Support
www.Bhip.com
095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest

Post : 2013-12-05 19:11:29.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  งูกะปะ

 

งูกะปะ [Malayan pit viper ]

งูชนิดนี้พบได้ทั่วประเทศ ลักษณะหัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ลำตัวอ้วน หางเรียวสั้น มีลายเป็นรูปเหมือนหลังคาบ้านอยู่ด้านข้างตลอดลำตัว ชอบออกหากินเวลาเย็นและกลางคืน ชอบอาศัยในดินปนทรายตามสวน ไร่เหมืองแร่ เมื่อกัดคนแล้วมักไม่เลื้อยไปไหนจนกระทั่งมีคนมาทุบตีมัน พิษงูกะปะจัดเป็นพวก hemotoxin ทำให้เกิดอาการแสดงคล้ายงูแมวเซาแต่รุนแรงน้อยกว่า

อาการเฉพาะที่

  • อาการปวดมีน้อย
  • ภายใน 10 นาทีหลังงูกัด บริเวณรอบแผลจะบวมขึ้นย่างรวดเร็วจนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง
  • รอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลา
  • บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพองตอนแรกมีน้ำใสต่อมาภายหลังมีเลือด
  • ภายหลังถูกกัดไม่กี่วันรอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า
งูกะปะ

อาการเฉพาะที่

  • อาการปวดมีน้อย
  • ภายใน 10 นาทีหลังงูกัดบริเวณรอบแผลจะบวมขึ้นย่างรวดเร็วจนกระทั่งแขนหรือขาข้างนั้นบวมไปหมดภายใน 1 ชั่วโมง
  • รอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลตลอดเวลา
  • บริเวณแขนขาที่บวมจะมีสีเขียวคล้ำ ผิวหนังเกิดพองตอนแรกมีน้ำใสต่อมาภายหลังมีเลือด
  • ภายหลังถูกกัดไม่กี่วันรอยเขี้ยวจะเกิดการเน่า

อาการทั่วไป

มีโลหิตตามอวัยวะต่างๆในราว 3 ชั่วโมง ผิวหนังมีเลือดออกเป็นรอยคล้ำ เลือดออกทางเดินอาหาร เลือดออกตามไรฟัน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากความดันโลหิตต่ำ

 

guest

Post : 2013-12-05 19:09:08.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  งูกัด

 งูพิษกัด

ท่านผู้อ่านบางท่านคงเคยถูกสัตว์กัดโดยที่มองไม่เห็นตัวมัน อาจจะถูกกัดในพงหญ้า ถูกกัดเวลากลางคืน ถูกกัดบริเวณสวน กอไม้เก่าๆ เป็นต้นดังนั้นเมื่อถูกสัตว์ไม่ทราบชนิดกัด ท่านต้องหาทางให้ทราบว่า

งูพิษเมืองไทยมีกี่ชนิด

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนมีทั้งพื้นที่ลุ่ม ป่า และภูเขาจึงทำให้มีงูชุกชุม ส่วนใหญ่เป็นงูไม่มีพิษ งูพิษที่มีความสำคัญทางการแพทย์เพราะมีคนถูกพวกมันกัดบ่อยๆ มีอยู่ 7 ชนิดด้วยกัน ได้แก่



ถูกงูพิษกัดจริงหรือไม่

การจะพิจารณาว่าถูกงูกัดหรือไม่จะแบ่งพิจารณาเป็น3หัวข้อ

รอยเขี้ยวงูและรอยเลือดออก

  1. ไม่เห็นสัตว์ที่กัด
  2. เห็นว่าเป็นงูแต่ไม่ทราบชนิดงู
  3. สามารถตีงูได้

กรณีไม่เห็นสัตว์ที่กัด

กรณีเช่นนี้จะเป็นปัญหาในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา การพิจารณาคงต้องอาศัยประวัติช่วย เช่นถ้าถูกกัดบริเวณกิ่งไม้ให้สงสัยว่าจะเป็นงูเขียวหางไหม้ ถ้าถูกกัดตามทุ่งนาให้สงสัยว่าเป็นงูเห่า ถูกกัดบริเวณซอกไม้อาจเป็นงูหรือตะขาบ แมงป่อง ถ้าถูกกัดตามพงหญ้าโดยมากเป็นงูกัด นอกจากนั้นยังต้องดูแผลที่ถูกกัดด้วย ถ้าถูกงูพิษกัดจะต้องมีรอยเขี้ยว 1-2 แผลเสมอมีเลือดออกซึมๆ ถ้าดูแผลแล้วไม่พบรอยเขี้ยวแสดงว่าไม่ใช่งูพิษ

เห็นว่าเป็นงูแต่ไม่ทราบชนิดงู

กรณีนี้ต้องแยกว่าเป็นงูพิษหรืองูไม่มีพิษ โดยอาศัยรอยเขี้ยวถ้ามีรอยเขี้ยวแสดงว่าเป็นงูพิษ แต่ถ้าไม่มีรอยเขี้ยวเป็นงูไม่มีพิษ ต้องถามรายละเอียดลายและสีของงูเพื่อแยกชนิดงู

สามารถตีงูได้

การตีงูให้ตีบริเวณต้นคอแรงๆ จะได้เก็บส่านหัวงูไว้ตรวจว่าเป็นงูชนิดใด การพิจารณาว่าเป็นงูชนิดใดให้ดูจากลายและสีของงู ถ้าเป็นงูพิษจะต้องมีเขี้ยว งูไม่มีพิษจะมีแต่ฟัน

เพื่อความปลอดภัยควรรีบไปพบแพทย์


ถ้าถูกงูพิษกัดจริง ได้รับพิษมากหรือน้อย และเป็นงูพิษชนิดใด

การยืนยันว่าถูกงูพิษกัดจริงได้แก่ นำงูพิษนั้นมาด้วยหรือรู้จักงูพิษนั้นอย่างดี และหรือมีอาการและอาการแสดงของการถูกงูพิษกัดอย่างใดอย่างหนึ่ง การถูกงูพิษกัดไม่จำเป็นต้องเกิดอาการรุนรงเสมอไป ประมาณ 50%ของผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัดไม่มีอาการอะไรเลย มีเพียง 25%ที่เกิดอาการพิษของงู โดยทั่วไปเราจำแนกพิษของงูได้เป็น 4 ประเภทดังนี้

  1. พิษต่อระบบประสาท [Neurotoxin]ได้แก่พิษของงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม ผู้ที่ได้รับพิษจะทำให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อ ลืมตาไม่ได้ กลืนลำบาก  และที่สำคัญคือทำให้หยุดหายใจเสียชีวิตได้
  2. พิษต่อโลหิต [Hemotoxin ] ได้แก่พิษของงูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ ทำให้มีเลือดออกตามที่ต่างๆ ตามผิวหนัง เหงือก อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
  3. พิษต่อกล้ามเนื้อ [Myotoxin] ได้แกพิษงูทะเลทำอันตรายต่อกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อมาก ปัสสาวะสีดำเนื่องจากกล้ามเนื้อถูกทำลายเกิด myoglobinuria
  4. พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ [Cardiotoxin] ได้แก่พิษงูเห่า งูจงอาง

 การพิจารณาว่าได้รับพิษจากงูหรือไม่ เป็นพิษชนิดใด และรุนแรงแค่ไหน ต้องอาศัยอาการและอาการแสดงของผู้ป่วย อาการที่บอกว่าได้รับพิษงูคือ มีรอยเขี้ยวงู ปวด และบวม

  • ถ้าถูกกัดแล้วเกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและเกิดทันที แผลบวมขึ้นรอบแผลมีสีเขียวและมีเลือดออกให้สงสัยว่าเกิดจากงูแมวเซา,งูกะปะ,งูเขียวหางไหม้
  • ถ้าอาการปวดไม่มาก อีก 2-3 ชั่วโมงจึงมีอาการบวมบริเวณแผล ตามด้วยหนังตาตก กลืนลำบากให้คิดถึงงูเห่า
  • ถ้าปวดกล้ามเนื้อมากและเป็นชาวประมง ให้สงสัยเป็นงูทะเล
  • หลังจากถูกกัด 2 ชั่วโมงถ้าแผลไม่บวมและไม่มีอาการอื่นแสดงว่าพิษของงูไม่ได้เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย

แนวทางการรักษา

ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จาก case series และเป็นการศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียน
ผู้ป่วยที่ถูกงูกัดเกือบทั้งหมดจะมาตรวจที่ห้องฉุกเฉิน เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ให้การ
ดูแลรักษาเบื้องต้น ดังนี้
1. ประเมิน ABC และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น : A (Airway), B (Breathing), C
(Circulation) 
2. ถ้าผู้ป่วยเอาเชือกรัดเหนือแผลมา ควรคลายเชือกหรือที่รัดออกก่อน 
3. อธิบายให้ผู้ป่วยหรือญาติคลายความกังวล
4. ทํ าความสะอาดบริเวณแผลที่ถูกงูกัด ด้วยแอลกอฮอล์หรือ povidine iodine

การป้องกันไม่ให้ถูกงูกัด

เนื่องจากประเทศเรามีงูชุกชุม เราควรเรียนรู้นิสัยบางอย่างของงูเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น วิธีหลีกเลี่ยงมีดังนี้

  1. งูมีพิษไว้ล่าสัตว์ไว้เป็นอาหาร และกลัวคนมากกว่าคนกลัวงูเสียอีก ถ้าไม่บังเอิญไปเหยียบ หรือเข้าใกล้ตัวมัน มันมักจะเลี้ยวหนีไปเอง
  2. พยายามอย่าเดินทางในที่รกมีหญ้าสูงถ้าจำเป็นต้องเดินผ่านควรใส่รองเท้าหุ้มข้อเท้า ใส่กางเกงขายาวและควรมีไม้ตีหญ้าข้างหน้าไว้ด้วย
  3. หลีกเลี่ยงการเดินทางในป่าหรือทุ่งนาเวลากลางคืน หากจำเป็นต้องเตรียมไฟฉายไปด้วย
  4. งูมักจะซ่อนตามซอกแคบๆ ในถ้ำหรือโพรงไม้ เราควรระวังบริเวณเหล่านี้เป็นพิเศษ
  5. อย่าเดินในซอกหินแคบ เพราะงูไม่มีทางหนี
  6. ถ้าต้องพักแรมในป่าอย่านอนกับพื้น
  7. อย่ายกหิน กองเสื้อผ้าเก่าๆ หรือกองหญ้า เพราะเป็นที่ๆงูชอบ

                       

guest

Post : 2013-12-05 19:04:15.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  อาการปัสสาวะบ่อย

 

ปัสสาวะขัด urinary frequency or dysuria

เชื่อว่าหลายท่านโดยเฉพาะคุณผู้หญิงคงเคยมีอาการปัสสาวะขัด หรือบางคนอาจจะเรียกว่าปวดปัสสาวะกันมาแล้วเนื่องจากผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ ส่วนผู้ชายพบไม่บ่อย การที่มีอาการเกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุอยู่รอบๆท่อปัสสาวะเมื่อมีการได้รับบาดเจ็บของท่อปัสสาวะเช่น การขี่ม้า การขี่จักรยาน การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง การคุมกำเนิดโดยใช้ diaphragm หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน ก็เป็นสาเหตุของปัสสาวะขัด ผู้ที่มีทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีประวัติและความเจ็บป่วยดังนี้อาการ

  • ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะออกครั้งละไม่มาก
  • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
  • ปวดหน่วงบริเวณบริเวณหัวเหน่า
  • ปวดแสบเมื่อปัสสาวะจะสุด
  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อย
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ถ้าเป็นกรวยไตอักเสบจะมีไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง คลื่นไส้อาเจียน
  • สำหรับผู้ชายสูงอายุอาจจะมีอาการปัสสาวะไม่พุง ปัสสาวะลำบากเป็นมาก่อน
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะเคยคาสายสวนปัสสาวะหรือส่องกล้องดูกระเพาะปัสสาวะ

