Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2013-12-05 17:49:50.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การหกล้ม

 การหกล้มเป็นอุบัติเหตุที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ(มากกว่า 65 ปี) ส่วนใหญ่มักจะเกิดในบ้าน เช่นห้องนั่งเล่น ลื่นล้มในห้องน้ำ ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ กระดูกมือหัก กระดูกสะโพกหัก กระดูกหลังหัก

  • ผู้ป่วยร้อยละ 60 หกล้มในบ้าน ร้อยละ 30 เกิดในชุมชน ร้อยละ 10 เกิดในสถานสงเคราะห์คนชรา
  • ร้อยละ 25 เกิดจากพื้นลื่น  แสงสว่างไม่พอ ใส่รองเท้าไม่เหมาะ มีวัสดุขวางทางเดิน

ปัจจัยเสี่ยงของผู้สูงอายุ

  • อายุ อายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
  • กายกิจกรรม ผู้ที่ไม่ออกกกำลังกายจะทำให้การทรงตัวไม่ดี และมีโรคกระดูกพรุน
  • เพศ ผู้หญิงจะมีโอกาสกระดูกหักมากกว่าผู้ชายสองเท่า
  • คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราจะมีกระดูกพรุนมากกว่าคนปกติ
  • อาหาร ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อยจะมีโอกาสกระดูกหักได้ง่าย

ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ

  • มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต เช่นความดันโลหิตต่ำ
  • การหน้ามืดวิงเวียน เป็นลม
  • การเสียการทรงตัวเป็นปัจจัยที่พบบ่อยที่สุด
  • มะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูก
  • มีโรคเกี่ยวกับสมอง
  • มีโรคข้ออักเสบทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาและการได้ยิน
  • ผลข้างเคียงจากยา

แนวทางแก้ไขเรื่องสุขภาพ

  • ตรวจร่างกายประจำปีโดยเฉพาะเรื่องโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีอย่างเพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • นำยาทั้งหมดปรึกษาแพทย์
  • รู้ผลข้างเคียงของยา
  • รับประทานยาอย่างเคร่งครัด

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

  • พื้นลื่นพบร้อยละ 42.8
  • การสะดุดสิ่งกีดขวางพบถึงร้อยละ 38.8
  • พื้นต่างระดับ เป็นสาเหตุร้อยละ 26.3
  • การถูกชนล้มพบประมาณร้อยละ 4
  • การตกบันไดพบร้อยละ 3.5

guest

Post : 2013-12-05 17:43:57.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเกี่ยวกับเท้าและข้อเท้า

 ข้อเท้าและเท้า

ข้อเท้าและเท้าของคนเราวันหนึ่งๆ ต้องใช้งานเป็นอันมาก เวลาเดินจะต้องรับน้ำหนัก 1.5เท่า รวมเดินประมาณ 1000 ไมล์ต่อปี และ รับน้ำหนัก เวลาออกกำลังกายประมาณ 1000 ปอนด์ต่อชั่วโมง จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้า และเท้าเป็นจำนวนมาก

กิจกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ข้อเท้าและเท้า

  • กีฬาที่ต้องกระโดด เช่นบาสเกตบอล แบดมินตัน
  • กีฬาที่ต้องวิ่งมาก
  • กีฬาที่ต้องมีการกระทบกระแทกเช่น ฟุตบอล ฮอกกี้

ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดปัญหาที่เท้า

ปัญหาที่มักจะเกิดที่ข้อเท้า

  • ข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าแพลงมักเกิดกับกีฬาที่ต้องกระโดด
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ มักจะเกิดกับกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องมากเช่น บาสเกตบอล กระโดดสูงจะมีอาการปวดบริเวณเอ็นร้อยหวาย
  • เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ เนื่องจากการออกกำลังที่ไม่ถูกต้องผู้ป่วยจะมีอาการปวดฝ่าเท้าในตอนเช้า

การป้องกันการได้รับบาดเจ็บ

  • ให้มีการอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย
  • ต้องมีแผนการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
  • ให้มีการยืดกล้ามเนื้อทุกวัน
  • ให้ฟังร่างกายหากมีอาการปวดข้อเท้าหรือปวดฝ่าเท้าให้หยุดวิ่ง
  • ใส่เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสมกับกีฬา
  • เลือกรองเท้าและถุงเท้าอย่างเหมาะสม

โรคหรือภาวะอื่นๆที่พบ

guest

Post : 2013-12-05 17:42:03.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การเลือกรองเท้า

 

ลักษณะรองเท้าที่ดี

รองเท้ามีประโยชน์ที่สำคัญคือใช้ป้องกันเท้าเช่นตะปูตำ และลดการกระแทกเวลาเราเดิน รองเท้าที่ดีต้องใส่พอดีกับเท้าการที่รองเท้ากว้างหรือแคบไป จะทำให้เกิดการได้รับบาดเจ็บและเท้าพิการส่วนประกอบของรองเท้ามีดังนี้

  • ส่วนที่หุ้มนิ้วเท้า (toe box) ซึ่งอาจจะมีรูปร่างกลมหรืออกเหลี่ยม เมื่อใส่รองเท้าแล้วจะต้องมีพื้นที่ให้นิ้วเท้าขยับ

     

  • ส่วนบนบริเวณที่เป็นรูรองเท้าใช้เชือกผูกเรียกว่า vamp ควรจะทำจากผ้าหรือหนังหากแข็งเกินไปจะทำให้เกิดตาปลา ควรใส่รองเท้าที่ใช้เชือกผูก

     

  • ส่วนพื้นรองเท้า SOLE ซึ่งประกอบด้วยพื้นด้านที่เท้าเราสัมผัสเรียกว่า Insole  ส่วนพื้นรองเท้าเราเรียกว่า Outsoleสำหรับแผ่นที่รองรับแรงกระแทกอยู่ระหว่างกลางเรียก Midsole และส่วนที่สัมผัสกับพื้น พื้นรองเท้าที่ดีควรจะนุ่มเพื่อกันการกระแทกและพื้นรองเท้าไม่ควรหนาเกินไป

     

  • ส่วนส้นเท้า HEEL เป็นส่วนที่สำคัญเพราะเป็นส่วนรับน้ำหนักเวลาเราเดิน ควรจะเลือกส้นเท้าที่กว้างและนุ่มส้นรองเท้าไม่ควรเกิน 2 นิ้วส้นยิ่งสูงจะทำให้เจ็บฝ่าเท้าได้มากขึ้น

     

  • ส่วนพื้นบริเวณส้นเท้า Heel Couter เป็นส่วนที่อยู่บริเวณส้นเท้าเพื่อให้เวลาเดินเท้ามีความมั่นคงไม่ล้ม ควรบุด้วยวัสดุที่นุ่ม

     

  • Heel tab คือส่วนของรองเท้าที่ล้อมรอบเอ็นร้อยหวาย ควรจะบุด้วยวัสดุที่นุ่ม
  • ส่วนที่บุในรองเท้าควรจะทำด้วยวัสดุที่นุ่มและที่สำคัญต้องไม่มีตะเข็บ
  • พื้นส่วนที่เว้าเข้าของพื้นรองเท้า(ส่วนที่ทำให้เราบอกว่าเป็นเท้าข้างซ้ายหรือขวา)

รองเท้าที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้

  • รองเท้าต้องมีลักษณะเหมือนเท้าของท่าน
  • รองเท้าต้องทำจากวัสดุที่นุ่มเท้าเหมือนถุงมือที่ทำจากหนัง
  • รองเท้าที่ดีส้นเท้าไม่ควรสูงเกิน 1 นิ้วและหากต้องใส่ส้นสูงก็ไม่ควรเกิน 2 นิ้วและใส่ไม่เกิน 3 ชั่วโมงในแต่ละครั้งและให้ถอดออกหากไม่จำเป็นเช่นที่ทำงาน
  • พื้นรองเท้าต้องนุ่มและกันกระแทกและไม่ลื่นโดยมากทำจากยางจะดีกว่าหนังสัตว์
  • ไม่ซื้อรองเท้าที่มีตะเข็บบริเวณที่เจ็บเช่นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า
  • หลีกเลี่ยงรองเท้าที่มีน้ำหนักมากโดยเฉพาะรองเท้าที่ส่วนหัวรองเท้าทำจากยาง และมีขนาดใหญ่เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  • ควรใช้รองเท้าที่เป็นเชือกผูกเพราะจะใส่ได้พอดีกว่ารองเท้าที่เป็นแบบ slip-on shoes

การเลือกรองเท้าสำหรับเด็ก

เด็กไม่จำเป็นต้องสวมรองเท้าจนกระทั่งเมื่อเด็กเริ่มเดินประมาณอายุ 12-15 เดือนต้องซื้อรองเท้าที่พอดีกับเท้า โดยทั่วไปอาจจะต้องเปลี่ยนรองเท้าทุก3- 6 เดือนหากเท้าเด็กโตขึ้น หากเด็กชอบถอดรองเท้าออกบ่อยๆแสดงว่ารองเท้านั้นอาจจะใส่ไม่สบายเท้าให้ตรวจเท้าเด็กว่ามีรอยกดทับ หรือรอยแดงหรือรอยถลอกหากมีแสดงว่ารองเท้าคับไป

รองเท้าสำหรับผู้หญิง

รองเท้าที่ดีควรจะส้นเตี้ยและปลายเท้ากว้างแต่สำหรับคุณผู้หญิงมักจะเลือกรองเท้าส้นสูงปลายเท้าแคบ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดเท้า นิ้วเท้า น่องและหลัง

ภาวะที่เกิดจากการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม

guest

Post : 2013-12-05 17:35:20.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  กระดูกพรุนจากยา steroid

 กระดูกพรุนจากการใช้ยา

การใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานานๆ จะทำให้การสร้างเนื้อกระดูกลดลงทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

การใช้ยา Steroid ได้มีการใช้แพร่หลายในการรักษาหลายโรค รวมทั้งได้มีการซื้อรับประทานเองเป็นจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในรูปแบบยาชุดแก้ปวด ยาชุดแก้หอบหืด ยาชุดเจริญอาหาร ยาลูกกลอน ส่วนโรคที่จำเป็นต้องใช้ steroid ได้แก่โรคหอบหืดชนิดรุนแรง ถุงลมโป่งพอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี เป็นต้น แม้ว่าผลการรักษาจะได้ผลดีแต่การใช้ยา steroid ในระยะยาวก็ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ กลไกการเกิดเชื่อว่ายา steroid จะไปเพิ่มกลไกการละลายกระดูก ลดการดูดซึมของธาตุแคลเซียม และลดการสร้างฮอร์โมนทางเพศ

ผลการใช้ยา Steroid ต่อกระดูก

ผลต่อเนื้อกระดูก Bone mass

พบว่าการใช้ยา steroid จะทำให้เนื้อกระดูกลดลงส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงและเกิดกระดูกหักได้ง่าย เนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 6-10 เดือนหลังจากเริ่มใช้ หลังจากนั้นเนื้อกระดูกก็จะลดลงอย่างช้าๆโดยเฉพาะกระดูกสันหลังและซี่โครง ปริมาณเนื้อกระดูกที่ลดลงขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่ใช้ยา หลังจากหยุดการใช้ยาความแข็งแรงของกระดูกก็จะดีขึ้นอย่างช้าๆ

กระดูกหัก

เนื่องจากเนื้อกระดูกลดลงจึงทำให้กระดูกหักง่าย จากการสำรวจพบว่าเมื่อใช้ยามากกว่า 3-5 ปีจะพบมีการหักของกระดูกหลัง ปริมาณยาที่ใช้คือหากเกิน 7.5 มก.ต่อวันมากกว่า 6 เดือนจะเสี่ยงต่อการหักของกระดูก

การวินิจฉัย

เนื่องโรคกระดูกพรุนไม่มีอาการ นอกจากบางรายอาจจะมีอาการปวดกระดูกหากไม่มีอาการจะทราบได้โดยการตรวจวิธีพิเศษ รายละเอียดอ่านที่นี่

  • การ x-ray กระดูกอาจจะเห็นว่ากระดูกจางลงแต่ผลที่ได้ไม่แม่นยำ
  • การใช้เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูก

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

หลักการทั่วไปในการป้องกันโรคกระดูกพรุนจากการใช้ Steroid

  • ทบทวนว่ายังมีความจำเป็นต้องใช้ยานี้อีกหรือไม่
  • สามารถลดขนาดยาให้ต่ำที่สุดโดยที่ผลการรักษาไม่เสีย
  • ใช้ยานี้ด้วยวิธีอื่นได้หรือไม่ เช่นการทา การใช้เป็นยาพ่น
  • สามารถใช้ยาอื่นทดแทนได้หรือไม่เช่น azathioprine, methotrexate
  • ทุกคนที่ใช้ steroid ให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน เช่นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง การออกกำลังกาย งดบุหรี่ หยุดสุรา
  • ให้เสริมแคลเซียมและวิตามิน ดีในรายที่คิดว่าขาดสารอาหาร

