtamansonia) ระหว่างที่ยุงดูดเลือด ยุงจะปล่อยพยาธิระยะติดต่อคือระยะที่3เข้าสู่ผิวหนังของคน เชื้อพยาธิจะไชจากแผล   พยาธิจะเจริญเติบโตในระบบน้ำเหลือง    ตัวเมียจะมีความยาว  80 ถึง 100 mm และมีความอ้วน 0.24 ถึง 0.30 mm ตัวผู้จะยาว 40 mm อ้วน .1 m เมื่อตัวผู้ผสมกับตัวเมียจะทำให้เกิด microfilariae ขนาด 244 ถึง 296 μm อ้วน 7.5 ถึง 10 μm และอยู่ในปลอก เชื้อจะออกกระแสเลือดในเวลากลางคืน   . ยุงดูดเลือดที่มีเชื้อเข้าไป   . เมื่อเชื้อเข้าไปในยุง จะสลัดปลอดหุ้นและไปอยู่ที่กระเพาะอาหารของยุง  .  จะมีการเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่หนึ่ง first-stage larvae   และเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่3ซึ่งเป็นระยะติดต่อ third-stage infective larvae  . ตัวอ่อนในระยะติดต่อจะไปที่ต่อมน้ำลายของยุง mosquito's prosbocis   เมื่อยุงกัดคนก็จะฉีดเชื้อไปสู่คน .

กลไกการเกิดโรค

พยาธิสภาพเกิดจากการที่เชื้อทำลายระบบไหลเวียนของท่อน้ำเหลือง ร่วมกับปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกัน และโรคแทรกซ้อน เช่นการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย เมื่อตรวจด้วย ultrasonography พบว่ามีการโป่งพองของท่อน้ำเหลืองอย่างมากมายรอบตัวแก่กลไกที่สำคัญคือ

  • การเกิดโรคเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ เมื่อตัวเชื้อโรคตายก็เกิดภูมิต่อตัวเชื้อทำให้มีการอักเสบของท่อน้ำดี และเกิดการอุดตันของท่อน้ำดี
  • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ทำให้อาการเป็นมากขึ้น

อาการของโรคเท้าช้าง

อาการของโรคแบ่งได้เป็น อาการเฉียบพลัน อาการโรคเรื้อรัง และไม่มีอาการ

อาการเฉียบพลัน

ผู้ป่วยมีไข้ เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง (lymphangitis และ lymphadenitis) โดยมากตรวจพบเชื้อในท่อน้ำเหลืองหรือต่อมน้ำเหลืองของอวัยวะต่างๆที่สำคัญได้แก่ บริเวณขา ช่องท้องด้านหลัง ท่อนำเชื้ออสุจิ(spermatic cord) แหล่งพักน้ำเชื้อ(epididymis) และเต้านม เป็นต้น โดยเฉพาะที่ท่อนำเชื้ออสุจิพบตัวอ่อนพยาธิบ่อยและมากที่สุดโดยเฉพาะชนิด W.bancrofti ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการลมพิษ (urticaria) ร่วมด้วย ตรวจเลือดพบ eosinophils สูงพร้อมกับพบตัวอ่อน (microfilariae) ผิวหนังตรงตำแหน่งที่หลอดน้ำเหลืองอุดตันเหล่านั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงคือ เกิดบวมแข็ง ผื่นแดง หลอดน้ำเหลืองจะโป่งมีน้ำเหลืองคั่งอยู่ คลำได้เป็นก้อนขรุขระ

อาการโรคเรื้อรัง

มักจะมีอาการบวมโดยเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti ตำแหน่งที่เชื้อพยาธิตัวแก่ชอบอาศัยคือบริเวณอัณฑะทำให้เกิดถุงน้ำในท่อนำเชื้ออสุจิ และหากเป็นมากจะเกิดอาการบวมของอัณฑะ

ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองโต คลำดูแข็งเหมือนยาง ส่วนมากเกิด hydrocoele และ elephantiasis (โรคเท้าช้าง) เนื่องจากตัวแก่ของพยาธิตาย ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลือง เป็นผลทำให้เกิดการอุดตันของต่อมน้ำเหลืองต่างๆ เช่น ถ้าเกิดบริเวณกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดปัสสาวะปนน้ำเหลือง (chyluria) หรืออุดตันบริเวณช่องท้องทำให้เกิดน้ำในช่องท้อง ชนิด chyloperitoneum และตามแขนขาทำให้เกิด elephantiasis

ในรายที่เกิด elephantiasis พบว่าร้อยละ 95 จะเป็นที่ขากับอวัยวะเพศ บริเวณที่พบน้อยรองลงไป ได้แก่ที่แขนและเต้านม สำหรับชนิด Brugia malayi ทำให้เกิดโรคเท้าช้างของ ขา เป็นส่วนใหญ่ อาจเกิดที่แขนร่วมด้วยบ้าง ไม่พบเป็นที่อวัยวะเพศและเต้านม ซึ่งผิดจากชนิด Wuchereria bancrofti พบได้หลายแห่ง ส่วนมากพบเป็นแถวอวัยวะเพศ และผู้ป่วยที่เป็นโรคเท้าช้างมักตรวจพบตัวพยาธิในเลือดน้อยหรือไม่พบเลย นอกจากนี้ยังพบว่า ชนิด Brugia malayi พบในเด็กเล็กได้บ่อยกว่า ชนิด Wuchereria bancrofti

นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางรายยังพบอาการของตุ่มแดงที่ใต้ผิวหนัง ตุ่มนี้จะปวดเจ็บ เนื่องจากมีพยาธิที่ตายฝังอยู่ใต้ผิวหนัง

ภาพทั้งสามแสดงอวัยวะที่บวมที่พบบ่อยคือบริเวณอวัยวะเพศ แขน ขา

ไม่มีอาการ

กลุ่มที่ไม่มีอาการจะแบ่งออกเป็น 2 พวกได้แก่

  • ตรวจพบพยาธิในกระแสเลือดแต่ไม่มีอาการ พวกนี้มักจะมีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน
  • ไม่พบตัวพยาธิแต่ตรวจพบ Circulating filarial antigen (CFA)ในเลือด เมื่อให้ยารักษาระดับ Circulating filarial antigen (CFA) จะลดลง

การวินิจฉัย

การตรวจด้วย X-Ray ธรรมดาไม่ช่วยในการวินิจฉัย นอกจากจะเป็นโรค tropical eosinophilia ซึ่งจะพบรอยโรคในปอด การตรวจด้วย Ultrasound อาจจะพบว่าเชื้อตัวแก่กำลังว่ายในน้ำเหลืองน้ำ

  • การตรวจหาตัวเชื้อพยาธิจาก เลือด น้ำเหลือง โดยการเจาะเลือดเวลา 22.00-02.00 น นำมาย้อมด้วยวิธีพิเศษ Giemsa
  • การย้อมตัวเชื้อโดยการกรองเลือดก่อน
  • การตรวจหาCirculating filarial antigen (CFA) เป็นวิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจ ซึ่งมีเฉพาะเชื้อ Wuchereria bancrofti
ภาพแสดงตัวเชื้อจากการตรวจเลือด

การรักษา

การรักษามุ่งเน้นที่การป้องกันมิให้เชื้อติดต่อไปสู่บุคคลอื่นโดยการรับยาเพื่อลดปริมาณเชื้อพยาธิให้น้อย จนไม่สามารถติดต่อไปสู่คนอื่น การใช้ยารักษาอาจจะใช้ยาชนิดเดียวหรืออาจจะใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันก็ได้เท่าที่มีรายงานการใช้ยารักษามีดังนี้

  • ให้ยาปีละครั้งโดยอาจจะให้ยา 1 หรือสองชนิด ivermectin(150-200 mg/kg PO as single dose; may repeat q2-3mo, diethylcarbamazine(DEC) and albendazole)ให้ยา DEC (6 mg/kg per day) เป็นเวลา 12 วันสำหรับเชื้อ bancroftian filariasis และให้ยาเป็นเวลา 6 วันสำหรับเชื้อ brugian filariasis. แต่ก็มีคำแนะนำให้ยาชุดเดียวกันปีละ 2 ครั้ง นอกจากนั้นยังมีคำแนะนำให้ยา DEC (ขนาด 6-8 mg/kg per day) เป็นเวลา 2 วันทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี
  • สำหรับ Albendazole แนะนำให้ติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์

การดูแลส่วนที่บวม

  • ล้างส่วนที่บวมด้วยน้ำและสบู่วันละ 2 ครั้ง
  • ยกอวัยวะส่วนนั้นในเวลานอน
  • ให้ออกกำลังส่วนที่บวมเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • ตัดเล็บให้สั้น
  • สวมรองเท้า
  • หากมีแผลเล็กน้อยให้ทาด้วยยาปฏิชีวนะ