หากท่านมีอาการดังกล่าวท่านต้องสังเกตอาการและเตรียมตอบคำถามของแพทย์

  1. ระยะเวลาที่ปวด
  • ปวดทุกครั้งหรือไม่ที่ปัสสาวะ
  • ปวดปัสสาวะกี่วันมาแล้ว
  • อาการปวดเกิดทันทีหรือไม่
  1. ลักษณะอาการปวด
  • อาการปวดจะเกิดเริ่มเมื่อปัสสาวะ
  • อาการปวดจะหายไปเมื่อปัสสาวะเสร็จ
  • ลักษณะอาการปวด แสบๆ ปวดบิดๆ 
  1. ตำแหน่งที่ปวด
  • ปวดที่หลัง 
  • ปวดที่หัวเหน่า
  • ปวดที่ท่อปัสสาวะ
  1. ปัจจัยที่กระตุ้นให้ปวดมากขึ้น เช่น
  • ปวดมากขณะยืน นั่ง หรือนอน
  • ปวดเวลากลางวัน กลางคืน
  • อุจาระแล้ปวดหรือไม่
  1. อาการอื่นที่สำคัญ
  • ไข้ หนาวสั่น
  • หนองติดกางเกงในหรือไม่
  • สีและกลิ่นของปัสสาวะ
  • ปริมาณของปัสสาวะ
  • มีเลือดร่วมด้วยหรือไม่

หากท่านมีอาการดังกล่าวควรรีบรักษาด้วยตัวเองทันทีสามารถทำได้โดย

  • หากมีอาการปวดปัสสาวะให้รีบไปปัสสาวะทันที
  • รีบรับประทานยารักษาทันที
  • ให้ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณหัวเหน่าหรือเปิดน้ำอุ่นประคบ 20 นาทีทุก 2 ชั่วโมงใน สองวันแรกระวังอย่าให้น้ำร้อนจนผิวหนังได้รับอันตราย
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ

สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่อปัสสาวะอักเสบ

         

guest

Post : 2013-12-05 19:01:15.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

 

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

หมายถึงการเกิดการอักเสบของระบบขับปัสสาวะ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ท่อปัสสาวะจนถึงไต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคแถวบริเวณท่อปัสสาวะ

โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ Urinary tract infection [UTI]

ระบบทางเดินปัสสาวะของคนเราประกอบด้วย ไต(kidney) ท่อไต (ureter) 2 ข้าง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ (urethra)

ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกในรูปปัสสาวะ นำออกท่อไต ไป กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาที่พบบ่อย ทั้งในผู้ใหญ่ และเด็ก ผู้หญิงจะพบบ่อยกว่าผู้ชาย 8-10 เท่าประมาณว่าคุณผู้หญิง1ใน 5 คนเป็นคนที่เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

แพทย์บางท่านวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะว่าติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน หรือส่วนล่าง โดยทั่วไปการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนมักจะมีไข้ หนาวสั่น แต่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง มักจะไม่มีไข้ ระบบทางเดินปัสสาวะแบ่งออกเป็น

  1. ระบบทางเดินปัสสาวะตอนบน (Upper urinary tract) หมายถึงไต และท่อไต
  2. ระบบทางเดินปัสสาวะตอนล่าง  (Lower urinary tract) หมายถึง กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

การตอดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบนจะหมายถึงกรวยไตอักเสบ ส่วนการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างหมายถึงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือท่อปัสสาวะอักเสบ

สาเหตุของทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ปัสสาวะปกติจะประกอบด้วยน้ำ และเกลือ ไม่มีเชื้อโรค การติดเชื้อเกิดเมื่อมีเชื้อโรคมาจากทางเดินอาหาร หรือจากอุจาระ มาทางท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ เรียก Urethritis หากเชื้อลามเข้ากระเพาะปัสสาวะเรียกกระเพาะปัสสาวะอักเสบ Cystittis หากเชื้อลามเข้าท่อไต และกรวยไตทำให้เกิดกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis

เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญคือ E coli เป็นเชื้อที่มาจากอุจาระเชื้อที่พบรองลงมาได้แก่  Staphylococcusนอกจากนั้นยังพบเชื้อที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น Clamydia และ Mycoplasma ก็สามารถทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เชื้อดังกล่าวเกิดจากเพศสัมพันธ์จะต้องรักษาทั้งคู่

โครมีโอกาศเกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  • ผู้ที่มีนิ่วทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้ที่มีต่อมลูกหมากโตเพราะก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้ที่คาสายสวนปัสสาวะ
  • ผู้ที่ระบบประสาทควบคุมการปัสสาวะเสียมีภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือ ปัสสาวะแต่ละครั้งไม่หมด เช่นโรคเบาหวาน ประสาทไขสันหลังอักเสบ
  • มีโรคที่ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ร่างกายจึงติดเชื้อได้ง่าย เช่น โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เพราะจะมีปัญหาในการถ่ายปัสสาวะ มักเกิดการแช่ค้างของปัสสาวะ แบคทีเรียในปัสสาวะจึงเจริญเติบโตได้ดี
  • การนั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก การกลั้นปัสสาวะนานๆ เพราะส่งผลให้เกิดการแช่คั่งของปัสสาวะ เชื้อโรคในปัสสาวะจึงเจริญได้ดี
  • ผู้หญิงมีโอกาศเกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่ายกว่าผู้ชาย
    • เนื่องจาก ท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น เชื้อโรคบริเวณปากท่อปัสสาวะ จึงเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย
    • และตำแหน่งที่เปิดอยู่ใกล้กับทวารหนัก และช่องคลอดททำให้เชื้อลุกลามมาที่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
    • ช่วงมีประจำเดือน บริเวณปากช่องคลอดและท่อปัสสาวะจะมีเชื้อแบคทีเรียมากจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
    • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่นช่วงการตั้งครรภ์หรือวัยทองจะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
    • ภาวะตั้งครรภ์ มดลูกมีการกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
    • วัยเจริญพันธ์มีกิจกรรมทางเพศทำให้เกดการติดเชื้อได้ง่าย
    • การคุมกำเนิดโดยการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ หรือการใช้ฝาครอบซึ่งไม่สะอาดจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อ

ผู้ทางเดินปัสสาวะอักเสบจะมีอาการอะไรบ้าง

  • ผู้ที่ท่อปัสสาวะอักเสบ Urethritis จะมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะจะสุดแล้วมีอาการปวด บางรายมีคราบหนองติดกางเกงใน
  • ผู้ที่มีกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการปวดหน่วงๆท้องน้อย ปัสสาวะออกครั้งละน้อยๆ ปวดมากเมื่อปัสสาวะจะสุด บางรายมีเลือดปนและเลือดออก
  • ผู้ที่มีกรวยไตอักเสบ Pyelonephritis จะมีอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่จะมีไข้ ปวดเอว ปัสสาวะขุ่น

การวินิจฉัยทางเดินปัสสาวะอักเสบ

หากท่านมีอาการเหมือนทางเดินปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งให้เก็บปัสสาวะไปตรวจ โดยก่อนการเก็บปัสสาวะจะต้องทำความสะอาดบริเวณนั้น แล้วจึงเก็บปัสสาวะช่วงกลางๆของปัสสาวะ บางรายอาจจะต้องเก็บปัสสาวะโดยการใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อให้ได้ปัสสาวะที่สะอาด และนำไปเพาะเชื้อเพื่อหาสาเหตุ แพทย์จะนำปัสสาวะไปตรวจหาเม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง และเพาะเชื้อ

ถ้าท่านติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อย หรือหลังการรักษาแล้วไม่หาย แพทย์จะตรวจไตโดยการฉีดสีเข้าเส้นเลือด และให้สีขับออกทางไต [intravenous pyelography IVP] หรือนัดตรวจ ultrasound ที่ไตซึ่งจะได้ภาพของไต บางรายแพทย์จะส่งตรวจ cystoscope คือการใช้กล้องส่องเข้าไปดูในกระเพาะปัสสาวะ

การรักษาทางเดินปัสสาวะอักเสบ

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่นาน ไม่มีไข้ ไม่ปวดเอว ไม่มีโรคประจำตัว อาจจะเลือกใช้ยา trimethoprim/ sulfamethoxazole,amoxicillin,ampicillin,ofloxacin,norfloxacin,ciprofloxacin โดยทั่วไปอาจจะรักษา 1-2 วันก็ทำให้หายได้ แต่แพทย์มักจะแนะนำให้รับประทานยาให้ครบ 7 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าหายขาด การรักษา 1-2 วันไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน มีอาการรุนแรง หรือมีโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน หรือต่อมลูกหมากโต
  2. ผู้ที่มีอาการมาก มีไข้สูง ปวดเอวมาก ควรจะรับไว้ในโรงพยาบาล และให้ยาปฏิชีวนะเข้าทางหลอดเลือด
  3. ผู้ป่วยที่เป็นหญิงและมีทางเดินปัสสาวะอักเสบซ้ำ Recurrent Infections in Women หมายถึงเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี ประมาณว่า 4/5 ของผู้ป่วยจะเป็นทางเดินปัสสาวะอักเสบอีกใน 18 เดือน ดังนั้นจึงต้องป้องกันโดย
  • รับประทานยา trimethoprim/sulfamethoxazoleเป็นเวลา 6 เดือน
  • รับประทานยาปฏิชีวนะหลังมีเพศสัมพันธ์
  • ให้ยาปฏิชีวนะ 1-2 วันเมื่อมีอาการ

วิธีป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

  • ดื่มน้ำให้มากเข้าไว้ ดื่มน้ำสะอาดให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยวันละ 8-10แก้ว
  • ห้ามกลั้นปัสสาวะ
  • ให้เช็ดก้นจากหน้าไปหลัง
  • ให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อนที่จะมีกิจกรรมทางเพศ
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่นั่งนานๆ เช่น เมื่อรถติดมาก
  • งดใช้ spray และการใช้สายสวน
  • สวมใส่กางเกงในเป็นผ้าฝ้าย100% ไม่รัดแน่นเกินไป เพิ่มการระบายอากาศไม่ให้บริเวณนั้นอับชื้น
  • ควรจะอาบน้ำจากฝักบัว
  • ไม่ใช้ยาดับกลิ่นบริเวณอวัยวะเพศ
  • ให้ปัสสาวะก่อนและหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในปัสสาวะลง
  • การคลิบอวัยวะเพศจะลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่ใช่โรคติดต่อ
  1. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะสำหรับชายมักพบร่วมกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือการคาสายสวนปัสสาวะ

                      

guest

Post : 2013-12-05 18:57:45.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  นิ่วในไต

 นิ่วในไต Renal calculi

นิ่วในไตจะพบในประเทศอุตสาหกรรมมากกว่าประเทศเกษตรกรรม นิ่วในไตมักเกิดจากการที่ปัสสาวะเข้มข้นมาก และตกตะกอนเป็นนิ่ว มักจะเกิดที่ไตบริเวณกรวยไต และเมื่อนิ่วหลุดลงมาท่อไตก็จะเกิดอาการปวดท้องทันทีเหมือนคนปวดท้องคลอดลูก

  • พบว่าเมื่อเป็นนิ่วโอกาสที่จะเกิดเป็นซ้ำประมาณครึ่งหนึ่งในเวลา 10 ปี
  • ผู้ป่วยร้อยละ 80 นิ่วสามารถออกได้เอง