การรักษาโรคกระดูกพรุนจาก steroid

หากท่านได้รับ prednisolone มากกว่าวันละ 7.5 มก.เป็นเวลามากกว่า 6 เดือนและมีลักษณะดังตารางที่1ท่านต้องได้รับการรักษาโรคกระดูกพรุน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน

  • อายุมากกว่า 65 ปี
  • หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกหักง่าย
  • เคยกระดูกหักง่าย
  • มีประวัติไม่มีประจำเดือน
  • รูปร่างผอม ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 20
  • ไม่เคลื่อนไหว

 

  • สำหรับผู้ที่ได้ prednisolone มากกว่า 15 มก.ต่อวันและต้องได้รับการรักษาเป็นเวลานานกว่า 6 เดือน ควรจะได้รับการรักษาเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนตั้งแต่เริ่มให้ยา steroid
  • สำหรับผู้ที่ได้ prednisolone 7.5-15 มก.ต่อวันและต้องได้รับการรักษาเป็นเวลานาน และมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อดังในตารางที่ 1 ควรจะได้รับการรักษาเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนตั้งแต่เริ่มให้ยา steroid
  • สำหรับผู้ที่ได้ prednisolone 7.5-15 มก.ต่อวันและไม่มีความเสี่ยงดังในตารางที่1 กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ต้องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกก่อนให้การรักษา

วิธีการรักษา

  1. การให้ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน แต่ต้องระวังปัจจัยเสี่ยง รายละเอียดอ่านที่นี่
  2. การให้ยา Bisphosphonates ใช้ในรายที่ไม่สามารถใช้ฮอร์โมนทดแทนให้ได้ทั้งคนอายุน้อยและอายุมาก ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ etidronate, Alendronate (Fosamax) และ risedronate ยากลุ่มนี้ควรจะให้ขณะท้องว่าง ยาalendronate ไม่ควรให้ในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหาร
  3. การให้ยา  Calcitonin (Calcitare, Calsynar, Miacalcic) เป็นฮอร์โมนใต้สมองได้จากการสกัดต่อมใต้สมองจากปลาทูน่า ใช้พ่นจมูก ยาตัวนี้ผลข้างเคียงต่ำเหมาะสำหรับคนอายุน้อย
  4. Raloxifene เป็นยาในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถเพิ่มระดับความเข็มของกระดูกได้ครึ่งของการใช้ฮอร์โมนทดแทน

guest

Post : 2013-12-05 16:21:49.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคปวดต้นคอ

 ปวดต้นคอ

อาการปวดต้นคอเป็นอาการที่พบบ่อย ปวดต้นคออาจะมีสาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบเนื่องจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือออาจจะมีสาเหตุจากกระดูกคอเสื่อม

คอเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการใช้มากที่สุด ยิ่งการทำงานในยุคปัจจุบัน คนต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ต้องก้มหน้าเงยหน้าอยู่ตลอด ประกอบงานปัจจุบันต้องใช้สมองมาก ทำให้เกิดความเครียดจึงเกิดอาการปวดคอ และปวดศีรษะ นอกจากนั้นคอเป็นอวัยวะที่บอบบางเมื่อเทียบกับขนาดสมอง และลำตัว ให้เกิดความชอกช้ำหรือบาดเจ็บได้ง่าย นอกจากนั้นคอก็ยังเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทที่รับคำสั่งจากสมอง ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย อาการเจ็บคอพบได้ไม่บ่อยเท่าอาการปวดหลัง อาการเจ็บคอที่พบบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อคอหดเกร็งทำให้เอี้ยวคอหรือเคลื่อนไหวศีรษะไม่ได้ หรือที่เรียกว่าตกหมอน ซึ่งส่วนใหญ่จะหายเองได้

มารู้จักคอของคนเรา

คอเป็นอวัยวะที่สำคัญช่วยเชิดหน้าชูตาให้กับเรา คอของเราประกอบด้วยกระดูกคอทั้งหมด 7 ชิ้นเราเรียก cervical spine 1 หรือ C1-7 โดยชิ้นที่1จะอยู่ติดกับกระโหลก ชิ้นที่7จะติดกับกระดูกหน้าอก ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะมีหมอนกระดูกขั้นกลาง เมือ่เราคลำส่วนหลังของคอ จะคลำได้เป็นตุ่มๆซึ่งเป็นกระดูกยื่นมาจากส่วนหลังของกระดูกต้นคอ ตรงกลางของกระดูกจะมีรู้เรียก spinal canal ซึ่งเป็นรูที่ให้ประสาทไขสันหลัง spinal cord ลอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกต้นคอ จะมีช่องให้เส้นประสาทลอดออกไปซึ่งจะนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ และรับความรู้สึกส่วนต่างๆไปยังสมอง หากรูนี้เล็กลง หรือมีกระดูกงอกไปกดก็จะทำให้มีอาการปวดต้นคอ และปวดแขน

การทำงานของคอ

การเคลื่อนไหวของข้อต่อต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้ส่วนประกอบของข้อเคลื่อนตามดังนี้

  • หากท่านก้มศีรษะหรือเงยหน้า หมอนกระดูกของคอจะถูกกดไปข้างหน้า และข้างหลัง
  • หากท่านหมุนคอไปทางซ้ายหรือขวา กระดูกคอแต่ละชิ้นจะหมุนตัวมันเองตามทิศทางที่ต้องการ
  • เมื่อตะแคงศีรษะไปทางข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกข้างนั้นจะบีบตัวเข้ามาทำให้ช่องที่เป็นทางออกของเส้นประสาทแคบลง

สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย

  1. อิริยาบทหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยร้าเกินไป เช่นบางคนชอบนั่งก้มหน้า หรือ หรือช่างที่ต้องเงยหน้าอยู่ตลอดเวลา ใช้หมอนสูงเกินไปวิธีแก้ต้องใช้หมอนหนุุต้นคอหรือบริเวณท้ายทอย
  2. ความเครียดทางจิตใจซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นการงาน ครอบครัว การพักผ่อนที่ไม่พอเพียง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง
  3. คอเคร็ดหรือยอก เกิดจากการที่กล้ามเนื้อคอต้องทำงานมากเกินไป เนื่องจากคอต้องเคลื่อนไหวเร็วเกินไป หรือรุนแรงเกินไปทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อถูกยืดมากจนมีการฉีกขาดบางส่วนจนเกิดอาการปวด ตัวอย่างที่ทำให้เกิดคอเคล็ดเช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การหกล้ม
  4. ภาวะข้อเสื่อม เนื่องจากกระดูกคอต้องแบกน้ำหนักอยู้ตลอดเวลาตั้งแต่เด็กจนแก่ ทำให้ข้อเสื่อมตามอายุมีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกที่ขอบของข้อต่อ ซึ่งอาจจะไปกดทับถูกปลายประสาทที่โผล่ออกมา ภาวะข้อกระดูกเสื่อมอาจจะไม่มีอาการปวดหรือผิดปกติใดๆ แต่อาจจะพบโดยบังเอิญ
  5. อาการบาดเจ็บของกระดูกคอซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุต่างๆเช่น ตกที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ ผู้ป่วยมักจะมีอาการบาดเจ็บของร่างกายส่วนอื่นด้วย
  6. ข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจจะทำให้กระดูกต้นคออักเสบด้วย เช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดต้นคอ

โรคหมอนรองกระดูก Cervical Disc Disease

หากเราเกิดอุบัติเหตุเช่น รถชนกันทำให้ศีรษะหงายหลัง หรือเกิดจากข้ออักเสบทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมและมีการเลื่อนของหมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเหมือนไฟช็อกจากต้นแขนไปปลายแขนร่วมกับอาการชา หากไม่รักษาอาจจะทำให้แขนอ่อนแรงถึงกับเป็นอัมพาต หมอนกระดูกทับเส้นประสาท

ท่อไขสันหลังตีบ Cervial stenosis

เนื่องจากมีการเสื่อมของกระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกทำให้รูในท่อไขสันหลังแคบจึงมีการกดทับประสาทไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ ชามือ เดินเร็วจะปวดขา ทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้

กระดูกต้นคอเสื่อม Osteoartgritis

กระดูกต้นคอก็เหมือนกับกระดูกที่อื่นๆ เมื่อใช้งานมานานก็เกิดการเสื่อมของกระดูก หมอนกระดูกจะบางลง และมีกระดูกงอกเงยออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ มักจะเป็นมากในตอนเช้า ปวดต้นคอร้าวไปบริเวณไหล่หรือสะบัก ตอนสายๆอาการจะดีขึ้น

การได้รับอุบัติเหตุ

ส่วนให้เกิดจากอุบัติเหตุรถหรือมอเตอร์ไซด์ มีการหงายหน้าอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้มีการช้ำของกล้ามเนื้อ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะมีหมอนกระดูกทับเส้นประสาท

การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเจ็บคอ

  1. ผู้ที่มีอาการปวดต้นคอหรือที่เรียกว่าตกหมอนส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเอ็นรอบคอ คอจะแข็งอย่างเฉียบพลันหลังจากการเอี้ยว บิด ผิดท่าหรือภายหลังการตื่นนอน การรักษาสามารถทำได้โดย
  • พยายามพัก อย่าเคลื่อนไหวคอ ทางที่ดดีควรจะนอนพัก
  • รับประทานยาแก้ปวด หากไม่มากใช้ยา paracetamol 500 mg. หากปวดมากก็ให้รับประทานยากลุ่ม NSAID
  • ในระยะแรกอาจจะประคบด้วยน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกห่อผ้าขนหนูวางบริเวณที่ปวด หรือจะใช้น้ำอุ่นประคบประมาณ 10-15 นาที
  • การใส่ปลอกคอ มักจะไม่มีความจำเป็น นอกจากจะปวดมากๆ ไม่แนะนำให้มีการจับเส้นในระยะเฉียบพลันเพราะอาจจะเกิดผลเสีย
  1. สำหรับผู้ที่ปวดคอเรื้อรัง อาการปวดมักจะไม่รุนแรง เวลาก้มหรือเงย ตะแคงหรือเอี้ยวคอจะทำให้ปวดเพิ่มขึ้น การดูแลเบื้องต้ได้แก่
  • กินยาแก้ปวด
  • ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่นไว้แล้ว
  • การนวดหรือกดจุด โดยถูกหลักวิชาอาจจะช่วยระงับอาการปวดได้ การนวดง่ายๆอาจทำภายหลังจากการอาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อนแล้ว 10-15 นาที
  • เริ่มการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อคอ

อาการเจ็บคอที่ต้องรีบพบแพทย์

อาการเจ็บคอโดยส่วนใหญ่ไม่อันตรายหายเองได้ แต่ก็มีบางภาวะที่ผู้ป่วยจะต้องรู้และรีบปรึกาาแพทย์

  • อาการปวดต้นคอร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนหรือขา และอาการอ่อนแรงเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
  • อาการปวดข้อร่วมกับเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • มีอาการปวดคอร่วมกับมีไข้สูง คอแข็ง ก้มหน้าเอาคางจรดอกไม่ได้ซึ่งอาจจะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาการปวดต้นคอเป็นตลอดอย่างต่อเนื่อง
  • มีอาการปวดต้นคออย่างมาก
  • อาการเจ็บคอหลังจากได้รับอุบัติเหตุ

การออกกำลังกล้ามเนื้อคอ

กล้ามเนื้อคอเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันและการรักษาการปวดคอเรื้อรังหรือเป็นๆหายหายๆ การบริหารกล้ามเนื้อคอจะแบ่งเป็นสองระยะได้แก่

  • ในระยะแรกจะบริหารเพื่อเพิ่มความยืดยุนของเอ็นและกล้ามเนื้อรอบคอ โดยการเอียงคอไปทางซ้าย ขวา ก้มหน้า เงยหน้า
  • ในระยะต่อมาจึงจะสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยการ ใช้แรงต้านจากมือ
  • การออกกำลังกายโดยทั่วไป นับเป็นส่วนสำคัญข้อหนึ่ง เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้หัวใจแข็งแรง มีการสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อของร่างกายหลายๆส่วน เช่นกล้ามเนื้อขา หลังจะแข็งแรง กระดูกจะเสื่อมน้อย

การรักษาโดยแพทย์

ความสำคัญของการรักษาแพทย์จะตรวจว่าหมอนกระดูกได้มีการกดทับเส้นประสาทหรือไม่ หากมีการกดทับมาก ผู้ป่วยเกิดอาการช้า หรืออ่อนแรงแขนหรือขา การรักษาจะต้องทำการผ่าตัดในการวินิจฉัยแพทย์จะถามประวัติเพิ่มเติม และมีการตรวจพิเศษเพื่อยืนยันการวินิจฉัย และหาตำแหน่งของโรค