สำหรับผู้ที่มีนำเหลืองไหลก็ให้รับประทานอาหารที่มีน้ำมากและมีสารอาหารสูง

การป้องกัน

การป้องกันที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดและการรักษาผู้ที่ติดเชื้อ การป้องกันโดยการลดจำนวนยุงยุงจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เนื่องจากเชื้อจะมีอายุนาน 4-6 ปีดังนั้นการควบคุมยุงต้องทำนานและต่อเนื่องมากกว่า 6 ปี ปัจจุบันได้มีการใช้ยา 2 ชนิดมาใช้คือ  albendazole และ ivermectin หรือ diethylcarbamazine [DEC] โดยรับประทานวันละครั้ง

สำหรับการป้องกันส่วนบุคคลทำได้โดยการป้องกันยุงไม่ให้กัดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น มุ้ง ยาทากันยุง และยังมีการศึกษาว่าหากใช้ยา DEC (6 mg/kg per day x 2 days each month)สามารถป้องกันการติดเชื้อ

  • ทำลายยุงและแหล่งลูกน้ำ
  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัน มุ้ง ยาทากันยุง
  • ให้รีบรักษาผู้ที่เป็นโรคนี

guest

Post : 2013-12-05 21:25:02.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  พยาธิ์แส้ม้า

 โรคพยาธิแส้ม้า

เป็นโรคหนอนพยาธิที่มีสาเหตุจาก Trichuris trichiura ตัวพยาธิมีลักษณะคล้ายแส้จึงเรียกว่า human whip worm

วงจรชีวิติของพยาธแส้ม้า

Life cycle of Trichuris trichura

พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะส่วนซีคั่ม ยาธิตัวเมียจะออกไข่วันละ 3000-7000 ฟอง ไข่จะออกมากับอุจาระ ลงสู่พื้นดิน เมื่ออุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ไข่จะเจริญเติบโตเป็นระยะ 2 เซลล์   และจะกลายเป็นตัวอ่อน( advanced cleavage stage)   และจะกลายเป็นตัวอ่อนในระยะติดต่อ   ๙งใช้เวลาทั้งหมด 15-30 วัน  หลังจากที่คนรับประทานไข่เข้าไป ไข่จะแตกเป็นตัวอ่อนที่ลำไส้เล็ก และตัวอ่อนจะเจริญเติบโต   และจะกลายเป็นตัวอ่อนที่ลำไส้ใหญ่   โดยใช้ส่วนหัวและลำตัวฝังที่ผนังลำไส้ใหญ่ ตัวแก่จะมีความยาวประมาณ 4 เซ็นติเมตร ตัวเมียจะเริ่มวางไข่หลังจากรับประทาน 60-70 วัน ตัวพยาธิจะมีอายุประมาณ 1 ปี

เขตปรากฏโรค

พบได้ทั่วโลก ในประเทศไทยมีมากทางภาคใต้ ส่วนภาคอื่นๆมีบ้างแต่ไม่มาก และจะพบมากในเด็ก

อาการของโรค

ถ้ามีพยาธิน้อยอาจจะไม่เกิดอาการ แต่ถ้ามีพยาธิมากอาจจะเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรืออุจาระเป็นมูกเลือด ซีดอ่อนเพลีย ทั้งนี้เพราะพยาธิจะทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ และเกิดติดเชื้อแบคทีเรีย

การวินิจฉัย

ตรวจอุจาระไข่และตัวแก่ในอุจาระ

 

ไข่จะมี plug ที่ขั้วทางปลายทั้งสองข้างมีเปลือกสีน้ำตาล
T. trichiura egg T. trichiura egg

การรักษา

  • ใช้ยา Thiabendazole ขนาด 25 มก/กกหลังอาหาร เช้าเย็นเป็นเวลา 3วัน
  • Mebendazoleขนาด 100 มกเช้าเย็นเป็นเวลา 3 วัน

การป้องกัน

  • ควรถ่ายอุจาระลงส้วม
  • ไม่ควรรับประทานผักสดที่ล้างไม่สะอาด
  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร

guest

Post : 2013-12-05 21:12:12.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคไทรอยด์

 โรคต่อมไทรอยด์

Thyroid disease1

หน้าที่ของต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมขนาดเล็กที่มีรูปร่างเหมือนผีเสื้ ออยู่ที่คอใต้ลูกกระเดือกมีขนาดยาว4 ซม.กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก

ปกติต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์ดมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ Tetraiodothyronine( thyroxin หรือ T4) และ Triiodothyronine(T3) โดยฮอร์โมนนี้จะมีฐาตุไอโอดินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยไปเรียก Hypothyroid ร่างกายจะเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าฮอร์โมนหลั่งมากร่างกายจะเผาผลาญมากทำให้น้ำหนักลดเรียกHyperthyroid

การวินิจฉัย

  1. การตรวจเลือดหาระดับไทรอยด์ฮอร์โมน ต่อมใต้สมอง Pituitary gland จะสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า Thyroid stimulating hormone TSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน thyroxin หรือ T4 และ T3 เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร
  • หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก Hyperthyroid ตรวจเลือดจะพบว่า T4 และ T3 สูงแต่ TSH ต่ำ
  • หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก Hypothyroid ตรวจเลือดจะพบว่า T4 และ T3 ต่ำแต่ TSH สูง
  1. Thyroid scan คือการตรวจต่อมไทรอยด์โดยการให้ผู้ป่วยรับประทานเกลือ iodine ที่อาบรังสี หลังจากนั้นนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจ ประโบชน์ของ Thyroid scan คือ
  • บอกว่าต่อมไทรอยด์มีการอักเสบหรือไม่ Thyroiditis
  • บอกว่าต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้นหรือไม่
  • แยกก้อนที่ต่อมไทรอยด์ว่าเป็นHot nodule หรือ Cold nodule

Hot nodule หมายถึงก้อนที่ต่อมไทรอยด์ที่มีการสร้างฮอร์โมนสูง มักจะไม่เป็นมะเร็ง ส่วนCold nodule มีโอกาศเป็นมะเร็งร้อยละ 5 มะเร็งต่อมไทรอยด์ส่วนใหญ่เป็น Cold nodule

 

  1. Needle aspirate เป็นการใช้เข็มเจาะเนื้อไทรอยด์และดูดเอาเนื้อไทรอยด์ส่งตรวจทางกล้องจุลทัศน์เพื่อตรวจชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็ง หรือคอพอกเป็นพิษ หรือเป็นซีต

     

  2. การตรวจ ultrsound เพื่อตรวจดูว่าก้อนไทรอยด์นั้นเป็นก้อนเนื้อ หรือเป็น cyst

โรคของต่อมไทรอยด์

  • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยไปเรียก Hypothyroid
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากไปเรียก Hyperthyroid
  • ต่อมไทรอยด์เป็นพิษร่วมกับตาโปนเรียก Graves'disease
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบ Hashimoto's Thyroiditis
  • ก้อนที่ต่อมไทรอยด์เรียก Thyroid Nodules
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์ Thyroid cancer

   

 

guest

Post : 2013-12-05 21:08:27.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(Erectile dysfunction,Impotence)

การหย่อนสมรรถภาพทางเพศหมายถึงภาวะที่อวัยวะเพศ ไม่สามารถแข็งตัวได้อย่างเพียงพอ ที่จะมีเพศสัมพันธ์ บางคนอาจจะไม่แข็งตัว บางคนอาจจะหลั่งเร็ว บางคนอาจจะมีอาการปวดเวลาหลั่ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศไม่พอ อุบัติการณ์จะพบมากตามอายุกล่าวคือพบได้ร้อยละ 5 ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 40-70 ปีจะพบได้ร้อยละ 37.5โรคนี้สามารถรักษาได้หากพบปัญหาและรีบรักษา ผู้ที่มีปัญหานี้ไม่ต้องกังวลเพราะส่วนมากเป็นแค่ชั่วคราว หากเป็นถาวรแสดงว่าอาจจะมีปัญหาทางด้านจิตใจหรือทางร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศสัมพันธ์คือ การแข็งตัวอาจจะต้องใช้เวลานานขึ้น และไม่แข็งเหมือนตอนหนุ่มๆ นอกจากนั้นอาจจะต้องใช้สิ่งเร้ามากกว่าปกติ เมื่อถึงจุดสุดยอดก็ไม่เหมือนเก่า น้ำอสุจิก็น้อยกว่าเก่า ภาวะนี้จะไม่ได้หมายถึงภาวะที่ความต้องการทางเพศลดลงหรือภาวะมีปัญหาในการหลั่ง

โครงสร้างของอวัยวะเพศ

อวัยวะเพศของผู้ชายประกอบไปด้วยท่อสามท่อเหมือนพองน้ำเรียกว่า corpus carvernosum สองท่อวิ่งขนานกับท่อปัสสาวะ อยู่ด้านบน และ corpus spongiosum 1 ท่อวิ่งอยู่ด้านล่าง เมื่ออ่อนตัวความยาวอยู่ประมาณ 8.8 ซม.เมื่อได้รับการกระตุ้นเลือดจะเข้าท่อฟองน้ำทำให้มันสามารถขยายได้มากถึง 7 เท่าทำให้อวัยวะเพศใหญ่ขึ้นและแข็งตัวขึ้นและมีความยาว 12.9 ซม.ตราบเท่าที่ยังมีการตื่นเต้นทางเพศอวัยวะเพศก็ยังแข็งตัว แต่เมื่อมีการหลั่งเลือดออกจากอวัยวะเพศทำให้มีการอ่อนตัว