ระบบทางเดินปัสสาวะของคนประกอบไปด้วย ไต(kidney) ท่อไตสองข้าง (ureter) กระเพาะปัสสาวะ (bladder) ไต่จะมีลักษณะเหมือนรูปถั่วอยู่ด้านหลังใต้ชายโครง ไตมีหน้าที่ขับน้ำส่วนเกิน และของเสียออกจากเลือด ไตยังรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ และยังสร้างฮอร์โมนที่สร้างเม็ดเลือดแดง และทำให้กระดูกแข็งแรง

ท่อไตจะนำปัสสาวะจากไตไหลลงสู่กระเพาะปัสสาวะ

นิ่วในไตคืออะไร

นิ่วในไตเกิดจากการตกผลึกของของเสียที่ขับออกทางปัสสาวะ ปกติในปัสสาวะจะสารเคมีบางชนิดที่ป้องกันการตกตะกอน แต่เนื่องจากมีปัจจัยบางอย่างทำให้กลไกนี้ไม่ทำงานจึงเกิดการตกตะกอน หากตะกอนมีก้อนเล็กก็จะถูกขับออกจากไตทางปัสสาวะ แต่หากไม่ถูกขับออกและหากตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดทางเดินของปัสสาวะก็จะเกิดอาการของนิ่ว

ส่วนประกอบที่สำคัญของนิ่วได้แก่แคลเซี่ยมซึ่งอาจจะรวมกับ oxalate หรือ phosphate สารต่างๆเหล่านี้ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป นอกจากนั้นยังมีนิ่วที่เกิดจากการติดเชื้อเรียกว่า struvite และนิ่วที่เกิดจากกรดยูริก

ผลเสียของนิ่วในไต

guest

Post : 2013-12-05 18:54:13.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไตวายเรื้อรัง

 ไตวายและไตวายเรื้อรัง

ไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างเรื้อรัง ทำให้เกิดการคั่งของของเสียและน้ำ

ไตคืออะไร

ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ในการขับของเสีย และควบคุมปริมาณสารน้ำ และเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล ปกติมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเท่ากำปั้น มีอยู่ 2 อัน ถ้าไตข้างใดข้างหนึ่งเสีย ไตอีกข้างสามารถทำหน้าที่แทนได้ เมื่อไตเสียหน้าที่ทั้ง  2ข้าง คือไม่สามารถกรองของเสีย หรือที่เรียกว่าไตวายก็จะเกิดอาการซึ่งเกิดจากการคั่งของของเสีย และการคั่งของน้ำและเกลือแร่ และการเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย

ไต มีหน้าที่อะไร

  1. ขับถ่ายของเสียที่เกิดจาการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน หากของเสียพวกนี้คั่งมากๆจะมีอาการมึนงง เบื่ออาหาร หมดสติ และอาเจียน
  2. ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ที่เกินความจำเป็นโดยขับออกทางปัสสาวะ
  3. ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมนช่นฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซี่ยม และฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงฮอร์โมนที่ไตผลิตได้แก่
  • Erythropoietinทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง
  • Renin ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต
  • vitamin Dทำหน้าที่สร้างกระดูก

  1. กำจัดยาและสารพิษออกจากร่างกาย

ไตวายเรื้อรัง เกิดจากอะไร

โรคไตวายเรื้อรังประมาณ2ใน3 จะเกิดโรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน และโรคไตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง สาเหตุอื่นคือ

  1. เกิดจากกรวยไตอักเสบเรื้อรัง
  2. เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน
  3. จางทางเดินปัสสาวะอุดตัน เช่น นิ่ว
  4. จากโรค SLE
  5. จากยาบางชนิด
  6. สาเหตุอื่นๆ

อาการของไตวาย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  1. การตรวจ CBC พบว่ามีซีดเนื่องจากไตสร้างฮอร์โมนน้อยลง
  2. การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ
  3. ตรวจการทำงานของไตโดยตรวจค่า creatinin ค่าปกติอยู่ระหว่าง 0.6-1.2 mg%
  4. การตรวจ creatinin clearance โดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงหาสาร creatinin ในปัสสาวะและเจาะเลือดหาสาร creatinin นำมาคำนวณค่าปกติ 97-137 มิลิลิตรต่อนาที 88-128 มิลิลิตรต่อนาทีสำหรับชายและหญิงตามลำดับ
  5. การตรวจหา BUN [blood urea nitrogen]ค่าปกติไมเกิน 20 mg%
  6. การตรวจเกลือแร่ พบว่าเลือดจะเป็นกรดมีค่า CO2อยู่ระหว่าง 15-20 mmol/L  Calciumในเลือดจะต่ำ Phosphate ในเลือดสูง
  7. การตรวจเพื่อประมินขนาดไตโดยอาจจะใช้ ultrasound หรือ CT

การรักษา

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคไตวายเรื้อรัง

  • การตรวจพบว่าเป็นโรคไตตั้งแต่เริ่มๆการรักษาจะชะลอการเสื่อมของไต
  • สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยโรคไตวายคือโรคหัวใจ
  • การวัด Glomerular filtration rate (GFR) จะเป็นตัวที่บอกการทำงานของไต
  • โรคความดันโลหิตสูงทำให้เกิดโรคไต ในขณะเดียวโรคไตวายก็ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  • การที่ตรวจพบไข่ขาวในปัสสวะแสดงว่าเริ่มเป็นโรคไตแล้ว
  • กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคไตได้แก่ ผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ประวัติครอบครัวเป็นโรคไต
  • การทดสอบง่ายๆว่าท่านเป็นโรคไตหรือไม่ได้แก่ การวัดความดันโลหิต การตรวจหาไข่ขาวในปัสสาวะและการเจาะเลือด

                         

guest

Post : 2013-12-05 18:50:23.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ปัสสาวะเร็ด

 ภาวะปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ Incontinence

สมัยเด็กๆมักจะได้ยินคำว่าปัสสาวะราด ซึ่งมักจะพบในผู้หญิงสูงอายุและมักจะมีบุตรหลายคน ภาวะนี้เป็นภาวะที่ปัสสาวะออกโดยไม่ได้ตั้งใจหรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้นั้นเอง บางท่านเวลาไอหรือจามก็มีปัสสาวะออกมา บางท่านเข้าห้องน้ำไม่ทัน เป็นปัญหาก่อให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไม่กล้าเดินทาง มีปัญหาเรื่องการจ้างงาน และทางสังคม นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนเช่น ผื่น ผิวหนังอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ นอกจากนั้นยังทำให้เสียค่าใช้จ่ายเรื่องผ้าอ้อม น้ำหอม

กลไกการปัสสาวะ

ไตทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดของเสียดังกล่าวคือปัสสาวะนั้นเอง ปัสสาวะจะไหลจากไตไปสู่ท่อไต ureter ไปสู่กระเพาะปัสสาวะ bladder กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เก็บปัสสาวะและบีบตัวไล่ปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะโดยมีวาล์วกั้นมิให้ปัสสาวะไหลกลับ

สาเหตุของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  1. สาเหตุการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ชนิดชั่วคราว เมื่อรักษาสาเหตุอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ก็จะหายไป สาเหตุได้แก่
  1.  สาเหตุถาวรที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้แก่
  • กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรง
  • กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรง
  • หูรูดท่อปัสสาวะอ่อนแรง
  • ต่อมลูกหมากโต
  • ผลจากการขาดฮอร์โมน
  • โรคทางระบบประสาทเช่นอัมพาตท่อนล่าง

 

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีกี่ชนิด

  • Stress incontinence เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดมักจะพบในผู้ป่วยผู้หญิงที่มีอายุและมีบุตรหลายคนเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการยืดและอ่อนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกเมื่อไอ จาม หัวเราะ หรือกิจกรรมที่เพิ่มความดันหน้าท้องเช่นการเป่าลูกโป่ง
  • Urge incontinenceผู้ป่วยไม่สามารถอั้นปัสสาวะได้นานพอ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะจะถ่ายทันทีทำให้เข้าห้องน้ำไม่ทัน อาจจะถ่ายปัสสาวะทุก 2 ชั่วโมง
  • Mixed incontinence เป็นภาวะเกิดร่วมทั้งสองอย่าง
  • Overflow incontinence ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาไม่สามารถปัสสาวะออกเช่นโรคต่อมลูกหมากโต หรือโรคทางเส้นประสาทเช่นโรคเบาหวานผู้ป่วยมักจะมีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะรู้ได้โดยการคลำพบก้อนที่หัวเหน่า ผู้ป่วยจะมีปัสสาวะไหลกระปริดกระปอยผู้ป่วยจะปัสสาวะครั้งละไม่มาก หลังปัสสาวะจะรู้สึกว่ายังปัสสาวะไม่หมด ใช้เวลาปัสสาวะนานแต่ปัสสาวะออกน้อย
  • Unconscious or reflex incontinence มักเกิดในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบประสาท
  • Functional incontinence ผู้ป่วยพวกนี้อาจจะมีโรคทำให้เคลื่อนไหวช้าเช่นข้อเสื่อมทำให้ไปห้องน้ำไม่ทัน

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยคงต้องอาศัยประวัติแยกให้ได้ว่าการกลั้นปัสสาวะเป็นชนิดใดและอาจจะต้องพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อประเมินและรักษา การรักษาแบ่งได้เป็น

  1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม Behavioral จะต้องสอนผู้ป่วยให้เปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง
  • Bladder training เป็นฝึกกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะใช้กับผู้ป่วยที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ชนิด Urge incontinence ให้ผู้ป่วยปัสสาวะเป็นเวลาเช่นทุกหนึ่งชั่วโมงเมื่อทำได้ดีค่อยเพิ่มเวลาจนนานพอตามต้องการ
  • ผู้ป่วยที่เป็น stress incontinence ให้ฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงทำวันละ 30-80 ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ระคายต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น กาแฟ สุรา

การรักษาวิธีนี้ไม่มีโรคแทรกซ้อน

  1. การใช้เครื่องมือ องค์การอาหารและยาของสหรัฐได้รับรองเครื่องมือ 2 ชนิดในการรักษา stress incontinence เป็นเครื่องมือที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งโดยสอดเครื่องมือเข้าไปในท่อปัสสาวะแล้วฉีดลมเข้าในท่อซึ่งจะป้องกันปัสสาวะเล็ดออกมา เมื่อจะปัสสาวะก็เอาลมออกและปัสสาวะ ข้อเสียคือมีการติดเชื้อบ่อย
  1. การรักษาด้วยยาใช้ได้กับชนิด Urge incontinence โดยให้ยา anticholinergic ข้อเสียคือปากแห้ง ตามัว ท้องผูก
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด วิธีการผ่าตัดขึ้นกับชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ต่อมลูกหมากโตก็ผ่าตัดต่อมลูกหมาก
  • stress incontinenceก็ผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

                

guest

Post : 2013-12-05 18:47:46.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ยาที่ทำให้ไตเสื่อม

 โรคไตจากยาแก้ปวด

เป็นโรคไตที่เกิดจากการรับประทานยาแก้ปวดซึ่งอาจจะเป็นยาชนิดเดียวหรือยาผสมหลายชนิด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไต

  • การใช้ยาแก้ปวดเป็นเวลานานๆ
  • รับประทานยาเกินขนาดที่แนะนำ
  • ใช้ยาที่มีตัวยาหลายชนิดผสมกันเช่น paracetamol ,aspirin,codiene,caffeine,, ibuprofen, naproxen sodium
  • ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือรับประทานยาคลายเครียด
  • ผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะบ่อยๆ
  • ผู้ป่วยที่มีโรคนิ่วในไต
  • ผู้ป่วยไตวายอยู่ก่อน
  • ผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพขาดน้ำ
  • ผู้ป่วยที่มีอายุมาก

ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ SLE, อายุมาก, โรคไต, ดื่มสุราจัด เมื่อให้ยากลุ่มดังกล่าวเพียงแค่ เม็ดเดียวก็อาจจะเกิดไตวายได้