การรักษาโดยกายภาพ

การทำกายภาพจะช่วยผ่อนคลายอาการปวดคอให้ท่านได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้

  • การประคบร้อน
  • การใช้เคื่อง ultrasound
  • การอบร้อน Diathermy
  • การใช้ Laser
  • การดึงคอ
  • การนวด
  • การใส่ปลอกคอ

การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ

  1. ระวังอริยาบท ทั้งการยืน การนั่ง การนอน การทำงาน
  2. การทำงานควรหาเวลาหยุดพักเพื่อออกำลังกล้ามเนื้อคอ เคลื่อนไหวคอ หรือเปลี่ยนอิริยบทสัก 2-3 นาทีทุกชั่วโมง
  3. การเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสม
  4. การพักผ่อนที่เพียงพอ การเลือกหมอน ที่นอน
  5. การใช้ยา
  6. การบริหารคอ

                   

guest

Post : 2013-12-05 16:15:51.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การเลือกหมอน

 การเลือกหมอน

หมอนที่ดี ควรมีความนุ่มหนุนสบาย สามารถรองรับได้ตั้งแต่คอจนถึงศีรษะ โดยมีความสูงของหมอนประมาณ 4-6 นิ้ว รวมไปถึงความนุ่ม และรองรับศีรษะจนถึงบริเวณคอได้ทั้งหมด
การจะนอนให้หลับดีต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง การเลือกหมอนที่เหมาะสมกับท่านอน ก็อาจจะทำให้นอนหลับดีขึ้น และยังลดอาการของอาการปวดหลังหรือปวดคอ

วิธีการหนุนหมอนกับท่านอนแต่ละท่า

  1. นอนหงาย หมอนที่ใช้ ต้องนิ่ม และไม่สูง ควรให้มีการรองรับส่วนเว้าของกระดูกคอ หน้าไม่เงยไปข้างหลัง โดยตำแหน่งที่จะใช้หนุน ได้แก่ บริเวณศีรษะ คอ ไหล่ และเข่า
  2. นอนตะแคง มีหมอนใบหนึ่งหนุนศีรษะโดยที่หมอนต้องไม่สูงเกินไป  หมอนต้องสูงเท่ากับระดับความสูงจากไหล่มายังศีรษะ ซึ่งศีรษะต้องอยู่ในแนวเดียวกับกึ่งกลางลำตัว และมีหมอนข้างอีกใบไว้ระหว่งขา บางท่านอาจจะใช้ผ้าขนหนูม้วนหนุนข้อมือด้านที่ตะแคง
  3. นอนคว่ำ ไม่ต้องใช้หมอนหรือหากจะใช้ต้องค่อนข้างจะแบน และอาจจะมีหมอนใบเล็กๆหนุนตรงบริเวณท้อง

ชนิดของหมอน

  1. หนุนที่เข่าซึ่งสามรถหนุนได้สองรูปแบบ คือนอนหงายแล้วเอาหมอนหนุนใต้เข่า หรือนอนตะแคงหมอนอยู่ระหว่างขา ท่านอนและการใช้หมอนท่านี้จะช่วยลดอาการปวดหลังเนื่องจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบ หมอนที่ใช้คือหมอนข้าง
  2. หมอนหนุนที่ศีรษะและคอ หมอนที่ดีควรจะรองตั้งแต่ต้นคอจรดถึงศีรษะ ความสูงของหมอนประมาณ 4-6 นิ้วโดยหมอนควรจะนุ่มเพื่อที่ส่วนที่รองศีรษะยุบ จนกระทั่งหมอนสามารถรองรับบริเวณคอ หมอนชนิดนี้เหมาะสำหรับคนที่ปวดต้นคอ หากหมอนสูงเกินไปเมื่อนอนหงายหรือนอนตะแคง กล้ามเนื้อคอจะถูกยืดมากเกินไป ทำให้ปวดกล้ามเนื้อคอ และที่สำคัญในทางนอนหงายหากหมอนสูงไป จะทำให้ทางเดินหายใจแคบเกิดอาการกรน
  3. หมอนรูปตัว U เป็นหมอนทีใช้สำหรับหนุนคอ ขณะเดินทางโดยสารเพื่อป้องกันมิให้คอเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือหงายไปทางด้านหลัง เหมาะสำหรับนั่งหลับขณะโดยสารในรถหรือเครื่องบิน
  4. หมอนรองหลัง ใช้สำหรับหนุนหลังส่วนเอว เหมาะสำหรับคนที่ต้องทำงานนั่งนาน หรือขับรถนาน เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง
  5. หมอนรูปโดนัท เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระดูกก้นกบหัก เวลานั่งจะไม่ปวดก้น

เมื่อท่านเลือกที่จะใช้หมอนที่ใดที่หนึ่งให้ลองดูดูสัก 1-2 สัปดาห์จึงจะเห็นผล เมื่อใช้หมอนไประยะเวลาหนึ่งความนุ่มของหมอนจะเสียไป ต้องเปลียนหมอน

วิธีดูแลรักษา และแบรนด์ที่จำหน่ายดังนี้

  1. หมอนยางพารา ควรผึ่งลมเพื่อกำจัดกลิ่นอับและเลี่ยงแดดจัด ถ้ามีรอยเปื้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดแล้วผึ่งลมให้แห้ง
  2. หมอนเมมโมรีโฟม เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำสบู่อ่อนๆ และปล่อยให้แห้ง กรณีโฟมด้านในเปียก ใช้แรงกดเพื่อรีดน้ำออกและปล่อยให้แห้ง ต้องเลี่ยงแดดจัด
  3. หมอนขนเป็ด ควรผึ่งแดดเป็นประจำครั้งละ 2-3 ชม. ตบหมอนเป็นประจำเพื่อให้ขนด้านในพองฟู เมื่อซักแล้วให้อบแห้งอย่างน้อย 5 ชม.
  4. หมอนขนห่าน ควรนำออกผึ่งแดดสม่ำเสมอ ครั้งละ 2-3 ชม. และหมั่นตบหมอนเป็นประจำ เพื่อให้ขนด้านในพองฟู เมื่อซักแล้วให้อบแห้งอย่างน้อย 5 ชม.
  5. หมอนใยสังเคราะห์ ควรตบหมอนตามแนวทแยงทั้งสองด้านทุกวัน เพื่อให้พองฟู ซักเป็นประจำทุก 2-3 เดือน หลังซักให้ผึ่งไว้ในแนวนอน และไม่ควรบิดหมอน.

                          

guest

Post : 2013-12-05 16:13:03.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การเลือกเตียง

 การเลือกซื้อเตียง

คนเราใช้เวลาบนเตียงนอนวันละ 6-8 ชั่วโมงต้องนอนทุกวัน หากเตียงที่เรานอนมีคุณภาพไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดต้นคอตามมา

ในสมัยก่อนคนไทยนิยมนอนกับพื้นซึ่งอาจจะมีเสื่อผื่นหนึ่งหรือเสื่อน้ำมัน และหมอนใบหนึ่ง การเลือกเตียงขึ้นกับแต่ละบุคคล บางคนชอบนุ่มบางคนชอบแข็ง แต่ในปัจจุบันมักจะมีฟุกเพื่อเพิ่มความนุ่ม การเลือกเตียงนอนอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ท่านหลับอย่างสบายและตื่นขึ้นอย่างสดชื่น หากเลือกเตียงไม่ดีจะทำให้นอนไม่หลับ และอาจจะทำให้อาการปวดหลังเป็นมากขึ้น

ส่วนประกอบของเตียงนอนสมัยใหม่

  • ส่วนที่เป็นขดลวดหรือสปริงเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักของร่างกายโดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ควรจะมีปริมาณขดลวดให้มากพอที่จะรับน้ำหนักของร่างกาย หากขดลวดน้อยเกินไปจะทำให้เตียงยุบเมื่อเวลาเรานอนทำให้กระดูกอยู่ในแนวที่ไม่ถูกต้อง อันเป็นสาเหตุของโรคปวดหลัง
  • ส่วนที่เป็นเบาะนุ่มยิ่งหนายิ่งดี แต่บางครั้งหากส่วนเบาะแข็งเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณที่กดทับโดยเฉพาะผู้ที่มีการอักเสบของข้อสะโพก หรือข้อไหล่

ท่าที่นอนสบายของคนปกติ

  • ท่านอนหงาย หมอนหนุนใต้เข่า เป็นท่าที่กล้ามเนื้อหลังผ่อนคลายที่สุด
  • ผู้ที่นอนตะแคง หมอนหนุนระหว่างเข่า ทำให้มีการผ่อนคลายข้อสะโพกและหลัง
  • สำหรับผู้ที่ชอบนอนคว่ำให้เอาหมอนบางๆหนุนบริเวณหน้าท้อง

การเลือกที่นอนสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง

  • สำหรับผู้ที่มีข้อกระดูกสันหลังเสื่อม osteoarhritis ท่าที่นอนสบายคืนอนตะแคง เข่าดึงมาใกล้หน้าอกและมีหมอนข้างอยู่ระหว่างเข่า หรือการนอนบนที่นอนที่สามารถปรับระดับได้เหมือนเตียงโรงพยาบาลโดยปรับให้เข่า และศีรษะอยู่ระดับใกล้เคียงกันเหมือนคนที่นอนบนเก้าอี้โยก
  • ท่านอนสำหรับผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อม ให้นอนคว่ำและมีหมอนใบเล็กหนุนท้อง ที่นอนต้องไม่นุ่มจนยุบ
  • ผู้ที่เป็นโรคท่อไขสันหลังแคบ spinal stenosis ท่านอนเหมือนท่ากระดูกไขสันหลังเสื่อม
  • ผู้ที่มีถุงน้ำบริเวณข้อสะโพกอักเสบ bursitis หากที่นอนแข็งไปจะทำให้ปวดบริเวณสะโพก
  • ผู้ที่ปวดสะโพก หากนอนตะแคงจะทำให้ปวดสะโพก ควรจะมีหมอนอยู่ระหว่างเข่า
  • ผู้ที่มีหมอนกระดูกทับเส้นประสาท โดยมากท่าที่นอนสบายคือนอนคว่ำ

guest

Post : 2013-12-05 16:09:02.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การใช้ยาแก้ปวด NSAID

 NSAID ย่อมาจากคําว่า Nonsteroidal anti-inflammatory drug หมายถึง ยาต้านการอักเสบชนิดที่

ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นยากลุ่มที่ใช้เป็นยาแก้ปวดได้ดีโดยเฉพาะ อาการปวดจากการอักเสบ ยาที่จัด
เป็นนแม่แบบ คือ แอสไพริน (Aspirin) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันมานาน

ยาลดการอักเสบหรือยาแก้ปวดกลุ่ม NSIAD ได้มีการใช้การมานาน และปัจจุบันก็มียาอยู่ในตลาดมากมายมาย ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถบอกได้ว่ายาตัวไหนดีที่สุด เนื่องจากว่าการตอบสนองของยาแต่ละคนและแต่ละขนาดของยาจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้บริโภคควรจะมีความรู้ในการเลือกใช้ยา

กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่ม NSAID

การอักเสบของอวัยวะในร่างกายเกิดจากการที่เซลล์หลังสารที่เรียกว่า พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารสื่อกลางในการกระตุ้นทำให้เกิดอักเสบ ยากลุ่ม NSAIDs นี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้ง enzymes ที่เรียกว่า cyclooxygenases ทำให้การหลั่งของสาร พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ลดลงทำให้การอักเสบลดลง และลดอาการปวด การยับยั้ง enzyme ดังกล่าวทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาอีกหลายประการ

ชนิดของยา NSAID

แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ

  • Nonselective NSAIDs หมายถึงยาจะยับยั้ง enZymes ทั้งชนิด COX-1 and COX-2 enzymes ซึ่งการที่มันยับยั้ง enzyme ทั้งสองชนิดทำให้ยากลุ่มนี้ระคายต่อกระเพาะอาหาร ยากลุ่มนี้ได้แก่ aspirin, ibuprofen naproxen diclofenac
  • Selective NSAIDs ยากลุ่มนี้จะเลือกยับยั้งเฉพาะชนิด COX-2 enzymes ดังนั้นจะระคายกระเพาะน้อยกว่ายาในกลุ่มแรก ดังนั้นผู้ป่วยซึ่งมีประวัติโรคกระเพาะควรจะได้รับยาในกลุ่มนี้ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Celecoxib

ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเคยทำballon หลอดเลือดหัวใจ หรือเคยเป็นอัมพาตหรืออัมพฤต หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงควรจะหลีกเลี่ยงยา NSAID โดยเฉพาะยาในกลุ่ม Selective NSAIDs สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือเคยมีเลือดออกมาควรจะหลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม Nonselective NSAIDs

ผู้ป่วยที่มีโรคไต โรคหัวใจวาย โรคตับ ความจะหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่มนี้