กลไกการแข็งตัวของอวัยวะเพศ

การที่อวัยวะเพศจะแข็งตัวได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

  • หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศต้องไม่ตีบ เพราะการที่อวัยวะเพศจะแข็งตัวต้องมีเลือดไปคั่ง หากมีหลอดเลือดแดงแข็งเลือดก็ไม่สามารถไปเลี้ยงได้อย่างเต็มที่ ภาวะที่ทำให้หลอดเลือดแข็งได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ระบบประสาทส่วนปลายซึ่งเป็นระบบที่จะรับความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสทางร่างกาย
  • ระบบไขสันหลังซึ่งเป็นระบบที่จะเชื่อมโยงการรับความรู้สึกจากประสาทส่วนปลายไปยังประสาทส่วนกลาง และถ่ายทอดคำสั่งมายังองคชาติ
  • ระบบประสาทส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยสิ่งเร้าทั้งหลาย เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น รวมทั้งจิตนาการณ์และประสบการณ์ในอดีต
  • จิตก็เป็นเรื่องสำคัญ

ใครที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้

สาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมักจะมีหลายสาเหตุร่วมกัน หากมีหลายสาเหตุก็จะทำให้มีโอกาศเกิดมากขึ้น ปัจจัยที่เป็นสาเหตุได้แก่

  1. อายุ พบว่าอายุมากก็พบโรคนี้ได้เพิ่มขึ้นโดยพบว่าผู้ที่มีอายุ 40-49,50-59,60-70 ปีจะพบ ED ได้ร้อยละ 20.4,46.3,73.4 ตามลำดับ
  2. สังคมและเศรษฐกิจพบว่าผู้ที่มีรายได้สูง มีความรู้ อาชีพที่ดีจะมีปัญหา ED น้อยกว่าคนที่มีรายได้น้อย
  3. โรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง โรคประจำตัวต้องเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นมานานพอควรเป็นโรคที่มีผลต่อหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ กล้ามเนื้อบริเวณอวัยวะเพศสามารถทำให้โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เช่นโรคเบาหวาน โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง atherosclerosis โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในกลุ่มนี้พบได้ร้อยละ 70 โรคที่สำคัญได้แก่
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะจะทำให้มีการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศน้อยลง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวานมักจะเกิดหลังจากเป็นเบาหวานแล้วประมาณ 10 ปีซึ่งมีสาเหตุสำคัญคือ เส้นเลือดแข็ง ระบบประสาทอัตโนมัติ
  • โรคต่อมลูกหมากโต
  1. การผ่าตัดและอุบัติเหตุที่มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปควบคุมการแข็งตัวขององคชาต เช่นการผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน การผ่าตัดต่อมลูกหมาก การได้รับอุบัติเหตุที่อวัยวะเพศ ประสาทไขสันหลัง กระเพาะปัสสาวะ กระดูกเชิงกราน อาจจะทำลายเส้นประสาททำให้เกิดกามตายด้าน การผ่าตัดผ่านทางท่อปัสสาวะ
  2. จากยาที่รับประทาน ยาหลายชนิดอาจจะทำให้ความต้องการทางเพศลดลง บางชนิดอาจจะทำให้เกิดกามตายด้าน
  3. พฤติกรรมการดำรงชีวิตได้แก่
  • การสูบบุหรี่ คนที่สูบบุหรี่จะมีการเกิด ED สูงกว่าคนไม่สูบโดยพบได้ร้อยละ 45 คนปกติพบได้ร้อยละ 35
  • การดื่มสุรา คนที่ดื่มสุราจะมี RD ร้อยละ 54 ซึ่งคนปกติพบได้ร้อยละ 28
  • การออกกำลังกายผู้ที่ออกกำลังจะพบได้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
  1. ED ที่เกิดจากจิตใจพบได้ประมาณร้อยละ 10-20 ของผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ภาวะดังกล่าวอาจจะเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวลเกี่ยวกับงาน ครอบครัว ความกลัวความล้มเหลวทางเพศสัมพันธ์ หรือถูกตำหนิจากคู่ครองทำให้หมดความมั่นใจ

อาการของผู้ป่วย

อาการของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเพศมักจะมีอาการดังนี้

    • ไม่สามารถแข็งตัวได้ตลอดการมีเพศสัมพันธ์
    • อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเต็มที่
    • ไม่สามารถแข็งตัวเลย

หากคุณมีอาการดังกล่าวนานเกิน 2 เดือนหรืออาการเกิดซ้ำควรปรึกษาแพทย์

สาเหตุของกามตายด้าน

การแข็งตัวของอวัยวะเพศต้องมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

    • โดยเริ่มต้นจากต้องมีความรู้สึกต้องการทางเพศซึ่งเกิดที่สมองได้รับการกระตุ้นซึ่งอาจจะเกิดจากรูป กลิ่น เสียง สัมผัส และจากความคิด
    • ส่งผ่านความรู้สึกต้องการทางเพศนั้นไปยังประสาทไขสันหลังและไปกระตุ้นอวัยวะเพศทำให้เลือดไหลเข้าอวัยวะเพศ
    • หลอดเลือดที่อวัยวะเพศต้องมีการขยายตัวเลือดจึงจะเข้าในอวัยวะเพศได้อย่างเต็มที่

ดังนั้นหากมีปัจจัยมากระทบกลไกทั้งสามก็จะทำให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

สาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบ่งตามกลไกการแข็งตัว

สาเหตุของ ED แบ่งตามกลไกการแข็งตัวได้เป็น 3 ขั้นตอนได้แก่

  1. ความล้มเหลวในการกระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวมักจะเกิดจากจิตใจ สมอง ระบบประสาท และการขาดฮอร์โมนเพศชาย
  2. ความล้มเหลวที่เลือดแดงจะไหลเข้ามาคั่งในอวัยวะเพศ ประเภทใจสู่แต่องคชาติไม่ขยายตัวยาว ใหญ่และแข็งพอมักจะเกิดจากระบบไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงองคชาติไม่พอ
  3. ความล้มเหลวในการกักกันเลือดแดงที่ไหลเข้ามาคั่งในองคชาติแล้วค้างอยู่ได้มากพอและนานพอที่จะทำให้ องคชาตแข็งตัวเต็มที่และนานพอที่จะมีเพศสัมพันธุ์ได้สำเร็จ มักจะเกิดจากผู้สูงอายุมีพังผืดมาแทนหลอดเลือดแดง

สาเหตุของ ED แยกตามระบบต่างๆ

  1. ความผิดปกติของเส้นเลือดแดง เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดสาเหตุสำคัญได้แก่
  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • การสูบบุหรี่
  • การฉายแสง
  • คนที่ขี่จักรยานทางไกล ขี่มอเตอร์ไซด์
  1. ความผิดปกติของระบบประสาท แบ่งตามระดับต่างๆได้ดังนี้
  • ระดับสมอง เช่นเนื้องอกสมอง โรคลมชัก อัมพาต Parkinson Alzheimer's disease
  • ระดับไขสันหลัง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการได้รับอุบัติเหตุ
  • ระดับเส้นประสาทและปลายประสาท สาเหตุที่พบบ่อยคือโรคเบาหวาน นอกจากนั้นยังพบได้ในผู้ที่ผ่าตัดในช่องท้อง ผ่าตัดต่อมลูกหมาก
  1. ความผิดปกติเกี่ยวกับหลอดเลือดดำ มักจะพบในผู้ที่สูงอายุ โรคเบาหวานเนื่องจากมีการแข็งตัวของหลอดเลือดดำ
  2. ความผิดปกติในระดับฮอร์โมน ผู้ที่มีฮอร์โมนเพศชายน้อยกว่าปกติมักจะมีปัญหาเรื่อง ED โดยจะมีความต้องการทางเพศลดลง แต่จะไม่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  3. ความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องจิตใจซึ่งแบ่งได้เป็นสองประเภท คือพวกที่มีโรคทางจิตใจอยู่เก่า เช่นโรคซึมเศร้า ผู้ที่เครียด ส่วนประเภทที่สองคือพวกที่มีปัญหาทางเพศซึ่งอาจจะเกิดจากการหลั่งเร็ว หรือแข็งตัวไม่เต็มที่แล้วเกิดความกังวลใจเรื้อรัง

ความรุนแรงของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศแบ่งออกได้ 3 ระดับคือ

  • อาการน้อย คือสามารถมีเพศสัมพันธุ์ได้สำเร็จเกือบทุกครั้ง
  • อาการปานกลาง คือมีเพศสัมพันธุ์ได้สำเร็จประมาณครึ่งหนึ่ง
  • อาการรุนแรง คือมีเพศสัมพันธุ์ไม่สำเร็จ