โรคหรือภาวะที่ผู้ป่วยมักจะรับประทานยาแก้ปวด

 

  • ปวดศีรษะเรื้อรัง
  • ปวดหลังเรื้อรัง
  • ปวดประจำเดือน

อาการของผู้ป่วย

ผู้ป่วยอาจจะไม่อาการอะไรในระยะที่เริ่มมีปัญหา หากยังคงรับประทานยาต่อก็จะเกิดอาการของโรคไตคือ

  • อ่อนเพลีย อ่อนแรง
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ปวดเอว
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกเช่น ซึมลง ความจำเสื่อม
  • มีจ้ำเลือด บวมตามตัว

การตรวจเพื่อวินิจฉัย

  • ถ้าหากผู้ป่วยไตวายอาจจะมีอาการไอและหอบ
  • ความดันโลหิตจะสูงขึ้น
  • ตรวจเลือดพบว่าเป็นโลหิตจาง
  • ตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและไข่ขาว

การรักษา

การป้องกัน

ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อรับประทานยาให้ถูกต้องและควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะซื้อยารับประทานเอง หากท่านผู้ใดรับประทานยาแก้ปวดเรื้อรังก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจการทำงานของไต

 

guest

Post : 2013-12-05 18:45:48.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ปัสสาวะรดที่นอน

 หากท่านหรือลูกของท่านปัสสาวะรดที่นอนแล้วล่ะก็ไม่ต้องตกใจเพราะจะมีเด็กอเมริกา 5-7 ล้านคนที่เป็นเหมือนกับท่าน การปัสสาวะรดที่นอนเป็นภาวะที่ไม่ได้ตั้งใจทำ ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดทั้งตัวเด็ก(โต)และผู้ปกครอง

สาเหตุและชนิดของปัสสาวะรดที่นอน

ปัสสาวะรดที่นอนสามารถพบได้ในเด็กอายุ 6 ปีประมาณร้อยละ 15-20 ส่วนเด็กวัยรุ่นพบได้ร้อยละ1 เด็กที่ปัสสาวะรดที่นอนส่วนใหญ่จะปกติทั้งร่างกายและจิตใจ โดยมากมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี สาเหตุที่พบได้คือกรรมพันธุ์ ร้อยละ 85มักมีประวัติสมาชิกในครอบครัว ที่ปัสสาวะรดที่นอนเด็กที่ปัสสาวะรดที่นอนตั้งเด็กเรียก primary ท่านผู้ปกครองไม่ต้องโกรธหรือตกใจ หรือเป้นความผิดของใครเพราะเป็นเรื่องปกติของเด็กสาเหตุคือ

  • ระบบประสาทและกระเพาะปัสสาวะยังพัฒนาไม่ดีพอที่จะเก็บปัสสาวะในตอนกลางคืน
  • เด็กไม่สามารถเรียนรู้ว่าปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ

 ส่วนเด็กที่เคยไม่ปัสสาวะรดที่นอนแล้วกลับมาปัสสาวะรดที่นอนเรียก secondary ให้คิดว่าอาจจะมีโรค เช่นทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคเบาหวาน หรือมีความเครียดเกิดขึ้น เช่นเครียดที่โรงเรียน มีน้องใหม่ พ่อแม่แยกทางกันเป็นต้น เด็กบางคนเวลาท้องผูกจะมีปัสสาวะรดที่นอน การเปลี่ยนแปลงอาหารบางอย่างสามารถแก้เรื่องท้องผูกได้เมื่อมีปัญหาเรื่องเด็กปัสสาวะรดที่นอน ท่านผู้ปกครองต้องสังเกตอาการต่อไปนี้หากพบต้องรายงานแพทย์

  • เวลาปัสสาวะต้องเบ่ง ปัสสาวะออกลำเล็ก และปัสสาวะไหลเป็นหยดเมื่อปัสสาวะเสร็จ
  • สีปัสสาวะมีเลือดหรือหนองปนหรือไม่
  • กลั้นปัสสาวะในเวลากลางวันได้หรือไม่
  • ปวดแสบขณะปัสสาวะ

การรักษาปัสสาวะรดที่นอน

ไม่มีใครทราบว่าทำไมเด็กจึงปัสสาวะรดที่นอน เด็กบางคนสามารถลุกขึ้นไปปัสสาวะได้เอง หากเด็กปัสสาวะรดที่นอน ก็มีวิธีที่จะช่วยได้ดังนี้

  • ลดปริมาณน้ำดื่มโดยเฉพาะน้ำดื่มที่ผสมกาแฟอิน
  • ห้ามกล่าวโทษหรือทำร้ายเด็กเพราะไม่ใช่ความผิดของเด็ก และอาจจะทำให้สถานการณ์แย่ลง
  • อธิบายให้เด็กทราบว่าเค้าไม่ได้เป็นคนเดียว เด็กคนอื่นก็เป็นแต่เรื่องนี้ไม่มีใครเปิดเผย และเมื่อโตขึ้นจะหายเอง
  • เด็กจะไม่ชอบไปพักบ้านเพื่อนเนื่องจากกลัวว่าความลับจะถูกเปิดเผย เด็กบางคนเมื่อไปพักบ้านเพื่อนจะไม่ปัสสาวะรดที่นอนเนื่องจากเด็กหลับไม่ลึกพอ
  • ให้เด็กปัสสาวะก่อนไปนอน
  • ใช้นาฬิกาปลุกเมื่อเด็กปัสสาวะโดยมีเครื่องตรวจวัดความชื้น เมื่อเด็กปัสสาวะก็จะส่งเสียงปลุกเด็กให้ไปปัสสาวะ
  • ใช้พลาสติกคลุมเตียงจนกระทั้งเด็กสามารถกลั้นปัสสาวะได้เอง

จะฝึกเด็กใช้ห้องน้ำเมื่อใด

การฝึกเด็กให้ปัสสาวะในห้องน้ำไม่ใช่เรื่องที่ทำสำเร็จใน 1 คืนโดยทั่วไปใช้เวลา 2สัปดาห์-6เดือน

  • โดยมากเด็กจะพร้อมฝึกเมื่ออายุประมาณ 2 ปี
  • เมื่อเด็กบอกว่าสามารถทำได้
  • เด็กสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆได้
  • สามารถกลั้นปัสสาวะได้
  • สามารถบอกว่าปวดปัสสาวะได้
  • เด็กไปถ่ายปัสสาวะเองได้

                          

guest

Post : 2013-12-05 18:43:02.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ปัสสาวะบ่อยจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมาก

 

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)

หลายท่านโดยเฉพาะผู้ที่สูงอาย ุและเป็นผู้หญิงมีอาการปวดปัสสาวะมากจนกระทั่งกลั้นปัสสาวะแทบจะไม่อยู่ จนไปห้องน้ำไม่ทัน บางท่านมีอาการปัสสาวะราดก็มี เมื่อไปตรวจกับแพทย์ แพทย์บอกตรวจไม่พบความผิดปกติและให้ยาแก้อักเสบ สักพักอาการก็กลับเป็นใหม่ เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นมาเป็นเดือน อาการเหล่านี้เรียก กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)

คำนิยามของโรค

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder) เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยอาการอยากปวดปัสสาวะ อาจจะมีกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ด้วยก็ได้ มีอาการปัสสาวะบ่อย(มากกว่าวันละ 8 ครั้ง/วัน) ปัสสาวะกลางคืน(มากกว่า 2 ครั้ง/คืน) โดยที่ตรวจไม่พบสาเหตุสรุปอาการที่สำคัญคือ

  • ปัสสาวะบ่อย
  • ปวดมากจนต้องรีบไปปัสสาวะ
  • ปัสสาวะเร็ด

โรคหรือภาวะที่ทำให้เกิดอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ ตามตารางที่นี่

ภาวะ
กลไก
การแก้ไข
ทางเดินปัสสาวะ
   

การติดเชื้อ

การอักเสบทำให้กระตุ้นปลายประสาทเกิดอาการ อยากปัสสาวะ ให้รักษาการติดเชื้อก่อน

ทางเดินปัสสาวะอุดกั้น

การอุดกลั้นทำให้กล้ามเนื้อไวต่อการบีบตัว การผ่าตัด
กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวอ่อนแรง การที่มีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง
  • หลีกเลี่ยงยาที่ลดการบีบตัวของ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
  • ให้กดบริเวณหัวเหน่าเมื่อปัสสาวะ
  • ใส่สายสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
มีความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะ (เช่นเนื้องอก นิ่ว) ความผิดปกติทำให้กระเพาะปัสสาวะ ไวต่อการกระตุ้น ตรวจหาสาเ้หตุและรักษา
ผู้หญิง
   

ขาด estrogen

มีการอักเสบของช่องคลอดและท่อปัสสาวะ ใช่ยา estrogen ทาช่องคลอด

หุรูดอ่อนแรง

  • มีการรั่วของปัสสาวะทำให้เกิดการระคายเคือง
  • กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ บีบตัวแรงกว่ากล้ามเนื้อหูรูด
  • ใช่ยา estrogen ทาช่องคลอด
  • การผ่าตัด
ผู้ชาย
   

ต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากโต กระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัว
  • ประเมินและรักษาต่อมลูกหมากโต
  • การใช้ยา alpha adrenergic blocking
  • 5 alpha Reductase inhibitor เพื่อลดขนาดของต่อมลูกหมาก
  • การผ่าตัด
โรคระบบประสาท
 

กลไกการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ( Overactive Bladder)

กระเพาะปัสสาวะของคนเรามีหน้าที่เก็บปัสสาวะ โดยการควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งได้แก่ สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท และประสาทอัตโนมัติ โรคที่เกิดกับอวัยวะเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกต

โดยปกติเมื่อมีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 1/3 ของความจุจะเริ่มรู้สึกว่ามีน้ำในกระเพาะปัสสาวะ เพียงรู้สึกหน่วงๆระยะนี้จะไม่มีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะเลย ความรู้สึกปวดจะเริ่มเมื่อมีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะซึ่งโดยประมาณ 300-400 ซม มล. หากมีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะตั้งแต่ปัสสวะเริ่มสะสมถือว่าผิดปกติ

การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เริ่มเมื่อมีสัญญาณส่งความรู้สึกจากกระเพาะปัสสาวะเป็นความรู้สึกตึงตัวของกระเพาะปัสสาวะผ่านไขสันหลังจนถึงสมอง เมื่อสมองแปลความหมายและเห็นสมควรว่าถ่ายปัสสาวะได้ จึงส่งกระแสประสาทลงมาไขสันหลัง ไปยังกระเพาะปัสสาวะให้บีบตัว ในขณะเดียวกันหากต้องการปัสสาวะโดยที่กระเพาะปัสสาวะไม่เต็มก็สามารถทำได้โดยการสั่งจากสมองโดยตรง นอกจากนั้นกรณีที่กระเพาะปัสสาวะระคายเคืองจากการอักเสบ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดรู้สึกปวดปัสสาวะ

การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ Parasympathetic ซึ่งมีสารนำประสาท neurotransmitter ที่สำคัญคือ Acetylcholine ในขณะเดียวกันที่ระบบประสาทอัตโนมัติ Sympathetic ก็ทำหน้าที่ของมันคือเก็บกักปัสสาวะโดยทำให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัว 

สาเหตุของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินปกติ

การตรวจวินิจฉัย

ในการตรวจวินิจฉัยโรคแพทย์จะซักประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยและนำไปสู่การรักษาได้ จุดประสงค์หลักของการวินิจฉัยคือการคัดกรองเอาโรคอื่นๆที่อาจจะมีอาการคล้ายคลึงกันออก เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือแม้กระทั่งมะเร็งกระเพาะปัสสาวะก็อาจจะทำให้มีอาการคล้ายกัน 