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา

ยากลุ่มนี้ใช้ในการรักษาอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบโรคหรือภาวะที่นิยมใช้ยานี้ได้แก่

ยานี้มีผลข้างเคียงที่ผู้รับประทานจะต้องทราบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • ยากลุ่ม NSAIDs จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยานี้เป็นเวลานาน และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ยา NSAIDs ห้ามระงับอาการปวดหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงต่อระบบทางเดินอาหาร

  • ยากลุ่ม NSAIDs จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนทางเดินอาหารได้แก่ เลือดออกทางเดินอาหาร แผลกระเพาะอาหาร กระเพาะทะลุ

อาการข้างเคียงของยา

ผลข้างเคียงของยา NSAIDs ที่อันตรายให้หยุดยาทันทีและปรึกษาแพทย์ในกรณีที่พบอาการดังต่อไปนี้

ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้

คนส่วนใหญ่จะรับยานี้ได้อย่างปลอดภัย นอกจากบางคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอาจจะมีผลข้างเคียงของยา ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยได้แก่

  • ระคายต่อกระเพาะ หากรับประทานขนาดยาไม่สูงและรับช่วงสั้นๆอาจจะมีอาการแน่นท้อง เสียดท้อง หากรับประทานยาในขนาดสูงและติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้เกิดโรคกระเพาะ และมีเลือดออกได้
  • ตับอักเสบ หากรับประทานยากลุ่มนี้ในขนาดสูงเป็นระยะเวลานาน
  • ไต การใช้ยากลุ่มนี้แม้ว่าในระยะสั้นก็อาจจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และมีปัญหากับไต ดังนั้นคงต้องติดตามความดันและการทำงานของไต
  • หูอื้อ พบมากในผู้ที่รับประทานยาในขนาดสูง
  • มึนงง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • น้ำมูกไหล เจ็บคอ
  • ผื่นคันเล็กน้อย

ก่อนรับประทานยาจะต้องแจ้งแพทย์อะไรบ้าง

  • ไม่ควรใช้ยานี้ก่อนหรือหลังการผ่าตัดเบียงเบียนหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากยานี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
  • ยานี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร และกระเพาะอาหารทุลุ ดังนั้นจะต้องระวังในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน

ดังนั้นการใช้ยานี้อย่างปลอดภัยจะต้องแจ้งอาการดังต่อไปนี้ให้แพทย์ทราบ

  1. แพ้ยา หากท่านผู้อ่านแพ้ยาดังต่อไปนี้ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชก่อนใช้ยา  และไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้เองเนื่องจากอาจจะแพ้ยา
  • Aspirin or other salicylates
  • Ketorolac
  • Oxyphenbutazone
  • ibuprofen (e.g., Suprol)
  1.  หากท่านผู้อ่านเป็นโรคหัวใจหรือโรคไตไม่สามารถรับอาหารที่มีเกลือมากไม่ได้ ต้องแจ้งแพทย์เนื่องจากยาในกลุ่มนี้บางตัวมีเกลือผสมอยู่ อาจจะทำให้โรคที่ท่านเป็นอยู่มีอาการทรุดลง
  2. ประวัติการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง
  3. ประวัติโรคกระเพาะอาหาร หรือเคยมีเลือดออกทางเดินอาหาร
  4. การตั้งครรภ์ เนื่องจากการใช้ยาในคนท้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และอาจจะเกิดปัญหากับทารกดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยารับประทานเองขณะตั้งครรภ์
  5. ขณะให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยาดังต่อไปนี้ indomethacin meclofenamate phenylbutazone piroxicam เนื่องจากมีรายงานว่าเกิดผลข้างเคียง
  6. ผู้สูงอายุอาจจะทำให้สับสน หน้า เท้าบวม ปัสสาวะออกน้อย
  7. หากท่านผู้อ่านที่รับประทานยาอื่นร่วมด้วยต้องแจ้งแพทย์และเภสัชทุกครั้ง
  8. ถ้าหากท่านมีโรคประจำตัวต้องแจ้งทุกครั้ง เช่น
  • โรคหัวใจ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตับ
  • โรคไต
  • โรคลมชัก
  • โรคหอบหืด
  • โรคเลือดมีประวัติเลือดออกง่าย
  • ริดสีดวงจมูก

ความปลอดภัยสำหรับคนตั้งครรภ์

จัดอยู่ในกลุ่ม D ไม่ควรให้ผู้ที่ตั้งครรภ์ไตรมาศสุดท้ายเพราะอาจจะมีผลเสียกับทารก สำหรับผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยานี้เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีไม่ควรจะใช้ยานี้

การใช้ยา NSAID ในภาวะต่างๆกัน

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เจ็บหน้าอก หรือมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคอัมพาต ควรจะหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มนี้ หากจำเป็นต้องรับยาในกลุ่มนี้ต้องรับประทานยาในขนาดต่ำสุดและระยะสั้นที่สุด สำหรับ aspirin ใช้เป็นยาเพื่อลดการตีบของหลอดเลือด

โรคกระเพาะอาหาร

ผู้ที่มีโรคกระเพาะอาหารหรือเคยมีเลือดออกในทางเดินอาหารจะเสี่ยงต่อการมีเลือดออกหารับประทานยาแก้ปวดกลุ่มนี้ แนวทางแก้ไขอาจจะลดปัญหาเรื่องโรคกระเพาะดดยการรับประทานยาลดกรด เช่น famotidine  omeprazole lansoprazole ร่วมด้วยจะช่วยลดการเกิดโรคกระเพาะ

ภาวะเลือดออก

หากจะผ่าตัดต้องหยุดยากลุ่มนี้เป็นเวลา 7 วันก่อนผ่าตัด

ภาวะบวมน้ำ

ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะบวม เช่นผู้ป่วยโรคหัวใจวาย โรคตับ และโรคไตเมื่อรับประทานยานี้จะทำให้เกิดการบวมซึ่งอาจจะทำให้โรคกำเริบ

โรคไต

ยาแก้ป่วยกลุ่มนี้อาจจะทำให้การทำงานของไตแย่ลง ดังนั้นไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยโรคไต

ผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนม

ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ในการตั้งครรภ์ไตรมาศสามเพราะอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนกับเด็ก แต่สำหรับระหว่างการให้นมสามารถให้ยานี้ได้

ผู้ป่วยที่แพ้ aspirin

หากมีประวัติแพ้ยาก็ควรจะหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มนี้ทั้งกลุ่มเพราะอาจจะมีอาการแพ้ยาได้

ยาลดการอักเสบ NSAID

ยาแก้อักเสบหรือยาแก้ปวดที่แพทย์และผู้ป่วยนิยมใช้กันใช้ทั้งลดไข้ในเด็ก ลดอาการข้ออักเสบ แต่ยากลุ่มนี้ก็มีผลข้างเคียงหากใช้ยาไม่ถูกต้อง ท่านผู้อ่านที่ใช้ยากลุ่มนี้ต้องศึกษาถึงผลดีและผลเสียของยากลุ่มนี้ข้อบ่งชี้ในการใช้ยากลุ่มนี้ได้แก่

  1. ใช้เป็นยาแก้ปวด Analgesic ได้แก่ยา Diclofenac;  Fenoprofen; Floctafenine; Ibuprofen; Ketoprofen; Meclofenamate; Mefenamic Acid; Naproxen
  2. ใช้ลดการอักเสบ Anti-inflammatory ได้แก่ยา Flurbiprofen; Indomethacin; Naproxen; Sulindac; Tenoxicam
  3. ใช้แก้ปวดประจำเดือน Antidysmenorrheal ได้แก่ยา Diclofenac; Flurbiprofen; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Meclofenamate; Mefenamic Acid; Naproxen; Piroxicam
  4. ใช้รักษาโรคเก๊า Antigout agentไดแก่ยา Diclofenac Fenoprofen; Floctafenine; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Naproxen; Phenylbutazone; Piroxicam; Sulindac
  5. ใช้ลดไข้ Antipyretic—Ibuprofen; Indomethacin; Naproxen
  6. ใช้รักษาข้ออักเสบ Antirheumatic ได้แก่ยา Diclofenac; Diflunisal; Etodolac; Fenoprofen; Flurbiprofen; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Meclofenamate; Nabumetone; Naproxen; Oxaprozin; Phenylbutazone; Piroxicam; Sulindac; Tenoxicam; Tiaprofenic Acid; Tolmetin
  7. ใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะจากหลอดเลือด Vascular headache prophylactic ได้แก่ยาFenoprofen; Ibuprofen; Indomethacin; Mefenamic Acid; Naproxen
  8. ใช้แก้ปวดศีรษะจากหลอดเลือดสมอง Vascular headache suppressantได้แก่ยา Diclofenac; Diflunisal; Etodolac; Fenoprofen; Floctafenine; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Meclofenamate; Mefenamic Acid; Naproxen

วิธีการใช้ยาที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

หลังจากที่รับประทานยานี้แล้วท่านจะต้องทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ให้ดื่มน้ำทันที 1 แก้วและห้ามนอนราบเป็นเวลา 30 นาทีเพื่อป้องกันยาระคายเคืองต่อกระเพาะและหลอดอาหาร
  • ให้รับประทานยานี้พร้อมอาหาร หรือรับประทานยาลดกรดร่วมด้วย
  • ยาที่ออกฤทธิ์ช้า delayed-release (enteric-coated) ไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมอาหาร หรือยาลดกรด
  • ยานี้ให้กลืนห้ามเคี้ยว

จะต้องหลีกเลี่ยงอะไรหากรับประทานยา celecoxib

  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • ไม่ควรจะรับประทานยาในกลุ่มยาแก้อักเสบ NSAIDs
  • ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดหรือยารักษาไข้หวัดที่มีส่วนผสมของยากลุ่ม NSAID โดยจะต้องอ่านสลากยาก่อนรับประทาน
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้าๆ

หากท่านรับประทานยาดังต่อไปนี้จะต้องแจ้งแพทย์

 

guest

Post : 2013-12-05 16:07:42.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคปวดหลัง

 อาการปวดหลัง Low back pain

อาการปวดหลังเป็นอาการหนึ่งที่เป็นกันบ่อยๆ ประมาณ 4/5ของผู้ใหญ่จะเกิดอาการปวดหลัง ซึ่งอาจจะมากบ้างน้อยบ้างขึ้นกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการดูแลตัวเอง ผู้ที่มีอาการปวดหลังร้อยละ50จะหายภายใน 2 สัปดาห์ ร้อยละ90 จะหายภายใน 3 เดือน จะพบผู้ป่วยร้อยละ 5-10ที่จะเป็นโรคปวดเรื้อรัง การที่มีอาการปวดหลังไม่ได้หมายความว่าจะมีการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย การปวดหลังเป็นเพียงเกิดการอักเสบขึ้นที่โครงสร้างของหลัง อาการที่สำคัญที่แสดงว่าเส้นประสาทถูกทำลายและต้องพบแพทย์โดยด่วนได้แก่

  • กลั้นปัสสาวะหรืออุจาระไม่อยู่
  • อ่อนแรงของขา

 บทความนี้จะกล่าวถึงกลไกการเกิดโรคปวดหลัง การป้องกัน การรักษา

ส่วนประกอบของหลังของเรา 

หลังของเรามิได้ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเดียวแต่ประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังทั้งหมด 24 ชิ้นที่เรียกว่า vertebrae วางซ้อนกันตั้งแต่กระดูกสะโพกถึงกะโหลกศีรษะ ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะเนื้อนุ่มเหมือนฟองน้ำขั้นกลางเรียกหมอนรองกระดูก ซึ่งจะรับแรงกระแทกของกระดูก และเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว กระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางของร่างกาย กระดูกจะถูกยึดติดเป็นแนวโดยอาศัยกล้ามเนื้อและเอ็น การหดเกร็งกล้ามเนื้อหลังจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว

หน้าอีกอย่างหนึ่งของกระดูกสันหลังคือเป็นทางผ่านของประสาทไขสันหลัง (spinal cord) วิ่งเริ่มต้นจากสมองในกะโหลกศีรษะลงมาในช่องกระดุกสันหลัง และมีเส้นประสาท ( spinal nerve ) ออกบริเวณข้อต่อของกระดูกไปเลี้ยงยังอวัยวะต่างๆ

แพทย์จะแบ่งกระดูกหลังออกเป็นห้าส่วนคือ cervical ,thoracic ,lumbar,sacrum ,coccyx ส่วนที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุดคือส่วนเอว(lumbar) และเป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้มากที่สุด อวัยวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้แก่

  • รากประสาทที่ออกจากไขสันหลังอาจจะถูกกระตุ้นทำให้มีอาการปวด
  • ปลายประสาทที่เลี้ยงไขสันหลังอาจจะถูกกระตุ้นทำให้มีอาการปวด
  • กล้ามเนื้อหลังอาจเกร็งอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดอาการปวด
  • กระดูกสันหลัง เอ็น และข้อต่อกระดูกสันหลังอาจจะเกิดโรคทำให้ปวด
  • โรคที่เกิดระหว่างกระดูกเช่นหมอนกระดูกทับเส้นประสาท