การวินิจฉัย

    • ประวัติการเจ็บป่วย โรคที่เป็นอยู่ ยาที่ใช้เป็นประจำ ความถี่ของความต้องการทางเพศ ความถี่ของการแข็งตัว ความถี่ของการหลั่ง ข้อมูลเหล่านี้คุณต้องเตรียมไว้สำหรับตอบคำถามแพทย์
    • การตรวจร่างกาย ลองจับอวัยวะเพศว่ามีการแข็งตัวหรือไม่หากไม่มีการแข็งตัวอาจจะหมายถึงว่ามีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท มีการร่วงของขนอวัยวะเพศหรือไม่หากมีสาเหตุก็อาจจะเกิดจากต่อมไร้ท่อ
    • การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการณ์ แพทย์จะเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ น้ำตาล ไต ไขมันผลเลือดทั่วไป สำหรับผู้ที่มีความต้องการทางเพศต่ำอาจจะต้องเจาะหาระดับฮอร์โมน testosterone นอกจากนั้นยังต้องสังเกตการแข็งตัวของอวัยวะเพศระหว่างที่หลับหากสามารถแข็งตัวตอนกลางคืน หรือตอนเช้ามืดแสดงสาเหตุน่าจะเกิดจากจิตใจ

การรักษา

    1. การรักษาเบื้องต้นต้องกำจัดหรือลดปัจจัยเสี่ยงให้น้อยที่สุด คือจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่น รับประทานอาหารที่มีกากอาหาร อาหารที่มีไขมันต่ำ ลดเกลือ งดสุรา งดบุหรี่
    2. Psychotherapy การรักษาทางด้านจิตใจหากปัญหากามตายด้านเกิดจากทางด้านจิตใจแพทย์จะช่วยลดความกังวล
    3. การใช้ยาในการรักษา Drug Therapy มีทั้งยารับประทาน ยาฉีดหรือยาสอด 
    •  Sildenafil citrate หรือชื่อในทางการค้าว่า Viagra เป็นยาที่ใช้รักษาอาการกามตายด้านตัวแรกโดยต้องรับประทานก่อนมีเพศสัมพันธ์ 30 นาที-1 ชั่วโมง ควรจะรับประทานยาตอนท้องว่าง ยาจะออกฤทธิ์นาน 4-5 ชั่วโมง จนทำให้บางคนสามารถมีเพศสัมพันธ์ตอนเช้าทั้งที่รับประทานยาตอนก่อนนอน ยานี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อผู้ที่ใช้จะต้องมีความต้องการทางเพศ ยานี้จะเพิ่มเลือดให้ไปเลี้ยงอวัยวะเพศมากขึ้นขนาดที่ใช้ 50 มิลิกรัมต่อวันไม่ควรใช้มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน สำหรับผู้ที่มีโรคตับ ไตวาย หรืออายุมากกว่า 65 ปีอาจจะเริ่มวันละ 25 มิลิกรัมต่อวัน หากได้ผลไม่ดีและไม่มีโรคแทรกซ้อนจึงเพิ่มขนาดของยา ข้อห้ามใช้ยานี้ได้แก่ผู้ที่เป็นโรคหัวใจได้รับยา nitrate ไม่ควรใช้ยานี้เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำเป็นลมและเกิดอันตราย ส่วนการรับประทานยานี้ร่วมกับยาลดความดันชนิดอื่นก็ไม่ส่งผลเสีย ยาในกลุ่มนี้ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยได้แก่ Levistra
    • ยาในกลุ่ม alpha blocker ได้แก่ yohimbine [Procomil] แต่เดิมเป็นยากระตุ้นความต้องการทางเพศ แต่ปัจจุบันทราบว่ายานี้ออกฤทธิ์ที่สมอง และขยายหลอดเลือดที่ส่วนปลาย รวมทั้งองคชาตทำให้แข็งตัวได้ ขนาดของยาที่ใช้ 18-30 มิลิกรัมให้รับประทานติดต่อกัน 1-3 เดือน แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ปัสสาวะบ่อย
    • Apomorphine ส่วนใหญ่ใช้ 2-4 มิลิกรัม ออกฤทธิ์ใน 10-25 นาทีใช้อมใต้ลิ้น ผลข้างเคียงของยาต่ำมีเพียงคลื่นไส้อาเจียนเท่านั้น
    • ยาฮอร์โมน testosterone เหมาะสำหรับผู้ที่มีระดับฮอร์โมน testosterone ในเลือดต่ำ
    • การฉีดยาเข้าอวัยวะเพศ ยาที่นิยมใช้คือ papaverine hydrochloride,phentolamine, and alprostadil ยาเหล่านี้จะทำให้หลอดเลือดขยาย ยานี้จะเริ่มออกฤทธิ์หลังจากฉีดไปแล้ว 5-20 นาทีและออกฤทธิ์ได้นาน 1 ชั่วโมง ผลข้างเคียงของยาอาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าโด่ไม่รู้ล้มจะทำให้เกิดอาการปวด เกิดอาการปวดบริเวณที่ฉีด เลือดออก
    • การใส่ยาเข้าทางท่อปัสสาวะจะเริ่มออกฤทธิ์ในเวลา 8-10 นาที และอยู่ได้นาน 30-60 นาทีและต้องใช้ยางรัดไวเพื่อให้อวัยวะเพศแข็งตัวนาน ผลข้างเคียงมีการระคายเคืองต่อท่อปัสสาวะ อัณฑะ อาจจะมีเลือดออกจากท่อปัสสาวะ
    1. การใช้เครื่องสุญญากาศ Vacuum Devices โดยการใช้เครื่องสุญญากาศครอบที่อวัยวะเพศ หลังจากนั้นก็สูบอากาศให้ออกจากท่อทำให้เลือดเข้าไปในอวัยวะเพศจนอวัยวะเพศแข็งตัวได้ดีจึงใช้ยางรัด

    2. การผ่าตัด Surgery ซึ่งมีการผ่าตัดได้ 3 วิธี
    • การผ่าตัดใส่ท่อ prostheses เข้าไปในอวัยวะเพศ ท่อนี้จะต่อเข้ากับเครื่องปั้มเพื่อปั้มน้ำเข้าท่อทำให้เกิดการแข็งตัว
    • การผ่าตัดแก้เส้นเลือดแดงอุดเนื่องจากได้รับอุบัติเหตุเหมาะสำหรับคนหนุ่ม
    • การผ่าตัดแก้หลอดเลือดดำไม่นิยมทำ

ในการเลือกวิธีรักษาแพทย์จะพิจารณาจากอายุและโรคที่เป็นอยู่ หากคุณมีโรคอะไรต้องบอกแพทย์ก่อนรักษาทุกครั้งเนื่องจากมีบางภาวะที่อาจจะมีอันตรายหากมีเพศสัมพันธ์เช่น

    • เพิ่งเกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา
    • มีการเต้นผิดปกติของหัวใจบางชนิด
    • มีอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือดซึ่งยังควบคุมไม่ได้
    • ความดันโลหิตที่ยังควบคุมไม่ได้
    • โรคหัวใจวายที่ยังควบคุมไม่ได้
    • โรคลิ้นหัวใจตีบชนิดรุนแรง
  •     

guest

Post : 2013-12-05 21:05:18.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

 ภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

ภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหมายถึง ผู้ที่จะมีโอกาศเป็นเบาหวานมากกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่ว ไปกลุ่มคนเหล่ากลุ่มคนเหล่านี้ได้แก่กลุ่มที่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน โรคอ้วน ความดันหรือไขมันในเลือดสูง กลุ่มคนเหล่านี้จำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อประเมินว่าเป็น Prediabetic หรือไม

โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี เมื่อเป็นเบาหวานระยะหนึ่งแล้ว จะเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นทางระบบประสาท โรคหัวใจ โรคไตเป็นต้นซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ดังนั้นการป้องกันโรคเบาหวาน จะเป็นหนทางที่จะลดการเกิดโรคเบาหวาน และโรคแทรกซ้อน แม้ว่าจะมีการพัฒนายาสำหรับรักษาโรคเบาหวานมาหลายปี แต่ยาเหล่านั้นก็ไม่สามารถที่จะลดโรคแทรกซ้อนได้เท่าที่ควร จึงทำให้แพทย์ และนักวิทยาศาสตร์กังวลว่าการรักษาโรคเบาหวานจะสายเกินไป การป้องกันโรคน่าจะเป็นหนทางที่ป้องกันโรคแทรกซ้อนได้ดีกว่าการรักษา ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงสูง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงเช่นกัน

เหตุผลในการป้องกันโรคเบาหวาน

  1. การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษาซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกโรครวมทั้งโรคเบาหวาน หากไม่เป็นเบาหวานจะลดภาระทั้งตัวเอง ครอบครัว และประเทศ
  2. พบว่าผู้ที่มีน้ำตาลอยู่ระหว่า 100-125 มก.%จะมีโอกาศเป็นเบาหวานสูงมาก
  3. มีการตรวจหาภาวะ Prediabetes ซึ่งสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่มาก และสามารถบ่งชี้การเป็นเบาหวานในอนาคต ได้แก่การตรวจน้ำตาลในเลือด การตรวตค่าน้ำตาลเฉลี่ย และการตรวจความทนทานต่อน้ำตาล oral glucose tolerance test
  4. มีแนวทางในการดูแลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ หากดูแลตัวเองได้ดีจะมีอุบัติการณ์ลดลงถึงร้อยละ 58
  5. ค่าใช่จ่ายในการคัดกรองไม่แพง