การตรวจร่างกาย เริ่มจากการตรวจร่างกายทั่วไปและการตรวจระบบประสาทเพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจจะเป็นสาเหตุหรือเกิดร่วมด้วย

การรักษา

การรักษา OAB

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

  • การรักษาเชิงพฤติกรรม (Behavioral therapy) เช่น การกำหนดเวลาถ่ายปัสสาวะ ปรับปริมาณและเวลาในการดื่มน้ำ การให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ การดื่มน้ำต้องให้มีปริมาณมากพอ และต้องเลือกเวลาที่ดื่มด้วย
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวเช่น กาแฟ สุรา
  • การบริหารกล้ามเนื้อุ้งเชิงกราน การบริหารแบ่งเป็นสองแบบคือแบบที่หนึ่งให้ขมิบสั้นถี่ อีกแบบหนึ่งคือขมิบแต่ละครั้งให้นับ 1-20 ระหว่างที่ขมิบอย่ากลั้นหายใจ ทำวันละ 30-80 ครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์ทำแบบนี้บ่อยๆจะทำให้ลดอาการของปัสสาวะบ่อย
  • Vaginal weight training โดยการใส่วัสดุเข้าในช่องคลอดและขมิบ ทำวันละ15 นาที วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 4-6 สัปดาห์

การใช้ยา

  1. anticholinergic drugs ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่สำคัญคือ ท้องผูก ภาวะกรดไหลย้อน ตามัว ปัสสาวะคั่ง ยาที่ใช้บ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่
    • oxybutynin มีทั้งที่ออกฤทธิ์ปานกลางและระยะยาวขนาดที่ให้ 5 mg วันละ 3 ครั้งซึ่งสามารถลดอาการปวดปัสสาวะและปัสสาวะเร็ด สำหรับยาที่ออกฤทธิ์ยาวคือรับประทานยาวันละครั้งจะให้ผลการรักษาดีเหมือนกัน
    • propiverine
    • tolterodine มีทั้งออกฤทธิ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ใช้ได้ผลดีทั้งอายุมากและอายุน้อย
    • and trospium
  2. Estrogen สำหรับผู้หญิงวัยทองจะใช้ทั้งยาทาหรือยารับประทานก็ได้ผล
  3. การรักษาด้วยยา
  4. การรักษาโดยปรับสมดุล
  5. การฉีด botulinum toxin
  6. การผ่าตัดขยายกระเพาะปัสสาวะ(Augmentation cystoplasty)

 

guest

Post : 2013-12-05 18:39:53.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคไต

 โรคไต

โครงสร้างของระบบขับปัสสาวะและหน้าที่ของไต

โรคไตเรื้อรังหมายถึงอะไร

หมายถึงโรคที่เกิดกับไตซึ่งอาจจะส่งผลต่อการทำงานของไตด้วยหรือไม่ก็ได้

สาเหตุของโรคไต

อาการของโรคไต

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไตวาย

หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งท่านต้องทำอย่างไร

อาการและอาการแสดงของโรคไค

การป้องกันโรคไต

การป้องกันโรคไตได้แก่การป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไตได้แก่การป้องกันเรื่องโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานซึ่งต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกต หากคุณอ้วนให้รีบลดน้ำหนัก
  2. เกลือ 1/4 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 500 มิลิกรัม 

    เกลือ 1/2 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1000 มิลิกรัม

    เกลือ 2/3 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1500 มิลิกรัม

    เกลือ 1 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 2400 มิลิกรัม

  3. ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. เลือกอาหารมี่มีเกลือต่ำ
  5. ให้ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  6. งดบุหรี่ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
  7. ัดการเรื่องความเครียด
  8. รับประทานอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม ลดอาหารมันเพิ่มผักผลไม้
  9. รึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  10. การจะใช้ยาคุมกำเนิดต้องปรึกษาแพทย์

ไตวายเฉียบพลัน

ไตเสื่อมอย่างรวดเร็วภายในเวลาเป็นวัน  หรือสับดาห์มักมีอาการมากกว่าแบบเรื้อรังอัตราการเสียชีวิตสูงถ้าพ้นอันตราย  ไตมักจะเป็นปกติได้

โรคไตวายเรื้อรัง

เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวรทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลงแม้อาการจะสงบ แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อมและเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด

เรื่องที่น่าสนใจ

โรคไตเรื้อรัง

อาการอื่นๆ

guest

Post : 2013-12-05 18:37:01.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคไตเสื่อม

 เมื่อแพทย์บอกว่าคุณเป็นโรคไต

เมื่อท่านไปพบแพทย์ซึ่งอาจจะไปตรวจร่างกายประจำปี หรือเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือปัสสาวะขัด แพทย์ได้ตรวจเลือดและปัสสาวะ แล้วบอกว่าคุณเป็นโรคไตซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกซึมไปเลยทีเดียว ความจริงที่แพทย์บอกโรคไตไม่ได้หมายถึงภาวะไตวายทั้งหมด อาจจะหมายถึงทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นนิ่ว หรือเป็นโรคไตในระยะเริ่มต้น ท่านต้องถามแพทย์ว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ ไตทำงานอย่างไร

โรคไตเสื่อมเป็นอย่างไร

หมายถึงโรคที่ทำให้มีการสูญเสียเนื้อไตและมีการเสื่อมของการทำงานของไตอย่างช้าๆ อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี เมื่อไตเสื่อมมากก็จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น บวม ซีดเป็นต้น

ในการประเมินจะเป็นโรคไตหรือไม่แพทย์จะสั่งตรวจเลือดเพื่อหาค่า

  • Creatinine เพือประเมินการทำงานของไต
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจว่ามีโปรตีน หรือเม็ดเลือดแดงหรือตะกอนหรือไม่
  • ตรวจทางรังสีเพือดูโครงสร้างของไต

เมื่อได้ผลตรวจจึงมาประเมินว่าเป็นโรคไตหรือไม่โดยพิจารณาจากลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในสองข้อต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยมีภาวะไตผิดปกตินานติดต่อกันเกิน 3 เดือนทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอัตรากรองของไต(glomerular filtration rate, GFR)ผิดปกติหรือไม่ก็ได้ ภาวะไตผิดปกติหมายถึงลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  • ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจปัสสาวะอย่างน้อยสองครั้งในระยะ 3 เดือนดังต่อไปนี้
    • ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
      • ถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วตรวจพบไข่ขาวในปริมาณเล็กน้อย microalbuminuria (อยู่ระหว่าง 30-200 microgram/day)
      • หากผู้ป่วยไม่ได้เป็นเบาหวานและตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 500 mg/วัน
    • ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ hematuria
  • ตรวจพบความผิดปกติทางรังสีวิทยา
  • ตรวจพบความผิดปกติทางโครงสร้างหรือพยาธิสภาพ
  1. ผู้ที่มีGFRน้อยกว่า 60 mL/min/1.73m2ติดต่อกันเกิน 3 เดือนโดยที่อาจจะตรวจพบหรือไม่พบร่องรอยโรคก็ได้

จากนิยามจะเห็นได้ว่าการเป็นโรคไตเรื้อรังตามข้อ 1 พบว่าการทำงานของอาจจะปกติหรือผิดปกติก็ได้ สิ่งผิดปกติที่พบคือการตรวจปัสสาวะพบความผิดปกติ หากความผิดนั้นแก้ไขได้ก็จะไม่เป็นโรคไตเรื้อรัง สำหรับโรคไตตามข้อ2ไตได้ทำงานลดลงแล้วจะต้องรักษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต

        

guest

Post : 2013-12-05 18:33:11.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเนโฟติก Nephrotic

 

กลุ่มอาการเนโฟรติก Nephrotic Syndrome

กลุ่มอาการเนโฟรตริก Nephrotic Syndrome เป็นอย่างไร

กลุ่มอาการเนโฟรติกเกิดจากการที่ไตขับโปรตีน หรือไข่ขาวออกทางปัสสาวะมากซึ่งเกิดจากความผิดปกติที่ผนังหลอดเลือดที่ไ ตไม่สามารถกรองโปรตีนหรือไข่ขาวไว้ ทำให้มีไข่ขาวรั่วออกมาทางปัสสาวะจำนวนมาก กลุ่มอาการเนโฟตริกไม่ใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบไปด้วยอาการหรืออาการแสดงที่สำคัญได้แก่

เท้าบวม
เนฟโฟติก
หนังตาบวม
  1. ตรวจพบปริมาณไข่ขาว (Proteinuria)จำนวนมากในปัสสาวะ
  2. ตรวจเลือดพบไข่ขาว (Albumin) ในเลือดต่ำ
  3. บวมเท้า ขอบตา
  4. ไขมัน Chosterol ในเลือดสูง

สาเหตุของกลุ่มโรคเนโฟตริก

สาเหตุของกลุ่มโรคเนโฟตริกอาจจะเกิดจากสาเหตุจากโรคไตโดยตรง หรือเกิดจากโรคอื่นๆที่มีผลต่อโรคไต

1สาเหตุจากโรคไต

  • Minimal-change nephropathy เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็กไตจะไม่สามารถกรองโปรตีน แต่เมื่อตัดชิ้นเนื้อไตไปตรวจจะพบว่ามีความผิดปกติน้อยมาก ส่วนสาเหตุยังไม่มีใครทราบ
  • Focal glomerulosclerosis ชิ้นเนื้อไตจะมีการ sclerosis หน้าตัวหรือแข็งตัวเป็นแห่งๆ สาเหตุยังไม่มีใครทราบ
  • Membranous nephropathy พบว่าผนังของหน่วยไตหรือ glomeruli ส่วน membrance จะมีการหนาตัว สาเหตุมักจะพบร่วมกับการติดไวรัสตับอักเสบ บี มาลาเรีย มะเร็ง
  • Hereditary nephropathies

การที่จะรู้ว่าเป็นโรคไตแบบไหนจะต้องเจาะเอาเนื้อไตไปส่องกล้องจุลทัศน์ ซึ่งจะปรากฎลักษณะของเนื้อไตว่าเป็นชนิดไหน

2สาเหตุจากโรคอื่น

เป็นกลุ่มโรคเนโฟตริกที่มีสาเหตุจากโรคอื่นเช่น

3ยาหรือสารพิษที่ทำให้เกิดเนโฟตริก

การตรวจปัสสาวะ

ยาหรือสารเคมีที่ทำให้เกิดกลุ่มเนโฟตริกได้แก่

  • เฮโรอิน heroin
  • ยาแก้ปวดข้อกลุ่ม NSAID ทองสำหรับรักาาโรคข้อ ยา penicillamine และยาที่รักษาโรคกระดูกพรุน bisphosphonates
  • ยารักษาโรคมะเร็ง

การตรวจวินิจฉัยที่สำคัญ

การตรวจวินิจฉัยที่สำคัญได้แก่ ซึ่งจะบอกว่าเป็นโรคไตหรือไม่โดยจะตรวจดังต่อไปนี้

  • การตรวจหาผู้ป่วยที่เป็นเนโฟรติกจะมีไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน

 

guest

Post : 2013-12-05 18:31:13.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  ไข่ขาวในปัสสาวะหรือ Proteinuria

 

ไข่ขาวในปัสสาวะหรือ Proteinuria

Protein ในเลือดส่วนใหญ่เป็น Albumin ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก ผม เล็บ และยังมีหน้าที่อื่นๆเช่นทำให้เลือดแข็งตัว เป็นภูมิคุ้มกันโรค เมื่อเลือดผ่านเข้าไต Proteinuria มีโมเลกุลใหญ่ไม่สามารถกรองผ่านไตได้ ดังนั้นเราจึงตรวจไม่พบ Proteinuria ในปัสสาวะ