ดังนั้นการทบทวนโครงสร้างของกระดูกสันหลังจะทำให้เราเข้าใจสาเหตุ กลไกการเกิดอาการปวดรวมทั้งการให้การรักษา ส่วนประกอบสำคัญที่ประกอบเป็นกระดูกสันหลังได้แก่

  1. Vertebral bodies 
  2. Vertebral discs
  3. Spinal cord and nerve roots 
  4. Muscles 

สำหรับตำแหน่งที่มักจะทำให้เกิดอาการปวดได้แก่

  • บริเวณกระดูกคอ cervical
  • บริเวณกระดูกหน้าอก thorax
  • บริเวณกระดูกเอว lumbar

ส่วนกระดูก sacrum เป็นกระดูก 5 ชิ้นเชื่อมติดกันและต่อกับกระกระดูกสะโพกที่เรียกว่า sacroiliac joint

 

            

guest

Post : 2013-12-05 16:02:47.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ยาแก้ปวด NSAID ที่ดีที่สุด

ยาแก้ปวด NSAID ที่ดีที่สุด

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID เป็นยาลดการอักเสบและแก้ปวดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยใช้รักษา โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ การออกฤทธิ์ของยาจะไปลดเอ็นไซม์ cyclo-oxygenase (COX) enzymes โดยลดทั้ง โดยลดทั้ง COX-1 และ COX-2 สำหรับยา NSAID ที่ลด COX-1 จะทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ง่าย เนื่องจาก COX-1 จะเป็นเอ็นไซม์ ที่ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ตัวไหนที่ลดอาการปวดได้ดีกว่ากัน

สำหรับแก้ปวดในระยะสั้นน้อยกว่า 6เดือนพบว่ายาแก้ปวดกลุ่มนี้ใช้รักษาข้ออัก ปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ ผลการรักษาเรื่องการลดการเจ็บปวดให้ผลไม่ต่างกัน

ยาทาแก้ปวด diclofenac เมื่อเทียบกับยารับประทานสำหรับโรคข้อเสื่อมให้ผลไม่ต่างกันในการลดอาการปวด

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ตัวไหนที่ผลข้างเคียงทางระบบอาหารน้อยที่สุด

  • ยาแก้ปวดกลุ่ม nonselective NSAIDs(ได้แก่ aspirin, ibuprofen naproxen diclofenac )จะมีโรคแทรกซ้อนเรื่องแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกทางเดินอาหารทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
  • สำหรับยา Celecoxib ซึ่งยับยั้งเฉพาะชนิด COX-2 enzymes จะพบว่าโรคแทรกซ้อนทางกระเพาะอาหารต่ำสำหรับการรักษาในระยะสั้น ส่วนการศึกษาในระยะเวลานานยังไม่มีข้อมูล
  • การใช้ยารักษาโรคกระเพาะอาหารร่วมกับ nonselective NSAIDs(ได้แก่ aspirin, ibuprofen naproxen diclofenac จะโรคแทรกซ้อนไม่ต่างจากการให้ Celecoxib
  • การให้ยารักษากระเพาะอาหารกลุ่ม proton pump ร่วมกับ Celecoxib จะเกิดโรคแทรกซ้อนทางเดินอาหารน้อยกว่าการให้ Celecoxib อย่างเดียว

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ตัวไหนทปลอดภัยสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • ยา naproxen จะมีความปลอดภัยต่อโรคหัวใจมากที่สุดเมื่อเทียบกับยาในกลุ่ม NSAIDs ตัวอื่น
  • ยา Celecoxib จะมีความเสี่ยงไม่ต่างจาก NSAIDs ตัวอื่น
  • ยา Meloxicam ไม่เพิ่มอัตราการเสี่งการเกิดโรคหัวใจ

ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ตัวไหนที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

  • ยา Celecoxib จะมีโรคแทรกซ้อนทางกระเพาะต่ำกว่ายา NSAIDs ตัวอื่น
  • สำหรับคนที่ได้รับ aspirin เพื่อป้องกันโรคหัวใจ การให้ NSAIDs หรือ Celecoxib จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนแผลกระเพาะอาหารไม่ต่างกันแม้ว่าจะให้ยากระเพาะอาหาร

สรุป

  • หากท่านแข็งแรงดีไม่มีโรคประจำตัวการให้ยาแก้ปวด NSAIDs ตัวไหนก้ได้
  • หากท่านเป็นผู้สูงอายุการให้ NSAIDs ร่วมกับยารักษาแผลกระเพาะอาหารหรือให้ Celecoxib
  • หากท่านเคยเป็นแผลและมีเลือดออกทางเดินอาหารควรจะได้ Celecoxibร่วมกับยารักาาโรคกระเพาะอาหาร
  • หากท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจควรจะให้ยา naproxen หากมีความเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารก็ควรจะให้ยารักษากระเพาะอาหาร

NSAID ทำให้เกิดอัมพาตเพิ่มขึ้น NSIAD ทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น ยาทามีผลข้างเคียงน้อยกว่ายารับประทาน

ท่านต้องบอกแพทย์ทุกครั้งเมื่อแพทย์จะจ่ายยา NSAIDs

guest

Post : 2013-12-05 15:57:24.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคปวดกล้ามเนื้อ fibromyalgia

Fibromyalgia syndrome

เป็นกลุ่มโรคที่มีอาการปวดของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเรื้อรัง ร่วมกับอาการอ่อนล้า มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ จิตใจและอารมณ์ อาการของโรคมักจะเกิดหลังได้รับบาดเจ็บ การผ่าตัด การติดเชื้อ หรือได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่เป็นสตรี

ปัจจุบันเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่เชื่อว่าน่าจะมีความผิดปรกติในระบบประสาทส่วนกลาง พบว่ามีความสัมพันธ์กับประวัติครอบครัว การได้รับบาดเจ็บ การติดเชื้อไวรัส เช่ยไวรัสตับอักเสบ ซี ความเครียดทางจิตใจหรือภาวะซึมเศร้า หรือกังวล ความผิดปรกติของต่อมไร้ท่อ เช่นภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย หรือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน

  • พันธุกรรม เพราะโรคนี้มักจะพบกับคนในครอบครัว
  • การติดเชื้อ เชื่อว่าการติดเชื้อเป็นการกระตุ้นในโรคนี้กำเริบ
  • การได้รับบาดเจ็บทางร่างกายหรือทางจิตใจ

ปัจจัยเสี่ยง

มีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่ทำให้เกิดโรค fibromyalgiaหรือกระตุ้นให้โรคกำเริบ

  • การได้รับบาดเจ็บทั้งร่างกาย
  • ผลกระทบด้านจิตใจอย่างรุนแรง
  • การติดเชื้อไวรัส เช่น hepatitis B, hepatitis C AIDS
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคเกี่ยวกับ metabolic เช่นโรคต่อมธัยรอยด์
  • โรคที่มีการอักเสบ เช่น rheumatoid arthritis

อาการของโรคเป็นอย่างไร

อาการของผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาการก็เป็นๆหายๆ อาการจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นกับ

  • การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
  • ระดับความเครียด
  • การออกกำลังกาย

อาการทำสำคัญได้แก่

อาการปวดจะเป็นอาการหลักของผู้ป่วยมักจะปวดทั่วร่างกาย แต่มักจะปวดมากบริเวณ หลัง และคอ อาการปวดจะเป็นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็บางครั้งก็มากบางครั้งก็น้อย ลักษณะของอาการปวด

  • ปวดตึงๆ
  • ปวดเหมือนถูกของร้อน
  • ปวดเหมือนถูกของแหลมทิ่มแทง

ผู้ป่วยโรค Fibromyalgiaจะมีความไวต่อความรู้สึกปวดเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งการสัมผัสเบาๆก็จะก่อให้เกิดการเจ็บปวดอย่างมาก และเจ็บนานกว่าปรกติ มีสองลักษณะ

  • เมื่อได้รับบาดเจ็บจะเ็บมาก และเจ็บนานกว่าปรกติ
  • การสัมผัสเบาๆก็ทำให้เกิดอาการปวด

นอกจากนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ไวต่อการกระตุ้นต่อ ควันบุหรี่ อาหาร หรือแสงจ้าๆซึ่งจะกระตุ้นทำให้อาการกำเริบ

ผู้ป่วย Fibromyalgia จะรู้สึกเคลื่อนไหวลำบากหากอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ เช่นในตอนเช้าจะเคลื่อนไหวลำบาก หรือหากนั่งนานเวลาจะออกเดินจะขยับตัวลำบาก เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการหดตัว

อาการอ่อนล้าอาจจะมีเล็กน้อยจนกระทั่งมากเหมือนคนเป็นไข้หวัดใหญ่จนไม่อยากจะทำอะไร

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะนอนหลับไม่สนิท แม้ว่าจะมีเวลานอนนาน ผู้ป่วยอาจจะตื่นกลางคืนบ่อย

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีปัญหาดังต่อไปนี้

  • มีปัญหาเรื่องความจำและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  • มีปัญหาเรื่องสมาธิ
  • มีปัญหาเรื่องการพูด

สำหรับท่านที่มอาการปวดีคอและไหลมักจะมีอาการปวดศีรษะซึ่งอาการปวดศีรษะอย่างเบาจนเป็นรุนแรง ซึ่งอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วม

ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีโรคแปรปวนร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาจจะมีอาการท้องผูก และท้องร่วง

  • ทนความร้อนหรือเย็นไม่ดี
  • ข้อฝืดตึงในตอนเช้า
  • เจ็บหน้าอก
  • ปวดตามข้อโดยเฉพาะข้อนิ้วมือ รู้สึกว่ามือบวม
  • นอกจากนั้นยังพบว่ามีอาการภูมิแพ้ เช่นภูมิแพ้ อาการปากแห้ง ตาแห้ง เป็นลมบ่อย
  • ซึมเศร้า

                          

guest

Post : 2013-12-05 15:51:47.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ท่าที่ถูกต้อง

 ท่าดีสุขภาพเยี่ยม

เมื่อพูดถึงสุ ขภาพดีมักจะหมายถึงการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นสุรา บุหรี่ ยาเสพติด การยืน นั่งหรือนอนก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สุขภาพดี เนื่องจากร่างกายไม่ต้องรับแรงกดที่ไม่สมดุล การยืนหรือนั่งถูกท่าเป็นส่วนหนึ่งของโ ปรแกรมฟิตเนสเพื่อให้ท่าดูสง่าและแข็งแรง

ทำไมท่าดีถึงสุขภาพดี

การที่อยู่ในท่าที่ดีหมายถึงการที่กระดูก กล้ามเนื้อ ข้อต่ออยู่ในแนวที่เหมาะสมทำให้ร่างกายไม่ต้องทำงานหนัก อวัยวะต่างๆสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อวัยวะในร่างกายรวมทั้งระบบประสาทก็ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามหากร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่ดีหรือสมดุลอวัยวะต่างๆก็จะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ในระยะยาวก็อาจจะเกิดผลเสียต่อระบบต่างๆเช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ ระบบข้อและกล้ามเนื้อ

สาเหตุที่ทำให้ท่าไม่ถูกต้อง

ปัจจุบันมีปัจจัยที่ทำให้ท่าทางผิดปกติไป เช่น การที่เราใช้เวลาดูทีวีมากเกินไป ชีวิตการทำงานนั่งแต่บนโต๊ะทำงาน หรือต้องขับรถบ่อยทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่การที่ท่าไม่ถูกต้องมักจะเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน

  • การได้รับอุบัติเหตุ หรือหกล้ม
  • ที่นอนนิ่มหรือแข็งเกินไป
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป
  • สาตาผิดปกติ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับเท้าหรือรองเท้า
  • กล้ามเนื้ออ่อแรง
  • การนั่ง การยืนหรือการนอนไม่ถูกต้อง
  • มีความเครียดจากการทำงาน
  • สิ่งแวดล้อมที่ทำงานไม่ถูกต้อง

การตรวจสอบท่าตัวเอง

ท่านสามารถตรวจสอบท่าตัวเองได้อย่างง่ายๆโดยวิธีดังต่อไปนี้

  1. ยืนให้ส้นเท้าห่างกำแพง 6 นิ้วศีรษะและหลังชิดกำแพง แล้วใช้นิ้วมือวัดระยะห่างระหว่างกำแพงและเอวหากห่าง 1-2 นิ้วมือถือว่าปกติ ระยะห่างระหว่างกำแพงและคอหากพบว่าห่าง 2 นิ้วมือถือว่าปกติ หากไม่ได้ตามนี้ควรจะปรึกษาแพทย์
  2. ยืนส่องกระจกบานใหญ่ให้เห็นทั้งตัวแล้วสังเกตส่วนต่างๆของร่างกายdf
  • ศรีษะและคอควรจะตั้งตรง ไม่เอียง
  • ไหล่ ระดับของไหล่ควรจะอยู่ระนาบเดียวกัน หากสูงต่ำไม่เท่ากันควรจะปรึกษาแพทย์
  • ช่องว่างระหว่างแขนและลำตัวควรจะเท่ากัน
  • ระดับของสะโพกควรจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
  • เข่าควรจะชิดกันไม่โก่ง