การป้องกันโรคเบาหวานทำได้หรือไม่

วิธีการป้องกันโรคเบาหวานสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งมีวิธีดังนี้
  • ลดน้ำหนักงลงให้ได้ร้อยละ5-7 จากน้ำหนักเบื้องต้น โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน(ชาวเอเซียใช้ดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 23)
  • ออกกำลัง สัปดาห์ละ 150 นาที โดยการเดินให้เร็ววิ่งสลับกับเดินเร็ว
  • ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารโดยมีอัตราส่วนใยอาหาร 14 กรัมต่อพลังงาน 1000 แคลรอรี่
  • ให้เลิกอาหารหวาน ที่ใส่น้ำตาล
  1. การใช้ยาเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน มีการใช้ยา 3 ชนิดในการป้องกันโรคเบาหวาน โดยใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
  • Metformin สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานลงได้ร้อยละ 31 ใช้ได้ผลดีกับผู้ที่อายุน้อย 20-44 ปี และอ้วน
  • Acarbose สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 32
  • Troglitazone สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 56

การป้องกันโรคเบาหวานจะใช้ยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

แนะนำให้ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนื่องจากสามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 58 ในขณะที่ใช้ยาลดได้ร้อยละ 36 และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ในขณะที่ใช้ยายังไม่มีรายงานดังกล่าว นอกจากนั้นการใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานต้องตรวจอะไรบ้าง

เนื่องจากผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานจะมีโอกาศเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวานจะต้องได้รับการตรวจหาความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ระดับไขมันในเลือด การงดบุหรี่

ใครที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน(ในประเทศอเมริกาเรียก prediabetic)หมายถึงภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน

จากหลักฐานของการศึกษาที่ผ่านมา สรุปว่ากลุ่มคนที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ จะต้องตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงว่าต่อไปอนาคตจะเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

  1. ผู้ป่วยอายุ 45 ปีและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อ่านการคำนวนดัชนีมวลกาย
  2. อายุน้อยกว่า 45 ปี และมีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 25 และมีโรคเหล่านี้

สำหรับชาวเอเซียแนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกายเท่ากับ 23

กลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวานหรือกลุ่ม Prediabeticจะมีค่าผลเลือดเป็นอย่างไร่

  1. เจาะเลือดหาระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงหากมีน้ำตาล100-125 %
  2. ให้รับประทานน้ำตาล 75 กรัมหากเจาะระดับน้ำตาลที่ 2 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 140-199
  3. ค่าน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ระหว่าง(HA1C) 5.7–6.4%

ค่าน้ำตาลเฉลี่ย HA1C และโอกาศการเกิดโรคเบาหวาน

  • A1C อยู่ระหว่าง 5.5 - 6.0% จะมีความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานภายใน 5 ปีอยู่ระหว่าง 9-25%.
  • A1C อยู่ระหว่าง 6.0–6.5% จะมีความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานภายใน 5 ปีอยู่ระหว่าง 25- 50%

หากท่านได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น prediabetes ท่านต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานดังต่อไปนี้

การป้องกันเบาหวาน

สรุป

  1. หากท่านเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือ Prediabetic ท่านจะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจประเมินความเสี่ยง
  2. หากท่านเป็นกลุ่มเสี่ยงท่านจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกาย
  3. ท่านต้องลดน้ำหนักลง 5-7%

 

guest

Post : 2013-12-05 21:03:27.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  Metabolic Syndrome อ้วนลงพุง

 

โรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome

โรคอ้วนลงพุงหรือ Metabolic syndrome เป็นภาวะที่อ้วนโดยเฉพาะส่วนเอวและทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายหลายระบบ Metabolic syndrome คำนี้เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้การอย่างแพร่หลาย หมายถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกต ิส่งผลทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในที่สุดจะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง สมัยก่อนเรียกกลุ่มโรคนี้ว่า Syndrome X, insulin resistance syndrome

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome

  1. จะต้องเป็นอ้วนชนิดลงพุง กล่าวคือมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. 80 ซม.ในชายและหญิงตามลำดับ

และมีภาวะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ

  1. ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มม ปรอทหรือผู้ที่ได้รับยาลดความดันโลหิต
  2. ระดับ Triglyceride >150 mg% ,หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
  3. ระดับ HDL > 40,50 mg%สำหรับชายและหญิงตามลำดับ หรือผู้ที่ได้รับยาลดไขมัน
  4. ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 mg% หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่2

พบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 4 ข้อจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3 เท่า และเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า

คนกลุ่มใดที่มักจะเป็นโรคอ้วนลงพุง

  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่2
  • ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง และมีระดับอินซูลินในเลือดสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

สาเหตุของโรคอ้วนลงพุง Metabolic syndrome

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ แต่น่าจะเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน

  • พันธุกรรม

การเกิดภาวะนี้ขึ้นกับพันธุกรรมของแต่ละประเทศ และเชื้อชาติทำให้ระดับอ้วนลงพุงไม่เท่ากัน และขึ้นกับการวิจัยของแต่ละประเทศว่าค่าเส้นรอบเอวควรจะเป็นเท่าใด ตารางข้างล่างแสดงค่าเส้นรอบเอวของบางประเทศ สำหรับประเทศไทยใช้เกณฑ์ประเทศเอเซียใต้

ประเทศ/กลุ่มประเทศ
รอบเอว

ประเทศในกลุ่มยุโรป(อเมริกาใช้ 102,88 ซม)

ชาย
หญิง
94
80
ประเเทศในเอเซียใต้(จีน อินเดีย มาเลเซีย)
90
80
ประเทศจีน
90
80
ประเทศญี่ปุ่น
85
90
  • อาหารที่เรารับประทาน
  • พฤติกรรมการดำรงชีวิต

กลไกการเกิดเนื่องจากร่างกายของผู้ที่เป็นโรคนี้ดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องสร้างอินซูลินเป็นปริมาณมาก เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อเวลาผ่านไปตับอ่อนก็ไม่สามารถที่จะสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอจึงเกิดเบาหวาน

การเกิด Metabolic syndrome จะเกิดก่อนการเกิดโรคเบาหวาน ปริมาณอินซูลินที่สูงจะทำให้มีไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการทำลายเซ,,ืผิวของผนังหลอดเลือดรวมทั้งมีผลต่อไต ดูกลไกการเกิดโรค

วิธีการวัดเส้นรอบเอว

  • ใช้สายเมตรธรรมดา
  • วัดรอบเอวเหนือสะโพก
  • ให้สายขนานกับพื้น
  • อย่าให้สายรัดแน่เกินไป
  • วัดขณะที่หายใจออกเต็มที่

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

  • อายุ พบว่าอายุมากมีโอกาศที่จะเป็นภาวะนี้สูง ผู้ที่มีอายุ 20จะพบภาวะนี้เพียงร้อยละ10 คนที่อายุ 60จะมีอัตราการเกิดร้อยละ 40
  • เชื้อชาติ คนผิวดำจะมีโอกาศมากกว่าปกต
  • คนอ้วนจะมีโอกาศมากกว่าคนผอม
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาศเป็นโรคสูง
  • โรคอื่นๆเช่นความดันโลหิตสูง

อาการของโรคนี้เป็นอย่างไร

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าหากเป็นโรคในกลุ่มนี้แล้วจะมีโรคหลายระบบเช่น

ภาวะนี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

  • ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบจึงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ง่าย
  • ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  • ไขมัน triglyceride ที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดตีบ
  • เลือดจะแข็งตัวได้ง่ายทำให้อุดหลอเดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือสมอง
  • เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย

การรักษา

เมื่อผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรค Metabolic Syndrome จะต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคเบาหวาน และจะต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอื่นด้วย

การรักษาโดยการปรับพฤติกรรม

  • การออกกำลังกาย วันละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 5 วันจะลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  • การับประทานอาหารสุขภาพ ลดอาหารไขมันลง และรับอาหารพวกแป้งไม่เกินร้อยละ 50 ของอาหารที่รับประทาน ให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่นอาหารธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ถั่ว ลดอาหารพวกเนื้อสัตว์ ใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปามล์ งดกระทิ
  • ลดน้ำหนัก จากการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และอเมริกาพบว่าการลดน้ำหนักลงร้อยละ 5-10 ของน้ำหนัก จะชลอหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
  • ลดสุรา

การรักษาโดยการใช้ยา

เมื่อปรับปรุงพฤติกรรมแล้วปรากฎว่ายังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล ไขมันหรือความดันโลหิตได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาในการควบคุม

การรักษาไขมันในเลือด

เป้าหมาย

  1. ลดระดับไขมัน Triglyceride
  2. เพิ่มระดับไขมัน HDL
  3. ลดระดับไขมัน LDL

ยาที่ใช้รักษา

  1. Fibrate (PPAR alpha agonists)จะลดไขมันและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  2. Statin ใช้ลดไขมันโดยเฉพาะ ApoB-containing lipoproteins และมีรายงานว่าลดอุบัติการของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  3. การใช้ยา 2 ชนิดร่วมกันอาจจะเกิดผลข้างเคียงจากยา

การรักษาความดันโลหิต

  1. ควรจะเริ่มรักษาเมื่อความดันโลหิต เท่ากับ 140/90 มม.ปรอท
  2. สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรจะเริ่มรักษาเมื่อความดันโลหิต 130/80 มม.ปรอท

ยาที่ใช้รักษา

  1. เชื่อว่ายาในกลุ่ม Angiotensin converting enzyme inhibitors[เช่น enarapril,perindopril ]and angiotensin receptor blockers[cozaar,valsartane ] จะช่วยลดโรคแทรกซ้อน แต่จากหลักฐานปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากยาลดความดันโลหิตมากกว่า

การรักษาภาวะดื้อต่ออินซูลิน

  • ยาที่เพิ่มให้การออกฤทธิ์ของอินซูลินดีขึ้น เช่น Metformin, thiazolidinediones

การรักษาอื่นๆ

  • aspirin เพื่อป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • งดบุหรี่

การพบแพทย์

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง เช่น อ้วน น้ำตาลในเลือดสูง ควรจะปรึกษาแพทย์

         

guest

Post : 2013-12-05 21:00:24.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไขมันในเลือดสูง

 

โรคไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดสูงหมายถึงร่างกายเรามีไขมันในกระแสเลือดสูง ไขมันที่สูงอาจจะเป็น cholesterol หรือ Triglyceride ก็ได้ ไขมันสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต เนื่องจากไขมันสูงจะตกตะกอนที่ผิวของผนังหลอดเลือดที่เรียกว่าคราบไขมันหรือ Plaqueซึ่งจะทำให้หลอดเลือดตีบ หรือคราบอาจจะหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดทำให้เกิิดโรค

 

ค่าปกติของไขมันอยู่ระหว่าง 140 and 200 mg/d ทางการแพทย์จะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับไขมัน Total Chloresterol และ LDL Choresterol และไขมัน HDL Cholesterol เนื่อวจากภาวะทั้งสองสามารถควบคุมโดยการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่การเกิดหลอดเลือดแข็งจะดกิดเร็วหากมีภาวะไขมันผิดปกติดังนี้

  • มีระดับของ triglycerides (TG) สูง
  • ไขมัน low-density lipoprotein (LDL) สูง:ซึ่งเป็นไขมันไม่ดี
  • ไขมัน highdensity lipoprotein-cholesterol (HDL-C)ต่ำ

อาการของไขมันในเลือดสูง

ไขมันในเลือดสูงจะไม่มีอาการ การที่จะทราบว่าไขมันในเลือดสูงรู้ได้จากการเจาะเลือดตรวจ

สาเหตุของไขมันในเลือดสูง

  • กรรมพันธ์ ร่างกายไม่สามารถกำจัดไขมันได้อย่างเพียงพอ
  • โรคเบาหวาน
  • พฤติกรรมในการดำรงชีพ ไม่ได้คุมอาหาร ไม่ได้ออกกำลังกาย

ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันในเลือดสูง

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันในเลือดสูงได้แก่

  • อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก
  • ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
  • ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • สูบบุหรี่เบาหวาน

การวินิจฉัย

ค่าปกติของไขมันในเลือด

Total cholesterol levels:

  • ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 200 mg/dL
  • สูงปานกลาง: 200 - 239 mg/dL
  • สูง: มากกว่า 240 mg/dL

LDL cholesterol levels:

  • ระดับที่ต้องการสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงสูง: ต่ำกว่า 70 mg/dL
  • ระดับที่ต้องการ for people at risk of heart disease: ต่ำกว่า 100
  • ระดับที่ต้องการ: 100 - 129
  • สูงปานกลาง: 130 - 159
  • สูง: 160 - 189

HDL cholesterol levels:

  • ผลไม่ดี: ต่ำกว่า 40 mg/dL
  • ค่าที่ยอมรับได้: 40 - 59
  • ระดับที่ต้องการ: 60 or สูงกว่า

Triglyceride levels:

  • ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 150 mg/dL
  • สูงปานกลาง: 150 - 199
  • สูง:สูงกว่า 200

ผู้ใหญ่ที่ค่าไขมันปกติควรจะตรวจซ้ำทุก 5 ปี หากไขมันในเลือดสูงควรตรวจซ้ำอีก 2-6 เดือน

อาหารที่มีไขมันสูง

ไขมันจากปลาจะอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว เมื่อรับประทานมากเกินไปจะทำให้ระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันที่สูงจะเป็นความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง อาหารที่มีไขมันสูงได้แก่

  • น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปามล์ กะทิ
  • เนย มาร์การิน เนยเทียม
  • หนังไก่
  • เครื่องใน เนื้อติดมัน
  • ของทอด

หากมีครับทั้งสามภาวะโอกาศที่จะเกิดหลอดเลือดแข็งจะสูง

อ่านชนิดของไขมันใอาหาร

เมื่อไรจึงจะเจาะเลือดตรวจหาไขมันในเลือด

  • เจาะเลือดผู้ปายอายุมากกว่า 40 ส่วนผู้หญิงอายุมากกว่า 50 หรือเมื่อหมดประจำเดือน
  • มีหลักฐานว่ามีโรคหลอดเลือดตีบ เช่น หลอดเลือดขาหรือหัวใจตีบ
  • เป็นโรคเบาหวานชนิดที่2
  • ความโลหิตสูง
  • ประวัติพ่อแม่พี่หรือน้องเป็นโรคหลอดเลือดก่อนวัย
  • ผู้ป่วยโรคอ้วนลงพุง
  • เป็นโรคเรื้อรังบางชนิดที่พบว่าอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสูง เช่น โรครูมาตอยด์ โรค SLE Psoriasis
  • ผู้ที่ไตเสื่อมอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 60
  • ตรวจร่างกายแล้วพบว่ามีหลักฐานว่าไขมันสูงในครอบครัว

อ่านเรื่องการเจาะเลือดตรวจไขมันในเลือด

การประเมินความเสี่ยงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะพิจารณาจาก เพศ อายุ ระดับไขมัน ระดับความดันโลหิต การสูบบุหรี่ และนำไปเทียบกับตารางก็จะได้ตัวเลขความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าหากมากกว่าร้อยละ10จะต้องควบคุมความเสี่ยงให้ดี การประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะแยกเป็น

การจัดระดับความรุนแรงของความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

จะแบ่งระดับความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดออกเป็น

ความเสี่ยงสูงมาก

ได้แก่ภาวะดังต่อไปนี้

ความเสี่ยงสูง

  • ผู้ที่มีระดับไขมัน หรือระดับความดันโลหิตสูงมาก
  • มีความเสี่ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ระหว่าง 5-10 %

ความเสี่ยงปานกลาง

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่า1-5 %

ความเสี่ยงต่ำ

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่า1%

เมื่อไรจะรักษาไขมันในเลือดสูง

ปัจจัยที่จะพิจารณาว่าจะรักษาไขมันในเลือดสูงได้แก่ อัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปี และระดับไขมัน LDL

อัตราเสี่ยง(%) ระดับไขมัน LDL ของท่าน
<70mg% 70-100mg% 101-155mg% 156-190mg% >190 mg%
<1 เสี่ยงต่ำ ไม่ต้องปรับเปลี่ยน ไม่ต้องปรับเปลี่ยน ปรับพฤติกรรม ปรับพฤติกรรม ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา
1-5 เสี่ยงปานกลาง ปรับพฤติกรรม ปรับพฤติกรรม ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา ปรับพฤติกรรม หากยังสูงต้องใช้ยา
5-10 เสี่ยงสูง ปรับพฤติกรรม และพิจารณายา ปรับพฤติกรรม และพิจารณายา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา
>10 เสี่ยงสูงมาก ปรับพฤติกรรม และพิจารณายา ปรับพฤติกรรมและใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา ปรับพฤติกรรม และใช้ยา

อัตราเสี่ยงท่านสามรถหาได้จากการประเมินความเสี่ยงของ ชาย และ หญิง ส่วนค่า LDL ได้จากการเจาะเลือด

การรักษาไขมันในเลือดสูง

ระดับไขมันที่ต้องการ

เป้าหมายของระดับไขมันหลังการรักษาจะขึ้นกับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง(กลุ่มเสี่ยงสูงมาก และอัตราเกิดโรคมากกว่าร้อยละ10ใน10ปี

  • ให้ลดระดับ LDL ให้ต่ำกว่า 70 มก%
  • หรือลดระดับ LDL ลงจากดิมร้อยละ 50

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง(ความเสี่ยงสูง หรืออัตราการเกิดโรคหัวใจร้อยละ5-10)

  • ให้ลดระดับ LDL ให้ต่ำกว่า 100 มก%

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง(ความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ1-5)