คนปกติจะมีไข่ขาวในปัสสาวะหรือไม่

ปกติปัสสาวะของคนจะตรวจไม่พบไข่ขาว Protein ไข่ขาวหรือ Protein ส๋วนใหญ่เป็น Albumin ดังนั้นหากตรวจพบ Protein ก็หมายถึงตรวจพบ Albumin นั่นเอง การตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะจะบ่งบอกว่าเริ่มจะเกิดโรคไต หากไม่ตรวจแต่แรกก็อาจจะกลายเป็นโรคไตเสื่อม และในที่สุดกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ดังนั้นการตรวจปัสสาวะเพื่อหา Albumin ในผุ้ป่วยบางโรคเช่น โรคเบาหวาน ความดันดลหิตสูงจึงมีความจำเป็น

ชนิดของไข่ขาว ปริมาณ(มก/24ชม)
โปรตีน Protein ที่ขับออกมา  
  • ค่าปกติ
<150
  • มีไข่ขาวในปัสสาวะ
>150
  • เป็นเนยโฟติก Nephrotic
>3500
Albumin  
  • ค่าปกติ
2-30
  • Microalbuminuria
30-300
  • Macroalbuminuria
>300


วิธีการตรวจไข่ขาวในปัสสาวะ

  1. โดยการใช้แทบตรวจปัสสาวะจุ่มในปัสสาวะแล้วเทียบสี จะตรวจพบไข่ขาวเมื่อมีปริมาณโปรตีน 300-500 มก ข้อเสียคือไม่สามารถวัดปริมาณโปรตีน
  2. วัดปริมาณ Protein ที่ขับออกมาตลอด 24 ชั่วโมงโดยการเก็บปัสสาวะตลอดทั้งวันและส่งตรวจหาโปรตีน และค่า Creatinin
  3. การตรวจปัสสาวะหาค่า Protein Creatinine
  • ค่าอัตราส่วน Protein/ Creatinine ค่าปกติจะน้อยกว่า 0.2
  • ค่าอัตราส่วน Albumin/ Creatinineค่าปกติจะน้อยกว่า 30 mg/g creatinineหาค่าดังกล่าวอยู่ระหว่าง 30-300 แสดงว่ามีไข่ขาวออกมาในปริมาณไม่มาก หากมากกว่า 300 mg/g แสดงว่าไข่ขาวออกมาม

ผู้ป่วยท่านใดที่เสี่ยงต่อการเกิดไข่ขาวในปัสสาวะ

ผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้จะตรวจปัสสาวะหาไข่ขาว(protein)

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1และชนิดที่ 2 การตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะจะเป็นสัญญาณของการเป็นโรคไต
  • ผู้ป่วยโรคความดันดลหิตสูง
  • ผู้ป่วยโรคไตอักเสบ

ปัจจัยที่มีผลต่อไข่ขาวในปัสสาวะ

หากตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะก็ไม่ได้หมายความถึงจะเป็นโรคไตเพราะมีหลายภาวะที่ทำให้ตรวจปัสสาวะแล้วพบไข่ขาว ปัจจัยดังกล่าวได้แก่

ดังนั้นเมื่อตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะแล้วจะต้องหาปัจจัยต่างๆเหล่านี้และแก้ไขและตรวจปัสสาวะซ้ำ

ไข่ขาวในปัสสาวะหายเองได้หรือไม่

ไข่ขาวในปัสสาวะแบ่งออกเป็นสามชนิดได้แก่

  1. ไข่ขาวในปัสสาวะที่หายเองได้ Transient proteinuria มักจะพบในคนที่มีไข้ หรือออกกำลังกาย อยู่ในที่หนาว หรือมีความเครียดไข่ขาวนี้หายได้เองเมื่อภาวะที่กระตุนดังกล่าวหายไปแล้ว ภาวะนี้จะไม่กลายเป็นไตวายปริมาณไข่ขาวมักจะน้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน
  2. ไข่ขาวในปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่ายืน Orthostatic (postural) proteinuria ไข่ขาวมักจะน้อยกว่า 1 กรัมต่อวันจะตรวจพบเมื่ออยู่ในท่ายืน เมื่อนอนไข่ขาวก็จะหายไป
  3. เมื่อตรวจปัสสาวะ 2-3 ครั้งยังพบไข่ขาวทุกครั้งที่ตรวจเราเรียกว่า Persistent proteinuria ซึ่งจะบ่งว่ามีโรคที่ไต ปริมาณไข่ขาวก็สามารถบอกตำแหน่งของโรคไตได้

เมื่อแพทย์ตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะแพทย์จะตรวจอะไรต่อ

เมื่อเราตรวจสุขภาพ ตรวจปัสสาวะพบไข่ขาวในปัสสาวะอย่างน้อยสามครั้งจึงจะบอกว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะซึ่งผลการตรวจโดยแทบตรวจปัสสาวะจะได้ผลดังนี้

  • Trace = 5-20 mg/dL.
  • 1+ = 30 mg/dL.
  • 2+ = 100 mg/dL.
  • 3+ = 300 mg/dL.
  • 4+ = greater than 2,000 mg/dL.

เมื่อตรวจยืนยันว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะแน่นอนแพทย์จะตรวจเพิ่มเติมดังนี้

  • ซักประวัติเพิ่มเติมโดยเฉพาะประวัติการใช้ยา ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต อาชีพ
  • วัดความดันโลหิต
  • เจาะเลือดตรวจเช่น การทำงานของไต
  • ตรวจเลือดหาระดับน้ำตาลในเลือด.
  • ตรวจเลือดหาระดับไขมันในเลือด
  • นำปัสสาวะไปส่องกล้องตรวจหาเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หากมีเม็ดเลือดขาวมากและย้อมพบเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของไข่ขาวในปัสสาวะน่าจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • วัดระดับโปรตีนในปัสสาวะ24 และระดับ creatinine เพื่อประเมินความรุนแรงของไข่ขาวในปัสสาวะเพื่อพิจารณาวางแผนการรักษา:
    • Protein/creatinine ratio >100 mg/mmolผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์โรคไต
    • Protein/creatinine ratio >45 mg/mmolและตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะจะต้องพบแพทย์เฉพาะโรคไต
    • Protein/creatinine ratio<45 mg/mmol.ให้การดูแลเหมือนผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคไต
    • ปริมาณ Protein มากกว่า 3.5 กรัมต่อวันจะจัดอยู่ในกลุ่มเนฟโฟติค
  • ตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีโรค SLE
  • ตรวจ Ultrasound ของไต
  • บางรายอาจจะต้องเจาะชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจเนื้อไตทางกล้องจุลทัศน์

ความสำคัญของการตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะ

ปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะจะเป็นตัวที่กำหนดว่าว่าผู้ใดจะกลายเป็นโรคไตวาย ผู้ที่มีไข่ขาวในปัสสาวะน้อยโอกาศเสี่ยงที่จะกลายเป็นโรคไตวายจะต่ำ ผู้ที่มีไข่ขาวในปัสสาวะสูงมีโอกาศจะกลายเป็นโรคไตวายสูง นอกจากนั้นปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะยังสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ อัตราการเสียชีวิต

ผู้ที่มีไข่ขาวในปัสสาวะจะมีอาการอะไรบ้าง

ผู้ที่มีไข่ขาวในปัสสาวะจะไม่มีอาการอะไร หากมีปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะปริมาณมากเวลาปัสสาวะลงในโถส้วมจะเป็นฟอง หากร่างกายสูญเสียไข่ขาวไปมากจะทำให้เกิดอาการบวมบริเวนเท้า หนังตา

ต่อหน้าที่สองการักษาไข่ขาวในปัสสาวะ

guest

Post : 2013-12-05 18:10:50.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  การดูแลเท้า

 การดูแลเท้าอย่างถูกวิธี 

เท้านั้นสำคัญไฉน
           เท้าเป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์  เท้าประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ  26  ชิ้น  เท้า  2  ข้างมีกระดูกรวมกันทั้งหมด  52  ชิ้น  ซึ่งเป็น  1  ใน  4  ของกระดูกทั้งหมดในร่างกาย  ข้อต่อในเท้า   มีทั้งหมด 38 ข้อ มีกล้ามเนื้อ 31 มัด มีเส้นเอ็นทั้งหมด 107 เส้น 
           เท้าเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก ในขณะเดินมีแรงกระทำต่อเท้าข้างละประมาณ 120% ของน้ำหนักตัว  และในขณะวิ่งมีแรงกระทำต่อเท้าสูงถึงข้างละประมาณ 275%  ของน้ำหนักตัว มีการศึกษาพบว่าผู้ชายน้ำหนักตัว 68  กิโลกรัม  เท้าแต่ละข้างต้องรับน้ำหนัก  63.5  ตันในขณะเดิน  และสูงถึง  100 ตัน  เมื่อวิ่งเป็นระยะทาง  1.6  กิโลเมตร  มีผู้ประมาณการไว้ว่าชั่วชีวิตของมนุษย์ผู้หนึ่งจะใช้เท้าเดินเป็นระยะทางเฉลี่ยถึง  120,000 – 160,000  กิโลเมตร  ซึ่งยาวมากกว่า  3  ถึง  4  เท่าของระยะทางรอบโลกเสียอีก  

เราใช้เท้าทำงานหนักในแต่ละวันจึงควรดูแลเท้าให้มีสุขภาพดี  หลักการดูแลเท้าทำได้ดังนี้
     สิ่งที่ควรปฏิบัติในการดูแลเท้าทุกวัน
1. ล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ 
2. เช็ดเท้าให้แห้งทันที  โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า  
3. ถ้าผิวแห้ง ทาครีมบางๆ  ให้ทั่วทั้งหลังเท้าและฝ่าเท้า  แต่ไม่ทาบริเวณซอกนิ้วเท้า  เพราะอาจเกิดการหมักหมมได้
4. ถ้าเล็บยาวตัดเล็บเท้าอย่างถูกวิธีโดยตัดตามแนวขอบเล็บเท่านั้น  ไม่ตัดเล็บเซาะเข้าไปทางด้านข้างของเล็บ  
5. ถ้าอากาศเย็นให้ใส่ถุงเท้านอน  
6. ใส่รองเท้าตลอดเวลาแม้นจะอยู่ในบ้านก็ตาม
7. ใส่รองเท้าที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ
8. ออกกำลังเพื่อบริหารข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า