ถ่ายรูุปด้านข้างแล้วสังเกตสิ่งต่อไปนี้

  • ศีรษะควรจะตรงไม่เอนไปข้างหน้าหรือหลัง
  • คางควรจะขนานกับพื้น
  • ไหล่ควรจะอยู่แนวเดียวกับหู และไหล่ไม่ตก
  • หน้าท้องควรจะแบนราบ
  • หลังตรงอาจจะมีรอยโค้งเล็กน้อยบริเวณเอว
  • เข่าตรง

กลวิธีที่จะให้มีรูปร่างและท่าทางดี

  • อย่าให้อ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหลังและท้องอ่อนแรง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  • เลือกเตียงนอนที่ไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป
  • ระวังเรื่องอุบัติเหตุโดยเฉพาะบริเวณหลัง
  • ตรวจ check สายตา
  • ขณะนั่ง ยืนหรือนอนต้องทำให้ถูกต้อง

ท่าผิดปกติที่พบได้บ่อยๆได้แก่

  1. ท่าของคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีลักษณะดังนี้
  • ศีรษะเอนไปข้างหน้า
  • ไหล่งุ้มไปข้างหน้า
  • หลังโค้งมน
  • อกฝ่อ
  • ท้องแฟบ
  • ก้นย้อย
  1. ท่าทหาร ท่านี้หลังจะตรงมากทำให้กระดูกหลังได้รับแรงกระแทกเต็มที่ทำให้มีอาการปวดหลัง ลักษณะที่สำคัญคือ
  • ศีรษะจะเอนไปทางหลัง
  • ไหล่จะถูกดึงไปทางหลัง
  • เอวแอ่น
  • เข่าตรง
  1. หลังค่อม มักจะเกิดตั้งแต่ในวัยรุ่นนั่งไม่ถูกต้อง
  • หลังโก่ง
  • ศีรษะเอนไปข้างหน้า

ข้อเสียของการที่มีท่าที่ไม่ดี

  • การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว
  • มีอาการปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่นไหล่ คอ หลัง แขน
  • อาจจะมีอาการเจ็บกรามเนื่องจากคางที่ยื่นไปข้างหน้า
  • ปอดทำงานไม่เต็มที่เนื่องจากการโครงสร้างที่ผิดไป
  • ปวดหลัง
  • เส้นประสาทถูกกดทับ
  • ท้องผูก
  • ดูแก่กว่าวัย

การป้องกัน

  • การยืนต้องถูกต้อง ศีรษะตรง คางขนานกับพื้น อกแอ่นไปข้างหน้าเล็กน้อย ไหล่แอ่นมาข้างหลังเล็กน้อย หากต้องทำงานยืนนานให้พักเท้าข้างหนึ่ง ยืนด้วยเท้าข้างหนึ่งสลับการ
  • เมื่อนั่งให้หาหมอนหนุนที่เอว หาที่รองเท้าให้เข่าสูงกว่าข้อสะโพก หากต้องนั่งนานให้ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย
  • การปรับโต๊ะคอมพิวเตอร์
  • การปรับเบาะเมื่อเวลาขับรถ ปรับให้เข่าสูงกว่าสะโพกและมีหมอนหนุนเอว
  • การนอนให้นอนตะแคงนอนก่ายหมอนข้าง หรือนอนหงายมีหมอนข้างรองบริเวณเข่า อย่าหนุนหมอนที่สูงเกินไป อย่านอนคว่ำ
  • การยกของให้ย่อเข่าแล้วยกแทนการก้มแล้วยกโดยเฉพาะการก้มแล้วเอี้ยวตัว

                        

guest

Post : 2013-12-05 15:47:39.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

 ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ De-Quervain's tenosynovitis

เป็นการอักเสบและตีบแคบของปลอดหุ้มเอ็นของกล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ

เอ็นสองเส้นที่มาบังคับการทำงานของนิ้วหัวแม่มือจะวิ่งในปลอกหุ้มเอ็น เอ็นจะมีเยื่อหุ้มเอ็นซึ่งจะทำหน้าที่ทำให้เอ็นเคลื่อนในปลอกลื่นไหล เมื่อปลอกหุ้มเอ็นอักเสบหรือบวมจะทำให้เกิดอาการปวด

  • เกิดเนื่องจากการใช้งานของข้อมือและนิ้วหัวแม่มือในลักษณะซ้ำๆ เช่นการหยิบสิ่งของต่าง
  • เกิดพร้อมกับข้ออักเสบอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ผู้ป่วยจะมาด้วยปวดหรือเจ็บบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ อาการอาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรืออาจจะเกิดทันที อาการปวดอาจจะร้าวไปข้อศอก อาการจะปวดมากโดยเฉพาะเวลาหยิบหรือจับสิ่งของ
  • อาจจะมีอาการบวมบริเวณเอ็นตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ
  • อาจจะมีอาการชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • การตรวจที่เรียกว่า Finkelstein's test โดยการให้ผู้ป่วยกำนิ้วหัวแม่มือและให้หักข้อมือลงทางด้านนิ้วก้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ

ประกอบไปด้วย

การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด

  • การพักการใช้งาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้นิ้วหัวแม่มือ
  • การใช้เผือกอ่อนดามโคนนิ้วหัวแม่มือ
  • ใช้ยาลดอาการปวดและลดการอักเสบ เช่น การใช้ยา NSAID
  • การประคบร้อน การประคบเย็น การใช้ ultrasound
  • หากไม่ตอบสนองก็ใช้วิธีการฉีด steroid

การผ่าตัด

  • การผ่าตัดจะทำในรายที่อาการปวดไม่ทุเลา การผ่าตัดจะตัดแยกปลอกหุ้มเอ็น

                           

guest

Post : 2013-12-05 15:44:49.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ

 

กลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ Carpal tunnel syndrome (CTS)

เป็นกลุ่มโรกกดทับเส้นประสาทที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุเกิดจากมีการกดทับเส้นประสาท median nerve ที่บริเวณข้อมือซึ่งบริเวณนี้จะมีลักษณะเป็นโพรงหรืออุโมงที่ประกอบไปด้วยผนังด้านหน้าได้แก่เอ็นที่เรียกว่า tranverse carpal ligament ส่วนผนังด้านหลังได้แก่กระดูกข้อมือ ถ้าโพรงนี้ตีบแคบจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท median nerve ทำให้เกิดอาการปวด ชาบริเวณนิ้วหัวแม่มือถึงนิ้วนาง

เส้นประสาท median nerve ทำหน้าที่อะไร

เส้นประสาม median nerve ทำหน้าที่รับความรู้สึก และการเคลื่อนไหวบริเวณน้ิหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง

สาเหตุ

สาเหตุสำคัญของโรคนี้คือการใช้ข้อมือ และมือซ้ำๆ ตัวอย่างสาเหตุที่พบว่าเกิดบ่อยที่สุดคือการคีย์คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างอาชีพที่พบโรคนี้ได้บ่อย

  • อาชีพเย็บปักถักร้อย
  • ขับรถ
  • การทาสี
  • การเขียนหนังสือ
  • การใช้เครื่องมือที่สั่น เช่นเครื่องเจาะถนน
  • กีฬาบางประเภท
  • การเล่นดนตรี

ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้ แต่มักจะพบโรคนี้ร่วมกับภาวะดังต่อไปนี้

อาการของกลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

  • ผู้ป่วยจะมาด้วย ชาเป็นเหน็บ หรือบางท่านจะมีอาการปวด แสบร้อนบริเวณฝ่ามือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ด้านหน้าหรือด้านหลังผ่ามือ มักจะเกิดตอนกลางคืนในขณะหลับ ทำให้ต้องตื่นนอนเพื่อสะบัดมือ หรือนวดฝ่ามือเพื่อช่วยให้เหน็บชาดีขึ้น
  • ผู้ป่วยบางท่านจะมาด้วยฝ่ามือ นิ้วมือ เหน็บชาและอ่อนแรงในขณะขับรถ หรือขณะถือหนังสือพิมพ์ ทำให้ต้องลดมือลง
  • อาการปวดอาจจะร้าวไปถึงข้อศอก
  • กล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือฝ่อ
  • ไม่มีแรงกำ

การตรวจร่างกายอย่างง่ายๆ

  1. การตรวจร่างกายอย่างง่ายๆที่เรียกว่า Tinel's test โดยการเคาะบริเวณตรงกลางข้อมือซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นประสาท median nerve ผ่าน จะมีอาการปวดหรือลักษณะไฟช็อต ร้าวไปที่นิ้วมือ การทดสอบนี้มีความไว40-60% มีความจำเพาะ 70-94%

  2. การตรวจ Phalen's test คือให้งอข้อมือ 90 องศาเป็นเวลา 1 นาที ผู้ป่วยจะมีอาการชา หรืออาการปวดบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ

  3. ในกรณีที่เป็นรุนแรงและเป็นมานานจะพบกล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วจะฝ่อลีบและอ่อนแรง

  4. การตรวจ Durkan 's test โดยการกดบริเวณข้อมือเป็นเวลา 30 นาที หากมีอาการชาหรือปวดจะแสดงว่ามีการกดทับของเส้นประสาท

  5. การตรวจการรับความรู้สึกที่
  6. การตรวจคลื่นไฟฟ้าของเส้นประสาท median nerve จะทำในกรณีที่อาการและอาการแสดงไม่ชัดเจน

การตรวจพิเศษ

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าของเส้นประสาท Nerve conduction velocity
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อElectromyography
  • การ x-ray ข้อมือ Wrist x-rays

การรักษา

การรักษาโรคกลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ควรจะรีบให้การรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น โดยการให้พักข้อมือ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวดมากขึ้น การใส่ splint เพื่อพักข้อมือ หากมีอาการบวมให้ประคบเย็น การรักษาแบ่งออกเป็น

  • การใช้เผือกอ่อนดามข้อมือ
  • การใช้ยา ยาที่นิยมใช้คือยากลุ่ม NSAID ซึ่งเป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบ เช่น  aspirin, ibuprofen จะสามารถลดอาการปวดและอาการบวม
  • การใช้ยา steroid จะใช้รักษาในช่วงระยะเวลาไม่นาน การใช้ยานี้ควรจะอยู่ในการดูแลของแพทย์
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะใช้ข้อมือเพื่อลดการอักเสบของข้อมือ  การทำกายภาพบำบัด เช่น การทำอุลตร้าซาวด์ การบริหารมือ ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก
  • การฉีดยา steroid เข้าบริเวณข้อมือพบว่าได้ผลร้อยละ 80 และต้องแก้ไขสาเหตุ

การผ่าตัดจะกระทำเมื่อ

  • การรักษาด้วยยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่ได้ผล
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงกล้ามเนื้อฝ่อมักจะไม่ได้ผลเมื่อรักษาด้วยยา
  • การผ่าตัดโดยการเปิดแผลและตัดเอ็นที่ด้านหน้า และขยายช่องให้ใหญ่ขึ้น
  • การผ่าตัดโดยการส่องกล้องข้อดีแผลจะเล็กกว่าการผ่าตัด

guest

Post : 2013-12-05 15:41:20.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรค ganglion

 ก้อนถุงน้ำของมือและข้อมือ Ganglion

ก้อนถุงน้ำของมือและข้อมือ Ganglion มักพบด้านหลังของข้อมือ ภายในจะเป็นของเหลวมีลักษณะเหนียวข้น ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการเจ็บปวด แต่รู้สึกไม่สบายเมื่อเคลื่อนไหว

ลักษณะของก้อน

เป็นก้อนนูนขึ้นมา ลักษณะค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และไม่เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่กดไม่เจ็บ ในผู้ป่วยบางรายอาจมี มีอาการบวมที่ข้อมือ ถ้ากระดกข้อ มือขึ้น หรือ งอข้อมือลง จะทำให้ขนาดของก้อนถุงน้ำเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าก้อนทางด้านหลังข้อมือ เมื่อกระดกข้อมือขึ้น ขนาดก้อนจะเล็กลงหรือคลำไม่ได้ แต่ถ้างอข้อมือลง ก็จะโตขึ้น และแข็งมากขึ้น เป็นต้น