  • ให้ลดระดับ LDL ให้ต่ำกว่า 115 มก%

การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

อ้วนไขมันในเลือดสูงทุกชนิดจะต้องรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งประกอบไปด้วยการออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การงดบุหรี่ การดื่มสุรา และการควบคุมอาหาร

ประสิทธิผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแต่ละชนิดขึ้นกับชนิดของไขมันที่สูง ผู้ป่วยที่ไขมัน LDL สูงการลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ลดไขมันชนิด transจะช่วยลดไขมันได้ดี ส่วนไขมัน Triglyceride สูง การลดน้ำหนักร่วมกับการออกกำลังกายจะได้ผลดี ดังนั้นในการเลือกวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะขึ้นกับชนิดไขมันที่ขึ้น

อ่านเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ยาลดไขมัน

ไขมันในเลือดสูงการรักษาไขมันในเลือดสูงจะต้องพิจารณาจากโรคที่เป็น โรคที่เป็นร่วม ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และระดับไขมันในเลือด หากไขมันในเลือดสูงไม่มาก และความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดต่ำการรักษาก็อาจจะเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากไขมันในเลือดสูงมาก และหรือมีโรคหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดมากก็จะต้องรีบให้ยารักษาไขมัน

ยารักษาไขมัน การรักษาไขมันในเลือดสูง

การป้องกันไขมันในเลือดสูง

สาเหตุของไขมันในเลือดสูงส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรมซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ แต่อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากพฤติกรรม ซึ่งหากมีการปรับพฤติกรรมก็สามารถป้องกันการเกิดไขมันในเลือดสูงได้

การป้องกันไขมันในเลือดสูง

การลดไขมันโดย Phytosterol

Phytosterol พบมากในน้ำมันพืช ถั่ว ผัก และผลไม้ มีสูตรโครงสร้างเหมือน cholesterol แต่ไม่ทำให้เส้นเลือดตีบ ช่วยลดการดูดซึม cholesterol

            

 

guest

Post : 2013-12-05 20:57:24.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  เริมที่อวัยวะเพศ

 เริมหรือโรคเริมที่อวัยวะเพศ

เริมที่อวัยวะเพศเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากเชื้อเริมที่เรียกว่า herpes simplex viruses type 1 (HSV-1) หรือ type 2 (HSV-2)

เริมที่อวัยวะเพศส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ HSV-2 ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการ หากมีอาการจะเกิดตุ่มน้ำที่อวัยวะเพศ เมื่อตุ่มน้ำแตกจะเกิดแผลเล็กซึ่งมีอาการปวดแสบปวดร้อน แผลเริมจะใช้เวลาหายประมาณ 2-4 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วสามารถเกิดเป็นซ้ำได้

อาการของโรคเริม

เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน หรือกำลังมีอาการของโรคนี้อยู่ อาการเริ่มแรกจะมีตุ่มน้ำพองใสเป็นกลุ่ม มีอาการปวดแสบและคันมาก ต่อมาตุ่มน้ำจะแตกออกเป็นแผล เมื่อแผลหายแล้วเชื้อไวรัสยังคงหลบซ่อนในปมประสาท และโรคจะกลับเป็นอีกเมื่อมีปัจจัยส่งเสริมบางอย่าง เช่น ความเครียด ภาวะขาดอาหาร แสงแดด การเสียดสีของผิวกับเสื้อผ้า เช่น กางเกงที่คับๆ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่ได้รับการติดเชื้อครั้งแรกจะเกิดอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์แผลจะใช้เวลาหายใน 2-4 สัปดาห์ นอกจากนั้นจะมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ในปีแรกอาจจะมีการกลับเป็นซ้ำ 4-5 ครั้งต่อปี หลังจากนั้นความถี่ของการเกิดซ้ำจะลดลง

การติดต่อ

คนได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อนี้ซึ่งจะเชื้อที่ตุ่มและแผล แต่การติดเชื้อก็สามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าจะไม่มีแผล นอกจากนั้นเชื้อ HSV-1 ยังทำให้เกิดเริมที่ริมฝีปากเชื้อว่าเชื้อนี้สามารถติดต่อแบบ ปากและอวัยวะเพศได้ oral-genital

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยทำได้โดยดูลักษณะผื่น และการนำสารหลั่งจากก้นแผลไปส่องกล้องจะพบเซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะ

การรักษา

ยังไม่มียาที่รักษาโรคนี้ให้หายขาด ยาเพียงทำให้ลดอาการ และแผลใช้เวลาหายสั้นลง

โรคแทรกซ้อน

  • ปวดที่แผล และส่งผลต่อภาวะเครียดของผู้ป่วย
  • สำหรับผู้ที่มีภูมิบกพร่องอาการจะเป็นมาก
  • หากติดเชื้อในช่วงใกล้คลอดอาจจะส่งผลเสียต่อทารก
  • การติดเชื้อนี้จะเพิ่มการติดโรคเอดส์

การปฏิบัติตน

  1. รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศในระหว่างมีตุ่มน้ำมีแผลควรทำความสะอาด โดยแช่นำอุ่นวันละ 2-3 ครั้ง และซับให้แห้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน
  2. งดการมีเพศสัมพันธ์หรือสัมผัสโดยตรงกับแผล
  3. สตรีที่กำลังตั้งครรภ์และกำลังเป็นโรคเริม หรือมีประวัติว่าเคยเป็นรวมทั้งผู้ที่ไม่ได้เป็น แต่สามีเป็นโรคนี้อยู่ ควรบอกประวัติเหล่านี้แก่สูติแพทย์ทุกครั้งด้วย เพราะอาจมีผลต่อเด็กในระหว่างคลอดได้
  4. ในรายเป็นครั้งแรกในระยะตุ่มน้ำควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และในรายเป็นซ้ำๆ ก็ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่แน่นอนเช่นกัน
  5. หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริม เช่น อารมณ์เครียด แสงแดด การเสียดสีของผิวกับเสื้อผ้า

 

guest

Post : 2013-12-05 20:54:23.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  เริมที่ริมฝีปาก

 เริมที่ปาก herpes labialis

 

herpesเป็นการติดเชื้อเริมที่ริมฝีปากเกิดจากเชื้อ herpes โดยมีลักษณะเป็นตุ่มใสๆเล็ก บริเวณริมฝีปาก ปาก เหงือกและมีอาการปวด

สาเหตุของเริม

เกิดจากการติดเชื้อ herpes simplex type 1 ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อครั้งแรก อาจจะไม่มีอาการหรือเกิดตุ่มใส เชื้อนั้นจะไปยังปมประสาท และอยู่โดยไม่มีการแบ่งตัว จนมีภาวะแวดล้อมเหมาะสมเชื้อจะแบ่งตัว และทำให้เกิดตุ่มใสที่ปากลักษณะเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำใส แสบและคันเล็กน้อย ตุ่มน้ำใสนี้จะแตกออกง่ายแล้วตกสะเก็ด หายไปในเวลาประมาณ 7-8 วัน ก่อนจะเกิดตุ่มน้ำใส อาจมีอาการตึงๆ ร้อนวูบวาบบริเวณริมฝีปากนำมาก่อนได้ในผู้ป่วย บางรายอาการครั้งแรกจะรุนแรง มีแผลตุ่มน้ำจำนวนมาก มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตได้ หลังจากอาการหายแล้ว เชื้อไวรัสจะหลบซ่อนภายในปมประสาท ต่อมาเมื่อร่างกายอ่อนแอลง มีอารมณ์เครียด ถูกแสงแดด ฯลฯ เชื้อไวรัสนี้จะออกจากปมประสาทมายังบริเวณที่เคยมีอาการติดเชื้อครั้งแรก ทำให้โรคเป็นๆ หายๆ อยู่บ่อยๆ โดยทั่วไปการติดเชื้อเริมมักจะไม่รุนแรง แต่ในคนที่มีภูต้านทานต่ำกว่าปกติ เช่น คนที่กำลังได้รับยารักษาโรคมะเร็งหรือกำลังได้รับการฉายรังสี เป็นต้น อาการที่เป็นอาจรุนแรงได้

การติดต่อ

การติดต่อเชื้อนี้จะติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงเช่นการจูบ หรือการใช้ของร่วมกัน เช่น การใช้ใบมีดโกน การใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้อ 7-10 วันจะเริ่มเกิดอาการแสบร้อนและตามด้วยตุ่มใสเล็กๆ ตุ่มใสนี้จะอยู่เป็นเวลา 7-10 วันแล้วจึงเริ่มหาย

อาการของเริม

  • เริ่มด้วยอาการปวดแสบปวดร้อน คันๆบริเวณปากก่อนเกิดผื่น 2 วัน
  • ต่อมาเกิดตุ่มใสที่ปากหรือริมฝีปาก ตุ่มอาจจะรวมกันเป็นแผลใหญ่
  • อาจจะมีไข้ต่ำๆ