การเลือกรองเท้าที่เหมาะสม
1.  เลือกแบบที่ปลอดภัยกับเท้า
           ปัจจุบันมีรองเท้าหลายแบบและหลายรูปทรงให้เลือก ควรลองรองเท้าลักษณะต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ รองเท้าที่เหมาะสมไม่ควร มีตะเข็บแข็งอยู่ด้านในและไม่ควรเลือกแบบที่ใส่แล้วคับเกินไป หลวมเกินไป หรือมีส่วนของรองเท้ากดหรือเสียดสีกับเท้า
2.  เลือกแบบของรองเท้าที่เหมาะสมกับรูปเท้า
           เลือกรูปทรงรองเท้าที่เหมาะสมและมีลักษณะใกล้เคียงกับรูปเท้าของเราก่อน แล้วจึงลองขนาดของรองเท้า
3.  ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนของขนาดรองเท้า
           รองเท้าเบอร์เดียวกันจะมีขนาดต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ แม้รองเท้ายี่ห้อเดียวกัน ถ้ารูปทรงต่างกันขนาดก็แตกต่างกัน ดังนั้นห้ามซื้อรองเท้าจากการดูเบอร์ ต้องลองสวมรองเท้าก่อนซื้อทุกครั้ง
4.  วัดขนาดเท้าทั้งสองข้างก่อนเลือกซื้อรองเท้าเสมอ
           เท้าคนเราเปลี่ยนแปลงได้ทั้งขนาดและรูปร่างในแต่ละช่วงอายุ อีกทั้งคนส่วนใหญ่มักมีเท้าข้างใดข้างหนึ่งกว้างหรือยาวกว่าอีกข้างหนึ่ง ดังนั้นควรลองสวมรองเท้าทั้งสองข้างก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง
5.  ลองสวมเดินทุกครั้ง
           เมื่อเลือกรองเท้าได้แล้ว ต้องลองสวมเดินก่อนซื้อทุกครั้งเพราะรองเท้าที่ดีต้องสวมสบายทั้งในขณะนั่ง ยืนและเดิน
6.  ความยาวของรองเท้าที่เหมาะสม
           ความยาวที่เหมาะสม คือ ใส่แล้วมีระยะระหว่างปลายนิ้วที่ยาวที่สุดกับปลายของรองเท้าเหลือประมาณ 3/8 – 1/2 นิ้วฟุต หรือเท่ากับขนาดความกว้างของนิ้วหัวแม่มือ
7.  ความกว้างของรองเท้าที่เหมาะสม
           ความกว้างที่เหมาะสม คือ ส่วนที่กว้างที่สุดภายในรองเท้าควรกว้างเท่ากับความกว้างที่สุดของเท้าและอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกัน
8.  ส้นเท้าต้องอยู่พอดีกับส้นรองเท้า
           ตำแหน่งของส้นเท้าควรอยู่กับตำแหน่งของส้นรองเท้าและมีความกระชับพอดี  เมื่อเดินแล้วรองเท้าไม่หลุดจากส้นเท้า
9.  ถ้าใส่วัสดุเสริมในรองเท้าต้องเปลี่ยนขนาดรองเท้าให้เหมาะสม
           สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วัสดุเสริมภายในรองเท้า เช่น แผ่นรองใต้ฝ่าเท้า วัสดุเหล่านี้ทำให้รองเท้าคับขึ้น ดังนั้นเวลาเลือกรองเท้าต้องใส่วัสดุเสริมในรองเท้าก่อนลอง เพื่อให้ได้ขนาดรองเท้าที่เหมาะสม
10. เท้าเปลี่ยนขนาดได้ตามเวลาและชนิดของกิจกรรม
           เท้าเปลี่ยนขนาดและรูปร่างได้ในแต่ละช่วงของวัน เท้ามักจะขยายหลังจากเดินมาก นั่งห้อยเท้านาน ๆ หรืออกกำลังกาย ดังนั้น ก่อนเลือกรองเท้าต้องคำนึงถึงเวลาและกิจกรรมที่จะนำไปใช้ให้สอดคล้องกันด้วย                                                

           การออกกำลังเพื่อบริหารข้อเท้าและกล้ามเนื้อเท้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระตุ้นการไหลเวียนเลือดมาสู่ปลายเท้า  

ท่าบริหารทำได้โดย 
1. กระดกข้อเท้าขึ้นและลงสลับกันช้าๆ
2. หมุนข้อเท้า  โดยหมุนเข้าและหมุนออกช้าๆ  
3. ใช้นิ้วเท้าจิกผ้าที่วางอยู่บนพื้นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อเล็กๆในเท้า
4. นั่ง ยกขาขึ้น  เหยียดเข่าตึง  แล้วกระดกข้อเท้าขึ้นค้างไว้นับ 1 – 6 ในใจถือเป็น ครั้ง
      
           *จะเห็นได้ว่า การดูแลสุขภาพเท้าทำได้ไม่ยากเลย หากว่าเราใส่ใจให้เวลาสักนิด เท้าก็จะอยู่กับเราตลอดไป*

                   

guest

Post : 2013-12-05 18:07:52.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคเก๊าท์

 

โรคเก๊าท์คืออะไร

โรคเก๊าท์จัดเป็นโรคข้ออักเสบเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุดในมนุษย์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในขบวนการเมตะบอลิสซั่มของกรดยูริกในร่างกาย เป็นผลให้กรดยูริกในเลือดมีค่าสูงกว่าปกติ เกิดการตกตะกอนเป็นผลึกเกลือยูเรต (monosodium urate) สะสมในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะข้อและไต

เมื่อมีอาการแสดงเต็มที่ จะประกอบไปด้วย

  1. อาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
  2. โรคข้ออักเสบเรื้อรัง
  3. ทำให้ไตทำงานบกพร่อง
  4. การเกิดนิ่วกรดยูริกในทางเดินปัสสาวะ (uric acid stone)
  5. และการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือด

ในรายที่เรื้อรังการเกาะของเกลือ monosodium urate จะทำให้เกิดก้อนที่เรียกว่า Tophi ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ เนื่องจากมีการเกาะของ เกลือ uric บริเวณข้อ และเอ็นหากเป็นเรื้อรังจะทำให้ข้อผิดรูปและเสียหน้าที่ในการทำงาน นอกจากนั้นยังทำให้หน้าที่ของไตเสื่อมและเกิดโรคนิ่วที่ไตด้วย

โรคเก๊าท์จะหมายถึงภาวะที่มีการเกาะของยูริกที่ข้อทำให้เกิดการอักเสบมีอาการปวด บวมแดงร้อน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์อาจจะมีกรดยูริกในเลือดสูงหรือปกติก็ได้ และผู้ที่มีกรดยูริกในเลือดสูงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเก๊าท์เสมอไป โรคเก๊าท์เป็นในผู้ชายมากว่าผู้หญิง 9 เท่าและมักเป็นวัยกลางคนขึ้นไป ส่วนผู้หญิงมักเป็นหลังจากหมดประจำเดือน

สาเเหตุของโรคเก๊าท์

สาเหตุของโรคเก๊าท์เกิดจากการที่มีกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปรกติ ซึ่งสาเหตุที่กรดยูริกสูงได้แก่

1ภาวะที่มีการสร้างกรดยูริกสูง

กรดยูริกในเลือดที่สูงในมนุษย์จะเป็นผลมาจากการที่ขาดยีนในการสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบว่ากรดยูริกในร่างกายมนุษย์จะได้มาจาก 2 แหล่ง คือ

  1. จากขบวนการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนและได้สารพิวรินออกมา ซึ่งกรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดจากกระบวนการนี้
  2. จากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยรับประสานอาหารที่มีพิวรีนสูง

2การขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง

กรดยูริกที่สร้างขึ้นจะมีการขับออกจากร่างกาย 2 ทางหลัก คือ

  1. ขับออกทางระบบทางเดินอาหาร และ ซึ่งการขับออกทางระบบทางเดินอาหารจะขับออกได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน
  2. ขับออกทางไต ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นการขับออกทางไต

จากการศึกษาในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ จะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 มีความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต กล่าวคือ ที่ความเข้มข้นของระดับกรดยูริกในเลือดที่เท่ากัน คนที่เป็นโรคเก๊าท์จะมีการขับกรดยูริกออกทางไตได้น้อยกว่าคนปกติที่ไม่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงถึงร้อยละ 40 แสดงว่า ความผิดปกติหลักในผู้ป่วยโรคเก๊าท์อยู่ที่ความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต

อุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์

จากการที่พบว่าระดับกรดยูริกในประชากรแต่ละประเทศแตกต่างกัน จึงทำให้พบอุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์ แตกต่างกันไปด้วย ประเทศที่มีประชากรมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศแถบไมโครนีเซีย หรือหมู่เกาะทะเลใต้ ประชากรจะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงมาก ทำให้พบอุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์พบได้บ่อย และเป็นโรคเก๊าท์ที่มีอาการรุนแรง จากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยการติดตามผู้ป่วยที่มีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงโดยไม่มีอาการจำนวน 2,046 คน เป็นระยะเวลา 15 ปี ทำการตรวจระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ พบอุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์ร้อยละ 4.9 สำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือด 9 มก./ดล. หรือมากกว่า พบอุบัติการณ์ร้อยละ 0.5 สำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดระหว่าง 7-8.9 มก./ดล. และพบอุบัติการณ์เพียงร้อยละ 0.1 สำหรับระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่า 7.0 มก./ดล. ในประเทศไทยพบความชุกร้อยละ 0.16 ของประชากร โรคเก๊าท์เป็นโรคที่พบบ่อยในเพศชาย อุบัติการณ์ในเพศหญิงพบได้ประมาณร้อยละ 3-7 และมักพบในช่วงวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว

ภาวะที่เกี่ยวข้องกับระดับกรดยูริกแบ่งได้เป็น

  1. Asymptomatic Hyperuricemia หมายถึงภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูงโดยที่ไม่มีอาการ
  2. Acute GoutyArthritis
  3. IntercriticalGout เป็นช่วงที่หายจากการอักเสบของข้อ ระยะนี้จะปลอดอาการ ระยะนี้เป็นระยะที่หาสาเหตุ และป้องกันการเกิดซ้ำโดยการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
  4. Recurrent Gout Arthritis เป็นการที่มีการอักเสบซ้ำของโรคเก๊าท์ ประมาณร้อยละ 80 จะเกิดการอักเสบซ้ำใน 2 ปี จะมีประมาณร้อยละ7 ที่ไม่มีการอักเสบใน 10 ปี
  5. ChronicTophaceous Gout เมื่อโรคเก๊าท์ไม่ได้รักษาผู้ป่วยจะปวดข้อบ่อยขึ้น และปวดนานขึ้น ข้อที่ปวดจะเป็นหลายข้อ บางครั้งอาจจะเกิดอักเสบข้อไหล่ สะโพกและหลัง หากไม่รักษาก็จะเกิดการอักเสบเรื้อรังของข้อมีอาการปวดตลอด ข้อจะเสียหน้าที่และเกิดการตกตะกอนของเกลือ monosodium urate ที่ข้อ หู มือ แขน เข่าตั้งแต่เริ่มเป็นจนเกิด tophi ใช้เวลาประมาณ 10 ปี

อาการ

ตำแหน่งที่ปวด

เริ่มเป็นข้อยังไม่ถูกทำลายหากเป็นนานข้อถูกทำลาย

  1. ปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะบริเวณนิ้วหัวแม่เท้าเป็นข้อที่พบบ่อยที่สุดจะมีอาการปวดข้อโดยมากปวดข้อเดียวแต่ก็ปวดหลายข้อได้ 
  2. อาการปวดมักเป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง
  3. ข้อที่ปวดพบได้ทุกข้อ แต่พบมากข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ ข้อนิ้วและข้อศอก
  4. พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  5. ในรายที่เป็นมานานอาจพบนิ่วทางเดินปัสสาวะ
  6. มักปวดตอนกลางคืนอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆมักจะมีปัจจัยกระตุ้นได้แก่การรับประทานอาหารที่มี uric สูง ดื่ม alcohol ผ่าตัด ความเครียด

ข้อที่พบว่าอักเสบได้บ่อยได้แกข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ และข้อศอกเรียงตามลำดับ พบว่าข้อที่เป็นจะบวม แดง กดเจ็บจากรูปจะเห็นข้อนิ้วหัวแม่เท้าบวมและแดง

ในรายที่เป็นเรื้อรังจะมีการรวมตัวของกรดยูริกเกิดเป็นก้อนที่ข้อเรียก Tophi

         

guest

Post : 2013-12-05 18:05:33.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคข้อเสื่อม

 Osteoarthritis

โรคข้อเสื่อมหมายถึงโรคของข้อที่เกิดกับกระดูกอ่อน cartilage และเยื่อหุ้มข้อ ทำให้มีการสร้างเนื้อเยื่อจำนวนมาก โดยมากจะเกิดบริเวณข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อกระดูกต้นคอ ข้อกระดูกหลัง