ระยะเวลาที่เป็น

อาจเป็นขึ้นทันทีหรือค่อยๆโตขึ้น หรือ ก้อนนั้นยุบเองแล้วโตขึ้นมาใหม่ได้ ถ้าปล่อยไว้ก้อนก็มักจะโตขึ้น แต่จะค่อย ๆ โตอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลานานหลายเดือน หรือ เป็นปี จึงจะผิดสังเกต

อาการ

อาจมีอาการเมื่อย ปวดข้อมือรบกวน การเคลื่อนไหวมือข้อมือลำบาก เนื่องจากก้อนถุงน้ำไปกดเบียด เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ กรณีที่ก้อนซีสต์ติดกับเส้นเอ็นจะทำให้รู้สึกว่านิ้วที่มีผลกระทบนั้นอ่อนแอลงได้

 

หาก cyst กดทับเส้นประสาทก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวด

สาเหตุ

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง เชื่อว่าเกิดจากการบาดเจ็บการใช้ข้อมือเคลื่อนไหวโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวในท่ากระดกข้อมือเป็นเวลานาน

การรักษา

การรักษาแบ่งออกเป็น

  1. ไม่ต้องทำอะไรเนื่องจากไม่ใช่เนื้อร้าย และมีอาการไม่มากสำหรับผู้ที่มีก้อนและไม่มีอาการอะไรมากก็ไม่ต้องทำอะไร
  2. หยุดการเคลื่อนไหวหากมีการเคลื่อนไหวมากก็จะทำให้น้ำใน cyst เพิ่มขึ้น
  3. หากไม่สบายใจหรือกังวลหรือไม่สะดวกเวลาเคลื่อนไหวก็อาจจะพิจารณาเจาะดูดเอาของเหลวออก อาจจะใช้ยา steroid ฉีกเข้าไป อาจจะกลับเป็นซ้ำขึ้นมาใหม่ บางท่านแนะนำให้ดามด้วยเผือกอ่อนก็พอจะช่วยได้

สำหรับผู้ที่มีถุงน้ำขนาดใหญ่ก็พิจารณาผ่าตัดเลาะถุงน้ำออก แต่ถ้าเลาะไม่หมดก็อาจจะเป็นซ้ำ

guest

Post : 2013-12-05 03:46:17.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >   ตาเขหรือตาเหล่

 ตาเขหรือตาเหล่

ตาเข

ตาของคนปกติจะทำงานร่วมกันเสมอ เมื่อมองซ้ายหรือขวาก็จะไปด้วยกันเสมอรวมทั้งการมองขึ้นหรือมองลง ตาเหล่หรือตาเขหมายถึงการที่ตาข้างใดข้างหนึ่งผิดปกติไม่ได้มองจุดเดียวกันทั้งสองตา

ชนิดของตาเหล่

เวลามองตรงไปข้างหน้าในคนปกติ ตาทั้ง 2 ข้างจะต้องอยู่ตรงกลาง แต่เมื่อตาสองข้างเวลามองตรง ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่อีกตาเฉออก ซึ่งอาจเฉออกด้านไหนก็ได้ เช่น เฉออกมาที่หัวตา หรือ เฉขึ้นบน เรียกภาวะ หรือ โรคนี้ว่า โรค/ภาวะ ตาเหล่ หรือ ตาเข (Strabismus)

  • ตาข้างหนึ่งอยู่ตรงกลาง แต่ตาอีกข้างกลับหมุนเข้าใน เรียกภาวะนี้ว่า ตาเหล่เข้าใน (Esotropia) เป็นตาเหล่ที่พบบ่อยที่สุด
  • ตาหนึ่งอยู่ตรงกลาง อีกข้างหนึ่งกลอกออกมาทางหางตาหรือออกนอก เรียกว่า ตาเหล่ออกนอก (Exotropia)
  • ตาเหล่ขึ้นบน (Hypertropia)
  • ตาเหล่ลงล่าง (Hypotropia)

นอกจากนั้นตาเหล่อาจจะเป็นชั่วคราว Intermittent หรือตาเหล่ถาวร Constant ผู้ป่วยที่ตาเหล่ชั่วคราวมักจะเป็นมากชั่วที่ตาอ่อนล้า เช่นตอนสายของวัน หรือขณะป่วย หรือบางรายผลัดกันเข บางครั้งเป็นตาขวา บางครั้งเป็นตาซ้ายเรียกว่า alternate strabismus

มีอีก 2 สภาวะที่คล้ายตาเหล่มาก ได้แก่ ตาเหล่ซ่อนเร้น (Phoria) และตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)

ตาเหล่ซ่อนเร้น (Phoria)

ตาเหล่ซ่อนเร้น บางคนเรียกว่า ตาส่อน เป็นภาวะที่ถ้าลืมสองตา ตาทั้ง 2 ข้างจะอยู่ตรงกลางดี เวลาที่ร่างกายอ่อนเพลียหรือเอาอะไรมาบังตาข้างหนึ่งเสีย ตาข้างที่ถูกบังจะเบนออกจากตรงกลาง แต่ถ้าเอาที่บังตาออก ตาข้างนั้นจะกลับมาตรงได้ใหม่ อาจเรียกว่า ความต้องการในการมองเห็นภาพเป็นภาพเดียวกันมีสูง สามารถบังคับให้ตาที่เขกลับมาตรงได้ ภาวะนี้มักจะไม่มีปัญหาอะไร อาจเป็นเหตุให้มีอาการเมื่อยตา ตาล้า ง่ายกว่าคนทั่วไปเวลาใช้สายตามากๆ ซึ่งแก้ไขได้โดยการฝึกกล้ามเนื้อตา

ตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)

สำหรับตาเหล่เทียม พบในเด็กที่สันจมูกกว้างยังแบนราบกับผิวหนังทำให้เก็นตาขาวน้อย และบริเวณหัวตากว้าง (Epicanthus) จึงแลดูคล้ายตาเหล่เข้าใน เมื่อเด็กโตขึ้นสันจมูกมีดั้งสูงขึ้น ภาวะคล้ายตาเหล่นี้จะหายไป

สาเหตุของโรคตาเหล่ที่พบบ่อย

สาเหตุของตาเหล่ยังไม่ทราบแน่ชัด

  • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น เช่นสายตายาว สายตาสั้น หรือตามัว จะทำให้มีการปรับตัวเกิดตาเหล่
  • โรคประจำตัวของเด็กเช่น  cerebral palsy, Down syndrome, hydrocephalus และเนื้องอกสมอง brain tumor ก็พบว่ามีตาเหล่มาก
  • สำหรับผู้ใหญ่พบว่าสาเหตุของตาเหล่ได้แก่ การเป็นอัมพาต อุบัติเหตุ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

อาการของตาเหล่

  • มองเห็นตาเฉออกชัดเจน
  • ตาไม่เคลื่อนไหวไปในแนวทางเดี่ยวกัน
  • กระพริบตาบ่อยโดยเฉพาะแสงจ้าๆ
  • เอียงคอเวลามอง
  • กะระยะผิด
  • เห็นภาพซ้อน

การวินิจฉัยโรคตาเหล่

การวินิจฉัยจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วย หากตาเหล่ชัดเจนก็สามารถเห็นได้ด้วยการตรวจตา แต่ในรายที่ไม่ชัดอาจจะต้องการตรวจเพิ่มเติม

  1. การตรวจการมองเห็นและการตรวจสายตา
  2. การตรวจ  light reflex testing โดยการให้มองแหล่งกำเนิดแสงที่วางห่างออกไปประมาณ 3 ฟุต ให้ตรวจดูแสงที่ม่านตา หากแสงตกที่บริเวณม่านตาสมดุลสองข้างแสดงว่าไม่มีตาเหล่ หากแสงตกไม่สมดุลแสดงว่ามีตาเหล่ ระยะทางที่ไม่สมดุลจะสอดคล้องกับความรุนแรงของตาเหล่
  3. การตรวจ cover testing โดยการให้มองนิ่งไปที่วัตถุ และนำกระดาษมาบังตาข้างหนึ่ง ให้สังเกตตาที่มอง หากมีการเคลื่อนที่ของตาที่มองเมื่อมีการบัง แสดงว่ามีตาเหล่
  4. การตรวจ prism and cover testing prism เป็นก้อนสามเหลี่ยมมีหน้าที่หัเหแสง เมื่อนำมาใช้กับการตรวจ 2 ก็จะบอกความรุนแรงของตาเหล่

รักษาผู้ป่วยตาเหล่

เป้าหมายของการรักษาคือแก้ไขความพิการเพื่อให้การมองเห็นดีขึ้นการรักษาขึ้นกับสาเหตุ เช่นการใส่แว่นตา การบริหารกล้ามเนื้อตา การใช้แท่ง prism การผ่าตัดซึ่งจะทำหลังจากการรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล

  • แก้ปัญหาเรื่องสายตา เช่นตาสั้น ตาเอียง สายตายาว ก่อนที่จะเกิดตาเหล่
  • ใช้แว่นตา prism การบริหารกล้ามเนื้อตาในการแก้ไข
  • การผ่าตัด

                         

guest

Post : 2013-12-05 03:44:11.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคริดสีดวงตา

 โรคริดสีดวงตา Trachoma คืออะไร

เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ตาซึ่งอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนทำให้ตาบอดก่อนวัยได้ สาเหตุที่สำคัญคือเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Chlamydia trachomatis อาการเริ่มต้นจะไม่มาก อาจจะมีอาการระคายเคืองตา และมีหนองอกเล็กน้อย หากมีการติดเชื้อซ้ำอาจจะทำให้เกิดตาบอด

โรคนี้ติดต่ออย่างไร

โรคริดสีดวงตานี้จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัส วิธีติดต่อที่สำคัญคือ

  • สัมผัสโดยตรงกับหนองหรือขี้ตาที่มีเชื้อโรค
  • สัมผัสกับน้ำมูก หรือเสมหะที่มีเชื้อโรค
  • สัมผัสผ่านทางผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว
  • แมลงวันก็สามารถนำเชื้อจากคนติดเชื้อไปสู่คนปรกติ

โรคริดสีดวงตามีอาการอย่างไร

อาการเริ่มแรกจะมีการติดเชื้อที่เปลือกตาทำให้เกิดตาแดง น้ำตาไหลมีขี้ตา บางคนจะรู้สึกเหมือนมีผงในตา หากพลิกดูหนังตาจะพบเป็นตุ่มเล็กๆที่เรียกว่า Follicle การติดเชื้อเพียงครั้งเดียวจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อดวงตา หากมีการติดเชื้อซ้ำจะทำให้เกิดการอักเสบของเปลือกตา ทำให้เกิดพังผืดดึงรั้งเกิดแผลเป็นบริเวณขอบเปลือกตาเป็นต้นเหตุให้ขนตาเกเข้า (Trichiasis) ขนตาชี้ลงจนครูดบาดกระจกตา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บตา เคืองตามากขึ้น ตามด้วยมีขี้ตามากขึ้น ขนตาจะทิ่มแทงกระจกตาทำให้เกิดแผลที่กระจกตา keratitis นานเข้าการอักเสบจะลามเข้าถึงในตาทำให้เกิดฝ้าขาว

หนังตาบนอักเสบเห็นเป็นตุ่มๆ

หนังตาบนจะเกิดพังผืด

เริ่มมีพังผืดที่ตาดำจะเห็นเป็นฝ้าขาว

นอกจากนั้นการอักเสบจะทำให้ท่อน้ำตาอุดตันก็จะเกิดตาแห้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตา ทำให้ตามองไม่เห็น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

  • สภาพแวดล้อมแออัด นอนรวมกันในห้องนอนหลายคน
  • ขาดแคลนน้ำสะอาด
  • ขาดอุปกรณ์สำหรับการทำความสะอาด
  • มีแมลงวันจำนวนมาก
  • ระบบสาธารณสุขไม่ดี

การวินิจฉัยโรคริดสีดวงตา

การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติและการตรวจพบตุ่มที่ใต้หนังตาบน มีพังผืดที่หนังตา กระจกตาเป็นแผล ขึ้นกับระยะของโรค หากสงสัยก็นำขี้ตาไปย้อมและเพาะเชื้อก็จะพบเชื้อที่เป็นสาเหตุ

การรักษา

การผ่าตัด

เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนทิศทางของขนตามิให้ทิ่มแทงกระจกตา

ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะทั้งชนิดหยอดตา และยารับประทาน เป็นยาในกลุ่ม Tetracycline โดยเป็นยารับประทาน 1.5–2 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และเป็นยาขี้ผึ้งป้ายตาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน หรือใช้ยา Erythromycin หากผู้ป่วยแพ้ยาTetracycline ปัจจุบันมีแพทย์บางท่านแนะนำใช้ Agithomycine 2 กรัมเพียงครั้งเดียวก็ได้

การล้างหน้า

การล้างหน้าด้วยน้ำสะอาดและสบู่จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

การจัดการกับสิ่งแวดล้อม

  • จัดหาแหล่งน้ำสะอาด
  • จัดหาสบู่ ผงซักฟอก
  • ลดปริมาณของแมลงวัน
  • ให้ล้างหน้าด้วยน้ำและสบู่่