การวินิจฉัย

  • จากลักษณะเฉพาะของผื่น
  • จากการเพาะเชื้อ
  • จาการตรวจ Tznack test

การรักษาเริม

  • เมื่อเกิดอาการครั้งแรกในระยะตุ่มน้ำใส ควรรับไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยถูกต้องแน่นอน ซึ่งอาจได้รับยาที่ช่วยให้อาการระยะเฉียบพลันดีขึ้น

     

  • รักษาความสะอาดของร่างกายรวมทั้งล้างมือให้สะอาดทันทีหลังจับต้องแผล เพราะอาจจะนำเชื้อไปสู่ส่วนอื่นของร่างกายได้

     

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น เช่น การจูบ ใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกันโดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำเพาะมีโอกาสติดเชื้อง่าย

     

  • ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจจะหายได้เองใน 1-2 สัปดาห์
  • ให้ทำความสะอาดผื่นด้วยสบู่ฆ่าเชื้อ
  • การรับประทานยาฆ่าเชื้ออาจจะทำให้หายเร็วขึ้น

โรคแทรกซ้อน

  • ตาบอดได้หากเชื้อนี้เกิดที่ตา
  • เชื้อนี้แพร่ไปติดเนื้อเยื่อข้างเคียง
  • มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผื่น
  • มีการกลับเป็นซ้ำของผื่น
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องการติดเชื้อนี้อาจจะทำให้เสียชีวิต

การป้องกัน

  • ระวังการสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นเริมและยังมีผื่นในระยะติดต่อ
  • อย่าใช้ของร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง

               

guest

Post : 2013-12-05 20:51:12.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  หงอนไก่

 หูดข้าวสุข Molluscum Contagiosum

หูดข้าวสุขเป็นการติดเชื้อ poxvirus ที่ผิวหนังทำให้เกิดผื่นนูนเล็กเป็นโรคผิวหนังติดเชื้อไวรัส ทำให้เกิดผื่นนูนเป็นตุ่มเล็ก

สาเหตุหูดข้าวสุข

เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า poxvirus คนเราได้เชื้อนี้ 3 วิธีได้แก่

  1. จากการสัมผัสโดยตรง มักจะเกิดในเด็กตำแหน่งที่พบได้แก่ หน้า คอ รักแร้ แขน มือ แต่ไม่ค่อยพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า
  2. จากการใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ ของเล่น
  3. จากเพศสัมพันธ์

อาการของโรคหุดข้าวสุข

จะมีตุ่มเล็ก มีรอยบุ๋มตรงกลาง ตุ่มนูนไม่เจ็บ สีออกชมพู ผื่นจะเรียงตามรอยเกา ไม่มีลักษณะบวมหรือแดงรอบผื่น ไม่เจ็บ

การวินิจฉัยหุดข้าวสุข

จะทำได้จากอาการและสิ่งที่ตรวจพบ หรือในรายที่ไม่แน่ใจอาจจะตัดชิ้นเนื้อตรวจ

การรักษาหุดข้าวสุข

  • โรคส่วนใหญ่หายได้เอง แต่การตัดออกจะป้องกันการแพร่กระจายไปส่วนอื่น
  • การกำจัดอาจจะใช้การผ่าตัดเอาออก ใช้ laser หรือจี้ด้วยไฟฟ้า
  • หรืออาจจะใช้สารเคมีเช่น podophyllin, cantharidin, phenol, silver nitrate, trichloracetic acid or iodine แต่ไม่แนะนำเพราะจะเกิดโรคแทรกซ้อน
  • ใช้ความเย็นจี้ Cryotherapy
  • สำหรับคนที่ตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้ใช้ยาทา

ผื่นส่วนใหญ่จะหายเองในระยะเวลา 6-18 เดือน

การป้องกันหุดข้าสุข

  • การสวมถุงยางจะป้องกันได้เฉพาะผิวหนังขององคชาติและช่องคลอดเท่านั้น ไม่สามารถป้องกันผิวหนังบริเวณอื่น
  • ช่วงที่เป็นโรคไม่ควรจะมีเพศสัมพันธ์
  • ให้มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
  • ไม่ใช้ของร่วมกัน

              

guest

Post : 2013-12-05 20:42:15.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  รังแค

 รังแค

รังแค คือ ขุยขาวที่หลุดลอกออกมาจากหนังศีรษะ อาจจะติดอยู่ที่บริเวณโคนผมบนเส้นผม หรือร่วงลงมาเกาะบนเสื้อผ้าบริเวณต้นคอ หรือไหล่ซึ่งจะเห็นได้ชัดมากขึ้น เวลาใส่เสื้อสีเข้มทำ ให้เกิดความเข้าใจว่าบุคคลผู้มีรังแคนั้น มีสุขภาพหนังศีรษะไม่ดี หรือดูแลสุขภาพได้ไม่ดีผลพวงที่ตามมาคือทำให้บุคคลที่มีรังแคนั้นเสียบุคลิก และขาดความมั่นใจไปได้

รังแคเกิดจากความผิดปกติในการแบ่งตัว และหลุดลอกของเซลล์ชั้นหนังกำพร้าของหนัง ศีรษะซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อราแบบกลากที่หนังศีรษะ การเป็นโรคสะเก็ด เงินหรือที่เรียกว่า โซไรสิส (Psoriasis) การแพ้สารเคมีที่สัมผัสหนังศีรษะ เช่น แพ้น้ำยาย้อมผม น้ำยาดัดผม เป็นต้น แต่สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังหรือผิวหนังอักเสบ ที่ศีรษะแบบที่เรียกว่า เซ็บเบอริก เดอมาไตติส (Seborrheic dermatitis) ซึ่งอาจจะเป็นเพียงเล็ก น้อย คือมีแค่รังแคเท่านั้น หรือมีอาการอักเสบมากขึ้นจนมีอาการคันหรือมีผื่นแดงด้วย ซึ่งอาจจะ ลามออกมานอกบริเวณหนังศีรษะ มาที่ใบหน้าหรือตามตัวได้

เมื่อเกิดรังแคขึ้นหลายคนอาจกังวลใจ เพราะอยากขจัดรังแคให้สิ้นไป แน่นอนที่สุดว่าเราควรจะรักษาสาเหตุของรังแคให้ถูกกับสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งในกรณีนี้เราต้องไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของรังแคของเรา แต่ในกรณีที่เป็นรังแคไม่มากนัก โดยเฉพาะไม่มีผื่นผิวหนังอื่นร่วมด้วย การลองใช้แชมพูขจัดรังแคดูก่อนก็เป็นทางเลือกที่ดีโรคผิวหนังอักเสบแบบอ่อน ซึ่งพบบ่อยที่สุด อาจดีขึ้นได้เมื่อใช้แชมพูที่เหมาะสม เมื่อลองใช้ดูสักระยะหนึ่ง ถ้ายังไม่ดีขึ้นจึงค่อยไปพบแพทย์ก็ได้ เพราะอาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบแบบรุนแรง หรือเป็นโรคผิวหนังอื่นที่ควรให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและรักษา

แชมพูขจัดรังแค

แชมพูขจัดรังแคในท้องตลาดมีหลายชนิด ซึ่งมีสรรพคุณแตกต่างกันออกไปบางชนิดมีสารที่ลดการแบ่งตัวของเซลล์หนังศีรษะ เช่น

  • แชมพูน้ำมันดิน(Tar Shampoo) ซึ่งมีกลิ่นออกฉุนๆ
  • แชมพูที่มีสารเซเลเนียมซัลไฟด์ซึ่งมีอยู่หลายยี่ห้อในท้องตลาด
  • แชมพูบางอย่างมีสารที่ลดจำนวนยีสต์บนหนังศีรษะ ซึ่งมีวัตถุออกฤทธิ์เป็นสารพวกซิงค์ ไพริไทออน หรือคีโตโคนาโซน (ketoconazole)ซึ่งอาจได้ผลดีในรายที่มีเชื้อราเข้ามามีส่วนทำให้เพิ่มความรุนแรงของโรคผิวหนังอักเสบ

เมื่อใช้แชมพูเหล่านี้สระผมก็ควรทิ้งให้ตัวยาในแชมพูสัมผัสหนังศีรษะสักระยะหนึ่ง อาจเป็นเวลาประมาณ 5 นาทีก็ได้ดังนั้นผู้ที่ชอบอาบน้ำสระผมอย่างรวดเร็วเหมือนกับวิ่งผ่านน้ำก็คงต้องอดใจใช้เวลากับการสระผมสักครู่หนึ่ง และการสระผมก็ควรให้ตัวยาสัมผัสหนังศีรษะ โดยการขยี้และเกาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะการเกามากๆอาจเป็นการกระตุ้นให้การอักเสบบนหนังศีรษะเป็นมากขึ้นได้ และเมื่อได้เวลาอันสมควรแล้วก็ล้างแชมพูออกจากเส้นผมและหนังศีรษะให้หมด ในระยะแรกท่านอาจสระผมบ่อยหน่อย คือทุกวัน หรือวันเว้นวันก็ได้ตามความเหมาะสม และเมื่อดีขึ้นแล้วก็สระผมให้ถี่ห่าง ตามความเหมาะสมของแต่ละท่าน

           

처음 이전 ... 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 다음 끝
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com