ปกติข้อของคน จะมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่ปลายกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อราบรื่น กระดูกอ่อนสามารถรับแรงกระแทกจากกระดูก ผู้ที่เกิดกระดูกเสื่อม จะมีกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อสึกและบางลง ทำให้เกิดการเสียดสีของกระดูก เมื่อเวลาเคลื่อนไหว จะเกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน เมื่อเวลาผ่านไป จะมีการงอกของหินปูนเข้าไปในข้อ และมีเศษกระดูกลอยในข้อ ทำให้เกิดอาการปวดข้อ และเคลื่อนไหวลำบาก

 

oa
 
ตำแหน่งที่เกิดข้อเสื่อม

ตำแหน่งข้อเสื่อมที่พบบ่อย

as

ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าท่านเป็นข้อเสื่อม

เนื่องจากโรคนี้จะมีอาการค่อยเป็นโดยที่ผู้ที่ป่วยไม่ทราบ ข้อที่เสื่อมสามารถเป็นได้ทุกข้อ อาการจะเริ่มต้นด้วยอาการปวดโดยมากมักจะปวดตอนเช้า ออกกำบังแล้วหาย หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลง เวลาขยับข้อจะเกิดเสี่ยงกระดูกเสียดสีกัน หลังจากนั้นข้อจะโตขึ้น เนื่องจากมีการสะสมของกระดูกอ่อน เอ็น และเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง เวลาเดินจะทำให้ปวดมากขึ้น

ข้อที่เป็นบ่อยได้แก่ ข้อนิ้ว ข้อเข่า ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อกระดูกหลัง จากรูปจะพบว่าข้อนิ้วผิดรูป และข้อบวม อาการตามข้อต่างๆ

    • ข้อมือโดยเฉพาะข้อนิ้วเป็นข้อปลายนิ้วทำให้เกิดตุ่มที่เรียกว่าHeberden nodesมักจะมีประวัติในครอบครัวเป็นมากในผู้หญิง ข้อนิ้วที่เป็นจะใหญ
    • ข้อเข่า
    • ข้อสะโพก
    • กระดูกสันหลัง

สาเหตุของข้อเสื่อม

    • อายุ พบมากในคนสูงอายุแต่ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ
    • อ้วน
    • ข้อได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือจากการทำงาน
    • กรรมพันธ์
    • อายุน้อยกว่า 45 ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง อายุมากกว่า 45 ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย

อาการของข้อเสื่อม

    • มักจะปวดข้อตลอดวัน หรือปวดมากเวลาใช้งาน เวลาพักจะหายปวด ปวดตอนกลางคืน
    • ข้อติดขณะพัก พอขยับข้อก็หายติด แต่ข้อไม่ติดตอนเช้าเหมือนโรครูมาตอยด์
    • ข้อบวม มักจะเป็นที่กระดูกที่โตขึ้น

สัญญาณเตือนว่าจะเป็นโรคเข่าเสื่อม

    • มีอาการปวดข้ออยู่ตลอดเวลา
    • ข้อจะยึดหรือข้อติดหลังจากตื่นนอน หรืออยู่ท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
    • ข้อบวมหรือกดเจ็บ
    • รู้สึกเหมือนกระดูกกระทบกัน
    • ข้อเสื่อมมักจะไม่แดงหรือร้อน

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยจะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายรวมทั้งการx-ray

  

 

guest

Post : 2013-12-05 18:02:22.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคปวดข้อรูมาตอยด์ Rheumatoid Arthritis

 โรคปวดข้อรูมาตอยด์  Rheumatoid Arthritis

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อักเสบคืออะไร

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายข้อตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ เนื้อเยื่อรอบข้อ อาการที่สำคัญคือปวดข้อและอาการนอกข้อ

 

จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าโรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 0.5-1.5 ของประชากร สำหรับในประเทศไทยนั้นจากการศึกษาของพรชิตา ชัยอำนวย และคณะพบความชุกของโรคนี้ร้อยละ 0.12 ถึงแม้ว่าโรคนี้จะมีความชุกค่อนข้างต่ำ แต่โรคนี้ก็เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดในบรรดากลุ่มโรคข้ออักเสบชนิดไม่ทราบสาเหตุ อุบัติการณ์ของโรคนี้สูงขึ้นตามอายุ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 75 ปี แต่อุบัติการณ์ในเพศชายจะใกล้เคียงกับเพศหญิงในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นเมื่ออายุมากกว่า 75 ปี

สาเหตุ

สาเหตุยังไม่ทราบแต่เชื่อว่าเป็นโรค Autoimmune หมายถึงมีความผิดปรกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายข้อตัวเอง นอกจากนั้นยังพบว่า กรรมพันธ์ ฮอร์โมน บุหรี่ การติดเชื้อเป็นตัวกระตุ้นทำให้โรคกำเริบ

 

อาการของข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นอย่างไร

อาการที่พบบ่อยได้แก่

  • ปวดข้อ ข้อบวม
  • ข้อติด
  • อ่อนเพลีย ซึมเศร้า
  • ซีด
  • อาการเหมือนไข้หวัด ไม่สบายตัว

อาการอื่นๆที่พบได้

  • น้ำหนักลด
  • ตาอักเสบ
  • rheumatoid nodules
  • อักเสบของอวัยวะระบบอื่น

 

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะเป็นการตรวจเลือด และการตรวจทางรังสี การตรวจเลือดแบ่งเป็น

  • การตรวจว่ามีการอักเสบหรือไม่ESR
  • การตรวจหาว่ามีภูมิหรือไม่
  • การเจาะเอาน้ำในข้อเข่าไปตรวจ
  • การตรวจเลือด CBC

การตรวจทางรังสี

 

การวินิจฉัย

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้แบ่งออกเป็น 4 หมวดประกอบด้วย

  1. จำนวนและตำแหน่งของข้อที่มีการอักเสบ(synovitis) (0-5 คะแนน)
  2. การตรวจพบrheumatoid factor หรือ ACPA ในเลือด (0-3 คะแนน)
  3. ระยะเวลาที่มีข้ออักเสบ (0-1 คะแนน) และ
  4. ค่าacute phase reactants ที่สูงขึ้น (0-1 คะแนน)

รวบรวมคะแนนหากมากกว่า 6 คะแนนจะช่วยวินิจฉัย

 

การรักษา

การรักษาแบ่งเป็น

  • การรักษาทั่วไป
  • การรักษาด้วยยา
  • การผ่าตัด

การรักษาด้วยยาแบ่งงอกเป็น

  • ยาแก้ปวด
  • ยากลุ่ม NSAID
  • ยากลุ่ม disease-modifying anti-rheumatic drugs (DMARDs)
  • ยาsteroid

 

 

ผลของโรครูมาตอยด์

ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ในระยะยาวจะเป็นเช่นไร

  • 75% ของผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเล็กน้อย อาจจะมีบวมเป็นๆหายๆ
  • 20%จะมีอาการข้ออักเสบแบบอ่อนๆ
  • 5% จะมีข้อผิดรูปและมีอาการรุนแรง

          

guest

Post : 2013-12-05 17:58:54.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคกระดูกพรุน

 

Osteoporosis โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กะดูกมีเนื้อกรดูกลดลง เนื่องจากแร่แคลเซี่ยมในกระดูกลดลง ทำให้กระดูกพรุนทำให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย

ปกติกระดูกของคนจะมีความแข็งเหมือนหิน หรือเหล็กเพื่อเป็นปกนหลังให้อวัยวะต่างๆยึดเกาะ กระดูกของคนประกอบไปด้วยโปรตีน collagen ซึ่งสร้างโยงเป็นใย โดยมีเกลือ calcium phosphate เป็นสารที่ทำให้กระดูกแข็งแรง และทนต่อแรงดึงรั้ง เกลือแคลเซี่ยมจะอยู่ในกระดูกร้อยละ 99 และอยู่ในเลือดร้อยละ 1

ปกติกระดูกของคนจะมีการสร้าง และการสลายอยู่ตลอดเวลา ในเด็กจะมีการสร้างมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกของเด็กมีการเจริญเติบโต และแข็งแรง กระดูกจะใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอายุ 30 ปี กระดูกจะเริ่มมีการสลายมากกว่าการสร้างทำให้เนื้อกระดูกเริ่มลดลง ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมีระดับลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราการสลายของกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเกิดภาวะกระดูกพรุน

กระดูกพรุนจะเสี่ยงต่อกระดูกหักโดยเแพาะกระดูกสะโพก กระดูกพรุนมักจะเกิดในหญิงมากกว่าชายด้วยเหตุผล 2 ประการ

  • ความหนาแน่ของมาลกระดูกผู้ชายสูงกว่าผู้หญิง
  • เมื่อเข้าสู่วัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วทำให้เนื้อกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว

กระดูกพรุนคืออะไรOsteoporosis bone has less calcium and is much weeker.

โรคกระดูกพรุนหมายถึงภาวะที่กระดูกสูญเสียเนื้อกระดูก และโครงสร้างของกระดูกผิดไป ทำให้กระดูกมีความเปราะบาง เกิดการหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกข้อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย และสามารถป้องกันได้

         

guest

Post : 2013-12-05 17:53:46.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  โรคข้อกระดูกเสื่อม

 โรคข้อเข่าเสื่อม Osteoarthritis of the knee

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน เกิดการเสื่อมของข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูกเวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นๆกำเริบ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้

โครงสร้างของข้อเข่า

ข้อเข่าของคนประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วนคือ

  1. กระดูกต้นขา Femur ซึ่งเป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
  2. กระดูกหน้าแข็ง Tibia ซึ่งเป็นกระดูกส่วนล่างของเข่า
  3. กระดูกสะบ้า Patella ซึ่งอยู่ส่วนหน้าของเข่า

ผิวของข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อน cartilage รูปครึ่งวงกลมหุ้ม ทำหน้าที่กระจายน้ำหนัก ในข้อเข่าจะมีน้ำเลี้ยง synovial fluid เปรียบเสมือนน้ำหล่อลื่น เป็นการป้องกันการสึกของข่อเข่า เมื่อเราเดินหรือวิ่ง ข้อของเราจะต้องรับน้ำหนักเพิ่ม ดังนั้นยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าใดข้อต้องรับน้ำหนักมากเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีเอ็นและกล้ามเนื้อที่ทำให้ข้อเข่าแข็งแรง

กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมหมายถึงการที่กระดูกอ่อนของเข่ามีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ก็จะเกิดการเสียดสี และเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็ง ไม่เรียบ เมื่อข้อเข่าเคลื่อนไหวจะเกิดเสียงดังในข้อ เกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่ามีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดการบวม ตึง และปวดข้อเข่า

เมื่อมีการเสื่อมมากขึ้น ข้อเข่าก็จะมีการโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของจ้อเข่าก็มีขนาดใหญ่ขึ้น ในที่สุดผู้ป่วยต้องใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน บางท่านไม่เดินทำให้กล้ามเนื้อต้นขาลีบและไม่มีกำลัง ข้อจะติดเหมือนมีสนิมเกาะเท้าจะเหยียดไม่สุด

เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น กระดูกอ่อนจะมีขนาดบางลง ผิวจะขรุขระ จะมีการงอกของกระดูกขึ้นมาเรียกว่า osteophyte เมื่อมีการอักเสบเยื่อหุ้มข้อจะสร้างน้ำเลี้ยงข้อเพิ่ม ทำให้ข้อมีขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อลีบลง การเปลี่ยนแปลงของข้อจะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ ในรายที่เป็นรุนแรงกระดูกอ่อนจะบางมาก ปลายกระดูกจะมาชนกันเวลาขยับข้อจะเกิดการเสียดสีในข้อ

ผิวข้อเข่าคนปกติ

ผิวข้อเข่าของคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อม

 

 

 

 

               

처음 이전 ... 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 다음 끝
Tel: 095-506-4939 , 085-737-7178 ไนท์| Email: lovenight_loveyou@hotmail.com