 

guest

Post : 2013-12-05 03:19:45.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคต้อเนื้อและต้อลม

 

โรคต้อเนื้อและต้อลม

โรคต้อเนื้อหรือต้อลมเป็นภาวะเนื้อเยื่ยบุตามีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมเนื่องจากการถูกสิ่งระคายเคืองมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดเนื้อเยื่อขาวที่ตาขาวเรียกว่าต่อเนื้อ หากยังสัมผัสสิ่งระคายเคืองอย่างต่อเนื่องก็จะกลายเป็นต้อเนื้อซึ่งจะเป็นก้อนเนื้อสีแดง ปรกติต้อเนื้อและต้อลมจะอยู่เฉพาะตาขาว แต่หากรุนแรงก็จะลามเข้าตาดำซึ่งจะทำให้เกิดตามัว

สาเหตุของต้อเนื้อต้อลม

สาเหตุที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ แต่โรคนี้มักจะพบในคนที่กลางแจ้ง แสงแดดมากจึงเชื่อว่าปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อการเกิดโรคนี้

  • แสงแดด หรือ แสงอัลตราไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์
  • ลมแรง
  • สารที่ระคายเคืองต่อตา เช่น ฝุ่น ลม ควัน
  • โรคตาแห้ง

อาการของต้อเนื้อต้อลม

ต้อเนื้อที่เริ่มเป็นมักจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์เนื่องจากมีก้อนเนื้อที่ตาขาว หากเจอลม เจอฝุ่น หรือมีการอักเสบจะมีอาการระคายเคืองตา น้ำตาไหล หากอักเสบมากจะมีอาการเคืองตา หากต้อเนื้อเข้าตาดำอาจจะทำให้เกิดตามัว

ต้อเนื้อ

ต้อเนื้อเป็นก้อนเนื้อสีขาว

ต้อเนื้อลามเข้าตาดำ

การรักษาต้อเนื้อต้อลม

โดยทั่วไปต้อลมและต้อเนื้อไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่มีอาการ การดูแลจะต้องป้องกันสิ่งระคายเคืองที่จะมาสัมผัสตา

การใช้ยาหยอดตา

จะใช้ยาหยอดตาในรายที่เป็นไม่มากแต่มีอาการระคายเคืองตา ยาหยอดตาใช้ลดอาการระคายเคือง ลดอาการตาแดง ลดอาการอักเสบ ส่วนผสมของยาส่วนใหญ่จะเป็นยาแก้แพ้ ยาที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว และยา Steroid แม้ว่ายา Steroid จะให้ผลการรักษาที่ลดอาการได้เร็ว แต่ไม่แนะนำให้ซื้อยามาหยอดตาเอง และไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากยา เช่น ต้อกระจก ต้อหินซึ่งรุนแรงกว่าต้อเนื้อ

การผ่าตัด

จะตัดต้อเนื้อออกในรายที่ต้อเนื้อลามเข้าตาดำและทำให้ตามัว หากอาการไม่มากไม่แนะนำให้ผ่าตัดเพราะหลังผ่าจะมีโอกาศเกิดซ้ำ การผ่าตัดก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพียงยาชา หลังผ่าสามารถกลับบ้านได้

การป้องกันโรคต้อเนื้อต้อลม

การป้องันโรคทำได้โดยการป้องกันตามิให้กระทบกับสิ่งที่ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา

  • หลีกเลี่ยงการทำงานในที่แสงแดดมาก
  • หลีกเลี่ยงสถานที่มี ลม ฝุ่นมาก
  • ให้สวมหมวกปีกกว้าง และแว่นกันแดดเมื่อจะออกที่แจ้ง
  • หยอดน้ำตาเทียมสำหรับคนที่ตาแห้ง

                         

guest

Post : 2013-12-05 03:17:43.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ

 โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ 

โรคแทรกซ้อนทางตาที่เกิดจากโรคเบาหวานมี ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทจอรับภาพเสื่อมหรือประสาทจอรับภาพขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการมองไม่เห็น

การดูแลที่สำคัญคือการตรวจตาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ Diabetes retinopathy เป็นอย่างไร

เป็นโรคเบาหวานที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จอรับภาพ retina โดยมีการทำลายหลอดเลือดบนจอภาพ ซึ่งหากเป็นมากอาจจะมีผลต่อการมองเห็น

โรคเบาหวานขึ้นจอรับภาพเกิดได้อย่างไร

คนที่เป็นเบาหวานมานานจะมีการทำลายหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดบางส่วนไม่แข็งแรงซึ่งทำให้เกิดผลตามมาดังนี้

  • ผนังหลอดเลือดบางส่วนโป่งออกมาเรียก Aneurysm
  • มีการรั่วของน้ำออกจากผนังหลอดเลือดเรียก Exudate
  • อาจจะมีเลือดออกที่จอรับภาพเรียก Haemorrhage
  • เส้นเลือดบางส่วนตีบตันทำให้เลือดไปเลี้ยงจอรับภาพไม่พอ
  • มีการงอกของเส้นเลือดใหม่เพื่อไปเลี้ยงส่วนที่ขาดเลือด เรียก proliferative ปัญหาคือเส้นเลือดที่งอกใหม่จะไม่แข็งแรงแตกได้ง่ายซึ่งจะเป็นสาเหตุของตาบอด

ผู้ที่เบาหวานขึ้นจอรับภาพจะมีอาการอย่างไรบ้าง

ผู้ที่เบาหวานขึ้นจอรับภาพส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอะไร แต่โรคจะค่อยดำเนินจนหากเป็นมากจะกระทบกับการมองเห็นจนกระทั่งตาบอด แต่อาจจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ตามองไม่ชัด
  • เห็นเศษชิ้นส่วนลอยในตา
  • มีปัญหาเวลามองกลางคืน
  • มองเห็นจุดดำ
  • แยกสีไม่ชัดเจน

เบาหวานขึ้นจอรับภาพมีกี่ชนิด

ขึ้นกับว่ากระทบกับส่วนใดของจอรับภาพ แบ่งออกเป้น

การเปลี่ยนของจอรับภาพเนื่องจากเบาหวานจะพบได้เกือบทุกรายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 และพบร้อยละ60ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2เมื่อวินิจฉัยได้ครั้งแรกพบว่าก็มีการเปลี่ยนแปลงทางจอรับภาพแล้วร้อยละ21 การเปลี่ยนแปลงทางจอรับภาพที่พบได้แก่

 

Mild nonproliferative [increase permeability]

ผู้ป่วยไม่มีอาการ ตามองเห็นปกติ ตรวจทางจอรับภาพ จะพบ มีการโป่งพองของหลอดเลือด [microaneurysm],  หลอดเลือดที่โป่งพองจะควบคุมการไหลของสารน้ำไม่ได้เกิด[ hard exudate] ,นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมของจอรับภาพ [macular edema] และ  dot  hemorrhage    


2  moderate to severe nonproliferative [NPDR ,vascular closer] จอรับภาพจะมีการขาดเลือดเพิ่ม มีการหลั่งของเหลวในจอรับภาพ cotton-wool spot,venous dilatation


3 proliferative diabetic retinopathy [new blood vessel on retina]  หลอดเลือดที่จอรับภาพเสียหายทำให้มีการสร้างหลอดเลือดขึ้นใหม่ หลอดเลือดใหม่นี้ไม่แข็งแรงทำให้มีเลือดออกและมองไม่เห็น [vitreous hemorrhage] หลอดเลือดใหม่ทำให้เกิดพังผืด [scar] และเมื่อพังผืดบิดตัวทำให้เกิดการแยกของจอรับภาพและประสาทตา [ retinal detachment] ตาจะบอด 



macular

4 Macula edema  

Macular จะเป็นส่วนของจอรับภาพที่ชัดที่สุด โรคเบาหวานจะทำให้บริเวณนี้บวมส่งผลทำให้เห็นไม่ชัด

การตรวจตาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่1 อายุมากกว่า 10 ปี และเป็นเบาหวานมาแล้วอย่างน้อย 5 ปีควรจะได้รับการตรวจจอรับภาพทุกคน
  • ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 ควรจะได้รับการตรวจจอประสาทตาหลังจากวินิจฉัยโรคเบาหวาน
  • การติดตามขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของจอรับภาพ หากปกติอาจจะติดตามทุก2-3ปี หากผิดปกติต้องติดตามถี่ขึ้น
  • การใช้กล้องถ่ายภาพก็เป็นช่องทางหนึ่งในการติดตาม
  • สตรีที่เป็นเบาหวานหากจะตั้งครรภ์ต้องตรวจจอรับภาพ

 

โรคเบาหวานขึ้นประสาทจอรับภาพ retinopathy

 

โรคแทรกซ้อนทางตาที่เกิดจากโรคเบาหวานมี ต้อกระจก ต้อหิน ประสาทจอรับภาพเสื่อมหรือประสาทจอรับภาพขาดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการมองไม่เห็น

การดูแลที่สำคัญคือการตรวจตาตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ

          

 

guest

Post : 2013-12-05 02:48:56.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้

 โรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้

เยื่อบุตาอักเสบอาจจะเกิดจากภูมิแพ้หรือเกิดจากการติดเชื้อโรคก็ได้ อาการทางภูมิแพ้มักจะเกิดที่ตาเนื่องจากตาเป็นอวัยวะที่มีเลือดไปเลี้ยงมาก เส้นเลือดเหล่านี้ตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ได้ง่าย และที่สำคัญตาสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมภายนอก

เมื่อคุณได้รับสารก่อภูมิแพ้เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่น รังแคสัตว์ ยา ควันบุหรี่ สารภุมิแพ้เหล่านั้นจะละลายในน้ำตา และกลับสู่เยื่อบุตาซึ่งจะสร้างสารต่อต้านสารภูมิแพ้ที่เรียกว่า Antibody IgE เมื่อภูมิจับกับ antibody จะเกิดการหลั่งสารหลายอย่างทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ขึ้น ตาของคุณก็จะมีอาการเคือง แดงและมีน้ำตาไหล หนังตามักจะปกติ การมองเห็นจะปกติ และไม่แนะนำให้ใส่ contact lens เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย

ชนิดของเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้

เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เยื่อบุตาจะบวม

Seasonal allergic conjunctivitis

  • เป็นเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุด
  • มักจะมีอาการน้ำมูกไหลร่วมด้วย
  • อาการที่สำคัญคือ มีน้ำตาไหล เคืองตา
  • มักจะเป็นกับตาสองข้าง
  • อาการมักจะเป็นตามฤดูกาล

Perrennial allergic conjunctivitis 

  • เป็นการเกิดภูมิแพ้ที่เกิดจากสารภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นตลอดปี
  • พบได้น้อยกว่าชนิดแรก
  • อาการมักจะน้อกว่าชนิดแรก

Atopic Keratoconjuntivitis

  • มักจะพบร่วมกับผื่น atopic ของผิวหนังที่หนังตา และหน้า
  • อาการที่พบร่วมคือ ตาแดง เคืองตา คัน น้ำตาไหล

ลักษณะสำคัญที่บ่งบอกเยื่อบุตาอักเสบเกิดจากภูมิแพ้

  • อาการคันในทาเป็นอาการที่สำคัญ หากติดเชื้อจะเป็นอาการปวดแสบร้อน
  • น้ำตาจะเป็นน้ำใส หากติดเชื้อจะเป็นเมือกหรือหนอง
  • มักจะมีการอักเสบของเปลือกตา
  • ผู้ป่วยมรประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว

การป้องกัน

ควรจะหลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ เช่นไม่ไปเดินในที่มีเกสรดอกไม้ ไม่ไปในที่มีควันบุหรี่ กอฟาง

การดูแลตัวเอง

เมื่อเกิดอาการเคืองตาและสงสัยว่าเกิดจากภูมิแพ้ควรจะหลีกเลี่ยงจากสิ่งก่อภูมิแพ้ทันที อาจจะซื้อน้ำตาเทียมซึ่งจะทำให้ลดอาการบวมและชะล้างสารก่อภูมิแพ้ ใช้ผ้าเย็นปิดตาเพื่อลดอาการบวม อาจจะซื้อยาแก้แพ้รับประทาน หากดูแลตัวเองแล้วยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ซึ่งจะให้ยาหยอดตาแก้แพ้

  • หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้
  • บางครั้งอาจจะต้องใช้น้ำสะอาดล้างตา
  • ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม

การใช้ยาเพื่อรักษา

  • ใช้ยาแก้แพ้ antihistamine ซึ่งใช้ได้ทั้งชนิดยาหยอดตาและยารับประทาน
  • ยาหยอดตาเพื่อให้หลอดเลือดหดตัวเพื่อลดอาการบวมของเยื่อบุตา
  • ยาหยอดตา steroid

                         

처음 이전 ... 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 다음 끝
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com